ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=20615 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 15 ก.พ. 2009, 14:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
การยึดติด ในอัตตา กับการบรรลุธรรม เนื่องจากข้าพเจ้าเห็นว่า บทความนี้น่าจะมีประโยชน์ และสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพุทธศาสนิกชนได้ จะได้เกิดความรู้ และไม่ต้องถกเถียงกันแบบรู้ไม่จริง ข้าพเจ้าจึงนำตั้งเป็นกระทู้เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้อ่าน ได้ศึกษา และได้ทำความเข้าใจ ขอท่านทัังหลายพิจารณา และจดจำไว้เถิดขอรับ อัตตา คือ "ตัวตน, อาตมัน; ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่าอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง" (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก) เมื่อท่านอ่านและทำความเข้าใจ ในคำว่า อัตตาแล้ว ก็ทำความเข้าใจว่า นั่น เป็นธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) หมายความว่า มนุษย์ทุกคน ย่อมยึดติดในอัตตา โดยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น ไม่ว่า จะปฏิบัติ ธรรมบรรลุถึงชั้นใดก็ตาม ย่อมต้องมีการยึดติดอัตตาโดยธรรมชาติ อัตตา เป็นความหลงชนิดหนึ่ง และเป็นความหลงที่เป็นได้ตั้งแต่ชั้น หยาบ ไปจนถึง ชั้นละเอียด ในชั้นหยาบจะไม่กล่าวถึง จะกล่าวถึงในชั้นละเอียด ของการยึดติดอัตตา ว่า การที่บุคคลใดก็ตาม ปฏิบัติธรรม เพื่อมุ่งหวัง ให้บรรลุธรรมชั้นใดใดก็ตาม หรือเพื่อขจัดขัดเกลากิเลส หรืออาสวะแห่งกิเลสใดใด นั่นหมายความว่า บุคคลนั้นๆ ยึดติดอัตตา เพราะถ้าไม่ยึดติดอัตตา ก็ย่อมไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และสิ่งแวดล้อมต่างๆได้ อนึ่ง ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อัตตา เป็นธรรมชาติ ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ดังนั้น การที่บุคคลใดใด ยึดถืออัตตา ก็ย่อมสามารถ บรรลุสู่ชั้น นิพพาน ในทางพุทธศาสนาได้ เพราะในทางปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนานั้น ในชั้นของการปฏิบัติธรรมอย่างละเอียด คือการ ขจัดอาสวะแห่งกิเลสให้สิ้น เมื่อบุคคลนั้นรู้จักวิธีการ หลักการ หลักวิชชา ดีแล้ว ก็ย่อมสามารถขจัดกิเลสเหล่านั้นได้เป็นอย่างไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง สรุปแล้ว ทุกคนล้วนย่อมยึดติดอัตตา เป็นธรรมชาติ และผู้ยึดติดอัตตา ก็สามารถบรรลุธรรมตั้งแต่ชั้นโสดาบัน จนไปถึงชั้นนิพพานได้ เพราะเพียงแค่บรรลุธรรมชั้น โสดาบัน ปฏิมรรค ปฏิผล ก็สามารถขจัด การยึดถืออัตตา ลงไปได้ในบางเรื่อง บางอย่าง เนื่องจาก อัตตาเป็นธรรมชาติ ในการดำรงชีวิต ของมนุษย์ |
เจ้าของ: | BlackHospital [ 15 ก.พ. 2009, 20:42 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติด ในอัตตา กับการ บรรลุธรรม |
พระอรหันต์เลิศกว่าภวัคคพรหม ภ ิกษ ุ ท .! รูป .... เวท น า .... สัญ ญ า .... สังขาร ....วิญญาณ (แต่ละอย่าง) ไม่เที่ยง; สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ; สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา; สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นอันบุคคลพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามที่เป็นจริง อย่างนี้ว่า "นั่น ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่น ไม่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ), นั่น ไม่ใช่อัตตาของเรา (น เมโส อตฺตา)"ดังนี้. ภิกษุ ท.! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ. เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำ หนัด ; เพราะคลายกำ หนัด ย่อมหลุดพ้น ; เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว. อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดว่า "ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำ เสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะ ต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก" ดังนี้. ภิกษุ ท.! สัตตาวาสมีประมาณเท่าใด ภวัคค (พรหม) มีประมาณ เท่าใด พวกที่เลิศประเสริฐในโลก คือพวกพระอรหันต์ แล. - ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๐๑/๑๕๒. ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 16 ก.พ. 2009, 01:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติด ในอัตตา กับการ บรรลุธรรม |
อีกไวพจน์หนึ่งของ อัตตาก็คือ สักกายะทิฏฐิ อัตตา คือการเห็นว่าตน เป็นตน เช่นปุถุชนย่อมเห็นเอาขันธ์5 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ว่าเป็นอัตตา ตามที่ท่านพรหมคุณากรณ์ให้ความหมายไว้ แต่หากว่า จะกล่าวว่า การปฏิบัติธรรมบรรลุถึงขั้นใดก็ตามย่อมต้องมีการยึดติดอัตตาโดยธรรมชาติ คงต้องกล่าวว่า โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล ก็ละซึ่งอัตตา หรือสักกายะทิฏฐิแล้ว บทสรุปที่ว่า บุคคลผู้ยึดติดอัตตา ก็สามารถบรรลุธรรมตั้งแต่โสดาบันจนไปถึงชั้นนิพพานได้ ควรกล่าวให้แจ่มแจ้งว่า บุคคลผู้ยึดติดอัตตา ละอัตตาแล้วใจชั้นโสดาบันย่อมเจริญธรรมให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุนิพพานได้ |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 16 ก.พ. 2009, 07:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติด ในอัตตา กับการ บรรลุธรรม |
บทความนี้เขียนไว้อย่างชัดเจนแลัวขอรับ ท่านทั้งสอง ควรได้ทำความเข้าใจในบริบทของภาษา และพิจารณา ว่า บทความมุ่งประเด็นในเรื่องใด บุคคลผู้จะสามารถบรรลุธรรมได้ ล้วนย่อมต้องยึดถืออัตตา ไม่มีผู้ใดละอัตตาได้ เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ถ้าบุคคลใดโอ้อวด และอุตริกล่าวว่า การละอัตตาจะทำให้บรรลุธรรมนั้น แสดงให้เห็นว่า บุคคลนั้น ไม่มีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมทางพุทธศาสนา ในบทความได้เขียนไว้แล้วว่า การยึดถืออัตตา มีทั้ง อย่างหยาบ และอย่างละเอียด หนีไม่พ้นดอกขอรับ สิ่งใด จะเที่ยง หรือไม่เที่ยง ก็เป็นเรื่องธรรมดา ถ้าพวกท่านคิดว่า ละอัตตาได้จริง พวกท่าน คงไม่รับประทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ และอื่นๆ อันเกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตของพวกท่านดอกขอรับ ถ้าพวกท่าน ยังต้องการอาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย และเครื่องนุ่งห่ม แสดงว่า พวกท่านยังยึดติดในอัตตา ให้ใช้สมองคิดพิจารณา อย่าใช้ส่วนอื่นคิดพิจารณาขอรับ |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 17 ก.พ. 2009, 00:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
แสดงว่าท่าน ไม่รู้จักแม้กระทั่้ง อัตตาและ อนัตตาถึงได้เขียนบทความแบบนี้ขึ้นมา ท่านก็ไม่รู้จักแม้แต่ ความแตกต่างระหว่าง ขันธ์ที่ดำรงอยู่้ และอุปาทานขันธ์ พระอริยะบุคคล 4 คู่ต่างก็ไม่มีสักกายทิฏฐิ ละอัตตา แต่ยังมีขันธ์อยู่ครับ ท่านก็กิน ขี้ นอน อยู่ครับ แต่ท่านไม่มีอัตตาครับ ท่านควรจะเอาอวัยวะส่วนที่จำเป็นในการพิจารณาใช้ให้มากกว่านี้นะครับ ^U^** |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 17 ก.พ. 2009, 08:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
เช่นนั้น เขียน: แสดงว่าท่าน ไม่รู้จักแม้กระทั่้ง อัตตาและ อนัตตาถึงได้เขียนบทความแบบนี้ขึ้นมา ท่านก็ไม่รู้จักแม้แต่ ความแตกต่างระหว่าง ขันธ์ที่ดำรงอยู่้ และอุปาทานขันธ์ พระอริยะบุคคล 4 คู่ต่างก็ไม่มีสักกายทิฏฐิ ละอัตตา แต่ยังมีขันธ์อยู่ครับ ท่านก็กิน ขี้ นอน อยู่ครับ แต่ท่านไม่มีอัตตาครับ ท่านควรจะเอาอวัยวะส่วนที่จำเป็นในการพิจารณาใช้ให้มากกว่านี้นะครับ ^U^** อ้าว แล้วกัน คุณมีปัญญา มีความรู้แค่หางอึ่ง ในบทความก็อธฺิบายคำว่า อัตตาให้แล้ว ทำไมจะไม่รู้ละว่าอัตตาเป็นอย่างไร ส่วนคำว่า อนัตตา ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนถึง คุณเอามากล่าวทำไม โธ่เอ๋ยคุณขอรับ สรรพสิ่งย่อมมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดา ในร่างกายของเราประกอบไปด้วย ขันธ์ 5 ถ้าหากจะกล่าวให้ลึกลงไปในรายละเอียดของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น หรือเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นแล้วละก้อ จะกล่่าวว่า "อวัยวะ ต่างๆ และการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายมนุษย์ ย่อมมีความแตกต่างกัน ตามแต่บทบาทและหน้าที่ของมันอยู่แล้ว" คุณไม่รู้แล้วยังสะเออะแสดงความคิดเห็น พระอริยะบุคคลที่คุณว่าไม่มีสักกายทิฎฐิ ละอัตตา อยู่ที่ไหนกันละ คุณเคยเห็นหรือ ลองบอกมาซิ และถ้าบุคคลใดก็ตาม ยังมีขันธ์ 5 ยังหายใจ ยังดำเนินชีวิตตามปกติอยู่ บุคคลนั้นย่อม มีอัตตา ยึดติดในอัตตา ไม่ว่าบุคคลนั้นๆ จะบรรลุธรรมชั้นใดก็ตาม เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทำไมคุณไม่ดูตัวคุณ อย่าทำเป็นอวดอุตริเลยขอรับ ใครบ้างที่ไม่อัตตา ใครบ้างที่ไม่ยึดถืออัตตา ลองบอกมาซิว่า ใครบ้าง ที่ไม่ยึดถืออัตตา หรือไม่มีอัตตา อย่าเอาแต่เรียนตามแบบ แต่ไม่มีสมองคิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ข้าพเจ้ามีอัตตาและยึดติดในอัตตา ไม่มีอัตตาไม่ยึดติดในอัตตา จะมานั่งพิมพ์สอนให้สรรพสัตว์อย่างคุณให้โต้แย้งได้หรือ บ้าหรือเปล่าขอรับคุณ แต่ข้าพเจ้าขจัด ความคิด ความรู้สึก ของการยึดติดในอัตตาได้ ตามแต่เวลา และสถานะ และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย เขลาแล้วยังอวดฉลาด คุณใช่อวัยวะส่วนไหนคิดและแสดงความคิดเห็นกันละในบทความนี้ ก็แสดงไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว เวลาอ่านหัดใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง อนึ่งคำว่า อนัตตา คือ ความเห็นที่ว่า เป็นของมิใช่ตัวตน(ย่อความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ พระธรรมปิฎก) แล้วคุณคิดพิจารณาบ้างไหมว่า เวลาไหน สถานะไหน ที่ร่างกายคุณหรือร่างกายมนุษย์ จะเป็นของมิใช่ตัวตน (หมายเอาเฉพาะมนุษย์) เวลาไหน สถานะไหน ที่มนุษย์ทุกคน ย่อมยึดติดในอัตตา ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์เยี่ยงคุณเอาไว้ว่า หากจะเรัยนรู้ หรือศึกษา พระธรรมคำสอนในทาง พุทธศาสนา ก็ควรมีการจดจำ และรู้จักผสมรวมหลักธรรมต่างๆ ในที่นี้หมายเอาหลักธรรมที่ปรากฎมีในพระไตรปิฏกเข้ามาประกอบ ในการแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้า และในการคิดพิจาณาในเรื่องของอัตตา หรือ อนัตตา ใดใด ข้าพเจ้าก็ได้ใช้หลักธรรม "สัปปุริสธรรม" อันมีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ดังนี้ "สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ ๑.ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ ๒.ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓.คิดอย่างสัตบุรุษ ๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕.พูดอย่างสัตบุรุษ ๖.ทำอย่างสัตบุรุษ (๓-๔-๕-๖ คือ คิดปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น) ๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อ แก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น) |
เจ้าของ: | ariyachon [ 17 ก.พ. 2009, 09:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
อ่านธรรมของสัตบุรุษ แล้วเบิกบานใจ อ่านธรรมของอสัตบุรุษ แล้วเศร้าใจ ก็ธรรมของสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ เป็นไฉน สัตบุรุษนั้น ย่อมแสดงธรรมก็เพื่อความสิ้นไป ของโลภะ โทสะ และโมหะ แต่อสัตบุรุษ แสดงธรรมเพื่อความฟูขึ้น ของโลภะ โทสะ และโมหะ |
เจ้าของ: | หนาน [ 17 ก.พ. 2009, 11:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | เดช อันเตวาสิก [ 17 ก.พ. 2009, 11:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
“... หยดน้ำที่รวมตัวกันมากเข้า ย่อมก่อให้เกิดมหาสมุทรได้ฉันใด ด้วย เมตตาธรรม คนเราก็ย่อมก่อให้เกิดมหาสมุทรแห่งมิตรภาพได้ฉันนั้น รูปโฉมของโลกจะเปลี่ยนไปมากทีเดียว หากเราทุกคนอยู่ร่วมกันด้วย ความรัก และ ความเมตตา ...” |
เจ้าของ: | เช่นนั้น [ 17 ก.พ. 2009, 13:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หมดทางเยียวยา ![]() |
เจ้าของ: | mes [ 17 ก.พ. 2009, 20:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
คุณเช่นนั้น เอานะ เมตตาธรรมค้ำจุ้งโลก เมื่อก่อนผมก็เคย................ มีคนบอกผมว่า คนเราเกิดมาไม่เท่ากันนะ ยกได้บ้างก็ยกไปเถอะ นะเช่นนั้นนะ เชือเหอะ |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 19 ก.พ. 2009, 08:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
Buddha เขียน: เช่นนั้น เขียน: แสดงว่าท่าน ไม่รู้จักแม้กระทั่้ง อัตตาและ อนัตตาถึงได้เขียนบทความแบบนี้ขึ้นมา ท่านก็ไม่รู้จักแม้แต่ ความแตกต่างระหว่าง ขันธ์ที่ดำรงอยู่้ และอุปาทานขันธ์ พระอริยะบุคคล 4 คู่ต่างก็ไม่มีสักกายทิฏฐิ ละอัตตา แต่ยังมีขันธ์อยู่ครับ ท่านก็กิน ขี้ นอน อยู่ครับ แต่ท่านไม่มีอัตตาครับ ท่านควรจะเอาอวัยวะส่วนที่จำเป็นในการพิจารณาใช้ให้มากกว่านี้นะครับ ^U^** อ้าว แล้วกัน คุณมีปัญญา มีความรู้แค่หางอึ่ง ในบทความก็อธฺิบายคำว่า อัตตาให้แล้ว ทำไมจะไม่รู้ละว่าอัตตาเป็นอย่างไร ส่วนคำว่า อนัตตา ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนถึง คุณเอามากล่าวทำไม โธ่เอ๋ยคุณขอรับ สรรพสิ่งย่อมมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดา ในร่างกายของเราประกอบไปด้วย ขันธ์ 5 ถ้าหากจะกล่าวให้ลึกลงไปในรายละเอียดของขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้น หรือเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นแล้วละก้อ จะกล่่าวว่า "อวัยวะ ต่างๆ และการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายมนุษย์ ย่อมมีความแตกต่างกัน ตามแต่บทบาทและหน้าที่ของมันอยู่แล้ว" คุณไม่รู้แล้วยังสะเออะแสดงความคิดเห็น พระอริยะบุคคลที่คุณว่าไม่มีสักกายทิฎฐิ ละอัตตา อยู่ที่ไหนกันละ คุณเคยเห็นหรือ ลองบอกมาซิ และถ้าบุคคลใดก็ตาม ยังมีขันธ์ 5 ยังหายใจ ยังดำเนินชีวิตตามปกติอยู่ บุคคลนั้นย่อม มีอัตตา ยึดติดในอัตตา ไม่ว่าบุคคลนั้นๆ จะบรรลุธรรมชั้นใดก็ตาม เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ทำไมคุณไม่ดูตัวคุณ อย่าทำเป็นอวดอุตริเลยขอรับ ใครบ้างที่ไม่อัตตา ใครบ้างที่ไม่ยึดถืออัตตา ลองบอกมาซิว่า ใครบ้าง ที่ไม่ยึดถืออัตตา หรือไม่มีอัตตา อย่าเอาแต่เรียนตามแบบ แต่ไม่มีสมองคิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริง ข้าพเจ้ามีอัตตาและยึดติดในอัตตา ไม่มีอัตตาไม่ยึดติดในอัตตา จะมานั่งพิมพ์สอนให้สรรพสัตว์อย่างคุณให้โต้แย้งได้หรือ บ้าหรือเปล่าขอรับคุณ แต่ข้าพเจ้าขจัด ความคิด ความรู้สึก ของการยึดติดในอัตตาได้ ตามแต่เวลา และสถานะ และขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย เขลาแล้วยังอวดฉลาด คุณใช่อวัยวะส่วนไหนคิดและแสดงความคิดเห็นกันละในบทความนี้ ก็แสดงไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว เวลาอ่านหัดใช้สมองสติปัญญา คิดพิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริง อนึ่งคำว่า อนัตตา คือ ความเห็นที่ว่า เป็นของมิใช่ตัวตน(ย่อความจากพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ พระธรรมปิฎก) แล้วคุณคิดพิจารณาบ้างไหมว่า เวลาไหน สถานะไหน ที่ร่างกายคุณหรือร่างกายมนุษย์ จะเป็นของมิใช่ตัวตน (หมายเอาเฉพาะมนุษย์) เวลาไหน สถานะไหน ที่มนุษย์ทุกคน ย่อมยึดติดในอัตตา ข้าพเจ้าจะโปรดสัตว์เยี่ยงคุณเอาไว้ว่า หากจะเรัยนรู้ หรือศึกษา พระธรรมคำสอนในทาง พุทธศาสนา ก็ควรมีการจดจำ และรู้จักผสมรวมหลักธรรมต่างๆ ในที่นี้หมายเอาหลักธรรมที่ปรากฎมีในพระไตรปิฏกเข้ามาประกอบ ในการแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้า และในการคิดพิจาณาในเรื่องของอัตตา หรือ อนัตตา ใดใด ข้าพเจ้าก็ได้ใช้หลักธรรม "สัปปุริสธรรม" อันมีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ดังนี้ "สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมของคนดี, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่างคือ ๑.ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒.อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓.อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔.มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕.กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖.ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗.ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ ๑.ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ ๒.ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓.คิดอย่างสัตบุรุษ ๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕.พูดอย่างสัตบุรุษ ๖.ทำอย่างสัตบุรุษ (๓-๔-๕-๖ คือ คิดปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น) ๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อ แก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น) ข้าพเจ้าเผยแพร่หลักธรรมทางพุทธศาสนามามาก สิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนไปข้างต้นนั้น ถ้าท่านทั้งหลายที่ได้ศึกษา ตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่ข้าพเจ้าได้เผยแพร่ไป ก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง และย่อมเกิดความเข้าใจได้ด้วยตัวเองว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง นั้น เกิดจากการกระทำภายนอกร่างกาย หรือเกิดจากการกระทำภายในร่างกายของบุคคลนั้น ที่ได้อ่านข้อแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้า อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับ สมอง สติปัญญา อันหมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรมทางพุทธศาสนาที่ข้าพเจ้าได้สอนไปขอรับ |
เจ้าของ: | หนาน [ 24 ก.พ. 2009, 14:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง นี่แหละคือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ท่านลองปฏิบัติดูแล้วจะเห็นว่าการที่เราไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง จะนำความสงบมายังท่านตลอดไป |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 25 ก.พ. 2009, 09:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
หนาน เขียน: การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง นี่แหละคือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ท่านลองปฏิบัติดูแล้วจะเห็นว่าการที่เราไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง จะนำความสงบมายังท่านตลอดไป ถ้าคุณไม่ยึดมั่นถือมั่น แล้วคุณจะปฏิบัติ ธรรมะอะไรกันขอรับ ที่คุณว่า "การไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง คือหัวใจสำคัญขอศาสนา" ถามจริงๆเถอะ คุณยึดมั่นหรือไม่ ใช้สมองสติปัญญาคิดพิจารณาดูให้ดีซิ อนึ่ง "หัวใจของพุทธศาสนา คือ หลักธรรม 4 คู่ 8 ข้อ หรือจะเรียก แบบเต็มประโยค ก็คือ สรรพสิ่งทั้งหลาย ล้วนมีเครื่องดิ้นรน 8 ชนิด ล้วนก่อให้เกิด ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันได้แก่......... ไม่บอกในตอนนี้ขอรับ |
เจ้าของ: | ariyachon [ 25 ก.พ. 2009, 11:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การยึดติดในอัตตา กับการบรรลุธรรม |
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันบุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่น (พุทธพจน์) ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |