วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 01:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 11:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงแล้วก็ต้องอาศัยการนึกเอาคิดเอาก่อนกันทั้งนั้น วิปัสนานั้นเป็นญาณแล้วครับ มีพุทธพจน์ว่า"เมื่อเรายังไม่พบ ญาณ เราได้ท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสารเป็นเอนกชาติ" แต่การที่จะเจอตรงนั้นเริ่มแรกก็ต้อง...รู้ในสัญญา...ก่อน หรือก็คือนึกเอาคิดเอาก่อนนั่นแหละข่มไว้ ตรงนี้ต้องมีศรัทธามากหน่อยแล้วก็ไม่ละความเพียร เหมือนปลูกต้นไม้นั่นแหละครับ จะมีผลก็ต้องดูแลให้ดีและก็อดทนรอ(สมาธิตั้งมั่น) รดน้ำ(รักษาศีล)ใส่ปุ๋ย(ปัญญาพิจารณาธรรม)...ต่อเมื่อถึงเวลาต้นไม้ที่เราปลูกโตเต็มที่(บารมีมากพอ)ก็จะออกผลให้เราได้ลิ้มรส(อรรถเกิดขึ้นภายใน).... :b1:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
ความจริงแล้วก็ต้องอาศัยการนึกเอาคิดเอาก่อนกันทั้งนั้น วิปัสนานั้นเป็นญาณแล้วครับ มีพุทธพจน์ว่า"เมื่อเรายังไม่พบ ญาณ เราได้ท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสารเป็นเอนกชาติ" แต่การที่จะเจอตรงนั้นเริ่มแรกก็ต้อง...รู้ในสัญญา...ก่อน หรือก็คือนึกเอาคิดเอาก่อนนั่นแหละข่มไว้ ตรงนี้ต้องมีศรัทธามากหน่อยแล้วก็ไม่ละความเพียร เหมือนปลูกต้นไม้นั่นแหละครับ จะมีผลก็ต้องดูแลให้ดีและก็อดทนรอ(สมาธิตั้งมั่น) รดน้ำ(รักษาศีล)ใส่ปุ๋ย(ปัญญาพิจารณาธรรม)...ต่อเมื่อถึงเวลาต้นไม้ที่เราปลูกโตเต็มที่(บารมีมากพอ)ก็จะออกผลให้เราได้ลิ้มรส(อรรถเกิดขึ้นภายใน).... :b1:


อนุโมทนาครับ

เหมือนคำว่า

ศีล กับ อธิศีล
จะว่าเหมือนกันไหม ก็ไม่เหมือน
จะว่าต่างกันไหม ก็ไม่ต่าง
น่าคิดนะครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2009, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบคุณชาติสยาม (คุณคามินธรรม....เปลี่ยนชื่อบ่อยจัง) ดังนี้ครับ

พระสูตรดังกล่าว "ว่าด้วยบุพจริยาของพระอภิรูปนันทาเถรี" ท่านอย่าได้ไปตีความเข้าข้างตัวเองอย่างนั้นครับ เป็นการกล่าวตู่คำสอนของพระพุทธเจ้า คุณไม่รู้ควรถาม ไม่แน่ใจไม่ควรพูดอย่างนี้นะครับ ยิ่งกล่าวอย่างนี้ออกมา ยิ่งแสดงได้อย่างเดียวว่าคุณไม่รู้ ไม่พิสูจน์ พูดวิจารณ์อย่างเดียว....เช่นเดิม

พระสูตรท่อนดังกล่าว ใครปฏิบัติอสุภมาก่อนย่อมรู้ดี ว่า "ท่านจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์อย่างเดียวด้วยอสุภเถิด" หมายถึง ให้หมั่นฝึกเจริญอสุภกรรมฐานไป พยายามทำไปจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว คือ เกิดฌาน ด้วยอสุภกรรมฐาน ในพระสูตรนี้ไม่ได้หมายถึงว่าให้ไปทำสมาธิให้สงบด้วยกรรมฐานอื่น แล้วค่อยมาเจริญอสุภะทีหลังจากจิตตั้งมั่นเลย หากเทียบกับกรรมฐานอื่นก็จะคล้ายว่า "ท่านจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์อย่างเดียวด้วยอานาปานสติเถิด" คือ ให้อบรมอานาปานสตินี้แหละให้ดี ทำฌานให้เกิดด้วยอานาปานสตินี้เถิด...

ซึ่งวิธีการทำให้จิตสงบเป็นอารมณ์เดียวด้วยอสุภะ คือทำโดย การหมั่นพิจารณาร่างกายตนเองเปรียบเทียบกับซากศพที่เห็นนั่นแหละครับ ขอยกตัวอย่างเพิ่มเติมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนอสุภกรรมฐานให้แล้วกัน แล้วลองดูว่าจริงๆ เป็นอย่างไร วิธีของผมประหลาดจริงหรือไม่ หากไม่เข้าใจกรุณาศึกษาวิธีการฝึกอสุภะจากอรรถกถา หรือวิสุทธิมรรค หรือจากแหล่งอื่นๆ ดูนะครับ ดังนี้

**********************************
มหาสติปัฏฐานสูตร - นวสีวถิกาบรรพ
**********************************
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี
สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง
นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
[๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก
กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ
ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี
อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามา
ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย
นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ
เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง
นี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
[๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น
ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
[๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น
ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
[๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน
ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง
ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง
หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทาง
หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง
กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอ
ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คง
เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย
ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น
ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย
มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ
ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้
แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้
แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ
เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความ
เสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่
ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ ฯ
จบนวสีวถิกาบรรพ

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... &A=6257&w=มหาสติปัฏฐานสูตร


****************************************
อรรถกถาจารย์ อธิบายการฝึกนวสีวถิกาบรรพ
****************************************
นวสีวถิกาบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางธาตุมนสิการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงจำแนกด้วยนวสีวัฏฐิกาบรรพ ข้อกำหนดว่าด้วยป่าช้า ๙ ข้อ จึงตรัสว่า ยังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น.
บรรดาเหล่านั้น บทว่า เหมือนอย่างว่า เห็น คือ เหมือนอย่างว่าพบ.
บทว่า สรีระ คือสรีระของคนตาย.
บทว่า ที่เขาทิ้งไว้ที่ป่าช้า คือที่เขาปล่อยทิ้งไว้ที่สุสาน.
ซากศพที่ชื่อว่าตายแล้ววันเดียว เพราะเป็นซากศพที่ตายแล้วได้ ๑ วัน. ที่ชื่อว่าตายแล้ว ๒ วัน เพราะเป็นซากศพที่ตายแล้วได้ ๒ วัน. ที่ชื่อว่าตายแล้ว ๓ วัน เพราะซากศพที่ตายแล้วได้ ๓ วัน.
ที่ชื่อว่าศพที่พองขึ้น เพราะเป็นศพที่พองขึ้นโดยเป็นศพที่ขึ้นอืดตามลำดับตั้งแต่สิ้นชีพไป เหมือนลูกสูบช่างทองอันพองขึ้นด้วยลม. ศพที่พองขึ้นนั่นแล ชื่อว่าอุทธุมาตกะ. อีกนัยหนึ่ง ศพที่พองขึ้นน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอุทธุมาตกะ.
ศพที่มีสีต่างๆ เจือเขียว เรียกว่าศพที่มีสีเขียวเจือ. ศพที่มีสีเขียวเจือนั่นแล ชื่อว่าวินีลกะ. อีกนัยหนึ่ง ศพที่มีสีเขียวน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวินีลกะ.
คำว่า วินีลกะ นี้เป็นชื่อของซากศพ มีสีแดง ในที่เนื้อนูนหนา มีสีขาวในที่อันบ่มหนอง โดยมากมีสีเขียว ในที่ควรเขียว คล้ายผ้าห่มสีเขียว.
ศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกจากที่ปริแตกทางปากแผลทั้ง ๙ บ้าง ชื่อว่าศพมีน้ำเหลืองไหล. ศพมีน้ำเหลืองไหลนั่นแล ชื่อว่า วิบุพพกะ. อีกนัยหนึ่ง ศพมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เพราะเป็นของปฏิกูล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าวิบุพพกะ. ศพที่เป็นวิบุพพกะเกิดแล้ว คือถึงความเป็นซากศพมีน้ำเหลืองไหลอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าวิบุพพกชาตะ.
ข้อว่า โส อิมเมว กายํ ความว่า ภิกษุนั้นใช้ญาณนั้นแหละ น้อมนำกายของตนนี้ไปเปรียบกับกายอันนั้น (ซากศพ).
เปรียบอย่างไร.
เปรียบว่า กายนี้แล มีอย่างนั้นเป็นธรรมดาต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้.

กายที่ปราศจากอายุไออุ่นวิญญาณเป็นซากศพ
ท่านอธิบายไว้ว่า กายนี้ยังทนยืนเดินเป็นต้นอยู่ได้ ก็เพราะมีธรรม ๓ อย่างนี้ คืออายุ ไออุ่น และวิญญาณ แต่เพราะธรรม ๓ อย่างนี้พรากจากกัน แม้กายนี้จึงต้องมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา คือมีสภาพเปื่อยเน่าอย่างนั้นเหมือนกัน ต้องเป็นอย่างนั้น คือจักเป็นประเภทศพขึ้นพองเป็นต้นอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้ คือไม่ล่วงพ้นความเป็นศพพองขึ้นเป็นต้นอย่างนั้นไปได้.
ข้อว่า หรือภายใน ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน ในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้นอย่างนี้อยู่.

เทียบกายด้วยซากศพ
บทว่า ขชฺชมานํ อันสัตว์กัดกินอยู่ ได้แก่ศพอันสัตว์มีแร้ง กาเป็นต้น จับที่อวัยวะ เช่นท้องเป็นต้น แล้วดึงเนื้อท้อง เนื้อปาก เบ้าตาเป็นต้น จิกกินอยู่.
บทว่า สมํสโลหิตํ ยังมีเนื้อและเลือด คือศพที่มีเนื้อและเลือดยังเหลืออยู่.
บทว่า นิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ ที่ปราศจากเนื้อแต่เปื้อนเลือด คือเมื่อเนื้อหมดไปแล้ว แต่เลือดยังไม่แห้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาศพประเภทนั้น จึงตรัสว่า นิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ.
บทว่า อญฺเญน คือ ศพไปทางทิศอื่น.
บทว่า หตฺถฎฺฐิกํ กระดูกมือ ความว่า กระดูกมือมีประเภทถึง ๖๔ ชิ้น กระจัดกระจายแยกกันไป. แม้กระดูกเท้าเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า เตโรวสฺสิกานิ เกินปีหนึ่งขึ้นไป คือล่วงปีไปแล้ว.
บทว่า ปูตีนิ เป็นของผุ ความว่า กระดูกอันตั้งอยู่กลางแจ้ง ย่อมผุเปื่อย เพราะกระทบลม แดดและฝน ส่วนกระดูกที่อยู่ใต้พื้นดิน ย่อมตั้งอยู่ได้นานกว่า.
บทว่า จุณฺณกชาตานิ เป็นผง คือแหลกเป็นผง กระจัดกระจายไป.
พึงประกอบความเข้าในข้อทั้งปวงโดยบทว่า ขชฺชมานํ อันสัตว์กัดกินเป็นต้น โดยนัยที่กล่าวมาแล้วว่า เธอก็น้อมกายอันนี้นี่แล เข้าไปเทียบกับศพเป็นต้น.
ข้อว่า หรือภายในเป็นต้น ความว่า พิจารณาเห็นกายในกายของตน ในกายของคนอื่น หรือในกายของตนตามกาล ของคนอื่นตามกาล ด้วยการกำหนดซากศพอันสัตว์กัดกินเป็นต้น จนถึงเป็นกระดูกอันแหลกเป็นผงอย่างนี้อยู่.

จัดเป็นบรรพ
ป่าช้า ๙ ข้อที่อยู่ในนวสีวถิกาบรรพนี้ บัณฑิตพึงจัดประมวลมาดังนี้ คือ
๑. ข้อที่ตรัสโดยนัยเป็นต้นว่า ศพที่ตายแล้วได้วันหนึ่งบ้าง แม้ทั้งหมดเป็นบรรพอันหนึ่ง.
๒. ข้อที่ว่า ศพที่ฝูงกาจิกกินบ้าง เป็นต้น เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๓. ข้อที่ว่า ร่างกระดูก ที่ยังมีเนื้อ และเลือดมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๔. ข้อที่ว่า ปราศจากเนื้อแต่เปื้อนเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๕. ข้อที่ว่า ปราศจากเนื้อและเลือด มีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๖. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลาย ที่ปราศจากเส้นเอ็นรัดรึงแล้วเป็นต้น เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๗. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลาย ขาว คล้ายสีสังข์ เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๘. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลายที่กองเรี่ยราย เกินหนึ่งปีขึ้นไป เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๙. ข้อที่ว่า กระดูกทั้งหลายที่ผุ แหลกเป็นผงเป็นบรรพอันหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงป่าช้าทั้ง ๙ แล้ว จะทรงจบกายานุปัสสนา จึงตรัสคำนี้ว่า เอวํ โข ภิกฺขเว อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลายเป็นต้น.

สติกำหนดซากศพเป็นอริยสัจ ๔
ในนวสีวถิกาบรรพนั้น สติอันกำหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อ เป็นทุกขสัจ ตัณหาที่มีในก่อนที่ยังสตินั้นให้เกิดขึ้น เป็นสมุทัยสัจ การหยุดทุกขสัจและสมุทัยสัจทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ อริยมรรคอันกำหนดทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ เป็นมรรคสัจ
ภิกษุผู้โยคาวจรขวยขวายด้วยอำนาจสัจจะอย่างนี้ ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์ได้ดังนี้. อันนี้เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัต ของเหล่าภิกษุผู้กำหนดป่าช้าทั้ง ๙ ข้อ อย่างนี้แล.
จบนวสีวถิกาบรรพ.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... i=273&p=2#นวสีวถิกาบรรพ


คุณคามินธรรมขอร้องเถอะครับ ด้วยความหวังดี อย่าได้มากล่าวอย่างนี้ ทำนองนี้เลย ผู้รู้จริงๆ เขามีอยู่ แต่ภูมิธรรม ความรู้ ประสบการณ์ของคุณอาจยังไม่ถึง จึงไม่เข้าใจ ดังนั้นอย่ามาพูดทำนองนี้อีกนะครับ ไปฝึกตัวเองให้ดีก่อน ไปศึกษาให้ดีก่อน ทดสอบทดลองพิสูจน์ก่อน ไม่เช่นนั้นจะเกิดการกล่าวตู่คำสอนของพระพุทธเจ้าได้ จะเป็นการปิดทางมรรคผลของตนเอง และเสื่อมจากคุณธรรมที่ตนเองได้มีหรือบรรลุแล้วครับ

ด้วยจิตเมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2009, 03:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศิรัสพล เข้าใจผมผิดแล้วล่ะครับ

ศิรัสพล เขียน:
พระสูตรท่อนดังกล่าว ใครปฏิบัติอสุภมาก่อนย่อมรู้ดี ว่า

คุณศิรัสพลกำลังเสนอแนวคิดที่ว่า ความคิดเป้นวิปัสนา
น้อมคิดไปอย่างนั้นเป้นโยนิโสมนสิการที่สามารถถอดถอนอุปาทานได้ ใช่หรือไม่ครับ

รวมถึงบอกก่อนหน้านี้ด้วยซ้ำไปว่า ด้วยอุบายน้อมนึกไปอย่างนั้น"ไม่ต้องผ่านฌาน"
ก้ยังสามารถถอดถอนอุปาทานได้ ถึงวิมุตติ

ก็พอผมยกเรื่องพระแก่สอนพระหนุ่มมา
คุณศิรัสพลก็ยกพระสุตรมาว่า เขาโยนิโสอสุภอย่างไรอย่างไร

ต่อมาผมก็แย้งว่า
ก่อนจะโยนิโสมนสิการ พระพุทธเจ้าท่านให้ทำจิตตั้งมั่นให้ได้เสียก่อน
-จึงนำจิตตั้งมั่นมาพิจารณาความจริง

แล้วคุณก็กลับมาบอกว่า ต้องจิตตั้งมั่นได้ฌานเสียก่อน จึงมาเจริญอสุภกรรมฐาน
ืั้ทั้งที่ก่อนหน้านี้บอกว่า ไม่ต้องผ่านฌานก็ได้
"ท่านจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์อย่างเดียวด้วยอสุภเถิด" หมายถึง ให้หมั่นฝึกเจริญอสุภกรรมฐานไป พยายามทำไปจนกระทั่งจิตตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว คือ เกิดฌาน ด้วยอสุภกรรมฐาน ในพระสูตรนี้ไม่ได้หมายถึงว่าให้ไปทำสมาธิให้สงบด้วยกรรมฐานอื่น แล้วค่อยมาเจริญอสุภะทีหลังจากจิตตั้งมั่นเลย หากเทียบกับกรรมฐานอื่นก็จะคล้ายว่า "ท่านจงอบรมจิตให้เป็นสมาธิมีอารมณ์อย่างเดียวด้วยอานาปานสติเถิด" คือ ให้อบรมอานาปานสตินี้แหละให้ดี ทำฌานให้เกิดด้วยอานาปานสตินี้เถิด...



ตกลงแนวคิดของคุณนี่
จะต้องผ่านฌาน หรือไม่ผ่านฌานกันแน่ครับ
จิตตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่น แล้วจึงไปพิจารณาความจริง

จากพระสูตรที่คุณยกมา หายังไงก็เจอองค์ฌาน
วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคตา
พระพุทธเจ้าท่านแม่น ไม่เคยตกหล่นเอกัคตารมณ์สักครั้งเดียว
พูดยังไงๆ หาดูดีๆก็เจอเอกัคตารมณ์อยู่

แล้วลองมาดูที่คุณพูดถึงอสุภกรรมฐานของคุณ ที่่ระบุไปถึงว่า
ถอดถอนอวิชชาได้ /ละสังโยชน์ได้ แต่ผมหาอเกัคตารมณ์ไม่เจอ
หาจิตตั้งมั่นไม่เจอ หาฌานไม่เจอ หาสติไม่เจอ
เห็นแต่คิดๆเอาแล้วก็ถอดถอนอวิชชาได้
คิดๆเอาแล้วละสังโยชน์ได้

ศิรัสพล เขียน:
.....

เรื่อง การเจริญอสุภกรรมฐาน หรือเจริญอสุภสัญญา ไม่รู้ว่าคุณเคยได้ฝึกฝนมาก่อนหรือเปล่า เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็ได้ตรัสถึงอานิสงค์ของอสุภกรรมฐาน หรืออสุภสัญญาเอาไว้แล้วว่า เป็นกรรมฐานที่ทำให้สิ้นราคะ หรือทำให้สำเร็จซึ่งวิมุตติได้ (ซึ่งจริงๆ มีหลายอย่าง เช่น อนิจจสัญญา เป็นต้น) เป็นสมาธิอย่างหนึ่งที่ทำแล้วให้หมดสิ้นอาสวะ แต่เราทั่วไปมักจะรู้จักกันว่าเป็นเพียงแต่สมถะเท่านั้น มีพระอรหันต์หลายต่อหลายท่านที่บรรลุอรหัตตผลด้วยอสุภกรรมฐาน เช่น พระมหากัสสปะเถระ เป็นต้น หากคุณสงสัยในการบรรลุมรรคผลของผู้เจริญอสุภกรรมฐานว่าทำได้จริงหรือไม่ ลองไปศึกษาประวัติพระมหากัสสปะดูก็ได้ครับ

จริงๆ เวลาเราฝึกอสุภกรรมฐาน หรือเจริญอสุภสัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะไปนึกๆ เอาว่าเป็นซากศพ โดยที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน แต่การปฏิบัติจะต้องผ่านมาหรือควบคู่มาจาก ที่เราจะหมั่นนำศพ หรือซากศพ หรือภาพซากศพ หรือสิ่งปฏิกูลเน่าเหม็น เช่น อุจจาระ, ปัสสาวะ, เสมหะ, น้ำลาย, เลือด, น้ำเหลือง, น้ำหนอง เป็นต้น มาดูแล้วใช้โยนิโสมนสิการ พิจารณา เทียบเคียงให้เห็นว่าแม้เราก็ต้องเป็นซากศพอย่างนั้นสักวันหนึ่ง และในร่างกายแท้จริงก็ไม่ได้สวยงามมีสิ่งสกปรกน่าเกลียดอย่างนั้นอยู่ซ่อนไว้ภายใน การฝึกจะเริ่มฝึกจากการหมั่นจำ หมั่นเพ่งพินิจพิจารณาแบบนี้ ซึ่งเป็นการสะสมอสุภสัญญา ปฏิกูลสัญญาเอาไว้ในจิต ทีนี้ต่อไป เมื่อเราทำได้แล้ว แม้จิตยังไม่รวมลงเป็นฌานก็ตาม หรือยังไม่บรรลุมรรคผลก็ตาม แต่ถือว่าวิปัสสนาได้เกิดขึ้นแล้ว คือ อารมณ์อันเห็นไตรลักษณ์นั้นเองได้เกิดขึ้นแล้ว เริ่มรู้จักทุกข์ เห็นทุกข์ เห็นโทษของร่างกาย เห็นว่าไม่ใช่สิ่งน่าสวยงามน่าใคร่ และพอทำไประยะหนึ่งจะเกิดความเบื่อหน่ายขึ้น แม้จะยังไม่เกิดถาวร แต่จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เห็น ทุกครั้งที่เจริญ หรือทุกครั้งที่พิจารณา นึกถึง

ทีนี้พอเราดำรงชีวิตปกติไป หากเราเกิดเห็นผู้หญิงสวยๆ จิตเราเกิดจักษุวิญญาณ(เห็นรูป) ขึ้น เราก็เพ่งพินิจนำอสุภกรรมฐาน หรืออสุภสัญญาที่เราเคยฝึกอยู่มาระลึก มาเปรียบเทียบไป ว่าเป็นทำนองว่า "ผู้หญิงคนนี้ เป็นเพียงรูป ไม่เที่ยง มีอันเน่าเปื่อย ผุพังเป็นธรรมดา ประกอบขึ้นมาจากสิ่งปฏิกูลสกปรกต่างๆ เป็นต้นว่า อุจาระ ปัสสาวะ เสมหะ ขี้หัว ขี้มูก ขี้ตา ขี้ใคร ขี้เล็บ" หรือจะพิจารณาให้เห็นว่าไม่ต่างจากซากศพที่เราพิจารณาก็ได้ เป็นต้น เมื่อเราพิจารณาด้วยการนึกช่วยอย่างนี้ ภาพสัญญาที่เราเคยเพ่งเอาไว้จะปรากฏขึ้นมาขณะนึกคำพูดไปด้วยโดยอัตโนมัติได้ ก็จะทำให้ลักษณะความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์เป็นโทษ ปรากฏออกมาให้เห็น ซึ่งโดยปกติหากไม่พิจารณาโดยแยบคายอย่างนี้ลักษณะดังกล่าวจะไม่ปรากฏออกมาให้เห็น นี้เรียกว่า สัมมาทิฐิเกิดขึ้น จากโยนิโสมนสิการ จิตจะเกิดปัญญาตัดขาด ป้องกันอกุศลไม่ให้เกิดขึ้นก่อนมาได้ หรือแม้แต่หากอกุศลได้เกิดขึ้นมาแล้วก็ถูกละได้

ทีนี้หากเราหมั่นฝึกจากการเพ่งพิจารณาของจริงอยู่เนื่องๆ ประกอบกับหมั่นนำมาใช้พิจารณากายในกายภายใน คือตัวเรา และกายในกายภายนอกคือผู้อื่นอยู่เนื่องๆ แล้ว อวิชชา ย่อมจะถูกถอนออกไป เพราะจิตได้เกิดวิชชาขึ้นมาแทน เพราะได้รู้ว่าสิ่งต่างๆ นี้ล้วนเป็นเพียงอนิจจัง เป็นเพียงอนัตตาประกอบขึ้นมาจากส่วนประกอบย่อยๆ ต่างๆ เป็นชั้นๆ ไม่ใช่เห็นเฉพาะแต่ในเรื่องของร่างกายที่เป็นรูปธรรม จิตจะรู้ครอบคลุมไปถึงนามธรรมได้ ไม่ว่าจะเป็น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าไม่เที่ยงไปด้วยได้ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนอาศัยกายนี้เองที่ไม่เที่ยงจะต้องตายเป็นซากศพไม่ว่าวันใดก็วันหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเที่ยงได้อย่างไรเล่า พอเราฝึกไปดีๆ มากขึ้นเรื่อยๆ อารมณ์กรรมฐานเกิด ญาณเริ่มเกิด เพียงเรามองไปที่ใครก็ตามย่อมจะให้เป็นซากศพ หรือปฏิกูลได้ทันที จิตวางเฉยได้เอง หรือจะไม่ให้เห็นเป็นปฏิกูลก็ได้ แต่จิตก็ยังวางเฉยได้เองต่อไปเช่นเดียวกัน แต่ตรงนี้ยังไม่ได้เกิดต่อเนื่องตลอดเวลา เกิดมากน้อยแล้วแต่ญาณและมรรคผลของแต่ละบุคคลว่าขั้นใด หากเป็นอรหันต์จะเกิดได้ตลอดเป็นธรรมดา อย่างนี้เรียกว่าสังโยชน์ต่างๆ ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็ถูกละได้ ทำไปในที่สุดอย่างนี้ย่อมหมดสิ้นสังโยชน์

ไม่เชื่อลองง่ายๆ เลยนะครับ ให้คุณลองดูของเน่าเหม็นของตัวเอง เป็นต้นว่า เวลาถ่ายอุจาระก็ดูอุจาระตัวเองว่าเป็นอย่างไร ดูไป พิจารณาไปว่าเราเองนี้แท้จริงไม่ได้สะอาดอะไรเลย มีสิ่งสกปรกที่น่าเกลียดต้องคอยระบายออกอยู่ ทีนี้ต่อไป เวลาคุณเห็นก้นผู้หญิงที่คุณเห็นว่าสวยงาม หรือเกิดราคะขึ้น ลองพิจารณาว่า "ก้นนี้แท้จริงมีสิ่งสกปรกอยู่ มีรูก้น มีขนตรงรู้ก้น มีอุจาระ พร้อมกันนำภาพอุจาระของคุณที่เคยเห็นมานึกควบคู่ไว้" การทำอย่างนี้ราคะจะไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วก็จะถูกละได้ เป็นสมถะด้วยเป็นวิปัสสนาด้วย เป็นกิจอันเดียวกันครับ


สรุปว่า เตือนกันไปเตือนกันมา ที่สุดก็ต้องอุเบกขา
ก็ขออนุโมทนาด้วยนะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 34 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 122 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron