วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 02:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


dhama เขียน:
ผมเข้าใจว่าเป็นการทำลายสะพานถูกหรือเปล่าครับ เมื่อเรารู้ว่า ข้าศึกอยู่ตรงนี้เราก็หนีไปซะ หรือเรารู้ว่าข้าศึกอยู่ตรงนั้นเราก็ไม่หันหัวเรือไปทางนั้น ก็เป็นการฉลาดในการอยู่ใช่หรือเปล่าครับ




ประเด็นที่ ครูบาอาจารย์ ท่านเก็บกลดหนีกลางดึก

น่าจะเข้าลักษณะ

ถ้ากำลังมรรคมีน้อย เห็นกิเลสมีกำลังมาก ไม่แน่ใจในใจตนเอง
ก็ ถอยไปตั้งหลัก รวบรวมกำลังพลความพร้อมก่อน แล้ว ค่อยสู้ใหม่

แต่ ไม่ใช่หนีกิเลสตลอดน่ะครับ...
การเอาแต่ หนีกิเลส หลบเลี่ยงผัสสะ(หลบหลีกปรากฏการณ์)อย่างเดียว ย่อมไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ และ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนให้ทำอย่างนั้น เช่นกัน

จะอย่างไร สักวันหนึ่ง ก็ต้องสู้

แต่ ถ้าเห็นว่า สู้ตอนนี้แล้วแพ่แน่ๆ ไปตั้งหลักก่อนก็น่าจะดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:25
โพสต์: 281

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
dhama เขียน:
ผมเข้าใจว่าเป็นการทำลายสะพานถูกหรือเปล่าครับ เมื่อเรารู้ว่า ข้าศึกอยู่ตรงนี้เราก็หนีไปซะ หรือเรารู้ว่าข้าศึกอยู่ตรงนั้นเราก็ไม่หันหัวเรือไปทางนั้น ก็เป็นการฉลาดในการอยู่ใช่หรือเปล่าครับ




ประเด็นที่ ครูบาอาจารย์ ท่านเก็บกลดหนีกลางดึก

น่าจะเข้าลักษณะ

ถ้ากำลังมรรคมีน้อย เห็นกิเลสมีกำลังมาก ไม่แน่ใจในใจตนเอง
ก็ ถอยไปตั้งหลัก รวบรวมกำลังพลความพร้อมก่อน แล้ว ค่อยสู้ใหม่

แต่ ไม่ใช่หนีกิเลสตลอดน่ะครับ...
การเอาแต่ หนีกิเลส หลบเลี่ยงผัสสะ(หลบหลีกปรากฏการณ์)อย่างเดียว ย่อมไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ และ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนให้ทำอย่างนั้น เช่นกัน

จะอย่างไร สักวันหนึ่ง ก็ต้องสู้

แต่ ถ้าเห็นว่า สู้ตอนนี้แล้วแพ่แน่ๆ ไปตั้งหลักก่อนก็น่าจะดี



สาธุครับ

.....................................................
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thai.dhamma.org


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
บางท่าน อาจจะเห็นว่า ศีลเนกขัมมะ นี้เป็นการหลบหลีกปรากฏกาม(อ่านว่า ปรา-กด-ตะ-กาม :b32: )

ฯลฯ

และ เท่าที่รับฟังดูเหมือนจะเห็นว่า เนกขัมมะนี้ อาจจะเป็นลักษณะ การหลบหลีกปรากฏกาม คือ เป็นการไม่เปิดให้จิตรับผัสสะกามแบบเต็มๆแรงๆ ตามสภาพธรรมชาติของจิตเขา
แต่ ไปลดผัสสะกาม(กดข่มกามราคะ)ด้วยศีลเนกขัมมะ.


คุณหมอ...บางท่านที่พูดตามความหมายนี้ ท่านไหนเนี่ย น่าตีจริงๆ

เนกขัมมะ แปลไปได้อย่างไรว่าหลบหลีก ไม่มีศัพท์ไหนเลยที่จะแปลได้ว่า หลบหลีก
ถ้าแปลว่าหลบหลีก ก็ทำให้เสียทางไวยากรณ์ด้วย ความหมายของธรรมก็เสียไปอีก
แปลไปเลยว่า ออกจากกาม ก็เท่านี้ ความหมายก็ชัดแจ้ง ไวยากรณ์ก็ไม่เสีย

นอกจากแปลผิดหลักภาษาและทำให้ความหมายเสียแล้ว ยังบ่งบอกว่าพูดออกมาโดยไม่เข้าใจคำนี้ด้วย
คำนี้ในความหมายของเนกขัมมะคือ ถึงจุดที่ออกจากกามไปแล้ว ลองมาดูครับ

ธรรม ๓ อย่างที่แทงตลอดได้ยากเป็นไฉน คือธาตุเป็นที่ตั้งแห่งความสลัด
ออก ๓ คือเนกขัมมะเป็นที่ถ่ายถอนกาม ๑ ฯลฯ


จากสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ตรงนี้บอกชัดๆว่า แทงตลอดได้ยาก แสดงว่าเนกขัมมะนี้
แม้การบวชอยู่ ปฏิบัติธรรมอยู่ ก็ยังไม่ชื่อว่าได้เนกขัมมะตามความหมาย เพราะตราบใดยังไม่ออกจาก
กาม ก็ยังไม่ชื่อว่าแทงตลอดในเนกขัมมะ

ตัวอย่างความหมายของ เนกขัมมะ หรือ ออกจากาม

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่
สลัดออก ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ เนกขัมมะ(รูปฌาน) เป็นที่สลัดออกซึ่งกามทั้ง
หลาย ๑ อรูปฌานเป็นที่สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ๑นิโรธเป็นที่สลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว
อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้แล ฯ


จากพระสุตันตปิฎก ขุททกนิกาย แสดงไว้เลยแบบรูปธรรมว่าอะไรคือเนกขัมมะ
ตามข้อนี้เอง จึงบอกได้ว่า เนกขัมมะเป็นสภาวะที่เป็นผลจากการปฏิบัติแล้วรู้เห็น ประสบ เข้าใจ บรรลุ
เหมือนคำว่า บริกรรมจนใจสงบแล้วผลคือสมถะ พิจารณาไตรลักษณ์ด้วยญาณแล้วผลเป็น
วิปัสสนา

ในเชิงปฏิบัติตามพระสูตรนี้คือ เมื่อจิตอยู่ในสภาวะ รูปฌาน อรูปฌาน ตอนนั้นเองเรียกว่าเนกขัมมะ
เพราะว่าปราศจากกามฉันทะ ต่อเมื่อพ้นจากฌานจิตแล้ว ก็ไม่เป็นเนกขัมมะ เว้นแต่นิโรธสมาบัติ
เท่านั้นที่เป็นเนกขัมมะทั้งขณะอยู่ในนิโรธสมาบัติและออกจากนิโรธสมาบัติ

อ้างคำพูด:
เมื่อไม่ได้รับปรากฏกามแบบแรงๆเต็มๆ ตามสภาพธรรมชาติของจิตเสียแล้ว ด้วยว่า เราไปแทรกแซงการรับรู้ตามธรรมชาติของจิตเขาเสียแล้วด้วยศีลเนกขัมมะ ก็เป็นเสมือนการไปทำให้กระบวนการรับรู้ของจิตไม่ตรงไปตรงมาตามธรรมชาติ...
และ เมื่อ ไม่ใช่สภาวะที่ปรากฏจริงตามธรรมชาติของการรับผัสสะกามเสียแล้ว การเห็นกิเลสตามสภาพจริง ย่อมเป็นไปไม่ได้.....
และ เมื่อไม่สามารถเห็นกิเลสตามสภาพจริง ได้แล้ว จะละกิเลสได้อย่างไร???


ถ้าเข้าใจคำว่าเนกขัมมะจริงๆ จะไม่มาพูดแบบนี้เลย เพราะตามที่พูดมา อยู่ในระหว่างการปฏิบัติเพื่อ
ให้ถึงเนกขัมมะ คำพูดแบบนี้แสดงถึงว่า วิธีการใดถูกผิด ไม่เกี่ยวกับความหมายเนกขัมมะโดยเนื้อแท้

อ้างคำพูด:
เนกขัมมะจึงเป็น เหมือนกับคอยหนีกิเลส รังเกียจกิเลส ไปรู้สึกว่ากิเลสเป็นของไม่ดี(มีการแบ่งแยกดีชั่ว) และ แทรกแซงการรับผัสสะกามตามสภาพธรรมชาติ


เนกขัมมะตามความหมายจริงๆ ไม่ต้องหนีอะไรเลย เพราะสภาวะเนกขัมมะหรือออกจากกามไปแล้ว
จะต้องหนีกามทำไม




อ้างคำพูด:
บางท่าน ก็เห็นว่า เนกขัมมะเป็น1ใน3ของสัมมาสังกัปปะ
สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ
๑. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริจะออกจากกามหรือปลอดจากโลภะ
๒. อัพยาปาทสังกัปปะ ดำริในอันไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริในอันไม่เบียดเบียน
(ข้อ ๒ ในมรรค)

และ การออกจจากกามนี้ เป็นหนึ่งในอริยมรรคที่"พึงเจริญ" เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญไว้ และ ย่อมเอื้อต่อการเห็นธรรมขั้นสูง .... ซึ่ง ถ้าเป็นผู้มุ่งต่อจิตภาวนาขั้นสูง ล้วนต้องสมาทานเนกขัมมะดำริ ทั้งสิ้น
และ ศีลเนกขัมมะ(รวมทั้งการดำริออกจากกาม) ก็มีพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสสรเสริญเอาไว้มากมาย


ตรงนี้ผู้กล่าวพยายามอธิบายให้เห็นว่า ดำริออกจากกามเป็นมรรค ซึ่งก็ถูกครับ แต่บกพร่องไปหน่อย
เพราะ เนกขัมมะ กับดำริออกจากกาม คนละเรื่องกัน คนละความหมายเลย ต่างกันตรงนี้ครับ
ออกจากาม กับ ดำริ(ออกจากาม)
ดำริคือคิด กำลังทำอยู่ คิดไปทำไป แต่สภาวะยังไม่ออกจากาม แต่....
เนกขัมมะ คืออกจากามไปแล้ว

เช่น การบวช เว้นจากมาตุคาม ก็ถือว่าเป็น เนกขัมมะสังกัปปะ คือ คิดหาทางออกจากาม แต่...
ยังไม่เป็นเนกขัมมะ เพราะยังออกจากกามไม่ได้ตามสภาวะ ต่อเมื่อถึงธาตุ ๓ อย่างที่พระพุทธเจ้า
ตรัสว่าแทงตลอดยากแล้ว แม้ไม่ต้องบวชก็เป็นเนกขัมมะครับ

ที่ยืนยันข้อนี้เลยก็คือ การดำริออกจจากกามนี้ เป็นหนึ่งในอริยมรรคที่พึงเจริญ เพราะว่าดำรินั้น สภาวะ
ยังไม่ถึงเนกขัมมะจริงๆ เลยยังต้องให้เจริญ ถ้าถึงเนกขัมมะแล้ว ก็อยู่จบพรหมจรรย์ ไม่มีกิจต้อง
ทำอีกต่อไป คือไม่ต้องเจริญอะไรๆอีกแล้ว อยู่จบไปแล้วนั่นเอง

ฉนั้น ประเด็นเรื่องเนกขัมมะน่าจะสรุปได้ว่า แปลไม่ถูกความหมายเลยผิดไป ใช้คำไม่ถูกที่เลยไม่รู้ว่า
อะไรกันแน่

อนึ่ง ในคำว่า เนกขัมมะวิตก การตรึกในออกจากกาม คือ สภาวะจิตที่ไม่มีกามเจือปน เช่นฌาน สมาบัติ เป็นต้น

คุณหมอตรงฯ มีอะไรเพิ่มครับ หาข้อสรุปร่วมกันจะได้ กาเลน ธัมมสากัจฉา เอตัมมังคลมุตตมัง.
:b12: :b12: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณคุณหมอตรงประเด็น และผู้ตอบกระทู้ทุกท่าน ที่ได้ให้ความรู้

ขออนุญาต นอกเรื่องนิดหนึ่ง
เท่าที่สังเกตุและติดตามความเป็นไปของ จขกท.

เข้าใจว่าเริ่มจากการศึกษาปริยัติ แล้วไปปฏิบัติ
ปฏิบัติแล้วเกิดผล - จึงย้อนกลับมาตรวจสอบกับปริยัติ
ที่สำคัญ - เห็นเช่นที่ครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่เห็น
ธรรมแท้ เป็นอย่างเดียวกัน ขึ้นเขาได้หลายทางแต่สุดท้ายก็ปลายทางเดียวกัน
เห็นความก้าวหน้าที่น่าชื่นชมยินดี

เป็นแค่ความรู้สึก-รับรู้ ผิดถูกอย่างไรขออภัย
:b8: ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ท่านกามโภคีน่ะครับ



อ้างคำพูด:
### 2. บางท่าน ก็เห็นว่า เนกขัมมะเป็น1ใน3ของสัมมาสังกัปปะ

สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ
๑. เนกขัมมสังกัปปะ ดำริจะออกจากกามหรือปลอดจากโลภะ
๒. อัพยาปาทสังกัปปะ ดำริในอันไม่พยาบาท
๓. อวิหิงสาสังกัปปะ ดำริในอันไม่เบียดเบียน
(ข้อ ๒ ในมรรค)

และ การออกจากกามนี้ เป็นหนึ่งในอริยมรรคที่"พึงเจริญ" เป็นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญไว้ และ ย่อมเอื้อต่อการเห็นธรรมขั้นสูง .... ซึ่ง ถ้าเป็นผู้มุ่งต่อจิตภาวนาขั้นสูง ล้วนต้องสมาทานเนกขัมมะดำริ ทั้งสิ้น



อ้อ...เห็นแล้วครับ

ผมใช้ คำว่า "การ"ออกจากกาม ซึ่งอาจจะทำให้สับสนได้ว่าเป็น

1.เนกขัมมะ=ออกจากกาม(ไปแล้ว)

หรือ

2.เนกขัมมะวิตก หรือ เนกขัมมะดำริ=การดำริที่จะออกจากกาม(อยู่ในขั้นเจริญอริยมรรค)



โพสมาก ตาลายครับ



จะกลับไปแก้ไขข้อความใหม่ เป็น "การดำริออกจากกาม" ให้ถูกต้องตามเนื้อธรรม ครับ

ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

อ้อ...เห็นแล้วครับ

ผมใช้ คำว่า "การ"ออกจากกาม ซึ่งอาจจะทำให้สับสนได้ว่าเป็น

1.เนกขัมมะ=ออกจากกาม(ไปแล้ว)

หรือ

2.เนกขัมมะวิตก หรือ เนกขัมมะดำริ=การดำริที่จะออกจากกาม(อยู่ในขั้นเจริญอริยมรรค)

โพสมาก ตาลายครับ

จะกลับไปแก้ไขข้อความใหม่ เป็น "การดำริออกจากกาม" ให้ถูกต้องตามเนื้อธรรม ครับ

ขอบคุณครับ :b8:


อ้าวอาจารย์ครับ...อาจารย์ออกข้อสอบผิด
อย่างนี้ต้องยกผลประโยชน์ให้นักเรียน...สิ่ครับ...

ข้อนี้ได้คะแนนทุกคน...เย้...!

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


กามโภคี เขียน:

ที่ยืนยันข้อนี้เลยก็คือ

การดำริออกจากกามนี้ เป็นหนึ่งในอริยมรรคที่พึงเจริญ เพราะว่าดำรินั้น สภาวะยังไม่ถึงเนกขัมมะจริงๆ เลยยังต้องให้เจริญ

ถ้าถึงเนกขัมมะแล้ว ก็อยู่จบพรหมจรรย์ ไม่มีกิจต้องทำอีกต่อไป คือไม่ต้องเจริญอะไรๆอีกแล้ว อยู่จบไปแล้วนั่นเอง








ประเด็น จบพรหมจรรย์ นี้..

คำว่า"พรหมจรรย์" ในประโยค"จบพรหมจรรย์" ในพระไตรปิฎกนั้น....มีความหมายที่อาจจะไม่ตรงกับที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันเป๊ะ

คำว่า "พรหมจรรย์"ที่เราท่าน ใช้กันในปัจจุบัน จะหมายเอาเรื่อง การละกามราคะ




แต่ คำว่า พรหมจรรย์ จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์

พรหมจรรย์

การศึกษาพระเวท, การบวชซึ่งละเว้นเมถุน, การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน, การประพฤติธรรมอันประเสริฐ, การครองชีวิตประเสริฐ, มรรค, พระศาสนา



คำว่า พรหมจรรย์ ในพระไตรปิฎก ครอบคลุมถึงทั้งพระศาสนา

ที่ใช้คำว่า "พรหมจรรย์นี้" คือ แทนอริยมรรคเลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน?
อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ ความเห็นชอบ ฯลฯ ความตั้งใจชอบ นี้เรียกว่า พรหมจรรย์




ถ้าดูที่ การละกามราคะขาด
คำว่า จบพรหมจรรย์ ก็น่าจะหมายถึง พระอนาคามีผลขึ้นไป.กล่าวคือ พระอนาคามีท่านก็สามารถละกามราคะขาดแล้ว ....แต่ ท่านยังไม่จบกิจในพระศาสนานี้


แต่ ถ้าดูที่ พรหมจรรย์ในความหมายของ มรรค ....
จบพรหมจรรย์ ก็น่าจะหมายถึง จบมรรค(ไม่ต้องเดินอีกแล้ว) จบกิจในพระศาสนาเลยครับ ซึ่งนี่หมายถึงพระอรหันต์เท่านั้นที่จบกิจในพระศาสนาแล้ว
อย่างเช่น คำที่เราคุ้นๆกันว่า
"ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ฯ "....
ซึ่งนี่ ระบุถึงการบรรลุพระอรหัตตผลเท่านั้น...
ในพระไตรปิฎก การระบุถึงพระอนาคามี จะไม่ใช้คำว่า จบพรหมจรรย์. แต่ จะใช้คำว่า ไม่มีการนอนในครรภ์อีก



อย่างไรก็ตาม ไม่ว่า จะ

จบพรหมจรรย์ในความหมายละกามราคะขาด(อนาคามีผล)
หรือ
จบพรหมจรรย์ในความหมายจบกิจในพระศาสนา(อรหัตตผล)

ก็ประเสริฐสุดทั้งนั้นละครับ





ขอบคุณครับ

ขอตัวไปทำงานก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


yahoo เขียน:

อ้าวอาจารย์ครับ...อาจารย์ออกข้อสอบผิด
อย่างนี้ต้องยกผลประโยชน์ให้นักเรียน...สิ่ครับ...

ข้อนี้ได้คะแนนทุกคน...เย้...!

:b9: :b9: :b9:



ยังก่อน....

ก็ ออกข้อสอบข้อใหม่ แล้ว สอบใหม่ สิครับ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


นิรินธน์ เขียน:
:b8: ขอบคุณคุณหมอตรงประเด็น และผู้ตอบกระทู้ทุกท่าน ที่ได้ให้ความรู้

ขออนุญาต นอกเรื่องนิดหนึ่ง
เท่าที่สังเกตุและติดตามความเป็นไปของ จขกท.

เข้าใจว่าเริ่มจากการศึกษาปริยัติ แล้วไปปฏิบัติ
ปฏิบัติแล้วเกิดผล - จึงย้อนกลับมาตรวจสอบกับปริยัติ
ที่สำคัญ - เห็นเช่นที่ครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่เห็น
ธรรมแท้ เป็นอย่างเดียวกัน ขึ้นเขาได้หลายทางแต่สุดท้ายก็ปลายทางเดียวกัน
เห็นความก้าวหน้าที่น่าชื่นชมยินดี

เป็นแค่ความรู้สึก-รับรู้ ผิดถูกอย่างไรขออภัย
:b8: ขออนุโมทนา



ยินดีที่เกิดประโยชน์ต่อสมาชิกครับ


แต่ ผมเอง ทั้งปริยัติ และ ปฏิบัติ ยังจัดว่าน้อยครับ

เป็นเพียงผู้ร่วมแสวงหาทางพ้นทุกข์ร่วมกัน เท่านั้นครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


เนกขัมมะ = หลบหลีกปรากฏกาม?

ศีลเนกขัมมะ.........ยังไม่ใช่เนกขัมมะ
เนกขัมมะสังกัปปะ...ยังไม่ใช่เนกขัมมะ

จะใช่เนกขัมมะจริงๆ ต่อเมื่อออกจากกามได้แล้ว เช่น ใจมันอยากอยู่ มันก็หายอยาก ใจมันอกุศลด้วยกามฉันทะอยู่ ก็มาเป็นกุศลด้วยเนกขัมมะได้ เป็นต้น หากยังออกจากกามไม่ได้อย่างนี้ ตรงนั้นยังไม่ใช่เนกขัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ศิรัสพล เขียน:
เนกขัมมะ = หลบหลีกปรากฏกาม?

ศีลเนกขัมมะ.........ยังไม่ใช่เนกขัมมะ
เนกขัมมะสังกัปปะ...ยังไม่ใช่เนกขัมมะ

จะใช่เนกขัมมะจริงๆ ต่อเมื่อออกจากกามได้แล้ว เช่น ใจมันอยากอยู่ มันก็หายอยาก ใจมันอกุศลด้วยกามฉันทะอยู่ ก็มาเป็นกุศลด้วยเนกขัมมะได้ เป็นต้น หากยังออกจากกามไม่ได้อย่างนี้ ตรงนั้นยังไม่ใช่เนกขัมมะ



สวัสดีครับ คุณศิรัสพล

ไม่เจอกันนานน่ะครับ....สบายดีน่ะครับ


ขอบคุณครับ ที่ท้วงติง
ได้ย้อนกลับ ไปแก้ไขข้อความให้ตรงตามเนื้อธรรมแล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีครับ คุณศิรัสพล

ไม่เจอกันนานน่ะครับ....สบายดีน่ะครับ

ขอบคุณครับ ที่ท้วงติง
ได้ย้อนกลับ ไปแก้ไขข้อความให้ตรงตามเนื้อธรรมแล้วครับ


ขอบคุณครับคุณตรงประเด็น ผมสบายดีครับ

แก้ไขหัวข้อเป็นอย่างปัจจุบันนี้ ชัดเจนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่อง ความสำคัญแห่งใจ

โดย..อาจารย์ วศิน อินทสระ


ราคะกับจิต


พระพุทธภาษิต


ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ

วุฏฺฐิ สมติวิชฺ ฌติ

เอวํ อภาวิตํ จิตฺตํ

รา โค สมติวิชฺ ฌติ

ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ

วุฏฺฐิ สมติวิชฺ ฌติ

เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ

รา โค สมติวิชฺ ฌติ




คำแปล:



เหมือนอย่างว่า เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ ฉันใด
จิตที่ยังมิได้อบรมให้ดีก็ฉันนั้น ราคะย่อมเสียดแทงได้

ส่วนเรือนที่มุงดี ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ ฉันใด
จิตที่อบรมดีแล้วก็ฉันนั้น ราคะย่อมเสียดเเทงไม่ได้




อธิบายความ:



ราคะตามตัวอักษร แปลว่า "ย้อม" มาจากรากศัพท์ว่า "รช" หมายความว่าย้อมจิตให้แปรรูปไป เสียปกติภาพของจิต ทำให้เห็นวิปริตวิปลาสว่างาม แม้ในสิ่งอันไม่งาม เหมือนสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของสวมแว่นเขียวให้ ทำให้มองเห็นหญ้าแห้ง ฟางแห้งเป็นเขียวสดไปหมดสิ่งที่ไม่งามคือกายนี้ เพราะเต็มไปด้วยของไม่สะอาด



ในภาษาไทย นิยมแปลราคะว่า "ความกำหนัด" กล่าวคือ ความใคร่ในรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ



ราคะ หรือความกำหนัดในกาม มีอิทธิพลต่อชีวิตคนมาก นักจิตวิทยาบางท่านเช่น ซิกซ์มันด์ ฟรอยได้มีความเห็นถึงกับว่าพฤติกรรมทั้งปวงของมนุษย์ มีความกำหนัดในกามเป็นแรงกระตุ้นทั้งสิ้น



คนทั่วไปก็มองเห็นว่า ราคะมีแรงผลักดันรุนแรงเพียงใด เป็นสิ่งเสียดแทงจิตใจให้รุ่มร้อน และกลัดกลุ้มเพียงใด คนส่วนมากไม่สามารถเอาชนะไดั จึงต้องระหกระเหินและบอบช้ำด้วยความทุกข์นานาประการ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สังกัปปราคะ คือความกำหนัดเพราะการดำริถึงเป็นกามของบุคคล (สงฺกปฺปราโค ปุริสสฺส กาโม) กามเกิดจากความดำริ ตริตรึก (สงฺกปฺปา กาม ชายสิ ดูก่อนเจ้ากาม เจ้าเกิดจากความดำรินี่เอง)



ราคะ หรือกาม หรือ กามราคะนั้นมีอิทธิพลเหนือจิตใจของคนเป็นอันมาก บางคนสามารถควบคุมได้ก็ไม่ถึงกับประพฤติผิดศีลธรรมและขนบธรรมเนียมของโลก แต่บางคนควบคุมไม่ได้ในบางกาละ เทศะ ได้ประกอบกรรมอันน่าบัดสีเพราะกามราคะนั้น ต้องติดคุกบ้าง เสียทรัพย์สินบ้าง เสียชื่อเสียงบ้าง มันได้ทำให้คนเสียคนมามากแล้ว ตกนรกก็มากแล้ว

อย่างไรก็ตาม ราคะ จะทำพิษ ทำภัย หรือมีอำนาจครอบงำ ก็เฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้อบรมจิตด้วยดี ส่วนผู้ที่อบรมจิตดีแล้ว ราคะย่อมไม่สามารถเสียดแทงได้ เหมือนคนอยู่ในเรือนที่มุงบังดี ฝนตกเท่าไรก็ไม่เปียก ส่วนคนที่อบรมจิตไม่ดีหรือไม่ได้รับอบรมมา เมื่อประจวบกับอารมณ์อันน่าใคร่ครั้งใด ราคะก็เสียดแทงใจครั้งนั้น เหมือนเรือนที่มุงบังไม่ดี ฝนตก ทีไร คนอาศัยก็เปียกทีนั้น

การอบรมจิตจึงเป็นทางลดราคะให้น้อยลง จนสิ้นไปในที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เนกขัมมบารมี


คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรือน ถือศีล ๘ ขึ้นไป
อันว่าคนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ ได้รับแต่ความทุกข์ทรมาน ปราศจากอิสรภาพ ย่อมไม่ปรารถนาที่จะอยู่ไขว่คว้าแต่จะหาช่องทางให้พ้นออกไปจากเรือนจำนั้น ฉันใด เธอจงเห็นภพทั้งปวงเสมือนเรือนจำ จงมุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นไปจากภพฉันนั้น
เนกขัมมบารมี มีลักขณาทิจตุก ดังนี้
๑) มีการออกจากกามและภพเป็นลักษณะ
๒) มีการทำให้แจ้งซึ่งโทษของกามและภพนั้นเป็นรส
๓) มีความหันหลังจากโทษนั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน
๔) มีความสังเวชเป็นปทัฏฐาน
เนกขัมมะ การออกจากกาม การออกบวช ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวนต่าง ๆ ที่เรียกว่า “ กามารมณ์ ”


พอดีไปเจอข้อความนี้เข้าเลยเอามาฝากครับ

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


moddam เขียน:
เนกขัมมบารมี


คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรือน ถือศีล ๘ ขึ้นไป
อันว่าคนที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ ได้รับแต่ความทุกข์ทรมาน ปราศจากอิสรภาพ ย่อมไม่ปรารถนาที่จะอยู่ไขว่คว้าแต่จะหาช่องทางให้พ้นออกไปจากเรือนจำนั้น ฉันใด เธอจงเห็นภพทั้งปวงเสมือนเรือนจำ จงมุ่งหน้าต่อเนกขัมมะ เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นไปจากภพฉันนั้น

เนกขัมมบารมี มีลักขณาทิจตุก ดังนี้
๑) มีการออกจากกามและภพเป็นลักษณะ
๒) มีการทำให้แจ้งซึ่งโทษของกามและภพนั้นเป็นรส
๓) มีความหันหลังจากโทษนั้นเป็นปัจจุปัฏฐาน
๔) มีความสังเวชเป็นปทัฏฐาน

เนกขัมมะ การออกจากกาม การออกบวช ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวนต่าง ๆ ที่เรียกว่า “ กามารมณ์ ”


พอดีไปเจอข้อความนี้เข้าเลยเอามาฝากครับ

cool






สาธุครับ คุณmoddam



ขอเสนอเปรียบเทียบกับ

จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



เนกขัมมะ การออกจากกาม, การออกบวช, ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน
(พจนานุกรมเขียน เนกขัม);
(ข้อ ๓ ในบารมี ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 2
เนกขัมมวิตก ความตรึกที่จะออกจากกาม หรือตรึกที่จะออกบวช, ความดำริ หรือความคิดที่ปลอดจากความโลภ
(ข้อ ๓ ในกุศลวิตก ๓)



ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ

คำว่า เนกขัมมะ ในพจนานุกรมนี้

มีทั้งความหมาย ของ

1.การออกจากกาม
น่าจะออกจากกามสมบูรณ์แล้ว(completed). ซึ่ง ต้องบรรลุอนาคามีผลขึ้นไป

และ

2.การออกบวช
ซึ่ง การออกบวชนี้ อาจจะออกจากกามสมบูรณ์แล้ว หรือ อยู่ในขั้นเพียรพยายามที่จะออกจากกาม(in process)คือ ออกบวชแล้วแต่ยังละกามราคะไม่ขาด ก็ได้

และ

3.ความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน
ข้อนี้เป็นผลของการเพียรออกจจากกาม. ซึ่ง อาจจะเป็นแบบชั่วสมัย หรือ ละกามราคะขาด(ต้องบรรลุอนาคามีผลขึ้นไป) ก็ได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 46 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 136 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร