วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 19:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีสนทนาด้วยอย่างยิ่งเลยครับคุณพี่ เราคุ้นเคยกันพอสมควร ไม่ต้องกังวลอะไรมกนะครับ


walaiporn เขียน:

อันนี้ เป็นเรื่องของสติ สัมปชัญญะค่ะ เมื่อสติ สัมปชัญญะดี ขณะที่เกิดเวทนา กายและจิตมันแยกออกจากกัน เวทนาที่เกิดขึ้นกับกาย จิตมันก็แค่รู้แต่สักว่ารู้ ไม่ไปข้องเกี่ยวด้วย เพราะช่วงขณะนั้นสติ สัมปชัญญะได้เกิดขึ้น สติมันทันจิต การปรุงแต่งของสังขารย่อมดับไปชั่วขณะหนึ่ง แต่ตราบใดที่อุปทานยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 นั้นมีอยู่ เวทนานั้นย่อมมีเกิด ดับ อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ว่า จะมีสติ สัมปชัญญะรู้ทันหรือเปล่าเท่านั้นเองค่ะ ถ้าสติไม่ทัน จิตก็จะไปเสวยอารมณ์เวทนาตรงนั้น ยึดมาก ยึดน้อย เวทนาเกิดมากเกิดน้อย ก็อยู่ที่ตัวอุปทานนี่แหละค่ะ

คือขออธิบายในแง่ของการปฏิบัติ ภาษาปริยัติไม่ค่อยจะเป็นค่ะ รู้แต่ว่า เพียง แยกรูปแยกนามได้ นั่นเป็นเพียงแค่เรื่องของสติ สัมปชัญญะที่ดีขึ้นมาระดับหนึ่งเท่านั้นเองค่ะ


(ผมก็ฟังๆมานะครับ ไม่ได้ประสบกับตัวเอง)

เป็นเรื่องของ สติอัตโนมัติ กับไม่อัตโนมัตินะครับ

คล้ายๆว่ามันเป้นช่วงสะสมไมล์
มีขึ้นบ้าง ไม่มีขึ้นบ้าง สลับกันไป สติเกิดมั่งไม่เกิดมั่ง
บางทีต้องกำหนดเอาถึงจะมี บางทีไม่ต้องกำหนดเอาก้มีขึ้นได้

จนถึงวันหนึ่ง มันทำงานเองโดยอัตโนมัติ
ไม่ว่าเราจะนอนหลับหรือลืมตา สติมันทำงานเองโดยไม่ต้องอาศัยการกำหนดใดๆ
เป้นผู้รู้ ผู้ตื่น ตลอดเวลา
ไม่ใช่ผู้รู้บ้างไม่รู้บ้าง ผู้ตื่นบ้างไม่ตื่นบ้าง


walaiporn เขียน:

คำว่า อริยชน ก็ไม่ทราบว่าจะตีความอย่างไร หรือแค่ไหนจึงจะเรียกว่าอริยชน เพราะถ้าผู้ใดเจริญสติอย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องแค่เพียงมีดบาดหรอกค่ะ แม้พริกเข้าตา แม้เกิดอาการบาดเจ็บ แค่เพียงเขาตั้งสติรู้ลงไป จิตเขาสามารถแยกตัวออกมาได้ทันที ไม่ไปเกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นค่ะ


อันนี้คงเหมือนที่ผมตอบข้างบนน่ะครับ
คนกลุ่มหนึ่ง ต้องอาศัยการกำหนดบ้าง ไม่อาศัยการกำหนดบ้าง
คนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ต้องอาศัยการกำหนดเลย เป้นสติที่ทำงานเป้นอัตโนมัติ





walaiporn เขียน:
อย่างบางคนคิดว่าตัวเองเป็นโสดาบัน เพราะพอไปอ่านข้อมูลของโสดาบันแล้วว่าจะต้องเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ก็เลยคิดว่าตัวเองเป็นโสดาบัน แต่ยังมาว่ากล่าวบุคคลอื่น มีการใช้ถ้อยคำหยาบคาย หยามหยัน ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น กดข่มผู้อื่นให้ด้อยกว่าตัวเอง ขาดเมตตา คุณว่าบุคคลประเภทนี้ ใช่โสดาบันหรือเปล่าล่ะคะ


อยากจะบอกว่า พี่เพิ่งจะจุดธูปดอกเบ้ิอเร่อ (you know who) :b2:


เรื่องโสดาบันนี้ เวลาคุยกันก็คงจะเป้นเรื่องของหลักการว่าเขาว่าเอาไว้อย่างนั้นอย่างนี้น่ะนะคับ
เหมือนเราคุยกันว่า
ช้างนั้นสิ่งสำคัญคือมี "งา" ถ้าไม่มี "งา"จะเรียกว่าช้างไม่ได้
โสดาบันนั้น สิง่ที่ขาดไปแล้วไม่ใช่โสดาบันคือ ต้องละสักกายทิฐิได้
ต้องมีนามรูปปริเฉทญาน จึงจะเรียกว่าโสดาบัน

แต่ถ้าเป้นคำว่า"หาง" สัตว์อย่างอื่นมันมีหางเหมือนกัน
ถ้าเราคลำเจอหาง จะกล่าวเลยฟันธงว่าเป้นช้างไม่ได้
พี่เข้าใจประเด้นผมใช่ไหมครับ

ใครจะไปอ่านว่าโสดาบันมีอย่างนั้น เป้นอย่างนี้
แล้วคิดว่าตัวเองได้โสดาบัน อันนั้นก็แล้วแต่เวรกรรม

อย่างบางคนบอกว่าอ่านใจคนได้ แล้วเราไปนึกถึงว่า พระอรหันต์ท่านอ่านใจคนได้
แล้วเราไปฟันธงในใจว่าคนคนนั้นเป้นพระอรหันต์ มันก็ไม่ถูก
เพราะว่าพวกอภิญญาพวกนี้ พวกฤาษีชีไพรสมัยพระพุทธเจ้าเขาทำกันได้
มันต้องมีบางอย่างที่เราแตกต่างจากศาสนาที่มีอยู่เดิม (นั่นคือ อาสวะญาน)


walaiporn เขียน:
มีการใช้ถ้อยคำหยาบคาย หยามหยัน
ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น กดข่มผู้อื่นให้ด้อยกว่าตัวเอง ขาดเมตตา
คุณว่าบุคคลประเภทนี้ ใช่โสดาบันหรือเปล่าล่ะคะ


เป็นไปได้นะครับ
ต่อให้ถ้าเป้นโสดาบันจริง คงเป้นโสดาบันทุศีล ไม่มีศีล ขาดปัญญา

คนที่้บ้าสติแตกหลังจากได้โสดาบันมีเยอะไปครับ
เพราะขาดศีล ขาดกำลังสมาธิ ขาดสมถะภาวนา
ถ้าคนไม่มีศีล เวลากระทบแล้วมันจะล้นออกมาทางวาจา จากกาย
ถ้ามีศีล มันก็อยู่แค่ข้างใน จำกัดวงข้างในแล้วก้บริหารจัดการด้วยกำลังสติปัญญาภายใน


เพราะในสังโยชน์สิบ เรื่องความกระทบกระทั่งทางใจ ปฏิฆะ
สกทาคามี ทำให้ปฏิฆะเบาบางลงเฉยๆ
อนาคามี ละปฏิฆะได้ แต่ยังเหลือมานะถือตนอีก ฉันสูงกว่าเขา เขาเลวกว่าฉัน อะไรทำนองนี้

ถ้าประเมินตามนี้ โสดาบ๊องงงส์ โสดาสติเฟื่อง โสดาพันธุ์ประหลาดๆ ก็น่าจะเป็นไปได้นะครับ
คงเป้นวิบากจากกรรมเก่า เลยมาตัดรอนในชาตินี้

พี่จำเรื่องหลวงตาพวงตะคอกด่าหลวงปู่ดูลย์ได้ไหมครับ ที่พี่เอามาโพสต์เร็วๆนี้
นั่นก้ปากสั่นมือสั่นจับผิดจับถูก นั่นก็ได้ไม่น้อยกว่าโสดานะครับ ถ้าประเมินดูดีๆ
บ้าขนาดจะบังคับหลวงปู่ดูลย์ผู้เป็นอาจารย์แถมพรรษามากกว่า ให้กราบตัวเอง

พระพุทธเจ้าท่านไม่บอกว่าเป็นโสดาขึ้นไปแล้วไม่บ้านะครับ บ้าง่ายกว่าเดิมอีกนะผมว่า
เมหือนคำพูดนึงที่พูดว่า "เวลาเราเอาจริง กิเลสมันก็เอาจริงกับเราเหมือนกัน"
จำไ่ม่ได้ว่าใครพูดนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 18:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณคามิน

สรุปคือ แล้วแต่เราจะไปให้ค่าให้ความหมายตามสมมุติก็แล้วกันค่ะ :b1:

เอ่อ ... ตรงนี้ขออภัยด้วยค่ะ

อยากจะบอกว่า พี่เพิ่งจะจุดธูปดอกเบ้ิอเร่อ (you know who)


อ่านแล้วอดขำไม่ได้ค่ะ ขำกลิ้งค่ะ :b2:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.watdao.com/vipussana/way_dhul.html

คัดมาให้อ่านบางตอนครับ

และชี้ให้เห็นถึงคุณสมบัติข้อหนึ่งของ โสดาบัน

ขอบคุณ คุณคามินธรรมครับ

การรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน และการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตมรรค เมื่อจิตทรงตัวรู้แต่ไม่คิดอะไรนั้น บางครั้งจะมีสิ่งบางสิ่งผุดขึ้นมาสู่ภูมิรู้ของจิต แต่จิตไม่สำคัญมั่นหมายว่า นั่นคืออะไร เพียงแต่รู้เฉย ๆ ถึงความเกิดดับนั้นเท่านั้น ในขั้นนี้เป็นการเดินวิปัสสนาในขั้นละเอียดที่สุด ถึงจุดหนึ่ง จิตจะก้าวกระโดดต่อไปเอง ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงขั้นตอนอย่างละเอียด เพราะผู้อ่านอาจคิดตามแล้วปรุงแต่งอาการนั้นขึ้นมาได้
การเข้าสู่มรรคผลนั้น "รู้" มีอยู่ตลอด แต่ไม่คิดและไม่สำคัญมั่นหมายในสังขารละเอียดที่ผุดขึ้น บางอาจารย์จะสอนผิด ๆ ว่า ในเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือในเวลาเข้าผลสมาบัตินั้น จิตดับความรู้หายเงียบไปเลย โดยเข้าใจผิดในคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" สูญอย่างนั้นเป็นการสูญหายแบบอุทเฉททิฏฐิ สภาพของมรรคผลนิพพานไม่ได้เป็นเช่นนั้น การที่จิตดับความรับรู้นั้น เป็นภพชนิดหนึ่งเรียกว่า "อสัญญี" หรือที่คนโบราณเรียกว่าพรหมลูกฟัก เท่านั้นเอง
เมื่อจิตถอยออกจากอริยมรรคและอริยผลที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป ธรรมชาติบางอย่างมีอยู่ แต่ก็ไม่มีความเป็นตัวตนสักอณูเดียว นี้เป็นการรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน คือไม่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ตัวจิตเอง เป็นตัวเรา แต่ความยึดถือในความเป็นเรายังมีอยู่ เพราะขั้นความเห็นกับความยึดนั้นมันคนละขั้นกัน
เมื่อบรรลุถึงสิ่งที่บัญญัติว่า "พระโสดาบัน" แล้ว ผู้ปฏิบัติยังคงปฏิบัติอย่างเดิมนั้นเอง แต่ตัวจิตผู้รู้จะยิ่งเด่นดวงขึ้นตามลำดับ จนเมื่อบรรลุพระอนาคามีแล้ว จิตผู้รู้จะเด่นดวงเต็มที่ เพราะพ้นจากอำนาจของกาม การที่จิตรู้อยู่กับจิตเช่นนั้น แสดงถึงกำลังสมาธิอันเต็มเปี่ยม เพราะสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมาธิคือกามได้ถูกล้างออกจากจิตหมดแล้ว ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ หากตายลง จึงไปสู่พรหมโลกชันสุทธาวาสโดยส่วนเดียว ไม่สามารถกลับมาเกิดในภพมนุษย์ได้อีกแล้ว
นักปฏิบัติจำนวนมากที่ไม่มีครูบาอาจารย์ชี้แนะ จะคิดว่าเมื่อถึงขั้นที่จิตผู้รู้หมดจดผ่องใสแล้วนั้น ไม่มีทางไปต่อแล้ว แต่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กลับสอนต่อไปอีกว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต พบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าพระพุทธเจ้าเสีย"
จุดนี้ไม่ใช่การเล่นสำนวนโวหารที่จะนำมาพูดกันเล่น ๆ ได้ ความจริงก็คือการสอนว่า ยังจะต้องปล่อยวางความยึดมั่นจิตอีกชั้นหนึ่ง มันละเอียดเสียจนผู้ที่ไม่ละเอียดพอ ไม่รู้ว่ามีอะไรจะต้องปล่อยวางอีก เพราะความจริงตัวจิตผู้รู้นั้น ยังเป็นของที่อยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ บางครั้งยังมีอาการหมองลงนิด ๆ พอให้สังเกตเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน แต่ผู้ปฏิบัติที่ได้รับการอบรมเรื่องจิตมาดีแล้ว จะเห็นความยึดมั่นนั้น แล้วไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รู้ทันเท่านั้น จิตจะประคองตัวอยู่ที่รู้ ไม่คิดค้นคว้าอะไร มันเงียบสนิทจริง ๆ ถึงจุดหนึ่ง จิตจะปล่อยวางความยึดถือจิต จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใด ๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะคุณ mes

mes เขียน:
http://www.watdao.com/vipussana/way_dhul.html

คัดมาให้อ่านบางตอนครับ

และชี้ให้เห็นถึงคุณสมบัติข้อหนึ่งของ โสดาบัน

ขอบคุณ คุณคามินธรรมครับ

การรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน และการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตมรรค เมื่อจิตทรงตัวรู้แต่ไม่คิดอะไรนั้น บางครั้งจะมีสิ่งบางสิ่งผุดขึ้นมาสู่ภูมิรู้ของจิต แต่จิตไม่สำคัญมั่นหมายว่า นั่นคืออะไร เพียงแต่รู้เฉย ๆ ถึงความเกิดดับนั้นเท่านั้น ในขั้นนี้เป็นการเดินวิปัสสนาในขั้นละเอียดที่สุด ถึงจุดหนึ่ง จิตจะก้าวกระโดดต่อไปเอง ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงขั้นตอนอย่างละเอียด เพราะผู้อ่านอาจคิดตามแล้วปรุงแต่งอาการนั้นขึ้นมาได้
การเข้าสู่มรรคผลนั้น "รู้" มีอยู่ตลอด แต่ไม่คิดและไม่สำคัญมั่นหมายในสังขารละเอียดที่ผุดขึ้น บางอาจารย์จะสอนผิด ๆ ว่า ในเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือในเวลาเข้าผลสมาบัตินั้น จิตดับความรู้หายเงียบไปเลย โดยเข้าใจผิดในคำว่า "นิพพานัง ปรมัง สุญญัง" สูญอย่างนั้นเป็นการสูญหายแบบอุทเฉททิฏฐิ สภาพของมรรคผลนิพพานไม่ได้เป็นเช่นนั้น การที่จิตดับความรับรู้นั้น เป็นภพชนิดหนึ่งเรียกว่า "อสัญญี" หรือที่คนโบราณเรียกว่าพรหมลูกฟัก เท่านั้นเอง
เมื่อจิตถอยออกจากอริยมรรคและอริยผลที่เกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะรู้ชัดว่า ธรรมเป็นอย่างนี้ สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นต้องดับไป ธรรมชาติบางอย่างมีอยู่ แต่ก็ไม่มีความเป็นตัวตนสักอณูเดียว นี้เป็นการรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน คือไม่เห็นว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ตัวจิตเอง เป็นตัวเรา แต่ความยึดถือในความเป็นเรายังมีอยู่ เพราะขั้นความเห็นกับความยึดนั้นมันคนละขั้นกัน
เมื่อบรรลุถึงสิ่งที่บัญญัติว่า "พระโสดาบัน" แล้ว ผู้ปฏิบัติยังคงปฏิบัติอย่างเดิมนั้นเอง แต่ตัวจิตผู้รู้จะยิ่งเด่นดวงขึ้นตามลำดับ จนเมื่อบรรลุพระอนาคามีแล้ว จิตผู้รู้จะเด่นดวงเต็มที่ เพราะพ้นจากอำนาจของกาม การที่จิตรู้อยู่กับจิตเช่นนั้น แสดงถึงกำลังสมาธิอันเต็มเปี่ยม เพราะสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสมาธิคือกามได้ถูกล้างออกจากจิตหมดแล้ว ผู้ปฏิบัติในขั้นนี้ หากตายลง จึงไปสู่พรหมโลกชันสุทธาวาสโดยส่วนเดียว ไม่สามารถกลับมาเกิดในภพมนุษย์ได้อีกแล้ว
นักปฏิบัติจำนวนมากที่ไม่มีครูบาอาจารย์ชี้แนะ จะคิดว่าเมื่อถึงขั้นที่จิตผู้รู้หมดจดผ่องใสแล้วนั้น ไม่มีทางไปต่อแล้ว แต่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กลับสอนต่อไปอีกว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต พบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าพระพุทธเจ้าเสีย"
จุดนี้ไม่ใช่การเล่นสำนวนโวหารที่จะนำมาพูดกันเล่น ๆ ได้ ความจริงก็คือการสอนว่า ยังจะต้องปล่อยวางความยึดมั่นจิตอีกชั้นหนึ่ง มันละเอียดเสียจนผู้ที่ไม่ละเอียดพอ ไม่รู้ว่ามีอะไรจะต้องปล่อยวางอีก เพราะความจริงตัวจิตผู้รู้นั้น ยังเป็นของที่อยู่ในอำนาจของไตรลักษณ์ บางครั้งยังมีอาการหมองลงนิด ๆ พอให้สังเกตเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของมัน แต่ผู้ปฏิบัติที่ได้รับการอบรมเรื่องจิตมาดีแล้ว จะเห็นความยึดมั่นนั้น แล้วไม่ต้องทำอะไรเลย แค่รู้ทันเท่านั้น จิตจะประคองตัวอยู่ที่รู้ ไม่คิดค้นคว้าอะไร มันเงียบสนิทจริง ๆ ถึงจุดหนึ่ง จิตจะปล่อยวางความยึดถือจิต จิตจะเป็นอิสระเปิดโล่งไปหมด ไม่กลับเข้าเกาะเกี่ยวกับอารมณ์ใด ๆ ที่จะพาไปก่อเกิดได้อีก


ขออภัยด้วยค่ะ อันนี้ไม่ได้พูดเล่นค่ะ .... คำว่า โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี อรหันต์ ล้วนเป็นคำสมมุติบัญญัติที่มีไว้ให้รู้เท่านั้นเอง ว่า สภาวธรรมลักษณะนี้คืออะไร ก็เหมือนกับคำสมมุติบัญญัติอื่นๆน่ะแหละค่ะ ไม่มีการแตกต่างในการเรียก แต่แตกต่างที่สภาวะ

ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจในสมมุติบัญญัตินั้นๆ เมื่อเกิดสภาวธรรมบางอย่างเกิดขึ้น แล้วไปน้อมเอาคิดเอาปักใจเชื่อในสภาวะนั้น แทนที่กิเลสจะลด ละ เลิก ( คือ สิ้นกิเลส ) กลับกลายเป็นว่า ไปเพิ่มกิเลสเสียนี


แต่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กลับสอนต่อไปอีกว่า "พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต พบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าพระพุทธเจ้าเสีย"

ครูบาฯท่านก็พูดชัดเจนนี่ค่ะ ตราบใดที่ยังมีคำว่า ผู้รู้ นั่นคือยังไม่ใช่ เฉกเช่นเดียวกันกับผู้ที่มีการยึดมั่นถือมั่นในสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นว่า นี่คือ โสดาบัน ( เพราะเอาไปเทียบเคียงกับตำราที่มีไว้ แล้วน้อมเอาคิดเอาปักใจเชื่อว่า " ใช่ " ) นั่นก็คือยังไม่ใช่ เพราะไปยึดในสมมุติบัญญัติเข้าให้แล้ว เขาให้ดูกิเลส ไม่ใช่ไปดูคำเรียก

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


สมพล เขียน:
เรียนถามทุกท่านขอรับ ว่าการละสักกายทิฏฐิ และการละอุปทานขันธ์ 5 อันเดียวกันใช่ไหมครับ

ขอบคุณมากขอรับ


เหมือนกันขอรับ เพราะ คำว่า "การละอุปทานขันธ์" หมายถึง การละ "ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ"

ส่วน การละสักกายทิฎฐิ หมายถึง การละ "ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)"
นั่นย่อมหมายถึง การละอัตตา นั่นเอง และ อัตตา หมายถึง "ตัวตน, อาตมัน; ปุถุชนย่อมยึดมั่นมองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่าอัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง; เทียบ อนัตตา "

ดังนั้น สิ่งที่คุณถามมา ทั้งสองคำ เหมือนกัน ในการปฏิบัติ ขอรับ

(ความหมายของคำว่า สักกายทิฎฐิ,อุปาทานขันธ์,อัตตา คัดความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ walaiporn

อ้างคำพูด:
การรู้ธรรมในขั้นของพระโสดาบัน และการปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหัตมรรค เมื่อจิตทรงตัวรู้แต่ไม่คิดอะไรนั้น บางครั้งจะมีสิ่งบางสิ่งผุดขึ้นมาสู่ภูมิรู้ของจิต แต่จิตไม่สำคัญมั่นหมายว่า นั่นคืออะไร เพียงแต่รู้เฉย ๆ ถึงความเกิดดับนั้นเท่านั้น ในขั้นนี้เป็นการเดินวิปัสสนาในขั้นละเอียดที่สุด ถึงจุดหนึ่ง จิตจะก้าวกระโดดต่อไปเอง ซึ่งจะขอไม่กล่าวถึงขั้นตอนอย่างละเอียด เพราะผู้อ่านอาจคิดตามแล้วปรุงแต่งอาการนั้นขึ้นมาได้

ที่ผมอ้างอิงมานั้นผมต้องการชี้ถึงสภาวะครับ

ขอบคุณที่ตั้งข้อสังเกตุครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 120 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร