วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2024, 14:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 22:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:

คุณหมอครับ ผมรู้สึกว่ามันแปลกๆ
แต่ผมอธิบายไม่ถูก แล้วก็กลัวที่จะวิพากย์วิจารณ์

:b8:


Same ๆ คิดว่าเป็นอยู่คนเดียว..สะอีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2009, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
โอวาทธรรม ท่านพุทธทาสภิกขุ



เรื่อง การเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน


เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่า จิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา




การใช้ลักษณะอาการต่างๆของจิตเป็นเครื่องระลึก สามารถยังให้พ้นทุกข์ได้

ดังนั้น แทนที่จะมามัวหงุดหงิดกับอาการต่างๆของจิต
สู้ดี หันมาใช้ลักษณะอาการต่างๆของจิตเป็นกรรมฐานเสียเลย ดีกว่า





คิดว่า ตัวแรกคุณตรงประเด็นน่าจะเขียนเกินมา


เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

คือ ตัดตัวสีแดงออก จะเข้าใจง่ายขึ้น จิตที่เป็นอารมณ์ ( อารมณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ) กำหนดเอาจิตเพ่งเข้าไปในสิ่งที่เรารู้สึก เป็นสมถะ เพราะ การที่เอาจิตจดจ่อลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิย่อมเกิด


ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่า จิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา


ส่วนตรงนี้ เป็นการใช้โยนิโสมนสิการ น้อมเอาคิดเอา ว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่าเป็น วิปัสสนา ( การเห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยงสภาวะที่เกิดตอนนั้นก็จะดับลงไปได้ นี่เรียกว่า ดับด้วยปัญญาหรือ วิปัสสนา )


ในการแก้ปัญหาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนใช้การกำหนดเข้าช่วย

เมื่อกำหนดมากๆ หรือจะเรียกว่าเพ่งก็ได้ สมาธิย่อมเกิดชั่วขณะหนึ่ง ย่อมกดข่มอาการที่กำลังเกิดขึ้น

ดับหายไปชั่วคราว จนกว่าสติ สัมปชัญญะมากพอ มันจะเหลือแค่รู้

บางคนนำไตรลักษณ์เข้ามาช่วยในการพิจรณา สุดแต่ว่าใครจะถนัดแบบไหน


อันนี้เพียงแค่ความคิดเห็นนะคะ ใช้แบบภาษาชาวบ้าน ว่าในแง่ของสภาวะที่เกิดขึ้น

ของคุณตรงประเด็นอาจจะมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างออกไปก็ได้ค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 00:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


จริง ๆ..สมถะจริง ๆ ..กดข่มอารมณ์..จริง ๆ
เพิ่งจะเข้าใจ..เมื่อกลางวันนี้เอง..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ตรงประเด็น เขียน:

เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่า จิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา




การใช้ลักษณะอาการต่างๆของจิตเป็นเครื่องระลึก สามารถยังให้พ้นทุกข์ได้

ดังนั้น แทนที่จะมามัวหงุดหงิดกับอาการต่างๆของจิต
สู้ดี หันมาใช้ลักษณะอาการต่างๆของจิตเป็นกรรมฐานเสียเลย ดีกว่า





คิดว่า ตัวแรกคุณตรงประเด็นน่าจะเขียนเกินมา


เรื่องที่สาม คือ จิต : กำหนดลักษณะจิตเป็นอย่างไร กำลังเป็นอยู่อย่างไร กำลังโกรธ หรือกำลังรัก หรือกำลังอะไรก็ตาม : อย่างนี้มันเป็นสมถะ เอาจิตเป็นอารมณ์ พอกำหนดจิตอีกอันหนึ่ง คือเพ่งเข้าไปที่นั้นเป็นสมถะ

คือ ตัดตัวสีแดงออก จะเข้าใจง่ายขึ้น จิตที่เป็นอารมณ์ ( อารมณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ) กำหนดเอาจิตเพ่งเข้าไปในสิ่งที่เรารู้สึก เป็นสมถะ เพราะ การที่เอาจิตจดจ่อลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิย่อมเกิด






ถ้าเป็นตัวอักษรสีเขียว ที่เป็นโอวาทธรรมของท่านพุทธทาส ไม่มีการเขียนเกินใดๆครับ

ต้นฉบับเป็นอย่างไร ผมก็นำมาตามนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม

พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช :b8:



เกี่ยวกับ จิตตานุปัสสนา



เพราะฉะนั้นเมื่อมาหัดปฏิบัติหันเข้ามามองดูจิตเองว่าเป็นยังไงในปัจจุบัน เพราะในเวลาปัจจุบันนี้ก็เห็นอะไรๆ อยู่ ได้ยินอะไรๆ อยู่ ได้ทราบกลิ่นทราบรสทราบโผฏฐัพพะอะไรๆ อยู่ และได้คิดได้นึกถึงเรื่องอะไรๆ อยู่ ก็ดูเข้ามาว่าจิตนี้กำลังคิดอะไร และจิตเป็นยังไง ดูให้รู้

เหมือนอย่างพี่เลี้ยงที่เลี้ยงเด็ก แล้วก็ปล่อยให้เด็กอยู่ข้างหน้า เด็กจะเดินจะยืนจะนอนจะนั่งอย่างไรก็รู้ มองเห็น เด็กจะวิ่งไปทางไหนก็รู้ก็มองเห็น ให้รู้ และความรู้จิตดั่งนี้เองก็เป็นอันนำจิตเข้ามารู้จิตของตนว่าเป็นอย่างไร

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เมื่อเป็นการนำจิตเข้ามารู้จิตของตนว่าเป็นอย่างไรดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าได้ปล่อยความยึดอยู่ในอารมณ์ และในกิเลสทั้งหลาย ซึ่งได้เคยยึดเอาไว้ และดิ้นรนไปอย่างไม่ลืมหูลืมตาว่าตัวเองนั้นดิ้นรนไปยังไง แต่ว่าเมื่อกลับมีสติมาดูจิตว่าจิตตัวเองนั้นดิ้นรนไปยังไง คือมาดูตัวเอง เหมือนอย่างพี่เลี้ยงดูเด็กที่เลี้ยงดูดังที่กล่าวนั้น ก็จะเห็นจิต ว่าคิดยังงั้นคิดยังงี้ รักยังงี้ ชังยังโง้น หลงอย่างนั้นเป็นต้น

และเมื่อจิตได้ถูกดูดั่งนี้ อันหมายความว่ากิเลสและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตได้ถูกดูถูกมองดั่งนี้แล้ว ก็จะสงบตัวลงไปเอง และเมื่อสงบตัวลงไปแล้ว อันหมายความว่ากิเลสสงบลง อารมณ์สงบลง จิตสงบลง จิตก็ตั้งมั่นอยู่ในภายใน เหมือนอย่างเด็กที่พี่เลี้ยงๆ ดู วิ่งไปทางโน้นวิ่งไปทางนี้ และเมื่อพี่เลี้ยงดูอยู่ดั่งนี้ในที่สุดเด็กนั้นเหนื่อยเข้าก็นั่งสงบ ทีแรกวิ่ง เหนื่อยเข้าก็เดิน เหนื่อยเข้าก็หยุดยืน เหนื่อยเข้าก็นั่ง เหนื่อยเข้าก็นอน ก็เป็นอันว่าหมดเรื่องกันไป อารมณ์ก็สงบ กิเลสก็สงบ จิตก็ตั้งมั่นอยู่ในภายใน

หัดปฏิบัติดูจิตให้ค่อยๆ สงบเข้ามาตั้งมั่นอยู่ในภายในดั่งนี้ ก็เป็นสมาธิได้ เป็นอุปจาระสมาธิก็ได้ เป็นอัปปนาสมาธิก็ได้ ดั่งนี้เป็นการปฏิบัติในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้โดยตรงประการหนึ่ง


http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-034.htm



และ เกี่ยวกับ จิตตานุปัสสนา อีกบทหนึ่ง ที่น่าสนใจมาก


เพราะฉะนั้นก็ต้องให้มีสติไปรู้จิตอยู่เสมอ ปฏิบัติสมาธิไปก็มีสติที่รู้จิตอยู่เสมอ ว่าปฏิบัติสมาธิ มีอาการเป็นอย่างไร ยังไม่ตั้งมั่น และตั้งมั่นขึ้นอย่างไร จนถึงตั้งมั่นเป็นสมาธิก็ให้รู้ ไม่ตั้งมั่นก็ให้รู้ ก็ปฏิบัติให้ตั้งมั่นขึ้นโดยลำดับ และเมื่อดั่งนี้แล้วก็จะได้ผล คือจิตจะวิมุติหลุดพ้นในเมื่อจิตได้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ หลุดพ้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย คือจากนิวรณ์ทั้งหลายนั้นเอง ในขณะที่จิตตั้งมั่น ก็ได้วิมุติคือความหลุดพ้น จิตไม่วิมุติก็ให้รู้ คือว่าจิตนั้นออกจากสมาธิ หรือเลิกทำสมาธิ กิเลสก็กลับเข้ามาใหม่ จิตจึงยังอยู่กับกิเลสไม่พ้นจากกิเลส กิเลสก็เข้ามาครอบงำ เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ให้รู้ คือจิตที่ยังไม่วิมุติไม่หลุดพ้น

แต่ในการปฏิบัตินั้นก็ต้องปฏิบัติตั้งแต่ในขั้นต้นดั่งนี้ไป คือเริ่มทำสมาธิจิตยังไม่ตั้งมั่น ก็มี อาตาปี คือมีความเพียรเผากิเลส คือความเพียรที่จะระงับนิวรณ์ไม่ให้ดึงจิตไป สัมปชาโน มีความรู้ตัวอันเป็นทางปัญญา และโดยเฉพาะก็คือว่ารู้ตัว ว่าตัวเป็นอย่างไร

สติมา มีสติ คือมีสติกำหนด วินัยโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง กำจัดอภิชฌาคือความยินดี โทมนัสความยินร้ายในโลกเสีย เมื่อมีคุณธรรมสำหรับปฏิบัติดังกล่าวมานี้เป็นอุปการะ ก็จะทำให้จิตที่ไม่เป็นสมาธิคือไม่ตั้งมั่นนั้น มาเป็นสมาธิคือตั้งมั่นขึ้นโดยลำดับ และจิตที่ไม่วิมุติคือหลุดพ้น ก็จะหลุดพ้นไปโดยลำดับ

แต่ในเบื้องต้นก็ต้องเป็นที่เรียกว่า ตทังควิมุติ คือความหลุดพ้นด้วยองค์นั้น คือเช่นหลุดพ้นด้วยสมาธิ ขณะที่มีสมาธิอยู่ก็หลุดพ้น ไม่มีสมาธิกิเลสก็กลับมา ก็ไม่พ้นไปใหม่ หรือว่า วิขัมภนวิมุติ หลุดพ้นด้วยการสะกดไว้ คือสะกดไว้ด้วยสมาธิ หรือด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาให้รู้จักเกิดดับไปตามเป็นจริง และเมื่อได้สติได้ปัญญาดั่งนี้แล้ว สติปัญญานี้ก็สะกดกิเลสเอาไว้ไม่ให้กำเริบขึ้น และเมื่อออกจากการปฏิบัติสติปัญญาดังกล่าวนี้เลิกไป กิเลสที่ถูกสะกดไว้ก็กลับขึ้นมาใหม่

ในเบื้องต้นก็ต้องปฏิบัติไปดั่งนี้ พ้นแล้วกลับไม่พ้น พ้นแล้วกลับไม่พ้น จิตตั้งมั่นแล้วกลับไม่ตั้งมั่น และเมื่อปฏิบัติบ่อยๆ เข้า จิตก็จะตั้งมั่นนานยิ่งขึ้นบ่อยเข้า วิมุติก็จะได้มากขึ้นและบ่อยขึ้น ไปจนถึงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด จึงจะได้เป็นวิมุติที่เด็ดขาดไปโดยลำดับ จิตก็จะตั้งมั่นอยู่คงที่ตามชั้นตามภูมิที่ปฏิบัติ


http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-217.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 12:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โอวาทธรรม
พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช :b8:
เกี่ยวกับ จิตตานุปัสสนา



เพราะ ฉะนั้นเมื่อมาหัดปฏิบัติหันเข้ามามองดูจิตเองว่าเป็นยังไงในปัจจุบัน เพราะในเวลาปัจจุบันนี้ก็เห็นอะไรๆ อยู่ ได้ยินอะไรๆ อยู่ ได้ทราบกลิ่นทราบรสทราบโผฏฐัพพะอะไรๆ อยู่ และได้คิดได้นึกถึงเรื่องอะไรๆ อยู่ ก็ดูเข้ามาว่าจิตนี้กำลังคิดอะไร และจิตเป็นยังไง ดูให้รู้

เหมือน อย่างพี่เลี้ยงที่เลี้ยงเด็ก แล้วก็ปล่อยให้เด็กอยู่ข้างหน้า เด็กจะเดินจะยืนจะนอนจะนั่งอย่างไรก็รู้ มองเห็น เด็กจะวิ่งไปทางไหนก็รู้ก็มองเห็น ให้รู้ และความรู้จิตดั่งนี้เองก็เป็นอันนำจิตเข้ามารู้จิตของตนว่าเป็นอย่างไร

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เมื่อ เป็นการนำจิตเข้ามารู้จิตของตนว่าเป็นอย่างไรดั่งนี้ ก็เป็นอันว่าได้ปล่อยความยึดอยู่ในอารมณ์ และในกิเลสทั้งหลาย ซึ่งได้เคยยึดเอาไว้ และดิ้นรนไปอย่างไม่ลืมหูลืมตาว่าตัวเองนั้นดิ้นรนไปยังไง แต่ว่าเมื่อกลับมีสติมาดูจิตว่าจิตตัวเองนั้นดิ้นรนไปยังไง คือมาดูตัวเอง เหมือนอย่างพี่เลี้ยงดูเด็กที่เลี้ยงดูดังที่กล่าวนั้น ก็จะเห็นจิต ว่าคิดยังงั้นคิดยังงี้ รักยังงี้ ชังยังโง้น หลงอย่างนั้นเป็นต้น

และเมื่อจิตได้ถูกดูดั่งนี้ อันหมายความว่ากิเลสและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในจิตได้ถูกดูถูกมองดั่งนี้แล้ว ก็จะสงบตัวลงไปเอง และเมื่อสงบตัวลงไปแล้ว อันหมายความว่ากิเลสสงบลง อารมณ์สงบลง จิตสงบลง จิตก็ตั้งมั่นอยู่ในภายใน เหมือนอย่างเด็กที่พี่เลี้ยงๆ ดู วิ่งไปทางโน้นวิ่งไปทางนี้ และเมื่อพี่เลี้ยงดูอยู่ดั่งนี้ในที่สุดเด็กนั้นเหนื่อยเข้าก็นั่งสงบ ทีแรกวิ่ง เหนื่อยเข้าก็เดิน เหนื่อยเข้าก็หยุดยืน เหนื่อยเข้าก็นั่ง เหนื่อยเข้าก็นอน ก็เป็นอันว่าหมดเรื่องกันไป อารมณ์ก็สงบ กิเลสก็สงบ จิตก็ตั้งมั่นอยู่ในภายใน

หัดปฏิบัติดูจิตให้ค่อยๆ สงบเข้ามาตั้งมั่นอยู่ในภายในดั่งนี้ ก็เป็นสมาธิได้ เป็นอุปจาระสมาธิก็ได้ เป็นอัปปนาสมาธิก็ได้ ดั่งนี้เป็นการปฏิบัติในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้โดยตรงประการหนึ่ง


ขอบพระคุณคุณหมอที่นำโอวาทสมเด็จท่านมาลงนะครับ
อันนี้ไม่มีความรู้สึกคัดค้านเลย

ตรงกันข้าม กับรู้สึกว่าพระองค์ท่านพูดของยากให้ง่าย ง่ายมาก
แต่ก้ยังคงรักษาความยาก ความลึกซึ้ง เอาไว้ได้ครบถ้วน
แม้แต่การเลือกใช้คำ แหม จะพูดยังไง มันครบน่ะครับ ครบและพอดี

เป็นอีกครั้งที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า พยัญชนะเอย สำนวนเอย อาจจะต่างกัน
แต่อรรถนั้น เป้นอันเดียวกับครุบาร์อาจารย์ท่านอื่นๆส่วนใหญ่ทั้งหมด
ไำม่มีแปลกแยกเลยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:


ทีนี้ก็ดูต่อไป ดูจิต เพ่งต่อไปถึงว่า จิตนี้คือเป็นสักว่าธาตุ วิญญาณธาตุ ประกอบอยู่ด้วยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เอาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาใส่เข้าไปที่จิต ไม่ให้เป็นตัวตน ไม่ให้เป็นตัวกู-ของกู ไม่ให้เป็นตัวตนของตน อย่างนี้ก็เป็นปัญญา เป็นวิปัสสนา


ส่วนตรงนี้ เป็นการใช้โยนิโสมนสิการ น้อมเอาคิดเอา ว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกว่าเป็น วิปัสสนา ( การเห็นตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยงสภาวะที่เกิดตอนนั้นก็จะดับลงไปได้ นี่เรียกว่า ดับด้วยปัญญาหรือ วิปัสสนา )


ในการแก้ปัญหาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนใช้การกำหนดเข้าช่วย

เมื่อกำหนดมากๆ หรือจะเรียกว่าเพ่งก็ได้ สมาธิย่อมเกิดชั่วขณะหนึ่ง ย่อมกดข่มอาการที่กำลังเกิดขึ้น

ดับหายไปชั่วคราว จนกว่าสติ สัมปชัญญะมากพอ มันจะเหลือแค่รู้

บางคนนำไตรลักษณ์เข้ามาช่วยในการพิจรณา สุดแต่ว่าใครจะถนัดแบบไหน


อันนี้เพียงแค่ความคิดเห็นนะคะ ใช้แบบภาษาชาวบ้าน ว่าในแง่ของสภาวะที่เกิดขึ้น

ของคุณตรงประเด็นอาจจะมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างออกไปก็ได้ค่ะ






เห็นด้วยครับ


คุณ วลัยพรใช้คำว่า โยโสมนสิการ นั้น ชอบแล้ว(สาธุ) เป็นภาษาดั้งเดิมที่ใช้กันในพระไตรปิฎกครับ

บางท่านอาจจะมองว่า ระดับนี้เป็นระดับที่ภาษาปัจจุบันเรียกว่า ความคิด
คือ ยังไม่ใช่ระดับญาณคือความรู้ประจักษ์โดยตรง...

ซึ่ง ก็ถูกอีก ที่ว่า ระดับนี้เป็นระดับความคิด

แต่ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงห้ามไม่ให้ใช้ความคิดเลยน่ะครับ

ที่ท่านสอนคือ ท่านสอนให้ คิดถูก คิดเป็น และ พัฒนาความคิดไปสู่ ญาณความรู้ประจักษ์(สัมมาญาณะ)

คือ.... ไม่ใช่จบเพียงแค่ความคิด



ถ้าจบเพียงแค่ความคิด ก็ จะเป็นเพียงความคิดตลอดไป ก็คงจะไม่ตรงตามพุทธประสงค์...เพราะ จะไปกลายเป็นนักคิดเข้า
กลายเป็นนักอนุมาน คาดเดา ประมาณการณ์ไป
ซึ่ง ไม่พ้นทุกข์แน่ๆ



.............................



หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย

ท่านได้แสดงธรรม ในการเจริญวิปัสสนาโดยใช้ความคิดในลักษณะ "คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้"เอาไว้


“...ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ

ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา

คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา

ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร
ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้ มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ ตลอดคืนยันรุ่ง...."





เรื่อง การห้ามไม่ให้มีส่วนของความคิดในการภาวนาเลย นี้
ผมเห็นว่า น่าจะเป็นการเข้าใจผิด

เพราะ ในปัญญาสามระดับ ก็มี สุตะมัยยะปัญญา จินตะมัยยะปัญญา ภาวนามัยยะปัญญา

ถ้า ท่านห้ามคิดเลยจริงๆ ก็คงไม่มี จินตะมัยยะปัญญา อยู่หรอก...ต้องตัดจินตะมัยยะปัญญาออกไป ให้ เหลือเพียง สุตะมัยยะปัญญา และ ภาวนามัยยะปัญญา

การที่ จินตะมัยยะปัญญาไม่ใช่ที่สุด หาใช่ว่า ห้ามคิด

การไม่ใช่ที่สุด หาใช่ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ดี... เพียงแต่ว่า มันยังไม่จบ ยังไม่สมบูรณ์พร้อม





เช่นเดียวกัน

แม้นแต่ สมถะที่บังเกิดขึ้นในการเจริญสติปัฏฐาน ในช่วงแรกๆที่ยังไม่ใช่สมาธิชั้นเลิศ คือ ยังคงมีการข่มด้วย สสังขารธรรม อยู่..... แต่ ก็หาใช่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี





ขอตัวไปทำงานก่อน

บ่ายๆ จะนำเรื่อง สมาธิชั้นเลิศ(ที่ไม่ เป็นการข่มด้วยสสังขารธรรม)ที่ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มาลง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2009, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติเจริญสมาธิหาประมาณมิได้เถิด

เมื่อเธอมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ญาณ ๕ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ญาณ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ

ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า

สมาธินี้มีสุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป ๑

สมาธินี้เป็น อริยะ ปราศจากอามิส ๑

สมาธินี้อันคนเลวเสพไม่ได้ ๑

สมาธินี้ละเอียด ประณีต ได้ด้วยความสงบระงับ บรรลุได้ด้วยความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร

ก็เราย่อมมีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออกจากสมาธินี้ได้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณ
มิได้เถิด

เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญารักษาตน มีสติ เจริญสมาธิอันหาประมาณมิได้
อยู่ ญาณ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน ฯ

จบสูตรที่ ๗
๘. อังคิกสูตร




สมาธิชั้นเลิศ ย่อมต้องเป็นดังที่ปรากฏในพระสูตรนี้

คือ มิใช่บรรลุด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก หรือ การห้ามกิเลสด้วยจิตอันเป็นสสังขาร




แต่ ก็อย่างที่สมเด็จท่านแสดงไว้ว่า

อ้างคำพูด:
ในเบื้องต้นก็ต้องปฏิบัติไปดั่งนี้ พ้นแล้วกลับไม่พ้น พ้นแล้วกลับไม่พ้น จิตตั้งมั่นแล้วกลับไม่ตั้งมั่น

และ เมื่อปฏิบัติบ่อยๆ เข้า จิตก็จะตั้งมั่นนานยิ่งขึ้นบ่อยเข้า วิมุติก็จะได้มากขึ้นและบ่อยขึ้น ไปจนถึงกำจัดกิเลสได้เด็ดขาด

จึงจะได้เป็นวิมุติที่เด็ดขาดไปโดยลำดับ จิตก็จะตั้งมั่นอยู่คงที่ตามชั้นตามภูมิที่ปฏิบัติ

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-217.htm





วิธีการเจริญสติปัฏฐานเพื่อนำไปสู่สมาธิชั้นเลิศ จึงต้องเพียรเจริญสติปัฏฐานต่อไปให้สมบูรณ์ พหุลีกตา....เจริญให้มากขึ้น ละเอียดขึ้น รอบครอบขึ้น

หาใช่ การระวังไม่ให้สมถะเกิดขึ้นในการเจริญสติปัฏฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จุฬาภินันท์ตอบแล้วค่ะ กระทู้ที่คุณถามอีกครั้งหลังจากนี้

ทำใจสบายๆนะคะ อย่ากังวลเกินไปจนตัวเองวิตก ที่เป็นเช่นนั้นก็มีเหตุ จุฬาภินันท์เข้าใจเหตุที่ทำให้ผลออกมาแบบนั้น ก็แนะให้แก้เหตุค่ะ

แต่เหตุมันเป็นอดีต แก้อย่างไรเล่า ก็แก้โดยขอขมาท่านค่ะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ด้วยพระคุณอันยิ่งใหญ่

พระพุทธ - ค้นพบและบอกทางพ้นทุกข์แก่เรา
พระธรรม - ธรรมที่พระพุทธเอามาใช้สอนและเผยแพร่
พระสงฆ์ - ผู้เอาธรรมของพระพุทธองค์มาเผยแพร่ สืบต่อศาสนาน่ะค่ะ

ทั้งสามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีที่ตินะคะ

พระพุทธ ไม่ได้เห็นแก่ตัวที่ละไป
พระธรรม ตรองให้แน่ว่าถูกหรือไม่ ซึ่งจุฬาภินันท์เข้าถึงธรรมด้วยปัญญาธรรม ไม่เห็นข้อผิดเลย
พระสงฆ์ ให้ยึดที่ความเป็นสงฆ์ค่ะ ไม่ใช่ตัวบุคคล

รู้เช่นนี้แล้วก็ขอขมาค่ะ จากใจที่บริสุทธิ์ เข้าใจในพระคุณอันยิ่งใหญ่ค่ะ ท่านเข้าใจเสมอค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 40 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร