วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 02:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 20:11
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจากผมกำลังหัดท่องบทขานนาคอยู่ครับ บางข้อมูลอ่าน เป็น ด เด็ก บางอ่านออกเสียง ท ทหาร เช่น ทุติยัมปาหัง ภันเต กับ ดุติยัมปาหัง ภันเต ไม่ทราบว่า ควรอ่านออกเสียงเป็นแบบไหน และมีความแตกต่างกันอย่างไร ขอบคุณครับ


แก้ไขล่าสุดโดย dissonance เมื่อ 16 มิ.ย. 2009, 23:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เดี๋ยวมีคนให้คำตอบเพียบค่ะ

กำลังจะบวชหรือคะ .. อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2008, 14:07
โพสต์: 285

อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่อย่างไรก็ขออนุโมทนาบุญด้วยคนครับ

.....................................................
"ใครเกิดมา ไม่พบพระพุทธศาสนา ไม่เลื่อมใส ไม่ปฎิบัติ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นโมฆะตลอด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย"

"ให้พากันหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา"

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
http://www.luangta.com/

"ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน"
หลวงปู่มั่น

"ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว"
หลวงพ่อปราโมทย์ สวนสันติธรรม ชลบุรี
http://www.wimutti.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dissonance เขียน:
เนื่องจากผมกำลังหัดท่องบทขานนาคอยู่ครับ บางข้อมูลอ่าน เป็น ด เด็ก บางอ่านออกเสียง ท ทหาร เช่น ทุติยัมปาหัง ภันเต กับ ดุติยัมปาหัง ภันเต ไม่ทราบว่า ควรอ่านออกเสียงเป็นแบบไหน และมีความแตกต่างกันอย่างไร ขอบคุณครับ

ถ้าใช้คำขอการบรรพชาอุปสมบทแบบนี้ น่าจะบวชในธรรมยุติกนิกายนะครับ ตอบข้อถามที่สงสัยมาเป็นภาษาบาลี ออกเสียงไม่ยาก ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ แต่ว่าคนเราไม่เท่ากันที่ความรู้ หาไช่ที่ความสูง :b12: :b12:

ประโยคเต็มน่าจะ ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพะชัง ละเภยยัง อุปะสัมปัทัง.

ที่ขีดเส้นไต้ไว้ ออกเสียงเป็น ท (ทอทะหาน) :b12: ครับ ที่ออกเสียงเป็น ด (ดอเด็ก) :b12: จะใช้เฉพาะ
ตัว ฑ เท่านั้นครับ ในที่นี้อ่าน ทุ ติ ยัม ปา หัง แยกเป็น ทุติยัง ปิ อะหัง
ทุติยัง ในครั้งที่สอง , ปิ แม้ , อะหัง ข้าพเจ้า หรือ กระผม

ไหนๆสงสัยมา ผมแถมแปลให้อีกหน่อยเลย เวลากล่าวคำขอบวช จะได้เข้าใจความหมาย จิตใจจะได้ทราบซึ้งขึ้นอีก


คำแปล... ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แม้ครั้งที่สอง ข้าฯ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แม้ปรินิพพานนานแล้ว
และพระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าฯ พึงได้ซึ่งการบรรพชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าฯ
พึงได้ซึ่งการอุปสมบท ในพระธรรมวินัย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.


ข้อสังเกตคำแปลที่ผมขีดเส้นไต้ไว้นะครับ บรรพชา ใช้บวชสามเณร อุปสมบทใช้บวชภิกษุ ก่อนจะเป็นภิกษุนั้น
(ภาษาบ้านก็พูดว่า ก่อนจะเป็นพระ) อุปัชฌาย์ หรือ พระที่อุปัชฌาย์มอบหมาย เช่น พระกรรมวาจาจารย์หรืออนุ
สาวนาจารย์ จะบวชเป็นสามเณรก่อน(ขั้นตอนนี้เรียกว่า บรรพชา) จากนั้นจะเป็นการบวชเป็นพระภิกษุ จะมีการ
สวดประกาศเป็นญัตติ เมื่อไม่มีท่านใดในหมู่ภิกษุคัดค้าน ก็สำเร็จเป็นภิกษุภาวะ เข้าหมู่สงฆ์ได้ กรรมตอนนี้
เรียกว่าญัตติจตุตถกรรมวาจา(ขั้นตอนนี้เรียกว่าอุปสมบท)

อนุโมทนาครับ ที่คุณจะได้บวชในพระศาสนา สาธุ

เกือบลืมเลย อีกนิด ต้องวนเข้ามาแก้ไขเลย (สติหายไปไหนหนอเรา)

ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปัพพะชัง ละเภยยัง อุปะสัมปัทัง

ที่ขีดเส้นไต้แรก อ่าน ละภัยยาหัง (เภย อ่านเป็นสระไอ )
ที่ขีดเส้นไต้ที่สอง อ่าน ละภัยยัง (เภย อ่านเป็นสระไอ)

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 16:30
โพสต์: 133

อายุ: 0
ที่อยู่: Uttaradit

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อนุโมทนาด้วยครับ

.....................................................
" สติปัญญา เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้ว เรานำออกมาใช้น้อยนัก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าแก่ชีวิต มีคุณค่าอย่างเหลือที่จะประมาณ "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 20:11
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบนะคับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่ยังสงสัยในคำถามเดิมเพราะว่า บทสวดที่ได้รับมาท่อง กับ บทสวดที่ลองหาดูในเว็ป ตัวสะกด เหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้นบางตัวเช่น

ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิ พพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปั พพะชัง ละเภยยัง อุปะสัมปั ทัง

เปรียบกับ

ดุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิ บบุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปั บบะชัง ละเภยยัง อุปะสัมปั ดัง


เนื่องจากความรู้ทางด้านภาษาบาลีมีน้อย จึงสงสัยว่าการอ่านออกเสียงควรเป็นแบบใดเพราะตั้งแต่เด็กก็ท่อง ท.ทหาร กับ พ.พาน มาตลอดพอมาเจอ ด.เด็กกับ บ.ใบไม้ เลยตกใจเล็กน้อย เรียนถามผู้รู้อีกหน่อยนะคับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเคยได้ยินพระท่านว่า
การอ่านออกเสียงจาก พ เป็น บ หรือ ท เป็น ด นี่ เป็นการอ่านออกเสียงตาม ภาษามคธ หนะครับไม่ใช่ภาษาบาลี อะไรนี่แหละครับ

ก็ได้ยินท่านสวดอยู่ทุกวันและท่านก็ว่าท่านไปศึกษาที่อินเดียมาแล้วหนะครับ อันนี้ผมก็ไม่ยืนยันนะครับเพียงแต่ได้ยินมาอย่างนั้นก็เล่าต่ออย่างนี้ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 08:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


dissonance เขียน:
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบนะคับ ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่ยังสงสัยในคำถามเดิมเพราะว่า บทสวดที่ได้รับมาท่อง กับ บทสวดที่ลองหาดูในเว็ป ตัวสะกด เหมือนกันทุกอย่าง ยกเว้นบางตัวเช่น
ทุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิ พพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปั พพะชัง ละเภยยัง อุปะสัมปั ทัง
เปรียบกับ
ดุติยัมปาหัง ภันเต สุจิระปะรินิ บบุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง ภันเต ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมะวินะเย ปั บบะชัง ละเภยยัง อุปะสัมปั ดัง
เนื่องจากความรู้ทางด้านภาษาบาลีมีน้อย จึงสงสัยว่าการอ่านออกเสียงควรเป็นแบบใดเพราะตั้งแต่เด็กก็ท่อง ท.ทหาร กับ พ.พาน มาตลอดพอมาเจอ ด.เด็กกับ บ.ใบไม้ เลยตกใจเล็กน้อย เรียนถามผู้รู้อีกหน่อยนะคับ



ในภาษาบาลีการนั้นมี ๒ อย่าง คือการนับแบบแสดงจำนวน เช่น เอกะ ๑ , ทะวิ ๒ , ติ ๓ , จะตุ ๔ , ปัญจะ ๕ , ฉะ ๖ ฯลฯ แบบที่สองคือการนับเป็นลำดับที่เช่น ปะฐะโม หรือ ปะฐะมา หรือ
ปะฐะมัง ที่ ๑ , ทุติโย หรือ ทุติยา หรือ ทุติยัง ที่ ๒ , ตะติโย หรือ ตะติยา หรือ ตะติยัง ที่ ๓ ฯลฯ

คำว่า ทุติยัมปาหัง หรือ ดุติยัมปาหัง ตามไวยากรณ์ต้องใช้ตัว ทุติยัมปาหัง เพราะ คำแปลในที่นี้คือ ครั้งที่สอง
ทุติยัมปาหัง แยกเป็น ทุติยัง แปลว่า ในครั้งที่สอง , ปิ แม้ , อะหัง ข้าพเจ้า หรือ กระผม เมื่อแปลว่าในครั้งที่
สอง บาลีต้องใช้ ทุติยัม ไม่ไช่ ดุติยัม
คำว่า ทุติยัม แปลงมาจาก ทะวิ ซึ่งแปลว่าสองนั่นเอง แต่มาใส่เป็นการนับครั้ง(ใส่เครื่องหมายการนับ) ก็ออกมา
เป็นคำว่า ทุติยัง แต่เมื่อมาสนธิ(ต่อศัพท์)กับ ปิ และ อะหัง ก็เอาตัว นิคหิต(ตัวกลมๆบน ย ในเวลาเขียนบาลี)
เป็น มฺ เลยอ่านว่า ทุติยัม (ทุติยมฺ) โปรดดูตัวภาษาบาลีเทียบด้วย การอ่านออกเสียงต้องอ่านเป็ ท ไม่ไช่ ด
และไม่มีเหตุผลที่ต้องอ่านเป็น ด ได้เลย เพราะ ด เองไม่ไช่ไวยากรณ์ที่ถูกเลย และไม่มีอำนาจทางภาษาให้
สามารถเขียนหรืออ่านเป็น ต ได้ เพราะคำแปลระบุว่า ในครั้งที่สอง ถ้าเป็น ด ก็จะเป็นคำอื่นและเป็นความหมาย
อื่นไป อนึ่งตัว ด นั้น ในบาลีสยามไม่มีใช้

คำที่ ๒ ระหว่าง ปะรินิพพุตัมปิ กับ ปะรินิบบุตัมปิ (เป็นคำที่ต้องเขียนติดกันนะครับ ตามตัวอย่างที่คุณพิมพ์มา
เว้นวรรค ไม่ถูกต้องตามภาษาครับ)
ภาคบาลีคำนี้เขียนดังนี้ครับ ปรินิพฺพุตมฺปิ แปลว่า แม้ปรินิพพานนานแล้ว (อ่านว่า ปะ ริ นิบ พุ ตำ ปิ)
ปรินิพฺพุตมฺปิ มาจาก ปริ + นิพพ + ปิ แปลทีละตัว ปริ แปลว่ารอบ , นิพพ แปลว่า นิพพาน หรือดับ , ปิ แปลว่า แม้
ดูจากการแปลแล้วอนุโลมตามความหมาย ต้องใช้คำว่า ปรนิพฺพุตมฺปิ หรือ ปะรินิพพุตัมปิ ไม่ไช่ นิบบุ เพราะ
นิพพาน เขียนแบบนี้ ไม่ไช่เขียน นิบบุ ถ้าเขียน นิบบุ แปลไม่ได้ว่าเป็นนิพพาน จะอ่านว่า นิบ บุ (ฮาจังคำนี้) ที่
ถูกคือ ปะ ริ นิพ พุ ตัม ปิ

คำที่ ๓ ปัพพะชัง กับ ปับบะชัง
ดูจากคำแปล แปลว่า การบรรพชา เท่านี้พอจะทราบแล้วว่าน่าจะใช้ บ หรือ พ คำนี้ภาษาบาลีเขียน ปพฺพชํ แปลว่า ซึ่งการพรรพชา แปลทับศัพท์เลย
ฉนั้นใช้ตัว พ ครับ อีกอย่างหนึ่ง ในบาลีสยามไม่มีตัว บ ฉนั้น การออกเสียง บ ไม่มีได้

คำที่ ๔ อุปะสัมปะทัง และ อุปะสัมปะดัง ตามตัวอย่างที่คุณพิมพ์มานั้น ใช้คำว่า อุปสัมปั ทัง และ อุปสัมปั ดัง (พิมพ์แบบนี้ไม่ถูกครับ)
ดูที่คำแปล แปลว่า การอุปสมบท หรือ ซึ่งการอุปสมบท ชัดเจนว่าต้อง ท แน่ อย่างที่บอกครับ ด ไม่มีในบาลี
สยามรัฐการออกเสียง ด ต้องไม่มีตาม
อุปะสัมปะทัง เขียนบาลี อุปสมฺปทํ แยก อุป แปลว่า เขาไป , สมฺปทํ แปลว่าถึงพร้อม แปลรวมว่า การถึงพร้อมสู่การเข้าไป หมายถึงการขอหมู่ภิกษุเข้าพวก คือเข้าไปเป็นหมู่ภิกษุด้วยกัน ในความหมายคือ ขอให้สงฆ์ยอมรับ
ตัวเองเป็นภิกษุ เพื่อจะได้มี ศีล อาวาส สังฆกรรม เพศ และ ฯลฯ เสมอกันนั่นเอง เข้าพวกกันได้

สรุปคือ ทุติยัมปาหัง และ ปะรินิพพุตัมปิ และ ปัพพะชัง และ อุปะสัมปะทัง ถูก ต้องใช้คำนี้ครับ
ผมเข้าใจว่าคุณใช้ ท และ พ ขอให้ใช้ตามที่เคยใช้ ถูกอยู่แล้วครับ อย่าซัดส่ายตามอื่นเลย อนุโมทนาที่ได้ตั้งใจบวชครับ สมดังพระพุทธภาษิตว่า

สาธุ โข ปพฺพชา การบวชเป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ แล.

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 08:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


บัว 4 เหล่า เขียน:
ผมเคยได้ยินพระท่านว่า
การอ่านออกเสียงจาก พ เป็น บ หรือ ท เป็น ด นี่ เป็นการอ่านออกเสียงตาม ภาษามคธ หนะครับไม่ใช่ภาษาบาลี อะไรนี่แหละครับ
ก็ได้ยินท่านสวดอยู่ทุกวันและท่านก็ว่าท่านไปศึกษาที่อินเดียมาแล้วหนะครับ อันนี้ผมก็ไม่ยืนยันนะครับเพียงแต่ได้ยินมาอย่างนั้นก็เล่าต่ออย่างนี้ :b13:


นับว่าเป็นข้อสังเกตที่ดีมากๆเรื่องภาษา ทำให้ผมนึกถึงตอนที่ผมได้มีโอกาสต้อนรับพระภิกษุ ๓ รูปที่มาจากประเทศ
ศรีลังกา ท่านมาเที่ยวและมาแลกเปลี่ยนความรู้ นัยว่าท่านมาเพราะการศึกษา เวลาท่านสวด ท่านออกเสียงนิคหิต
เป็นเสียง ม สะกดเลย ท่านเจตนาหรือเปล่าก็ไม่รู้ เช่น พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ท่านออกเสียงเป็น พุทธัม สะระณัม
คจฺฉามิ เคยถามผู้รู้ ถึงบางอ้อตรงที่ท่านอธิบายว่า ออกเสียงตามภาษาถิ่นที่ท่านใช้ ส่วนมากในประเทศแถบนี้
คัมภีร์ชั้นสูงจะใช้เป็นสันสกฤต เลยติดการออกเสียงภาษาแนวนั้น เวลาเขียนก็จะใช้ปกติคือ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ไม่ใช้ พุทฺธมฺ สรณมฺ คจฉามิ ทำให้ผมนึกถึงคำว่า ไม้กวาด ในภาษาไทยเลย คนภาคกลางพูดภาษาปากว่า
ไม้กวาด ไทยอีสานพูดภาษาออกไม่ชัดว่า ไม้กวด แต่เวลาคนอีสานเขียน ก็จะเขียน ไม้กวาดเหมือนกัน

ในกรณีคำบาลีสยามที่เราใช้กันอยู่ เมื่อสามารถออกเสียงได้ครบสำเนียง ก็ควรออกให้ตรงตามบาลีสยาม หาไม่แล้ว
จะทำให้ผู้ที่จดจำไปเมื่อประสงค์จะเขียน ก็จะเขียนผิดไป เช่น พุทฺธํ ถ้าเราออกเสียงไม่ชัดเจน ออกเป็น พุทฺธมฺ
ผู้ที่จดจำหากไม่เข้าใจดีแล้ว ก็จะจดเป็น พุทฺธมฺ แทนที่จะเป็น พุทฺธํ

ตอนที่ต้อนรับภิกษุชาวศีลังกานั้น ท่านอธิบายว่า ภิกษุที่จบปริญญาตรีทุกรูป ต้องได้ภาษาบาลีหรือไม่ก็สันสกฤต
แบบชำนาญจนพูดได้เลย เป็นการบังคับ ผมไม่ทราบว่าท่านอธิบายตามความเข้าใจท่านหรือตามหลักสูตรของ
การศึกษาของภิกษุชาวศรีลังกา เวลาสนทนากับท่านผมใช้บาลีบ้างอังกฤษบ้าง ความจำผมเลยสับสน จำคราวนั้น
ไม่ชัดเจน นำมาเล่าสู่กันฟังเล็กๆน้อยครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 มิ.ย. 2009, 20:11
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณที่ไขข้อสงสัยนะคับ จะได้ท่องอย่างมั่นใจได้ซะที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2009, 11:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2008, 15:51
โพสต์: 334

งานอดิเรก: ชอบเรื่องพลังงาน
สิ่งที่ชื่นชอบ: มิลินทปัญหา
ชื่อเล่น: อมร
อายุ: 63
ที่อยู่: 138 หมู่ที่ 1 ต.โนนคูณ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 36180

 ข้อมูลส่วนตัว www




01 (106).jpg
01 (106).jpg [ 79.76 KiB | เปิดดู 7085 ครั้ง ]
ก็อย่างว่านั้นแหละต้นกำเนิดไม่ได้อยู่ที่บ้านเรา และก็นานมาแล้ว
ทุกคนก็เกิดไม่ทัน เอาเป็นว่าทำตามท่านที่เรียนมาก็แล้ว เราไม่เห็นผิดไปจากธรรมมากก็คงไม่เป็นไร
ขออนุโมทนากับท่านที่จะบวช มีบวชเล่น บวชลอง บวชครองประเพณี บวชหนีทหาร บวชหนีสงสาร
บวชผานข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน บวชเปลื่อนศาสนา บวชหาเลี้ยงชีพ บวชรีบเร่งความเพียร
บวชเอาเรียนปริญญา บวชมาบวชไปบวชจนได้ดีก็มีนะ
แต่ขอร้องดังๆ เลยนะอย่าให้เปลือยค่าใชจ่ายมาก ไม่ใช้บวช 7 วัน
ใช้เงินไป 70.000 กว่าบาท ก็ต้องรีบสึกออกมาหาเงินใช้หนี้เขา (ว่าตนที่บ้านนะ) รู้เห็นมากะตา
ท่านหนึ่งพูดกะเราว่า เอ คนเรานี้ทำไมมีค่านิยมผิดๆ แบบนี้นะท่าน บวช 7 วัน ลงทุนไป ตั้งเจ็ดหมื่นกว่า
เสร็จแล้วต้องมาหาเงินใช้หนี้เขา.ท่านว่า. เราก็ เออ ก็นั้นนะสิ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันแหละ
เขาคงคิดว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำเล่นไปอย่างงั้นมั่ง ,,ก็ไม่ว่าหรอกท่านถ้าเป็นเงินเก็บมาเอง,,แต่นี้ดันไปกู้หนี้ยืมสินเขามานี้นะ,, ก็ปล่อยเขาเถอะท่าน ,, เราจะบอกเขาอย่างไรได้เดียวผิดใจเขาเปล่าๆ ก็เพียงแตเป็นหว่งเขาก็เท่านั้นเองแหละฮิฮิฮิ

.....................................................
ทำบุญตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาทำบุญอุทิศหา รักษาศีลตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาเคาะโลงลุกขึ่นมารักษาศีล เข้าวัดตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาหามเข้าแล้วเผาเลย ฮิฮิฮิ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2009, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ สา...ธุ :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 193 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร