ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
สัมมาทิฐิ ๒ อย่าง http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=20295 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | BlackHospital [ 28 ม.ค. 2009, 01:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | สัมมาทิฐิ ๒ อย่าง |
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชาแล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่ เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้า ให้แจ่มแจ้งเพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วย อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้นเป็นสัมมาสติ ฯ ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะสัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ - หน้าที่ 147 ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | นัน555 [ 28 ม.ค. 2009, 02:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | สัมมาทิฐิ เจริญงอกงามแล้วให้ผลเร็วพลัน |
อรรถกถาอนุคคหสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยในอนุคคหสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :- ............................................................ บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนา. ในบทว่า เจโตวิมุตฺติผลา เป็นต้น สมาธิขั้นมรรคผล ชื่อว่าเจโตวิมุตติ. ผลญาณ ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ. ........................... บทว่า สีลานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันศีลสนับสนุนตามรักษา. บทว่า สุตานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันพาหุสัจจะสนับสนุน. บทว่า สากจฺฉานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันธรรมสากัจฉาสนับสนุน. บทว่า สมถานุคฺคหิตา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิอันเอกัคคตาจิตสนับสนุน. ...................... แต่เพื่อให้ความนี้แจ่มแจ้ง พึงยกตัวอย่างบุรุษปลูกเมล็ดมะม่วงหวาน ปักเขตไว้โดยรอบรดน้ำตามเวลา ชำระรากตามเวลา นำสัตว์ที่ตกลงไปออกตามเวลา ดึงใยแมลงมุมออกตามเวลา แล้วบำรุงมะม่วง. สัมมาทิฏฐิขั้นวิปัสสนาพึงเห็นดุจการปลูกเมล็ดมะม่วงหวานของบุรุษนั้น. การที่ศีลสนับสนุนพึงเห็นดุจการปักเขต การที่สุตะสนับสนุนดุจการรดน้ำ. การที่การสนทนาธรรมสนับสนุนก็ดุจการชำระราก. การที่สมถะสนับสนุนด้วยการขจัดอันตรายของญาณและวิปัสสนาดุจการนำสัตว์ออก. การที่วิปัสสนามีกำลังสนับสนุนก็ดุจการดึงใยแมลงมุมออก. .......................... ความที่สัมมาทิฏฐิมีมูลอันคุณมีศีลเป็นต้นเหล่านี้สนับสนุนแล้วจำเริญด้วยทิฏฐิเป็นมรรคแล้ว อำนวยซึ่งเจโตวิมุตติผลและปัญญาวิมุตติผลเร็วพลัน พึงเห็นดุจความที่ต้นไม้อันบุรุษอุดหนุนอย่างนี้เจริญงอกงามแล้วให้ผลเร็วพลัน. จบอรรถกถาอนุคคหสูตรที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=25 |
เจ้าของ: | BlackHospital [ 28 ม.ค. 2009, 16:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สัมมาทิฐิ ๒ อย่าง |
ในพระไตรปิฎกมี คำอรรถคถา (คำของอาจารย์ รุ่นหลัง) มีมากถึง ๒ใน๓ วิธีสังเกตุ หรือ แยกคำของพระพุทธเจ้า กับ คำอรรถคถา อย่างง่าย ทำอย่างไร คำของพระพุทธเจ้ามักจะขึ้นประโยคด้วย ภิกษุ ท ภิกษุ ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์... วัจฉะ...มหาราชะ....ชื่อของสาวก..... ดูกร อานนท์... วัจฉะ...มหาราชะ....ชื่อของสาวก.... คำอรรถคถา มักจะขึ้นประโยคด้วย บทว่า ที่ว่า ความว่า หรือ ยกขึ้นกล่าวลอยๆ ซึ่งอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ชัดเจน หาข้อผิดได้ ต้องอธิบายเพิ่ม ด้วยคำของอาจารย์ รุ่นหลังอีก ซึ่งอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ชัดเจน หาข้อผิดได้ ต้องอธิบายเพิ่ม ด้วยคำของอาจารย์ รุ่นหลังอีก ซึ่งอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ไม่ชัดเจน หาข้อผิดได้ ต้องอธิบายเพิ่ม ด้วยคำของอาจารย์ รุ่นหลังอีก . . . ไม่รู้จบ ดังนั้นมาคุยคำของของพระพุทธเจ้า ดีกว่า ว่า ภิกษุ ท.! ตถาคตเกิดขึ้นในโลก นี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้ตรัสรู้ชอบ ด้วยตนเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์. ภิกษุ ท.! ตถาคตนั้น ได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม ซึ่งหมู่สัตว์กับทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. -บาลี มู.ม. ๑๒/๔๘๙/๔๕๔. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน, ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |