วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 13:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ม.ค. 2009, 21:03
โพสต์: 26


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกท่านขอรับ

กระผมใคร่ถามว่าเราจำเป็นต้องเรียนหรือศึกษาอภิธรรมหรือไม่ครับ เห็นเปิดเรียนกันตั้งหลายปี
แบ่งเป็นชั้นๆไป ฟังและอ่านดูแล้วยากมากครับ ทำให้คิดว่าพุทธศาสนาสอนยากขนาดนี้เชียวหรือ


ไม่ทราบสมัยพระพุทธเจ้า มีการสอนแบบนี้ไหมครับ แล้วทำไมบางท่านฟังแล้วบรรลุธรรมง่ายด้วยถ้อยคำง่ายๆ ไม่ยากเหมือนฟังพระอภิธรรม

ขอบคุณขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎกมี คำอรรถคถา (คำของอาจารย์ รุ่นหลัง) มากถึง ๒ใน๓

วิธีสังเกตุ หรือ แยกคำของพระพุทธเจ้า กับ คำอรรถคถา อย่างง่าย ทำอย่างไร

คำของพระพุทธเจ้ามักจะขึ้นประโยคด้วย
ภิกษุ ท
ภิกษุ ทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อานนท์... วัจฉะ...มหาราชะ....ชื่อของสาวก.....
ดูกร อานนท์... วัจฉะ...มหาราชะ....ชื่อของสาวก....

คำอรรถคถา มักจะขึ้นประโยคด้วย
บทว่า ที่ว่า ความว่า หรือ ยกขึ้นกล่าวลอยๆ
ซึ่งอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ หรือเข้าใจยาก รวมทั้ง มีการแต่งเติม
เพิ่มความเห็นของตัวเอง อย่างมากมาย มีข้อผิดแฝงอยู่ แล้วมีการขัดกันของธรรมะด้วย
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจาก รูป
เพราะความเบื่อหน่ายความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น
จึงได้นามว่า "สัมมาสัมพุทธะ".
ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป
เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น
จึงได้นามว่า "ปัญญาวิมุตต์".

(ในกรณี แห่ ง เวท น า สั ญ ญ า สั งขาร และวิ ญ ญ าณ ก็ ได้ ตรั สไว้ มี ข้ อ ค ว า ม
แสดงหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).

ภิกษุ ท.! เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นจากรูปเป็นต้นด้วยกันทั้งสองพวกแล้ว
อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
อะไรเป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน
ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ?

ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ได้ทำ มรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว
ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมมรค).

ภิกษุ ท.! ส่วน สาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน
ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.

- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๕.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.พ. 2009, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จำเป็นสิครับ จำเป็นมาก
แต่ต้องรู้จักลำดับ หมายถึงว่าเมื่อไหร่ควรจะเรียน

ถ้าได้อ่านประวัติพระอริยาจารย์สายหลวงปู่มั่นประมาณหนึ่ง
จะพบว่า เวลาหลวงปู่สอนอะไร หลวงปู่จะสั่งให้ทำก่อน สอนทีหลัง
สอนสั้นๆ ประโยคสองประโยค บางทีสั้นมากเพียงวลีเดียว
แล้วท่านก็ให้ไปทำเอา แล้วค่อยมารายงานผล

ถ้าทำไม่ได้ ท่านจะไม่สอนอะไรที่เหนือขึ้นไปอีก
เช่นถ้าลำพังแค่ศีลวัตรธรรมดาๆ ยังด่างๆพร้อยๆ ท่านไล่หนีเลย ไม่สอนอะไรเลย
หรือถ้าปฏิบัติยังไม่ได้ผล ท่าจะไำม่สอนอะไรที่เหนือขึ้นไปจากนั้นเลย
แล้วลูกศิษย์ก็ไม่มีนิสัยสู่รู้ แบบว่าอยากจะรู้อะไรที่ตัวเองยังไม่สามารถจะรู้ได้

แต่ถ้าลูกศิษย์ท่านทำสำเร็จ ปฏิบัติได้ผล
ก้จะมารายงานด้วยภาษาพาซื่อ เพราะไม่รู้จะเรียกสิ่งที่พบเห็นนั้นว่าอะไร อธิบายไปตามยถากรรม
หลวงปู่ก็จะทราบได้ว่าใครปฏิบัติได้ผลจริงหรือ (นอกจากใช้ญานส่องดู)
คราวนี้เมื่อลูกศิษย์ได้ไปพบเห็นสัจจธรรมจริงๆแล้ว พบเห็นของจริงมาแล้ว หลวงปู่จะสอนอภิธรรม
หลวงปู่จะอธิบายที่สิ่งที่ได้ทำไป สิ่งที่ผ่านไป ว่าเกิดอะไรขึ้น มีชื่อเรียกอย่างไรๆ
ลูกศิษย์ก็จะเกิดความเข้าใจชนิดรู้แจ้งแดงแจ๋ไม่มีคลาดเคลื่อนลบเลือนเลยไม่แต่น้อย
เรียกว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ครบถ้วน


แต่ต้องอย่าลืมว่าหลวงปู่ท่านมีญานไม่ธรรมดา
ท่านสอนลูกศิษย์ด้วยวิธีที่แตกต่างกันเฉพาะคนเฉพาะคนไป

ผมมองว่านี่แหละเป้นการศึกษาไปตามธรรมชาติ
แต่ยุคเราบุญน้อย เพราะการเรียนแบบนี้ ต้องได้เจออาจารย์ดี
แล้วศิษย์เองก็ต้องมีศรัทธาวางใจอาจารย์ชนิดถวายชีวิตให้
ท่านบอกให้ไปทำอะไรต้องทำ ต้องเอาจริง ไม่กลัวตาย เป็นต้น

ทีนี้ย้อนไปสมัยพระพุทธเจ้า ก่อนจะมีพระไตรปิฏก
ตอนพระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนคน ท่านจาริกไปทั่วแดน
ท่านสอนคนนั้นอย่างงนั้นบ้าง สอนคนนี้อย่างนี้บ้าง ต่างกรรม ต่างวาระ
ด้วยวิธีและคำสอนที่แตกต่างกันไปแต่ละคน แล้วท่านเลือกคนที่จะสอน
ึคนที่ท่านบวฃให้ทุกคนนั้น ล้วนแล้วแต่บรรลุโสดาบันแล้วทั้งนั้น ท่านถึงบวชให้

แล้วก้ยุคนั้นไม่มีการใช้อักษร การเรียนอะไรก้ต้องฟังเอา แล้วทรงจำเอาไว้ ท่องเอาไว้
ท่านถึงใช้คำว่า "สุตมัยปัญญา" สุต แปลว่าฟัง
นอกจากนั้น ท่านยังใช้เวลาถึง 45 ปีในการแสดงธรรม

การที่เราเห็นพระไตรปิฏกมันเป้นหมวดหมู่ เป็นคัมภีรย์ขึ้นมานี้
มันเกิดจากหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 6 เดือน
บรรดาพระทั้งหลายถึงได้ประชุมกันสังคายนา
โดยได้เรียกประชุมด้วยกันหมด แล้วให้แต่ละคนได้เล่าถึงคำสอนที่ตนได้รับมาจากพระพุทธเจ้า
ในต่างกรรมต่างวาระนั้นๆ ต่อหน้าที่ประชุม

ในที่ประชุมก้จะมีพระเถระเป็นประธานอยู่ หากสิง่ที่พูดออกไปแล้วไม่มีใครคัดค้าน
ก็จะพากันท่องบ่นทรงจำเอาไว้ในใจ (ยังไม่มีอักษร ไม่มีรูปเล่ม)
ถึงเป้นต้นกำเนิดของเถรวาท (เถระ+ โอวาท)


กล่าวถึงตรงนี้ คุณสมพลคงมองออกแล้วว่า
หลวงปู่มั่นก้สอนแบบพระพุทธเจ้าสอนนั่นแหละครับ
คือสอนไปตามธรรมชาติของผู้เรียน
แม้ว่าจะสอนเรื่องเดียวกัน แต่จะสอนคนนั้นอย่างหนึ่ง สอนคนนี้อย่างหนึ่ง


บ่อยครั้งท่านก็สอนให้ลงมือทำเลย
พาดูของจริงเลย จนเห็นจริงแล้วค่อยมาปริยัติทีหลัง


การที่เราจะศึกษาอภิธรรมนั้น ก็สมควรจะปฏิบัติไปด้วย
ควรศึกษาไปตามธรรมชาติของเราว่าวันนี้เรารู้ได้แค่นี้ ก้ต้องปริยัติเอาแต่เรื่องที่เรารู้ได้
เหมือนเรียนหนังสือนั่นแหละครับ
เราต้องหัดบวกลบให้คล่องก่อน จึงจะไปเรียนคูนหาร
เมื่อคล่องคูนหารแล้วถึงจเริ่มเรียนคูนร่วมน้อย หารร่วมมาก
ค่อยพัฒนาต่อไปเป้นสมการ ถอดราก ตรีโกณฑ์ ฯลฯ

ต่อให้เราจบเปรียญเก้าประโยค ก็ยังจัดว่าเป็นความรู้ที่ใช้ไม่ได้ครับ
เวลาปฏิบัติมันไม่ได้เห้าประโยคตามที่เรียนมา มันนับหนึ่งหมดทุกคน

หนำซ้ำยิ่งเรียนมาก มันจะมีนิสัยรู้ไปก่อนล้วงหน้า คิดไปก่อน สู่รู้ล่วงหน้า
เวลาปฏิบัติแล้วมันจะคอยนึกคิดไปล่วงหน้าว่าจะเจออันนั้น จะเจออันนี้
เอ๊ะอันนี้เรียกว่าฌานไหน เอ๊ะองค์ฌานครบหรือยัง อย่างนี้ใช่ไหมหนอ ฯลฯ
คอยวิจัย วิจารณ์อยู่ โดยไม่รู้ว่ากำลังขาดสติ

ดังนั้นอภิธรรมก็สำคัญครับ แต่ต้องรู้จักเลือกเรียน ต้องรู้ลำดับ
โดยเฉพาะว่าเราไม่มีครูอาจารย์แนะนำ เราก้ต้องเรียนเฉพาะเท่าที่ต้องใช้
ไม่ใช้ว่ากะจะเรียนจนสิ้นความได้ ปธ. 9 แล้วมาปฏิบัติ อันนี้โง่ครับ
เหมือนหิวข้าวแต่ไปปลูกข้าวก่อน รอเกี่ยวข้าว เอามาหุงแล้วถึงจะได้กิน

ให้เรานึกย้อนไปดูว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนคนยังไง หลวงปู่มั่นท่านสอนยังไง
และที่สำคัญคือ คนเรียนเขาเรียนกันยังไง
คนเรียนเขาไม่มีนิสัยอยากจะสู่รู้ข้ามขั้นเลย ก้มหน้าก้มตาปฏิบัติเอาจริงๆจัง


สมัยนี้โลกยุคใหม่ คนเรามีปัญญามากขึ้น (หมายถึงจินมัยปัญญา)
มีพระไตรปิฏกแบบครบถ้วน ก็เลยวิจัยธรรมะกัน
วิจัยว่านิพพานเป้นอย่างนั้นอย่างนี้ สวรรค์นรกอย่างนั้นอย่างนี้
ซึ่งเป็นการยามสู่รู้ข้ามขั้น เรียนธรรมะข้ามขั้น
ดีที่สุดก็แค่วิเคราะห์วิจัยกันไปตามอัธยาศัย

ผมก็เคยเป็นนะครับ และเชื่อว่าผู้มาใหม่ในศาสนานี้จะเป้นกันซะมาก
เพราะศาสนาพุทธนั้นอัศจรรย์พิศดาร จะว่าเป็นเหตุผลที่สุดได้ จะว่าเหนือเหตุผลก็ใช่
มีอะไรที่เหนือธรรมดามากมาย ทำให้คนสงสัยใคร่รู้
เลยไปจดจ่อค้นคว้าเอาแต่ตรงภาคพิศดารนั้นมาก แล้วไม่ปฏิบัติกัน เพราะปฏิบัติมันน่าเบื่อ ไม่หวือหวา

ธรรมะตัวที่เป้นภาคทฤษฏี ภาคตัวหนังสือภาษานั้น
ก็เป็นเพียงความพยามของมนุษย์ในการสื่อสารตัวธรรมะ

ตัวธรรมะแท้ๆก้คือปรากฏการณ์ในใจเรานี่แหละครับ เป็นสากล
อย่างสัตว์ มันก้มีจิต เจตสิก รูป เหมือนกันกับเราไม่มีผิดเพี้ยน
จิตสัตว์ก็มีความ ดีใจ เสียใจ ไม่ต่างอะไรจากจิตใจคน เพียงแต่มันความรู้สึกพวกนั้นเป้นภาษาคนไม่ได้
แต่ตัวมันเองก็มีปรากฏการณ์ของธรรมะในใจเหมือนกัน

ผมก็เคยพยามศึกษาอภิธรรมครับ แต่ฟังแล้วเครียด งง
เพราะเราไม่ประสบกับตัวเอง คิดให้ตายมันก็นึกไม่ออก
แถมยังต้องมานั่งท่องจำคำศัพท์แล้วพยามจะเชื่อมดยงมันอีก
อย่างเรื่องเจตสิก ตอนแรกมันยากจริงๆนะ อะไรก็มไ่รู้ เกิดร่วมกับจิต มีอารมณืเดียวกับจิต ต่างๆนาๆ งงไปหมด
แต่เจอครูอาจารย์ดี กล้าพูดง่ายๆ บ้านๆ ให้เราเข้าใจ
พาดูลงไปตรงๆเลยว่านี่ไงเจตสิก นั่นแหละเจตสิก
ใจมันแสดงอะไรออกมา นั่นแหละเจตสิก ดีใจก็ใช่ เสียใจก็ใช่ มีสติก้ใช่ ขบคิดก็ใช่ เฉยๆก็ใช่

พอต่อมาอ่านเรื่องเจตสิกอีกที ก็นึกค้อนในใจว่าทำไมต้องทำให้มันยาก
แต่ก็จัดว่าดี ละเอียดดี อย่างไรก้ตามผมมองว่า ถ้าเราเจอตัวธรรมะแล้วหันกลับมาอ่าน มันจะง่าย
แล้วเราจะเข้าใจกว้างขวางลึกซึ้งกว่าตอนแรกมาก
แล้วก็ได้รู้ว่ามีมนุษย์ยุคหลังนี้ชอบทำให้ธรรมะมันยากได้อย่างวิจิตรพิศดาร


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 124 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร