วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 02:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


อานิสงส์ตามลำดับการเกิดแห่งธรรมโดยไม่ต้องเจตนา

อานนท์ ! ด้วยอาการอย่างนี้แล :
ศีลอันเป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย;
อวิปปฏิสาร มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ;
ความประโมทย์ มีปีติเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ;
ปีติ มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ;
ปัสสัทธิ มีสุขเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ;
สุข มีสมาธิเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ;
สมาธิ มียถาภูติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ;
ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย;
นิพพาทา มีวิราคะเป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย ;
วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นอานิสงส์ที่มุ่งหมาย.
อานนท์ ! ศีลอันเป็นกุศล ย่อมยังอรหัตตผลให้บริบูรณ์โดยลำดับด้วยอาการอย่างนี้แล.
- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๘.
---------------------------

ภิกษุ ท.! เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "อวิปปฏิสารจงบังเกิดแก่เรา".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีศีลสมบูรณ์แล้วอวิปปฏิสารย่อมเกิด (เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อไม่มีวิปปฏิสาร ก็ไม่ต้องทำ เจตนาว่า "ปราโมทย์จงบังเกิดแก่เรา".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื ่อ ไม ่ม ีวิป ป ฏ ิส ารปราโมทย์ย่อมเกิด (เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อปรามโมทย์แล้ว ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "ปีติจงบังเกิดแก่เรา".
ภิกษุท.! ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า เมื่อปราโมทย์แล้ว ปีติย่อมเกิด (เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อมีใจปีติแล้ว ก็ไม่ต้องทำ เจตนาว่า "กายของเราจงรำงับ".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีใจปีติแล้ว กายย่อมรำงับ(เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อกายรำงับแล้ว ก็ไม่ต้องทำ เจตนาว่า "เราจงเสวยสุขเถิด".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อกายรำงับแล้ว ย่อมได้เสวยสุข (เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อมีสุข ก็ไม่ต้องทำเจตนาว่า "จิตของเราจงตั้งมั่นเป็นสมาธิ".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิ (เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ก็ไม่ต้องทำ เจตนาว่า "เราจงรู้จงเห็นตามที่เป็นจริง".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ย่อมเห็นตามที่เป็นจริง (เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ก็ไม่ต้องทำ เจตนาว่า "เราจงเบื่อหน่าย".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อรู้อยู่เห็นอยู่ตามที่เป็นจริง ย่อมเบื่อหน่าย (เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ก็ไม่ต้องทำ เจตนาว่า "เราจงคลายกำ หนัด".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อเบื่อหน่ายแล้ว ย่อมคลายกำหนัด (เอง).
ภิกษุ ท.! เมื่อจิตคลายกำหนัดแล้ว ก็ไม่ต้องทำ เจตนาว่า "เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณ ทัสสนะ".
ภิกษุ ท.! ข้อนี้เป็นธรรมดา ว่า เมื่อคลายกำหนัดแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ (เอง).
- เอกาทสก. อํ. ๒๔/๓๓๖/๒๐๙.
---------------------------
อวิปปฏิสาร หมายถึง ความที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องร้อนใจ รังเกียจ เกลียดชัง อยู่ในใจของ ตนจนเสียสมาธิ.
---------------------------
ขอให้ท่านผู้เจริญทั้งหลายพิจารณาโดยแยบคายนะครับ
การศึกษาพุทวัจน์จะต้องละเอียดและรอบคอบ ครับ

ขอบพระคุณมากครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2009, 21:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปหัวกระทู้ผิดแล้วครับ

คุณศิรัสพล +คุณ blackHospital

สองคนนี้ชอบเอาสมองมาตีความคำพูดพระพุทธเจ้าไปในทางผิดๆ

ท่านจะมาสรุปว่ารักษาศีล เป็นได้ถึงวิมุตตินั้นผิด


อ่านดูให้ดีๆ
พระพุทธเจ้าท่านลำดับศีลว่าเป้นเหตุของสมาธิ
สมาธิเป็นเหตุให้เกิดปัญญา
ปัญญาเป็นเหตุให้ถึงวิมุตติ

นี่ชอบจับประเด็นมั่วๆ สร้างความเข้าใจผิดให้คนเขาคิดว่ารักษาศีลเฉยๆก้ได้ถึงวิมุตติ

ถึงน่ะมันถึง แต่ถึงแบบคลานไป หรือถึงแบบนั่งเครื่องบินไป
อันนี้มันแล้วแต่ปัญญาของใครๆของใคร

นี่พระพุทธเจ้าท่านพูดทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา
โดยเฉพาะสมาธิท่านจารไนละเอียดขนาดนี้
แต่คนโง่ก็สรุปว่า รักษาศีล ถึงวิมุตติได้

เดี่ยวนี้มีวิธีถึงวิมุตติแบบแปลกๆกันเยอะ เละเทะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงคุณคามินธรรม

อ้างคำพูด:
สองคนนี้ชอบเอาสมองมาตีความคำพูดพระพุทธเจ้าไปในทางผิดๆ


กระทู้นี้ผมไม่ได้เข้ามาตอบ แต่ทำไมถึงพาดพึงผมละครับ ในทางไม่ดีแบบเหมารวมเสียด้วย อย่างนี้เผลอสติ เสื่อมแล้วนะครับ หรือคุณมีอะไรในใจ ไม่ถูกใจผมหรือเปล่า? หากผมตีความพระสูตรอะไรไม่ถูกต้องอย่างไร ชี้แนะได้นะครับ ผมยินดีรับฟัง เพราะบางทีผมอาจตีความผิดจริงๆ หรือคุณนั่นเองที่หยั่งไม่ถึง?

พระสูตรในแนวที่เจ้าของกระทู้นี้นำมาลงข้างต้น บางทีหากเราไม่รู้ไม่เข้าใจถึงเรื่อง "ธรรมานุธรรมปฏิบัติ" คือ ปฏิบัติหลักย่อยสอดคล้องไปกับหลักใหญ่แล้ว เราจะไปสรุปหรือเข้าใจผิดได้ ว่าปฏิบัติแต่ศีลอย่างเดียวเท่านั้นก็สำเร็จอรหัตตผลได้ เพราะการที่พระพุทธเจ้าตรัสข้างต้นเป็นการตรัสในแบบ "ธรรมานุธรรมปฏิบัติ" เป็นเรื่องของการตรัสเหตุและผล เหตุและปัจจัยที่ส่งเสริมกัน ตามแนวของการอิทัปปัจจยตา เป็นการบอกว่า เมื่อกุศลนี้เกิด หรือได้ถูกพัฒนาแล้ว จะเป็นเหตุส่งเสริมให้บำเพ็ญกุศลที่สูงขึ้นไปเกิดได้โดยง่าย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าให้ปฏิบัติแต่องค์ธรรมนั้นเพียงองค์ธรรมเดียว เช่น มีแต่ศีล เป็นต้นอย่างเดียว แต่ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีศีลแล้วกุศลธรรมอื่นๆนั้น จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เหมือนกัน เพราะเหตุปัจจัยไม่เหมาะสม

เหมือนกับธรรมบางเรื่อง เช่น ศีลกรรมบท เป็นต้น บางทีมองผิวเผินจะมีแต่เรื่องศีลทางกาย วาจา ใจเท่านั้น ไม่มีสมาธิหรือปัญญา แต่ในความเป็นจริง จะมีองค์ธรรมอื่นๆ แผงอยู่ภายในด้วย เช่น มีสติ, สมาธิ, ปัญญา เป็นสติปัฏฐานอยู่ด้วยแผงภายใน และเราก็ไม่ได้ละทิ้งการฝึกสมาธิ หรือเจริญปัญญา เรายังคงมีการแบ่งเวลาเพื่อฝึกสมาธิ หรือเจริญปัญญาโดยเฉพาะอยู่ไปด้วย เพียงแต่ตัวเด่นชัดออกโรงทำงาน หรือมุมมองที่กล่าวถึงและสนใจ คือ ด้านศีล ขึ้นอยู่กับเราจะหยิบตะแคงมองในด้านไหน ธรรมต่างๆ เมื่อปฏิบัติไปเรื่อยๆ แล้วเราจะเห็นว่าอะไรรวมลงอยู่ในนั้นมากมาย....

ผมขอยกตัวอย่างอานาปานสติ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสในทำนองเดียวกัน เป็นแนว ธรรมานุธรรมปฏิบัติมาให้อ่านดังต่อไปนี้

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ"

ที่มา : อานาปานสติสูตร (๑๑๘)


"ธรรมบางอย่างนั้น ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต ไม่หยั่งลงได้ด้วยความตรึก ละเอียด บัณฑิตพึงรู้"

หากทำอะไรให้ขัดเคือง ทั้งอดีต ปัจจุบัน ขออโหสิกรรมคุณคามินธรรมไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2009, 13:03
โพสต์: 13

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การรักษาศีล เป็นแค่หลักการเบื้องต้นในการเข้าถึงวิมุติ

การรักษาศีล ถ้าไม่มีสมาธิ ก็ไม่สามารถเข้าถึงปัญญาขั้นวิมุตติได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศิรัสพล

ก้ผมเห็นแต่คุณสองคนนี่แหละ เวลาอ่านพระไตรปิฏก ชอบควักเอาแต่ตรงที่ตัวชอบออกมา

อุปาเหมือนคนกินปลาคนหนึ่ง
ควักกินเอาแต่พุงปลา แล้วบอกว่าได้กินปลาทั้งตัว ถือว่าได้กินปลาทั้งตัว


พุทธพจน์นั้น ขาดไปวลีหนึ่งก็ไม่ได้ เพิกเแยไปคำหนึ่งยังไม่ได้เลย
ลำดับกลับไปกลับมา บางทีก็ไม่ได้ ต้องระวังมาก
ถ้าท่านไม่พูดกลับเอาไว้ ก็ห้ามกลับ กลับแล้วผิดทันที
ถ้าอะไรมันย้อนกลับได้ ท่านก้จะพูดกลับเอาไว้เสร็จสรรพ


ถ้าท่านพูดว่ามีแสง มันก็มีแสงจริงๆ ทั้งเปรียบเปรยและที่พบเห็นโดยตรง
ไม่ใช่สำนวนเปรียบเทียบเอาความสวยงามของประโยค

อีกทั้งการลำดับ ท่านพูดลำดับอย่างไร เป็นตามนั้น

ผมเห้นแต่คุณสองคนนี่แหละ เพิกเฉยลำดับ เพิกเฉยวลีหลายอย่าง

แล้วไปๆมาๆ
คุณก็เลยกลายเป้นมาเที่ยวบอกคนว่า ความคิดเป้นวิปัสสนา

blackhospital นี่ก็อีกคน ไปๆมาๆ ก็มาสรุปเอาว่ารักษาศีลเฉยๆ ก็ถึงวิมุตติ

พูดแบบนี้ ขนคนออกจากทางนิพพาน
ชี้ให้คนออกนอกทางเอก บาปหนาสาหัส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 12:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณความเห็นของคุณคามินธรรม

อ้างคำพูด:
คุณก็เลยกลายเป้นมาเที่ยวบอกคนว่า ความคิดเป้นวิปัสสนา


สิ่งที่ผมพยายามบอกและอธิบาย นำเสนอให้ทุกๆ ท่านทราบ คือ เรื่อง โยนิโสมนสิการ(วิธีคิด, สัมมาสังกัปปะ) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ที่จะทำให้เกิดปัญญา (สัมมาสังกัปปะ และสัมมาทิฐิ รวมกันเรียกว่าหมวดปัญญา) ที่เราจะต้องหมั่นเจริญควบคู่ไปเวลาที่ได้มีสติระลึกรู้รับรู้สิ่งใดๆ แล้ว ซึ่งหากไม่มีเรื่องโยนิโสมนสิการแล้ว จะไม่มีทางที่จะประสบความก้าวหน้าไปในที่สุดได้ เพราะพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเอาไว้โดยเอนกปริยายว่าเป็นองค์ธรรมสำคัญอันเป็นเหตุมีอุปการะมาก แต่ทั้งนี้ที่นำเสนอเรื่องโยนิโสมนสิการ ก็ไม่ได้หมายถึงไม่ให้ปฏิบัติธรรมในองค์มรรคอื่นๆ หรือเรื่องไตรสิกขาแต่ประการใดเลย...

ต่อไปขอยกกระทู้ที่มีประโยชน์มากมาให้ลองศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ ขอให้เปิดใจแล้วพิจารณา ลองศึกษาความหมายของโยนิโส และวิธีปฏิบัติดู หากทำตามด้วยยิ่งดีครับ

โยนิโสมนสิการ-วิธีการแห่งปัญญา
viewtopic.php?f=2&t=22303

อาหารและอนาหารของโพชฌงค์ ๗ ดังนี้

๑. สติ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ
๒. ธรรมวิจัย มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการในธรรมเป็นกุศลอกุศล มีโทษไม่มีโทษ ฯลฯ
๓. วิริยะ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการในความริเริ่ม ความก้าวหน้า บากบั่น
๔. ปีติ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติ
๕. ปัสสัทธิ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการในกายปัสสัทธิและจิตตปัสสัทธิ
๖. สมาธิ มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการในสมาธินิมิต ในสิ่งที่ไม่ทำให้ใจพร่าสับสน
๗. อุเบกขา มีอาหารคือ โยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา


*****************

โยนิโสมนสิการ => ปราโมทย์ => ปีติ => ปัสสัทธิ => สุข =>สมาธิ =>ยถาภูตญาณทัสสนะ => นิพพิทา =>วิราคะ => วิมุตติ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2009, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ศีลเป็นเลิศในโลก
ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด
การที่จะเป็นผู้สูงสุดได้ ก็ด้วยศีลและปัญญา


ศีลเป็นฐานที่เลิศของปัญญา
ปัญญาเป็นสิ่งที่ก่อตั้งขึ้นมาบนฐานคือศีล


สิ่งที่ดีงามทั้งหลายทั้งปวงมีศีลเป็นฐาน เกิดแต่ศีล

ฉนั้นการที่เราจะไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทางที่ดีได้
ล้วนมีศีลเป็นฐาน เป็นจุดเริ่มต้นทั้งนั้นครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2009, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ม.ค. 2009, 09:03
โพสต์: 81


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นี่พระพุทธเจ้าท่านพูดทั้งศีล ทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา


:b8: ทางดำเนินนิพพานที่ได้รับทราบจากท่านผู้รู้(อย่างจริงจัง)สรุปได้ดังนี้

1.พระรัตนตรัยที่บริบูรณ์ (ไม่ไปก้มกราบใส่อะไรให้คาหัวใจ)
2.ทานให้บริบูรณ์(ให้จนหมดตัวอย่างท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีเลยก็ได้นะ :b32: ล้อเล่น )
3.ศีลให้บริบูรณ์(ต้องรักษาอย่างเคร่งครัดไม่ขาดบกพร่องให้มีรอยรั่วและยาวนาน)
4.เรียนรู้กังวล 10 อย่างและละกังวลให้หมดก่อน
5.เรียนกรรมฐานให้เข้าใจก่อน(กรรมฐาน 40 ที่ถูกจริตกับตัวเองให้แน่นอน)
6.ฝึกให้แกร่ง(ฝึกกรรมฐานโดยไม่ลังเล)
7.ปฏิบัติ(ฟัดกับกิเลสให้ตายกันไปข้างหนึ่ง)
เมื่อจิตพ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้วก็จะ..........ตามลำดับดังนี้
-พระโสดาบัน
-พระสกทาคามี
-พระอนาคามี
-พระอรหันต์(ไม่มีจิตเป็นดวงอีกต่อไป)

ตามขั้นตอนนี้จากท่านผู้รู้แล้ว ไม่มีการบอกให้ลัดขั้นตอนไปทำอะไรนอกจากให้ดูความสามารถของตัวเองว่า อยู่ในข้อไหนได้บ้าง :b8: แค่ข้อ 1. ก็หลงไปแล้วเข้ารกเข้าป่าเข้าพงอีกนานยาวไกลแล้ว :b24:
เพราะฉะนั้นก่อนจะมีศีลได้ดีต้องทำข้อ 1กับ 2 ให้ได้ดีเสียก่อน เพื่อจะเป็นฐานค้ำศีล :b25:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2009, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


“โยนิโสมนสิการ” แปลว่า การคิด การพิจารณาโดย “แยบคาย”
อย่างไรเรียกว่า “แยบคาย”

“แยบคาย” ก็คือ

“การคิด การพิจารณาด้วยเหตุด้วยผล ตามหลักความเป็นจริง พิจารณาบ่อย ๆ ใคร่ครวญไตร่ตรองบ่อย ๆ
ตามสัจจะธรรม ไตรลักษณ์ อันมี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นตัวตัดสิน จนเกิดความรู้ ความเข้าใจหายสงสัยในเรื่องนั้น ๆ หากยังไม่เข้าใจ ไม่หายสงสัย ก็เรียกว่า ยังไม่แยบคาย ยังไม่ใช่โยนิโสมนสิการ”


============

ศีล+สมาธิ มีสวรรค์เป็นเบื้องต้น สูงสุด คือ อรูปพรหม

ครูของพระพุทธเจ้า คือ อาฬารดาบส อุทุกกดาบส เป็นผู้ยิ่งด้วยสมาธิ มรณภาพแล้วไปบังเกิดเป็นอรูปพรหม มีอายุยาวนาน พระศรีอริยเมตตรัยลงมาตรัสรู้ ท่านยังไม่มาเกิดเลย

ศีล+สมาธิ+ปัญญา มีสวรรค์เป็นเบื้องต้น สูงสุด คือ นิพพาน วิมุติหลุดพ้น

"ศีลและสมาธิเป็นฐานอันเลิศของปัญญา" พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ท่านบรรลุธรรมด้วย "ปัญญา" ไม่ว่าจะเป็น "เจตโตวิมุติหรือปัญญาวิมุติ" บรรลุธรรมหรือหลุดพ้นด้วย "ปัญญา" ทั้งสิ้น

จึงว่า ศาสนาพุทธ ศาสนาแห่งปัญญาสูงสุด
ปัญญาเป็นยอด ผู้ใดมีปัญญาผูนั้นเป็นผู้สูงสุด


เจริญธรรม

:b8: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 137 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร