วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 23:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


พระศาสดาตรัสว่า

“อย่ากล่าวอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้แหละ หมู่สัตว์จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง ขมวดเหมือนกลุ่มด้ายที่ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปไม่ได้”

(สํ. นิ. ๑๖/๑๑๐-๑๑๑ ข้อ ๒๒๔-๕)

ในปฏิจจสมุปบาท ถ้าเราไม่เข้าใจคำว่า "วิญญาณ" อย่างถูกต้องแล้ว เราก็ย่อมไม่เข้าใจปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นธรรมลึกซึ้งด้วย

ผมได้กล่าวว่า คำว่า "วิญญาณ" นั้นมี 2 อย่าง

1. วิญญาณธาตุ

2. วิญญาณขันธ์

และกล่าวว่า ในปฏิจจสมุปบาท:

อวิชชา เป็นเหตุให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นเหตุให้เกิด วิญญาณ (วิญญาณตัวนี้คือ วิญญาณธาตุ) เพราะตัวต่อมา
วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

ในตัวนามรูปก็มีวิญญาณอยู่ด้วย วิญญาณในนามรูปตัวนั้นคือ วิญญาณขันธ์ ดังนั้นจึงพิสูจน์ได้ว่า วิญญาณ(ธาตุ)เป็นเหตุให้เกิดวิญญาณขันธ์ ผมยังกล่าวด้วยว่า เมื่อคุณตาย วิญญาณขันธ์ ของคุณก็ตาย ตายแหงแก๋เลย แต่ไอ้ตัววิญญาณธาตุ มันไม่ได้ตายไปด้วย มันยังคงสืบกรรมของเราต่อไปเรื่อยๆ


1. คราวนี้เรามาเจาะลึกเรื่อง: วิญญาณธาตุ และวิญญาณขันธ์

คัดจาก http://www.whatami.8m.com/sci/sci19.html
ธาตุพื้นฐานโลก

ธาตุที่เป็นพื้นฐานนี้จริงๆก็จะมีอยู่เพียง ๖ ธาตุเท่านั้น อันได้แก่
๑. ธาตุดิน คุณสมบัติที่ค่อนแข็ง(ของแข็ง)
๒. ธาตุน้ำ คุณสมบัติที่เหลว, เอิบอาบ, รวมตัว(ของเหลว)
๓. ธาตุไฟ คุณสมบัติที่ร้อน, ทำลาย (อุณหภูมิ)
๔. ธาตุลม คุณสมบัติที่เบาบาง, แผ่กระจาย(ก๊าซ)
๕. ธาตุว่าง คุณสมบัติที่ว่าง ไม่มีอะไรเลย(สุญญากาศ)
๖. ธาตุรู้ คุณสมบัติที่สามารถรับรู้ได้ (ธาตุวิญญาณ)

.....คำว่า วิญญาณในความหมายของพุทธศาสนาจะหมายถึงการรับรู้ เมื่อเกิดการรับรู้ขึ้นมาที่ใดและเมื่อใด ก็ชื่อว่าเกิดวิญญาณขึ้นที่นั้นและเมื่อนั้น เมื่อไม่มีการรับรู้ วิญญาณก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งวิญญาณนี้เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก็เหมือนกับธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม

2. คำตรัสของพระพุทธเจ้าสอนราหุล คัดจาก : ๖.๙ ปฐวีธาตุเป็นต้นไม่เที่ยง

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?" เมื่อพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า "อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในปฐวีธาตุ ทั้งในอาโปธาตุ ทั้งในเตโชธาตุ ทั้งในวาโยธาตุ ทั้งในอากาสธาตุ ทั้งในวิญญาณธาตุ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด" (สัง. ๑๖/ธาตุสูตร/๖๑๖-๖๑๗/๒๔๖-๒๔๗)


ส่วน ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์ และนามขันธ์ ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ นามขันธ์นี้เป็นนามหรือจิตใจของเรา

จะเห็นได้ว่า คำว่า "วิญญาณ" ที่เกิดจากอวิชชาและสังขาร ควรจะเป็นวิญญาณธาตุ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 6 ธาตุนั่นเอง และเป็นคนละตัวกับวิญญาณที่อยู่ในนามรูป เพราะวิญญาณที่อยู่ในนามรูปนั้น เป็นวิญญาณขันธ์


3. คราวนี้เรามาดูคำตรัสของพระพุทธเจ้าในเรื่องวิญญาณขันธ์และวิญญาณธาตุกันบ้าง


คัดจาก : 065 วิธีพิสูจน์พระอรหันต์ จากพุทธศาสนาจากพระโอษฏ์

.... คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์...... ก็จิตของท่านผู้มีอายุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ?

..... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

(พระพุทธองค์ตรัสแยกวิญญาณขันธ์จากวิญญาณธาตุในพระสูตรนี้ด้วย)

.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคนั้น.... ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ.... คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้

สรุป

จะเห็นได้ชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าแยกคำว่า วิญญาณขันธ์ วิญญาณุปาทานขันธ์ ออกจากคำว่า วิญญาณธาตุ เราต้องหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ และต้องหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ด้วย จึงจะเรียกว่า "พระอรหันต์"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คัดจาก http://www.whatami.8m.com/sci/sci19.html
ธาตุพื้นฐานโลก

ธาตุที่เป็นพื้นฐานนี้จริงๆก็จะมีอยู่เพียง ๖ ธาตุเท่านั้น อันได้แก่
๑. ธาตุดิน คุณสมบัติที่ค่อนแข็ง(ของแข็ง)
๒. ธาตุน้ำ คุณสมบัติที่เหลว, เอิบอาบ, รวมตัว(ของเหลว)
๓. ธาตุไฟ คุณสมบัติที่ร้อน, ทำลาย (อุณหภูมิ)
๔. ธาตุลม คุณสมบัติที่เบาบาง, แผ่กระจาย(ก๊าซ)
๕. ธาตุว่าง คุณสมบัติที่ว่าง ไม่มีอะไรเลย(สุญญากาศ)
๖. ธาตุรู้ คุณสมบัติที่สามารถรับรู้ได้ (ธาตุวิญญาณ)



เวปที่พลศักดิ์ วังวิวัฒน์อ้างถึง

ownerboardเป็นมิจฉทิฏฐิสุดโต่งอีกขั้วหนึ่งตรงข้ามกับพลศักดิ์ วังวิวัฒน์

ต้องบอกว่าการอ้างอิงครั้งนี้ถูกที่ถูกเวลามาก

จะให้ดี

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์กล้าเข้าไปโพสต์ที่เวปนี้ไหมเอ่ย

http://whatami.ob.tc/-board.php

ที่นี่นั้นไม่เชื่อเรื่องสวรรค์ นรก นิพพาน ไม่เชื่อแม้แต่พระไตรปิฎก

ถ้าพลศักดิ์ วังวิวัฒน์เข้าไปที่นั่นเพื่อสั่งสอนรับรอง

เยี่ยมแน่ๆ

แต่ownerboardที่นั่นภูมิแน่นมาก

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์คงสู้ไม่ได้

แต่เวปนั้นเหมาะกับพลศักดิ์ วังวิวัฒน์จริงๆ

ถ้าพลศักดิ์ วังวิวัฒน์ไปโพสต์

เราจะตามไปดู

คู่มวยหยุดโลก
งานนี้พลศักดิ์ วังวิวัฒน์เจอของจริงแน่ๆ


ก๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณmes ครับ


เรื่องธาตุทั้ง 6 มีอยู่ในเว็บพุทธศาสนาทั้งโลกอยู่แล้ว แต่เขาเขียนแบบไม่เปลืองเนื้อที่ ผมเลยหยิบเอามาเท่านั้นเอง จะหยิบพุทธพจน์มาก็ยาวเกิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


mes ถาม ที่ว่ารู้คื่อใครรู้

พลศักดิ์ ตอบ

จิตพุทธะ นิพพานจิต จิตหลุดพ้น ฯลฯ คือ ธาตุรู้
จิตสังขาร หรือจิตในปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมชาติที่เข้าไปรับรู้อารมณ์
อารมณ์ต่าง ๆ คือสิ่งที่ถูกรู้


mes ขอหลักฐานว่า

นิพพานจิต จิตหลุดพ้น คือ ธาตุรู้

พลศักดิ์ ตอบ

1. ในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350

เพราะเหตุว่า นิพพานป็นธรรมขาติที่รู้แจ้ง คำวา วิญญาณในความหมายของพุทธศาสนาจะหมายถึงการรับรู้ นิพพานเป็นธรรมชาติที่รู้แจ้ง แสดงอยู่ในตัวอยู่แล้วว่า นิพพานต้องเป็นจิต เพราะจิตกับวิญญาณคือธรรมชาติที่รู้ เพียงแต่ธรรมชาติรู้ของสังขตธาตุ จะไม่เท่ากับธรรมชาติรู้ของอสังขตธาตุ

2. ในปิฎกมหายาน พระพุทธเจ้าตรัสว่า " ดูกรกัสสปะ ท่านมีธรรมจักษุครรถ์อันถูกต้อง เพราะนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริงย่อมไม่มีลักษณะ......"

ชัดๆว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานจิต ขึ้นชื่อว่าจิต ความหมายของ คำว่า "จิต"
จิตคืออะไร


จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไปสมตามนัยขยายความตามบาลีว่า

จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ


ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต

แต่จิตในนิพพาน แตกต่างจากจิตในสังขารหรือจิตในปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าตรัสว่า"หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ" เป็นอายตนะที่ไม่มีอารมณ์หาทุกข์มิได้ ด้วยเหตุนี้จิตในนิพพานเป็นอายตนะที่ไม่มีอารมณ์ แต่จิตสังขารเป็นอายตนะที่มีอารมณ์

อ้างอิง:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย "อายตนะนั้นมีอยู่" ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

ดูกรภิกษุทั้งหลายเราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ

ที่มา : http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 977&Z=3992


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


คัดจาก http://whatami.ob.tc/-View.php?N=257

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เขียนว่า

คำว่า วิญญาณในความหมายของพุทธศาสนาจะหมายถึงการรับรู้ เมื่อเกิดการรับรู้ขึ้นมาที่ใดและเมื่อใด ก็ชื่อว่าเกิดวิญญาณขึ้นที่นั้นและเมื่อนั้น เมื่อไม่มีการรับรู้ วิญญาณก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่ง วิญญาณนี้เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก็เหมือนกับธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม


mes เขียนว่า

อันนี้ผิดแน่

วิญญาณไม่ใช่ธาตุเช่นเดียวกับ ธาตุดิน ธาตุไฟ หรือธาตุในตารางธาตุแน่

พลศักดิ์ วังวิวัฒน์มั่วแน่นอน

หรือท่านownerboardมีความเห็นอย่างไรครับ


พลศักดิ์ตอบ......


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิญญาณ (ภาษาสันสกฤต: วิชญาน) แปลว่า ความรู้แจ้ง

วิญญาณ หมายถึงธาตุรู้ (วิญญาณธาตุ) และระบบการรับรู้ของจิตหลังจากที่ได้สัมผัสกับอารมณ์ หรือสิ่งที่มากระทบสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นระบบที่เกิดจากประสาทสัมผัส เช่นเมื่อตาได้สัมผัสกับรูป เกิดการรับรู้ขึ้น การรับรู้นั้นแหละคือสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณ


คุณเสแสร้งไม่มีความรู้ จะให้ผมตอบให้เสียเวลา จะได้ไม่มีเวลาไปตอบเรื่องใหญ่ๆ ผมไม่มีหน้าที่มาเล่นเกมส์กับคุณ ลองไปดูในgoogleแล้วกัน พิมพ์คำว่าวิญญาณธาตุเอาเอง



คุณOwner Board ตอบ

"คำว่า วิญญาณในความหมายของพุทธศาสนาจะหมายถึงการรับรู้ เมื่อเกิดการรับรู้ขึ้นมาที่ใดและเมื่อใด ก็ชื่อว่าเกิดวิญญาณขึ้นที่นั้นและเมื่อนั้น เมื่อไม่มีการรับรู้ วิญญาณก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่ง วิญญาณนี้เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติอย่างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งก็เหมือนกับธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม" (อันนี้เหมือน อาตมาเขียนไว้เอง)

ปฏิจจสมุปบาทโดยสรุปก็คือ อาการขณะที่จิตมันกำลังปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์อยู่ ซึ่งเมื่อแจกแจงแล้วจะมีอยู่ถึง 12 อาการ

แต่โดยสรุปแล้วก็คือ อาการขณะที่จิตปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ โดยมีอวิชชา(ความไม่รู้แจ้งอริยสัจ ๔)เป็นต้นขั้ว

ตามปกติถ้าจิตของเราไม่มีอวิชชาครอบงำ นามรูป(ขันธ์ ๕ )มันก็เกิดอยู่แล้ว แต่มันบริสุทธิ์ คือไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ มันจึงมีค่าเท่ากับไม่มี ซึ่งก็เท่ากับว่า วิญญาณ ถึงจะมีก็มีค่าเท่ากับไม่มี จึงเรียกว่า วิญญาณ ยังไม่เกิด (ซึ่งวิญญาณในที่นี้จะหมายถึง กิริยาที่เกิดการรับรู้สิ่งต่างได้ๆ)

แต่เมื่ออวิชชาครอบงำจิต มันก็มาครอบงำทำให้จิตเกิดการปรุงแต่งด้วยอำนาจของมัน แล้วทำให้จิตไม่บริสุทธิ์ กลายเป็นจิตโง่ ซึ่งก็ทำให้เกิดวิญญาณโง่(การรับรู้ด้วยความโง่)ขึ้นมาด้วย ซึ่งนี่ก็เท่ากับว่า วิญญาณได้เกิดขึ้นมาแล้ว (เกิดการรับรู้ที่เข้มข้นหรือรุนแรงขึ้นแล้ว)

ส่วนคำว่า ธาตุ จะหมายถึง สิ่งที่ย่อยเล็กที่สุด ที่มาประกอบให้เกิดสิ่งต่างๆขึ้นมา อย่างเช่น ธาตุดิน ก็หมายถึง สิ่งที่ค่อนแข็งเล็กๆจำนวนมหาศาล ที่มาประกอบให้เกิดสิ่งที่แข็ง เช่น ดิน หิน เหล็ก ไม้ เป็นต้น ขึ้นมา

ส่วนคำว่า วิญญาณธาตุ ก็หมายถึงว่า วิญญาณนี้มันไม่ได้มีตัวตนเป็นของตนเอง แต่มันเหมือนกับว่ามีสิ่งที่ย่อยเล็กจำนวนมากมาประกอบขึ้นมา เหมือนกับแสงสว่างที่ต้องมีอณูของแสงจำนวนมากมาสร้างขึ้นมา ซึ่งเราจะใช้คำว่า วิญญาณ ในกรณีที่เราศึกษาถึงพื้นฐานของสิ่งทั้งหลายของโลกเพื่อให้รู้ว่าวิญญาณนี้ไม่ได้มีตัวตนจริง(วิญญาณไม่ใช่อัตตา

ที่ว่าวิญญาณธาตุเหมือนธาตุทั่วไปนั้นก็หมายถึงว่า มันเหมือนสิ่งย่อยเล็กจำนวนมากมารวมตัวกันเกิดเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา จึงยึดถือเอาว่าเป็นวิญญาณของใครไมได้

ถ้าเราเข้าใจปฏิจจสมุปบาทไม่ตรงกัน ก็จะเข้าใจวิญญาณไม่ตรงกัน ดังนั้นเราต้องมาทำความเข้าใจปฏิจจสมปบาทให้เข้าใจตรงกันเสียก่อนจึงจะสนทนากันได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ธาตุ หรือ ธา-ตุ หมายถึงสิ่งที่ทรงอยู่ตามธรรมชาติ
และ ธาตุ ที่ประกอบกันเข้าเป็นโลก มีด้วยกัน 6 ธาตุ คือ
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ
ธาตุทั้ง6 เป็นธาตุธรรมชาติ ที่มีความเป็นสามัญอย่างธรรมดาอย่างธรรมชาติโดยเท่ากันเสมอกัน
แต่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ตามลักษณะธรรมชาติของธาตุนั้นๆ


วิญญาณธาตุ คือธาตุธรรมชาติในฝักฝ่ายนามธรรม เมื่อยังไม่มีการทำหน้าที่
ยังไม่แสดงตัวปรากฏ วิญญาณธาตุก็เป็นเหมือนความว่าง เป็นเหมือนสิ่งที่
ไม่มี แต่วิญญาณธาตุสามารถปรากฏตัวออกมาได้ในทุกที่ทันที เมื่อนามรูป มี
ความพัฒนาการที่เหมาะสม

และการปรากฏตัวของวิญญาณธาตุ ก็คือ การปรากฏออกมาอยู่ในสภาพการเป็นตัวรู้
หรือ วิญญาณขันธ์ หรือวิญญาณทางอายตนะทั้ง6 ซึ่งก็คือตัวเดียวกัน
เพราะวิญญาณทางอายตน6 ก็คือวิญญาณขันธ์

สภาพรู้ คือคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เกิดจาก วิญญาณธาตุ
เหมือนกับ ธาตุดิน มีคุณสมบัติในการกินพื้นที่
ธาตุน้ำ มีคุณสมบัติ ในการเกาะกุมธาตุทั้งหลายเข้าด้วยกัน
ธาตุลม มีคุณสมบัติ ในการเคลื่อนตัว เคลื่อนไหว พัดพา
ธาตุไฟ มีคุณสมบัติ ในการให้ความร้อน
อากาศธาตุ มีคุณสมบัติ สำหรับเป็นที่ว่าง เป็นส่วนว่างเพื่อรองรับการตั้งอยู่ของรูปธรรม
และวิญญาณธาตุ..........ก็มีคุณสมบัติในการ ก่อกำเนิด วิญญาณทางอายตนะ
หรือวิญญาณขันธ์ หรือสิ่งที่เรียกกันง่ายๆว่าจิต หรือตัวสภาพรู้ขึ้นมา

วิญญาณธาตุ จะแสดงตัวออกมา เป็นวิญญาณทางอายตะ หรือเป็นจิตได้
ต้องอาศัย อารมณ์ ในการตั้งอยู่ มีอารมณ์เป็นที่ตั้ง เป็นที่สำหรับก่อเกิดสภาพรู้ขึ้นมา

และอารมณ์สำหรับให้วิญญาณธาตุ ตั้งอาศัย และก่อตัวเป็น จิต หรือวิญญาณขันธ์
ขึ้นมาได้ ก็คือนามรูป หรือขันธ์ทั้ง4ขันธ์อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
ขันธ์4ขันธ์ เป็นที่ตั้ง ของวิญญาณขันธ์ เมื่อมีนามรูป ก็จะมีวิญญาณขันธ์


คำว่าวิญญาณขันธ์ วิญญาณทางอายตนะ6 ก็คือวิญญาณ ซึ่งแสดงอยู่ใน
ระบบของปฏิจจสมุปบาท เพราะพระพุทธองค์ก็ทรงแสดงไว้อย่างชัดเจนในการแสดง
ปฏิจจสมุปบาทของพระองค์ ต่อพระภิกษุในหลายครั้งหลายครา ว่า
วิญญาณนั้นหมายถึง จักขุวิญญาณ โสตะวิญญาณ ฆานวิญาณ ชิวหาวิญญาณ
กายวิญญาณ และมโนวิญญาณ


และคำว่าวิญญาณ ก็มีอีก สองคำ ที่มักเรียกกัน คือ
วิญญาณปฏิสนธิ และดวงวิญญาณของพวกโอปาฏิกะทั้งหลาย


วิญญาณปฏิสนธิ ก็คือ วิญญาณขันธ์ ที่กำลังเกิดดับตัวมันเอง
พร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายไปสู่นามรูปกองใหม่

ทันทีที่บุคคลผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ร่างกายแตกทำลายลงสู่ความตาย
รูปขันธ์ก็จะดับสนิทไป แต่ยังคงสภาพอยู่โดยความเป็นรูปธรรมที่จะไหลเวียน
เปลี่ยนแปลงอยู่ในตัวมันเองต่อเนื่องไปไม่รู้จบสิ้น
ส่วนขันธ์อีก4ขันธ์ที่เหลือ ก็จะยังคงไม่ดับไปพร้อมกับร่างกาย
วิญญาณขันธ์ จะยังคงทรงตัวอยู่ โดยอาศัย เจตสิกของมันเองเป็นที่ตั้งอาศัย

วิญญาณขันธ์เมื่อไม่ดับไปพร้อมกับร่างกาย วิญญาณนี้ ก็ยังเป็นวิญญาณขันธ์
ที่ทำหน้าที่เกิดดับตามเดิมของมันเช่นที่เมื่อยังมีชีวิตมีร่างกาย
แต่การเกิดดับ จะเป็นการเกิดดับ อยู่บน สัญญา เวทนา สังขาร
สลับเกิดดับหมุนวนอยู่บนสามขันธ์ที่เหลือ

การคงอยู่โดยไม่ดับสนิทไปของวิญญาณขันธ์ ที่ทรงตัวอยู่ได้เองโดยไม่ต้องอาศัยรูป
หรือร่างกายเป็นที่อาศัย จึงเกิดสภาพการคงอยู่ในลักษณะใหม่ในฝักฝ่ายโลกของ
นามธรรมล้วนๆ คือ วิญญาณที่ยังคงทำหน้าที่อยู่ จะหล่อเลี้ยงเจตสิกมันเอง
และเจตสิกของตัวมันก็จะหล่อเลี้ยงวิญญาณให้คงอยู่

เป็นการคงอยู่ในลักษณะของกลุ่มพลังงาน หรือเป็นกลุ่มขันธ์ที่ยังตกค้าง
เป็นขันธ์อีก4ขันธ์ ที่ยังมีการทำงานเกิดดับต่อเนื่องไม่สิ้นสุด
ซึ่งกลุ่มพลังงานนี้ ก็จะมีสภาพเป็นเหมือนรูปถอดก็มี เป็นแค่พลังงานล้วนไร้รูปถอดก็มี
แต่ก็ยังถูกเรียกว่าเป็น โอปปาติกะ เหมือนๆกัน

วิญญาณที่คงอยู่แม้กายแตกแล้วก็ยังคือวิญญาณขันธ์อย่างเดิม
แต่เป็นวิญญาณขันธ์ ที่ทรงอยู่เกิดดับในโลกของนามล้วนๆซึ่งก็คือกลุ่มสังขารธรรมกลุ่มหนึ่ง
และมักจะถูกเรียกว่า ดวงวิญญาณ

คำว่าดวงวิญญาณในที่นี้ จึงไม่ได้หมายถึงเฉพาะส่วนที่เป็นวิญญาณขันธ์เพียงอย่างเดียว
แต่หมายถึงกลุ่มสังขารธรรมทั้งกลุ่ม หรือกลุ่มพลังงานทั้งกลุ่ม ซึ่งรวมสัญญาเวทนาสังขาร
อยู่ในคำเรียกนี้ด้วย

และดวงวิญญาณนี้ ก็จะทำหน้าที่เป็น วิญญาณปฏิสนธิ
แต่ในลำดับขณะแห่งการปฏิสนธินั้น วิญญาณขันธ์ก็จะก้าวข้ามการเกิดดับอยู่บนเจตสิกมันเอง
ไปเกาะอาศัยเกิดดับตั้งอยู่บนนามรูปใหม่ ที่มีความถึงพร้อมในการเปลี่ยนถ่ายนามรูป


ดวงวิญญาณ ก็คือกลุ่มสังขารธรรมทั้ง4ขันธ์ จะเรียกว่าวิญญาณปฏิสนธิ
ก็เมื่อมีการเคลื่อนโน้มเข้าหานามรูปใหม่ แต่ขณะแห่งการเปลี่ยนถ่ายนามรูป
ก็ยังเป็น ระบบการทำหน้าที่ของวิญญาณขันธ์อยู่นั่นเอง


พอจะสรุปได้ว่า................วิญญาณธาตุ แสดงคุณสมบัติออกมา
เป็นจิต หรือวิญญาณขันธ์

วิญญาณขันธ์ ก็คือสิ่งเดียวกันกับ วิญญาณทางอายตนะ6
และวิญญาณทางอายตนะ6 ก็คือวิญญาณตามที่แสดงไว้ใน ปฏิจจสุปบาท

ส่วนวิญญาณ ปฏิสนธิ ก็คือกลุ่มสังขารธรรม หรือขันธ์ทั้ง4 ที่เหลืออยู่
ภายหลังจากเมื่อกายแตกดับไปแล้ว ปกติก็คือกลุ่มพลังงาน แต่เมื่อจะกระทำการ
เปลี่ยนถ่ายนามรูป ก็จะเรียกกลุ่มพลังงานนี้ว่า วิญญาณปฏิสนธิ


เมื่อใด นามรูป หรือขันธ์4ขันธ์ดับสนิทลง เมื่อนั้น วิญญาณขันธ์ก็ไม่มีที่ตั้ง
เมื่อวิญญาณไม่มีที่ตั้ง การก่อตัวขึ้นเป็นวิญญาณ หรือเป็นจิตก็มีไม่ได้

เมื่อวิญญาณขันธ์ดับสนิทลงไป ความเป็นจิตดับสนิทลงไป
ในภาวะนั้น วิญญาณธาตุบริสุทธิ์ก็คืนสู่สถานะเดิม คือเป็นเหมือนผืนแห่งความว่าง
กลมกลืนแผ่กว้าง และครอบคลุมอยู่ในทุกส่วนทุกอณูของโลกธาตุ
เป็นสภาพที่ทรงอยู่อย่างไร้ขอบเขต ไร้ที่ตั้ง และไม่อาจสัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้งปวง
และวิญญาณธาตุ ก็คือวิญญาณธาตุ ไม่มีสัตว์ บุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีตัวใคร
ไม่มีพระอรหันต์ และไม่มีแม้แต่เสี้ยวหนึ่งของพระพุทธเจ้า เข้าไปตั้งอยู่กับวิญญาณธาตุนั้น

มีแต่ว่าพระพุทธเจ้า ตลอดทั้งอรหันต์ทั้งปวง สลัดความเป็นท่าน สลัดการเป็นจิต
และสลัด ทิ้งการคงอยู่ของขันธ์ทั้งหลาย

เมื่อสลัดทิ้งได้หมด กระบวนการดับสนิทแห่งขันธ์โดยไม่เหลือเกิดขึ้นสมบูรณ์แล้ว
ภาวะอันนั้น มิติแห่งการคลายคืนสู่วิถีเดิมแท้ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นดังอมตะภาวะ
ก็ปรากฏขึ้นมาแทนที่ทุกสิ่งทั้งปวง และพระพุทธเจ้าก็กลายเป็นอันเดียวกับนิพพาน
ไปเสียเอง กลายเป็นสิ่งที่ไม่ต้องเป็นอะไรและไม่เหลือการเป็นอะไร
เป็นสิ่งเดียวกับทุกสิ่งที่มีอยู่ แต่ก็ไม่ได้ตั้งอยู่ในส่วนไหนของทุกสิ่ง


ผมคงต้องพอสมควรต่อการอธิบาย อยากจะอธิบายให้ง่ายกว่านี้
แต่ก็ไม่รู้ว่า การอธิบายให้ง่ายกว่านี้นั้นทำยังไง
ลองอ่านสักหลายๆรอบสิครับ เผื่อจะง่ายขึ้น


:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ออกมาเที่ยวนอกบ้านสนุกมั้ยครับ ท่านsuwichai :b13:
เห็นว่าท่านดีขึ้นแล้วจึงเพียงแต่เฝ้าดูข้อความของท่าน....อย่างไรเสียก็ขอให้ระมัดระวังข้อความที่พาดพิงบุคคลที่เป็นที่นับถือของคนทั่วไปด้วยนะครับ :b4: :b4:

บัวสกล เขียน:
:b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39: :b39:


ท่านนี่เป็นนักเขียนจริงๆรึป่าวนี่...เห็นสหายท่านเคยบอกไว้อย่างนั้น :b32: :b32:
....เอ.....ว่าแต่ช่วงนี้สหายของท่านดูเงียบๆไปนะครับ งอนอะไรกันรึป่าวเนี่ย :b10: :b10: หรือว่าไม่ต้องคุยกันด้วยสื่อทางวัตถุแล้วครับ :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณ nat ผมไม่ถึงขนาดเรียกนักเขียนหรอกครับ
เพียงแต่เคยเขียนหนังสือไว้บ้าง

เคยคิดเอาไว้ว่าจะลองแต่งหนังสือส่งเข้าประกวดดูบ้างเหมือนกัน
แต่ก็ยังไม่สะดวกที่จะได้ทำอย่างที่คิดจะทำ

พอดีคุณโพธิใบเดี่ยว แกเข้าใจว่าผมเป็นนักเขียน
ผมเลยขี้เกียจปฏิเสธแก เพราะจริงแล้วผมก็คิดว่าจะทำอย่างที่แกคิดว่าผมป็นอยู่ทีเดียว


อีกอย่าง ผมกับพระเดชพระคุณท่านนั้น มิได้มีข้อขุ่นข้องอันใดแก่กันเลยครับ
เพียงแต่พักนี้ เขาคงกำลังทำตัวเป็นเสือซุ่ม นี่ล่าสุดก็เห็นว่าไปยั่วยวนนางพยาบาล
ไม่รู้ว่าใคร จะเป็นเหยื่อใครกันแน่


ขอให้ถนอมๆคุณพลศักดิ์แกหน่อยนะครับ ผมว่าแกก็มีอะไรดีๆนะครับ
พักนี้ดูแกนิ่งขึ้นเยอะ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณบัวสกุลครับ


วิญญาณธาตุ ที่เรียกว่าจิตนี้ เมื่อเข้าไปอยู่ในรูป หรือร่างกายมนุษย์และสัตว์ นั้นเรียกว่าวิญญาณขันธ์ แต่พอร่างกายมนุษย์และสัตว์ นั้นตายลง วิญญาณธาตุ ก็ไปเสวยกรรมใหม่ จึงอุบัติขึ้นเป็นเทวดา พรหม เปรต ผีนรก ฯลฯ

ด้วยเหตุนี้ วิญญาณธาตุ ที่เป็นนามนี้ ก็มีกายด้วย เป็นนามกาย เรียกว่า อทิสมานกายหรือกายทิพย์ หรือธรรมกาย

ผมไม่ใช่พวกธรรมกายนะครับ เว็บของเขายังไล่ผมตลอดชีพแล้ว 2 ครั้ง แต่ผมเห็นว่าสิ่งที่เขาเขียนถูกต้อง จึงนำมาลง

" ธรรมกาย คือ กายภายในที่มีอยู่ในกายของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่จำกัดว่าจะเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม ล้วนต่างมีธรรมกายอยู่ภายในทั้งสิ้น แต่ภพภูมิที่สามารถเข้าถึง ธรรมกาย ได้นั้น จะต้องเป็นเวไนยสัตว์ที่อยู่ในสุขคติภูมิเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงได้ "

ด้วยเหตุนี้ เปรต หรือสัตว์นรก คือ พวกที่อยู่ในอบายภูมิ ซึ่งเป็นทุกขติภูมิ วิญญาณธาตุของเขายังไม่เรียกว่า" ธรรมกาย"

ถ้าคุณอยากรู้ความลับของฟ้า อยากรู้สิ่งที่เป็นใบไม้นอกกำมือของพระพุทธเจ้า ตามอ่านเรื่องที่ผมชี้แนะ อย่าหลงไปเชื่อบรรดามารทั้งหลาย ที่แฝงตัวสิงคนโน้นคนนี้ รวมทั้งมารในใจคุณด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ บังสกุล ครับ

ขอให้ถนอมๆคุณพลศักดิ์แกหน่อยนะครับ ผมว่าแกก็มีอะไรดีๆนะครับ
พักนี้ดูแกนิ่งขึ้นเยอะ


ผมนิ่งไป เพราะเหนื่อยครับ ดันเข้าไปในเว็บธรรมะไทย และเว็บวัดท่ามิ ด้วย สอนมารที่เป็นบัวใต้น้ำ ยังไม่เหนื่อยเท่าพวกที่เป็นบัวปลิ่มๆจะพ้นน้ำ พวกนี้ถามมากเหลือเกิน ผมก็เลยต้องตอบมาก มารที่เป็นบัวใต้น้ำ ถามน้อย ต่อว่ามาก ผมเลยไม่เหนื่อย เพราะต่อว่าให้เขารับกรรมนิดหน่อย


แก้ไขล่าสุดโดย suwichai เมื่อ 01 ก.ค. 2009, 12:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


นี้คือพระพุทธพจน์ ตรัสเกี่ยวกับ วิญญาณธาตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ
สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควร
จะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา
มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น
สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และ
อนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ
โดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์
ที่ยึดมั่นอาศัยเตโชธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยเตโชธาตุ
ได้ ข้าพเจ้าครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวาโยธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและ
ความปักใจมั่นอาศัยวาโยธาตุได้ ข้าพเจ้าครองอากาสธาตุโดยความเป็นอนัตตา...
เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยอากาสธาตุ
และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยอากาสธาตุได้ ข้าพเจ้าครอง
วิญญาณธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบ
ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่ง
อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจ
มั่นอาศัยวิญญาณธาตุได้ ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้

และสูตรนี้ชัดที่สุด


[๖๘๔] ดูกรภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ภายนอก
ก็มี ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน
คือ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ
ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือแม้
สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่แค่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า
ปฐวีธาตุภายใน ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น
พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุ และจะให้จิต
คลายกำหนัดปฐวีธาตุได้ ฯ
[๖๘๕] ดูกรภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คืออาโปธาตุภายในก็มี ภายนอก
ก็มี ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไป กำหนดได้
มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่เอิบอาบ
ซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน ก็อาโป
ธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นด้วย
ปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตา
ของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุ
ได้ ฯ
[๖๘๖] ดูกรภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายในก็มี ภาย
นอกก็มี ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน กำหนดได้
มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม
ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้ว
ถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้ สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อน
กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน ก็เตโชธาตุทั้งภายใน
และภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็น
แล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้ ฯ
[๖๘๗] ดูกรภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ วาโยธาตุภายในก็มี ภายนอก
ก็มี ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน
คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไป
ตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไรๆ
ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน ก็วาโยธาตุ
ทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นด้วยปัญญา
ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา
ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้ ฯ
[๖๘๘] ดูกรภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มี
ภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้
มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน
ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบาย
ของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่น ไม่ว่าชนิด
ไรๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ
ภายใน ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น พึงเห็น
อากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเราไม่
ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้
จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้ ฯ
[๖๘๙] ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคล
ย่อมรู้อะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุข
บ้าง ดูกรภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ
นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ
ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่
ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม
เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง
เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป
ย่อมรู้สึกว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ฯ
[๖๙๐] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้
สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไป
สงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะ
นั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมดับ
ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา
บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่
ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อม
เกิดอทุกขมสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้สึกว่า กำลัง
เสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป
ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิด
เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ ต่อนั้น
สิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อนโยน สละสลวย
และผ่องแผ้ว ฯ
[๖๙๑] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือของนายช่างทอง
ผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดู
ไปเป็นระยะๆ ทองนั้นจะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อน สลวย
และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู เครื่อง
ประดับ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด
ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
อ่อนโยน สละสลวย และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อม
อุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และ
เจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขา
อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาล
ยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญ-
*จายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่
อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขา
ของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌาน
นั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อ
เป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
นั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน บุคคลนั้น
ย่อมรู้สึกอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่
อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ
ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้
อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรม
ควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง
อย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น
จิตนี้ก็เป็นสังขตะ บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย
เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่
หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง
อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้สึกว่า ทุกขเวทนา
นั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่
ย่อมรู้สึกว่า อทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน
ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้พรากใจเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด
ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด
ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต
เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็น
ของสงบ ฯ
[๖๙๒] ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้
จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่น ย่อมเป็น
ประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูกรภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อ
เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อ
เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และ
รู้สึกว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดี
กันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ เพราะเหตุนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึก
อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้
ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ทั้งปวง เป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความ
หลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดูกรภิกษุ เพราะสิ่ง
ที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่
นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
สัจจะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้ ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความ
ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคลนั้นแล ยังไม่
ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไว้ อุปธิเหล่านั้นเป็นอัน
เขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีก
ไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละ
อย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้
ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง อนึ่ง บุคคล
นั้นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท
ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรม
นั้นๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว
ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย
ความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ
อย่างยิ่งประการนี้ ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็น
อุปสมะอันประเสริฐอย่างยิ่ง ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตาม
รักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้
กล่าวแล้ว ฯ
[๖๙๓] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น
ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป
ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะ
เรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ความสำคัญ
ตนมีอยู่ดังนี้ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็น-
*สัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็น
สัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ดูกรภิกษุ
ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนี
ผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม
ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง
เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย
จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร ข้อที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลส
เครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและ
กิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น
เราอาศัยเนื้อความดังนี้ กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้
ของเราไว้เถิด ฯ
[๖๙๔] ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา
พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะ
ทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาค แล้วทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้องข้าพระองค์เข้า
แล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกพระผู้มี-
*พระภาคด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคจงรับอดโทษล่วงเกินแก่
ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด ฯ
[๖๙๕] พ. ดูกรภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่
เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืนตามธรรม เราขอ
รับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูกรภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ
แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้ นั่นเป็นความเจริญในอริยวินัย ฯ
ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสมบทในสำนักของ
พระผู้มีพระภาคเถิด ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ฯ
ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยังไม่ครบ
อุปสมบทไม่ได้เลย ฯ
[๖๙๖] ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้-
*มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคกระทำประทักษิณแล้ว
หลีกไปหาบาตรจีวร ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหา
บาตรจีวรอยู่ ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มี-
*พระภาคตรัสสอนด้วยพระโอวาทย่อๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติ
อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ
[๖๙๗] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุ
ธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน
เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น
ธรรมดา ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

วิญญาณธาตุ จัดอยู่ในหมวดธาตุ
วิญญาณขันธ์ จัดอยู่ในหมวดขันธ์
แต่ไม่ว่าจะจัดอยู่ในหมวดไหน ก็หมายถึงสภาพเป็นตัวรับรู้อารมณ์ทั้งสิ้น หาได้ต่างกันไม่
เพียงแต่แยกกล่าวว่า
ปฐวี อาโป วาโย เตโช อากาส วิญญาณ ประกอบกันเข้า = รูป ( สิ่งมีชีวิต )
ส่วนขันธ์ ๕ จะอธิบายเพิ่มเติมจากรูปไปอีก โดยแยกเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

เช่นเดียวกับคำว่า สังขาร มีมากเช่นกัน
สังขาร ใน ขันธ์ ๕ และในปฏิจจสมุปปบาท หมายถึง สภาพอันปัจจัยปรุงแต่ง
สังขาร ในอีกนัย ที่แยกเป็น อุปาทินนกสังขาร และ อนุปาทินนกสังขาร หมายถึง รูป ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

โดยส่วนมาก คนจะตีความหมายกันตามความเข้าใจผิดๆขอตัวเอง แล้วพยายามหาหลักฐานตามที่ตนเข้าใจ เพื่ออ้างอิงหลักฐานนั้น
อย่างเช่นในสูตรนี้ มีคำว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วน
เบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็น
ธรรมดา ฯ

หากเราไม่พินิจพิจารณาให้ดี มิเพี้ยนไปว่า ผู้ละสังโยชน์จักกลายเป็นเทพดอกหรือ
สูตรแห่งพระพุทธพจน์มีมากมายคณานับ หากเราเจาะจงเืลือกเฉพาะคำที่เราชอบใจว่าตรงกับจริต
ตรงกับการตีความที่แปลกใหม่ หากคนไม่ถือตาม ย่อมไม่มีความเสียหายอันใด แต่ถ้าหากมีคนถือตามเล่า?

อีกหนึ่งตัวอย่างพระพุทธพจน์


[๓๓๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน
จักขุธาตุ โสตธาตุ ฆานธาตุ ชิวหาธาตุ กายธาตุ มโนธาตุ นี้เราเรียกว่าความ
ต่างแห่งธาตุ ฯ
[๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความต่างแห่งผัสสะ บังเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยความต่างแห่งธาตุเป็นไฉน จักขุสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุธาตุ
โสตสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยโสตธาตุ ฆานสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยฆานธาตุ
ชิวหาสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยชิวหาธาตุ โผฏฐัพพะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกาย
ธาตุ มโนสัมผัสบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยมโนธาตุ ความต่างแห่งผัสสะบังเกิดขึ้น
เพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุอย่างนี้แล ฯ

นี้ก็แสดงให้เห็นหรือไม่ ว่าคำว่า ธาตุ มิใช่ความหมายตามภาษาไทยไม่
เช่นนั้นเรามาดู ความหมายของคำว่าธาตุ ตามหลักภาษามคธกันเถิด

ธาตุ
ธาตุ วิ. ผู้ทรงไว้
ธาตุ นาม. พระธาดา คือพระพรหม (พระผู้ทรงไว้ พระผู้สร้าง ตามหลักของศาสนาพราหมณ์ )
ธาตุ นาม. แร่ , แร่ต่างๆ , กระดูก ,
๑. สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดา จะแยกต่อไปอีกไม่ได้
๒. สิ่งที่เป็นต้นเดิม เป็นมูลเดิม เป็นรากของคำ เช่น คมฺ ธาุตุ
๓. กระดูกของคนธรรมดาที่เผาแล้ว ได้แก่คำว่าแปรธาตุ
๔. กระดูกของท่านผู้สิ้นกิเลสาสวะแล้ว คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ได้ในคำว่า ธาตุเจดีย์ กระดูกของคนธรรมดาไม่บรรจุเจดีย์
คำนี้ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยแล้ว จะมีคำนำหน้ากระดูกของพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรันตสาวก ใช้ว่า พระธาตุ กระดูกของพระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระบรมธาตุ หรือพระบรมสารีริกธาตุ.
กระดูกของท่านผู้ไม่สิ้นกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ไม่มีสิทธิ์ใช้คำว่าพระธาตุ.

ซึ่งที่พระพุทธองค์ ยกมาตามหลัักภาษาจัดใน ข้อ๑ คือ สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมดา จะแยกต่อไปอีกไม่ได้
เพราะเหตุว่า สมาสเข้ากับศัพท์ที่เป็นนาม ธาตุ จักแปลเป็นข้อ ๑. โดยส่วนมาก

เช่นนี้คงพอเป็นตัวอย่างให้ผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลายกระจ่างแจ้งได้บ้างแล :b42:

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




f54802676.gif
f54802676.gif [ 16.55 KiB | เปิดดู 5490 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
คุณ บังสกุล ครับ


ก๊ากกๆๆ
เค้าชื่อ บัวศกล ครับคุณพลศักดิ์ ไม่ใช่ บังสกุลๆ หมายถึงการทอดผ้าบังสกุลบนเมรุอุทิศให้ผู้ตายครั้งสุดท้าย
ของชีวิต :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณsanooktou ครับ



1. วิญญาณธาตุ(จิตไม่หลุดพ้น) นั้นเป็นอนัตตา อยู่แล้ว วิญญาณธาตุสูงสุดคือ ธรรมกายของพระอรหันต์ สิ่งนี้คือ จิตหลุดพ้นแล้ว สิ่งที่เป็น "อัตตา" = เที่ยง ไม่ทุกข์ เป็นอมตะ

2. วิญญาณธาตุ จัดอยู่ในหมวดธาตุ
วิญญาณขันธ์ จัดอยู่ในหมวดขันธ์
แต่ไม่ว่าจะจัดอยู่ในหมวดไหน ก็หมายถึงสภาพเป็นตัวรับรู้อารมณ์ทั้งสิ้น หาได้ต่างกันไม่


นี่เป็นความคิดของอรรถกถาจารย์ที่เข้าไม่ถึงธรรม ทะลึ่งมาสอน ผมฝากถามหน่อยว่า สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูป คือ ขันธ์ 5 มีวิญญาณขันธ์ อยู่ด้วย ชี้ชัดอยู่แล้วว่า วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป คือ วิญญาณธาตุ เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่หรือ?

ทุกท่านครับ

กรุณา และได้โปรดอ่านซ้ำอย่างช้าๆ อีกครั้งหนึ่ง

3. ธาตุ นาม. พระธาดา คือพระพรหม (พระผู้ทรงไว้ พระผู้สร้าง ตามหลักของศาสนาพราหมณ์ )


ก็ใช่น่ะซิครับวิญญาณธาตุพระพรหมเป็นผู้สร้าง พระพรหมผู้สร้างคือ พระหมภูต หรือพรหมกาย ไม่ใช่พระพรหมในชั้นโลกีย์ หรือรูปพรหมแต่อย่างใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มิ.ย. 2009, 17:37
โพสต์: 123


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกาย ครับ


ผมก็รู้ว่าเขาชื่ออะไร แต่แกล้งเรียกให้มันผิดๆเล่นเท่านั้น จะได้สนุกสนานกันบ้าง แบบผมชื่อพลศักดิ์ ผมยังเรียกตัวเองว่า พลสัตว์ เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2009, 12:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 13:42
โพสต์: 38

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้มาดู คำว่า ธรรมกาย บ้าง

[๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ
เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกัน
พากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็น
พวกไหน เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตร
ดังนี้เถิด ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่
รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม
หรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ
เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรม
เนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกาย
ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ

นี้อันที่คนชอบยกมาพูด
ให้สังเกตคำว่า เป็นชื่อของตถาคต
ตามหลักภาษามคธแล้ว ธรรมกาย และ พรหมกาย และธรรมภูต เป็นตัวขยาย ชื่อ
คือเป็นวิเสสนะ คือเป็นคุณนาม ของคำว่า ชื่อ นั่นเอง
แต่ดูการยกพระพุทธพจน์มา เจาะจงขอแค่ว่ามีคำที่ตัวเองต้องการ แล้วก็กล่าวตู่ไปเรื่อยๆ โดยไร้แก่นสาร
แล้วคำที่เหลือล่ะ
พรหมกาย? พระพุทธองค์ เป็นพรหมหรือ? ธรรมภูต เป็น? พรหมภูต เป็น?

ยังมีอีก
[๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ
เวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป ได้
เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.
คำกล่าวนี้ก็อ้างถึง ธรรมกาย โดยที่ผู้พูดถึงธรรมกายจะพยามทำนิพพานให้เป็นอัตตา
แต่ดูบรรทัดสุดท้ายสิ เป็นการค้านการมีภพต่อไปโดยสิ้นเชิง แล้วภพแห่งนิพพาน จะมาจากไหน?

นี้เป็นอีกหนึ่งที่กล่าวอ้างกัน
ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็น
มารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของ
หม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข
อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉัน
เป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้
อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของ
หม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว หม่อมฉันให้พระองค์
ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือ
พระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่ม
แล้ว ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้
เป็นหนี้หม่อมฉัน หม่อมฉันได้ฟังมาว่าสตรีทั้งหลายผู้ปรารถนา
บุตรบวงสรวงอยู่ ก็ย่อมจะได้บุตรเช่นนั้น สตรีที่เป็นพระมารดา
ของพระนราธิบดีมีพระเจ้ามันธาตุเป็นต้น ชื่อว่าเป็นมารดาผู้ยังบุตร
ให้จมอยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ ข้าแต่พระโอรส หม่อมฉันผู้จมดิ่ง
อยู่ในห้วงมหรรณพคือภพอันพระองค์ให้ข้ามไปจากสาครคือภพแล้ว

คำกล่าวนี้ ก็เหมือนข้างบน คือ ปฏิเสธภพต่อไป เพราะฉะนั้นภพแห่งนิพพานจักมาจากไหน?

คราวนี้เรามาดู ความหมายของคำว่า ธรรมกาย
ธมฺมกาย
มาจากคำว่า ธมฺม เป็นบทหน้า กับคำว่า กาย
ที้นี้เรามาแปลความหมายคำว่า ธมฺม กับ กาย แต่คำว่า ธมฺม ความหมายกว้างขวางเหลือเกิน เกินจะพรรณาได้ ส่วนมากจะทับศัพท์คือพูดว่า ธรรม
เช่นนั้นเรามาดูคำว่า กาย
กาย

ตัว, ตน , กาย , ร่าง , ร่างกาย ,
ฝูง , หมู่ , พวก , หมวด , กอง , ประชุม , คณะ

ธมฺมกาย
กองแห่งธรรม , หมวดแห่งธรรม.
กายประกอบด้วยธรรม , กายมีธรรม

เช่นนี้แล จงใคร่ครวญเถิด :b42:

.....................................................
ทุกคนมี อายตนะ ทั้ง 6 ครบเช่นกัน แต่การจะใช้ไปในทิศทางใดนั้น เราเป็นผู้ตัดสินใจ
หากหลงไปกับกระแสแห่งตัณหา เราจักไม่มีหนทางหนีออกจากกระแสแห่งตัณหานั้นได้
จงออกมาจากแม่น้ำคือตัณหานั้น แล้วมายืนดูที่ฝั่ง แล้วเราจะพบว่า สิ่งต่างๆเหล่านั้น
หาใช่สุขที่แท้จริงไม่ ความยึดถือ ความปรุ่งแต่งแห่งจิต ทุกสิ่งล้วนเกิดจาก จิต
จิต ที่เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ จิต ที่คอยจมดิ่งไปสู่อารมณ์ที่ตนชอบใจ
การชนะใดๆ ก็หาใช่การชนะที่แท้จริงไม่ การชนะใจตัวเองนั่นแล คือการชนะที่ประเสริฐที่สุด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 29 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 131 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร