วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 08:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ในศีลนั้น ก็มีศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐ ศีล๒๒๗...

ศีล๕ ก็เป็นศีลขั้นพื้นฐาน ที่ทุกผู้ทุกนามพึงสมาทานไว้ด้วยดี
เพราะ ศีล๕นี้ เป็นศีลที่ผู้ครองเรือนสามารถสมาทานได้ และ ก็มีอานิสงส์ที่สูงมาก

แต่ ถ้ามากกว่าศีล๕ขึ้นไป คือ ไปเป็นศีล๘ ศีล๑๐ ศีล๒๒๗.... ก็จะมีลักษณะที่เพิ่มจากศีล๕ขึ้นไปตรง มีลักษณะที่โน้มไปยังการดำริออกจากกาม(ประกอบด้วยเนกขัมมะดำริ)



ประเด็นนี้ ก็เป็นลักษณะมองต่างมุม

ประเด็นก็คือ ในกรณีของเนกขัมมะสังกัปปะ คือ การดำริออกจากกาม นั้น


### 1. บางท่าน อาจจะเห็นว่า เนกขัมมะสังกัปปะ นี้เป็นการหลบหลีกปรากฏกาม(อ่านว่า ปรา-กด-ตะ-กาม :b32: )

คือ มองว่า "ไม่พึงหลบหลีกปรากฏการณ์ แต่ พึงหลบหลีกการปรุงแต่ง"...ซึ่ง ถ้าหากมองในแง่มุมหนึ่ง บทธรรมนี้ก็มีส่วนถูกน่ะครับ

และ เท่าที่รับฟังดูเหมือนจะเห็นว่า ศีลเนกขัมมะนี้ อาจจะเป็นลักษณะ การหลบหลีกปรากฏกาม คือ เป็นการไม่เปิดให้จิตรับผัสสะกามแบบเต็มๆแรงๆ ตามสภาพธรรมชาติของจิตเขา
แต่ ไปลดผัสสะกาม(กดข่มกามราคะ)ด้วย ศีลเนกขัมมะ.

เมื่อไม่ได้รับปรากฏกามแบบแรงๆเต็มๆ ตามสภาพธรรมชาติของจิตเสียแล้ว ด้วยว่า เราไปแทรกแซงการรับรู้ตามธรรมชาติของจิตเขาเสียแล้วด้วยศีลเนกขัมมะ ก็เป็นเสมือนการไปทำให้กระบวนการรับรู้ของจิตไม่ตรงไปตรงมาตามธรรมชาติ...
และ เมื่อ ไม่ใช่สภาวะที่ปรากฏจริงตามธรรมชาติของการรับผัสสะกามเสียแล้ว การเห็นกิเลสตามสภาพจริง ย่อมเป็นไปไม่ได้.....
และ เมื่อไม่สามารถเห็นกิเลสตามสภาพจริง ได้แล้ว จะละกิเลสได้อย่างไร???

เนกขัมมะสังกัปปะจึงเป็น เหมือนกับคอยหนีกิเลส รังเกียจกิเลส ไปรู้สึกว่ากิเลสเป็นของไม่ดี(มีการแบ่งแยกดีชั่ว) และ แทรกแซงการรับผัสสะกามตามสภาพธรรมชาติ




### 2. บางท่าน ก็เห็นว่า เนกขัมมะสังกัปปะ เป็น1ใน3ของสัมมาสังกัปปะ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ
๑. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริจะออกจากกามหรือปลอดจากโลภะ
๒. อัพยาปาทสังกัปปะ ดำริในอันไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริในอันไม่เบียดเบียน
(ข้อ ๒ ในมรรค)


และ การดำริออกจากกามนี้(แก้ไข) เป็นหนึ่งในอริยมรรคที่"พึงเจริญ" เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญไว้ และ ย่อมเอื้อต่อการเห็นธรรมขั้นสูง .... ซึ่ง ถ้าเป็นผู้มุ่งต่อจิตภาวนาขั้นสูง ล้วนต้องสมาทานเนกขัมมะดำริ ทั้งสิ้น

และ ศีลเนกขัมมะ(รวมทั้งการดำริออกจากกาม) ก็มีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสสรเสริญเอาไว้มากมาย




จึงขออนุญาตเปิดกระทู้นี้ขึ้น
เพื่อรับทราบ มุมมองทางธรรมที่อาจจะแตกต่างกัน(แต่ ไม่แตกแยกกัน) ว่า จะมีหลักใดเป็นหลักร่วม ในกรณีนี้



เชิญทุกท่านแสดงความเห็น น่ะครับ

คุณ กรัชกาย
คุณ วลัยพร
คุณ กามโภคี(ชื่ออย่างนี้ ต้องเชิญเป็นพิเศษ :b32: )
คุณ dhama
คุณ mes
คุณ ชาติสยาม
คุณ ลูกโป่ง
คุณ กุหลาบสีชา
คุณ murano
คุณ ภัทรไพบูลย์
คุณ บัวศกล

และ ตลอดจนถึงทุกๆท่าน ที่ผมนึกชื่อไม่ออก หรือ ไม่ได้เอ่ยนาม :b8:




ประเด็น ในลักษณะกระทู้นี้
ไม่ได้หาว่า ใครเห็นถูก-เห็นผิด... เพราะ มันเป็นลักษณะ"มองต่างมุม"อย่างที่ผมเกริ่นไว้แต่ต้นแล้ว

จึงน่าจะเป็นลักษณะ เสนอมุมมองของตนเอง รับฟังมุมมองของท่านอื่น พิจารณาพระพุทธพจน์ และ หาหลักการร่วมกัน




ขอบคุณครับ



ปล... บ่ายๆจะแวะเข้ามาครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 17 ส.ค. 2009, 17:01, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การดำริออกจากกามนั้น จะทำไม่ได้เลยถ้าเราไม่มีความเห็นชอบ ที่ตรง และมีกำลัง ถึงทำได้ก็ขาดๆเกินๆ ก็ถือว่าดี การที่มีความเห็นชอบ ว่าสิ่งทั้งหลายมันเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา นั้นมันเป็นที่สุดของความเห็นในทุกสิ่ง เมื่อเห็นอย่างนั้น ก็เข้าใจได้ว่า อะไรอะไรก็เอาไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นอะไร และก็ไม่น่าเอา และชีวิตเราก็แสนสั้น ผู้ที่มีความเห็นชอบ ก็น้อมทำตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนอย่างเต็มกำลัง จึงเกิดการดำริชอบที่จะออกจากกาม

การที่จะออกจากกามได้นั้น ก็ต้องรู้ว่ากามคืออะไรและโทษของมันคืออะไร จะเลิกอะไรเลิกเฉยๆโดยไม่รู้ว่าอะไรคืออะไร มันไม่ใช่การลดกิเลส มั่นเป็นการสะสมกิเลส ดูตามศิลของพระก็จะเห็นว่าท่านทรงห้ามอะไรไว้เยอะมากทีเดียว แต่ใครจะทำได้ขนาดไหนขึ้นอยู่กับกำลังของปัญญา ที่เห็นโทษ และปัญญาในการเข้าถึงธรรมที่แท้จริง ปัญญาในระดับการฟังการอ่าน คิดตามนั้นก็พอจะเป็นการจัดท่าจัดทางได้บ้าง และเมื่อความเห็นชอบเกิด จะไปห้ามดำริชอบไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ มันเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีใครหรอกที่อยากจะอดในสิ่งที่ตัวเองชอบ

แต่ความเห็นชอบมันเห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นโทษ ก็เลิกยกขึ้นมาเป็นการดำเนินชีวิตตามานั้นที่เรียกว่าเนกขัมมะ จนแม้กระทั้งการอยากบวชจริง และอาชีพที่ดีที่สุดที่พระองค์สร้างทางไว้ให้ก็คือนักบวช เป็นสัมมาอาชีพที่ดีที่สุด ถ้าไม่ดีที่สุดพระองค์ทรงไม่เลือกอาชีพนี้ พระองค์ทรงเข้าใจว่าเป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะบวช ก็แสดงเครื่องอยู่ของหลายๆอาชีพไว้ซึ่งพระองค์บอกว่าเหมือนยืนอยู่บนปากเหว ที่นี้ก็แล้วแต่ใครจะเห็นว่าดีตามนั้นหรือเปล่าห้ามกันไม่ได้ เพราทุกคนก็มีเหตุผลของแต่ละคนคอยสนับสนุน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการออกบวชจะสำเร็จกันทุกคน เพราะการออกบวชก็มีหลายสาเหตุ

แต่จะทำอย่างไรได้ สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม ตลอดชีวิตพระองค์ก็ทรงสั่งสอนหรือบอกทางให้เดินไปทางนี้นะเลี้ยวทางโน้นถึงตรงนั้นและไปทางนี้ถึงจะถึงจุดหมาย แต่ใครล่ะจะไปได้ถึงจุดหมายที่ทรงชี้ บางคนก็หลงทาง บางคนไปได้ชาหน่อย บางคนก็ถึงเร็ว

นอจากคำสอนลึ้กซึ้งที่จะเข้าใจได้แล้ว พญามารนี่แหละมันสำคัญมันคอยจะพาเราหลงทางเสมอ อะไรง่ายเรามักจะชอบทำแล้วก็มักบอกว่าทำง่ายดี ถ้ามันง่ายอย่างนั้นพระองค์จะสอนสาวกของท่านให้ลดละเลิกทำไม ถ้าทำง่ายๆอย่างนั้นก็ทรงสอนแบบง่ายๆไม่ดีกว่าเหรอครับจะได้สำเร็จกันหมดเลย ปฏิบัติไปเสพไปพญามารก็นอนตีพุงเลย อย่างที่ผมว่าละครับ แล้วแต่จริงๆสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม

พระองค์ทรงเป็นผู้บอกทางเท่านั้นส่วนใครจะเดินอย่างไร จะไปอย่างไร พระองค์ก็ไปบังคับเขาไม่ได้ และผมก็ได้แต่แชร์ประสบการเล็กๆน้อยตามความเข้าใจผม มันจะถูกผิดประการใดก็เป็นการแชร์ครับ มันเป็นเช่นนั้นเอง

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นานๆจะมีเทียบเชิญสักครั้ง โดยเฉพาะเป็นของท่านอาจารย์ตรงประเด็น

(ขออนุญาตเรียกท่านอาจารย์ครับ ผมมันคนดื้อ ไม่ค่อยยอมฟังใคร)

ต้องสนองเจตนาท่านแล้วครับ

ในฐานะที่เรียนมาน้อย ปริยัติต่ำจึงต้องระมัดระวัง

ต้องดูทีท่าท่านอาจารย์ใหญ่กับท่านอาจารย์ชาติสยามท่านอาจารย์บัวศกลท่านอาจารย์วลัยพรก่อน

(อันที่จริงรายชื่อที่ท่านตรงประเด็นยกมาเป็นอาจารย์ผมได้หมดครับ)


ความคิดเห็นผม

เนกขัมม เป็นการซ้อมกันถูกกามหลอกครับ ศีล๘ขึ้นไปเป็นเครื่องรางของขลังกันกามหลอก(เชิงลัญ

ญลักษณ์) คือเตือนสติตนว่ามีศีลที่รักษาอยู่ไม่ยุงกับกาม



สำหรับประเด็นการออกจากกามนั้น

อันดับแรกคือ

ดำริรู้ว่ากามทั้งหลายเป็นของหมักหมมแห่งกิเสลอันร้อนรุ่มเหน็ดเหนื่อย ถ้าหลุดพ้นได้ก็สงบสุข

แน่นอนว่าต้องรู้จักกามก่อน แต่ไม่ต้องรู้จักด้วยการบำเรอกามสนองกามตัญหา รู้จักกามในฐานะแห่ง

ทุกข์ อนิจจัง

เมื่อรู้ว่ากามเป็นทุกขัง อนิจจังแล้ว ก็ซ้อมออกจากทุกข์นั้นด้วยการประพฤติพรหมจรรย์คือ รักษาศีล

เนกขัมม

ให้รู้ถึงรสแห่งสุขที่ไม่อาศัยกาม คือสุขจากความสงบ สุขจากการเปลื้องทุกข์(เหมือนปลดทุกข์จากการ

ปวดท้องขี้ตามสำนวนท่านพุทธทาส)

ถึงแม้จะเป็นการกดทับกามเหมือนหินทับหญ้า แต่ถ้าทับนานพอหญ้าก็ตายสนิท

เหมือนการเล่นกีฬาเมื่อซ้อมบ่อยๆก็ชำนาญ

ในที่สุดก็ก้าวสู่ความเป็นสุดยอด คือหลุดพ้นจริงๆ


ข้อสำคัญ

การรักษาศีลขอให้รักษาเพื่อปลดเปลื้องจากกามจริงๆ

อย่ารักษาศีลเพื่อสนองกามคุณ

คือ

เพื่อแสดงว่าตนบริสุทธิ์มีศีลเหนือคนอื่น

อย่างนี้ม่อยู่มากเสียด้วย



ผมจึงสรุปว่า

ที่ท่านตรงประเด็นยกมาทั้งสองประเด็นนั้น

ถูกทั้งสองข้อครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเขี่ยนิดนึงครับ เอาไป ๒ อย่าง

ปริยัติ
เนกขัมมะ มาจาก นิ+กม ธาตุ
นิ แปลว่า ออก
กม ธาตุ แปลว่า ก้าว
รวมกันแล้ว แปลว่า ก้าวออก

ปฏิบัติ
หมายถึง จิตที่ก้าวออกจาก......
อาการจิตที่ไม่ระคนด้วย.........
เพราะการปฏิบัติบางอย่างมีผลให้สงบ และหรือ ประสบเห็นสภาวะบางอย่างในขันธ์ ๕ อย่าง

เนกขัมมะเป็นชื่อของคุณธรรมที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติ ไม่ใช่วิธีปฏิบัติ
เหมือนคำว่า สมถะ และ วิปัสนา เป็นชื่อของผลการปฏิบัติกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง

นิดเดียวจริงๆครับ เดี๋ยวมาต่อ.....

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ทั้งสองท่านน่ะครับ :b8:


รายละเอียด มุมมองต่างๆ ค่อยๆคุยกันไป สบายๆ :b38:




..............................



ประเด็น การดำริออกจากกาม ทั้งๆที่แท้จริงแล้วตนเองก็ยังคงมีกามราคะในจิตอยู่(ปัจจุบัน เรียกว่า การกดข่มกามราคะ ) เป็นการผลักใสกิเลส แบ่งแยกดีชั่ว ยึดมั่น-ถือมั่น ....เป็นสิ่งที่ไม่สมควรเจริญ จริงหรือ?




ผมขออนุญาตเสนอพระพุทธพจน์ประกอบ ดังนี้


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B ... 953&Z=4098

๙. เทวธาวิตักกสูตร

ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน

เรื่องวิตก


[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-



สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

[๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายัง
เป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยก
วิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสา
วิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง


และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็น
ส่วนที่ ๒


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้
กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า
มันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียด-
*เบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเรา
พิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อ
เราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้
บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา
เห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า
มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความ
ดับสูญไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ
ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตก
นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก
เสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่
พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก
ยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิต
ของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คน
เลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องดี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ
กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ
การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และ
เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว




ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตก
ย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า
เนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียด
เบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัย
อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย

ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน
เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้








ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ

จาก พยัญชนะ และ อรรถแห่งพยัญชนะ ในเรื่อง การดำริออกจากกาม(เนกขัมมวิตก)ในพระสูตรนี้
การดำริออกจากกามนี้ไม่เป็นภัยแน่นอน

แต่ ถ้าดำริในลักษณะนี้นานเกินไป ก็อาจจะทำให้ร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตฟุ้งซ่าน (อุทธธัจจะ)ได้ ... พระพุทธองค์จึงทรง"ดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี"

(ปัสสัทธิจากสมาธิ เป็นธรรมที่ถ่วงดุลย์กับ อุทธธัจจะจากวิริยะที่อาจจะมากเกิน...อ่าน กระทู้เก่า เรื่องดุลย์ในอิทรีย์ห้า)


ปล... พึงสังเกตุ การดำริออกจจากกามโดยองค์ธรรมในพระสูตรนี้จัดเป็นวิริยะ(ที่เจริญมากไปอาจฟุ้งซ่าน หรือ อุทธัจจะ) ไม่ใช่สมาธิ(สมถะ) อย่างที่ปัจจุบันเข้าใจกัน

หาก การดำริออกจจากกามมากเกินไป ต้องถ่วงดลุย์โดยการเจริญสมาธิ(สมถะ) เสียด้วยซ้ำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes




อ้างคำพูด:
สำหรับประเด็นการออกจากกามนั้น

อันดับแรกคือ

ดำริรู้ว่ากามทั้งหลายเป็นของหมักหมมแห่งกิเสลอันร้อนรุ่มเหน็ดเหนื่อย ถ้าหลุดพ้นได้ก็สงบสุข

แน่นอนว่าต้องรู้จักกามก่อน แต่ไม่ต้องรู้จักด้วยการบำเรอกามสนองกามตัญหา รู้จักกามในฐานะแห่ง

ทุกข์ อนิจจัง

เมื่อรู้ว่ากามเป็นทุกขัง อนิจจังแล้ว ก็ซ้อมออกจากทุกข์นั้นด้วยการประพฤติพรหมจรรย์คือ รักษาศีล

เนกขัมม

ให้รู้ถึงรสแห่งสุขที่ไม่อาศัยกาม คือสุขจากความสงบ สุขจากการเปลื้องทุกข์(เหมือนปลดทุกข์จากการปวดท้องขี้ตามสำนวนท่านพุทธทาส)

ถึงแม้จะเป็นการกดทับกามเหมือนหินทับหญ้า แต่ถ้าทับนานพอหญ้าก็ตายสนิท

เหมือนการเล่นกีฬาเมื่อซ้อมบ่อยๆก็ชำนาญ

ในที่สุดก็ก้าวสู่ความเป็นสุดยอด คือหลุดพ้นจริงๆ




อืมม... สุขที่พ้นจากกามเหมือนสุขที่ปลดทุกข์ :b32:

เห็นด้วยน่ะครับ เปรียบเทียบเห็นภาพเลย





ประเด็นเรื่อง หินทับหญ้า เป็นประเด็นที่ปัจจุบันจะเป็นจุดที่คุยกันมาก

กล่าวกันบ่อยๆ ว่า สมถะไม่ดี เพราะ สมถะเปรียบเหมือนหินทับหญ้า คือ ยังไม่จบกระบวนการ
ต้องวิปัสสนาจึงจะดี คือ จบกระบวนการเลย

(แต่ อาจจะลืมไป สัมมาญาณะยืนอยู่บนพื้นฐานของสัมมาสมาธิ ซึ่ง ก็คือ วิปัสสนาญาณยืนอยู่บนพื้นฐานของสมถะ)




การกดทับกาม ก็อาจจะเปรียบเป็นหินทับหญ้าได้จริง...คือ ยังไม่จบกระบวนการ
ซึ่งก็อาจจะถูกน่ะ เพราะ กามราคะจะละขาดจริงๆก็ต้องขั้นอนาคามีผล :b6:



ผมขอเสนอดังนี้น่ะครับ

ผมเห็นว่า การที่"ยังไม่จบกระบวนการ" กับ การที่"ผิดทิศทาง" เป็นคนล่ะอย่างกัน



การที่"ยังไม่จบกระบวนการ" สิ่งที่พึงปฏิบัติคือ กระทำต่อให้จบกระบวนการอย่างถูกต้อง

ส่วน การที่"ผิดทิศทาง" สิ่งที่พึงปฏิบัติคือ ยุติการกระทำในลักษณะนี้ แล้ว หาทางใหม่



การดำริออกจากกาม ในผู้ที่ยังไม่บรรลุอนาคามีผลนั้น
ผมเห็นว่าเป็นลักษณะ "ยังไม่จบกระบวนการ" คือ ยังละกามราคะไม่ขาด
ซึ่ง สิ่งที่พึงปฏิบัติคือ เจริญเนกขัมมะดำริต่อให้ยิ่งๆขึ้นไป จนจบกระบวนการ
คือ เพียรเจริญอริยมรรคต่อไป จนกว่าจะพ้นจากกามอย่างเด็ดขาด


หาใช่ว่า กล่าวการดำริออกจากกามให้เป็น การที่"ผิดทิศทาง" ซึ่งควรยุติการเจริญเนกขัมมดำริ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:


จาก พยัญชนะ และ อรรถแห่งพยัญชนะ ในเรื่อง การดำริออกจากกาม(เนกขัมมวิตก)ในพระสูตรนี้
การดำริออกจากกามนี้ไม่เป็นภัยแน่นอน






บางท่าน อาจจะนึกในใจว่า

เอ...ทำไมผมถึงไม่พูดสภาวธรรมที่ปรากฏในใจ(อรรถแห่งสภาวะ)ของผมเองบ้าง ในกรณีนี้
เห็นพูดแต่ พยัญชนะ(พุทธพจน์) และ อรรถแห่งพยัญชนะ(ความหมายแห่งพุทธพจน์)ตามความเข้าใจของผม




คือ อย่างนี้น่ะครับ

กระทู้นี้เป็นการนำอรรถแห่งสภาวะ ในประเด็น "เนกขัมมะสังกัปปะ=หลบหลีกปรากฏกาม?"มาเสนอ
ที่ มีหลายฝ่ายอาจจะเห็นไม่ตรงกันมาเป็นประเด็น...

ต่างสายสำนัก ต่างอาจารย์ ต่างทิฏฐิ ก็จะมีอรรถแห่งสภาวะที่แตกต่างกัน ในเรื่องนี้.

และ ก็เป็นเพราะ อรรถแห่งสภาวะ ต่างสายสำนัก ต่างอาจารย์ ต่างทิฏฐิ ในประเด็นนี้แตกต่างกันมาก ผมจึงเสนอกระทู้นี้มาพิจารณาร่วมกัน
โดยนำ ข้อมูลที่เป็นกลาง ที่ทุกฝ่ายน่าจะยอมรับได้ในหลักการใหญ่ๆ มาวาง

ซึ่ง คงไม่มีสิ่งใดเหมาะสมเกินพระพุทธพจน์ :b8:




ปล...

แต่ ผมก็อาจจะนำความเห็นของพระสุปฏิปันโนบางท่าน ที่น่าสนใจมาร่วมเสนอ ในประเด็นนี้ด้วย


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 17 ส.ค. 2009, 17:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
มาเขี่ยนิดนึงครับ



ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


dhama เขียน:

นอจากคำสอนลึ้กซึ้งที่จะเข้าใจได้แล้ว พญามารนี่แหละมันสำคัญมันคอยจะพาเราหลงทางเสมอ อะไรง่ายเรามักจะชอบทำแล้วก็มักบอกว่าทำง่ายดี ถ้ามันง่ายอย่างนั้นพระองค์จะสอนสาวกของท่านให้ลดละเลิกทำไม ถ้าทำง่ายๆอย่างนั้นก็ทรงสอนแบบง่ายๆไม่ดีกว่าเหรอครับจะได้สำเร็จกันหมดเลย ปฏิบัติไปเสพไปพญามารก็นอนตีพุงเลย อย่างที่ผมว่าละครับ แล้วแต่จริงๆสัตว์โลกเป็นไปตามกรรม

พระองค์ทรงเป็นผู้บอกทางเท่านั้นส่วนใครจะเดินอย่างไร จะไปอย่างไร พระองค์ก็ไปบังคับเขาไม่ได้ และผมก็ได้แต่แชร์ประสบการเล็กๆน้อยตามความเข้าใจผม มันจะถูกผิดประการใดก็เป็นการแชร์ครับ มันเป็นเช่นนั้นเอง





เห็นด้วยครับ

ปัจจุบัน จะมีการเน้น"ความง่าย"กันมาก...

ถ้าเป็น "เรียบง่าย" ก็เห็นด้วยครับ ว่า ธรรมะเป็นสิ่งเรียบง่าย
แต่ ถ้าเป็น อะไรๆก็เอาง่ายๆไว้ก่อน ก็อาจจะเป็นลักษณะ"มักง่าย"เข้า




ถึงแม้น ผมจะไม่สมาทานศีล๘ในช่วงนี้(เมื่อก่อนเคยสมาทานอยู่เป็นปีเหมือนกัน)เพราะเหตุผลด้านต่างๆ แต่ ผมไม่เคยเห็นศีล๘เป็นเรื่องยากที่ไม่พึงปฏิบัติเลยครับ

ครูบาอาจารย์ท่านสอนเอาไว้ว่า

มักง่าย จะได้ยาก

ลำบาก จะได้ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับ คำสอนของปรมาจารย์เซนรุ่นเก่า ที่ท่านมักจะชี้ตรงเข้าที่จิต

เช่น คำสอนเรื่อง "ไม่ให้หลบหลีกปรากฏการณ์ แต่ ให้หลีกเลี่ยงการปรุงแต่ง"นั้น ต้องพิจารณากันให้ดีครับ

ที่ท่านสอนนั้น...ไม่ผิดแน่นอน

แต่ ผู้ที่ฟังแล้วนำมาปฏิบัติต้องรอบครอบด้วย



ต้องไม่ลืมว่า พื้นฐานของปรมาจารย์เซนรุ่นเก่า ท่านมีศีลเนกขัมมะและวิเวกเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
(ต่างกับ อาจารย์เซนในยุคปัจจุบัน ที่เกือบทั้งหมด จะไม่รักษาศีลเนกขัมมะกันแล้ว)

ปรมาจารย์เซนรุ่นเก่าท่านจึงกล่าวเช่นนั้นได้ อย่าง ถูกต้อง และ เที่ยงตรง






หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล :b8:

พระกรรมฐานที่ เรา-ท่านเคารพกันในปัจจุบัน
ท่านเอง ก็ชอบสอนแนวชี้ตรงเข้าที่จิตแบบเซน

แต่ ท่านก็สอนให้ลูกศิษย์ดำริออกจากกามด้วยการเจริญอสุภสัญญาเช่นกัน น่ะครับ

เสนออ่าน

ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล

ใช้สติระลึกไป แต่ในกายนี้ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้

เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกำหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ร่วมแสดงความเห็นตามความเข้าใจส่วนตัว ตามที่ท่านเจ้าของกระทู้ให้เกียรติอัญเชิญมาครับ

ผมมีความเข้าใจน้อยในเรื่องศัพท์ภาษาทางบาลี หากแหกตำราไปบ้างขอท่านผู้เจริญ
จงอย่าได้ถือสานะครับ

ผมคิดว่า เนกขัมมะ มี 2 ระดับ คือระดับที่เป็น โลกีย์ และโลกุตระ

ความดำริออกจากกาม ที่เป็นโลกีย์ เป็นสิ่งที่ต้องมีความตั้งใจ และมีเจตนา
ในการรักษา เจตนาในการควบคุม ในการประคอง ในการเว้นขาดจากกามคุณ

ซึ่งลักษณะของการ จำกัดกรอบชีวิตของตน ให้อยู่ในข้อบังคับของศีล
โดยมีการสมาทานศีลเป็นข้อบังคับ และควบคุมพฤติกรรมตนเอง การกระทำอย่างนี้
ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้อาสวะคือกามสิ้นไปก็จริง แต่ก็เป็นการบังคับ เป็นการลากจูงจิตให้ได้คุ้นเคย
กับอารมณ์ซึ่งเป็นที่สงัดจากกาม สงัดด้วยเรื่องการเกี่ยวข้องกับกาม

ถึงแม้การควบคุมเรื่องของกามคุณ ด้วยศีล จะเป็นเหมือนการกดข่มอาสวะ ไม่ใช่วิธีทำลาย
โดยตรง เช่นการเจริญวิปัสสนา แต่การควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของเนกขัมมะ
จะมีส่วนช่วยในทางทำให้ใจสงบ และใจสะอาดง่าย เมื่อใจสงบ กายสงบ วาจาสงบดีแล้ว
จิตย่อมมีความอ่อนโยนแจ่มใส เป็นจิตที่ง่ายต่อการเป็นสมาธิ และเป็นจิตที่เหมาะสมต่อการ
ใช้เป็นบาทฐานแห่งวิปัสสนา

เนกขัมมะในชั้นโลกีย์ถึงแม้จะไม่สามารถทำลายอาสวะได้ แต่ก็เป็นส่วนแห่งการควบคุม
อาการรบกวนจากกามคุณได้ และเป็นเหมือนดังเครื่องชักนำนิสัยจิต ให้น้อมไปคุ้นเคย
กับภาวะอันสันโดด ภาวะที่ว่างเว้นจากกามได้ ซึ่งความคุ้นเคยในเนกขัมมะหากกระทำให้
มากเข้า จิตของผู้นั้นก็จะมีทิศทางการน้อมเอียงไปสู่วิเวก สู่วิราคะได้เองโดยไม่ต้องบังคับ

หากอบรมให้มากจนคุ้นเคย จิตก็จะถูกสร้างนิสัยใหม่ จิตจะกลายเป็นจิตที่รักสันโดด รักสงบ
และยินดีต่อเนกขัมมะด้วยตัวของจิตเองโดยไม่ต้องบังคับเหมือนเมื่อเริ่มแรก และแทบไม่รู้ตัว

เนกขัมมะชั้นโลกีย์ จะช่วยส่งเสริมให้จิตเข้าถึงความสงบได้ง่าย และช่วยส่งเสริมด้าน
การสร้างอุปนิสัยใหม่ที่สวนทางกับวิถีกามให้เกิดขึ้นกับจิต ดังนั้นบุคคลที่น้อมไปสู่การ
ถือเนกขัมมะ ปฏิบัติในเนกขัมมะให้มาก บุคคลนั้นก็ชื่อว่า กำลังสร้างและปรับรากฐาน
เพื่อให้วิถีปฏิบัติมีความเอื้อต่อการเจริญวิปัสสนาขั้นสูงขึ้นไป และจิตก็ได้สั่งสมนิสัยที่น้อม
ไปสู่วิเวก วิราคะอยู่ในทีด้วย

ส่วนเนกขัมมะ ในระดับโลกุตระ คือส่วนแห่งสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นผลมาจาก
บริวารอีก7องค์ของมรรคทั้ง8 เป็นสัมมาสังกัปปะที่มีบริวาร7ประการหลอมรวมเป็นหนึ่ง
เป็นเนกขัมมะที่ไม่ต้องบังคับ ไม่ต้องเจตนาเพื่อการรักษา แต่จิตมันยินดีของมันเองอยู่แล้ว
น้อมไปของมันได้เองอยู่แล้ว เพราะรู้ชอบ

สัมมาสังกัปปะตัวนี้จึงเป็นความดำริออกจากกามที่เป็นดังตัวผลของการอบรมปฏิบัติ

เมื่อสั่งสมการกระทำในทางเนกขัมมะอย่างโลกีย์มากเข้า ผลของการอบรมปฏิบัติ
ก็จะเปลี่ยนเนกขัมมะอย่างโลกีย์ ที่ต้องบังคับต้องตั้งใจควบคุมกระทำ
มาเป็นเนกขัมมะในชั้นโลกุตระ ที่จิตมันน้อมไป ไหลไป เอนไปในเนกขัมมะได้เองอย่างเป็น
ธรรมชาติ และเป็นนิสัยใหม่ของเนื้อตัวชีวิต

สรุปว่า ถึงแม้เนกขัมมะ หรือการดำริออกจากกามด้วยตัวศีล จะไม่ใช่วิธีทำลายอาสวะ
และเป็นเหมือนการกดข่มอาสวะ แต่เนกขัมมะชนิดนี้ก็ช่วยให้จิตได้ปรับรากฐาน
เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเจริญวิปัสสนา และช่วยให้เกิดความสุข สงบ สันโดด
ในระดับที่สามารถจะเป็นเครื่องอยู่ เป็นเครื่องอิ่มใจ และเป็นบุญ เป็นกุศล เป็นการต่อ
เติมอุปนิสัยของเนกขัมมะบารมีให้เข้มและแก่กล้าขึ้นไป


ขอร่วมแสดงแง่มุมส่วนตัวแต่เพียงเท่านี้ครับ ขอบคุณที่มีคำถามดีๆมาให้ร่วมบันเทิงครับ


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิ อิ รอดตัวเพราะเบาปัญญา
คอยรออ่านอย่างเดียว

:b4: :b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

yahoo เขียน:
อิ อิ รอดตัวเพราะเบาปัญญา
คอยรออ่านอย่างเดียว

:b4: :b4: :b4:


เช่นกันครับ

เรามันชอบสวดมนต์


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุๆๆ ท่านผู้เจริญในธรรม ธรรมะคือธรรมชาติของความเห็น ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางสายหนึ่งที่พระศาสดาทรงตรัสใว้ดีแล้วดังท่านผู้เจริญแสดงความคิดเห็นก็ถูกต้องครับ ศีลเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตในการครองเรือนโดยไม่เบียดเบียนเพื่อนร่วมโลก และเนกขัมมะ คือการออกจากกาม และ กิเลสกามก็คือการฝึกจิตให้มั่นคงไม่หวั่นไหวในกิเลสกามเครื่องล่อใจ อันเป็นเหตุให้จิตหลงติดอยู่กับโลกหรือเพลินในการเกิด ครับ ......เป็นความคิดเห็นส่วนบุคลครับหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ



สาธุ


:b42: :b42: ท่านทั้งหลายพึงเจริญสุขเจริญธรรมเถิด :b8: :b8: :b8:

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2009, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:
มาเขี่ยนิดนึงครับ เอาไป ๒ อย่าง

ปริยัติ
เนกขัมมะ มาจาก นิ+กม ธาตุ
นิ แปลว่า ออก
กม ธาตุ แปลว่า ก้าว
รวมกันแล้ว แปลว่า ก้าวออก

ปฏิบัติ
หมายถึง จิตที่ก้าวออกจาก......
อาการจิตที่ไม่ระคนด้วย.........
เพราะการปฏิบัติบางอย่างมีผลให้สงบ และหรือ ประสบเห็นสภาวะบางอย่างในขันธ์ ๕ อย่าง

เนกขัมมะเป็นชื่อของคุณธรรมที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติ ไม่ใช่วิธีปฏิบัติ
เหมือนคำว่า สมถะ และ วิปัสนา เป็นชื่อของผลการปฏิบัติกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง

นิดเดียวจริงๆครับ เดี๋ยวมาต่อ.....




ส่วนมากคนจะเข้าศิลเนกขัมมะว่าจะต้องเป็นแบบนั้นตามแบบที่ได้ถูกสอนๆกันมา
ตรงนี้น่าจะเป็นอุบายให้คนรักษาศิลเพื่อไม่ให้จิตซัดส่ายออกไปภายนอกมากกว่านะคะ

แต่ตรงที่จานกามนำมากล่าวนี้ เน้นสภาวะเป็นหลัก ... ซึ่งมีนำมาอ้างอิงไว้ด้านล่างค่ะ

ตรงนี้เป็นเพียงข้อคิดเห็น

ในแง่ของการปฏิบัติ บางคนมุ่งหวังในเรื่องการหลุดพ้น พยายามทำทุกวิถีทาง
ที่จะไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง เช่นเรื่องการทิ้งครอบครัว เพราะคิดว่ามาตุคามเป็นเหตุขัดขวาง

สภาวะทุกสภาวะเขาจะเป็นไปตามสภาวะของเขาเอง ไม่ต้องมากดมาข่มอะไรกันเลย
เช่นพื้นฐานศิล 5 นี่ต้องมีแน่นอน ...

ถ้าจำไม่ผิดกามราคะนี่จัดว่าเป็นรูป รูปมี 2 แบบ แบบหยาบกับแบบละเอียด
แบบหยาบคือภายนอกที่มองเห็นได้ด้วยตา เช่น ความสวยงาม
แบบละเอียดคือภายในไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เช่น เรื่องของความรู้สึก

บางคนมองว่าแค่อสุภะนี้ก็จบ กดข่มเอาไว้ แล้วความกำหนัดที่มีอยู่ภายในล่ะ
จะขจัดมันอย่างไร หรือต้องทำแบบพระจีนที่ท่านเฉือนของท่านทิ้ง
คิดว่าแค่นั้นก็จบแล้วหรือ

เคยอ่านที่หลวงปู่หล้าตอบคำถามไว้
มีโยมกราบเรียนถามท่านว่า เขาไม่เคยยุ่งกับภรรยาเขาเลย คือไม่แตะต้องเลย
เห็นแต่สิ่งไม่สวยงาม แบบนี้ภูมิธรรมสามารถไปถึงพระอนาคามีได้ไหม?

หลวงปู่หล้าตอบว่า ขออนุโมทนาที่พยายามรักษาภูมิอนาคามี แต่อนาคามีไม่ได้มีแค่นี้
แม้แต่จะกอดใคร ก็ไม่คิดจะอยากจะกอด แม้แต่มดเข้ารูจมูกก็ไม่รู้สึกอะไร ไม่รำคาญ
ท่านพูดยาว แต่อ่านแล้วจำมาได้แค่นี้ค่ะ


ฉะนั้นจึงน่าจะกล่าวได้ว่า เนกขัมมะเป็นชื่อของคุณธรรมที่เป็นผลมาจากการปฏิบัติ
ไม่ใช่วิธีปฏิบัติเหมือนคำว่า สมถะ และ วิปัสนา เป็นชื่อของผลการปฏิบัติกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง

เริ่มจากโสดา เพียงศิล 5 เป็นพื้นฐาน
สกิทาคา กิเลสเบาบางลง
อนาคามี กิเลสย่อมเบาบางลงไปอีก


ถามว่า เพราะเหตุใดพระอริยะบุคคลแต่ละชั้นจึงละกามราคะได้แต่ละอย่างดังที่กล่าวนั้น จะละได้ยิ่งหย่อนกว่านั้นไม่ได้หรือ

วิสัชนาว่า ต้องละได้ตามอันดับดังกล่าว จะยิ่งหย่อนกว่านั้นไม่ได้ เพราะพระโสดาบุคคลนั้นย่อมเห็น รูป,นาม ขันธ์ 5 นี้สักแต่ว่าเป็นสภาวะธรรมเท่านั้น ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนและโดยความเห็นดังนี้จะละสักกายทิฏฐิได้ เมื่อละสักกายทิฏฐิได้แล้ว กรรมใดที่เป็นทุจริตอันจะนำไปสู่อบายก็ย่อมไม่กระทำกรรมนั้น

แต่ถึงแม้จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็ยังไม่สามารถจะละมานสังโยชน์ได้ ฉะนั้น ถึงแม้จะเห็นรูป,นาม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตนแล้วก็จริง แต่ก็ยังเห็นเป็นเราเป็นเขาอยู่ ความยินดีพอใจในอารมณ์ที่มากระทบจึงยังมีอยู่

สำหรับพระสกทาคามีบุคคล โดยอำนาจแห่งสกทาคามิมรรคซึ่งได้ประหาณกิเลสเป็นครั้งที่ ๒ ถึงแม้ว่าไม่ได้ประหาณกิเลสใดๆเป็นสมุจเฉทเพิ่มขึ้นจากโสดาปัตติมรรคก็ดี แต่ก็ได้ประหาณให้เป็นตนุกระคือให้เบาบางลง ฉะนั้น ความพอใจในกามอารมณ์ที่มากระทบแม้ยังมีอยู่ก็เบาบางลงมาก จึงประหาณกามราคะที่ไม่เป็นอปายคมนียะที่เป็นอย่างหยาบได้อย่างเด็ดขาด

กามราคะที่เป็นอปายคมนียะนั้นคือ กามรมณ์ทั้ง ๕ มากระทบทวารทั้ง ๕ แล้ว มีความยินดีพอใจเป็นอย่างมาก จนถึงสามารถล่วงอกุศลกรรมบถได้ เช่นความพอใจในรูปรมณ์ที่มากระทบสามารถให้กระทำกรรมอันเป็นกาเมสุมิจฉาจารได้ เป็นต้น

กามราคะที่ไม่เป็นอปายคมนียะชนิดที่เป็นโอฬาริกะอย่างหยาบนั้น เป็นความพอใจในกามรมณ์ทั้ง ๕ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ความพอใจนั้นไม่รุนแรง เป็นความพอใจที่ปรากฏอยู่แต่ในใจพอประมาณ

กามราคะที่ไม่เป็นอปายคมนียะชนิดที่สุขุมะอย่างปราณีตนั้น ได้แก่กามรมณ์ทั้ง ๕ เมื่อมากระทบทวารทั้ง ๕ แล้วไม่อาจยังให้เกิดความยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นๆได้ เช่น รูปารมณที่มากระทบจักขุทวาร แม้รูปารมณ์นั้นจะมีความสวยงามสักเพียงไร ก็ไม่สามารถทำให้เกิดความกำหนัดยินดีติดอยู่ในอารมณ์นั้นๆได้

สำหรับพระอนาคามีบุคคล โดยอำนาจอาคามิมรรค ซึ่งได้ประหาณกิเลสเป็นครั้งที่ ๓ จึงประหาณกามราคะที่ไม่เป็นอปายคมนียะที่เป็นอย่างปราณีตได้โดยเด็ดขาด หรืออีกนัยหนึ่ง พระอนาคมมีบุคคลนี้ละกามราคสังโยชน์อันเป็นโอรัมภาคียะทุกประการเป็นสมุจเฉทได้

ส่วนปฏิฆสังโยชน์นั้น พึงเข้าใจว่า ปฏิฆสังโยชน์ที่เป็นอปายคมนียะและไม่เป็นอปายคมนียะ ทั้งที่เป็นอย่างหยาบและอย่างปราณีต ก็เป็นทำนองเดียวกับกามราคสังโยชน์ ต่างกันที่ กามราคสังโยชน์เป็นความพอใจในอารมณ์ ปฏิฆสังโยชน์เป็นความไม่พอใจในอารมณ์เท่านั้น การละปฏิฆสังโยชน์แต่ละอย่างของพระอริยบุคคลแต่ละชั้น ตลอดจนเหตุผลก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ขอให้พิจรณาตามกามราคสังโยชน์โดยอนุโลม

อนึ่งในคัมภีร์วิสุทธิมัคคอรรถกถากล่าวไว้ว่า

กิเลเสสุ ทิฏฐิวิจิกิจฺแ ปฐมาญาณวชฺฌา โทโส ติตยญาณวชฺโฌ โลภโมหมานถีนอุทฺธจฺจอหิริกอโนตตฺตปฺปานิ จตุตฺญาณวชฺฌานิ.

กิเลส ๑๐ อย่างนั้นทิฏฐิและวิจิกิจฉา ๒ อย่างนี้ โสดาปัตติมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาด โทสะนั้นอนามิมรรคประหาณได้โดยเด็ดขาด โลภะ โมหะ มานะ ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ กิเลสทั้ง ๗ อย่างอันเป็นอปายคมนียะ-โอฬาริกะ และกามราคะชนิดสุขุมนั้น มรรคเบื้องต่ำทั้ง ๓ คือ โสดาปัตติมรรค,สกทาคามิมรรคและอนาคามิมรรค ประหาณได้อย่างเด็ดขาด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 155 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร