วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 00:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความแตกต่างของ ธรรม กับ ทฤษฎี หรือ ทิฏฐิคือ

ธรรม ไม่มีมูลการณ์

ทฤษฎี มนุษย์เป็นผู้สร้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว




049.JPG
049.JPG [ 71.93 KiB | เปิดดู 3144 ครั้ง ]
สาธุอนุโมทนาด้วยความเคารพในธรรมครับ

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ครับ




อ้างคำพูด:
หากการบรรลุธรรมต้องอาศัยอริยมรรคมีองค์ 8 แต่ที่เคยได้ยิน คนในสมัยพุทธกาล ฟังธรรมจากพุทธองค์ก็บรรลุธรรมกันมากมาย
ทำไมบรรลุธรรมง่ายจัง

นี่แสดงว่าแค่ฟังธรรมให้ถูกจริต ก็หลุดพ้นได้ใช่มั้ยครับ บางท่านขณะโกนผม หรือมองดอกบัวก็สำเร็จธรรมกันแล้ว



แม้นแต่ผู้ที่บรรลุธรรมอย่างรวดเร็ว ท่านก็ต้องมีอริยมรรคที่มีองค์แปดครบในขณะนั้น
ในขณะจิตที่บรรลุธรรมย่อมต้องมีอริยมรรคที่มีองค์แปดครบถ้วน ทุกบุคคล

ในขณะจิตนั้น มีอริยมรรคที่มีองค์แปดครบถ้วนอย่างไร.... เสนออ่าน จากพุทธธรรม หรือ ที่มีการนำมาลงไว้ในกระทู้เก่าๆ
(ลองค้น ในกระทู้ของคุณกรัชกาย ดูน่ะครับ)



ส่วนที่ว่า ทำๆไมบางท่านบรรลุง่าย?

ที่ท่านบรรลุง่ายเพราะอินทรีย์บารมีที่สะสมมาของท่านแก่กล้า ใกล้จบรอบแล้ว และ ได้รับการชี้แนะที่ตรงกับจริตนิสัยจากพระพุทธองค์ หรือ ครูบาอาจารย์ที่ฉลาดในวาระจิตของศิษย์

เรื่อง สิ่งที่สะสมมาจากอดีต(รวมถึงอดีตชาติ) นี้ คนในปัจจุบันอาจจะทำใจเชื่อได้ยาก
แต่ ในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้บ่อยทีเดียว

สำหรับ เรา-ท่าน ที่ไม่อาจจะทราบเรื่องราวจากอดีตได้ ก็เพียรพยายามทำปัจจุบันให้ดีที่สุดก็แล้วกัน
จะบรรลุในชาตินี้หรือไม่...จะบรรลุเมื่อไร.... มันเป็นผล. ที่เราสามารถปฏิบัติได้ คือ เหตุ

ทำให้เหตุให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ แล้ว ปล่อยให้ผลมันดำเนินไปของมันเอง... จะ เมื่อไร ก็ช่างมัน





อ้างคำพูด:
อีกคำถามคือ เมือนั่งสมาธิ จนอยู่ใน ฌาน 4 จะสามารถอาศัยอำนาจฌาน ในการดับกิเลสต่างๆ ด้วยวิปัสสนาในขณะนั้นได้หรือไม่ นั่นคือ ขณะอยู่ในฌาน จะสามารถทำวิปัสสนาด้วยได้หรือไม่ โดยอาศัยอำนาจของจิตที่มีคุณภาพด้วยอำนาจของฌานสมาบัติ หรือจำเป็นต้องออกจากฌานมาก่อน


คำถามระดับนี้ ถ้าคุณนำไปถามอาจารย์แต่ละสายสำนัก ก็ จะตอบแตกต่างกันไป ในแต่ละสายสำนัก

สิบสายสำนัก... ก็ สิบคำตอบ :b6:

และ คงยากที่จะใช้ประสบการณ์ตรงของใคร มาเป็นหลัก
(ในเว็บนี้ ที่เห็น พยายามกล่าวเรื่องระดับนี้ ว่าเป็นประสบการณ์ตรงของตนเอง ก็มีคุณพลศักดิ์ :b32:...ถ้า ท่าน จขกท สนใจประสบการณ์ตรง ไม่อยากศึกษาผ่านที่ท่านผู้รู้ประมวลมาจากพระพุทธพจน์ ก็ คงต้องลองคุยกับคุณพลศักดิ์เอาน่ะครับ... ถ้า คุยรู้เรื่อง )




คำถามระดับนี้ คำตอบคงต้องอาศัยจากพระพุทธพจน์โดยตรง

หรือ ถ้าไปหาอ่านพระพุทธพจน์โดยตรงไม่ไหว ก็ ลองศึกษาที่ท่านผู้รู้ประมวลจากพระพุทธพจน์มาไว้อีกทอดหนึ่งก็ได้(แต่ ควรพยายามไปอ่านพระพุทธพจน์ต้นฉบับ ตามที่ท่านผู้ประมวลท่านแสดงการกำกับอ้างอิงมาด้วย)



ผมจึงเห็นความสำคัญของพระพุทธพจน์ และ ชอบศึกษาพระพุทธพจน์ ด้วยเหตุนี้



จาก พุทธธรรม
โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์

“..ในฌานเจริญวิปัสสนาหรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่ ?

-มักมีผู้สงสัยว่า ในฌาน จะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตก และวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียง ปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาได้อย่างไร ?

ความจริงองค์ฌาน เป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และเป็นฌานขั้นใด มิใช่หมาย ความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น

อันที่จริงนั้น ในฌานมีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมาก ดังที่ท่านบรรยายไว้ทั้งในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม) เช่น
ม.อุ. 14/158/118 กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น
ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆ ทุกระดับ
โดยเฉพาะใน ฌานที่เป็นโลกุตระ - (สงฺคณี อ. 336 ว่าเป็นฌานอัปปนาชั่วขณะจิตเดียว) มีทั้งอินทรีย์ 5 คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
มีองค์มรรคครบทั้ง 8 มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีกมาก (อภิ.สํ. 34/196/83)”

ๆลๆ

”....ในภาวะแห่งฌานที่ปฏิบัติถูกต้อง เมื่อจิตเป็นสมาธิแน่วแน่แล้ว จิตแนบสนิทกับอารมณ์หนึ่งเดียว สติยิ่งกำหนดชัดเจน ทำให้จิตเหมาะที่จะใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
ไม่ใช่เป็นจิตที่เคลิบเคลิ้มเลือนหายหมดความรู้สึก ไม่ใช่อย่างที่ฝรั่งเรียกว่า Trance

โดยเฉพาะฌานที่ 4 จะมีคำแสดงลักษณะว่า “อุเปกขาสติปาริสุทธิ จตุตถชฌาน” แปลว่า จตุตถฌานอันมีอุเบกขาเป็นเครื่องให้สติบริสุทธิ์

และคำสรุปท้ายฌาน 4 เมื่อใช้เพื่อบรรลุวิชชาจะมีว่า “เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ไร้มลทิน ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงน้อมจิตนั้นไป (นำเอาจิตไปใช้) เพื่อ....” (เช่น ที.สี.9/132/102 และดาษดื่นในพระไตรปิฎกเกือบทุกเล่ม, คำอธิบายดู อภิ.วิ.35/683/352, วิสุทธิ.1/214)….”



ดังนั้น รูปฌาน๑-๔ ที่เป็นสัมมาสมาธิ นั้น สามารถเจริญวิปัสสนาได้แน่นอน และ ดีกว่าสภาวะจิตปกติที่ไม่ปราศจากกาม-อกุศล เสียด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท ครับ



อ้างคำพูด:
อีกคำถามคือ เมือนั่งสมาธิ จนอยู่ใน ฌาน 4 จะสามารถอาศัยอำนาจฌาน ในการดับกิเลสต่างๆ ด้วยวิปัสสนาในขณะนั้นได้หรือไม่ นั่นคือ ขณะอยู่ในฌาน จะสามารถทำวิปัสสนาด้วยได้หรือไม่ โดยอาศัยอำนาจของจิตที่มีคุณภาพด้วยอำนาจของฌานสมาบัติ หรือจำเป็นต้องออกจากฌานมาก่อน




ระลึก(สติ) ขึ้นมาได้ว่า

มีอีกพระสูตรหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงรูปฌานที่๔ ที่บังเกิดในการเจริญสติปัฏฐาน

และ จากรูปฌานที่๔ ทรงแสดงต่อถึง การบรรลุวิชชาสามประการ (ใน วิชชาสามประการ ย่อมมีการเจริญวิปัสสนาอยู่ในส่วนแห่งการที่จะบรรลุอาสวักขยญาณ)


จากกระทู้เก่า

viewtopic.php?f=2&t=24149&start=0


ดู รายละเอียด ใน ทันตภูมิสูตรที่๕

http://84000.org/tipitaka/read/byitem.p ... agebreak=0

๔๐๑] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว

ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์
รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ

เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ชัดว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ




พระพุทธพจน์โดยตรง ไม่ได้ตรัสว่า ในการเจริญเพื่อบรรลุอาสวักขยญาณนี้ ต้องออกจากฌาน หรือ ไม่ออกจากฌาน .....

ท่านใช้คำว่า "น้อมจิตไปเพื่อ"



ลองย้อนกลับไปอ่าน ที่ท่านเจ้าคุณๆ ท่านประมวลเกี่ยวกับองค์ธรรมต่างๆ ที่มีในฌาน ไว้ว่า

เช่น ม.อุ. 14/158/118 กล่าวถึงฌานตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมี องค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น


หรือ จากพระสูตรดั้งเดิม

http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Bud ... 58&Roman=0



คำแปล ของคำว่า มนสิการ
จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์

http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มนสิการ&detail=on

มนสิการ การทำในใจ, ใส่ใจ, พิจารณา




การที่มีสติ และ มนสิการ(พิจารณา) อยู่ในรูปฌานที่๔ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ นี้

คือ คำตอบว่า จำเป็นต้องออกจากฌานที่เป็นสัมมาสมาธิไหมเพื่อเจริญวิปัสสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2009, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มี พระสูตรที่ตรัสถึงว่า พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญในฌานทั้งปวง ไว้ดังนี้


http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Bud ... 16&Roman=0


[๑๑๖] ว. ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ ความจริง พระวิหารเวฬุวันจะเป็นที่รื่นรมย์ เงียบเสียง และไม่อึกทึกครึกโครม มีลมพัดเย็นสบาย เป็นที่พักผ่อนของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้นอยู่ ก็ด้วยมีพระคุณเจ้าทั้งหลายเพ่งฌานและมีฌานเป็นปรกติต่างหาก พระคุณเจ้าทั้งหลายทั้งเพ่งฌานและมีฌาน
เป็นปรกติทีเดียว

ข้าแต่พระอานนท์ผู้เจริญ กระผมขอเล่าถวาย
สมัยหนึ่งพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล กระผมเข้าไปเฝ้าพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้นยังที่ประทับ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ณ ที่นั้นแล พระองค์ได้ตรัสฌานกถาโดยอเนกปริยาย พระองค์ทั้งเป็นผู้เพ่งฌานและเป็นผู้มีฌานเป็นปรกติ แต่ก็ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวง ฯ


[๑๑๗] อา. ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญ ฌานทั้งปวงก็มิใช่ ไม่ทรงสรรเสริญฌานทั้งปวงก็มิใช่

พระองค์ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นไร ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ
ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดกามราคะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น
จริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้
ในภายใน มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัด
พยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ
มุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะ
ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็น
จริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้
ในภายใน มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่
และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง
จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกุจจะไว้ในภายใน
มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิด
ขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะ
วิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
ไม่ทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล

ดูกรพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่
เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่

ดูกรพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงสรรเสริญฌานเช่นนี้แล ฯ




ปล...

1.วิธีเปลี่ยนหัวข้อพระสูตร ให้เปลี่ยนเลข ตรงitem

2.การที่จิตปักลงในอกุศลอย่างหนักแน่น ก็ ทรงตรัสว่าเป็นฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ ...
คห.ส่วนตัว ผมเห็นว่า ตัวอย่างเช่น หมอไสยศาสตร์ที่มีพลังจิต

3.ฌานที่ทรงทรงสรรเสริญนี้ เป็น ฌานของภิกษุในธรรมวินัยนี้(ฌานในแนวทางแห่งอริยมรรค)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญฌาน เพื่อบรรลุอัตตาใดๆ เช่น ที่ทรงแสดงไว้ใน ทิฏฐิ62ประการ ย่อมมิได้อยู่ในแนวทางแห่งอริยมรรค



นอกจากนี้
ถึงแม้นไม่ได้เจริญสมาธิภาวนาเพื่อบรรลุอัตตาใดๆ
หาก แต่ในการเจริญสมาธิภาวนานั้นๆเป็นการมีความสำคัญว่า เรา หรือ อัตตาในชื่ออื่นใดก็ตามเป็นผู้บรรลุฌาน....
ก็ยังนับว่า ไม่ตรงกับแนวทางแห่งอริยมรรคเสียทีเดียวนัก



เสนออ่าน


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค - สารีปุตตสังยุตต์ - ๑. วิเวกสูตร

[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

๗. สารีปุตตสังยุต

๑. วิเวกสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน

[๕๐๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวร เข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่ง พักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี.

ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระสารีบุตรว่า
อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร?

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. อาวุโส เรานั้นไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว.

แท้จริง ท่านพระสารีบุตรถอนทิฏฐิคืออหังการ ตัณหาคือมมังการ และอนุสัยคือมานะออกได้นานแล้ว ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงไม่คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจาก
ปฐมฌานแล้ว.


จบ สูตรที่ ๑.



ถ้ายังมี "เรา" หรือ อัตตาใดๆ เป็นผู้เข้าฌานอยู่
ก็ ยังมีภพมีชาติ .... คือ มี่เรา เป็นผู้ไปเข้าฌาน
ซึ่ง พระสารีบุตรท่านแสดงเตือนเอาไว้ว่า.... ไม่มี"เรา"ที่ไหนไปเข้าฌาน

ในสมาธิภาวนา๔ประเภท (พระบาลีโรหิตัสวรรคที่๕)
แสดงถึงสมาธิภาวนาประเภทที่๑ว่า เป็นไปเพื่อเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน นี้ .... ถ้าไม่รอบครอบพออาจจะบังเกิดสังโยชน์พัวพันยินดีในภพอันประณีตนี้ได้
และ เป็นทุกข์เป็นร้อนเมื่อความสงบสุขนั้นๆเสื่อมไป

(ปล... แต่ ไม่ต้องกลัวฌาน ถึงขนาด ไม่เจริญสมาธิภาวนากันน่ะครับ)




ฌานหาย


หากแม้นมี เราหรือใคร ไปเข้าฌาน
คงต้องทุกข์ ต้องรำคาญ แม้นฌานหาย
เมื่อฌานนั้น ผันแปรลับ เสื่อมกลับกลาย
ต้องวุ่นวาย โศกา แสนอาวรณ์

หากไม่มี เราหรือใคร ไปเข้าฌาน
ไม่ต้องทุกข์ ไม่รำคาญ แม้นฌานถอน
เป็นเพียงขันธ์ ที่เกิดดับ ลับลาจร
พึงสังวร ให้แยบคาย ภายในเอย


ตรงประเด็น
10 สค 2552


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาสวา ธมฺมา ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ
อนาสวา ธมฺมา ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ

กิเลสา เจว สงฺกิลิฏฺฐา จ ธรรมเป็นกิเลสและเศร้าหมอง
สงฺกิลิฏฺฐา เจว ธมฺมา โน จ กิเลสา ธรรมเศร้าหมองแต่ไม่เป็นกิเลส

[๗๐๘] ธรรมเป็นอาสวะ เป็นไฉน?
อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ.
[๗๐๙] บรรดาอาสวะ ๔ นั้น กามาสวะ เป็นไฉน?
ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่
ตัณหาคือความใคร่ สิเนหาคือความใคร่ ความเร่าร้อนคือความใคร่ ความสยบคือความใคร่
ความหมกมุ่นคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า กามาสวะ.
[๗๑๐] ภวาสวะ เป็นไฉน?
ความพอใจในภพ ความกำหนัดในภพ ความเพลิดเพลินในภพ สิเนหาในภพ
ความเร่าร้อนในภพ ความสยบในภพ ความหมกมุ่นในภพ ในภพทั้งหลาย อันใด นี้เรียกว่า
ภวาสวะ.
[๗๑๑] ทิฏฐาสวะ เป็นไฉน?
ความเห็นว่า โลกเที่ยงก็ดี ว่าโลกไม่เที่ยงก็ดี ว่าโลกมีที่สุดก็ดี ว่าโลกไม่มีที่สุดก็ดี
ว่าชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นก็ดี ว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่เบื้องหน้า
แต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ไม่เป็นอยู่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็มีไม่เป็นอยู่ก็มี
เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ว่าสัตว์ยังเป็นอยู่ก็ไม่ใช่ไม่เป็นอยู่ก็ไม่ใช่เบื้องหน้าแต่มรณะก็ดี ทิฏฐิ
ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ
ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด
ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะ
เช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐาสวะ.
มิจฉาทิฏฐิ แม้ทั้งหมด จัดเป็นทิฏฐาสวะ.
[๗๑๒] อวิชชาสวะ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข-
*นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีต
และส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง ความไม่
แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความไม่
พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง
ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า
อวิชชาสวะ.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะ.

[๗๑๓] ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?
เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรมที่เป็นกามาวจร
รูปวาจร อรูปาวจร โลกุตตระ ที่เหลือ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, รูปทั้งหมด
และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอาสวะ.

[๗๑๔] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? (สาสวะธรรม)
กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ
รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ ของอาสวะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? (อนาสวะธรรม)
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๑๕] ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ.

ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอาสวธรรมเหล่านั้น คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์,
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ.

[๗๑๖] ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?
อาสวะเหล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและเป็นอารมณ์ของอาสวะ.
ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด เป็นอารมณ์ของอาสวะโดยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้นอาสวธรรมเหล่านั้น
เสีย คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะที่เหลือ ซึ่งเป็น
กามาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น
อารมณ์ของอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๑๗] ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน?
กามาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ
เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยกามาสวะ
ภวาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ
เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยภวาสวะ
ทิฏฐาสวะ เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยอวิชชาสวะ อวิชชาสวะ
เป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ โดยทิฏฐาสวะ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ.
ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด สัมปยุตด้วยอาสวธรรมเหล่านั้น เว้นอาสวธรรมเหล่านั้นเสีย คือ
เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็น
อาสวะ.
[๗๑๘] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?
ธรรมเหล่าใด วิปปยุตจากอาสวธรรมเหล่านั้น คือ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากต-
*ธรรม ประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร ได้แก่ รูปขันธ์ ฯลฯ
วิญญาณขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
วิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๗๙๖] ญาณวัตถุหมวดละ ๒ คือ โลกิยปัญญา โลกุตตรปัญญา..... สาสวปัญญา อนาสวปัญญา อาสว-
*วิปปยุตตสาสวปัญญา อาสววิปปยุตตอนาสวปัญญา ............

[๙๑๓] อาสวธรรม เป็นไฉน?
อาสวะ ๔ คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ
กามาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ ๘ ดวง
ภาวสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโลภะ วิปปยุตจากทิฏฐิ ๔ ดวง
ทิฏฐาสวะ บังเกิดในจิตตุปบาทที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ ๔ ดวง
อวิชชาสวะ บังเกิดในอกุศลทั้งปวง
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อาสวธรรม.

ธรรมไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?
อกุศลที่เหลือเว้นอาสวธรรมเสีย กุศลในภูมิ ๔ วิบากในภูมิ ๔ กิริยาอัพยากฤตใน
ภูมิ ๓ รูป และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นอาสวะ.

[๙๑๔] ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? (สาสวะธรรม)
กุศลในภูมิ ๓ อกุศล วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓ และรูปทั้งหมด
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอารมณ์ของอาสวะ.

ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน? (อนาสวะธรรม)
มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า
ธรรมไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.

[๙๑๗] ธรรมเป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ เป็นไฉน?
อาสวะ ๒-๓ อย่าง บังเกิดร่วมกันในจิตตุปบาทใด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรม
เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะ.
ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ เป็นไฉน?
อกุศลที่เหลือ เว้นอาสวะทั้งหลายเสีย สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมสัมปยุตด้วย
อาสวะแต่ไม่เป็นอาสวะ.
ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ จะกล่าวว่า เป็นอาสวะและสัมปยุตด้วยอาสวะก็ไม่ได้ ว่า
สัมปยุตด้วยอาสวะ แต่ไม่เป็นอาสวะก็ไม่ได้.
[๙๑๘] ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?
โมหะที่บังเกิดในจิตตุปบาทที่สหรคตด้วยโทมนัสสเวทนา ๒ ดวง โมหะที่สหรคตด้วย
วิจิกิจฉา โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ กุศลในภูมิ ๓ วิบากในภูมิ ๓ กิริยาอัพยากฤตในภูมิ ๓
และรูปทั้งหมด สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะแต่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นไฉน?
มรรค ๔ ที่เป็นโลกุตตระ สามัญผล ๔ และนิพพาน สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า
ธรรมวิปปยุตจากอาสวะและไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ.
ธรรมสัมปยุตด้วยอาสวะ จะกล่าวว่า ธรรมวิปปยุตจากอาสวะ แต่เป็นอารมณ์ของ
อาสวะก็ไม่ได้ ว่าธรรมวิปปยุตจากอาสวะ และไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะก็ไม่ได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อรรถของพระพุทธองค์ ก็ต้องทำความเฃ้าใจโดยอรรถของพระพุทธองค์

การนำเอาการตีความการแปลผิดๆ ถุกๆ แล้วมาอธิบายจำกัดลงว่าเป็นอรรถที่พระพุทธองค์แสดงจึงเป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์

อรรถในมหาจัตตารีสกสูตร โดยเนื้อหาเพราะ นิรุตของ สาสวะ และอนาสวะ เป็นความเข้าใจอันดีแล้วในสมัยนั้น

ฌาน อันเป็นสัมมาสมาธิ ก็เป็นที่เข้าใจถูกต้อง โดยอรรถของสาสวะ และอนาสวะในสมัยนั้น

สาสวะ ตกแต่งภพ
อนาสวะ ไม่ตกแต่งภพอีกต่อไป

สัมมาสมาธิ (อันเป็นสาสวะ หรือ อนาสวะ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จำกัดว่า สัมมาสมาธิ คือ สัมมาสมาธิอันเป็นอนาสวะสัมมาสมาธิ เท่านั้น ส่วนสัมมาสมาธิอันเป็นสาสวะ ไม่สัมปยุตต์ด้วยอริยมรรค

และมิจฉาสมาธิ(ห้อมล้อมทิฐิอันเป็นอาสวะ และสัมปยุตด้วยอาสวะ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เอาสั้นๆแล้วกันน่ะครับ


เอาเป็น สรุปว่า so call สาสวะ(โลกียะ)สัมมาสมาธิ นับเป็นเป็นอรรถ ....คือ ไม่มีพระพุทธพจน์แสดงไว้โดยตรงแล้วกัน

ผมก็ไม่ขัดข้อง ถ้าใครจะเข้าใจอรรถเช่นนั้น

เพียงแต่ ลองถามดู เผื่อผู้ที่ศึกษาพระสูตรมามากจะเคยเห็นที่แสดงเป็นพระพุทธพจน์โดยตรงในจุดนี้

แต่ ถ้าหาพระพุทธพจน์โดยตรงไม่ได้ ก็ไม่เป็นไรครับ



อ้างคำพูด:
การนำเอาการตีความการแปลผิดๆ ถุกๆ แล้วมาอธิบายจำกัดลงว่าเป็นอรรถที่พระพุทธองค์แสดงจึงเป็นการกล่าวตู่พุทธพจน์


ท่านเจ้าคุณๆแปลไม่ผิดหรอกครับ



รูปฌาน๑-๔ ที่ อาจจะขวางความหลุดพ้น ไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค หรอก

เสนออ่าน ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕ ในทิฏฐิ62ประการ

http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=1

พระสูตรนี้ แสดงถึง การเจริญสมาธิภาวนาแบบปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิเป็นต้นทาง
เพราะ เป็นการเจริญสมาธิภาวนาเพื่ออัตตานั้นๆ ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งนี่ ก็เป็นไปเพื่อภพอันประณีต

๕๙. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้. ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะ
กามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และ
ความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็น
ธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่
อย่างนี้.


ซึ่ง ถ้าไปเจริญสมาธิภาวนาเพื่ออัตตาใดๆ เสียตั้งแต่ต้นแล้ว ย่อมไม่มีทางบรรุถึงพระนิพพานได้เลย


อนึ่ง ถ้ามีโยคีท่านหนึ่ง เกิดบำเพ็ญฌานจนบรรลุรูปฌาน๑-๔ แบบ ใน ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕ ....
ต่อมา ได้มีโอกาสสดับพระธรรมเทศนาอริยมรรค แต่ เพราะตนยึดมั่นถือมั่นในสภาวะอันประณีตนั้นๆ จนไม่โน้มใจยินดีในพระนิพพาน.... ทั้งๆที่ ฌานนั้นเป็นมหากุศลจิต แต่ก็เป็นเหตุให้ห่างจากพระนิพพาน ... ฌานแบบนี้ ย่อมไม่มีทางเป็น สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคได้เลย.ส่วนจะเป็น so call สาสวะ(โลกียะ)สัมมาสมาธิ ผมก็ไม่ขัดข้อง

หรือ ถ้ามีภิกษุรูปหนึ่งในศาสนานี้ เกิดบำเพ็ญฌานจนบรรลุรูปฌาน๑-๔ .... แต่ เพราะตนยึดมั่นถือมั่นในสภาวะอันประณีตนั้นๆ จนไม่โน้มใจยินดีในพระนิพพาน.... ทั้งๆที่ ฌานนั้นเป็นมหากุศลจิต แต่ก็เป็นเหตุให้ห่างจากพระนิพพาน ... ฌานแบบนี้ ย่อมไม่มีทางเป็น สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรคได้เลย... ครูบาอาจารย์ผู้รู้พระป่ากรรมฐาน ท่านเรียกว่า สมาธิหัวตอ เสียด้วยซ้ำ.... คือ มุ่งแต่จะเอาความสงบใจถ่ายเดียว ไม่ยอมมาเจริญปัญญา



ปล...ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า ฌานเหล่านี้ เป็นมหากุศลจิต ที่พาให้ เวียนว่ายตายเกิดใน ภพที่ดี (รูปภพ อรูปภพ)... น่ะครับ


เคยได้ยินภาษิตที่ว่า แม้นต้องเกิดอีกเพียงครั้งเดียวก็ยังนับว่าประมาท ไหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เอาเป็น สรุปว่า so call สาสวะ(โลกียะ)สัมมาสมาธิ นับเป็นเป็นอรรถ ....คือ ไม่มีพระพุทธพจน์แสดงไว้โดยตรงแล้วกัน

ผมก็ไม่ขัดข้อง ถ้าใครจะเข้าใจอรรถเช่นนั้น


พระพุทธพจน์แสดงไว้ตรงๆ แล้วในมหาจัตตารีสกสูตร ผู้มืดบอดย่อมปฏิเสธและกล่้าวตู่พุทธพจน์ และยังใส่ คำว่า so call ลงไปอีก


เมื่อไม่เข้าใจ ว่า สาสวะ อนาสวะ คืออะไร
ย่อมไม่เข้าใจในอรรถ ความแตกต่างระหว่าง สัมมาสมาธิอันเป็นสาสวะ และสัมมาสมาธิอันเป็นอนาสวะอยู่อย่างนั้น

และเมื่อยกพระอภิธรรม แสดงสภาวะนั้นให้ท่าน โยนิโสมนสิการ เพื่อให้เกิดสุตตมยปัญญา เพื่อความเจริญแห่งจินตามยปัญญา อันเป็นสาสวะ

บทใดคำแปลใดที่ผิดๆ ถูกๆ ย่อมตกไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2009, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นกระทู้คือ อย่างไรเรียกมิจฉาสมาธิ

เมื่อมีการแปลผิดๆ ถูกๆ โดยการ รวมเอาสัมมาสมาธิอันเป็นสาสวะ เข้าเป็นมิจฉาสมาธิ

ซึ่งในการแสดงอรรถแห่งมหาจัตตารีสกสูตร ก็ได้แสดงการห้อมล้อมแห่งองค์มรรค ว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ และสัมมาสมาธิ

อีกทั้งพระองค์ท่านทรงจำแนก ธรรมออกเป็น สาสวะ และอนาสวะ และมิจฉา อย่างชัดเจน

โดยอรรถแล้ว สัมมาสมาธิอันเป็นอนาสวะ ย่อมมีแก่ พระอริยบุคคล จึงทรงแสดงอย่างแจ่มชัดในมหาจัตตารีสกสูตร เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งปวง

ลักษณะการห้อมล้อมของธรรม จึงไม่ต้องแสดงซ้ำอีก ว่า มิจฉาทิฐิ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ ย่อมห้อมล้อม มิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ

หรือ ย่อมไม่แสดงซ้ำ อีกถึงการห้อมล้อม ของสาสวะธรรมทั้งหลาย ในรูปแบบเดียวกัน

ดังนั้นเพื่อความเข้าใจใน สาสวะ อนาสวะ และ อาสวะ เพื่อท่านผู้ไม่รู้จริงๆ เกี่ยวกับความต่างแห่งธรรมซึ่งคนในสมัยก่อนมีปัญญารู้แล้ว จึงจำเป็นต้องยกพระอภิธรรม ที่แสดงอรรถแห่ง สาสวะ อนาสวะ และ อาสวะ ประกอบไว้ตั้งแต่ต้น โดยไม่จำเป็นต้องไปอ้างอิง คำตีความผิดๆ ถูกๆ ใดๆ นอกพระไตรปิฏกเลย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 155 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร