วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 09:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: บทความนี้คัดลอกมาโดยมิได้ตัดต่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขใดๆ ค่ะ :b8:
ทฤษฏีของจิตทางพุทธศาสนา โดยหลวงพ่อจรัญ
จิตจะเกิดขึ้นรับอารมณ์นั้น วิถีหนึ่งมี ๑๗ ขณะใหญ่ และ ๕๑ ขณะเล็ก เมื่อจิตเกิดขึ้นรับอารมณ์ ๑๗ ขณะดับลงแล้ว รูปก็จะดับ ๑ ขณะ เพราะรูปดับช้ากว่าจิตมาก เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป

จิตมิใช่มันสมอง ทั้งจิตก็มิได้อาศัยอยู่ในสมอง มันสมองเป็นเพียงทางแสดงออกของจิตเท่านั้น แท้จริงจิตอยู่ภายในช่องหนึ่งของหัวใจทีสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายนั้นเอง คือ หทัยวัตถุ ที่อาศัยของจิตเป็นบ่อเล็ก ๆ โตเท่าเม็ดบุนนาค และมีน้ำสีต่าง ๆ ๖ สี ประมาณ ๑ ฟายมืออันเป็นการแสดงจริตหรืออุปนิสัยของผู้นั้น ข้อนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาก ท่านผู้ใดสงสัยไปถามอาตมาได้ยินดี

ที่ตั้งที่อาศัยอยู่ของจิต (มิใช่กล้ามเนื้อหัวใจทั้งหมด) นั้นประกอบขึ้นมาได้ด้วยกำลังของกรรม กรรมที่เคยกล่าวมาแล้วว่าไม่มีรูปร่างหน้าตาตัวตนนั่นเอง ได้สร้างที่ตั้งอาศัยของจิต เรียก กัมมชรูป และกำลังของกรรมก็ปกปักษ์รักษารูปนี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้ากรรมมิได้รักษาที่ตั้งที่อาศัยของจิตไว้แล้ว จิตก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ ผู้นั้นก็จะถึงแก่ความตายทันที สันนกาลตอนท้าย ๆ กัมมชรูปทำให้หทัยวัตถุ คือ รูปอันเป็นที่ตั้งอาศัยของจิตอ่อนกำลังลงเต็มที ที่ตั้งที่อาศัยหมดกำลังที่ทรงตัวอยู่ด้วยดีเหมือนกับรถไฟที่กำลังวิ่งมา ขณะที่ถึงสะพานข้ามแม่น้ำ สะพานข้าแม่น้ำชำรุดเสียแล้ว ดังนั้นรถไฟก็จะต้องชะลอฝีจักรลง มิฉะนั้นก็จะตกจากสะพานลงไป ขณะนี้ใกล้จะถึงความตายมาก คนไข้ถูกโมหะครอบคลุม ขาดสติ ความรู้สึกของคนไข้จาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย อาจจะหมดลงและเมื่อถึงท้ายวิถีของมรณาสันนกาล กัมมชรูปก็เริ่มจะดับ คือ ตามธรรมดา กัมมชรูปย่อมจะดับ และเกิดทดแทนกันอยู่ทุกขณะจิต ครั้นแต่ถึงปฐม ภวังค์ของมรณาสันนวิถีไปจนถึงจุติ กัมมชรูปจะดับโดยไม่มีการเกิดทดแทนอีกเลย เมื่อถึงจุติติดกันนั้นก็ปฏิสนธิ ต่อจากนั้นจิตก็เป็นภวังค์

กำลังของกรรมที่ส่งให้ไปปฏิสนธินั้น สืบเนื่องมาแต่มรณาสันนกาล เช่น ได้ยินเสียงพระสวดมนต์ จิตก็รับอารมณ์สวดมนต์ในมรณาสันนกาลเป็นตัวส่งให้ไปปฏิสนธิ เพราะยังมีกำลังมากกว่า ส่วนในมรณาสันนวิถีเป็นแต่รับอารมณ์กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต มาจากมรณาสันนกาลแล้วสืบต่อไปจนถึงจุติเท่านั้น และเพราะเหตุที่กัมมชรูปเริ่มดับโดยไม่เกิดอีกมาตั้งแต่ภวังค์ดวงที่ ๑ ในมรณาสันนวิถีจนถึงดวงที่ ๑๗ จุติ คือ ดับหรือตายจึงได้เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้อีกต่อไป

:b44: :b45: :b46: :b47: :b48: :b49: :b50: :b44:

มีศัพท์ธรรมะเยอะแยะ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างค่ะ
เรียนเชิญกัลยาณมิตร ท่านผู้รู้ โปรดแสดงอรรถาธิบายเป็นธรรมทานนะคะ :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 12 ก.ค. 2009, 20:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
ทฤษฏีของจิตทางพุทธศาสนา หลวงพ่อจรัญ
จิตจะเกิดขึ้นรับอารมณ์นั้น วิถีหนึ่งมี ๑๗ ขณะใหญ่ และ ๕๑ ขณะเล็ก เมื่อจิตเกิดขึ้นรับอารมณ์ ๑๗ ขณะดับลงแล้ว รูปก็จะดับ ๑ ขณะ เพราะรูปดับช้ากว่าจิตมาก เป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป

จิตมิใช่มันสมอง ทั้งจิตก็มิได้อาศัยอยู่ในสมอง มันสมองเป็นเพียงทางแสดงออกของจิตเท่านั้น แท้จริง
อ้างคำพูด:
จิตอยู่ภายในช่องหนึ่งของหัวใจทีสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายนั้นเอง คือ หทัยวัตถุ ที่อาศัยของจิตเป็นบ่อเล็ก ๆ โตเท่าเม็ดบุนนาค และมีน้ำสีต่าง ๆ ๖ สี ประมาณ ๑ ฟายมืออันเป็นการแสดงจริตหรืออุปนิสัยของผู้นั้น

ข้อนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้มาก ท่านผู้ใดสงสัยไปถามอาตมาได้ยินดี

ที่ตั้งที่อาศัยอยู่ของจิต (มิใช่กล้ามเนื้อหัวใจทั้งหมด) นั้นประกอบขึ้นมาได้ด้วยกำลังของกรรม กรรมที่เคยกล่าวมาแล้วว่าไม่มีรูปร่างหน้าตาตัวตนนั่นเอง ได้สร้างที่ตั้งอาศัยของจิต เรียก กัมมชรูป และกำลังของกรรมก็ปกปักษ์รักษารูปนี้ไว้ตลอดเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้ากรรมมิได้รักษาที่ตั้งที่อาศัยของจิตไว้แล้ว จิตก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ ผู้นั้นก็จะถึงแก่ความตายทันที สันนกาลตอนท้าย ๆ กัมมชรูปทำให้หทัยวัตถุ คือ รูปอันเป็นที่ตั้งอาศัยของจิตอ่อนกำลังลงเต็มที ที่ตั้งที่อาศัยหมดกำลังที่ทรงตัวอยู่ด้วยดีเหมือนกับรถไฟที่กำลังวิ่งมา ขณะที่ถึงสะพานข้ามแม่น้ำ สะพานข้าแม่น้ำชำรุดเสียแล้ว ดังนั้นรถไฟก็จะต้องชะลอฝีจักรลง มิฉะนั้นก็จะตกจากสะพานลงไป ขณะนี้ใกล้จะถึงความตายมาก คนไข้ถูกโมหะครอบคลุม ขาดสติ ความรู้สึกของคนไข้จาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย อาจจะหมดลงและเมื่อถึงท้ายวิถีของมรณาสันนกาล กัมมชรูปก็เริ่มจะดับ คือ ตามธรรมดา กัมมชรูปย่อมจะดับ และเกิดทดแทนกันอยู่ทุกขณะจิต ครั้นแต่ถึงปฐม ภวังค์ของมรณาสันนวิถีไปจนถึงจุติ กัมมชรูปจะดับโดยไม่มีการเกิดทดแทนอีกเลย เมื่อถึงจุติติดกันนั้นก็ปฏิสนธิ ต่อจากนั้นจิตก็เป็นภวังค์

กำลังของกรรมที่ส่งให้ไปปฏิสนธินั้น สืบเนื่องมาแต่มรณาสันนกาล เช่น ได้ยินเสียงพระสวดมนต์ จิตก็รับอารมณ์สวดมนต์ในมรณาสันนกาลเป็นตัวส่งให้ไปปฏิสนธิ เพราะยังมีกำลังมากกว่า ส่วนในมรณาสันนวิถีเป็นแต่รับอารมณ์กรรม กรรมนิมิต คตินิมิต มาจากมรณาสันนกาลแล้วสืบต่อไปจนถึงจุติเท่านั้น และเพราะเหตุที่กัมมชรูปเริ่มดับโดยไม่เกิดอีกมาตั้งแต่ภวังค์ดวงที่ ๑ ในมรณาสันนวิถีจนถึงดวงที่ ๑๗ จุติ คือ ดับหรือตายจึงได้เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้อีกต่อไป

:b44: :b45: :b46: :b47: :b48: :b49: :b50: :b44:

มีศัพท์ธรรมะเยอะแยะ เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างค่ะ
เรียนเชิญกัลยาณมิตร ท่านผู้รู้ โปรดแสดงอรรถาธิบายเป็นธรรมทานนะคะ :b8:



อ้างคำพูด:
จิตอยู่ภายในช่องหนึ่งของหัวใจทีสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายนั้นเอง คือ หทัยวัตถุ ที่อาศัยของจิตเป็นบ่อเล็ก ๆ โตเท่าเม็ดบุนนาค และมีน้ำสีต่าง ๆ ๖ สี ประมาณ ๑ ฟายมืออันเป็นการแสดงจริตหรืออุปนิสัยของผู้นั้น



อันนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวไว้นะงับ แต่เป็นการอธิบายของพระอรรถคาถาจารย์งับ

หลวงพ่อ ปราโมทย์ท่านกล่าวไว้เช่นนี้นะงับ

แล้วปัจจุบันแพทย์ผ่าไปแล้วก็ไม่มีน้ำ 6 สีนะงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b43: อนุโมทนาสาธุ รับทราบค่ะ :b43:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอถามต่อนะคะ :b8:

จิตไม่ใช่รูป แต่เป็นนาม

หรือจะเป็นการอรรถาธิบายนาม โดยรูปธรรมเพื่อให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
:b8: ขอถามต่อนะคะ :b8:

จิตไม่ใช่รูป แต่เป็นนาม

หรือจะเป็นการอรรถาธิบายนาม โดยรูปธรรมเพื่อให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น



นามธรรมนะงับ


ในการปฎิบัติธรรมที่แท้จริงแล้ว คือการเข้าไป ดูความเกิดดับ ของ รูป นาม

รูป เห็นได้ง่ายๆอยู่แล้วงับ

ก็คือมหาภูตรูปทั้ง 4

ก็คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ทั้วไปละงับ

แต่ดินน้ำไฟลม ในอภิธรรมก็ต่างจากในที่ชาวบ้านรู้กันนะงับ



เอาง่ายๆนะงับ จิตใจ ดีชั่ว


สามารถจับต้องได้มั้ยงับ รู้ว่ามี แล้ว นิยามก็มี


แต่จับต้องไม่ได้มองไม่เห็น ก็เป็นนามละงับ นามธรรม

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ค. 2009, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาสาธุค่ะ :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทฤษฏีของจิตทางพุทธศาสนา


อยากจะขอให้เปลี่ยนชื่อนะงับ

คำว่าทฤษฏี แปลว่าเห็นนะงับ

แต่จิตไม่สามารถมองเห็นไปนะงับ

เพราะว่าเกิดดับต่อกันเร็วมาก

เปลี่ยนเป็น ลักษณะจิตทางพระพุทธศาสนาดีกว่านะงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2009, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาค่ะ
ดิฉันแก้ไขหัวข้อกระทู้ตามคำแนะนำแล้ว ส่วนบทความด้านในขอคงไว้ตามเดิมนะคะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 02:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 มี.ค. 2009, 20:48
โพสต์: 744


 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
:b8: ขออนุโมทนาค่ะ
ดิฉันแก้ไขหัวข้อกระทู้ตามคำแนะนำแล้ว ส่วนบทความด้านในขอคงไว้ตามเดิมนะคะ



สาธุงับ

.....................................................
“เวลาทำสมาธิ ให้ระลึกลมหายใจเข้าออก ให้รู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบังคับลมหายใจ ตามรู้ลมหายใจเข้าออก สงบก็รู้ ไม่สงบก็รู้ สงบก็ไม่ยินดี ไม่สงบก็ไม่ยินร้าย ไม่เอาทั้งสงบและไม่สงบ เอาแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวธรรมปัจจุบันนั้น”

ธรรมเหล่านี้เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด
เป็นไปเพื่อไม่ประกอบสัตว์ไว้
เป็นไปเพื่อไม่สั่งสมกิเลส
เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย
เป็นไปเพื่อสันโดษ
เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่คณะ
เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
เป็นไปเพื่อความเป็นคนเลี้ยงง่าย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 145 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร