วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 14:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 00:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


31 ภพภูมิ
1. อบายภูมิ 4
2. มนุสสภูมิ 1
3. เทวภูมิ 6
4. รูปพรหมภูมิ 16
5. อรูปพรหมภูมิ 4
อบายภูมิ 4
1. นิรยภูมิ - โลกนรก
2. เปติวิสยภูมิ - โลกเปรต / ทุคติ
3. อสุรกายภูมิ - โลกอสุรกาย / วินิบาต
4. ติรัจฉานภูมิ - โลกเดียรฉาน / อบาย
1. นิรยภูมิ
1.สัญชีวมหานรก อายุ 500 กัป 1วันนรกเท่ากับ 9,000,000 ปีมนุษย์
2.กาฬสุตตมหานรก อายุ 1,000 กัป 1วันนรกเท่ากับ 36,000,000 ปีมนุษย์
3.สังฆาฏมหานรก อายุ 2,000 กัป 1วันนรกเท่ากับ 144,000,000 ปีมนุษย์
4.โรรุวมหานรก อายุ 4,000 กัป 1วันนรกเท่ากับ 576,000,000 ปีมนุษย์
5.มหาโรรุวมหานรก อายุ 8000 กัป 1วันนรกเท่ากับ 2304,000,000 ปีมนุษย์
6.ตาปนมหานรก อายุ 16000 กัป 1วันนรกเท่ากับ 9216,000,000 ปีมนุษย์
7.มหาตาปมหานรก อายุ1 / 2 อันตรกัป
8.อเวจีมหานรก อายุ 1 อันตรกัป
9.โลกันตนรก อายุ 1พุทธันดร
1.2. จำนวนขุมนรก
นิรยภูมิ -โลกนรก 457 ขุม
มหานรก 8 ขุม อุสสุทนรก 128 ขุม ยมโลกนรก 320 ขุม
1.สัญชีวมหานรก ล้อมสัญชีวมหานรก 16 ล้อมสัญชีวมหานรก 40
2.กาฬสุตตมหานรก ล้อมกาฬสุตตมหานรก 16 ล้อมกาฬสุตตมหานรก 40
3.สังฆาฏมหานรก ล้อมสังฆาฏมหานรก 16 ล้อมสังฆาฏมหานรก 40
4.โรรุวมหานรก ล้อมโรรุวมหานรก 16 ล้อมโรรุวมหานรก 40
5.มหาโรรุวมหานรก ล้อมมหาโรรุวมหานรก 16 ล้อมมหาโรรุวมหานรก 40
6.ตาปนมหานรก ล้อมตาปนมหานรก 16 ล้อมตาปนมหานรก 40
7.มหาตาปมหานรก ล้อมมหาตาปมหานรก 16 ล้อมมหาตาปมหานรก 40
8.อเวจีมหานรก ล้อมอเวจีมหานรก 16 ล้อมอเวจีมหานรก 40
รวม 8 128 320
หมายเหตุ : ล้อม 4 ทิศ
1.คูกนรก 4 โลหกุมภียมโลกนรก 4
2.กุกกุฬนรก 4 สิมพลียมโลกนรก 4
3.อสิปัตตนรก 4 อสินขยมโลกนรก 4
4.เวตรณีนรก 4 ตามโพทยมโลกนรก 4
5. อโยคุฬยมโลกนรก 4
6. ปิสสกปัพพตยมโลกนรก
7. ธุสยมโลกนรก 4
8. สีตโลสิยมโลกนรก 4
9. สุนขยมโลกนรก 4
10. ยันตปาสาณยมโลกนรก 4
รวม 16 40
โลกันตนรก 1 ขุม
1.3.ลักษณะนรก
มหานรก สภาพ / ลักษณะ
1.สัญชีวมหานรก จะลงโทษสักเท่าใด สัตว์นรกไม่มีวันสูญ ตายแล้วฟื้น
2.กาฬสุตตมหานรก ใช้เหล็กแดงตี, ใช้เลื่อย ขวาน มีด มาผ่าหรือเฉือน
3.สังฆาฏมหานรก ภูเขาไฟนรกกลิ้งมาบดขยี้ร่างกาย
4.โรรุวมหานรก เต็มไปด้วยเสียงร้องไห้ / นอนคว่ำในดอกบัวไฟ
5.มหาโรรุวมหานรก ร้องครวญครางมากกว่า / ยืนแข็งทื่อในดอกบัวกรด
6.ตาปนมหานรก ทำสัตว์นรกให้เร่าร้อน / ถูกย่างบนปลายหลาวเหล็ก
7.มหาตาปมหานรก ทำสัตว์ให้เร่าร้อน / ถูกเสียบด้วยหลาวเหล็กไฟ
8.อเวจีมหานรก ปราศจากทุกข์เบาบาง / ทรมานหนักที่สุด
9.คูกนรก นรกอุจจาระเน่า / หนอนกัดกิน
10.กุกกุฬนรก นรกขี้เถ้า / ถูกเผาด้วยขี้เถ้าร้อนระอุ
11.อสิปัตตนรก นรกป่าไม้ใบดาบ / ถูกใบไม้ดาบตัดอวัยวะ
12.เวตรณีนรก นรกน้ำเค็ม / ถูกน้ำเค็มแสบ+หวายเหล็กคมเป็นกรด
13.โลหกุมภียมโลกนรก นรกหม้อไฟ / ถูกเคี่ยวในน้ำเดือดพล่าน
14.สิมพลียมโลกนรก นรกป่างิ้ว / ลุยป่างิ้วที่มีหนามแหลมคมเป็นกรด
15.อสินขยมโลกนรก นรกตะกุยเนื้อ / มีเล็บแหลมใช้ตะกุยเนื้อตนเป็นอาหาร
16.ตามโพทยมโลกนรก นรกน้ำทองแดง / ถูกกรอกด้วยน้ำทองแพดงทางปาก
17.อโยคุฬยมโลกนรก นรกเหล็กแดงก้อน / กินก้อนเหล็กแดงเป็นอาหาร
18.ปิสสกปัพพตยมโลกนรก นรกภูเขาใหญ่ / มีภูเขาใหญ่กลิ้งมาบดขยี้จนตาย
19.ธุสยมโลกนรก นรกน้ำแกลบ / กระหายน้ำกลายเป็นแกลบลุกเป็นไฟ
20.สีตโลสิยมโลกนรก นรกน้ำเย็นยะเยือก / ถูกจับโยนลงน้ำเย็นยะเยือกจนตาย
21.สุนขยมโลกนรก นรกสุนัข / ถูกสุนัข นกแร้ง นกตะกรุม ไล่ขบกัด
22.ยันตปาสาณยมโลกนรก นรกภูเขาไฟ / ถูกภูเขาไฟหนีบตาย
23.โลกันตนรก 1 ขุม นรกขอบจักรวาล / ถูกทำลายด้วยทะเลน้ำกรด
2. เปตติวิสยภูมิ
1.เปรต 13 และ เปรต 14
เปติวิสยภูมิ – โลกเปรต
เปรต13 สภาพ / ลักษณะ
1.วิชชาตเปรต เปรตชั้นผู้ใหญ่ มีฤทธิ์มาก ประดุจพญาเปรต
2.วันตาสาเปรต เปรตกินเศลษม์น้ำลาย เสมหะ อาเจียน
3.กุณปขาทาเปรต เปรตกินซากอสุภะคน และ สัตว์
4.คูถขาทาเปรต เปรตกินมูตรคูถ คือ อุจจาระและปัสสาวะ
5.อัคคีชาละมุขาเปรต เปรตที่มีเปลวไฟแลบออกมาจากปาก
6.สุจิมุขาเปรต เปรตปากเท่ารูเข็ม / กินอาหารยากลำบาก
7.ตัณหัฏฏิตเปรต เปรตผอมโซ / อยากข้าวอยากน้ำเป็นกำลัง
8.สุนิชฌามกเปรต เปรตตอไม้เผา / เป็นง่อย หิวอาหารเป็นกำลัง
9.สัตถังคเปรต เปรตเล็บใบมีด / ข่วน ควักเนื้อตนเป็นอาหาร
10.ปัพพตังคเปรต เปรตภูเขาไฟไหม้ / ไฟไหม้กลางคืน ร้อนระอุกลางวัน
11.อชครังคเปรต เปรตรูปสัตว์เดียรฉาน / ไฟไหม้ท่วมตัวทั้งวันทั้งคืน
12.มหิทธิกาเปรต เปรตรูปร่างงดงาม / มีฤทธิ์เหาะ อดอยากกินมูตรคูถ
13.เวมานิกเปรต กึ่งเปรตกึ่งเทวดา / เสวยสุขเสวยทุกข์ตามกาล
เปรต 4
1.ปรทัตตูปชีวิกเปรต เปรตที่รับส่วนบุญที่ญาติอุทิศให้ได้ / หิวโหยอดอยาก
2.ขุปปิปาสิกเปรต เปรตถูกเบียดเบียนด้วยความหิวข้าวน้ำเป็นกำลัง
3.นิชฌามตัณหิกเปรต เปรตถูกไฟไหม้ให้เร่าร้อนอยู่เสมอ
4.กาลกัญจิกเปรต เปรตมีเนื้อน้อยไม่มีแรง ตาถลน มีปากเท่ารูเข็ม
* ปรทัตตูปชีวิกเปรตจะอนุโมทนาได้รับส่วนบุญจากญาติ ประกอบด้วยเหตุ 3ประการ ดังนี้
1. เป็นสังฆทาน
2. เมื่อญาติถวายสังฆทานแล้ว ต้องมีจิตผ่องแผ้ว ตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลแก่เปรตนั้น
3. ปรทัตตูปชีวิกเปรตนั้น จะต้องมาคอยรับและอนุโมทนด้วยความตั้งอกตั้งใจ
2. เปรต 21
เปรต 21 สภาพตามอารมณ์ / ลักษณะปรากฏ
1. อัฏฐิสังขลิกเปรต เปรตกระดูกขาว ไม่มีเนื้อ โลหิต
2. มังสเปสิกเปรต เปรตมีเนื้อเป็นชิ้นๆ ไม่มีกระดูก
3. มังสปิณฑเปรต เปรตมีเนื้อเป็นก้อนๆ
4. นิจฉวิเปรต เปรตไม่มีหนัง
5. อสิโลมเปรต เปรตดาบ
6. สันตติโลมเปรต เปรตหอก
7. อสุโลมเปรต เปรตศร
8. สูจิโลมเปรต เปรตปฏัก
9. สูจกเปรต เปรตเข็มแหลม
10. กุมภัณฑเปรต เปรตอัณฑะใหญ่
11. คูถนิมุคคเปรต เปรตจมหลุมคูถท่วมศีรษะ
12. คูถขาทิเปรต เปรตจมหลุมคูถ
13. นิจฉวิตกีเปรต เปรตไม่มีผิวหนัง
14. มังคุลิตถีเปรต เปรตมีกลิ่นเหม็น
15.โอกิลินีเปรต เปรตเชิงตะกอน
16. อสีสกพันธเปรต เปรตไม่มีศีรษะ
17. ภิกษุเปรต เปรตที่มีสัณฐานเหมือนพระ
18. ภิกษุณีเปรต เปรตที่มีสัณฐานเหมือนภิกษุณี
19. สิกขมานาเปรต เปรตที่มีสัณฐานเหมือนสิกขมานา
20. สามเณรเปรต เปรตที่มีสัณฐานเหมือนสามเณร
21. สามเณรีเปรต เปรตที่มีสัณฐานเหมือนสามเณรี
พุทธพจน์ : - )
1. ความประมาท ย่อมครอบงำบุคคลผู้ติดอยู่ในความยินดียินร้าย ในความรักความชังในทุกข์และสุข
บุคคลผู้ไม่ตระหนี่ ควรทำเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ปรารภถึงบุรพเปตชน เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือน หรืท้าวมหาราชทั้ง 4 ผู้รักษาโลก ผู้มียศ คือ ท้าวธตรัฐ 1 ท้าววิรุฬหก 1 ท้าววิรูปักษ์ 1 ท้าวกุเวร 1 ให้เป็นอารมณ์ และพึงให้ทาน ท่านเหล่านั้นเป็นผู้อันบุคคลได้บูชาแล้วได้บูชาแล้ว และทายกก็ไม่ไร้ผล ความร้องไห้ ความโศกเศร้า หรือความร่ำไห้อย่างอื่นไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลายคงตั้งอยู่ตามธรรมดาของตนๆ อันทักษิณาทานนี้ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่บุรพเปตชนโดยทันที สิ้นกาลนาน.
3. อสุรกายภูมิ
วินิปาติกา จ เต อสุรา จาติ วินิปาติกอสุรา
อบายสัตว์ที่มีชื่อว่า วินิบาตอสุรกาย ก็เพราะว่า เป็นเหล่าสัตว์ที่ไม่มีความสวยงาม และไม่มีความสุขรื่นเริง
สัตว์ที่อุบัติในภูมิอสุรกายนี้ ถูกเรียกว่า กาลกัญชิกาอสุรกาย มีลักษณะ คือ
1.มุขทวารช่องปากเล็กยิ่งนัก ประมาณเท่ารูเข็ม ตั้งอยู่ตรงกลางกระหม่อม
2.มีสรีระร่างกายหลายลักษณะ คือ
2.1 รูปร่างผ่ายผอมนัก แต่สูงชะลูดเป็นร้อยเป็นพันวาขึ้นไป น่าทุเรศ พิลึก มีเนื้อและโลหิตมาตรว่าสักนิดหนึ่งนั้นไม่มีเลยมีแต่หนังหุ้มกระดูก เป็นสัตว์ตายซาก ประดุจดังใบไม้แห้ง
2.2 มีท้องยานใหญ่ยิ่งนักหนา ตลอดลำตัวสูงใหญ่ทื่อมะลือ มีสีกายดำทะมึนน่าเกรงขามมีเล็บเท้ายาวรีแหลมคม มีสันดานร้าย ใจคอเหี้ยมโหดดุดัน มีปกติข่มเหงเพื่อนอสุรกายด้วยกัน มีกระบองเหล็กไฟลุกแดงเป็นอาวุธ
3.มีกลิ่นเหม็นสาบเหม็นสางอย่างสุดประมาณ
4.ดวงตามีขนาดเล็กเท่ากับตาปูนา ตั้งอยู่ตรงกลางกระหม่อม ใกล้ทวารปาก
5.มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแสนลำบากยากเย็น ต้องต่อสู้กับความหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าการแสวงหาอาหารนั้น กว่าจะได้มาย่อมเป็นไปด้วยความลำบากยากเย็นหนักหนา เพราะ
5.1ดวงตาเขาเล็กเหลือเกิน ไม่สมกับรูปร่างใหญ่โต
5.2ดวงตาดันไพล่ไปตั้งอยู่กลางกระหม่อมเสียอีก
5.3เมื่อเจออาหารจะบริโภคก็แสนจะลำบาก เพราะ ปากตั้งอยู่กลางกระหม่อมเหนือศีรษะเวลาจะบริโภค ต้องเอาหัวปักดิน เอาเท้าชี้ฟ้า จึงจะบริโภคได้
5.4กว่าอาหารจะเข้าปากได้ก็แสนจะลำบาก เพราะปากเท่ารูเข็ม
ความแตกต่างระหว่างเปรตกับอสุรกาย
เปรต ประสบทุกขเวทนา เพราะ ความอดอยากอาหาร เป็นส่วนมาก
อสุรกาย ประสบทุกขเวทนา เพราะ ความกระหายน้ำ เป็นส่วนมาก
4.ติรัจฉานภูมิ
หมายถึง โลกของเหล่าสัตว์ที่มีความยินดีในเหตุเพียง 3 ประการ
1. การกิน
2. การนอน
3. การเสพเมถุนกิจ
หมายถึง โลกของเหล่าสัตว์ผู้ไปโดยขวาง คือ
1. เวลาจะไปไหนมาไหน ต้องไปตามขวางหรือตามยาว คือ ต้องคว่ำอกไปทั้งสิ้น
2. สภาพจิตใจมีสภาพขวางจาก มรรค ผล นิพพาน
ติรัจฉาน 4 สภาพ / ลักษณะ
1. อปทติรัจฉาน สัตว์ไม่มีขา ไม่มีเท้า จำพวก งู ปลา ไส้เดือน
2. ทวิปทติรัจฉาน สัตว์มี 2 เท้า พวก นก เป็ด ไก่
3. จตุปทติรัจฉาน สัตว์มี 4 เท้า พวก ช้าง ม้า วัว ควาย
4. พหุปปทติรัจฉาน สัตว์มีมากกว่า 4 เท้า พวก กิ้งกือ ตะขาบ
ความเป็นอยู่ของสัตว์เดียรฉาน คือ
1.สถานที่ ไม่มีสถานที่เป็นที่อยู่ของตนโดยเฉพาะ มีที่อยู่ไม่เป็นหลักเป็นแหล่ง
2. ความเป็นอยู่ มีความเป็นอยู่ลำบากยากเย็นกว่ามนุษย์ เพราะมีภัยต่อชีวิตรอบด้าน เป็นชีวิตที่ตกต่ำแสนอาภัพ ได้รับแต่ความไม่สบายรอบด้าน ต้องยุ่งอยู่กับการแสวงหาอาหารมาใส่ท้องอยู่ตลอดเวลา
มนุสสภูมิ 1
เป็นภูมิที่มีสัตว์ผู้อยู่อาศัยที่มีจิตใจสูง คือ ความองอาจกล้าหาญในการประกอบกรรมต่างๆ
ในอกุศลกรรม เป็นกรรมที่ชั่วช้าลามก สามารถทำได้ตั้งแต่บาปเล็กน้อยจนถึงครุกรรม
ในทางกุศลกรรม สามารถบำเพ็ญกุศลกรรม มีการให้ทาน รักษาศีล 5 8 10 277 311 และ การเจริญภาวนา และ สามารถสั่งสมบารมีได้ถึงเป็นองค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า
มนุษย์นั้นจะเกิดแตกต่างกันนั้นก็เป็นไปตามกฏแห่งกรรม
เทวภูมิ ๖ เทวโลก แดนอันแสนดีเลิศล้ำด้วย กามคุณ ทั้ง ๕ โลกของ เทวดา ตามปกติหมายถึง กามาพจรสวรรค์

๑.จาตุมหาราชิการ (สวรรค์ชั้นที่ ๑) สวรรค์ที่ท้าวมหาราช ๔ องค์ ปกครอง มีบริเวณอยู่รอบๆเขาพระสุเมรุ
จาตุมหาราชิกา มีมหาราช ๔ องค์
๑. ท้าววธตรัฐะ มหาราช เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
๒. ท้าวิรุฬหกะ มหาราช เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศใต้
๓. ท้าววิรูปักษ์ มหาราช เป็นผู้ปกครอง นาคะเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศตะวันออก
๔. ท้าวเวสสุวรรณ มหาราช เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา ทั้งหมด อยู่ทาง ทิศเหนือ
ชนิดของเทวดา
๑. ปัพพตัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ
๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภคอาหาร แล้วตาย
๔. มโนปโทสิเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ
๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศเย็นเกิดขึ้น
๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำให้อากาศร้อนเกิดขึ้น
๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์
๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (สวรรค์ชั้นที่ ๓)
แดนแห่งเทพ ๓๓ มีจอมเทพชื่อ ท้าวสักกะ หรือที่เรียกว่า พระอินทร์ เป็นใหญ่สุด เมื่อพระอินทร์องค์หนึ่งสิ้นบุญ จุติ ไป ก็มีพระอินทร์อีกองค์หนึ่งเกิดสืบแทนกันไป ดาวดึงส์ เป็นคำบาลีแปลว่า ๓๓ บางทีก็เรียก ไตรตรึงษ์ ซึ่งเป็นคำสันสกฤต แปลว่า ๓๓ เหมือนกัน ความเป็นอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากกุศลธรรมในอดีต บริโภคอาหารอันละเอียดสุขุม ชนิดที่เป็น สุธาโภชน์ (ผู้บริโภคอาหารทิพย์) อารมณ์ที่ได้รับจึงล้วนมีแต่ อิฏฐรมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) และไม่มีความเจ็บป่วย ไม่มีอุจจาระ ปัสสาวะ เทวดาผู้ชาย มีความเป็นหนุ่มอยู่ในวัย ๒๐ ปี ส่วนเทวดาผู้หญิงมีความเป็นสาวอยู่ในวัย ๑๖ ปี สวยงามตลอดไปจนตาย มิได้มีความชรา สมบัติของเทวดาเหล่านั้น มีความยิ่งหย่อนกว่ากัน ทั้งบริวาร วิมานและ อิฎฐรมณ์ ต่าง ๆ สุดแต่กรรทที่ตนได้กระทำไว้ เทวดาในชั้นนี้มักจะมีการประชุมฟังธรรมกันอยู่เสมอ และ ยังพากันรักษาอุโบสถศีลอยู่เป็นเนืองนิด สวรรค์ชั้นนี้ตั้งอยู่บนเขาพระสุเมรุ
สิ่งที่สำคัญในสวรรค์ชั้นนี้ คือ สุทัสสนเทพนคร ไพชยนตปราสาทพิมาร นันทวันอุทยาททิพย์ จิตรลดาวันอุทยานทิพย์ มิสกวันอุทยามทิพย์ ผารุสกวันอุทยานทิพย์ ปุณฑริกวันอุทยานทิพย์ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ สุธรรมาเทวสภา มหาวันอุทยานทิพย์
พระจุฬาเกศแก้วมณีที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นที่บรรจุ พระเมาลี และ พระบรมธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวา
สวรรค์ชั้นยามา (สวรรค์ชั้นที่ ๓)
แดนแห่งเทพผู้ปราศจากความทุกข์ มี ท้าวสุยามเทพบุตร ปกครอง ตั้งแต่ภูมิยามานี้ขึ้นไปตั้งอยู่ใน มี อากาสัฏฐเทวดา เป็นเทวดาที่อยู่บนอากาศ อยู่ ร่างกายสวยงามประณีต อายุยืนยาวกว่าเทวดาชั้น ดาวดึงส์ มากเป็นภูมิที่สวยงามประณีต ปราศจากความยากลำบาก ไม่มีเรื่องทุกข์ ได้แก่ที่อยู่ของพวกที่รักษา อุโบสถในชั้นฟ้านี้ไม่เห็นพระอาทิตย์เลย เพราะว่าอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์มากแต่เทพชั้นนี้เห็นกันได้ด้วยรัศมีแก้ว และด้วยรัศมีของเทพเองจะรู้ว่ารุ่งหรือค่ำด้วยอาศัยดอกไม้ทิพย์ คือ เมื่อเห็นดอกไม้บานจึงรู้ว่ารุ่ง เมื่อเห็นดอกไม้หุบจึงรู้ว่าค่ำ
สวรรค์ชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้นที่ ๔)
แดนแห่งเทพผู้เอิบอิ่มด้วยสิริสมบัติของตน มี ท้าวดุสิตเทวราช ปกครอง เป็นภูมิของเทวดาผู้อิ่มเอิบด้วยบารมี ผู้มีปัญญา ผู้อยู่ในภูมินี้จึงมีแต่ความชื่นบาน มีวิมานทิพย์ ทิพย์สมบัติ ร่างกายประณีตกว่าเทวดาในชั้น ยามา เป็น ภพ ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีเทพนครตั้งอยู่กลางอากาศ มีปราสาทวิมาร 3 ชนิด คือ วิมารแก้ว วิมารทอง และ วิมารเงินเทวดาในชั้นนี้มักจะมีการประชุมฟังธรรมกันอยู่เสมอ และ ยังพากันรักษาอุโบสถศีลอยู่เป็นเนืองนิด
สวรรค์ชั้นนิมมานรดี (สวรรค์ชั้นที่ ๕)
แดนแก่งเทพผู้ยินดีในการนิรมิต มีท้าวสุนิมมิต หรือ นิมมิตเทวราช ปกครองเทวดาชันนี้ปรารถนาสิ่งใด นิรมิตเอาได้ตามความพอใจของตน ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เมื่อใดปรารถนาใคร่เสพ กามคุณ เวลานั้นก็ เนรมิต เทพบุตร หรือเทพธิดาขึ้นมาตามความปรารถนา และเมื่อใดได้เพลิดเพลินกับ กามคุณ นั้นสมใจแล้ว กามคุณ ที่เนรมิตขึ้นมานั้นก็จะอันตรธานหายไป ผู้อยู่ในภูมินี้จึงมีแต่ความชื่นบาน มีวิมานทิพย์ ทิพย์สมบัติ ร่างกายประณีตกว่าเทวดาในชั้น ดุสิต
ปรนิมมิตวสวัตดี (สวรรค์ชั้นที่ ๖)
แดนแห่งเทพผู้ยังอำนาจให้เป็นไปในสมบัติที่ผู้อื่น นิรมิต (บันดาลให้เป็นขึ้นมีขึ้น) ให้
มีเทพเป็นราชาผู้ปกครองอยู่ ๒ ฝ่าย
ฝ่าย เทพยดา ปรนิมมิตรสวัตตีเทวราช ปกครองเทพไม่เป็นมาร
ฝ่าย มาร พญามาราธิราช หรือ วสวัตตีมาร ปกครองเทพที่เป็นมาร
เทวดาชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดไม่ต้องนิรมิตเอง มีเทวดาอื่นที่รับใช้เนรมิตให้ตามต้องการ เป็นภูมิที่มีความสุขและเพลิดเพลินมากเทวดาที่อยู่ในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีนี้ไม่มีคู่ครองเป็นประจำโดยเฉพาะตน เป็นที่อยู่ของพวกที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นไว้มาก
เทวภูมิ หรือ ฉกามาพจรสวรรค์ ทั้ง ๖ ชั้นยังเกี่ยวข้องกับ กามคุณ
เทวภูมิ ๖ (ฉกามาพจรสวรรค์ ๖)
๑. จาตุมหาราชิกา มีเหมือนมนุษย์
๒. ดาวดึงส์ มีเหมือนมนุษย์
๓. ยามา มีแต่ กายสังสัคคะ (กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องด้วยกาย การเคล้าคลึงร่างกาย)
๔. ดุสิต มีเพียงจับมือกัน
๕. นิมมานรดี มีเพียงยิ้มรับกัน
๖. ปรนิมมิตสวัตตี มีแต่มองดูกัน
ในเทวภูมิไม่มีสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อต้องการจะมีม้ารถเทียม ก็จะมีเทพบุตรจำแลง กายของเทวดา เรียกว่าเป็นกายทิพย์ เป็นกายสว่างละเอียด ไม่มีปฏิกูล เกิดเป็น อุปปาติกะ คือ ผุดเกิดขึ้น มีตัวตนโตเต็มที่เลย แต่เป็น อทิสสมานกาย คือ การยที่ไม่ปรากฏแก่ตาคนในเทวภูมิบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุก็ยืนยาว แก่เจ็บไม่ปรากฏตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก
เทวดาจะจุตุ มี ๔ ประการ
๑. อายุขัย จุติเพราะสิ้นอายุ ได้แก่ เทวดาที่ได้เคยสร้างกุศลมาก็ได้เสวยสมบัติทิพย์จนครบอายุทิพย์ในเทวโลกชั้นที่ตนอยู่นั้น ครั้นหมดอายุแล้วก็จุติ
๒. บุญญขัย จุติเพราะสิ้นบุญ ได้แก่ เทวดาที่สร้างสมบุญกุศลไว้น้อย เมื่อกุศลผลบุญที่ได้กระทำไว้หมดสิ้นลงเสีย แต่ในระหว่างยังไม่ถึงอายุขัย จำต้องจุติไปเกิดที่อื่น เพราะหมดบุญแล้ว
๓. อาหารขัย จุติเพราะสิ้นอาหาร ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่เสวยทิพย์สมบัติ จนลืมบริโภคสุธาโภชนาหารทิพย์อันเป็นปัจจัยแก่กาย และชีวิตถ้าแม้ว่าเขาลืมบริโภคภายหลังสักร้อยครั้งพันครั้ง ก็มิอาจจะซ่อมแซมให้ดีขึ้นมาใหม่
๔. โกธพลขัย จุติเพราะความโกรธ ได้แก่ เทวดาบางจำพวกที่มีจิตริษยาหาเหตุพาล มีความโกรธในหัวใจ
จุตินิมิตของเทวดา ๕ ประการ นิมิตล่วงหน้า ซึ่งอุบัติเกิดแก่เทวดาผู้จะต้องจุติ
จุติ เคลื่อนจาก ภพ หนึ่งไปสู่ ภพ อื่น ตาย (ส่วนมากใช้กับเทวดา)
๑. ดอกไม้ทิพย์เครื่องประดับเหี่ยวแห้ง
๒. ผ้าทิพย์เครื่องประดับสำหรับองค์มีสีเศร้าหมอง
๓. มีเหงื่อไหลออกมาจากรักแร้
๔. ที่นั่งและที่นอนร้อนดุจมีไฟอยู่ภายใต้
๕. กายของเทวดาเหี่ยวแห้งเศร้าหมองหารัศมีเช่นก่อนไม่ได้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเนื้อตัวมือตีน มีความกระวนกระวายใจ
รูปพรหมภูมิ 16 รูปพรหม ๑๖ หมายถึง ภูมิของพรหม ที่ยังไม่สามารถตัดรูปได้ พรหมที่ได้ปฐมฌาน มีภูมิ ๓ ชั้น และ อายุของพระพรหม พรหมปาริสัชชา 1 ใน 3 ของกัลป์ พรหมปุโรหิตา 1 ใน 2 ของกัลป์ มหาพรหมา 1 กัลป์ พรหมที่ได้ทุติยฌาน มีภูมิ ๓ ชั้น และ อายุของพระพรหม ปริตาภา 2 กัลป์ อัปปมาณาภา 4 กัลป์ อาภัสสรา 8 กัลป์ พรหมที่ได้ตติยฌาน มีภูมิ ๓ ชั้น และ อายุของพระพรหม ปริตสุภา 16 กัลป์ อัปปมาณสุภา 32 กัลป์ สุภกิณหกา 64 กัลป์ พรหมที่ได้จตุตถฌาน มีภูมิ ๒ ชั้น และ อายุของพระพรหม เวหัปผลา 500 กัลป์ อสัญญสัตตา 500 กัลป์ พรหมอนาคามี (สุทธาวาสภูมิ) มี ๕ ชั้น อวิหา 1000 กัลป์ อตัปปา 2000 กัลป์ สุทัสสา 4000 กัลป์. สุทัสสี 8000กัลป์ อกนิฏฐา 16000 กัลป์ อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ มีความพิเศษคือ ที่ทุสสเจดีย์บรรจุผ้าขาวตอนที่พระโพธิสัตว์ทรงออกผนวช เป็นเจดีย์แก้วใส สูง 96000 วา อรูปพรหมภูมิ 4 มี 4 ชั้น คือ อากาสานัญจายตน วิญญาณัญจายตน อากิญจัญญายตน เนวสัญญานาสัญญายตน มีอายุตามลำดับคือ อากาสานัญจายตน 20000 มหากัลป์ วิญญาณัญจายตน 40000 มหากัลป์ อากิญจัญญายตน 60000 มหากัลป์ เนวสัญญานาสัญญายตน 84000 มหากัลป์
***********************************************
ปปัจธรรม 3 กิเลสเครื่องเนินช้า มี ตัณหา ทิฏฐิ มานะ วิเวก 3 กายวิเวก คือ ความสงับสงบกาย จิตวิเวก คือ ความสงัดสงบใจ อุปธิวิเวก คือ ความสงัดสงบกิเลส มิจฉาทิฏฐิ 62 มาจาก ปุพพันตกัปทิฏฐิ 18 และ อปรันตกัปปินทิฏฐิ 44 มาร 5 กิเลสมาร คือ กิเลสในตัวเราที่คอยบันทอนกำลังใจคอยขัดขวางการทำความดี ทำให้เราไม่อยากทำความดี
ขันธมาร คือ ขันธ์ 5 ตอนที่ยังไม่ปฏิบัติธรรมอาจสบายดี แต่เมื่อมาปฏิบัติเกิดไม่สบาย ขันธ์ 5 จึงขัดขวางการทำความดี
อภิสังขารมาร คือ ความดี และ ความชั่ว มี 3 ระดับคือ ยึดในชั่ว ยึดในดี เป็นตัวที่คอยกระทำการขวางการทำความดี มัจจุมาร คือ ความตายที่คอยจ้องตัดรอนชีวิตอยู่ทุกขณะจิต หากประมาทเมื่อใดเพียงหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย ออกแล้วไม่เข้าก็ตายยิ่งไม่ออกไม่เข้ายิ่งตายเร็วหนักเข้าไปอีก
เทวบุตรมาร คือ ซึ่งอยู่นอกตัวเราแต่ก็พร้อมจะเข้ามาสิงในตัวเราเมื่อไหร่ก็ได้ มันมีตัวตนจริงๆพร้อมที่จะแสดงตัวออกมาด้วยกายหยาบก็ได้ กายละเอียดก็ได้แม้แต่ท้องพระอรหันต์อย่างพระมหาโมคคัลลานะซึ่งทีฤทธิ์มาก มันก็ยังเข้าไปได้ง่ายๆหากมันได้โอกาสก็พร้อมจะพิฆาตเข่นฆ่าเราทันที ถามว่า แล้วเราจะต้องทำอย่างไรกับมารทั้ง ๕ ฝูงนี้มันจึงจะหมดฤทธิ์ ไม่สามารถมาขัดขวางการทำความดีของเราอีกต่อไปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในมารเธยยสูตรว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้วย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบแล้วด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้วย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้นฯ"
***********************************************

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 12:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:36
โพสต์: 532

แนวปฏิบัติ: ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: กรรมทีปนี , วิมุตติรัตนมาลี , ภูมิวิลาสินี
ชื่อเล่น: เจ้านาง
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่ในธรรม

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: ได้ความรู้มากเลยค่ะ
แต่ที่ตั้งใจไว้คือ นิพพาน บอกทางไปบ้างสิคะ :b41: :b41: :b41:

:b44: อนุโมทนาค่ะ :b44:

.....................................................
...รู้จักทำ รู้จักคิด รู้ด้วยจิต รู้ด้วยศรัทธา...
..................ศรัทธาธรรม..................


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 131 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร