วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 22:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2009, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์มิได้ห้ามการฉันเนื้อสัตว์ และ ก็ไม่ได้ห้ามมิให้จะไม่ฉันเนื้อสัตว์

การจะรับประทานเนื้อหรือไม่รับประทาน จึงเป็นเรื่องของอัธยาศัยทางโลก ผู้ที่นั่ง

รถหรูราคาแพง ก็ไม่มีใครทราบได้ว่าเขายึดหรือไม่ยึด ผู้ที่จะรับประทานเนื้อสัตว์หรือ

จะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ก็ไม่มีใครทราบได้ว่าเขายึดหรือไม่ยึด

หากปัญญาเกิดขึ้นแล้ว และจุดประสงค์เป็นไปการละ เพื่อความเมตตาที่จะ

เจริญในส่วนตนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา


ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีปรมัตถธรรมที่เป็นเนื้อสัตว์ หรือ ไม่ใช่เนื้อสัตว์

จิตจะมนสิการในเรื่องของความเป็นธาตุ


บุคคลจะเป็นเช่นไร มีความเห็นเช่นไร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย รอปัญญาบ่ม

เพาะตามเหตุปัจจัย สังสารวัฏฏ์นี้เป็นทุกข์ มีแต่ความน่าสลดใจ มนุษย์โลกขวนขวาย

ตะเกียกตะกายกระเสือกกระสนเพื่อหาทางพ้นทุกข์ แม้เราก็เป็นหนึ่ง

จึงควรเมตตา กรุณา เอื้อเฟึ้อ เท่าที่จะทำได้ อย่างน้อยมานะนุสัยในตัวตน

ของเราเอง การถือตน การสำคัญตน การสำคัญในปัญญาของตน ก็จะคลายลง





พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 80

อามคันธสูตรที่ ๒

ว่าด้วยมีกลิ่นดิบไม่มีกลิ่นดิบ

ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยคาถา

ความว่า

[๓๑๕] สัตบุรุษทั้งหลายบริโภค

ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบไม้ เหง้ามัน

และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนา

กาม กล่าวคำเหลาะแหละไม่.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใด ที่ผู้

อื่นทำสำเร็จดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประ-

ณีต เมื่อเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่า

ย่อมเสวยกลิ่นดิบ.

แต่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง

พรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบย่อม

ไม่ควรแก่เรา แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี

กับเนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะ

พระองค์ว่า กลิ่นดิบของพระองค์มีประการ

อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การ

จองจำ การลัก การพูดเท็จ การกระทำ

ด้วยความหวัง การหลอกลวง การเรียน

คัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยา

ผู้อื่น นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่

ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมใน

กามทั้งหลาย ยินดีในรสทั้งหลาย เจือปน

ด้วยของไม่สะอาด มีความเห็นว่าทานที่

บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ

บุคคลพึงแนะนำได้โดยยาก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ

ของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

ชนเหล่าใดผู้เศร้าหมอง หยาบช้า

หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร ไม่มี

ความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และ

ไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ

ของชนเหล่านี้ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

ความโกรธ ความมัวเมา ความเป็น

คนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ริษยา

ความยกตน ความถือตัว ความดูหมิ่น และ

ความสนิทสนมด้วยอสัตบุรุษทั้งหลาย นี้ชื่อว่า

กลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ

เลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-

พฤติลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ พูดเสียดสี

พูดโกง เป็นคนเทียม เป็นคนต่ำทราม

กระทำกรรมหยาบช้า นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของ

ชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่น-

ดิบเลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-

สัตว์ทั้งหลาย ชักชวนผู้อื่นประกอบการ

เบียดเบียน ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่

เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น

เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.




พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 575

[ปลาเนื้อบริสุทธิ์โดยส่วน ๓ เป็นกัปปิยมังสะควรฉันได้]

พึงทราบวินิจฉัยในเรื่องปลาและเนื้อ ดังนี้:-

บทว่า ติโกฏิปริสุทฺธ ได้แก่ บริสุทธิ์โดยส่วน ๓. อธิบายว่าเว้นจาก

ที่ไม่บริสุทธิ์ มีการเห็นเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ไม่

ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจ.

บรรดามังสะ ๓ อย่างนั้น มังสะที่ชื่อว่า ไม่ได้เห็น คือ ไม่เห็นชาวบ้าน

ฆ่าเนื้อและปลา เอามาเพื่อประโยชน์แก่พวกภิกษุ. ที่ชื่อว่าไม่ได้ยินคือ ไม่ได้ยิน

ว่า พวกชาวบ้านฆ่าเนื้อ ปลา เอามาเพื่อ ประโยชน์แก่พวกภิกษุ, ส่วนที่

ไม่ได้รังเกียจ ผู้ศึกษาควรรู้จักมังสะที่รังเกียจด้วยการเห็น รังเกียจด้วยการ

ได้ยิน และที่รังเกียจพ้นจากเหตุทั้งสองนั้น แล้วพึงทราบโดยส่วนตรงกันข้าม

จากสามอย่างนั้น




พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ หน้าที่ 97

พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อ

ของเขาถวายก็ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน

ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน

ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง

[ ๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ช้างหลวงล้มลงหลายเชือก สมัยอัตคัตอาหาร

ประชาชนพากันบริโภคเนื้อช้าง และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุ

ทั้งหลายฉันเนื้อช้าง ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-

สมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อช้างเล่า เพราะช้างเป็นราชพาหนะ ถ้า

พระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้ง

หลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติ

ทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า

สมัยต่อมา ม้าหลวงตายมาก สมัยนั้นอัตคัดอาหาร ประชาชนพากัน

บริโภคเนื้อม้า และถวายแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า

ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากย

บุตรจึงได้ฉันเนื้อม้าเล่า เพราะม้าเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ

คงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อสุนัข

สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อสุนัข

และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อสุนัข ประชาชน

จึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงได้

ฉันเนื้อสุนัขเล่า เพราะสุนัขเป็นสัตว์น่าเกลียด น่าชัง ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน ต้องอาบัติ ทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อราชสีห์

สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าราชสีห์แล้วบริโภคเนื้อราชสีห์ และถวายแก่

พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต พวกภิกษุฉันเนื้อราสีห์แล้วอยู่ในป่า ฝูงราชสีห์ฆ่า

พวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อราชสีห์ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ









เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนาให้ธรรมะเป็นทาน กำหนดอิริยาบทย่อย

ไปไหว้หอพระที่ชลบุรี ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 448

ที่อยู่: bangkok, Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว




Life-01xx.jpg
Life-01xx.jpg [ 49.13 KiB | เปิดดู 1691 ครั้ง ]
http://audio.palungjit.com/attachment.p ... ntid=38617เนื้อเพลง: ชีวิตที่ร่ำไห้
(ขอมอบเพลงธรรมนี้แด่ชีวิตที่ร่ำไห้ทั้งมวล เพื่อเป็น กระบอกเสียงแทน สรรพสัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น)

หนึ่งชีวิต ที่ฉันได้เกิดมา หลากชีวิต เหล่าสัตว์ธรรมดา


กับความคิด ที่คนหลงผิดมา ว่าฉันเป็นอาหาร


ต่อชีวิตของคนด้วยชีวิต หยุดสักนิด ฉุกคิดถึงผลกรรม


หากชีวิตของคนโดนกระทำ เลือดแดงก่ำร่ำไห้


ทุรนทุราย


หมดแรงฝืนฉันยืนไม่ไหว คนใจร้ายหมายพรากชีวิต


อยากขัดขืนฝืนทน แต่มันไม่มีสิทธิ์


แม้แต่จะคิดยืดเวลา


ปรับความคิด เลิกกินเนื้อสัตว์เถิดหนา


หยุดการฆ่า ทำร้ายทำลายกัน


ทุกชีวิต ต่างรักต่างผูกพัน


อย่าทรมานฉันอีกต่อไป


* * * * * *
หมดแรงฝืนฉันยืนไม่ไหว คนใจร้ายหมายพรากชีวิต


อยากขัดขืนฝืนทน แต่มันไม่มีสิทธิ์ แม้แต่จะคิดยืดเวลา


ปรับความคิด เลิกกินเนื้อสัตว์เถิดหนา หยุดการฆ่า ทำร้ายทำลายกัน


ทุกชีวิต ต่างรักต่างผูกพัน


อย่าทรมานฉันอีกต่อไป


อย่าทรมานฉันอีกเลย





-------------------------------------------------------------

อนุโมทนากับทุกท่านที่ได้ฟังเพลงธรรมนี้ เนื่องในโอกาสเทศกาลเจที่จะมาถึง หรือ แม้แต่หลังเทศกาลเจทุกภพทุกชาติ

การงดปาณาติบาตไม่ว่าทางตรง หรือ ทางอ้อมก็ดี คือ ขั้นพื้นฐานของการปฏิบัติบำเพ็ญจิตที่ง่ายที่สุด เป็นขั้นพื้นฐานตัดบ่วงกรรมใหม่ๆในชาติปัจจุบันนั่นเอง

การรักษาศีลเจก็คือ การละเว้นกรรมปาก คือ นอกจากไม่ทานเนื้อสัตว์ทุกชนิดแล้ว ยังต้องไม่สร้างวจีกรรมต่อกัน เพราะคำพูดหนึ่งคำ หากพูดไม่ระวัง ก็สามารถทำลายหรือฆ่าคนได้ ไม่เพียงแต่ทานเจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น กัลยาณชนต้องสร้างสมคุณธรรมด้วย โดยเฉพาะ ความกตัญญูต่อบุพการี ครูบาอาจารย์ และ ชาติบ้านเมือง พี่น้องในครอบครัวต้องปรองดอง เพื่อนฝูงกลมเกลียว สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นี้คือ ความประสงค์แห่งธรรม

หากเอาแต่ทานเจ แต่ไม่ละกรรมปาก หรือ ทานแต่พืชผัก แล้วหยิ่งผยองทะนงตน ยกตนข่มท่าน ไม่ระวังมิจฉาวาจา ไม่ขัดเกลาจิตใจ ไม่แก้ไขความเคยชินที่ไม่ดีของตนเอง ก็ถือว่า ไม่ใช่การทานเจที่แท้จริง เป็นเพียงแค่การบำรุงกระเพาะและธาตุขันธ์เท่านั้นเอง

นอกจากจะให้ความสุขแด่เพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้ว ก็จงอย่าได้ลืมที่จะให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้หายใจอยู่บนโลกใบนี้จนหมดอายุขัยของเขาเองบ้าง การรักษาศีลเจ แม้จะได้บุญหรือไม่ก็ตาม แต่เป็นการบำเพ็ญกุศลภายใน นั่นคือ คุณได้เป็นส่วนหนึ่งในจักรวาล ที่ได้เป็นผู้ให้แก่พวกเขาอย่างแท้จริง ให้อะไรรึ ก็ให้ชีวิตแด่พวกเขานั่นเอง และเป็นการให้โอกาส โอกาสให้พวกเขาได้ดำรงขันธ์ต่อไป แค่เกิดมาเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ทุกข์หนักหนาสาหัสแล้ว ใยจึงต้องซ้ำเติมต่อกันให้เกิดบ่วงกรรม จงให้อภัยพวกเขาที่พวกเขาไม่สามารถเกิดมาเป็นมนุษย์ได้

หากไม่เชื่อในเรื่องการทานเจ ก็ลองย้อนมองตนดู ใจเขาใจเรา สมมติเราเกิดไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง ความรู้สึกนั่นเป็นเช่นไร คงเสียใจไม่น้อยใช่หรือไม่

นโม หมีเล่อฝอ
ขอเมตตาธรรมจงอุดหนุนค้ำชูท่านทั้งหลายเทอญ
(หากตัดขาดมิได้ตลอดชีวิต ก็สามารถทานเจละเว้นเลือดเนื้อผู้อื่น ในทุกวันพระหรือทุกวันเกิด วันสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆภายในชาตินี้ ดีกว่าไม่เคยเลย)
------------------------------------

ขอบพระคุณเว็ปพลังจิตเมตตา

--------------------------------------------------------------------------------


แก้ไขล่าสุดโดย muntana เมื่อ 29 ต.ค. 2009, 12:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ม.ค. 2008, 20:41
โพสต์: 448

ที่อยู่: bangkok, Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว




bud.jpg
bud.jpg [ 26.06 KiB | เปิดดู 1689 ครั้ง ]
พระพุทธศาสนา สรุปอย่างไร เกี่ยวกับมังสะวิรัติ


พระพุทธศาสนา สรุปอย่างไร เกี่ยวกับมังสะวิรัติ

--------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธศาสนา สรุปอย่างไร เกี่ยกับมังสะวิรัติ

พระพุทธพจน์นี้ทำให้สรุปได้ว่า การเกิดมาในโลกในระดับโลกิยะ มีปัญหาติดตัวมามาก สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะเป็นอาหารของสัตว์อื่น เช่น หมู ปลา ไก่ สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะต้องกินสัตว์เป็นอาหารอย่างเดียว โดยที่ตัวเองมีเนื้อเป็นพิษสำหรับสัตว์อื่น แม้แต่มนุษย์ที่ชอบกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เนื้อของมนุษย์เองก็เป็นอาหารของสัตว์อื่นบางจำพวก นี่คือสังสารวัฏ

ชาวประมงมีพาอาชีพหาปลาขาย ฆ่าปลาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน พวกเขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่พวกเขาทำผิดหลักธรรมข้อสุจริต ล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาต และวิถีชีวิตของพวกเขาไม่ยุติธรรมสำหรับปลา แม้กระนั้นชาวประมงก็ยังต้องดำรงชีพโดยการจับปลาขายต่อไป เกษตรกรเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาก็อยู่ในฐานะเดียวกัน คนที่มีอาชีพฆ่าหมูเพื่อชำแหละเนื้อออกขายในท้องตลาดก็อยู่ในฐานะเดียวกัน นี่คือข้อจำกัดหรือโทษของสังสารวัฏ

ในระดับโลกุตตระ วิถีชีวิตบริสุทธิ์จากข้อจำกัดเหล่านี้ สัมมาอาชีวะหรือสัมมาอาชีพซึ่งเป็นองค์หนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ จึงหมายถึง การดำรงชีพที่ชอบเว้นจากอาชีพที่เป็นการเบียดเบียนชีวิต เช่น การค้าอาวุธแม้จะถูกต้องตามกฎหมาย การค้าแรงงานมนุษย์ การค้ายาพิษ การค้าน้ำเมา

ประเด็นเกี่ยวกับมังสวิรัติก็เช่นเดียวกัน การกินหรือไม่กินเนื้อสัตว์เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ประเด็นสำคัญคืออย่าฆ่าสัตว์ เมื่อพระเทวทัตต์เข้าไปเฝ้ากราบทูลขออนุญาตวัตถุ ๕ ประการ วัตถุข้ออื่น ๆ พระพุทธเจ้าตรัสกับพระเทวทัตต์ "อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงทำไปเถิด เช่น ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า" ส่วนข้อที่เกี่ยวกับการฉันปลาและเนื้อ พระพุทธเจ้าตรัสตอบพระเทวทัตต์ว่า "เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒) ไม่ได้ยิน (๓) ไม่ได้รังเกียจ" จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงใช้คำว่า "ผู้ใดปรารถนาก็จงฉันปลาและเนื้อ" พระพุทธดำรัสนี้มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง ถามว่า "อะไรคือนัยสำคัญแห่งพระพุทธดำรัสนี้ ?"

พระพุทธดำรัสว่า "เราอนุญาตและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..." หมายถึง ไม่ได้ตั้งข้อกำหนดไว้ วางไว้เป็นกลาง ๆ ไม่ได้กำหนดแม้แต่จะบอกว่า "ผู้ใดปรารถนาก็จง ..." เพราะฉะนั้น เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นกลาง ๆ อย่างนี้ ในทางปฏิบัติ จะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม จะถูกหรือผิด พระภิกษุต้องเทียบเคียงกับหลักที่เรียกว่า "มหาปเทศ" ๒ ข้อ คือ

(๑) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า "สิ่งนี้ไม่ควร" ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งที่ไม่ควร แย้งกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร
(๒) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า "สิ่งนี้ไม่ควร" ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งที่ควร แย้งกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร

เมื่อพระภิกษุเทียบเคียงถือปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมไม่ผิดพระวินัย แต่อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า วิถีชีวิตระดับโลกิยะ มีโทษมาก มีข้อบกพร่องมาก เช่นกรณีการกินเนื้อสัตว์ แม้จะเป็นเนื้อที่ไม่ต้องห้าม ต้องพิจารณาก่อนฉัน ถ้าไม่พิจารณาย่อมผิดพระวินัย ซึ่งต้องการให้พระภิกษุหรือแม้แต่คนที่ไม่ใช่พระภิกษุสำนึกอยู่เสมอว่า การกินเนื้อสัตว์แม้จะไม่ได้ฆ่าสัตว์ก็ถือว่มีส่วนทำให้ชีวิตถูกทำลาย ถ้าไม่กินจะดีกว่าหรือไม่ ? ส่วนวิถีชีวิตระดับโลกุตตระนั้น ย่อมบริสุทธิ์จากอกุศลเจตนาทุกประการ พระพุทธศาสนาสรุปชัดเจนในประเด็นว่า ฆ่าสัตว์ผิดศีลผิดวินัย บางกรณีผิดกฎหมายบ้านเมือง กินเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ไม่ผิด ถ้าเป็นพระภิกษุฉันผิดเงื่อนไข ผิดพระวินัย ถ้าไม่ผิดเงื่อนไข ไม่ผิดพระวินัย นั่นเป็นเรื่องของศีลของคฤหัสถ์และพระวินัยของพระภิกษุ แต่อย่าลืมว่า ฆ่าสัตว์กับกินเนื้อสัตว์เป็นคนและประเด็น กินเนื้อสัตว์ในกรณีที่แม้จะไม่ผิดศีลหรือพระวินัย แต่ส่งผลต่อคน/สัตว์รอบข้างและอุปนิสัยจิตใจของผู้กินแน่นอน

ในลังกาวตารสูตรแสดงเหตุผลที่ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ สรุปได้ว่า "ในสังสารวัฏ คนที่ไม่เคยเป็นบิดามารดา ไม่เคยเป็นพี่น้องกัน ไม่มี สัตว์ทุกตัวตนมีความสัมพันธ์ทั้งสิ้นไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง" เพราะฉะนั้น กินเนื้อสัตว์วันนี้ เราอาจกำลังกินเนื้อของสัตว์ที่เคยเป็นบิดามารดาของเราในชาติที่แล้วมาหรือในอีก ๕ ชาติข้างหน้าก็ได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงผลเสียของการกินเนื้อสัตว์ไว้ เช่น ทำให้เป็นที่หวาดกลัวของสัตว์ ต่าง ๆ ทำให้กลิ่นตัวเหม็น ทำให้ชื่อเสียงไม่ดีกระจายไป...



โดย...พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์)
ป.ธ.๙, ศษ.บ.,พธ.ม.(พระพุทธศาสนา), Ph.D. (Buddhist Studies)
คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย




รูปขนาดเล็ก
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 142 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร