ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
กลยุทธ์นการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21060 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ฌาณ [ 14 มี.ค. 2009, 22:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | กลยุทธ์นการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า |
ในวงสนทนาก็ดี ในการประชุมไม่ว่าจะเป็นระดับไหน ตั้งแต่เล็กไปหาใหญ่ หรือระดับชาติก็ดีล้วนต้องมีคำถามเกิดขึ้นเสมอ....... คำถามบางคำถาม ผู้ถามถามด้วยความอยากรู้ อยากเห็นอย่างจริงใจ เป็นความกระตือรือร้นในการเสาะแสวงหาความรู้อย่างแท้จริง เช่นนัก เรียนนักศึกษาถามปัญหาครูบาอาจารย์ เป็นต้น คำถามบางคำถาม ถามเพื่อเป็นการลองภูมิว่าผู้ตอบนั้นมีภูมิความรู้จริงหรือไม่ คำถามบางคำถาม ถามเพื่อจะต้อนให้คู่สนทนาหรือ ฝ่ายตรงข้ามเข้ามุมอับ โดยหลอกล่อให้ผู้ตอบหลงทาง โดยถามคำถามลวง ตะล่อมให้ผู้ตอบหลงเข้าไปในกับดักของปัญหา แล้วก็ยิงคำถามที่ต้องการ จนผู้ตอบ ตอบไม่ได้ เพราะหลงกลของผู้ถาม เหมือนหมากรุกที่ถูกรุกฆาตและจนมุมนั่นเอง คำถามบางคำถาม ผู้ถูกถามไม่จำเป็นต้องตอบโดยทันทีทันใด แต่จะใช้วิธีถามกลับ ซึ่งเรียกว่า ปฏิปุจฉาพยากรณ์ หรือ ปฏิปุจฉาวาที คือเป็นการจำแนกคำถาม หรือการพยากรณ์ปัญหาธรรม โดยให้ผู้ถามเป็นผู้ตอบ และเมื่อตอบแล้วคำตอบนั้นก็เป็นการตอบคำถามไปในตัว โดยที่ผู้ถูกถามไม่จำเป็นต้องตอบ เพราะการถามกลับนั้น เป็นการแยกแยะคำถามให้เกิดคำตอบขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือมิฉะนั้นการถามกลับจะเป็นการตะล่อมให้ผู้ถามเข้าไปสู่จุดมุ่งหมายของคำตอบ เมื่อถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ก็จะยิงคำตอบทันที เป็นคำตอบสุด ท้ายที่ผู้ถามต้องจำนน เพราะไม่มีคำถามที่จะต้องถามอีกต่อไป ![]() วันนี้ก็เลยจะขอพาท่านผู้อ่านเดินย้อนอดีตไปสักสองพันกว่าปี ไปประเทศอินเดีย ไปดูว่าเขามีวิธีถาม วิธีตอบคำถามกันอย่างไร โดยที่ท่านไม่ต้องไปทำหนังสือเดินทาง ไปขอวีซ่า ไปซื้อตั๋วเครื่องบินให้ยากลำบาก ขอเพียงสนใจอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ก็เหมือนว่าท่านได้อยู่ในอินเดีย และอยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วยตนเอง เรื่องมีว่า.......... ![]() ![]() ![]() สมัยหนึ่ง......... ![]() ![]() พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ อภัยราชกุมารซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร เข้าไปสำนักของนิครน ถนาฏบุตร ก็ได้รับการ เสี้ยมสอนให้ไปยกวาทะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเกี่ยวกับการกล่าววาจา โดยนิครนถนาฏบุตรสอนว่าถ้าถามเป็น ปัญหา 2 เงื่อนอย่างนี้แล้ว พระสมณโคดมจะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เหมือนมีเหล็กติดอยู่ในคอทีเดียว ถามอย่างไร ? คือให้ถามว่า พระตถาคตย่อมกล่าววาจาที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจแก่คนอื่นใช่หรือไม่ ถ้าตอบว่าใช่ ก็จะย้อนได้ว่า พระองค์กับปุถุชนจะต่างอะไรกัน เพราะปุถุชนก็กล่าววาจาเช่นกัน ถ้าพระองค์ตอบว่าไม่ใช่ ก็จะย้อนได้ว่า เหตุไฉนพระองค์จึงว่ากล่าว พระเทวทัตอย่างรุนแรงว่าเป็นโมฆบุรุษ จนพระเทวทัตโกรธไม่พอใจ จากนั้น อภัยราชกุมารก็เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความกระหยิ่มยิ่มย่องลำพองใจ เพราะจะได้ถามปัญหาดังกล่าว และแน่ใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะต้องจำนนต่อคำถามนี้แน่นอน แต่เมื่อมองดูพระ อาทิตย์เห็นว่ายังไม่ใช่กาลอันสมควรที่จะยกวาทะ จึงทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ไปฉันภัตตาหารในวัน รุ่งขึ้น โดยมีพระองค์และพระผู้พระภาคเจ้าพร้อมภิกษุติดตามอีก ๒ รูป เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์และเสด็จไป ฉันเสร็จแล้ว อภัยราชกุมารก็กราบทูลขึ้นว่า “พระตถาคตตรัสวาจาอันไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ใช่หรือไม่” พุทธองค์ตรัสตอบว่า ในข้อนี้มิใช่ปัญหาที่พึงตอบโดยแง่เดียว (ก็คือไม่แน่นอนเสมอไป ได้แก่ย่อมตรัสทั้ง สองอย่างโดยควรแก่เหตุหรือให้เหมาะแก่บุคคลนั่นเอง) พอตรัสตอบเพียงเท่านี้ อภัยราชกุมารถึงกับตะลึงเหงื่อผุดเต็มพระพักตร์ เพราะคิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะจำนน กลายเป็นว่าตนเองกลับต้องจำนนด้วยคำตอบ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อภัยราชกุมารจึงกราบทูลว่า ในข้อนี้พวกนิครนถ์ฉิบหายแล้ว พร้อมทั้งเล่าความจริงทุกประการที่นิครนถนาฏบุตรสอนให้มาไต่ถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่า เด็กที่อมเอาไม้หรือกระเบื้องเข้าไว้ในปาก เพราะความพลั้งเผลอของท่านหรือแม่นม ท่านจะทำอย่างไร อภัยราชกุมารกราบทูลว่า ถ้านำออกในเบื้องแรกไม่ได้ ก็ต้องประคองศีรษะด้วยมือซ้าย งอนิ้วนำของออก ด้วยมือขวาแม้จะทำให้เลือดออกก็ต้องยอมเพราะมีความอนุเคราะห์แก่เด็ก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทราบว่าวาจาใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ หรือจริงแท้แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของผู้อื่น ก็ไม่กล่าววาจานั้น คำใด จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่พอใจของบุคคลอื่น ตถาคตย่อมรู้กาลที่ จะกล่าววาจานั้น คำใด ไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่ รักเป็นที่พอใจของบุคคลอื่น ตถาคตก็ไม่กล่าววาจานั้น คำใด จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่ รักเป็นที่พอใจของบุคคลอื่น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะ กล่าววาจานั้น ทั้งนี้เพราะตถาคตมีความอนุเคราะห์ในสัตว์ทั้งหลาย อภัยราชกุมารจึงกราบทูลถามว่า มีผู้แต่งปัญหาทูลถาม พระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องทรงคิดก่อนหรือไม่ว่า ถ้าเขาถามอย่างนี้จักตอบอย่างนี้ หรือว่าเรื่องนั้นแจ่มแจ้งแก่พระตถาคตเจ้าโดยฐานะทีเดียว พระพุทธองค์ตรัสย้อนถามว่า ท่านเป็นผู้ฉลาดในส่วนประกอบของรถใช่หรือไม่ อภัยราชกุมารกราบทูลว่า ฉลาดในส่วนประกอบของรถจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามต่อไปว่า เมื่อมีผู้มาถามว่า นี้เป็นส่วนประกอบน้อยใหญ่อะไรของรถ ท่านจะต้องคิดก่อนหรือไม่ว่า ถ้าเขาถามอย่างนี้จักตอบอย่าง นี้ หรือว่าเรื่องนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่านโดยฐานะทีเดียว อภัยราชกุมารกราบทูลว่า ข้าพระองค์เป็นช่างทำรถ รู้เจนจบในส่วนประกอบน้อยใหญ่ของรถ เรื่องนั้น แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์โดยฐานะทีเดียว พระผู้มีพระ-ภาคเจ้าจึงตรัสว่า แม้พระองค์ก็ฉันนั้น ทรงรู้แจ้งแทงตลอดธรรมธาตุแล้ว เรื่องนั้นจึงแจ่มแจ้งแก่พระองค์โดยฐานะทีเดียว อภัยราชกุมารกราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แล้วแสดงพระองค์เป็นอุบาสก ถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดพระชนมชีพ ก็เป็นอันว่านิครนถนาฏบุตรต้องเสียสาวกผู้ให้ความ อุปถัมภ์ค้ำจุนที่สำคัญไปอีกผู้หนึ่ง เพราะคำถามที่ตนเองแต่งขึ้น โดยการมองปัญหาเพียงด้านเดียว หรือไม่รอบด้านนั่นเอง จากเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงเป็นสัพพัญญูอย่างแท้จริง คือทรงรู้สรรพสิ่งทั้งปวงอย่างแจ่มแจ้ง โดยมิต้องสงสัยเลย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | อินทรีย์5 [ 14 มี.ค. 2009, 23:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กลยุทธ์นการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า |
![]() คำถามบางคำถาม ถามเพื่อเป็นการลองภูมิว่าผู้ตอบนั้นมีภูมิความรู้จริงหรือไม่ คำถามบางคำถาม ถามเพื่อจะต้อนให้คู่สนทนาหรือ ฝ่ายตรงข้ามเข้ามุมอับ โดยหลอกล่อให้ผู้ตอบหลงทาง โดยถามคำถามลวง ตะล่อมให้ผู้ตอบหลงเข้าไปในกับดักของปัญหา แล้วก็ยิงคำถามที่ต้องการ จนผู้ตอบ ตอบไม่ได้ เพราะหลงกลของผู้ถาม เหมือนหมากรุกที่ถูกรุกฆาตและจนมุมนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น การถามตอบ แบบมาราธอน ของพระเจ้ามิลินทร์ และพระนาคเสนเถระ หากได้อ่านเรื่องราวบุคคลทั้งสองท่าน จะอ่านแล้วสนุกมาก(สุดท้ายพระเจ้ามิลินทร์ยอมแพ้แล้วยอมถวายตัวเป็นพุทธมามกะ ) ซึ่งเกิดขึ้นในราว พ.ศ. 500 ![]() |
เจ้าของ: | คนไร้สาระ [ 15 มี.ค. 2009, 06:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กลยุทธ์นการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า |
![]() ![]() ![]() ที่คุณ ฌาน นำมาโพสต์ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | บัวไฉน [ 15 มี.ค. 2009, 09:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กลยุทธ์นการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า |
![]() ![]() ได้แก่ย่อมตรัสทั้ง สองอย่างโดยควรแก่เหตุหรือให้เหมาะแก่บุคคลนั่นเอง) |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 15 มี.ค. 2009, 12:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กลยุทธ์นการตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า |
อ้างคำพูด: ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทราบว่าวาจาใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือจริงแท้แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของผู้อื่น ก็ไม่กล่าววาจานั้น คำใด จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็น ที่รักไม่เป็นที่พอใจของบุคคลอื่น ตถาคตย่อมรู้กาลที่ จะกล่าววาจานั้น คำใด ไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือจริงแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่ รักเป็นที่พอใจของบุคคลอื่น ตถาคตก็ไม่กล่าววาจานั้น คำใด จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่ รักเป็นที่พอใจของบุคคลอื่น ตถาคตย่อมรู้กาลที่จะ กล่าววาจานั้น ทั้งนี้เพราะตถาคตมีความอนุเคราะห์ในสัตว์ทั้งหลาย ลองสรุปดูนะคับ ว่าวาจาที่จะกล่าวนั้น ต้อง... 1. ...ทราบว่าวาจาใดไม่จริง ไม่แท้ 2. ...ต้องประกอบด้วยประโยชน์ 3. ...พูดแล้วผู้ฟังไม่ขุ่นเคือง 4. ...รู้กาลที่จะกล่าววาจานั้น 5. ...มีความประสงค์จะอนุเคราะห์ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |