วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 13:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุปัจจัย

เหตุ ( เค้ามูล , สิ่งที่ทำให้เกิดผล ) + ปจฺจย ( อาศัยเป็นไป )

สภาพธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดผลโดยความเป็นเหตุ หมายถึง เหตุเจตสิก ๖ ดวง

คือ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ซึ่งประกอบกับจิต จึงเป็นปัจจัยให้

จิตและเจตสิกอื่นที่เกิดร่วมด้วย รวมทั้งจิตตชรูปเกิดขึ้น และเป็นปัจจัยแก่ปฏิสนธิกัม-

มชรูปในขณะปฏิสนธิกาลด้วย

เหตุปัจจัย เป็นปัจจัยแรกในปัจจัย ๒๔ ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงในคัมภีร์

ปัฏฐาน แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเหตุปัจจัย เพราะถ้าไม่มีเหตุเจตสิก ๖

เหล่านี้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่มีการกระทำที่เป็นบาปหรือเป็นบุญ และเมื่ออบรม

เหตุที่เป็นฝ่ายกุศลจนสามารถดับเหตุฝ่ายที่เป็นอกุศลได้แล้ว เหตุที่เป็นฝ่าย

กุศลก็จะถึงความสิ้นไปด้วย ยังคงเหลือเหตุที่เป็นฝ่ายอัพยากตะเท่านั้น และ

เมื่อหมดกรรมที่ทำให้มีชีวิตอยู่ในชีวิตนั้นแล้ว ก็ถึงความดับขันธปรินิพพาน ไม่

มีการปฏิสนธิในภพใหม่อีกต่อไป



ในคัมภีร์ปัฏฐาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ ๗ เป็นคัมภีร์สุดท้ายของพระอภิธรรม

ปิฎกนั้น แสดงสภาพธรรมทั้งหลายโดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดย

ประเภทของปัจจัยต่าง ๆ ปัจจัยแรก คือ เหตุปัจจัย แสดงให้เห็นความสำคัญ

ของสภาพธรรมซึ่งเป็นเหตุ ในงานศพ เมื่อพระภิกษุท่านสวดพระอภิธรรม จะ

เริ่มต้นด้วย “เหตุปจฺจโย” คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ

อโทสเหตุ อโมหเหตุ เพื่อเตือนให้รู้ว่าสภาพธรรมซึ่งเป็นตัวเหตุที่จะให้เกิด

ผล เกิดภพเกิดชาตินั้น ได้แก่ เจตสิก ๖ ดวง คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก

โมหเจตสิก และ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก ปัญญาเจตสิก


สัมปยุตตปัจจัย

สํ ( พร้อม ) + ป ( ทั่ว ) + ยุตฺต ( ประกอบ ) + ปจฺจย ( อาศัยเป็นไป )

สภาพเป็นที่อาศัยเป็นไปโดยการประกอบร่วมกัน หมายถึง นามธรรมที่อาศัย

นามธรรมที่เกิดร่วมกันอย่างกลมกลืน เป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น ได้แก่ ...

จิต ...อาศัย เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เป็นสัมปยุตตปัจจัย

เจตสิก ...ก็อาศัย จิตที่เกิดร่วมกัน เป็นสัมปยุตตปัจจัย

และ เจตสิก ...ก็อาศัย เจตสิกที่เกิดร่วมกัน เป็นสัมปยุตตปัจจัย

ปากปัจจัย

วิปาก ( ความสุกวิเศษ , ผล ) + ปจฺจย ( อาศัยเป็นไป )

สภาพเป็นที่อาศัยเป็นไปโดยความเป็นวิบาก หมายถึง วิบากจิต และเจตสิกที่

ประกอบ ซึ่งเป็นปัจจัยแก่กันและกัน และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปที่เกิดจากวิบากจิต รวม

ทั้งปฎิสนธิกัมมชรูปด้วย


วิปปยุตตปัจจัย

วิ ( ไม่ ) + ป ( ทั่ว ) + ยุตฺต ( ประกอบ ) + ปจฺจย ( อาศัยเป็นไป )

สภาพธรรมที่อาศัยกันเป็นไปโดยความไม่ประกอบกัน หมายถึง นามธรรมที่อาศัย

รูปธรรมเป็นปัจจัย เช่น โสตวิญญาณอาศัยโสตปสาทรูปเป็นที่เกิด โสตปสาทรูปจึง

เป็นวิปปยุตตปัยจัยแก่โสตวิญญาณ หรือรูปธรรมที่อาศัยนามธรรมเป็นปัจจัย เช่น

จิตตชรูป หรือนามธรรมและรูปธรรมต่างก็เป็นวิปปยุตตปัจจัยซึ่งกันและกันในปฏิสนธิ

กาล คือ ปฏิสนธิจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ เป็นวิปปยุตตปัจจัยแก่กันกับปฏิสนธิหทยวัตถุ

เป็นต้น
จิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก

ทางลิ้น ทางใจ เมื่อสัมผัส เจตสิกกระทบอารมณ์ใด จิตก็เกิดพร้อมผัสสะนั้น ก็รู้แจ้ง

ลักษณะต่าง ๆ ของอารมณ์นั้น


ฉะนั้น แม้คำว่า รู้แจ้งอารมณ์ ซึ่งเป็นลักษณะของจิตซึ่งเป็นสภาพรู้ ก็จะต้องเข้าใจว่า

“รู้แจ้งอารมณ์” คือ รู้ลักษณะต่างๆ ของอารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฏไม่ว่าจะเป็นทางตา ทาง

หู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ อารมณ์จึงเป็น

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จิตแต่ละประเภทเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น ฉะนั้น อารมณ์จึงเป็นอารัม-

มณปัจจัย คือ เป็นปัจจัยให้เกิดโดยเป็นอารมณ์ของจิต


จิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นมีปัจจัยอื่นอีกหลายปัจจัย แต่จิตจะเกิดขึ้นโดยไม่รู้อารมณ์

ไม่ได้ ฉะนั้น อารมณ์จึงเป็นปัจจัยหนึ่งในหลายปัจจัยที่ทำให้จิตแต่ละขณะเกิดขึ้น

สภาพธรรมใดเป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นพร้อมกับตน สภาพธรรมนั้นเป็นสหชาตปัจจัย

สห แปลว่า ร่วมกัน พร้อมกัน

ชาต แปลว่า เกิด

ปัจจัย คือ ธรรมซึ่งอุปการะอุดหนุนให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่



แสดงว่าสภาพธรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นสังขารธรรม เพราะอาศัยธรรมอื่นเป็นปัจจัยจึงเกิดขึ้น

ถ้าปราศจากปัจจัย สภาพธรรมทั้งหลายก็เกิดไม่ได้ และสภาพธรรมซึ่งเป็นสหชาตปัจจัยนั้น ทำ

ให้สภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นพร้อมกับตน แต่สภาพธรรมบางอย่างก็เป็นปัจจัยโดยเกิดก่อนสภาพ

ธรรมที่ตนเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น สภาพธรรมบางอย่างก็เป็นปัจจัยโดยเกิดภายหลัง

ฉะนั้น จิตจึงเป็นสหชาตปัจจัยแก่เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น และเจตสิกก็เป็นสหชาต-

ปัจจัยแก่จิตที่เกิดพร้อมกับเจตสิกนั้น เมื่อผัสสเจตสิกเกิดขึ้นกระทบอารมณ์ใด จิตที่เกิดพร้อม

กับผัสสเจตสิกนั้น ก็รู้อารมณ์ที่ผัสสเจตสิกนั้นกระทบ ไม่ใช่ว่าผัสสเจตสิกกระทบอารมณ์หนึ่ง

แล้วจิตที่เกิดพร้อมกับผัสสเจตสิกนั้นไปรู้อีกอารมณ์หนึ่ง ขณะใดที่ผัสสเจตสิกเกิดขึ้นกระทบ

เสียงใด โสตวิญญาณจิตที่เกิดพร้อมกับผัสสเจตสิกที่กระทบเสียงนั้น ก็มีเสียงนั้นเป็นอารมณ์

กัมมปัจจัย

กัมมัง ( การกระทำ คือ เจตนาเจตสิก ) + ปัจจยะ ( อาศัยเป็นไป )

สภาพเป็นที่อาศัยเป็นไปโดยความเป็นกรรม หมายถึง เจตนาเจตสิกซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิด

ปัจจยุบบัน ( ผล ) แบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

สหชาตกัมมปัจจัย ๑ และนานักขณิกัมมปัจจัย ๑

๑. สหชาตกัมมปัจจัย ได้แก่ กรรมคือเจตนาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวงเป็นปัจจัยแก่สภาพ

ธรรมที่เกิดพร้อมกัน คือเป็นปัจจัยแก่จิต เจตสิกอื่น จิตตชรูป และปฏิสนธิกัมมชรูปด้วย

๒. นานักขณิกกัมมปัจจัย ได้แก่ กรรมคือเจตนาเจตสิกที่เกิดกับกุศลจิตแล้วอกุศลจิตเป็น

ปัจจัยแก่สภาพธรรมะที่เกิดต่างขณะ คือ เป็นปัจจัยแก่วิบากจิต วิบากเจตสิก และกัมมชรูปที่

จะเกิดขึ้นในอนาคต

อนันตรกัมมปัจจัย ก็เป็นนานักขณิกกัมมปัจจัย แต่หมายเฉพาะเจตนาเจตสิกที่เกิด

กับมรรคจิตทั้ง ๔ ซึ่งให้ผลไม่มีระหว่างคั่น คือ เป็นปัจจัยให้เกิดผลจืตสืบต่อจากมรรคจิต

ทันทีที่มรรคจิตดับไปแล้ว

พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ ๘๐

[๑๔] กัมมปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการโดยความปรุงแต่งเพื่อ

ให้กิจต่าง ๆ สำเร็จลง กล่าวคือ

๑. กุศลธรรมและอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ทั้งหลาย

และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

๒. สภาวธรรมคือเจตนาทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับเจตนา และแก่รูปทั้งหลายที่มีเจตนา และธรรมทั้งหลาย

ที่ประกอบกับเจตนานั้นเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย

พึงทราบวินิจฉัยใน กัมมปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

บทว่า กมฺมํ ได้แก่ เจตนาธรรม. สองบทว่า กฏตฺตา จ รูปานํ

แปลว่า รูปที่เกิดขึ้นเพราะถูกกรรมทำ (กรรมสร้าง). บทว่า กมฺมปจฺจเยน

ความว่า ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย ที่สามารถให้ผลของตน

เกิดขึ้นได้ในที่สุดแห่งโกฏิกัป มิใช่น้อย.

จริงอยู่ กุศลกรรมและอกุศลกรรม ย่อมไม่ให้ผลในขณะที่ตน

เป็นไป ถ้าจะพึงให้ผล (ในขณะนั้น) ไซร้ คนทำกุศลกรรมที่เป็น

เหตุให้เข้าถึงเทวโลกอันใดไว้ ก็จะพึงกลายเป็นเทวดาในขณะนั้น

ทีเดียว ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้น.

ก็กรรมนั้นที่บุคคลทำไว้ในขณะใด แม้จะไม่มีอยู่ในขณะอื่น

จากนั้น ย่อมยังผลให้เกิดขึ้นในกาลที่บุคคลพึงเข้าถึงปัจจุบัน หรือต่อ

จากนั้น ในเมื่อมีการประกอบพร้อมแห่งปัจจัยที่เหลือ เพราะเป็น

สภาพที่กรรมทำไว้เสร็จแล้ว เปรียบเหมือนการหัดทำศิลปะครั้งแรก

แม้จะสิ้นสุดไปแล้ว ก็ให้เกิดการทำศิลปะครั้งหลัง ๆ ในกาลอื่นได้ เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นานากขณิกกัมมปัจจัย.

สองบทว่า เจตนาสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ความว่า เจตนาอย่างใด

อย่างหนึ่ง เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน. ด้วยบทว่า ตํ สมุฏฺ€า-

นานํ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอากัมมชรูปในปฏิสนธิขณะด้วย.

คำว่า กมฺมปจฺจเยน นี้ ตรัสหมายถึงเจตนาที่เกิดพร้อมกัน. จริงอยู่

บรรดาธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น เจตนาอย่างใดอย่างหนึ่งช่วยอุปการะ

แก่ธรรมที่เหลือโดยความเป็นกิริยา กล่าวคือ ความพยายามแห่งจิต เพราะ-

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า สหชาตกัมมปัจจัย. พรรณนา

บาลีในกัมมปัจจัยนี้เท่านี้ก่อน.

ก็กัมมปัจจัยนี้ โดยอรรถได้แก่ เจตนาที่เป็นไปในภูมิ ๔ เจตนานั้น

ว่าโดยประเภทแห่งชาติ จำแนกออกเป็น ๔ ชาติ คือกุศล อกุศล วิบาก

และกิริยา. ใน ๔ ชาตินั้น กุศลว่าโดยภูมิมี ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามาวจร-

ภูมิเป็นต้น. อกุศลมี ๑ ภูมิเท่านั้น วิบากมี ๔ ภูมิ กิริยามี ๓ ภูมิ.

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่าง ๆ ในกัมมปัจจัย

ดังกล่าวมาแล้ว.

ก็ใน กัมมปัจจัย มีจำแนกได้ดังกล่าวมาแล้ว กามาวจรกุศลเจตนา

ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็น

สมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต

กับตนอย่างเดียวเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

ส่วนเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ของตน

และกัมมชรูปโดยนานากขณิกกัมมปัจจัย. ก็แลเจตนานั้นเป็นปัจจัยเฉพาะ

ในปัญจโวการภพเท่านั้น หาเป็นในภพอื่นไม่.

รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

กับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย

โดยส่วนเดียว. แต่ รูปาวจรกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัย

แก่วิบากของตนและกัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.

อรูปาวจรกุศลเจตนา และ โลกุตตรกุศลเจตนาที่เกิดพร้อมกัน

เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และแก่รูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐานในปัญจ-

โวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตนอย่างเดียว

ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

และเจตนาทั้งสองนั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์

ของตน ๆ ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย. อกุศลเจตนาที่เกิด

พร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน

ในปัญจโวการภพ, ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์เท่านั้น

ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

อกุศลเจตนานั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์และ

กัมมชรูป ด้วยอำนาจของนานากขณิกกัมมปัจจัย.

วิบากเจตนาฝ่ายกามาวจรและรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

กับตน และเป็นปัจจัยแก่จิตตชรูปในปวัตติกาล แก่กัมมชรูปในปฏิสนธิ-

กาล ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย.

อรูปาวจรวิบากเจตนา เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตกับตนอย่าง

เดียว ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. โลกุตตรวิบากเจตนา เป็นปัจจัย

แก่ธรรมที่สัมปยุตกับตน และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ในปัญจโวการภพ,

ในจตุโวการภพ เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจของสหชาต-

กัมมปัจจัย.

กิริยาเจตนา ที่เกิดในภูมิทั้งสาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต

และจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ ด้วยอำนาจของสหชาตกัมมปัจจัย. ก็กิริยา

เจตนาที่เกิดในอรูปภพ เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปธรรมเท่านั้น ด้วยอำนาจ

ของสหชาตกัมมปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจ-

ยุบบันในกัมมปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วแล.

วรรณนานิทเทสแห่งกัมมปัจจัย จบ



พระอภิธรรมปิฎก ปัฏฐาน เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ ๘๔


[๑๕] วิปากปัจจัย ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นวิบาก

คือถึงความสุก และหมดกำลังลง กล่าวคือ นามขันธ์ ๔ ที่เป็นวิบาก

เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.

วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย

ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน วิปากปัจจัยนิทเทส ต่อไป.

เพราะรูปแม้จะเกิดจากกรรม ก็ไม่ชื่อว่าวิบาก ฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงตรัสว่า วิปากา แล้วตรัสว่า จตฺตาโร ขนฺธา ในพระบาลีว่า

วิปากา จตฺตาโร ขนฺธา. บาลีนี้มาด้วยอำนาจวิปากปัจจัยแห่งอรูปธรรม

เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้. แต่ในปัญหาวาระ ย่อมได้วิปากปัจจัยแม้แก่

จิตตชรูปและกัมมชรูปด้วย เพราะพระมาลีมาแล้วว่า ขันธ์ ๑ ที่เป็น

วิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๑ และรูปที่จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วย

อำนาจของวิปากปัจจัย. ขันธ์ที่ ๑ ที่เป็นวิปากาพยากตะ เป็นปัจจัยแก่

ขันธ์ ๓ และกัมมชรูปในขณะปฏิสนธิ ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย. แต่

ในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเทศนาด้วยอำนาจธรรมที่มีส่วน

เหลือ. พรรณนาบาลีในวิปากปัจจัยนี้เพียงเท่านี้.

ก็วิปากปัจจัยนี้ เพราะเป็นวิบากธรรม ว่าโดยชาติมีเพียงชาติเดียว

(คือวิปากชาติ) โดยประเภทแห่งภูมิจำแนกได้ ๔ ภูมิ ด้วยอำนาจกามา-

วจรภูมิเป็นต้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยการจำแนกด้วยประการต่างๆ

ในวิปากปัจจัยนี้ ดังกล่าวมาแล้วนี้.

ก็ในวิปากปัจจัยที่จำแนกได้ดังอธิบายมาแล้ว กามาวจรวิบากและ

รูปาวจรวิบาก เป็นวิปากปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตกับตน และเป็นวิปากปัจจัย

แก่จิตตชรูปในปวัตติกาล เป็นวิปากปัจจัยแก่กัมมชรูปในปฏิสนธิกาล.

อรูปาวจรวิบาก เป็นวิปากปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น. โลกุตตร-

วิบากเป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและจิตตชรูป ในปัญจโวการภพ. เป็น

ปัจจัยเฉพาะแก่ธรรมที่สัมปยุตเท่านั้น ในจตุโวการภพ. ผู้ศึกษาพึงทราบ

วินิจฉัยแม้โดยธรรมที่เป็นปัจจยุบบันในวิปากปัจจัยนี้ อย่างนี้แล.

วรรณนานิทเทสแห่งวิปากปัจจัย จบ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 129 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร