วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 01:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 16:28
โพสต์: 14


 ข้อมูลส่วนตัว


คือจากการที่ผมอ่านกระทู้มาหลายๆอันอ่ะครับ ผมก็ได้รู้ว่ากรรมนั่งลบล้างกันไม่ได้ กรรมดีก็ส่วนกรรมดี กรรมไม่ดีก็คือไม่ดี ต้องรับทั้ง2อย่าง

ผมจังเกิดข้อสงสัยว่าถ้าเช่นนั้น เมื่อคนเราตายไปถ้าทำกรรมชั่วไว้ แต่ก็ทำกรรมดีด้วย อย่างนั้นแล้ว คนๆนั้นต้องตกนรกก่อน แล้วเมื่อชดใช้กรรมชั่วเสร็จแล้วจึงไปขึ้นสววรค์หรือครับ /หรือว่าเป็นเทวดาก่อนแล้วค่อยตกนรก /หรือว่าเอามาดูกันก่อนว่าอันไหนมากกว่ากัน ยังไงครับ ขอผู้รู้ช่วยตอบด้วย :b20: :b20: :b20: :b20: :b20:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรม

กฎแห่งกรรมคือกฎของธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ และเราทุกคนก็ถูกควบคุมโดยกฎแห่งกรรม

กรรมที่ให้ผลตามลำดับนั้นมี ๔ อย่าง คือ

(๑) ครุกรรม กรรมหนัก (ครุ แปลว่า หนัก)
(๒) อาสันนกรรม กรรมที่ตามระลึกได้เมื่อจวนเจียนจะตาย หรือกรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย
(๓) อาจิณณกรรม กรรมที่ทำเป็นอาจิณ ทำบ่อยๆ กรรมที่ทำจนเคยชิน หรือพหุลกรรม กรรมมาก กรรมที่ทำไว้มากๆ หรือแม้ทำครั้งเดียว แต่ส้องเสพเสมอเป็นนิตย์
(๔) กัตตตากรรม กรรมสักว่าทำ


กรรมที่ ๑ ครุกรรม กรรมหนัก กรรมนั้นบอกแล้วว่า มีทั้งกรรมดีกรรมชั่ว ครุกรรมที่เป็นกรรมชั่วก็มี ครุกรรมที่เป็นกรรมดีก็มี

ครุกรรมที่เป็นกรรมชั่ว ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อนันตริยกรรม แปลว่า กรรมที่มีโทษมาก โทษอย่างมหันต์ โทษที่นับไม่ได้ (อนันตะ แปลว่า นับไม่ไหว มันมาก) มีอยู่ ๕ อย่าง

(๑) มาตุฆาต ฆ่าแม่
(๒) ปิตุฆาต ฆ่าพ่อ
(๓) อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
(๔) โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต
(๕) สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน

การที่จะเป็นกรรมได้ต้องมีเจตนา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว การกระทำที่มีเจตนาเท่านั้นจึงจะเป็นกรรมได้" เพราะฉะนั้น กรรมไม่ว่าดีหรือชั่วจะต้องมีเจตนาคือความจงใจ

ถ้าใครเกิด ไปฆ่าพ่อแม่เข้า ตกนรกแน่ ไม่มีทางอื่นเลย แล้วนรกนั้นก็นรกที่รุนแรงด้วย คือ อเวจีมหานรก มหานรกนั้นมีอยู่ ๘ ขุมใหญ่ๆ ใน ๘ ขุมใหญ่นั้น ที่ร้ายแรงมากคืออเวจีมหานรก ร้อนแรงมาก

ถ้าหากว่าผู้ที่ทำ กรรมนั้นเกิดไปทำกรรมดีเข้า สมมติว่าไปฟังธรรม ไปนั่งกรรมฐานจะให้ได้ฌาน หรือจะให้ได้มรรคผลนิพพานไม่มีทางทำได้เลย เพราะจิตต่ำลงไปมาก

พระเจ้าอาชาตศัตรูได้ฟังพระสูตรจากพระพุทธเจ้า คือ สามัญญผลสูตร ถ้าหากไม่ได้ฆ่าพระราชบิดา พระองค์ต้องสำเร็จโสดาบันแน่ แต่นี้ ไม่มีทาง ได้แค่ประกาศพระองค์ถึงพระรัตนตรัย ตอนหลังพระเจ้าอชาตศัตรูทรงบำรุงสังคายนา ครั้งที่หนึ่งบำรุงพระพุทธศาสนามาก ถ้าพระองค์ไม่ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดาก็ต้องขึ้นสวรรค์แน่ แต่นี้ไม่มีทางขึ้นสวรรค์ได้เลยเพราะกรรมนั้นแรงมาก

แต่ เนื่องจากกรรมที่พระจ้าอชาติศัตรูทำไว้ กรรมดีก็มีมากในภายหลัง ดังที่กล่าวไว้ตามคัมภีร์ว่า พระเจ้าอาชาตศัตรูแทนที่จะตกอเวจีมหานรกอันร้ายแรงมาก ก็กระเถิบขึ้นมาขุมที่ไม่แรงมากเกินไป คือ โลหกุมภีมหานรก คือ มหานรกหม้อทองแดง ซึ่งก็ยังนับว่าแรงอยู่ เพราะกรรมหนัก

กรรม หนักไม่มีใครห้ามได้เลย ใครจะเอาเงินมาซื้อมาถ่ายก็ไม่ได้ อะไรก็ช่วยไม่ได้ เพราะกรรมหนัก ทำไมลูกฆ่าพ่อฆ่าแม่จึงเป็นกรรมหนักอย่างนั้น?

เพราะพ่อแม่ มีคุณมาก ผู้ที่มีคุณมากก็มีโทษมาก พระพุทธเจ้าจึงให้ถือพ่อแม่ว่าเหมือนไฟ เรียกว่า อาหุเนยยัคคิ แปลว่า ไฟที่ควรบูชา ปกติว่าไฟ ถ้าใครใช้เป็น ไฟก็ให้คุณประโยชน์มาก แต่ถ้าใช้ไม่เป็นไฟก็เผาผลาญเอาได้ พ่อแม่เราก็เหมือนกัน ถ้าเราเคารพเชื่อฟังปฏิบัติดีต่อท่าน ก็เจริญรุ่งเรืองมาก ถ้าปฏิบัติผิดต่อท่านก็เสื่อมมาก พระพุทธเจ้าจึงเรียกพ่อแม่ว่า อาหุเนยยัคคิ แปลว่า ไฟที่ควรบูชา เพื่อปฏิรูปคำสอนของศาสนาพราหมณ์ที่เขาสอนให้บูชาไฟ ว่าจะให้ความสุขความเจริญอย่างนั้นอย่างนี้

ส่วนครุกรรมที่เป็นกุศลกรรม ได้แก่ สมาบัติ ๘ ก็คือ ฌาน ๘ นั่นเอง คือ ผู้ทำกรรมฐานฝึกจิตจนถึงขั้นได้ฌาน ผู้ทำสมาธิขั้นได้ฌานตั้งแต่ ๑ ถึงที่ ๘ ท่าน รียกว่า ได้สมาบัติ ๘ อาจจะได้บรรลุฌานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ อย่างอาฬารดาบสและอุทกดาบส อาจารย์ของพระพุทธเจ้า บำเพ็ญฌานสมาบัติเหล่านี้ ถ้าตายไปในขณะที่ฌานไม่เสื่อมก็ต้องไปเกิดในพรหมโลกอย่างแน่นอน ไม่มีที่อื่นจะขวางกั้นได้เลย เพราะเป็นกรรมหนักฝ่ายดี

เพราะ ฉะนั้น อาจารย์ของพระพุทธเจ้าทั้งสองเมื่อตายแล้วจึงไปเกิดอยู่ในพรหมโลก แม้ขณะนี้ก็ยังอยู่ในพรหมโลก เพราเป็นกรรมหนักฝ่ายดี นี้คือครุกรรม

กรรมที่ ๒ คือ อาสันนกรรม อาสันนกรรม แปลว่า กรรมที่ทำเมื่อจวนเจียนจะตายหรือกรรม หรือกรรมที่ระลึกได้เมื่อใกล้จะตาย

กรรม นี้สำคัญมาก ถ้าไม่มีกรรมหนักขวางหน้าแล้ว กรรมที่ทำเมื่อจวนเจียนจะตายนี้จะต้องให้ผลก่อน ต้องให้ผลเลยเพราะกรรมนี้หนักรองลงมา สมมติว่าเมื่อเราจวนเจียนจะตาย ทำกรรมดีไว้ ก็ไปเกิดที่ดีทันทีเลยเมื่อเราไปเกิดชาติต่อไป ถ้าทำกรรมชั่ว เมื่อจวนเจียนจะตาย ก็ไปเกิดในที่ชั่วทันทีเลย นี้มีข้อแม้ว่า ถ้าไม่มีกรรมหนักมาขวางไว้ กรรมนี้จะต้องให้ผล

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อ จิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติก็เป็นอันหวังได้ หมายความว่า ถ้าผู้ใดตายไปด้วยจิตเศร้าหมอง เช่น โกรธจัด โลภจัด หลงจัด วุ่นวายจัดตอนใกล้ตาย ก็ไปตกอบายแน่แต่ถ้าหากว่าเมื่อจวนจะตาย จิตผ่องใสเบิกบาน ก็ไปสุคติแน่

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า จิตฺเต อสงฺกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา แปลว่า เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติก็เป็นอันหวังได้

คำว่า "สุคติ" นั้น คืออะไร? สุคตินั้นหมายถึงสวรรค์ทุกชั้นและหมายถึงมนุษย์โลกนี้ด้วย มนุษย์โลกนี้จัดเป็นสุคติภูมิ เรานี้เกิดมาเป็นมนุษย์ก็ถือว่าเกิดในสุคติ

ทุคติภูมิคืออะไร? ทุคติภูมิ ได้แก่ การเกิดในอบาย อบายมีอยู่ ๔ ภูมิ คือ

(๑) เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
(๒) เกิดเป็นเปรต
(๓) เกิดเป็นอสุรกาย (ที่เราแปลกันว่า ผี)
(๔) เกิดเป็นสัตว์นรก

ถ้า เกิดใน ๔ ภูมินี้ ท่านเรียกว่า อบายภูมิ ศัพท์เดิมมาจากคำว่า "อปายะ" แต่ภาษาไทยชอบเปลี่ยนตัว ป เป็น บ จึงเรียกว่า อบาย (อปายะ แปลว่า ภูมิที่เสื่อม ภูมิที่ไม่สบาย อะ แปลว่า "ไม่" ปายะ แปลว่า "เจริญ" เพราะฉะนั้น อปายะหรืออบาย จึงแปลว่า ไม่เจริญ คือ เสื่อม)

เพราะ ฉะนั้น ถ้าใครทำกรรมเมื่อจวนเจียนจะตายก็ถือว่าสำคัญมาก คนไทยเราหรือชาวพุทธเรา เมื่อญาติพี่น้อง พ่อแม่ หรือใครป่วยหนัก ก็มักจะให้สวดมนต์ให้ฟัง นิมนต์พระมาสวดมนต์ คือให้รับรู้แต่สิ่งที่ดี ๆ หรือบอกทางสวรรค์ให้ ซึ่งเขาเรียกกันว่า "บอกทาง" คนโบราณเรียกว่า บอกทาง เพราะว่าจะจากไปแล้ว

ถ้าเรารู้ เราเข้าใจว่าเขาใกล้จะตายแล้ว ก็จะบอกทางให้ บางคนให้ใช้ภาวนาว่า พุทโธ ๆ อย่างที่เราภาวนาบ่อย ๆ หรือ ภาวนาว่าอรหังๆ แต่บางคนไม่เคยได้ยินคำว่า "อรหํ" เลย พอลูกหลานบอกว่า "คุณยาย ขอให้ภาวนาว่า อรหํ อรหํ ไว้นะ" คุณยายก็ฟังว่า "อะไรหายๆ" คือยังงกอยู่ นึกว่าสมบัติมันจะหายเพราะไม่คิดถึงว่าเขาบอกทางให้ ยังคิดถึงว่าทรัพย์สมบัติที่เก็บไว้มันจะหายไปไหนเสีย มันจะหายไป เพราะไม่คำนึงถึงเรื่องที่เคยศึกษา เคยปฏิบัติ หรือมิฉะนั้นก็ไม่เคยปฏิบัติมา

ในสมัยพุทธกาล มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อว่า ธัมมิกอุบาสก เมื่อป่วยหนักจวนจะตายก็ให้ลูกๆ ไปนิมนต์พระมาสวดให้ฟัง พอพระมานั่งล้อมเตียงเข้าแล้วก็ถามว่า "ท่านจะฟังพระสูตรไหน?" ธัมมิกอุบาสกก็บอกว่า "ผมต้องการฟังสติปัฏฐาน" พระก็สวดให้ฟัง อุบาสกนี้ก็ตั้งใจฟัง พอฟังเคลิ้มไปมีภาพเทวดามาปรากฏแก่ตนในขณะนั้น ว่ามีเทวดาเอารถจากสวรรค์ ๖ ชั้นมารับ ในที่สุดอุบาสกคนนี้พอฟังธรรมแล้ว เมื่อตายไปก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต เพราะทำความดีมาตลอด

มีเรื่องแปลกอีกเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องนางมัลลิกา ซึ่งเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ในสมัยพุทธกาล พระนางทรงทำความดีมามาก แต่เวลาจวนจะสิ้นพระชนม์ไม่ทรงคิดถึงความดี ไปคิดถึงความชั่วนิดเดียวที่ทำไว้ แต่คิดบ่อยๆ ความดีมากแต่ไม่คิด ไปคิดแต่เรื่องความชั่วที่โกหกพระสวามีไว้ แล้วมานั่งคิดดูว่า "เรื่องที่เราโกหกนี่ พระสวามีจับไม่ได้ก็จริง แต่พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ก็คงรู้ เราทำไม่ถูก ไม่สมควร"

เมื่อ จวนจะสิ้นพระชนม์ พระนางมัลลิกาซึ่งเป็นผู้อุปการะต่อพระพุทธเจ้าและอรหันต์มาก บำรุงพุทธศาสนามาก แต่จวนจะสิ้นพระชนม์จิตเศร้าหมอง คิดแต่เรื่องอกุศลที่พระองค์ทำไว้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ไปทรงคิดมาก คิดบ่อย พอนางสิ้นพระชนม์ก็ไปตกนรกทันที

เมื่อพระมเหสีสิ้น พระชนม์ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เสด็จเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่าขณะนี้พระนางมัลลิกาไป เกิดที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นทรงรักพระมเหสีมาก ถ้าพระองค์ตรัสตอบโดยตรงว่าขณะนี้พระนางอยู่ในนรก พระเจ้าปเสนทิโกศลจะเลิกนับถือพุทธศาสนาแน่ และจะล้างพระพุทธศาสนาหมดจากแคว้นของพระองค์แน่ พระพุทธเจ้าทรงทราบดี

พอ พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปประทับนั่งที่พระคันธกุฎีในวัดพระเชตวัน พระพุทธองค์ก็ทรงใช้อำนาจจิตดลบันดาลใจให้ทรงสนทนาเรื่องอื่นเสีย จนพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงลืมไป คิดว่าจะทูลถามเรื่องพระมเหสีก็มัวคุยเรื่องอื่นไปเสีย แล้วเสด็จกลับวังโดยมิได้ทูลถามเรื่องนี้

พอเลย ๗ วันแล้ว กรรมที่พระนางมัลลิกาทำไว้ก็หมดไป พระนางก็จุติจากนรกไปเกิดในสวรรค์ เพราะอกุศลกรรมทำไว้ไม่มาก พอนางไปเกิดในสวรรค์แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงนึกถึงเรื่องพระมเหสีได้ ได้เสด็จมาทูลถามพระพุทธเจ้าว่าพระนางไปเกิดที่ไหน ตอนนี้พระพุทธเจ้าไม่ทรงดลบันดาลพระทัยแล้ว ตรัสตอบโดยตรงเลยว่า ขณะนี้พระนางทรงอุบัติบนสวรรค์แล้ว

ท่านเปรียบกรรมชนิดนี้ว่าเหมือนกับฝูงโคที่แออัดยัดเยียดอยู่ในคอก เวลาเช้ามืด ถ้าตัวใดอยู่ที่ปากประตู แม้จะมีกำลังอ่อนก็ต้องออกก่อน เพราะมันอยู่ปากประตูคอก กรรมที่เราทำไว้เมื่อจวนเจียนจะตายนี้ก็เหมือนกัน แม้จะไม่หนักแต่มันอยู่ใกล้ เมื่อจวนเจียนจะตายมันจะพาไปก่อน

เพราะ ฉะนั้น กรรม อันดับ ๒ นี้จึงต้องระวัง เราทำกรรมเมื่อจวนเจียนจะตายมันจะพาไปก่อน เราทำกรรมเมื่อจวนเจียนจะตายก็ต้องนึกถึงแต่กรรมดี ผู้ที่ฝึกกรรมฐานบ่อยๆ นั้น มีกำไรกว่าคนอื่น คือนึกถึงพุทโธหรือนึกถึงความดีอยู่เรื่อยๆ มันเป็นตัวหนุน แล้วกรรมที่เราเคยทำไว้มันจะทำหน้าที่มาเป็นอาสันนกรรม นำเราพุ่งขึ้นไปสู่สุคติได้

กรรมที่ ๓ คือ อาจิณณกรรม แปลว่า กรรมที่ทำจนเคยชิน คือกรรมที่ทำบ่อยๆ หรือทำคราวเดียวแต่นำมาคิดบ่อยๆ เป็นนิตย์

สมมติ ว่าเราใส่บาตรทุกวัน ทำจนเคยชิน รักษาศีลก็รักษาทุกวัน ทำจนเคยชิน ทำสมาธิก็ทำทุกวัน ทำจนเคยชิน ปฏิบัติพ่อแม่ก็ปฏิบัติทุกวันทำจนเคยชิน กวาดลานวัดก็กวาดทุกวัน ทำจนเคยชิน กรรมนี้ก็มากเข้าๆ เรียกว่า พหุลกรรม แปลว่า กรรมมากขึ้นๆ หรือกรรมหนา นี้เป็นกรรมฝ่ายดี

แต่ ถ้าเป็นกรรมฝ่ายชั่วก็เช่นกัน ถ้าด่าคนก็ด่าทุกวัน ตื่นเช้าก็ด่า ตอนเย็นก็ด่า หนักเข้าถ้าโกหกก็โกหกทุกวันๆ ถ้ากินเหล้าก็กินทุกวันๆ คือทำชั่ว ทำทุกวันเป็นอาจิณ ฆ่าสัตว์ก็ฆ่าทุกวันๆ ฉีดยุงก็ฉีดทุกวันๆ คือทำเป็นอาจิณ ทำทุกวัน ทำบ่อยๆ กรรมไหนที่ทำบ่อยๆ ทำทุกวัน ทำมากๆ เข้า ถ้าไม่มีกรรมหนักกว่า คือ ครุกรรมหรืออาสันนกรรมขวางหน้าแล้ว กรรมนี้จะต้องให้ผลก่อนแน่ กรรมนี้ต้องขึ้นหน้า แซงคิวขึ้นหน้าทันทีเลย เพราะเป็นกรรมที่หนักรองลงมา ท่านเรียกว่า อาจิณณกรรม คือ กรรมที่ทำเป็นอาจิณ หรือ พหุลกรรม กรรมที่ทำมาก

ถ้าทำกรรมดี ก็ได้ไปเกิดในที่ดี ถ้าทำกรรมชั่วก็ไปเกิดในที่ชั่ว แล้วแต่ทำประเภทไหนไว้ จะไปเกิดในที่ใด ขนาดไหน อย่างไร ก็แล้วแต่กรรมนั้นดีหรือชั่ว

กรรมที่ ๔ คือ กตัตตากรรม แปลว่า กรรมสักว่าทำ กรรมนี้ในสมัยเมื่อข้าพเจ้าเป็นสามเณรเรียนนักธรรมอยู่ มีความเข้าใจไปตามแบบการเรียนของนักธรรมในชั้นโทสมัยนั้นว่า กรรมข้อนี้เป็นกรรมที่ทำโดยไม่มีเจตนา แล้วก็เกิดสงสัยอยู่ว่า "ทำไม มันผิดพุทธพจน์ไป เพราะพระพุทธเจ้าตรัสว่า กรรมต้องมีเจตนาจึงจะเป็นกรรม แล้วกตัตตากรรม แปลว่า กรรมที่ไม่มีเจตนา เป็นกรรมได้อย่างไร เขาเคยยกตัวอย่าง เช่นว่า คนยิงธนูไป ลูกศรไปเจาะเอาต้นกล้วย ถูกตัวหนอนตายโดยไม่เจตนา ก็เป็นกรรมเหมือนกัน แม้ไม่มีเจตนา" ข้าพเจ้ายังไม่เห็นด้วย ยังสงสัยอยู่ เพราะการที่เป็นกรรมได้ต้องมีเจตนา

ภาย หลัง เมื่อศึกษามากเข้าจึงได้พบคำอธิบายที่ถูกต้องจากคัมภีร์อภิธรรม โดยเฉพาะการอธิบายกรรมข้อนี้ในคัมภีร์อภิธัมมัตถภาวินี ซึ่งเป็นหลักสูตรของประโยค ๙ เขาอธิบายกรรมนี้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า "กตัตตากรรม หมายถึงกรรมที่ทำโดยไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อน หรือกรรมที่ทำโดยเจตนาเบาบาง"

คือ กรรมบางอย่างนี่เราไม่เจตนาก่อนว่าจะทำดีหรือชั่ว แล้วก็ไปทำเข้า หรือเจตนาเบาบางเหลือเกิน ทำสักแต่ว่าทำ อย่างเขามาเรี่ยไรเรา เราไม่มีศรัทธาเลย แต่ก็ให้ไปให้พ้นๆ สักแต่ว่าทำ มันก็ได้บุญเหมือนกัน แต่บุญมันสักแต่ว่าทำ เพราะว่ามันเป็นสักแต่ว่าทำไป กรรมประเภทนี้เบาบางและน้อยมาก มันจึงรอคิวให้ผลอยู่

กรรม ประเภทนี้จะเป็นอโหสิกรรมได้ง่าย เพราะมันต้องรอคิวกรรมหนัก รอคิวอาสันนกรรม รอคิวอาจิณณกรรมอยู่ มันรอให้กรรมอื่นให้ผลให้เต็มที่ก่อนแล้วตัวเองจึงจะให้ผล รอๆ ไปหมดกำลัง กรรมประเภทนี้ แต่ถ้าหากกรรมอื่นให้ผลหมดแล้ว สมมติว่าใครคนหนึ่งทำกรรมดีไว้แล้วไปเกิดในสวรรค์ แต่เขาทำกรรมชั่วไว้อย่างหนึ่ง เช่น อาจจะหยอกล้อเพื่อน พูดหยอกล้อ แต่ว่าหยอกล้อโดยจงใจ ต้องการให้เพื่อนเสียหน้า

ถ้าว่าเขาไป เกิดในสวรรค์แล้ว พอลงมาเกิดในมนุษย์ กรรมดีของเขาหมดแล้ว กรรมนี้ก็ทำให้เขาถูกหยอกล้อ เพราะว่ามันไม่มีกรรมอื่นจะให้ผลแล้ว มันก็ถูกกรรรมนี้ให้ผล หรือถูกกลั่นแกล้ง นี้เป็นตัวอย่าง เพราะกรรมนี้มันเบา เมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลแล้วมันก็จะถึงวาระให้ผลของตัวเอง

กรรม เรียงคิวกันอยู่อย่างนี้เอง แล้วเขาไม่ลัดคิวกัน ไม่แย่งคิว ไม่คอรัปชั่นกับใคร ในเรื่องการให้ผลของกรรมนี้ ไม่มีกรรมไหนจะมาบอกว่า "นี่ นี่ ขอฉันก่อนนะ ฉันรีบ" จะขอลัดคิวอย่างนี้ไม่ได้ เพราะกรรมนี้เป็นกฎของธรรมชาติ ซึ่งเป็นกฎที่ธรรมชาติจัดเอาไว้ให้เสร็จแล้ว ทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี อย่างเรามาทำกรรมฐานหรือเรามาให้ทานหรือรักษาศีล กรรมมันจัดคิวเอาไว้แล้ว มันจัดคิวไว้ทุกวันว่าคิวไหนขึ้นก่อนคิวไหนขึ้นหลัง ถามว่า แล้วมันจัดไว้ที่ไหน? คำตอบก็คือมันจัดไว้ที่จิตของเรา จิตนี่เป็นตัวบันทึกกรรม มันบันทึกกรรมทุกชนิดที่เราทำเอาไว้จิตเป็นเครื่องบันทึกที่ถี่ยิบและ ละเอียดที่สุด

นี่คือกรรมที่ให้ผลตามลำดับ ๔ อย่าง

การพูดถึงกฎแห่งกรรม จะต้องทำความเข้าใจให้ชัด อันกฎแห่งกรรมนั้นก็ต้องมีกฎของมันเช่นเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ เช่น กฎแห่งความโน้มถ่วง กฎแห่งความดึงดูด เพราะขึ้นชื่อว่า "กฎ" แล้วมันก็ต้องมีกฎของมันทั้งสิ้น มันต้องมีสูตรของมัน กฎแห่งกรรมก็ต้องมีสูตรส่วนมากเราได้ยินกฎแห่งกรรมย่อๆ ว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"

พระพุทธเจ้าตรัสกฎแห่งกรรมไว้ชัดเจน คือ

(๑) กมฺมสฺสกา สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
(๒) กมฺมทายาท เป็นผู้รับผลของกรรม
(๓) กมฺมโยนี เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
(๔) กมฺมพนฺธู เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
(๕) กมฺมปฏิสรณา เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
(๖) ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ
จักทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

คัดลอกจาก กฎแห่งกรรม
พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1051

งานอดิเรก: อ่านหนังสือธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: Bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: คุณdd นะคะที่เอาคำอธิบายมาเสนอ อ่านแล้วเข้าใจเลยค่ะ
แต่อยากถามต่อนะคะว่า :b10: :b10:
:b48: ถ้าเราทำผิดเล็กๆน้อย แต่ถือว่าผิด เช่นพูดเป็นวจีทุจริตต่างๆ นินทา หรือการปฏิบัติผิดศีล5
แต่ไม่ใช่ว่าร้ายแรงน่ะค่ะ เช่นอาจดื่มน้ำเหล้าเป็นครั้งคราว
หรือตีตะขาบตาย ตีงู เพราะความกลัวว่ามันเป็นสัตว์ดุร้ายตามธรรมดาของคนทั่วไป
แต่คนๆหนึ่งตั้งแต่เกิดมา จนถึงเวลาที่เราสิ้นอายุไข ถ้าประมาณอายุ 50 ปี ทำผิดแบบนี้มา จะกลาย
เป็นความผิดสะสมไม๊คะ เพราะเราสงสัย
:b48: อย่างเมื่อวันที่เราไปไหว้พระ เราเอาลูกน้องที่ร้านไปด้วย เค้าเป็นเด็กหนุ่มอายุสัก 30 ปี
เค้าก็ไม่ได้ไหว้พระกับเรานะ แค่เดินตามไป เราถามเค้าก็บอกไม่ไหว้หรอกมาเที่ยว เราก็ไม่อยากบังคับ
เพราะเรื่องแบบนี้ต้องอยู่ที่ใจน่ะค่ะ แล้วเค้าก็จะติดบุหรี่ ข้อนี้เราก็ดุเค้าบ่อยๆหวังว่าสักวันเค้าคงเลิก
แบบนี้นี้คือเค้าผิดศีลนะคะ และนานด้วย วันนั้นเรานั่งมองเค้าและก็สงสัยถามตัวเองว่าแบบนี้
จะเรียกว่าบาปกรรมขนาดไหน เพราะเค้าไม่ได้ผิดร้ายแรง แต่สั่งสมเป็นเวลานานก็น่าจะผิดมากไม๊
เพราะทำมาเกือบทั้งชีวิต เราเลยสงสัย น่ะค่ะ

ไม่รู้ว่าคุณdd จะเข้าใจที่เราอธิบายไม๊ คือมันคิดสงสัยมากในเรื่องนี้ แต่ไม่รู้ว่าอธิบายแบบนี้คุณ
จะเข้าใจไม๊คะ
:b48: หรือท่านใดที่มีคำแนะนำก็เชิญนะคะ อยากเข้าใจหลายๆความเห็นน่ะค่ะ
พอดี จขกท ตั้งมาเลยคิดว่าน่าจะมาถามต่อได้น่ะค่ะ :b10: :b10:

.....................................................
    มีสิ่งใด น่าโกรธ อย่าโทษเขา.... ต้องโทษเรา ที่ใจ ไม่เข้มแข็ง
    เรื่องน่าโกรธ แม้ว่า จะมาแรง ....ถ้าใจแข็ง เหนือกว่า ชนะมัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 16:28
โพสต์: 14


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วถ้าเราทำผิดศีลอย่างเงี่ยครับ แต่ทำติดต่อกันนานประมาน 1 ปี(สมมุติทำตอนอายุ20ปี) แต่เสียชีวีตตอนอายุประมาน 60 ยังงี้ กรรมที่เขาทำถือว่าเป็นกรรมแบที่ 3 หรือเปล่า

แล้วถ้าคนทำผิดศีลแค่ครั้งเดียวยังงี้แต่ตอนทำมีเจตนาจะจัดอยู่ในกรรมประเภทใดครับ :b34: :b34: :b34: :b34: :b34:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าเราทำผิดเล็กๆน้อย แต่ถือว่าผิด เช่นพูดเป็นวจีทุจริตต่างๆ นินทา หรือการปฏิบัติผิดศีล5
แต่ไม่ใช่ว่าร้ายแรงน่ะค่ะ เช่นอาจดื่มน้ำเหล้าเป็นครั้งคราว
หรือตีตะขาบตาย ตีงู เพราะความกลัวว่ามันเป็นสัตว์ดุร้ายตามธรรมดาของคนทั่วไป
แต่คนๆหนึ่งตั้งแต่เกิดมา จนถึงเวลาที่เราสิ้นอายุไข ถ้าประมาณอายุ 50 ปี ทำผิดแบบนี้มา จะกลาย
เป็นความผิดสะสมไม๊คะ เพราะเราสงสัย


การทำบาปกรรม ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงไร ก็ขึ้นชื่อว่าสะสมอกุศลวิบากนะครับ ยิ่งกว่านั้น ยังสั่งสม
อุปนิสสัย ในการทำบาปนั้นๆให้มีกำลังกล้าขึ้นด้วย
ตอนแรกๆ อาจโกหกหรือนินทาเรื่องเล็กๆน้อยๆ ต่อไป แม้เรื่องที่ใหญ่กว่านั้นเราก็จะทำได้ เพราะไม่เคยคิดยับยั้งกิเลสของตนเอง คราวนี้ กรรมที่ว่าหยุมหยิมเล็กน้อย ก็กลับสามารถกลายเป็นคุรุกรรมไปได้ทีเดียว ตัวอย่างว่าเราฆ่าัสัตว์เล็กๆน้อยๆได้เพราะรักลูก ในยามที่มีเหตุคนร้ายมาคุกคามต่อชีวิตทรัพย์สินของเรา ความคิดย่อมแล่นไปเพื่อการประหารคนร้ายทันที เพราะคุ้นเคยกับความเห็นว่า ที่ทำนี้เพื่อความปลอดภัยของเรา ...ลืมคิดไปว่า เราปลอดภัยเฉพาะเวลานั้น แต่นับแต่วินาทีหน้าเป็นต้นไป อกุศลวิบากก็เริ่มตามล่าเราเช่นกัน และมันตามเราเป็นร้อยหรือหลายร้อยชาตินั่นแหละ..

อ้างคำพูด:
อย่างเมื่อวันที่เราไปไหว้พระ เราเอาลูกน้องที่ร้านไปด้วย เค้าเป็นเด็กหนุ่มอายุสัก 30 ปี
เค้าก็ไม่ได้ไหว้พระกับเรานะ แค่เดินตามไป เราถามเค้าก็บอกไม่ไหว้หรอกมาเที่ยว เราก็ไม่อยากบังคับ
เพราะเรื่องแบบนี้ต้องอยู่ที่ใจน่ะค่ะ แล้วเค้าก็จะติดบุหรี่ ข้อนี้เราก็ดุเค้าบ่อยๆหวังว่าสักวันเค้าคงเลิก
แบบนี้นี้คือเค้าผิดศีลนะคะ และนานด้วย วันนั้นเรานั่งมองเค้าและก็สงสัยถามตัวเองว่าแบบนี้
จะเรียกว่าบาปกรรมขนาดไหน เพราะเค้าไม่ได้ผิดร้ายแรง แต่สั่งสมเป็นเวลานานก็น่าจะผิดมากไม๊
เพราะทำมาเกือบทั้งชีวิต เราเลยสงสัย น่ะค่ะ


สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนครับ เขาเคยเสพติดสิ่งใดๆมาแล้วนั่นแหละจึงเป็นปัจจัยที่จะเสพสิ่งเสพติด เป็นปรกติ เพราะไม่เคยสดับธรรมะจึงไม่มีปัญญาคิดว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษ..
แม้เขาจะมาอยู่กับกัลยาณมิตรที่หวังดีชักจูง เสนอโอกาสให้ทำกุศลแม้เพียงด้วยการกราบไหว้สิ่งควรไหว้
....แต่อนิจจาเพราะเหตุปัจจัยไม่มี จึงมืดบอดเสียเช่นนั้น เขาเองได้สั่งสมอุปนิสสัยที่จะได้เกิดมาเสพติดอะไรๆอีกในอัตภาพข้างหน้า เคยเห็นสัตว์บางชนิดที่ติดเหล้าหรือบุหรี่เพราะมีปาปมิตรสนับสนุนให้เป็นเช่นนั้นใช่ใหมครับ เหตุอะไรเล่าสัตว์เหล่านั้นจึงได้เป็นเช่นนี้ ถ้าไม่ใช่เพราะได้ทำเหตุของตนมาไว้แต่ภพก่อนๆ เพราะสิ่งทั้งปวงล้วนไหลมาจากเหตุ หาใช่ความบังเอิญไม่..

ขออนุโมทนาคุณ O.wan ในเมตตากรุณาที่มีต่อเพื่อนร่วมทุกข์ พึงสงเคราะห์เขาเท่าที่จะทำได้นะครับ

เมื่อพยายามแล้วเขาไม่รับก็วางใจให้ถูกว่าเราก็ได้กุศลแล้วที่คิดช่วยเขา เราจักไปตามกรรมของเรา เขาก็จักไปตามกรรมของเขา..

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วถ้าเราทำผิดศีลอย่างเงี่ยครับ แต่ทำติดต่อกันนานประมาน 1 ปี(สมมุติทำตอนอายุ20ปี) แต่เสียชีวีตตอนอายุประมาน 60 ยังงี้ กรรมที่เขาทำถือว่าเป็นกรรมแบที่ 3 หรือเปล่า


ต้องถามว่า เมื่อทำแล้วคิดถึงบ่อยๆหรือเปล่า ถ้ายังคิดวนเวียนถึงกรรมนั้นก็เข้าข่ายอาจิณกรรมได้ครับ..
แต่หากไม่คิดถึงเลย แล้วก็ไม่ทำอีกเลย ก็ไม่ใช่ข้อนี้ครับ..เรื่องกรรมนี้ละเอียดอ่อนมาก ต้องทราบสภาพความคิดของผู้ทำด้วย เรื่องนี้พ้นวิสัยแห่งปุถุชนที่จะพึงวินิจฉัยได้ครับ..

อ้างคำพูด:
แล้วถ้าคนทำผิดศีลแค่ครั้งเดียวยังงี้แต่ตอนทำมีเจตนาจะจัดอยู่ในกรรมประเภทใดครับ


จัดเข้าในกลุ่มกตัตตากรรมครับ

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2009, 23:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุ กับคุณ dd ด้วยครับ แสดงใว้ดีแล้ว แสดงใว้ดีแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 03:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2008, 14:07
โพสต์: 285

อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าไปสงสัยเลยครับ
ให้อยู่กับปัจจุบันครับ ชีิวิตหลังความตายเรากำหนดไม่ได้ แต่ชีวิตปัจจุบันเรากำหนดได้

.....................................................
"ใครเกิดมา ไม่พบพระพุทธศาสนา ไม่เลื่อมใส ไม่ปฎิบัติ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นโมฆะตลอด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย"

"ให้พากันหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา"

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
http://www.luangta.com/

"ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน"
หลวงปู่มั่น

"ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว"
หลวงพ่อปราโมทย์ สวนสันติธรรม ชลบุรี
http://www.wimutti.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพลศักดิ์ วังวิวัฒน์ ตอบได้ช่วยตอบเขาที... :b32: :b32:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2009, 16:28
โพสต์: 14


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามอีกนิดนะครับ
คือว่า การที่คนเราทำกรรมอย่างนึงไว้แล้วสำนึกผิดแล้วคิดถึงความผิดนั้นบ่อยๆ (น่าจะถือได้ว่าเป็นอาจีณกรรม)จะได้รับกรรม มากกว่า คนที่ทำผิดแล้วไม่สำนึกหรือครับ จะดีเหรอครับ- -
ช่วยตอบทีครับ

แล้วขอถามย้ำอีกนิดนึงว่าถ้าอย่างนั้นคนที่ไปเกิดในสวรรค์หลังตาย(รับกรรมระดับที่2) แล้วจะไปตกนรกเพื่อชดใช้กรรมอีกหรือครับ หรือว่าจะเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วใช้กรรมในชาติที่เป็นมนุษย์แทน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 18:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มิ.ย. 2008, 22:40
โพสต์: 1769

แนวปฏิบัติ: กินแล้วนอนพักผ่อนกายา
งานอดิเรก: ปลุกคน
สิ่งที่ชื่นชอบ: Tripitaka
ชื่อเล่น: สมสีสี
อายุ: 0
ที่อยู่: overseas

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขอถามอีกนิดนะครับ
คือว่า การที่คนเราทำกรรมอย่างนึงไว้แล้วสำนึกผิดแล้วคิดถึงความผิดนั้นบ่อยๆ (น่าจะถือได้ว่าเป็นอาจีณกรรม)จะได้รับกรรม มากกว่า คนที่ทำผิดแล้วไม่สำนึกหรือครับ จะดีเหรอครับ- -
ช่วยตอบทีครับ


เข้าใจผิดแล้วนะครับ ที่แสดงไว้นี้ คือลำดับการให้ผลของกรรม ไม่ใช่ปริมาณกรรมว่ามากหรือน้อย

อ้างคำพูด:
แล้วขอถามย้ำอีกนิดนึงว่าถ้าอย่างนั้นคนที่ไปเกิดในสวรรค์หลังตาย(รับกรรม ระดับที่2) แล้วจะไปตกนรกเพื่อชดใช้กรรมอีกหรือครับ หรือว่าจะเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วใช้กรรมในชาติที่เป็นมนุษย์แทน


คำถามนี้ น้องต้องรอถามพระพุทธเจ้าแล้วละครับ สุดวิสัยของปุถุชนที่จะตอบนะครับ :b12:

.....................................................
ศีล ๕ รักษาตนไม่ให้เกิดในอบายภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ม.ค. 2009, 02:20
โพสต์: 1387

ที่อยู่: สัพพะโลก

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ท่านเคยตรัสกับพระอานนท์ว่า.

...อานนท์ กรรมอันเป็นอจินไตย เธอล่วงรู้ได้หรือไม่ วิบากผลแห่งกายของเธอนั้นเป็น
อจินไตย กรรมวิบากของสรรพสัตว์ก็เป็นอจินไตย กุศลมูลของสรรพสัตว์เป็นอจินไตย
พระกำลังของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พุทธโลกธาตุทั้งปวงก็เป็นอจินไตย....


เรื่องกรรม มันก็ยากที่จะหยังรู้ได้นะครับ กฎแห่งกรรมก็จะจัดสรรไปเอง
ตามเหตุปัจจัย
:b8:

.....................................................
ผู้มีจิตเมตตาจะไม่มีศัตรู ผู้มีสติปัญญาจะไม่เกิดทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ละอายกรรม เขียน:
คือจากการที่ผมอ่านกระทู้มาหลายๆ อันอ่ะครับ ผมก็ได้รู้ว่ากรรมนั่งลบล้างกันไม่ได้ กรรมดีก็ส่วนกรรมดี กรรมไม่ดีก็คือไม่ดี ต้องรับทั้ง2อย่าง

ผมจังเกิดข้อสงสัยว่าถ้าเช่นนั้น เมื่อคนเราตายไปถ้าทำกรรมชั่วไว้ แต่ก็ทำกรรมดีด้วย อย่างนั้นแล้ว คนๆนั้นต้องตกนรกก่อน แล้วเมื่อชดใช้กรรมชั่วเสร็จแล้วจึงไปขึ้นสววรค์หรือครับ /หรือว่าเป็นเทวดาก่อนแล้วค่อยตกนรก /หรือว่าเอามาดูกันก่อนว่าอันไหนมากกว่ากัน ยังไงครับ ขอผู้รู้ช่วยตอบด้วย :b20: :b20: :b20: :b20: :b20:


ใครบอกคุณล่ะว่า กรรมนั้นลบล้างกันไม่ได้ สมมุติสงฆ์ผู้ไม่ปฏิบัติ คิดเอาเองด้วยหัวจากการอ่านพระไตรปิฎก แล้วตีความผิดๆ เอาเอง แล้วมาสอนเราใช่หรือเปล่า ถ้ากรรมหักลบกันไม่ได้ มีหรือองคุลิมาลจะพ้นนรกไปได้ ผมจะบอกคุณนะ

กรรมรวมทั้งหมดทั้งดีทั้งชั่วที่เราทำมาในสังสารวัฏฏ์มันเยอะไปหมด คงลบล่างไม่ได้จริง แต่กรรมแต่ละอย่างที่คุณทำไป โดยเฉพาะในชาตินี้ มันลบล้างแบบบรรเทาเจือจางลงได้ พระพุทธองค์เรียกว่า การก้าวล่วงบาปกรรม พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำให้ก้าวล่วงออกจากกรรมเสีย โดยการกำหนดอธิษฐานจิต ตั้งใจมั่นว่า:

" กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด "

ในโลกมนุษย์ เพราะว่าคุณได้สำนึกผิดอย่างเด็ดขาดไปแล้ว วิบากกรรมที่จะส่งผลถึงคุณนั้นจะเบาบางลง แม้เจ้ากรรมนายเวรไม่ได้ให้อภัย ส่วนในปรโลก วิบากกรรมนั้นจะกลายเป็นเศษกรรมไป

เมื่อองคุลิมาลไปบิณฑบาต ท่านได้เข้าไปบิณฑบาติในเมืองสาวัตถี ถูกประชาชนขว้างปาด้วยก้อนอิฐ ก้อนหิน และท่อนไม้ จนศีรษะแตก เลือกไหล บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาดวิ่นมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า กรรมที่จะให้ผลไปหมกไหม้ในนรกเป็นเวลาหลายหมื่นหลายแสนปี เป็นอันท่านได้รับผลในปัจจุบัน.

ย้ำ!!! กรรมที่จะให้ผลไปหมกไหม้ในนรกเป็นเวลาหลายหมื่นหลายแสนปี เป็นอันท่านได้รับผลในปัจจุบัน.


เห็นไหมครับ กรรมทั้งหมดในสังสารวัฏฏ์อาจจะลบไม่ได้ เพราะมันเยอะแยะไปหมด แต่กรรมเฉพาะอย่างโดยเฉพาะในชาตินี้ลบได้ครับ แต่ก็ต้องได้รับผลแห่งเศษกรรมบ้าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกท่านครับ



เรื่องกรรมและวิบากกรรมเป็นเรื่องของจิตสำนึกก่อกรรม และจิตใต้สำนึกเก็บและจำการก่อกรรมนั้นเอาไว้ และนำมาแสดงผลในภาพหลังเมื่อเจ้ากรรมนายเวรที่เป็นจิตใต้สำนึกของผู้อื่น ทวงหนี้กรรมนั้น

มีผู้ถามพระพุทธเจ้าเรื่องที่เราต่างทำบาปมากบ้างน้อยบ้าง ดังนั้นต้องตกอบายตกนรกทั้งนั้นน่ะซิ พระพุทธเจ้าตอบดังนี้

..........................................................................................................

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค


.......พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนปาณาติบาตโดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงเว้นจากปาณาติบาต ก็สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อที่เราฆ่าสัตว์มากมายนั้น ไม่ดีไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อนเพราะข้อนี้เป็นปัจจัยแท้

เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้(สำนึกบาป ยอมรับความผิด) เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาตนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย(แล้วตั้งใจจะไม่ทำบาปนั้นอีก ขบวนการทั้งหมดเรียก การก้าวล่วงบาปกรรม) เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้ ฯ

นี่ก็คือ ก้าวล่วงบาปกรรมข้อปาณาติบาต คือ ไปปรับเปลี่ยนจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกของเราให้สำนึกบาป และตั้งใจจะไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปนั้นอีก กรรมและวิบากกรรมดำ ก็จะกลายเป็น กรรมและวิบากกรรมขาว ผลก็คือวิบากกรรมดำจะมีวิบากกรรมเบาบางลง และจะกลายเป็นเศษกรรมไปในที่สุด

[๖๑๖] สาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิติเตียนอทินนาทาน(การลักทรัพย์)โดยอเนกปริยาย และตรัสว่า จงงดเว้นจากอทินนาทานทรัพย์ที่เราลักมีอยู่มากมาย

ข้อที่เราลักทรัพย์มากมายนั้น ไม่ดี ไม่งาม เราแลพึงเดือดร้อน เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัยแท้ เราจักไม่ได้ทำบาปกรรมนั้นหามิได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละอทินนาทานนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากอทินนาทานต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรม ก้าวล่วงบาปกรรมได้ ด้วยประการอย่างนี้

นี่ก็คือ ก้าวล่วงบาปกรรมข้ออทินนาทานทรัพย์ คือ ไปปรับเปลี่ยนจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกของเราให้สำนึกบาป และตั้งใจจะไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปนั้นอีก กรรมและวิบากกรรมดำ ก็จะกลายเป็น กรรมและวิบากกรรมขาว ผลก็คือวิบากกรรมดำจะมีวิบากกรรมเบาบางลง และจะกลายเป็นเศษกรรมไปในที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2009, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

สวัสดีครับ คุณละอายกรรม

ขอเข้ามาร่วมแสดงความเห็นในกระทู้ด้วยครับ :b16: :b12: :b8:

ให้หมั่นพิจารณาอยู่เสมอว่า เรามีกรรมเป็นของตนเอง เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นผู้ติดตาม เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ไม่ว่าจะทำกรรมใดไว้ เราจะต้องเป็นผู้ได้รับผลกรรมนั้น ๆ สืบไป เรื่องของกรรม เป็นเรื่องสลับซับซ้อน เกินกว่าคนธรรมดาทั่วไปจะหยั่งรู้ได้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เรื่องของกรรมเป็นเรื่อง “อจิณไตย” การศึกษาเรื่องกรรม ก็เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต เพื่อเป็นแนวทางให้สร้าง กุศลกรรม และละเว้นอกุศลกรรม ทำจิตใจให้ผ่องใส เราเกิดมาเพื่อพัฒนาชีวิต จิตใจ ให้กรรมของเราหรือการกระทำของเรา เมื่อเราเข้าใจกฎแห่งกรรม ยอมรับกฎแห่งกรรมด้วยปัญญาอันชอบ ก็จะพอใจในสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ ตามฐานะของตนในปัจจุบัน ยอมรับว่าสิ่งที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน สมบูรณ์แล้วด้วยเหตุผล หมั่นสร้างกุศลกรรม สร้างบุญ บารมีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งได้พบพระพุทธศาสนา และมีครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นำชีวิตไปในทางที่ถูกแล้ว อย่าปล่อยโอกาสอันดีให้ผ่านไป เพราะการได้ศึกษาหลักธรรมคำสอนที่ถูกต้องอันจะนำชีวิตออกจากทุกข์นั้น เป็นของที่หาได้ยากยิ่ง เราทำกรรมมามากแค่ไหน เวียนว่ายตายเกิดมากี่ภพกี่ชาติแล้ว มีอย่างเดียวที่จะเลิกกรรมได้ คือไม่ต้องเกิดอีก คือต้องเข้ามรรคผลนิพพานไปเลย ไม่เช่นนั้นต้องมีเหตุให้ทำกรรม ชดใช้กรรม ไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จักจบจักสิ้น การอยู่เหนือกรรมโดยการหลุดพ้นเป็นอิสระ ไม่กลับมาเกิดเป็นทุกข์อีกไม่ว่าชาติภพใด ๆ ต่างหาก คือจุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนา......... :b42: :b42:

:b43: :b43: :b43:

ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น
พร้อมดับที่เหตุพลัน พระองค์กล่าวเพียงเท่านี้

ใจความสำคัญสุด เป็นแก่นพุทธศาสน์ศรี
เป็นสัจจวาที อมตะนิรันดร์กาล

เป็นกฎแห่งเหตุผล ไปแต่ต้นจนอวสาน
พึงเพ่งพิจารณญาณ ให้ทำชอบที่ชอบธรรม

สิ่งนี้กับสิ่งนั้น อาศัยกันและกันนำ
เป็นกรรมส่งผลกรรม ประจักษ์ชัด ณ บัดนี้ฯ

(บทกวีโดย...คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

:b43: :b43: :b43:


อย่าไปคิดมากเรื่องกรรมเลยครับ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด (เหตุดี) ผลย่อมดีแน่นอน

เจริญในธรรมครับ
:b8:

:b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 202 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร