วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 04:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คมชัดลึก : “เพื่อสร้างวิหารพระพรหมมังคลาจารย์ ณ โรงพยาบาล อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง”


นี่คือวัตถุปะสงค์ในการจัดสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ตามประกาศเชิญชวนในโบชัวร์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดจองตามศูนย์พระเครื่องต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทั้งนี้จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ มณฑลพิธีอุโบสถ วัดอินทราวาส (ท่ามิหรำ) อ.เมือง จ.พัทลุง วันจันทร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๕.๐๙ น. ลักษณะและรูปแบบวัตถุมงคลนั้น ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อปัญญา ด้านหลังเป็นวิหารพระพรหมมังคลาจารย์ โดยมีทั้งเนื้อโลหะ (ทองคำ เงิน เหรียญสามกษัตริย์ ทองแดง) เนื้อผงว่านมหามงคล (ดำ แดง ขาว) และเนื้อผงกระเบื้องเคลือบ (น้ำเงิน เขียว เหลือง) ซึ่งเป็นการสร้างในลักษณะเดียวกับจตุคามรามเทพ มี ๒ ขนาด คือ เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ ซม. และ ๓.๒ ซม. ส่วนราคาให้เช่าบูชานั้น ที่แพงสุดเป็นเนื้อทองคำ ราคา ๓๕,๐๐๐ บาท ที่ถูกสุดเป็นเหรียญทองแดง และผงว่านมหามงคล โดยให้เช่าในราคา ๑๐๐ บาท
----------------------------------------------------------------------------------------------

อย่างไรก็ตาม ตลอดชีวิตของ พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) ท่านได้สร้างคุณูปการต่อวงการพุทธศาสนาอย่างมากมาย เป็นนักปาฐกถาธรรมที่ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย เป็นผู้จุดประกายปัญญาให้เข้าถึงหลักธรรมอย่างถูกต้อง โดยท่านสอนให้เข้าถึงธรรมโดยใช้ปัญญาพิจารณา ท่านจะเทศนาต่อต้านมารร้ายที่หากินกับศาสนาด้วยการใช้พิธีกรรมต่างๆ ดึงดูดคนเข้าวัด เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวพุทธส่วนใหญ่งมงายหลงทาง จนคิดว่าสิ่งนั้นเป็นของพุทธศาสนา วัดชลประทาน มีพระพุทธรูปเพียงเพื่อพอเป็นพิธี ไม่มีการจุดธูปเทียน ไม่ให้ยึดติดกับอามิสบูชาใดๆ

ในประเด็นของการสร้างวัตถุมงคลก็เช่นกัน "คม ชัด ลึก" ได้สัมภาษณ์หลวงพ่อปัญญาในช่วงเดือนกันยายน ๒๕๔๕ และได้นำบทสัมภาษณ์ของท่านมาลงพิมพ์ "แบบคำต่อคำ" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๕ ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อปัญญา มีอายุ ๙๑ ปี โดยมีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจ คือ

ทำไมวัดบางแห่งเมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพลง จึงไม่มีใครไปทำบุญเหมือนในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า เพราะเจ้าอาวาสรูปที่มรณภาพนั้น ไม่ได้สอนให้ลูกศิษย์ฉลาด ฉันให้ลูกศิษย์เจริญตามรอยฉัน สืบทอดเจตนา โดยเฉพาะการเผยแผ่ธรรมะ ให้คนเข้าวัดเพราะธรรมะ อย่าให้คนเข้าวัดเพราะความโง่ เพราะอยากได้วัตถุมงคล ฉันไม่ได้ฝากฝังอะไรเพราะยังอยู่ หากฉันต้องไปก็ไม่เป็นหวง พระลูกศิษย์เก่งกว่าฉัน เขาสอบได้ถึงเปรียญ ๙ ประโยค ซึ่งไม่ธรรมดา

มีอะไรที่หลวงพ่อยังไม่ได้ทำบ้างครับ?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า ก็ทำไปเรื่อยๆ ทำเท่าที่เรามีแรงจะทำได้ เพราะเราเกิดมาเพื่อรับใช้พระศาสนา ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาที่ถูกต้อง ให้เกิดปัญญา เกิดความเข้าใจศาสนาที่แท้จริง ไม่ใช่สนใจแต่เปลือกนอกของพระศาสนา

หน้าที่สำคัญของพระ มีอะไรบ้างครับ?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า หน้าที่ของพระนอกจะปฏิบัติธรรมเพื่อตัวเองแล้ว ยังต้องเทศนาสั่งสอนญาติโยมด้วย เป็นพระต้องสอนคนให้พ้นจากความโง่ ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน พระมีแต่สอนให้คนโง่ คนเข้าใจศาสนาในทางที่ผิดๆ โดยเฉพาะสอนให้ยึดถือพระเครื่องมากกว่าที่จะสอนให้ยึดถือหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

พระที่สร้างพระเครื่องพระบูชา รวมทั้งวัตถุมงคล ผิดวินัยสงฆ์หรือเปล่าครับ?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า ผิด และก็ไม่ใช่เรื่องของพระ พระที่ทำเหรียญเป็นพระที่ยังไม่หมดกิเลส ยังอยากได้สตางค์จากญาติโยม

ส่วนที่มีการอ้างว่าเป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา หมายความว่าอย่างไร?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า การสร้างพระเครื่องพระบูชาเป็นการรักษาพระพุทธศาสนาแต่รูปภายนอก แต่ไม่ได้รักษาธรรมะ ส่วนที่บอกว่าแขวนพระแล้วขลัง แขวนพระแล้วอยู่ยงคงกระพันนั้น อาตมาไม่เคยเห็นกับตา มีแต่เขาเล่าว่า มีแต่เขาพูดว่า เท่านั้น

ระหว่างพระเครื่องกับพระธรรม ทำไมคนถึงเลือกรับพระเครื่องก่อนครับ?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า เพราะคนยังมีความโง่อยู่ ยังขาดความเข้าใจว่า พระแท้พระปลอมคืออะไร ความโง่ของญาติโยมต้องโทษพระเป็นอันดับแรก พระส่วนมากเห็นชาวบ้านโง่อย่างไร ก็ส่งเสริมให้ชาวบ้านโง่อยู่อย่างนั้น

หลวงพ่อคิดจะออกเหรียญเพื่อเป็นที่ระลึกสักรุ่นหรือเปล่าครับ?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า ฉันไม่ออกอย่างแน่นอน หลังจากฉันตายไป ก็ห้ามใครออกด้วย ซึ่งที่ผ่านมาก็มีคนเคยมาขอทำเหรียญที่ระลึกหลายครั้ง แต่ก็ปฏิเสธไป เพราะฉันไม่ใช่พระบ้า ไม่อยากให้คนยึดถือในสิ่งโง่ๆ ในสมัยพุทธกาลก็ไม่มีการทำรูปให้บูชากัน การทำเหรียญทำรูปบูชาเกิดขึ้นในระยะหลัง โดยเฉพาะในช่วงที่ศาสนาเสื่อมจากใจคน คนจึงยึดถือเอารูปเป็นหลัก ไม่ถือธรรมะเป็นหลัก

ในเมืองไทยสมัยโบราณ คนไทยต้องทำศึกกับพม่าตลอดเวลา พระจึงทำผ้าประเจียด ผ้ายันต์ และทำเหรียญ รวมเรียกว่าเครื่องราง เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการออกรบ แต่ในที่สุดแล้ว ทั้งพวกที่มีเครื่องราง และพวกที่ไม่มีเครื่องราง ต่างก็ต้องพบกับความตายทั้งสิ้น

ขนาดพระระดับสมเด็จยังออกเลย ทำไมหลวงพ่อจึงไม่ออกบ้าง?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า เมืองไทยเรามีพระระดับสมเด็จที่โง่ๆ หลายรูป ความโง่ไม่ได้อยู่ที่พระเล็กพระน้อยเท่านั้น พระผู้ใหญ่ก็โง่ได้เหมือนกัน ในทางโลกเช่นกัน อย่าว่าชาวบ้านโง่อย่างเดียว คณะรัฐมนตรีในรัฐบาลหลายคนก็โง่ ส่วนพระที่ไปร่วมพิธีปลุกเสกก็เป็นพระปัญญาอ่อน ซึ่งอาจจะเรียกว่า เป็นการร่วมประชุมของพระปัญญาอ่อน โดยผู้จัดก็ปัญญาอ่อน ผู้ไปร่วมพิธีก็ปัญญาอ่อน ไปเสกดินให้เป็นพระได้อย่างไร มันไม่ถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องที่ควรทำ

ทุกวันนี้มีทั้งพระออกของขลัง พระดูหมอ พระพรมน้ำมนต์ ฯลฯ หลวงพ่อคิดเห็นว่าอย่างไรครับ?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะเกิดจากความโง่ และความโลภของพุทธบริษัท ขณะเดียวกันพระก็ไม่สอนในสิ่งที่ฉลาด สรุปว่า ทั้งพระและฆราวาสโง่พอๆ กัน

พระนอกรีตเกิดจากอะไรครับ?
หลวงพ่อปัญญา ตอบว่า เกิดจากความบกพร่องของคณะสงฆ์ที่ไม่ปรับปรุงให้ดีขึ้น ยังมีพระผู้ใหญ่โง่ๆ อยู่หลายรูป การนิมนต์พระไปเจิมเรือบิน พรมน้ำมนต์ ไม่ได้ทำให้สิ่งนั้นเกิดสิริมงคล เพราะความเป็นสิริมงคลนั้นเกิดจากการปฏิบัติของคนคนนั้น สู้เอาธรรมะไปใช้ไม่ได้ เป็นสิริมงคลมากกว่าน้ำมนต์ เป็นสิริมงคลมากกว่าการเจิมหลายเท่า

พระภิกษุที่สร้างวัตถุมงคลมอมเมาประชาชนให้หลงผิดอยู่กับเรื่องไร้สาระนั้นมีมากมายนัก
ในสังคมพุทธศาสนาในปัจจุบัน และพระภิกษุประเภทนี้ก็ไม่มีทีท่าว่าจะลดจำนวนลงแต่อย่่างใด
ในทางตรงกันข้ามกลับมีจำนวนที่มากขึ้นๆ เพราะแต่ละรายก็จนปัญญาที่จะนำคำสอนของพระพุทธเจ้า
มาแนะนำสั่งสอนให้ประชาชนชาวพุทธนำไปประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องได้

แม้แต่ตัวของพระภิกษุที่เทศน์สอนประชาชนอยู่นั้น ก็ไม่สามารถจะประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตาม
พระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าได้ ก็เข้าทำนอง "มือถือสาก ปากถือศีล"
อันนี้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนมากในสมัยปัจจุบัน

เมื่อพระภิกษุไม่สามารถจะดำรงตนให้อยู่ในกรอบของพระธรรมวินัยได้
ความรู้สึกนึกคิดของพระภิกษุทั้งภายในและภายนอกจึงเหินห่างออกจากพระธรรมวินัยไปเรื่อยๆ
สุดท้ายก็มอมเมาหลอกแดกชาวบ้านไปวันๆด้วยรูปเหล็ก อิฐ หิน ดิน ทราย ปั้น - หล่อ - เสกบ้าๆบอๆ
ก็เพิ่งทราบชัดๆนะว่า ที่การณ์พระพุทธศาสนาในประเทศไทยตกต่ำย่ำแย่ถึงเพียงนี้
ก็เพราะมีพระเจ้าคณะฝ่ายปกครองที่ โง่ บ้า ปัญญาอ่อน ดังที่หลวงพ่อปัญญาฯ กล่าวไว้
นั่งบริหารกิจการพุทธศาสนาอยู่ด้วยนี่เอง

เมื่อเร็วๆนี้ก็ได้อ่านเรื่องพระภิกษุที่มียศถาบรรดาศักดิ์กระเหี้ยนกระหือรือที่จะตั้งธนาคารพุทธศาสนา
โดยให้พระภิกษุมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่กับธนาคารแห่งนี้ด้วย และนี่ก็คงจะเป็นพระภิกษุประเภท
โง่ บ้า ปัญญาอ่อน อีกเหมือนกัน ที่โกนหัวบวชเข้ามาแล้วก็หาสาระแก่นสารใดๆในศาสนาไม่ได้
เมื่อบวชอยู่นานไปก็ไม่สามารถจะทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
จึงสมคบกันทำเรื่องที่จัญไรอุบาทว์ไว้ในพระพุทธศาสนาด้วยการหาวิธียุ่งเกี่ยวกับกิจการ
เงินๆทองๆ อันเป็นเรื่องของกามโลกีย์วิสัยโดยตรง

โปรด!...อ่านด้วยปัญญาอีกครั้ง
ในประเด็นของการสร้างวัตถุมงคล ไม่เฉพาะการให้สัมภาษณ์ของหลวงพ่อปัญญาต่อ "คม ชัด ลึก" เท่านั้น หากใครได้ติดตามฟังเทศน์ของหลวงพ่อปัญญา จะพบว่า ทุกครั้งที่ท่านเทศน์ ตอนท้ายก่อนจบ ท่านจะเทศน์เรื่องการ ต่อต้าน และปฏิเสธการจัดสร้างวัตถุมงคล โดยท่านมักพูดย้ำเสมอๆ ว่า

“เพราะฉันไม่ใช่พระบ้า ไม่อยากให้คนยึดถือในสิ่งโง่ๆ”
โดยเฉพาะเทปบันทึกเสียงเทศน์ของท่านกว่า ๕,๐๐๐ ม้วน ในจำนวนนี้ กว่าครึ่งหนึ่งท่านพูดเรื่องการต่อต้านสร้างวัตถุมงคลอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นที่รู้และเข้าใจในหมู่ลูกศิษย์และบุคคลทั่วไปว่า “ตลอดชีวิตหลวงพ่อปัญญา ต่อต้านการจัดสร้างวัตถุมงคลมาตลอด”

ทั้งนี้ ในหลักใจของหลวงพ่อปัญญา ๕ ข้อ มีอยู่ ๒ ข้อที่พูดเกี่ยวข้องกับวัตถุมงคล คือ ข้อ ๒ ที่ว่า “ความมุ่งหมายของข้าพเจ้าอยู่ที่ประกาศคำสอนที่แท้ของพุทธศาสนา ข้าพเจ้าจึงต้องเป็นคนกล้าพูดความจริงทุกกาลเทศะ”

และข้อ ๓ ที่ว่า “ข้าพเจ้าจักต้องสู้ทุกวิถีทาง เพื่อทำลายสิ่งเหลวไหลในพุทธศาสนา นำความเข้าใจถูกมาให้แก่ชาวพุทธ”

นอกจากนี้ หลวงพ่อปัญญายังได้วางหลักการของวัดชลประทานเอาเป็นแนวปฏิบัติของลูกศิษย์ ๕ ข้อ คือ
๑.สร้างวัดให้เป็นสถานที่พักผ่อน ทั้งกายและจิต หว่านโปรยความสงบร่มเย็นแก่ทุกชีวิต
๒.แก้ไขประเพณีที่ไม่เกิดความรู้ความฉลาด ชำระล้างความเชื่อ อันไร้เหตุผลให้หมดสิ้นไป
๓.ชักจูงประชาชนให้ใช้ธรรมะเป็นประทีปส่องทางดำเนินชีวิต
๔.ไม่สนับสนุนการศึกษา และปฏิบัตินอกแนวพุทธธรรม ไม่ส่งเสริมไสยศาสตร์
และ ๕.ไม่แสวงหาเงินบำรุงวัด จากความโง่เขลาของชาวบ้าน

http://www.komchadluek.net/detail/20090519/13281/เลิก!...เสกหลวงพ่อปัญญาเจ้าคุณรุ่นยอมถอยศิษย์อนุโมทนาที่ยืนหยัดคำหลวงพ่อ.html (วันที่ 19 พฤษภาคม 2552)


แก้ไขล่าสุดโดย บัว 4 เหล่า เมื่อ 23 พ.ค. 2009, 00:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 23:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองพิจารณานิดหนึ่งนะครับ

เมื่อได้ศึกษาและพิจารณาด้วยสติปัญญาแห่งเหตุผล (โดยไม่เอนเข้าหาความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบส่วนตัว)


- พระพุทธรูปไม่ใช่ตัวแทนพระพุทธเจ้า
- พระพุทธรูปไม่ใช่สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา
- พระพุทธรูปไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธเจ้า
- พระพุทธรูปไม่ใช่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนให้สักการะ - เคารพเมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้ว

แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้ให้พุทธศาสนิกชนสักการะ เคารพ และใช้ระลึกถึงพระองค์คือ

- ธาตุเจดีย์ (คือ พระธาตุของพระองค์)
- บริโภคเจดีย์ (คือ สิ่งที่พระองค์เคยใช้สอยเมื่อคราวที่ยังทรงพระชนม์อยู่)
- อุทเทสิกเจดีย์ (คือ พระธรรมวินัยทั้งหมดที่พระองค์ประกาศไว้)

แต่ก็มีผู้คัดค้านว่า พระพุทธรูปทองเหลือง ทองแดง ฯลฯ ที่สร้างกันขึ้นมาภายหลังนั้น
ก็อยู่คู่กับพระพุทธศาสนามานานนับพันปีแล้ว และพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ก็ให้การยอมรับนับถือและมีมติว่านี้เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง (แม้จะขัดแย้งกับคำสอนของพระพุทธเจ้าก็ตาม)

สำหรับพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนจะกราบไหว้และยอมรับนับถือกันมากมายเท่าไหร่ก็ตาม
แต่เมื่อการสร้างพระพุทธรูปนั้นขัดกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสียแล้ว
พระพุทธรูปก็คือสิ่งปนเปื้อนและแปลกปลอมในพระพุทธศาสนาเท่านั้นเอง
แม้จะมีมานมนานเท่าไหร่ก็ตาม นี่ก็คือสิ่งแปลกปลอมในคำสอนของพระพุทธเจ้าตลอดอนันตกาล

เพราะพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ท่านผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สั่งสอนไว้
และพระพุทธศาสนาก็ไม่ใช่ศาสนาที่มีลักษณะแบบอัตตาธิปไตย (ถือความเห็นตนเป็นใหญ่)
ไม่ใช่ศาสนาที่มีลักษณะแบบประชาธิปไตย (ถือความเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นใหญ่)
ไม่ใช่ศาสนาที่มีลักษณะแบบเอกาธิปไตย (ถือความเห็นของผู้ใดผู้หนึ่งเป็นใหญ่)

แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีลักษณะแบบธัมมาธิปไตย (ถือธรรมที่ถูกต้องเป็นใหญ่)
ซึ่งศาสนาที่มีลักษณะเช่นนี้จะมีเพียงศาสนาเดียวเท่านั้นในโลกธาตุดินแดนทั้งหลาย
ผู้ใดปฏิบัติได้ถูกต้องตามธรรมที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ ผู้นั้นก็ชื่อว่าผู้ถูกต้องในพุทธศาสนา
แม้จะมีเพียงหนึ่งคนก็ตาม หนึ่งคนนั้นก็คือผู้ที่ถูกต้อง

เมื่อพระพุทธรูปเป็นสิ่งแปลกปลอมและปนเปื้อน ก็ต้องเป็นสิ่งที่มีโทษตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
เรื่องนี้ที่เห็นได้ชัดคือความรู้สึกที่เจ็บปวดและทุรนทุรายของผู้ที่เสพติดในสิ่งแปลกปลอมและปนเปื้อนนี้
ทั้งผู้ที่ติดเพราะไม่ได้ศึกษาในคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ทั่วถึงก็เลยทำให้เข้าใจผิดคิดว่าพระพุทธรูปนี้
เป็นตัวแทน เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า หรือติดเพราะมีผลประโยชน์เชิงพาณิชย์แอบแฝง
อันจะนำมาซึ่งความสุขสบายที่ตั้งอยู่บนความงมงายของผู้อื่นและนำมาซึ่งศาลาหลังใหญ่ๆก็ตาม

ความเจ็บปวดได้เกิดขึ้นเมื่อมีผู้ต้องการจะชี้นำให้เห็นกันชัดๆว่า
พระพุทธรูปนี้ไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนาเลย
ซึ่งก็ต้องการจะชี้นำด้วยความปรารถนาดีอย่างที่สุด ต่อจิตใจของบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
ที่ควรจะลด ละ เลิก ความงมงายและลุ่มหลงกับพระพุทธรูปที่มีอยู่เยอะแยะและนับวันก็จะยิ่ง
เยอะแยะมากขึ้น แล้วหันมาใส่ใจกับพุทธธรรมอันทรงคุณค่าหาประมาณมิได้
ที่นับวันจะจางหายไปจากจิตใจของชาวพุทธ

เพราะพุทธศาสนานี้เป็นศาสนาแห่งเหตุผล
คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเต็มไปด้วยเหตุผลที่ควรนำมาครุ่นคิดพิจารณา
และประพฤติปฏิบัติไปตามกำลังสติปัญญาของแต่ละคน
นี้จึงเป็นสิ่งที่ควรจะกระทำของผู้ที่ประกาศตนว่า "นับถือพระพุทธเจ้า"

เมื่อมีผู้ไม่ต้องการเหตุผลที่ถูกต้องตามความเป็นจริงที่ยังมีอยู่ ที่ยังค้นคว้าได้อยู่
แต่กลับถือเอาความชอบใจของตัวเองในธรรมเนียมประเพณีที่ผิดๆเป็นใหญ่
บุคคลเช่นนี้ไม่ใช่ศาสนิกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรอก

เรื่องตัวอย่างของผู้ที่ไม่ต้องการเหตุผล เล่มที่ 59 หน้า 599 ความว่า

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลมีโภคะมาก ในบ้านตำบลหนึ่งในมคธรัฐ ครั้นเจริญวัยแล้ว
ได้ละกามออกบวชเป็นฤาษี ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว อยู่ในหิมวันตประเทศเป็นเวลานาน
เมื่อต้องการจะเสพรสเค็ม รสเปรี้ยว จึงได้ไปพระนครราชคฤห์ สร้างบรรณศาลาอยู่ที่ซอกเขาแห่งหนึ่ง.

ครั้งนั้น พวกคนเลี้ยงแพะ ปล่อยฝูงแพะเที่ยวอยู่โดยทำนองที่กล่าวแล้ว
วันหนึ่งเสือเหลืองได้เห็นแม่แพะตัวหนึ่งออกทีหลัง จึงคิดว่า เราจักกินแม่แพะนั้น จึงยืนขวางประตูอยู่.
แม่แพะเห็นดังนั้น คิดว่า วันนี้เราจักไม่รอดชีวิต เราจักปราศรัยด้วยวาจาอ่อนหวานกับเสือเหลืองนี้
ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง ทำหัวใจเสือเหลืองให้อ่อนโยน (แล้ว) รักษาชีวิตไว้ คิดดังนี้แล้ว
จึงกระทำปฏิสันถาร (การต้อนรับ) กับเสือเหลืองนั้นมาแต่ไกล เมื่อมาถึง
จึงกล่าวคาถา (คำพูด) ที่ ๑ ความว่า :-

คุณลุงครับ ท่านพออดทนได้หรือ พอจะเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปได้อยู่หรือ
ท่านมีความสุขดีหรือ มารดาของฉันได้ถามความสุขของท่าน
เราทั้งหลายปรารถนาความสุขแก่ท่านเหมือนกัน.

เสือเหลืองได้ฟังดังนั้น คิดว่า แม่แพะฉ้อโกงตัวนี้ ประสงค์จะล่อลวงเรา ด้วยคิดว่า ลุง
ไม่รู้ว่าเราเป็นผู้ร้ายกาจ ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ความว่า :-

แน่ะแม่แพะ เจ้ามารังแกเหยียบหางของเราได้ วันนี้เจ้าสำคัญว่า
จะพึงพ้นความตาย ด้วยวาทะว่า ลุง หรือ ?

คาถา (คำพูด) นั้น มีความหมายว่า แน่ะแม่แพะ. เจ้ามาแกล้งรังแกเหยียบหางเรา
วันนี้ เจ้าคงจะเข้าใจว่า จะพ้นจากความตาย ด้วยเสแสร้งแกล้งกล่าวคำว่า ลุง
เจ้าอย่าได้มั่นหมายอย่างนี้เลย.

แม่แพะได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่านลุง ขอท่านอย่าได้ทำอย่างนี้เลย
แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ความว่า :-

ท่านนั่งผินหน้าตรงทิศบูรพา ฉันก็ได้มานั่งอยู่ตรงหน้าท่าน
ไฉนฉันจะเข้าไปเหยียบหางของท่าน ซึ่งอยู่เบื้องหลังได้เล่า.

ลำดับนั้น เสือเหลืองกล่าวกะแม่แพะว่า แน่ะแม่แพะ เจ้าพูดอะไร
ที่ที่จะพ้นจากหางของเราไปไม่มี. ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๔ ความว่า :-

ทวีปทั้ง ๔ ทั้งมหาสมุทรและภูเขามีประมาณเท่าใด
เราเอาหางของเราวงที่มีประมาณเท่านั้นไว้หมด เจ้าจะงดเว้นที่ที่เราเอาหางวงไว้นั้นได้อย่างไร ?

แม่แพะได้ฟังดังนั้น คิดว่า เสือเหลืองนี้ลามก หาติดอยู่ในถ้อยคำที่ไพเราะไม่
กลับเป็นศัตรูกล่าวเสียดแทงเรา ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๕ ความว่า :-

ในกาลก่อน มารดาบิดาก็ดี พี่น้องทั้งหลายก็ดี
ได้บอกความเรื่องนี้แก่ฉันแล้วว่าหางของท่านผู้ประทุษร้ายยาว ฉันจึงมาทางอากาศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺขึสุ ความว่า เมื่อก่อนมารดาบิดาก็ดี
ญาติพี่น้องทั้งหลายก็ดี ได้บอกความเรื่องนี้ไว้แก่เราแล้ว
บทว่า สมฺหิ ความว่า เรานั้นทราบความจากสำนักมารดาบิดา ญาติพี่น้องว่า
หางของท่านผู้ประทุษร้ายยาว เพื่อรักษาหางของท่าน (ฉัน) จึงมาทางอากาศ.

ลำดับนั้น. เสือเหลืองกล่าวว่า เรารู้ว่าเจ้ามาทางอากาศ
แต่เมื่อมา เจ้าได้มาทำภักษาหารของเราให้พินาศ ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๖ ความว่า :-

แน่ะแม่แพะ ก็เพราะว่า ฝูงเนื้อเห็นเจ้ามาในอากาศ
จึงพากันหนีไปเสีย ภักษาหารของเรา เจ้าทำให้พินาศหมดแล้ว.

แม่แพะได้ฟังดังนั้น ก็กลัวมรณภัย เมื่อไม่อาจหาอุบายอย่างอื่นมาแก้ไขได้ จึงร้องวิงวอนว่า

ข้าแต่ลุง ท่านอย่าได้ทำกรรมหยาบช้าอย่างนั้นเลย จงให้ชีวิตแก่ข้าพเจ้าเถิด.
เสือเหลืองได้ตะครุบแม่แพะซึ่งกำลังร้องวิงวอนอยู่ ฆ่ากินแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอภิสัมพุทธคาถา ๒ คาถาความว่า :-

เมื่อแม่แพะวิงวอนอยู่อย่างนี้ เสือเหลืองผู้มีเลือดเป็นภักษาหารก็ขม้ำคอ
วาจาสุภาษิต (ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดีแล้ว) มิได้มีในหมู่บุคคลผู้ประทุษร้าย.

เหตุผล สภาพธรรม วาจาสุภาษิตมิได้มีในบุคคลผู้ประทุษร้ายเลย
บุคคลพึงพยายามหลีกไปให้พ้นบุคคลผู้ประทุษร้าย
ก็บุคคลผู้ประทุษร้ายนั้น ย่อมไม่ยินดีคำสุภาษิตของสัตบุรุษทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุหํฆโส ได้แก่ เสือเหลืองผู้มีโลหิตเป็นภิกษา คือผู้ดื่มกินซึ่งโลหิต.

บทว่า คลกํ อนฺธาวมทฺที ความว่า เสือเหลืองขม้ำคอ ฉีกเนื้อ ดื่มเลือดกิน.

บทว่า สุภาสิตํ ได้แก่ ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว.
อธิบายว่า คำอันเป็นสุภาษิตทั้งหมดนั้นย่อมไม่มีในบุคคลผู้ประทุษร้าย.

บทว่า นิกฺกมฺเม ทุฏฺเฐ ยุญฺเชถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลพึงทำความเพียรก้าวให้พ้นคนใจร้าย.

บทว่า โส จ สพฺภิ น รชฺชติ ความว่า ก็เพราะบุคคลใจร้ายนั้น
ย่อมไม่ยินดี คือไม่สนใจคำสุภาษิตอันสุนทรของสัตบุรุษทั้งหลาย....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูตรงนี้อีกนิดนะครับ
แล้วคำว่าพระพุทธรูปที่ปรากฏ ในพระไตรปิฎก นี้หมายความถึงอย่างไร
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

การออกจากมรรคของภิกษุนั้น ย่อมมีในขณะนั้น. ทานแม้นี้ ชื่อว่าให้แล้ว
แก่ภิกษุผู้มรรคสมังคี. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นนั่ง ณ วิหาร หรือ โรงฉัน
อุบาสกทั้งหลายถือบาตรไปสู่เรือนของตนแล้ว ใส่ขาทนียะและโภชนียะ. การ
ออกจากมรรคของภิกษุนั้น ย่อมมีในขณะนั้น . ทานแม้นี้ ชื่อว่าให้แล้วแก่ภิกษุ
ผู้มรรคสมังคี. พึงทราบความที่ทานอันบุคคลให้แล้วแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งโสดาปัตติผลนั้น เหมือนน้ำในลำรางไม่อาจนับได้ฉะนั้น. พึงทราบความที่
ทานอันบุคคลให้แล้วในบุคคลทั้งหลาย มีพระโสดาบันเป็นต้น ดุจน้ำในมหา-
สมุทรแล ในบรรดามหานทีนั้น ๆ เป็นอันนับไม่ได้. พึงแสดงเนื้อความนี้
แม้โดยความที่ทำฝุ่นในสถานสักว่าลานข้าวแห่งแผ่นดินเป็นต้น จนถึงฝุ่นทั้ง
แผ่นดิน อันประมาณไม่ได้.
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภว่า ก็ทักขิณา ๗ อย่างนี้.
ทรงปรารภเทศนานี้ ที่ตรัสว่า ดูก่อนโคตมี พระนางจงถวายสงฆ์เถิด เมื่อ
ถวายสงฆ์แล้ว จักเป็นอันพระนางได้บูชาทั้งอาตมาภาพและสงฆ์ เพื่อทรง
แสดงว่า ทานที่ให้ในฐานะ ๗ นั้น เป็นอันชื่อว่าถวายสงฆ์แล้ว. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า พุทฺธปฺปมุเข อุภโตสงฺเฆ ความว่า สงฆ์นี้คือ ภิกษุสงฆ์
ฝ่ายหนึ่ง ภิกษุณีสงฆ์ฝ่ายหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง ชื่อว่า
สงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. บทว่า อย ปมา ความว่า ชื่อว่า
ทักขิณา มีประมาณเสมอด้วยทักขิณานี้ไม่มี. ก็ทักขิณาทั้งหลายมีทักขิณาที่สอง
เป็นต้น ย่อมไม่ถึงทักขิณาแม้นั้น. ถามว่า ก็เมือพระตถาคตปรินิพพานแล้ว
อาจเพื่อถวายทานแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขหรือ. ตอบว่า
อาจ. อย่างไร. ก็พึงตั้งพระพุทธรูปที่มีพระธาตุในฐานะประมุขของสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ในอาสนะ วางตั้ง ถวายวัตถุทั้งหมดมีทักขิโณทกเป็นต้นแด่พระศาสดาก่อนแล้ว
ถวายแด่พระสงฆ์ ๒ ฝ่าย
. ทานเป็นอันชื่อว่าถวายสงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้า

ลองพิจารณาคำอธิบายตรงนี้อีกนิดนะครับ
อันดับแรกเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า
"พระไตรปิฎก" หมายถึง คำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรงซึ่งประกอบด้วยสามหมวดใหญ่คือ

- หมวดพระวินัย
- หมวดพระสูตร
- หมวดพระอภิธรรม


พระไตรปิฎกทั้งสามหมวดดังว่ามานี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในโลกเลย
ถ้าหากว่าไม่มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติตรัสรู้ขึ้นมาก่อน

เพราะว่าในบรรดาพระอรหันต์
ผู้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาทั้งหลายนั้นก็สามารถแยกออกได้อีกสามประเภทคือ

- พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
- พระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้า
- พระอรหันตสาวก

พระไตรปิฎกถือเป็นภารกิจพิเศษสุด
จะต้องเป็นบุคคลผู้พิเศษสุดอย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
จึงจะสามารถทำให้พระไตรปิฎกเกิดขึ้นมาได้ในโลก
ส่วนพระอรหันต์อีกสองประเภทนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้พระไตรปิฎกเกิดขี้นมาได้โดยประการทั้งปวง

เมื่อพระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นผู้ให้กำเนิดพระไตรปิฎก
พระสาวกทั้งหลายที่ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระองค์ตามพระไตรปิฎกแล้วเกิดความรู้ขึ้น
ก็ได้อธิบายขยายความในพระไตรปิฎกให้ละเอียดลึกซึ้งแยบยลออกไปอีก
ผู้ที่อธิบายขยายความในพระไตรปิฎกออกไปอีกนี่แหละเรียกว่า "พระอรรถถาจารย์"

ข้อความที่เป็นพระพุทธพจน์หรือพระไตรปิฎกนั้นจะแยกต่างหากจากความเห็นของพระอรรถกถาจารย์
ที่ได้อธิบายพระพุทธพจน์อีกทีหนึ่ง พระพุทธพจน์นั้นจะยกไว้เป็นหลักและเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น
ส่วนคำอธิบายหรือความเห็นของพระอรรถกถานั้นมีอยู่มากมายหลายท่าน
เพราะพระอรรถกถาจารย์ดังว่ามานั้นมีอยู่เยอะแยะหลายองค์

เมื่อพระอรรถกถาจารย์มีอยู่มากมายหลายองค์ - หลายความเห็น
ดังนั้นการอธิบายขยายความพระพุทธพจน์ของพระอรรถกถาเองบางครั้งก็ขัดแย้งกัน
เพราะความเห็นและคำอธิบายของพระอรรถกถาที่ขัดแย้งกันเองนี่แหละ
จึงทำให้พระพุทธศาสนาแตกแยกออกไปมากมายหลายนิกาย - หลายลัทธิ
ถึงแม้พระอรรถกถาจารย์หล่านั้นจะเป็นพระอรหันตสาวกก็ตาม ก็ยังมีความเห็นที่ขัดแย้งกันได้
เพราะนี่ก็คือธรรมดาอันหนึ่งของความรู้ในระดับพระสาวกที่ย่อมจะไม่ทราบรายละเอียดของธรรมชาติ
ได้ทั่วถึง - รอบคอบ - หมดจด ดังเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ถ้าหากกล่าวถึงความรู้ของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์แล้วย่อมเหมือนกันหมด
พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์แม้จะมีมากมายเท่าไหร่ก็ตาม ย่อมจะกล่าวธรรมแบบเดียวกัน
ย่อมจะไม่กล่าวธรรมที่ขัดแย้งกัน เพราะความขัดแย้งกันเองของความเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่มี

ส่วนข้อความที่ยกมานั้นก็เป็นข้อความในส่วนความเห็นของพระอรรถกถาจารย์
ไม่ใช่พระดำรัสของพระพุทธเจ้าแน่นอน และพระอรรถกถาจารย์ที่ท่านอธิบายข้อความตรงนี้
ก็เป็นพระอรรถกถาจารย์ที่อยู่ในลังกา และอาศัยอยู่ในคณะมหาวิหาร
ข้อความในการอธิบายตรงส่วนนี้จะต้องถูกรจนาขึ้นในระหว่างประมาณพ.ศ. 500 - 900

เพราะพระพุทธโฆษาจารย์ซึ่งเป็นพระภิกษุที่อินเดียผู้มีความรู้ความสามารถได้เข้าไปถึงเกาะลังกา
และได้แปลพระคัมภีร์ของพระอรรถกถาจาย์ชาวลังกาซึ่งได้รจนาไว้เป็นภาษาสิงหลให้กลับเป็นภาษาบาลี
ก็ประมาณพ.ศ. 900 กว่าๆเกือบถึง พ.ศ. 1000 แล้ว
และพระพุทธศาสนาได้เริ่มเข้าไปเจริญแพร่หลายในเกาะลังกาก็ประมาณ พ.ศ. 400
โดยพระมหินทรเถระ หลังจากเสร็จสิ้นการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 3 ที่เมืองปาฏลีบุตร

เมื่อย้อนคืนกลับไปดูประวัติศาตร์ก็จะเห็นได้ว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนั้น
พระพุทธรูปที่หล่อกันขึ้นมาภายหลังนี้ ได้แผ่อิทธิพลมาถึงเกาะลังกาด้วย
ดังนั้นที่เกาะลังกาซึ่งมีพื้นที่อยู่ทางตอนใต้คงจะมีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น
เหมือนกับพวกที่นับถือพระพุทธศาสนาทางตอนเหนือแล้วก็บรรจุพระบรมธาตุเอาไว้

ทีนี้ความเห็นของพระอรรถกถาจารย์ในส่วนนี้ก็คือ ท่านจะกล่าวให้เห็นถึงการถวายทานที่ผลมากที่สุดว่า
ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานไปนานแล้วก็ตาม แต่พวกเราชาวพุทธก็ยังสามารถที่จะถวายทาน
ที่มีผลมากที่สุุดให้เหมือนกับครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ได้

โดยถวายทานแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งภิกษุและภิกษุณี
แล้วก็เอาพระพุทธรูปที่หล่อกันขึ้นมาและก็บรรจุพระธาตุไว้ด้วยนี้แหละมาตั้งไว้ตรงกลางของสงฆ์สองฝ่ายแล้วก็ิเริ่มถวายทานไปตามลำดับ ทำเช่นนี้ก็ได้ชื่อว่าถวายทานในสงฆ์สองฝ่าย
ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว แต่ก็อย่าลืมว่านี่ก็เป็นความเห็นของพระอรรถกถาจารย์นะ

แต่ในพระดำรัสของพระพุทธเจ้าโดยตรงที่อยู่หน้า 394 นั้น
พระองค์หมายถึงตอนที่พระองค์ยังมีพระชมม์อยู่เท่านั้น
ไม่ได้หมายเอาทั้งตอนที่มีพระชนม์อยู่และตอนที่ปรินิพพานแล้ว

เพราะตอนที่มีพระชนม์อยู่ทานอันไหนที่พระองค์ควรเสวยก็จะได้เสวย
ทานส่วนไหนที่ควรจะไ้ด้ใช้สอยพระองค์ก็จะได้ใช้สอย

แต่เมื่อปรินิพพานแล้วก็ไม่มีอะไรอีกแล้่ว...

อ้อ...ลืมบอกไปอีกนิดนึงว่าในพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม มหามกุฏราชวิทยาลัยนี้
ก็ยังมีอยู่อีกหลายที่ - หลายแห่ง ที่กล่าวถึงพระพุทธรูป แต่ทุกๆ ที่ ที่กล่าวถึงพระพุทธรูปที่ทำกันขึ้นมาภายหลังนั้นเป็นคำกล่าวและเป็นความเห็นของพระอรรถกถาจารย์ทั้งสิ้น

แต่ในส่วนของพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าโดยตรงแล้ว
ไม่มีเลยที่จะตรัสถึงเรื่องของพระพุทธรูปหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วแต่ประการใด




จากข้อความทั้งหมดที่นำมาให้ทุกท่านได้อ่าน ได้พิจารณานี้ ก็เพียงเพื่อให้ทุกท่านได้ใคร่ครวญ พิจารณาให้รอบด้าน ให้ศึกษาพระไตรปิฎกอย่างจริงจัง รอบคอบนะครับ

ยิ่งเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธรูป เครื่องรางของขลังต่างๆ นี้ เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อที่สืบทอดต่อๆ กันมา
การจะไปกล่าวว่าใครที่นับถือกราบไหว้พระพุทธรูปหรือเครื่องรางของขลังเป็นพวกงมงายก็ไม่ควรนะครับและการจะไปกล่าวว่าพวกที่ไม่กราบไหว้พระพุทธรูปป็นพวกบ้า พวกโง่ ก็ไม่ควรเช่นเดียวกัน

ถ้าจะให้เกิดความเป็นธรรมจริงๆ ก็ต้องเอาพระไตรปิฎก มาเปิดมาศึกษา ว่ากันไปเป็นบท เป็นเรื่อง กันให้ชัดเจนเลยดีกว่าครับ

เพราะถ้าผู้ที่กราบไหว้พระพุทธรูปนั้นเป็นพระสงฆ์ บาปกรรมที่ไปตำหนิท่านก็จะเกิดขึ้นได้
และถ้าผู้ที่ไม่กราบไหว้พระพุทธรูปนั้นเป็นพระสงฆ์ บาปกรรมที่ไปตำหนิท่านก็จะเกิดขึ้นกับเราได้อีกเช่นกันนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความคิดผมนะครับ
ก่อนที่จะบวช
ยังไม่ได้ศึกษาและยังไม่เข้าใจว่าอะไร คือ สิ่งที่ถูกต้อง อะไรคือสิ่งที่เป็นธรรมไม่เป็นธรรมของพระพุทธองค์ อะไรเป็นประเพณี ก็ต้องทำตามท่านที่บวชก่อนเพราะคิดว่าท่านต้องเข้าใจและทำในสิ่งที่เป็นธรรมและถูกต้อง

เมื่อบวชแล้ว
ได้ศึกษาแล้ว ได้ปฏิบัติแล้ว รู้และเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่พระพุทธองค์สั่งสอน อะไรคือสิ่งที่ พระอรรถกถาจารย์ สั่งสอนไว้ ก็ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระศาสดาและคำสอนของท่านก็ยังมีปรากฎอยู่ แล้วผู้ที่เป็นสาวกผู้ที่ปฏิญาณว่าจะมอบกายถวายชีวิตเพื่อทำตามที่พระพุทธองค์สอนซึ่งก็จะขัดกับคำสอนของพระอรรถกถาจารย์อย่างแน่นอน หรือแม้แต่ขัดกับพระเพณีอย่างแน่นอน แล้วจะไปกล่าวหาว่าท่านเหล่านั้น เนรคุณหรืออกตัญญู ยังไง และเราก็ต้องศึกษาต่อไปด้วยว่า เนรคุณอะไร เนรคุณใคร

การปฏิบัติตามธรรม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้องตามที่พระองค์สอน เนรคุณ เหรอ
การไม่ปฏิบัติตามพระอรรถกถาจารย์(สาวก) เป็นการเนรคุณ พระพุทธเจ้า เหรอ

ท่านผู้ที่รู้แจ้ง เช่น หลวงมหาบัวท่านก็กราบพระพุทธรูป แต่การกราบของท่านไม่เหมือนการกราบของคนทั่วไปที่เขากราบกัน คือ เมื่อท่านกราบท่านจะนึกถึงพระพุทธเจ้าตรงที่เป็นพระพุทธเจ้าจริงๆ ไม่ใช้กราบ อิฐ หิน ปูน ทราย ฯลฯ ที่เขาหล่อขึ้นและคิดว่านั่นคือตัวแทนพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธองค์ก็กล่าวกับพระอานนท์ไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ตัวแทนของพระพุทธองค์ เมื่อพระองค์นิพพานแล้วก็คือ
- ธาตุเจดีย์ (คือ พระธาตุของพระองค์)
- บริโภคเจดีย์ (คือ สิ่งที่พระองค์เคยใช้สอยเมื่อคราวที่ยังทรงพระชนม์อยู่)
- อุทเทสิกเจดีย์ (คือ พระธรรมวินัยทั้งหมดที่พระองค์ประกาศไว้)

แล้วทำไมท่านถึงไม่สอนชาวบ้านหละ อันนี้ก็เรียนถามหลวงตาเอาเองก็แล้วกันนะครับว่าทำไม ว่าเพราะอะไร

แล้วส่วนตัวผมเองหละ
ผมก็ยังกราบพระพุทธรูปอยู่แต่ก็ไม่ได้กราบแบบเดิมๆ หรือกราบด้วยเข้าใจแบบเดิมๆ และแบบเดิมๆ ที่ว่าก็คือ เมื่อเห็นพระพุทธรูปก็กราบด้วยคิดว่าท่านศักดิ์สิทธิ์ สวยงาม น่าเลื่อมใส ศรัทธา พระพุทธรูปที่ไหนเขาลือว่าศักดิ์สิทธิ์ก็จะไปกราบไว้ บูชา พระพุทธรูปองค์ไหนดีก็เสาะแสวงมาสะสม นั่นก็เป็นผลมาจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ว่าอะไรคือพุทธศาสนาที่ถูกต้อง แต่ตอนนี้ก็พอเข้าใจแล้วพอรู้บ้างแล้ว(พุทธ ธรรม สงฆ์ อยู่ที่ใจผมระลึกถึงตอนไหน ผมก็ยกมือไว้ได้ตอนนั้น จะกราบตรงไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเห็นพระพุทธรูปก่อนหรือต้องอาศัยพระพุทธรูปในการระลึกถึง พุทธ ธรรม สงฆ์ และไม่ยึดติดในรูป ในเหรียญว่าเป็นสรณะเป็นที่พึ่งอีกต่อไป ใจไม่ไปยึด ไม่ไปเกาะ เมื่อไปที่ไหน ทำอะไร มันก็โล่ง เบาสบาย)
พระพุทธองค์ท่านสอนไม่ให้ไปยึดติดในรูปใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อไปติดยึดมันก็หนัก ใครไปทำพระพุทธรูปก็คิดว่าไปทำกับพระพุทธเจ้า ก็รู้สึกอึดอัด ไม่พอใจ ไม่สบายใจ แล้วพวกที่เอาพระพุทธรูปมาวางขายตามข้างถนนหนทาง ซื้อขายกันอย่างโจ่งแจ้งหละ ไม่ถือว่าเป็นการลบหลู่ ดูหมิ่นพระพุทธเจ้าเหรอ เคารพนับถือแล้วมาขายกินทำไม

ในความคิดผมแล้ว
- พุทธะ คือ ความรู้ ผมกราบตรงความรู้แจ้งนั้น ไม่ได้กราบตัวของสมณะโคดม
- ธรรมะ คือ คำสอน ผมกราบพระไตรปิฎก ตรงธรรมต่างๆ ที่พระองค์ทรงสอน ทรงบัญญัติไว้
ไม่ได้กราบกระดาษหรือตัวหนังสือหรือตู้พระไตรปิฎก
- สังฆะ คือ ผู้ที่รู้ตาม ผมกราบความรู้ของพระผู้ที่สามารถปฏิบัติจนสามารถรู้ตามพระพุทธองค์ได้ หรือ
พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถึงแม้จะยังไม่สามารถรู้ตามพระพุทธองค์ได้ก็ตามที ไม่ใช่กราบ
คนหัวโล้นและห่มผ้าเหลือง

ผมทำแบบนี้ ผม อกตัญญู ต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างไร

การเปิดกระทู้นี้ก็ดีมากเพราะจะทำให้คนได้ศึกษา ได้ทำความเข้าใจ ว่าสิ่งไหน คือสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ กันแน่ แต่ก็ต้องพึงใช้สติอย่างมากหน่อย เพราะถ้าใช้ความคิดเห็นส่วนตัวมาตัดสิน มาตำหนิ มาวิจารณ์ โดยไม่ใช้หรือไม่เอาคำของพุทธองค์มาเป็นพื้นฐานในการมาตัดสิน มาตำหนิ มาวิจารณ์ ก็จะเกิดผลเสียหาย(ถ้าพระท่านทำถูกคนไปตำหนิก็บาป ถ้าพระทำผิดคนไปตำหนิก็ได้บุญ)

ข้อคิดสักนิดนะครับ
การจะกล่าวหาใครก็ต้องกล่าวด้วยความเป็นธรรมของพระพุทธองค์ ไม่ใช่ด้วยความคิดเห็นของตนเอง หรือความคิดเห็นของคนหมู่มาก ถ้าผิดจากธรรมของพุทธองค์แล้วก็คือผิด ถึงจะมีความหมู่มากว่าถูก มันก็ผิดอยู่เหมือนเดิม

ฉะนั้นก็ศึกษาให้เข้าใจ ให้ทั่วถึง ให้รอบด้านในเรื่องนั้นๆ เสียก่อน ก่อนที่จะไปตัดสินหรือกล่าวหาว่า เขาทำผิด เขาเข้าใจผิด เขาเนรคุณ เขาอกตัญญู ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่าการจะมาตัดสินโดยเอาความสะใจ เอาความคิดเห็นส่วนตัวมาเป็นบรรทัดฐานวัดใครต่อใคร ว่าดี ว่าชั่ว นะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: จากอ่านพระไตรปิฎกมาเจอพระสูตรนี้ ก็หาอ่านอีกหลาย ๆ พระสูตร พระพุทธองค์ตำหนิรูปทั้งหมด และพระสูตรนี้ก็ทำให้หวาดเสียวกับการไปนรก กับลัทธิมหายานที่เขาคากับเรื่องนี้ และเอามปะปนกับคำสอนที่แท้จริง แทนที่ชาวพุทธจะได้พระธรรมคำสอนไปดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องให้เหมาะกับอัตภาพของตัวเองที่เกิดมาแล้วในชาตินี้ และควรดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไรในภายภาคหน้า ไม่รู้ไปเอาอะไรมาปนเปื้อนให้มั่วไปหมด แล้วคนที่ต้องการศึกษาคำสอน "พุทธะ" อย่างแท้จริง ก็หลงอยู่ในวังวนของวัตถุเหล่านั้นอยู่นาน ๆ กว่าจะหลุดมาได้ เนี๋ย มันผิดหรือถูก ขอคัดลอกมาให้อ่าน 2 พระสูตรนะ ผู้ทีกำลังศึกษากลับไปอ่านพระไตรปิฎกให้เข้าใจ จะได้ถอนตัวเองจากลัทธิความเชื่อที่เราได้ถูกปลูกฝังมาช้านานกับพิธีกรรม ที่ยุ่งยากกับชีวิตเรามากพระพุทธองค์สอนให้เรารู้จักเกิดแก่เจ็บตาย และการครองชีวิตตามฐานนะอัตภาพของเรา อยู่ร่วมกันกับชาวโลกทิพย์อย่างถูกต้อง (โดยไม่ไปสักการะบูชาเพื่อวอนขอความช่วยเหลือจากเขาคิดถึงเขาทำบุญอุทิศให้เขา แต่การทำบุญนั้นไม่ใช่ต้องไปสร้างอะไรใหญ่โตนักเพราะแค่ข้าวทัพพีเดียวบุญนั้นออกไปเป็นมหาศาลแล้ว)ไม่ได้สอนเรื่องสอนเรื่องการอ้อนวอน เสกเป่าหรือการร่ำรวยด้วยอบายมุขเช่น การซื้อหวยหวังรวย ธรรมชาตินี้เราสร้างมาอย่างไร และการประพฤติบัติตัวอย่างไรในชาตินี้เท่านั้นที่จะทำให้เรารวยได้ ท่านที่หวังรวยอย่าเอาเปรียบธรรมชาติ ต้องทำเองเท่านั้น ซื้อหวยถูกรางวัลที่ 1 แล้วเอาเงินนั้นไปทำบุญจนหมดซัก100 ครั้ง 1000 ครั้งก็ไม่พ้นไปนรก :b34:


รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มี และทำไม่ได้ เล่ม 32 หน้า 214

อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพ ( ความเป็นตัวตน ) เรียกว่ารูปเปรียบ
ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี
อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น
ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทราย (แม้เพียงนิ๊ดนึง)
ให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.

อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ
เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต นั้นไม่มี



ธรรม – วินัย ที่พระองค์ตรัสต่างหากเล่า คือตัวแทนพระศาสดา เล่ม 13 หน้า 320

....ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์)
มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ
ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา...... :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระครูอมรศีลวิสุทธ์ ผู้ยังไม่ลืมที่ได้กราบพระพุทธรูปและมีคนกราบตนต่ออีกที


กราบนมัสการพระคุณเจ้า

ที่วัดท่านมีพระไตรปิฎกอ่านหรือยัง ถ้ามีแล้วอย่าเก็บใส่ตู้ล็อคกุญแจไว้ เอาออกมาให้ญาติโยมอ่านเขาจะได้รู้ว่านะโมแปลว่าอะไร พุทธะ แปลว่าอะไร คุณของพระพุทธเจ้ามีอย่างไรบ้าง น่าศรัทธาเลื่อมใสในพระธรรมคำสอน มากน้อยอย่างไร เขาจะได้ไม่ติดอยู่ที่พิธีกรรมและการอ้อนวอน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างถึง "เพราะอย่างไรพุทธกับพรามหณ์ก็แยกกันไม่ออกมาตั้งแต่เรายังไม่เกิด และก็ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ด้วยซ้ำ"

พุทธศาสนา เป้าหมายสูงสุดคือ นิพพาน
พรามหณ์ บูชาเทพเจ้า(พระพรหม,พระนารายณ์,.....)

มันคนละเรื่องเลยนะครับแล้วทำไมจะแยกกันไม่ออก

ศาสนาพรามหณ์มีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้หนะก็ใช่ มีมาก่อนแล้วทำไมหละครับ ท่านมาตรัสรู้ทีหลังแล้วไงหละครับ สิ่งไหนหละที่ชาวพุทธ หรือที่บอกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธ จะเลือกปฏิบัติตามใครหละครับ

ก็ใช่ว่า เรา เรียนตามพระพุทธเจ้าแล้วพอเรารู้ตามแค่นิดๆ หน่อยๆ ก็จะดูถูกพระพุทธองค์ หาใช่อย่างนั้นไม่ ก็เราเรียนธรรมตามพระไตรปิฎก ตามคำสอนของพระพุทธองค์เราก็เคารพกราบไหว้ตามที่พระองค์สอน เราไม่ได้เรียนตามพระพุทธรูปนี่ครับ

อ้างถึง "รวมทั้งท่านเอง ที่ไม่ให้หลงงมงายในพิธีการต่างๆ ท่านก็รื้อหิ้งพระที่บ้านท่านทิ้งด้วยนะ อย่าให้มีพิธีการ แม้แต่ไปที่วัดท่านก็ไม่ต้องกราบพระสงฆ์ ที่มาจากการกราบอิฐหินปูนทรายเลย เพราะมันจะเป็นการหลงงมงายในสิ่งที่พระพุทธเจ้า ไม่ได้สั่งสอนไว้"

สำหรับผมแล้วพระพุทธรูปที่ผมเคยสะสมมาก็ไม่เท่าไหร่แค่ไม่กี่สิบองค์ ผมก็ไม่มีแล้ว ไม่เอาเก็บไว้แล้ว
กราบพระสงฆ์หนะผมก็ต้องกราบแน่เพราะท่านปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ จนเป็นพระสงฆ์

แต่สำหรับภิกษุวัดไหนๆ ก็ตามที่ปฏิบัติไม่เหมาะสมแก่สมณสารูป ผมก็ไม่เกี่ยวข้องด้วยแน่นอนครับ

ประเพณีที่ผิดๆ ผมก็ไม่ไปเกี่ยวข้องด้วย แต่ถ้าทำถูกต้องผมก็ร่วมด้วยอย่างเต็มที่ ก็เป็นปกติอยู่แล้วครับ

...อ้างถึง "อย่าไปกราบมัน"

ตรงนี้ก็ต้องให้พระที่ท่านกล่าวนั้นชี้แจงครับ ว่าที่ท่านกล่าวอย่างนั้น หมายความว่าอย่างไร
มันในที่นี้ คือพระพุทธเจ้า หรืออิฐ หิน ปูน ทราย อย่างว่ามา

ผมว่าถ้าเรากล่าวหาท่านไป โดยที่ท่านไม่ได้มีโอกาสมาชี้แจง มันก็ไม่เป็นการยุติธรรมกับท่านเท่าไหร่นะครับ เอาเป็นว่า ความคิดผมละกัน ผมว่าการไม่กราบพระพุทธรูปนี่ก็ไม่น่าจะถึงกับอกตัญญูนะครับ

เปรียบเทียบกับการที่ แม่สั่งสอนลูกไม่ให้ลูกไปดื่มเหล้า เพราะเหล้ามันไม่ดี ทำให้เสียสุขภาพ ทำให้ขาดสติ ฯลฯ

ถ้าเราเป็นลูกแล้วเราทำอย่างนี้
1.เรากราบไหว้แม่ทุกวันสรรเสริญพระคุณแม่ทุกวัน แต่เราก็ไม่เคยทำตามที่แม่สั่งสอนเลย
และ
2.เราไม่เคยกราบแม่เลย หรือนานๆ กราบที แต่เราทำตามที่แม่สั่งสอนทุกอย่าง

แล้วท่านคิดว่า ทำอย่างข้อไหน แม่จะดีใจมากกว่ากันครับ และอย่างไหนถือว่าอกตัญญูหละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
มีแล้ว จะเอามาโยมอ่านนะหรือ ย๊ากมากๆๆ ด้วย ตัวเองก็อ่าน หลายรอบแล้ว

และยังมีโปรแกรมอยู่ในคอมด้วย วันไหนว่างๆ ไม่ได้เล่นอินเตอร์เนตก็อ่านอยู่ในคอม


:b2: เพราะพระสูตรนี้หรือเปล่าที่ท่านอ่านแล้ว :b25:

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 535

เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ
[๖๓๗] ท่านทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่
เวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อเก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์
ครั้งนั้น ชนทั้งหลายนั่งประชุมกันในราชบริษัท ภายในราชสำนัก ได้ยาก
ถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนาในระหว่างว่า ทองและเงินย่อมควรแก่พระสมณะเชื้อสาย
พระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน พระ-
สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรย่อมรับทองและเงิน ก็คราวนั้น นายบ้านชื่อ
มณีจูฬกะ นั่งอยู่ในบริษัทนั้นด้วย เขาได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า นาย พวกท่าน
อย่าได้พูดอย่างนั้น ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระ
ศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทอง
อันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน นายบ้านชื่อมณีจูฬกะสามารถชี้แจงให้
บริษัทนั้นเข้าใจ
ครั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ชน
ทั้งหลายนั่งประชุมกันในราชบริษัทภายในราชสำนัก ได้ยกถ้อยคำนี้ขึ้นสนทนา
ในระหว่างว่า ทองและ.เงินควรแก่พระสมณะเธอสายพระศากยบุตร พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรยินดีทองและเงิน พระมณะเชื้อสายพระสากยบุตรรับ
ทองและเงิน เมื่อชนทั้งหลายพูดอย่างนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าได้พูดกะบริษัท
นั้นว่า นาย พวกท่านอย่าได้พูดเช่นนี้ ทองและเงินไม่ควรแก่พระสมณะเชื้อสาย

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 536

พระศากยบุตร พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรไม่รับทองและเงิน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมี
แก้วและทองอันวางเสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ข้าพระพุทธเจ้าสามารถ
ชี้แจงให้บริษัทนั้นเข้าใจได้ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าพยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าว
คล้อยตามพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำเท็จ
ชื่อว่าพยากรณ์ธรรมอันสมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูป ผู้กล่าวตาม
วาทะ ย่อมไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนหรือ พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอาละ นายบ้าน เธอพยากรณ์อย่างนี้
ชื่อว่ากล่าวคล้อยตามเรา ชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ชื่อว่า พยากรณ์ธรรม
สมควรแก่ธรรม และสหธรรมิกบางรูปผู้กล่าวตามวาทะย่อมไม่ถึงฐานะที่ควร
ติเตียน ดูก่อนนายบ้าน ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
โดยแท้ สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรไม่ยินดีทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระ
ศากยบุตรไม่รับทองและเงิน สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรมีแก้วและทองอันวาง
เสียแล้ว ปราศจากทองและเงิน ทองและเงินควรแก่ผู้ใด แม้กามคุณทั้งห้าก็
ควรแก่ผู้นั้น กามคุณทั้งห้าควรแก่ผู้ใด เธอพึงจำผู้นั้นไว้โดยส่วน เดียวว่า มี
ปกติมิใช่สมณะ มีปกติมิใช่เชื้อสายพระศากยบุตร เราจะกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้ต้อง
การหญ้า พึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้ พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการเกวียน พึง
แสวงหาเกวียน ผู้ต้องการบุรุษ พึงแสวงหาบุรุษ แต่เราไม่กล่าวโดยปริยาย
ไร ๆ ว่า สมณะพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน.
ข้าพเจ้าผู้มีวาทะอย่างนี้ กล่าวสิ่งไม่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม สิ่ง
เป็นธรรมว่าเป็นธรรม สิ่งไม่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย สิ่งเป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
เขาหาว่า ด่า บริภาษอุบาสกอุบาสิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทำให้ไม่เลื่อมใส.

[


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 เม.ย. 2009, 13:23
โพสต์: 607


 ข้อมูลส่วนตัว


tanaphomcinta เขียน:
เพราะเคยได้ยินข่าวและเห็นออกข่าวกันอยู่พักหนึ่ง ตอนนี้หายเงียบเลย

เพราะพระองค์นั้นก่อนที่จะได้มาเป็นพระ หรือสงฆ์ก็ว่ากันไป การที่จริงก็ยัง
ไม่เป็นพระหรอก เป็นได้แต่เพียงสงฆ์สมมติเท่านั้นแหละ เพราะคนที่จะเป็นพระนั้น

ต้องระสังโยคได้ 3 ข้อ จึงจะเป็นพระได้ เรียกว่าพระโสดาบัน

แต่ที่ได้ยินคงเป็นโสดาดันมากกว่า

ตัวอย่างก็นางวิสาขามหาอุบาสิกานั้นไง

ที่ได้ยินข่าวมานั้น เป็นโสดาดันยังไม่พอ ยังเป็นคนเนรคุณอกตัญญูอีกด้วย

ไม่ใช้หัวแม่ท้าวคิดสักนิดหรือ ที่ตัวเองมานั่งให้เขากราบไหว้อยู่นี้

แต่ก่อนก็กราบทองเหลืองมากี่พันหนแล้วจึงได้มานั่งให้เขากราบ

พอได้ดีมี (ยาน) เข้าหน่อย แหมประกาศไม่ให้คนกราบทองเหลือง

ซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์องค์แทนของพระพุทธเจ้า

ถ้าตัวเองสำเร็จแล้ว ทำไมจะต้องมามัวหมองกับเรื่องแค่นี้

ไม่ใช้คนพ้นโลกเลย เขาเรียกว่าคนหลุดโลกมากว่า

หรือท่านอื่นมีความคิดว่าอย่างไรเชิญสะลาล่า

ไม่รู้ดิไม่กล้าออกความเห็นอ่ะ "อยากให้ออกไหมหล่ะ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ก็เพียงแต่ว่าต้องการอยากทราบว่า การกระทำอย่างนั้นเป็นการเณรคุณหรืออกตัญญู

หรือไม่ก็เท่านั้นเอง (ก็ตอบว่าใช้หรือไม่ใช้และอธิบายนิดหน่อยก็พอ)

แต่ท่านผู้ตอบทั้งหลายก็ยกโขยงโสงเสงมามากมายก่ายกอง

พระวินัย พระสูตร และอะไรอีกมากมาย

สงสัยว่าท่านจะอ่านพระไตรปิฎกมากเกินไปหรือเปล่าว


:b6: ท่านทำไมจบเร็วเสียหละยังคำตอบยังไม่หมดเลย

พระพุทธองค์สอนเรื่องการถามปัญหาเป็นแบบนี้


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 15

ได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ที่จะพึงตรัสในบัดนี้แก่ภิกษุเหล่านั้น มีอาทิว่า
กตโม จ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท. บรรดาบทเหล่านั้น กตโม จ
ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท เป็นกเถตุกัมยตาปุจฉา คำถามเพื่อจะตรัส
ตอบเอง.
จริงอยู่ การถามมี ๕ อย่าง คือ
การถามส่องความที่ยังไม่เห็น
การถามเทียบเคียงที่เห็นแล้ว
การถามตัดความสงสัย
การถามเห็นตาม(อนุมัติ )
การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง
การถาม ๕ อย่างเหล่านั้น มีความต่างกันดังต่อไปนี้ :-
การถามส่องความที่ยังไม่เห็นเป็นไฉน. ลักษณะแห่งคำถามตาม
ปกติ อันชนอื่นไม้รู้ ไม่เหิน ไม่ไตร่ตรอง ไม่พิจารณา ไม่แจ่มแจ้ง
ไม่ไขให้แจ้ง. บุคคลย่อมถามปัญหา เพื่อรู้เห็น ไตร่ตรอง พิจารณา
แจ่มแจ้ง ไขปัญหานั้นให้เห็นแจ้ง การถามนี้ ชื่อว่าการถามส่องความ
ที่ยังไม่เห็น.
การถามเทียบเคียงความที่เห็นแล้วเป็นไฉน. ลักษณะ (คำถาม )
ตามปกติ อันตนรู้เห็น ไตร่ตรอง พิจารณา แจ่มแเจ้ง ชัดเจนแล้ว
บุคคลนั้นย้อมถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น. การถามนี้ ชื่อ
ว่าการถามเทียบเคียงความที่ตนเห็นแล้ว.
การถามตัดความสงสัยเป็นไฉน ตามปกติบุคคลผู้แล่นไปสู่ความ
สงสัย. ผู้แล่นไปสู่ความเคลือบแคลง เกิดความคิดแยกเป็น ๒ แพร่งว่า
อย่างนี้ใช่หรือหนอ หรือมิใช่ หรือเป็นอย่างไร เขาจึงถามปัญหาเพื่อ
ตัดความสงสัย การถามอย่างนี้ ชื่อว่าการถามตัดความสงสัย.
การถามเห็นตาม (อนุมัติ ) เป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 16

ย่อมตรัสถามปัญหาเพื่อการเห็นตามของภิกษุว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอย่อม
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ภิกษุกราบทูลว่า รูป
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้น
เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า. พวกภิกษุกราบทูลว่า เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็รูปใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการแปรปรวน
เป็นธรรมดา ควรหรือเพื่อจะเห็นรูปนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่น
เป็นตัวตนของเรา. พวกภิกษุกราบทูลว่า การยึดถืออย่างนั้นไม่ควรพระ
เจ้าข้า. การถามอย่างนี้ ชื่อว่าการถามเห็นตาม.
การถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเองเป็นไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม
ตรัสถามปัญหา เพื่อใคร่จะตรัสตอบภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย สติ-
ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน เป็นต้น การถามนี้
ชื่อว่าการถามเพื่อจะตรัสตอบเสียเอง.
บรรดาการถาม ๕ อย่างเหล่านี้ สำหรับพระพุทธเจ้า ไม่มีการ
ถาม ๓ อย่างข้างต้นเลย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า อะไรที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งในกาล ๓ อย่าง หรือพ้นจากกาล ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
ชื่อว่า ไม้ทรงเห็น ไม่สว่าง ไม่ได้ไตร่ตรอง ไม่พิจารณา ไม้เห็นแจ้ง
ไม้แจ้งชัดแล้ว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเลย เพราะเหตุนั้น การถามเพื่อ
ส่องอรรถที่พระพุทธเจ้าเหล่านั้นยังไม่ทรงเห็นจึงไม่มี ก็สิ่งใดอันพระผู้-
มีพระภาคเจ้าทรงแทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของพระองค์ กิจด้วยการ
เทียบเคียงสิ่งนั้น กับ สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือพรหมอื่น
ของพระองค์ จึงไม่มี เพราะเหตุนั้น การถามเทียบเคียงความที่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ 17

เห็นแล้ว จึงไม่มี. ก็เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นไม่ทรง
สงสัยว่าอย่างไร ทรงข้ามความสงสัยได้ ขจัดความสงสัยในธรรมทั้งปวง
ได้ ฉะนั้น การถามตัดความสงสัยของพระองค์ จึงไม่มี ส่วนการถาม
๒ อย่างที่เหลือ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังมีอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า
ในคำถาม ๒ อย่างนั้น การถามเพื่อใคร่จะตรัสตอบเสียเอง ดังต่อไปนี้ :-
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทางจำแนกปัจจยาการด้วยการถาม
นั้น จึงตรัสว่า อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา เป็นต้น. ก็ในคำว่า
อวิชฺชาปจฺจยา ภิกฺขเว สงฺขารา เป็นต้นนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไป
นี้ :- เปรียบเหมือนบุคคลเริ่มกล่าวว่า เราจักพูดถึงบิดา ย่อมพูดถึงบิดา
ก่อนว่า บิดาของติสสะ บิดาของโสณะ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงเริ่มเพื่อตรัสปัจจัย เมื่อตรัสถึงธรรมมีอวิชชา
เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า อวิชฺชา-
ปจฺจยา สงฺขารา ดังนี้แล้ว จึงตรัสถึงธรรมที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น. แต่
ในที่สุดแห่งอาหารวรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสธรรมแม้ ๒ อย่าง
ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปฏิจจสมุปบาท (การอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น) และปฏิจจสมุปปันนธรรม แก่เธอทั้งหลาย.

พระพุทธองค์สอนการว่าปัญหาต้องกล้าถามแบบนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 671

๒. ปุณณิยสูตร
[๑๘๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณิยะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่บางครั้งพระธรรมเทศนาแจ่มแจ้ง
กะพระตถาคต บางครั้งไม่แจ่มแจ้ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มี
ศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหาเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่
แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา
เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ
ภิกษุผู้มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้าไปนั่งใกล้เพียงใด ธรรม
เทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้
มีศรัทธา...และเข้าไปนั่งใกล้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อม
แจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และเข้าไปนั่งใกล้
แต่ไม่สอบถามเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้ง
เพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และสอบถาม เมื่อนั้น
ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มี
ศรัทธา... และสอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตลงสดับธรรมเพียงใด ธรรม-
เทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้
มีศรัทธา... และเงี่ยโสตลงสดับธรรม แต่ฟังธรรมแล้วไม่ทรงจำไว้
เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 672

ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และฟังแล้วทรงจำไว้ เมื่อนั้น ธรรมเทศนา
ของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา...
และฟังแล้วทรงจำไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
เพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด
ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุ
เป็นผู้มีศรัทธา... และพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
แต่ไม่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเพียงใด
ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุ
เป็นผู้มีศรัทธา... และรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่
ธรรม เมื่อนั้น ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง ดูก่อนปุณณิยะ
ธรรมเทศนาของตถาคต มีปฏิญาณโดยส่วนเดียว อันประกอบด้วย
ธรรมเหล่านี้แล ย่อมแจ่มแจ้ง.
จบ ปุณณิยสูตรที่ ๒

อรรถกถาปุณณิยสูตรที่ ๒
ปุณณิยสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ๒ อย่าง. บทว่า
โน จ ปยิรุปาสิตา แปลว่า ไม่เข้าไปบำรุง. บทว่า โน จ ปริปุจฺฉิตา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 673

แปลว่า ไปสอบถามประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เหตุและมิใช่เหตุ.
บทว่า สมนฺนาคโต เป็นปฐมาวิภัติลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัติ.
อธิบายว่า สมนฺนาคตสฺส ผู้ประกอบแล้ว. บทว่า เอกนฺตปฏิภาณ
ตถาคต ธมฺมเทสนา โหติ ความว่า ธรรมเทศนาการแสดงธรรมของ
พระตถาคต แจ่มแจ้งโดยส่วนเดียว อธิบายว่า ย่อมแจ่มแจ้ง ย่อม
ปรากฏโดยส่วนเดียว.
จบ อรรถกถาปุณณิยสูตรที่ ๒

พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เรื่องการตอบปัญหาแบบนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 159

๒. ปัญหาสูตร
ว่าด้วยปัญหาพยากรณ์ ๔
[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญหาพยากรณ์ (การกล่าวแก้ปัญหา)
๔ อย่างนี้ ปัญหาพยากรณ์ ๔ คืออะไรบ้าง คือ
ปัญหาเป็นเอกังสพยากรณียะ(ต้องแก้โดยส่วนเดียว) ๑
ปัญหาเป็นวิภัชชพยากรณียะ (ต้องจำแนกแก้) ๑
ปัญหาเป็นปฏิปุจฉาพยากรณียะ (ต้องย้อนถามแล้วจึงแก้) ๑
ปัญหาเป็นฐปนียะ(ต้องงดแก้) ๑
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง
ปัญหาพยากรณ์อย่างหนึ่งพึงแก้โดย
ส่วนเดียว อีกอย่างหนึ่งพึงจำแนกแก้
อย่างที่ ๓ พึงย้อนถาม ส่วนที่ ๔ พึง
งดแก้.
ก็ภิกษุใดรู้การที่จะกล่าวแก้ปัญหา
เหล่านั้นในฐานะนั้น ๆ ท่านเรียกภิกษุเช่น
นั้นว่า ผู้ฉลาดในปัญหา ๔.
บัณฑิตผู้มั่นคง ยากที่ใครจะเทียบ
ยากที่ใครจะข่มเป็นผู้ลึกซึ้ง ยากที่ใครจะ
ทำลาย อนึ่งเป็นผู้ฉลาดในทางเจริญทาง
เสื่อมและในประโยชน์ ๒ ฝ่าย เว้นทาง
เสื่อมทางที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาทาง
เจริญทางที่เป็นประโยชน์ เพราะได้
ประโยชน์ จึงได้ชื่อว่า บัณฑิต.
จบปัญหาสูตรที่ ๒

การยกพระสูตรในพระไตรปิฎกมากล่าวอ้าง นั้นไม่ถูกต้องหรอกหรือ? ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ด้วยก็การอ่านการฟัง จดจำ ไปจำแนกพิจารณาใคร่ครวญ ไม่ใช่หรอกหรือ? ท่านทั้งหลาย :b10: (ใช้สัญญลักษณ์ผิดไหมเนี๋ย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2009, 15:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านที่ได้บวชต่อมาทีหลังไม่กราบพระพุทธรูปถือว่าอกตัญญูไหม?

:b8: เรียนถามท่าน tanaphomcinta ต่อไปว่าถ้า ท่านที่บวชต่อมา...ทีหลังกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกเป็นของหลอกลวงแต่งขึ้นมาทีหลังโดยผู้ที่เป็นพราหม์มาบวชในพระพุทธศาสนาแต่งขึ้นมาเพื่อเอาใจพวกพราหม์และพวกอิสลามที่ฆ่าพระตายมากมายในสมัยนั้น ไม่ใช่พุทธพจน์ของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง แต่งกันมาหลายรุ่นแล้วเชื่อถือไม่ได้พระศาสนาโดนบิดเบือน .... ขอถามท่านระหว่าง 2 ท่านนี้ ใคร ? คือผู้ควรเรียกว่าอตัญญู ระหว่างพระพุทธรูปกับพระไตรปิฎก สิ่งไหนควรมีค่ามากกว่ากัน....เชิญเข้าไปชมได้ http://www.whatami.net/ :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงๆแล้ว ไม่น่าจะนำมาตั้งเป็นกระทู้ซะด้วยซ้ำ ..
เมื่อคิดจะตั้งกระทู้ ต้องทำใจ ย่อมมีทั้งคนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย
เป็นเรื่องธรรมด๊า ธรรมดา :b8:
คนอื่นๆ ท่านอื่นๆ กรุณาไม่ต้องมาต่อยอดในสิ่งที่พูดนี่นะ
เพราะเป็นเพียงข้อคิดเห็นเท่านั้นเองค่ะ :b1:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2008, 15:51
โพสต์: 334

งานอดิเรก: ชอบเรื่องพลังงาน
สิ่งที่ชื่นชอบ: มิลินทปัญหา
ชื่อเล่น: อมร
อายุ: 63
ที่อยู่: 138 หมู่ที่ 1 ต.โนนคูณ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 36180

 ข้อมูลส่วนตัว www




ร.พ.บ คอนสาร (194).jpg
ร.พ.บ คอนสาร (194).jpg [ 50.92 KiB | เปิดดู 6589 ครั้ง ]
หยุดแล้วและก็หยุดจริงๆ ลบออกหมดแล้ว และขออภัยทุกท่านที่ทำให้ต้องมาเสียเวลากับกระทู้ของข้าพเจ้า ขอให้ท่านทั้งจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย

ข้าพเจ้าก็ขออโหสิกรรมให้แก่ท่านทั้งที่ได้ล่วงเกินข้าพเจ้า จะไม่ขอมีเวรมีภัยกับท่านทั้งหลายเลย

บุญกุศลใดที่ข้าพเจ้าได้ทำในชาตินี้และต่อไปขออุทิศให้ท่านทั้งหลายจงรับอุนโทนาเอาเองเถิด

ข้าพเจ้ายอมรับผิดแล้ว ถ้าท่านใดยังจะต่อความยาวสาวความหยืดก็ขอเชิญตามใจของท่านเพราะท่านมีสิทธิที่จะทำได้ ส่วนข้าพเจ้าจะไม่ว่าอะไรท่านอีกแล้ว ถือว่าเป็นกรรมของข้าพเจ้าเอง

อโหสิ อโหสิ อโหสิ สาธุ สาธุ สาธุ

.....................................................
ทำบุญตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาทำบุญอุทิศหา รักษาศีลตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาเคาะโลงลุกขึ่นมารักษาศีล เข้าวัดตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาหามเข้าแล้วเผาเลย ฮิฮิฮิ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 16:59
โพสต์: 79

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ tanaphomcinta

ไหนๆ แล้ว ก็ ช่วยลบกระทู้นี้หน่อยครับ หมดประโยชน์แล้วหละ เพราะ.....หลายเหตุผล
เอาเป็นว่า ใครทำอะไรก็ปล่อยเขาไปซะ จะดีจะเลว ก็ช่างมัน ปัญญามันมีแค่นี้ก็ช่วยไม่ได้อีกต่อไปแล้วหละครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2009, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.ค. 2008, 15:51
โพสต์: 334

งานอดิเรก: ชอบเรื่องพลังงาน
สิ่งที่ชื่นชอบ: มิลินทปัญหา
ชื่อเล่น: อมร
อายุ: 63
ที่อยู่: 138 หมู่ที่ 1 ต.โนนคูณ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 36180

 ข้อมูลส่วนตัว www


คงไม่สามารถลบของใครได้ แต่ของตัวเองที่ลงไปเขียนไปคงลบได้เพราะ เรากินข้าวเราอิ่ม
คนอื่นกินคนอื่นอิ่ม คงจะแทนกันไม่ได้ สาธุสาธุสาธุ

.....................................................
ทำบุญตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาทำบุญอุทิศหา รักษาศีลตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาเคาะโลงลุกขึ่นมารักษาศีล เข้าวัดตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ ดีกว่าตายแล้วให้เขาหามเข้าแล้วเผาเลย ฮิฮิฮิ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 134 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร