วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 07:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า เอกัคคตาจิต นั้น...

ชาวพุทธในปัจจุบัน เข้าใจว่าต้องเป็นสภาวะจิตที่ไม่สามารถพิจารณาธรรมได้แต่อย่างเดียว เพราะ มัวแต่ไปคิดถึง เอกัคคตาจิตแบบของฤาษีที่ไม่นำไปสู่ปัญญา.

แต่ เอกัคคตาจิต ที่เป็นบาทของปัญญานั้น เหมือนจะไม่เชื่อเสียด้วยซ้ำว่ามีอยู่จริง
ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าท่านก็แสดงเอาไว้เต็มไปหมด


ลอง ค่อยๆ ดู คำว่า เอกัคคตาจิตที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ



จาก สัทธาสูตร

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวก
ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์ ๆลๆ


สัทธินทรีย์ นำไปสู่ วิริยินทรีย์
วิริยินทรีย์ นำไปสู่ สตินทรีย์
สตินทรีย์ นำไปสู่ สมาธินทรีย์
สมาธินทรีย์ นำไปสู่ ปัญญินทรีย์

ผู้บรรลุอรหัตตผล ก็คือ ผู้ทีมีปัญญินทรีย์สมบูรณ์
โดย ปัญญินทรีย์ นั้นมีสมาธินทรีย์เป็นบาท เป็นเหตุนำ

ไม่มีพระอรหันต์ประเภทไหนหรอก ที่ปราศจากสมาธินทรีย์(เอกัคคตาจิต)

ดังนั้น
พระอรหันต์ที่มีอินทรีย์เพียง๔นั้น ไม่มีอยู่จริงหรอก



...................................................




คำว่า เอกัคคตาจิต จาก

วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕


[๘๖๘] ก็ สมาธินทรีย์ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต

อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไปมีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย

เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโทมนัสโสมนัส
ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.



พระสูตรนี้ชัดเจนครับ
ว่า สมาธินทรีย์ นั้นนับที่ เอกัคคตาจิต ซึ่งในพระสูตรนี้ก็แสดงด้วยองค์แห่งฌานอีกเช่นกัน!

ปล...

สังเกตุ คำว่า "กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์" หมายถึง การเจริญภาวนาน้อมสู่ความดับไม่เหลือ ในขั้นของมรรค
เป็นคนละความหมายกับ "บรรลุนิพพาน" หรือ บรรลุอรหัตตผล

..............................



มีพระสูตรหนึ่ง ที่แนวทางสุทธวิปัสสนายานิก(ที่อิงกับ คัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล) เน้นกันมาก

โดยอ้างว่า นี่คือ หลักฐานยืนยันว่า ไม่ต้องบรรลุเอกัคคตาจิตก็สามารถบรรลุพระนิพพานได้ น่ะครับ

พระสูตรนี้ต้องอ่านดีๆน่ะครับ

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?start_book=20&start_byte=65089

สัตว์ที่ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิต มากกว่าโดยแท้


คือ มีการโยงไปปนกับ การที่พระอรหันต์ส่วนใหญ่เป็นประเภทปัญญาวิมุติ....
ในลักษณะที่ว่า "สัตว์ที่ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต" หมายถึง พระอรหันต์ปัญญาวิมุติ!

คือ กำลังกล่าวว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุติไม่จำเป็นต้องมีสมาธินทรีย์ หรือ ไม่จำเป็นต้องมีเอกัคคตาจิต
หรือ พระอรหันต์ปัญญาวิมุติ คือพระอรหันต์ที่มีอินทรีย์เพียง๔!

ซึ่งโดยแท้แล้ว

พระสูตรนี้ กำลังกล่าวเปรียบเทียบว่า
ในหมู่สัตว์ที่พยายามจะบรรลุสมาธินทรีย์โดยอาศัยการกระทำนิพพานให้เป็นอารมณ(คำว่า "กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์"กับ "บรรลุนิพพาน"เป็นคนละความหมายน่ะครับ ) มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถบรรลุสมาธินทรีย์ได้.

และ
สัตว์ที่พยายามจะบรรลุสมาธินทรีย์แต่ไม่สามารถบรรลุสมาธินทรีย์ ก็หาใช่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ปัญญาวิมุติ แต่อย่างใด ถ้าใช้พระไตรปิฎกที่ทางไทยเราถือกันมาเป็นหลัก


...............................................

คำว่า เอกัคคตาจิต จาก

ปริกขารสูตร


[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

องค์แห่งสมาธิ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน

คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เอกัคคตาจิตประกอบด้วยองค์ ๗ ประการนี้ เรียกว่า อริยสมาธิ ที่เป็นไปกับด้วยอุปนิสัยก็มี ที่เป็นไปกับด้วยบริขารก็มี ฯ



สูตรนี้ ก็คล้ายๆ กับที่ทรงแสดงถึง"สัมมาสมาธิ"ใน มหาจัตตารีสกสูตรนั้นเอง

แต่ใช้คำว่า เอกัคคตาจิต ตรงๆเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:


มีสัตว์ที่ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย 1.

สัตว์ที่ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิต มากกว่าโดยแท้
2.

คือ มีการโยงไปปนกับ การที่พระอรหันต์ส่วนใหญ่เป็นประเภทปัญญาวิมุติ....
ในลักษณะที่ว่า "สัตว์ที่ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต" หมายถึง พระอรหันต์ปัญญาวิมุติ!

[/b][/i]




ในคัมภีร์พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๑ ชื่อจิตตสังคหวิภาค

พระอรหันต์ทั่ว ๆ ไป ยังจำแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ ปัญญาวิมุตต และเจโตวิมุตต

ปัญญาวิมุตต หมายถึงพระอรหันต์ผู้ไม่ได้ฌานเลย ไม่ได้เจริญสมถภาวนา ไม่ได้ทำฌาน เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียวจนบรรลุอรหัตต มัคคอรหัตตผล พระอรหันต์ผู้ที่ไม่ได้ณานนี้เรียกว่า สุกขวิปัสสกพระอรหันต์

เจโตวิมุตต หมายถึงพระอรหันต์ผู้ที่ได้ฌานด้วย (ผู้ที่ได้ฌานเรียกว่าฌานลาภีบุคคล) การได้ฌานก็สามารถได้มาด้วย ๒ ประการ คือ

ก. เป็นผู้ที่เจริญสมถภาวนาจนได้ฌานเช่นนี้เรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน ได้ฌานด้วยการปฏิบัติ แล้วก็มาเจริญวิปัสสนาภาวนาตามลำดับ จนบรรลุเป็นพระอรหันต์

ข. เป็นผู้ที่แม้จะไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อนก็ตาม แต่ว่าเมื่อได้เจริญวิปัสสนาภาวนามาตามลำดับ จนบรรลุอรหัตตมัคค อรหัตตผล ด้วยผลแห่งบุญญาธิการแต่ปางก่อน เมื่อบรรลุอรหัตตผล ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วย เช่นนี้เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน ได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค จนถึงได้อภิญญาด้วยก็มี เช่นพระจุฬปัณถก เมื่อสำเร็จพระอรหันต์ ก็มีอภิญญาด้วย คือมีฤทธิสำแดงปาฏิหาริย์ เป็นพระภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวัน

พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุตตไม่ได้ฌานด้วย เรียกว่า สุกข- วิปัสสกพระอรหันต์ พระอรหันต์ประเภทเจโตวิมุตตนั้นเป็นผู้ที่ได้ฌานด้วย เรียกว่าพระอรหันตฌานลาภีบุคคล

พระอรหันต์ผู้เป็นฌานลาภีนั้น ได้ฌานจนถึงได้อภิญญาด้วยก็มี ได้ฌานก็จริงแต่ไม่ถึงได้อภิญญาด้วยก็มี

ฌานลาภีอรหัตตบุคคลได้ถึงอภิญญาด้วยนั้น บางองค์ก็ได้เพียงอภิญญา ๓ บางองค์ก็ได้ถึงอภิญญา ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็นครับ



1.สัตว์ที่ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย

นี่คือ พระอรหันต์ที่ได้เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ หมายถึงพระอรหันต์ผู้ที่ได้ฌานด้วย ฌานลาภีอรหัตตบุคคลได้ถึงอภิญญาด้วยนั้น บางองค์ก็ได้เพียงอภิญญา ๓ บางองค์ก็ได้ถึงอภิญญา ๖
พระอรหันต์ปฏิปทาสิทธิฌาน ฌานลาภีอรหัตตบุคคล ก็คือ อรหันต์ผู้มี ปฏิสัมภิทาญาณ


2. สัตว์ที่ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิต

หมายถึง พระอรหันต์ปัญญาวิมุติ! หรือ พระอรหันต์ ผู้ไม่มี ปฏิสัมภิทาญาณ หรือ สุกขวิปัสสกพระอรหันต์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตรงประเด็นครับ



เมื่อคุณเอาเรื่องธรรมระดับที่ยกสุดๆที่จะรู้ได้มาถก ก้ต้องแยกให้ออกระหว่าง นิพพานกับเอกัคคตา

นิพพานเป็นธรรมที่ไม่มีการเกิดดับ นิพพานจึงเป็นการทำจิตให้มีสภาพเพียงหนึ่ง คือ รับรู้อารมณ์เพียงอย่างเดียว แต่ไม่คิดปรุงแต่งอารมณ์ไปตามอาการของจิต 89 ดวง คือ ๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง ๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง ๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง โลกุตตรจิต ๘ ดวง = รวม ๘๙ ดวง

ส่วน เอกัคคตา คือจิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว เมื่อจิตตั้งอยู่ในอารมณ์ที่เพ่งดังกล่าวแล้ว ขณะนั้นจิตจะไม่มีอารมณ์อื่นอีกเลย

จิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว หมายถึงอยู่ในอารมณ์สงบนิ่ง เมื่ออยู่ในอารมณ์สงบนิ่ง ก็อาจจะไม่เข้าใจไตรลักษณ์ก็ได้ แต่พระอรหันต์เป็นผู้เข้าใจไตรลักษณ์ตลอดเวลา และจิตไม่ปรุงแต่งอารมณ์ไปตามกุศล อกุศล แต่จะอยู่ในอารมณ์เอกัคคตาก็ได้ ไม่อยู่ก็ได้ จึงมีการจำแนกพระอรหันต์เป็น พระอรหันต์สุขวิปัสสโก กับพระอรหันต์ฌานลาภี ก็คือ อรหันต์ผู้มี ปฏิสัมภิทาญาณ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นำมาแสดงร่วมกับท่านตรงประเด็น

เพื่อขยายเอกัคคตาจิตให้กว้างขวางขึ้น

และท่านตรงประเด็นอาจมีประเด็นจากตรงนี้แสดงให้ความรู้มากขึ้นครับ



พระไตรปิฎกเล่มที่ 31 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 23
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ปัญญาวรรค อิทธิกถา

ปัญญาวรรค อิทธิกถา
[๖๗๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิ บาท บท มูล แห่ง
ฤทธิ์ มีอย่างละเท่าไร ฯ
ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์เป็นอย่างไร ด้วยความว่าสำเร็จ ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์
มีเท่าไร มี ๑๐ ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ บาทมี ๔ บทมี ๘ มูลมี ๑๖ ฯ
[๖๘๐] ฤทธิ์ ๑๐ เป็นไฉน ฯ
ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๑ ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ๑ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ๑ ฤทธิ์
ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑ ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑ ฤทธิ์เกิด
แต่ผลกรรม ๑ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา ๑ ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วย
ความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๑ ฯ
[๖๘๑] ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดวิเวก ๑ ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข ๑ ตติย-
ฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข ๑ จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มี
สุข ๑ ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์
เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์
เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
[๖๘๒] บาท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและ
ปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่ง ด้วยความเพียรและ
ปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขาร ๑
เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร ๑ บาท ๔
แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
[๖๘๓] บท ๘ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิ
ไม่ใช่ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้
สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง
สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยจิตได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตไม่ใช่สมาธิ
สมาธิไม่ใช่จิต จิตเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิ
ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิ
เป็นอย่างหนึ่ง บท ๘ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้ว
กล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
[๖๘๔] มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ
จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่าอเนญชา (จิตไม่หวั่นไหว) จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ ... จิต
ไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท ... จิตอันทิฐิไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะทิฐิ ... จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ ... จิตหลุดพ้น
ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ ... จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส ...
จิตปราศจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำแห่งกิเลส ...
เอกัคคตาจิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ ... จิตที่กำหนดด้วยศรัทธา ย่อม
ไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ... จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่น
ไหวเพราะความเกียจคร้าน ... จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความ
ประมาท ... จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... จิตที่
กำหนดด้วยปัญญา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา
จิตที่ถึงความสว่างไสว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคืออวิชชา เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าอเนญชา มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความ
ได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความ
เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
[๖๘๕] ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน ฯ
ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็น
หลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ให้หายไปก็ได้ ทะลุ
ฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือน
ในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วย
ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ฯ
คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในทิฐินี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้
ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในศาสนานี้ ฯ
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะหรือเป็น
พระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ ฯ
คำว่า แสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่างๆ
อย่าง ฯ
คำว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติเป็นคนเดียว
ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็นร้อยคน พันคนหรือแสนคน แล้ว
อธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นหลายคน ก็เป็นหลายคน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความ
ชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถก
รูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น ฯ
คำว่า หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติหลายคน
ย่อมนึกให้เป็นคนเดียว แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นคนเดียว ก็เป็นคน
เดียว ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ เปรียบ
เหมือนท่านพระจุลปันถก หลายรูปเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น ฯ
คำว่า ทำให้ปรากฏก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ ปิดบังไว้ ทำให้ไม่มีอะไร
ปิดบังให้เปิดเผยก็ได้ ฯ
คำว่า ทำให้หายไปก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบัง
มิดชิดก็ได้ ฯ
คำว่า ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ คือ
ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้อากาศกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา
แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นที่ว่างก็ย่อมเป็นที่ว่าง ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ย่อมทะลุ
ฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต ย่อมทะลุฝา
กำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์
โดยปรกติ ย่อมไปในที่ที่ไม่มีอะไรๆ ปิดบังกั้นไว้ไม่ติดขัด ฉะนั้น ฯ
คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้
ได้อาโปกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จง
เป็นน้ำ ก็เป็นน้ำ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึง
ความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เปรียบเหมือนพวก
มนุษย์ ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น ฯ
คำว่า เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์
เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงน้ำ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น เดินไปบนน้ำไม่แตกได้ ท่าน
ผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินไปบนแผ่นดินไม่แตกได้
ฉะนั้น ฯ
คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวี-
กสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงอากาศ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็น
แผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง ในอากาศ
กลางหาวเหมือนนกก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินบ้าง
ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น ฯ
คำว่า ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วย
ฝ่ามือก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือนอน
ก็ตาม นึกถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า พระจันทร์
พระอาทิตย์ จงมีที่ใกล้มือ ก็ย่อมมีที่ใกล้มือ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น นั่งหรือนอนอยู่
ก็ตาม ย่อมลูบคลำสัมผัสพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือได้ เปรียบเหมือนพวก
มนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ย่อมลูบคลำสัมผัสรูปอะไรๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น ฯ
คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ผู้ถึง
ความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็น
ที่ใกล้ว่า จงเป็นที่ใกล้ ก็เป็นที่ใกล้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็นที่ไกล
ก็เป็นที่ไกล อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็นที่ไกล ก็เป็นที่ไกล อธิษฐาน
ของมากให้เป็นของน้อยว่า จงเป็นของน้อย ก็เป็นของน้อย อธิษฐานของน้อย
ให้เป็นของมากว่า จงเป็นของมาก ก็เป็นของมาก ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วย
ทิพจักษุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วย
เจโตปริยญาณ ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลก
ด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งกาย ครั้นแล้วหยั่งลงสู่
สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่ ถ้าท่าน
ผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่
ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานกายด้วยสามารถแห่งจิต ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุข
สัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์
นิรมิตรูปอันสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ไว้ข้างหน้า
ของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายนิรมิตก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่าน
ผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกายนิรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายนิรมิต
ก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่รูปกายนิรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้
มีฤทธิ์บังหวนควันอยู่รูปกายนิรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์
ให้ไฟลุกโพลงอยู่ รูปกายนิรมิตก็ให้ไฟลุกโพลง ณ ที่นั้น ถ้าท่านรูป
กายนิรมิตก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่
ถามปัญหาอยู่ รูปกายนิรมิตก็ถามปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์อันรูป
กายนิรมิตถามปัญหาแล้วก็แก้ รูปกายนิรมิตอันท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาแล้วก็แก้
อยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนสนทนาปราศรัยอยู่กับพรหมนั้น รูปกายนิรมิตรก็ยืน
สนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ ณ ที่นั้น ท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใด รูปกายนิรมิตก็ทำ
กิจนั้นๆ นั่นแล นี้ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นดังนี้ ฯ
[๖๘๖] ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เป็นไฉน ฯ
พระเถระนามว่าอภิภู เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค อรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุ
ทราบชัด ท่านแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มิ ด้วยกาย
ครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกาย
ครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่วงไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศ
ปรกติแล้วแสดงเพศกุมารบ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง
แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศ
เทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงเพศสมุทรบ้าง แสดงเพศภูเขาบ้าง
แสดงเพศป่าบ้าง แสดงเพศราชสีห์บ้าง แสดงเพศเสือโคร่งบ้าง แสดงเพศ
เสือเหลืองบ้าง แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดงพล
ราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง นี้เป็นฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ฯ
[๖๘๗] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน ฯ
ภิกษุในศาสนานี้ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจ มี
อวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจาก
หญ้าปล้อง เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้อง
เป็นอย่างหนึ่ง ไส้เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกประการหนึ่ง
เปรียบเหมือนบุรุษชักดาบอกออกจากฝัก เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
ดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ออกจากฝักนั่นเอง อีกประการหนึ่ง
เปรียบเหมือนบุรุษเอางูออกจากกระทอเขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้งู นี้กระทอ
งูเป็นอย่างหนึ่ง กระทอเป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจมีอวัยวะ
ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฯ
[๖๘๘] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นไฉน ฯ
ความละนิจจสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสนา เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ความละสุขสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสนา
ความละอัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสนา ความละความเพลิดเพลิน
ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสนา ความละราคะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิราคานุปัสนา
ความละสมุทัย ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสนา ความละความยึดถือ ย่อมสำเร็จ
ได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
ท่านพระพักกุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละ มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ
นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ฯ
[๖๘๙] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นไฉน
ความละนิวรณ์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์
ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละวิตกวิจาร ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะเหตุนั้น
จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละปีติ ย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน ฯลฯ
ความละสุขและทุกข์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ความละรูปสัญญา
ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
ความละอากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
ความละวิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
ความละอากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสัญชีวะ
ท่านพระขาณุโกณฑัญญะ อุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วย
สมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
[๖๙๐] ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ
ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่ง
ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า
เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่
ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่
ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล
นั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่ง
ที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ
ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่
ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ฯ
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่า
ปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ในสิ่งที่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล
อยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูล
อยู่อย่างไร
ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งทั้งไม่น่า
ปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่า
เป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล
อยู่อย่างไร
ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง
ในสิ่งทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล
และในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และใน
สิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา
มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏ-
ฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มี
สติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล
และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ ฯ
[๖๙๑] ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นไฉน ฯ
นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก
มีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ฯ
[๖๙๒] ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน ฯ
พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ตลอด
จนพวกปกครองม้าเป็นที่สุด นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดี
ฤทธิ์ของชฏิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดี
ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ นี้ฤทธิ์ของท่าน
ผู้มีบุญ ฯ
[๖๙๓] ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชาเป็นไฉน ฯ
พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง พลม้าบ้าง
พลรถบ้าง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง ในอากาศกลางหาว
นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา ฯ
[๖๙๔] ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบใน
ส่วนนั้นๆ อย่างไร ฯ
ความละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ
ความละพยาบาท ย่อมสำเร็จได้ด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ความละถีนมิทธะ
ย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ ความละกิเลสทั้งปวง ย่อมสำเร็จได้ด้วย
อรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการ
ประกอบชอบในส่วนนั้นๆ ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการ
ประกอบชอบในส่วนนั้นๆ อย่างนี้ฤทธิ์ ๑๐ ประการเหล่านี้

จบอิทธิกถา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ คุณmes ครับ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 156 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร