วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 03:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2009, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ฯ ตอนที่ ๑๕
ในตอนที่แล้ว(๑๔)ได้อรรถาธิบาย คุณลักษณะของคำว่า โสดาปัตติมรรค ,โสดาปัตติผล ,สกทาคามิมรรค และ สกทาคามิผล รวมไปถึง ธรรมะที่กั้นขวางจิตไม่ให้บรรลุซึ่งความดี หรือ สิ่งที่คอยขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในธรรมะที่มีประโยชน์ อันได้แก่ ความพอใจในกามคุณ,ความพยาบาทคิดทำร้ายผู้อื่น, ความหดหู่ ไม่กระตือรือร้น ซึมเซา ง่วงเหงาหาวนอน, ความฟุ้งซ่าน รู้สึกรำคาญ,ความลังเลสงสัย
คุณลักษณะต่อจาก หรือต่อเนื่อง หรือชั้นที่สูงกว่า หรือความรู้หรือญาณอันนับเข้าในวิปัสสนาที่รู้แจ้งแทงตลอดได้ดีกว่ามากกว่าชั้น สกทาคามี ได้แก่ชั้น อนาคามี อันประกอบด้วย
อนาคามิมรรค หมายถึง หนทาง หรือการปฏิบัติ อันสืบเนื่องหรือต่อเนื่องจากชั้น โสดาบัน และ สกทาคามี กล่าวคือ เมื่อมีความรู้คือญาณ อันนับเข้าในวิปัสสนา ปฏิบัติตามความรู้คือญาณ จนสามารถละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ความยึดมั่น ถือหมั่น ถือดี ในตนเอง ในความรู้สึก ซึ่งทำให้เกิดความคิดความเข้าใจ กลายเป็นผลคือความเห็นที่ไม่เป็นกลางทางธรรมชาติ คือไม่เห็นเป็นธรรมดาของธรรมชาติทั้งหลาย อันเกิดจากความรู้ หรือเกิดจากการยึดถือข้อปฏิบัติในศาสนาอื่นๆ ว่าสามารถทำให้เกิดความสำเร็จได้ จนทำให้เกิดความลังเลสงสัย คิดไปต่างๆนานาเกี่ยวกับต้นตอของธรรม หรือความเกี่ยวเนื่องกันของธรรม เกิดความฟุ้งซ่าน ความไม่ชัดเจนในความเข้าใจนั้นๆ ไม่สามารถรับเอาพระธรรมตามหลักพุทธศาสนาได้” ซึ่งตามหลักพระอภิธรรมปิฎก หมายถึง “ญาณคือความรู้ เป็นเหตุให้ละสังโยชน์(สัญโยชน์)ได้(กิเลสที่มีอยู่ในใจของมนุษย์โดยธรรมชาติ) ๓ อย่างคือ สักกายทิฏฐิ,สีลัพพตปรามาส,วิจิกิจฉา รวมไปถึงญาณคือความรู้ อันนับเข้าในวิปัสสนา ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความเบาบาง แห่งกามราคะและพยาบาท อันเกิดจากความหลง เมื่อกามราคะ ความพยาบาท อันเกิดจากความหลง เบาบางลง พอก้าวเข้าสู่ชั้นอนาคามีมรรค บุคคลย่อมเกิดความรู้ความเข้าใจคือญาณ ในการปฏิบัติ เป็นเหตุให้สามารถ ละหรือขจัด ความคิด,อารมณ์,ความรู้สึกหรืออาสวะที่เบาบางจากขั้นสกทาคามีได้อย่างหมดจดเด็ดขาด นั่นก็หมายความว่า บุคคลย่อมสามารถละสังโยชน์ ๓ ในชั้น โสดาบัน และสามารถละ หรือขจัด กามราคะ และพยาบาท รวมไปถึงสภาพสภาวะจิตใจ ความคิดอันเกี่ยวข้องหรือเป็นเหตุให้เกิดโทสะ อันเกิดจากความหลง ที่เบาบางจากขั้นสกทาคามี ได้อย่างหมดจด และเด็ดขาด ซึ่งย่อมเกิดผลแห่งการปฏิบัติคือ
อนาคามีผล หมายถึง ผลหรือสิ่งที่เกิดจากอนาคามีมรรค อันได้แก่ บุคคลสามารถละสังโยชน์ ๓ ในชั้น โสดาบัน และสามารถละ หรือขจัด กามราคะ และพยาบาท รวมไปถึงสภาพสภาวะจิตใจ ความคิดอันเกี่ยวข้องหรือเป็นเหตุให้เกิดโทสะ อันเกิดจากความหลง ที่เบาบางจากขั้นสกทาคามี ได้อย่างหมดจด และเด็ดขาด ซึ่งในทางปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ในชั้นอนาคามีผลนี้ บุคคลย่อมสามารถขจัด คลื่นความคิด คลื่นอารมณ์ คลื่นความรู้สึก คลื่นกามราคะ ตัณหา คลื่นแห่งความพยาบาท ที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย ให้เคลื่อนที่หรือไหลออกจากร่างกายได้ โดยอัตโนมัติบ้าง โดยการบังคับควบคุมบ้าง ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจคือญาณทั้งหลายที่มีอยู่ในตัว และในชั้นชั้นอนาคามี นี้หากบุคคลบรรลุถึงได้ ก็จะคาบเกี่ยวคือควบเข้าสู่ชั้นอรหันต์ ซึ่งในชั้นอรหันต์นั้น มีคุณลักษณะที่แปลกแตกต่างออกไปอีกซึ่งความแปลกแตกต่างนั้นอาจมองเห็นได้แม้อยู่ในชั้นอนาคามี แต่จะเห็นได้หรือเกิดขึ้น เป็นบางเรื่องบางอย่าง ซึ่งคุณลักษณะของชั้น อรหันต์ มีดังนี้.-
อรหัตตมรรค หมายถึง หนทางหรือการปฏิบัติ อันสืบเนื่องต่อเนื่องจากชั้น อนาคามี หากปฏิบัติหรือละหรือขจัดได้เพียงกึ่งหนึ่งในจำนวน ๑๐ อย่าง ก็นับได้ว่าก้าวเข้าสู่หรือบรรลุชั้นอรหันต์แล้ว ในชั้นนี้บุคคลย่อมปฏิบัติต่อเนื่องสืบเนื่องจากความรู้หรือญาณ ในชั้นอนาคามี ซึ่งย่อมมีทฤษฎีหรือหลักการเพิ่มเติมจากชั้น อนาคามีอีกคือบุคคลย่อมมีความรู้เพิ่มพูนขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้นในการที่บุคคลย่อม.-
สามารถขจัด หรือกำจัด หรือละ หรือสำรอก ได้อย่างหมดจด และเด็ดขาด จาก “ความใคร่ ความกำหนัด ความอยากได้ ความหมกมุ่น ในกามราคะ อันเกิดจากความคิด ฯ
ย่อมสามารถขจัด หรือกำจัด หรือละ หรือสำรอก ได้อย่างหมดจดและเด็ดขาดจาก ความอาฆาตแค้น ความพยาบาท ปองร้าย หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์อันเป็นเหตุให้เกิดความอาฆาตแค้น พยาบาท ปองร้ายทั้งทางกาย วาจา ซึ่งเกิดจากความคิดฯ ตามธรรมชาติของมนุษย์ที่ได้รับการขัดเกลาทางสังคม นับตั้งแต่กรรมพันธุ์ ฯลฯ เป็นต้นมา ,
สามารถละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ได้อย่างหมดจดและเด็ดขาด จากความอวดดี เย่อหยิ่ง ถือว่าดีกว่าผู้อื่น หรือคิดว่าตัวเองด้อยกว่าผู้อื่น คิดว่าตัวเองดี คิดว่าตัวเองเด่น ฯลฯ
สามารถละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ได้อย่างหมดจดและเด็ดขาดจาก ความยึดมั่น ถือมั่น ถือดี ในตนเอง ในความรู้สึก ในความจำ ซึ่งทำให้เกิดความคิดความเข้าใจ กลายเป็นผลคือ
ความเห็นที่ไม่เป็นกลางทางธรรมชาติ คือไม่เห็นเป็นธรรมดาของธรรมชาติทั้งหลาย ความไม่รู้ตามความจริงแห่งขันธ์ ๕ ย่อมมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป หมุนวนเป็นวัฏฎจักร, มีความคิดอันทำให้เกิดความเห็นคัดค้านตามหลักความเป็นจริงตามธรรมชาติ, มีความคิดซึ่งทำให้เกิดความเห็นในความเชื่ออื่นใดที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมชาติ, หรือเกิดจากความรู้ความเข้าใจที่ไม่ก่อให้เกิดการละ การขจัด หรือการกำจัด หรือสำรอก กิเลส ,อาสวะแห่งกิเลส ฯ หรือ
เกิดจากการยึดถือข้อปฏิบัติในศาสนาอื่นๆ ว่าสามารถทำให้เกิดความสำเร็จได้ จนทำให้เกิดความลังเลสงสัย เคลือบแคลงสงสัย หาข้อยุติในธรรมะไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้หรือคิดไม่ตรงตามความเป็นจริงตามเหตุตามผล ความคิดไม่ชัดเจนสับสน คิดไปต่างๆนานาเกี่ยวกับต้นตอของธรรม หรือความเกี่ยวเนื่องกันของธรรม เกิดความฟุ้งซ่าน ความไม่ชัดเจนในความเข้าใจนั้นๆ ไม่สามารถรับเอาพระธรรมตามหลักพุทธศาสนาได้
บุคคลย่อมสามารถละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ได้อย่างหมดจดและเด็ดขาด จากสิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากผลแห่งความคิดคือความเห็นที่ไม่เป็นกลางทางธรรมชาติฯ จากการลังเลเคลือบแคลงสงสัย จากการยึดถือข้อปฏิบัติในศีลแห่งศาสนาอื่นฯ นั่นก็คือ ความพอใจในภพหรือโลก นั่นหมายความว่า บุคคลสามารถ ละหรือขจัดหรือกำจัดหรือสำรอก ซึ่งธรรมชาติของการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์อันทำให้เกิด รัก,โลภ ,โกรธ,หลง,กามราคะ,ตัณหา(ความทยานอยากได้) ฯลฯ
บุคคลย่อมสามารถละหรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ได้อย่างหมดจดและเด็ดขาดจากสิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากภพและข้ออื่นๆ นั้นย่อมหมายถึง ตัณหา(ความทยานอยากได้) ความอิจฉา ริษยา ลาภ ยศ สรรเสริญ
บุคคลย่อมสามารถละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ได้อย่างหมดจดและเด็ดขาด จากสิ่งที่เกิดต่อเนื่องจากความอิจฉา ริษยา ลาภยศ สรรเสริญ นั่นก็คือ ความตระหนี่ หรือ ความหวง ไม่อยากให้ ไม่มีความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ในจิตใจ หวงความรู้ หวงทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งทุกคนล้วนมีความตระหนี่หรือ ความหวงเป็นธรรมชาติ แต่ใครจะหวงสิ่งใดกี่มากน้อย ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
บุคคลย่อมสามารถละ หรือขจัด หรือกำจัด หรือสำรอก ได้อย่างหมดจดและเด็ดขาด จากสิ่งที่เกิดจากทุกข้อที่ได้กล่าวมา นั่นก็คือ ความไม่รู้ ซึ่งความไม่รู้ย่อมหมายถึง ความไม่รู้ ในทุกข์,สมุทัย,นิโรธ,มรรค ไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นปัจจัยว่าสิ่งนี้เกิดเพราะสิ่งนั้น หรือสิ่งนั้นเกิดเพราะสิ่งโน้น เมื่อเกิดธรรมะนี้ขึ้นในใจ ย่อมเกิดธรรมะนั้นขึ้นในใจด้วย ฯลฯ ความไม่รู้แจ้ง ตามความเป็นไปตามหลักธรรมชาติ ความไม่รู้แจ้งตามหลักเหตุผลอันสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีจริงเป็นจริง หลงผิดโดยไม่ได้คิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ฯ
เมื่อบุคคลมีความรู้คือญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา สามารถละ หรือขจัดหรือกำจัด หรือสำรอก สิ่งที่ได้กล่าวอธิบายไปแล้วข้างต้นอย่างหมดจด และเด็ดขาด นั่นก็ย่อมหมายถึง ผล หรือสิ่งที่เกิดจาก การที่บุคคลได้ปฏิบัติ จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ จนเป็นผลให้บุคคลบรรลุ “อรหัตตผล” ซึ่งในทางปฏิบัติที่แท้จริงนั้น บุคคลย่อมสามารถขจัดหรือละ หรือกำจัด หรือสำรอก อาสวะแห่งกิเลส ออกจากร่างกายได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันคลื่น ความคิด ,คลื่นอารมณ์ ,คลื่นความรู้สึก, คลื่นตัณหา ,คลื่นกามราคะ ,และอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น รูป ,รส,กลิ่น,เสียงแสงสี,โผฏฐัพพะ จากภายนอกร่างกาย มิให้เข้าสู่ร่างกาย คือทั้งป้องกันคลื่น และขจัดมิให้เกิดการปรุงแต่งเมื่อได้รับการสัมผัส หรืออาจเกิดการปรุงแต่งเนื่องจากสภาพสิ่งแวดล้อม หรือเนื่องจากสภาพสังคมการเป็นอยู่ร่วมกัน ก็สามารถขจัด หรือกำจัด หรือละ หรือสำรอก คลื่นต่างๆเหล่านั้นอันเกิดจากการปรุงแต่งเมื่อได้รับการสัมผัส ซึ่งผลในชั้นอรหันต์นี้ ก็จะก้าวควบหรือคาบเกี่ยวกับชั้น “นิพพาน” ได้เป็นบางเรื่องบางอย่าง,บางขณะ, หมายความว่า จากการที่บุคคลมีความรู้คือญาณ อันนับเข้าในวิปัสสนา จนสามารถละ หรือกำจัด หรือขจัด หรือสำรอก ได้อย่างหมดจดและเด็ดขาด จักทำให้จิตหรืออวัยวะบางส่วนบางแห่งบางที่ สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะอันเป็นของเสีย ประดุจการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และเกิดไอเสียของเครื่องยนต์ฯ ซึ่งถูกขจัดออกไป จึงทำให้จิต หรือ อวัยวะบางส่วน บางแห่ง บางที่ โปร่งแสง เป็น ปรมาณู ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ อันเป็นคุณลักษณะแห่งบุคคลเมื่อบรรลุชั้นอรหันต์แล้วก็ย่อมก้าวควบหรือคาบเกี่ยวกับชั้น นิพพานด้วย
อนึ่ง ในหลักพระพระอภิธรรมปิฎกนั้น ได้กล่าวถึงสภาวะแห่งการบรรลุนิพพานเป็น ๒ อย่างได้แก่
๑. สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานที่ยังมีอุปาทิ(ความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์)เหลืออยู่, คือ การดับกิเลส หรือขจัด หรือกำจัด หรือละ หรือสำรอก อาสวะแห่งกิเลส แต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ และถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นก็หมายความว่า บุคคลในชั้นนี้เป็นเพียงการก้าวควบ หรือคาบเกี่ยวกับชั้นนิพพาน คือ จิตหรืออวัยวะบางส่วนบางแห่งบางที่ สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะอันเป็นของเสีย ประดุจการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และเกิดไอเสียของเครื่องยนต์ฯซึ่งถูกขจัดออกไป จึงทำให้จิต หรือ อวัยวะบางส่วน บางแห่ง บางที่ โปร่งแสง เป็น ปรมาณู ปรมาณู ซึ่งจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ (จากการวิจัย ค้นคว้า และปฏิบัติจนเห็นผลแล้ว ของผู้เขียน)
๒.อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง นิพพานไม่มีอุปาทิ(ความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์)เหลือ, คือการดับกิเลส หรือขจัด หรือละ หรือกำจัด หรือสำรอก อาสวะแห่งกิเลส โดยไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ซึ่งในข้อนี้แม้จะหาข้อสรุปได้ว่าเมื่อร่างกาย หรือจิต หรืออวัยวะทุกส่วน สะอาด บริสุทธิ์ ปราศจากอาสวะอันเป็นของเสีย อันเกิดจากความเข้าใจในความรู้คือญาณ อวัยวะทุกส่วนของร่างกายย่อมแปรเปลี่ยนเป็น ปรมาณู โปร่งแสง กลายเป็นอากาศธาตุ ส่วนการตายหรือการสิ้นชีวิต หรือการดับจากภพนั้น เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ทั้งหลายย่อมมีการตายหรือสิ้นชีวิต หรือดับจากภพเป็นธรรมดา เพราะหากคิดพิจารณาตามสังโยชน์ หรือ สิ่งที่ขัดขวางจิตมิให้บรรลุซึ่งความดีหรือความมีประโยชน์แล้ว หากคิดว่า นิพพาน ในชั้นนี้ คือ การสิ้นชีวิตของพระอรหันต์ หรือการดับจากพบของอรหันต์ ก็จะเป็นธรรมในข้อ ทิฏฐิสังโยชน์
อีกประการหนึ่งที่สำคัญยิ่ง สำหรับท่านทั้งหลายที่ได้อ่าน ได้เรียนรู้ และได้ศึกษา ในเรื่อง “จิต ,เจตสิก,รูป,นิพพาน ฯ” นี้ ทุกตอน ล้วนสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับท่านทั้งหลายได้ตามลำดับความต้องการของท่าน สามารถใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษา ได้เรียนรู้ ได้อ่านและจดจำ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นับตั้งแต่การสังคมเป็นอยู่ร่วมกันภายในครอบครัว ขยายกว้างออกไปในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล และทั่วไป ทั่วโลก มิใช่จะจำกัดการใช้เพียงในวัดหรือจำกัดการใช้เพียงพระสงฆ์ หรือผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระสงฆ์ ฯ เพราะการที่บุคคลจะสามารถขจัด หรือละ หรือกำจัด หรือสำรอก กิเลส หรืออาสวะแห่งกิเลส ฯ ตั้งแต่ระดับปุถุชน ไปจนถึง โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ และนิพพานได้นั้น ย่อมต้องมีความรู้มีความเข้าใจ และสามารถดำเนินชีวิต ในวิถีชีวิต การดำรงชีวิต การทำงาน พฤติกรรม การกระทำ ไม่ว่าจะเป็นทางกายก็ดี วาจาก็ดี ภายใต้สังคมการเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ หมายความว่า ความรู้ ตามพระอภิธรรมปิฎกนี้ สามารถใช้ได้กับคนทุกอาชีพ สามารถใช้ได้กับคนทุกระดับชั้น สามารถใช้ได้กับมนุษย์ทั้งหลาย และเมื่อมีความรู้ความเข้าใจแล้ว ความรู้ตามหลักพระอภิธรรมปิฎกนี้ ย่อมสามารถขจัด หรือละ หรือกำจัด หรือสำรอก กิเลส ,อาสวะแห่งกิเลส ให้เบาบางลง ให้หมดจด เด็ดขาด หรือดับกิเลสสิ้นได้ เป็นไปตามลำดับแห่งการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน และสภาพสิ่งแวดล้อม เพียงท่านทั้งหลายรู้จักบูรณาการความรู้ หรือประยุกต์ความรู้ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ให้เป็นไปตามวิถีชีวิต หรือให้เป็นไปตามการดำรงชีวิตของท่านทั้งหลาย ตามสภาพแวดล้อม และสภาพการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ย่อมสามารถทำให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง สร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว ชุมชน เรื่อยไปจนถึง ความเข้มแข็งของประเทศชาติ
หมายเหตุ...ท่านทั้งหลายสามารถศึกษาในรายละเอียดของ “สังโยชน์(สัญโยชน์)”จากพระอภิธรรมปิฎก ฉบับแปลเป็นภาษาไทย เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจเพิ่มเติมได้

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๔ ต.ค. ๒๕๕๒


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 09:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 09:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจากในบทความมีข้อแก้ไขเพิ่มเติม จึงได้แก้ใขเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในเนื้อหา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 167 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร