วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 19:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ เสนอ คำๆ เดียว แต่มีหลายนัยยะ


ทุกข์ มีความหมายหลายนัยยะ

แต่ ก็มีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น

ทุกข์

1. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง
(ข้อ ๒ ในไตรลักษณ์)

2. อาการแห่งทุกข์ที่ปรากฎขึ้นหรืออาจปรากฎขึ้นได้แก่คน
(ได้ในคำว่า ทุกขสัจจะ หรือ ทุกขอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นข้อที่ ๑ ในอริยสัจจ์ ๔)

3. สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา,
ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกาย คือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ)
แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ



สรุปง่ายๆ คือ

1.ทุกขัง ในไตรลักษณ์
2.ทุกข์อริยสัจจ์ ใน อริยสัจจ์สี่
3.ทุกขเวทนา

ที่เราท่านเป็นทุกข์กันนั้น
สาเหตุหลักหนึ่ง ก็คือ การปราถนาจะให้ทุกขเวทนานั้นหายไปเร็วๆ หรือ ไม่ปรากฏอีกเลย(มี ปฏิคานุสัยนอนเนื่องอยู่)
และ การปราถนาจะให้สุขเวทนานั้น อยากให้อยู่นานๆ หรือดำรงอยู่ตลอดไป(มีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่)
และ การไม่รู้จัก อทุกขมสุขเวทนาตามจริง(มีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่)

คือ จิตของปุถุชนมีแนวโน้มจะผลักทุกขเวทนา แล้ววิ่งเข้าหาสุขเวทนาแทน... ดังที่มีคำกล่าวว่า "ปุถุชน ย่อมไม่รู้วิธีออกจากทุกขเวทนานอกเหนือจากกามสุข" จึงเป็นตัณหา อุปาทาน ๆลๆ และ เป็นทุกข์ในที่สุด...
ด้วยเพราะ สุขเวทนาเองก็ไม่เที่ยง ยึดไว้ไม่ได้เช่นกัน. กล่าวคือ เมื่อ สุขเวทนานั้นเสื่อมลง จิตที่ยึดในสุขเวทนาย่อมเป็นทุกข์เช่นกัน

การที่ปุถุชนมีแนวโน้มจะผลักทุกขเวทนาเข้าหาสุขเวทนานี้ เป็นเพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดในไตรลักษณ์.... คือ ไม่รู้แจ้งใน"ทุกขัง" ว่า ทั้งทุกขเวทนา และ สุขเวทนา(รวมทั้งอุเบกขาเวทนา) ไม่เที่ยง ยึดไว้ไม่ได้ ไม่ได้เป็นไปตามปราถนาของใครๆ
นั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วน คำกล่าวที่ว่า "สุขเหมือนกับทุกข์" นั้น

คงไม่ใช่ว่า สุขเวทนา เหมือนกันกับ ทุกขเวทนา ทุกประการหรอกครับ

น่าจะหมายถึงว่า ทั้งสุขเวทนา และ ทุกขเวทนา (รวมทั้งอทุกขมสุขเวทนา)นั้น ไม่เที่ยง ยึดไว้ไม่ได้
(ต้องไม่ลืมว่า นี่กำลังพูดถึง สุขที่เป็นเวทนา)
เพราะ เมื่อ สุขเวทนาที่เรายึดมั่นถือหมายเอาไว้(อุปาทานขันธ์)แปรปรวน มันก็จะกลายเป็นทุกข์เช่นกัน

ท่านผู้รู้ท่านจึงเปรียบการพึงพอใจกับสุขเวทนาว่า เปรียบเสมือนเราถือหางงูเห่าเอาไว้ เพราะอีกด้านหนึ่ง(หัวงูเห่า) คือเมื่อสุขเวทนาแปรปรวนไปเราจะทุกข์ทันที เหมือนถูกงูเห่าแว้งฉกกัดเอา

ต้องไม่ลืมว่า คำว่า สุข ในที่นี้ หมายเอา สุขเวทนา เช่น สุขจากกาม รวมทั้งสุขจากรูปฌาน-อรูปฌาน(ข้อ1-9ใน ความสุข10ขั้น)


แต่ มันยังมีสุขที่ไม่ต้องอาศัยเวทนา สุขที่พ้นจากการนำไปสู่ทุกข์ เป็นสุขที่พ้นไปจากการปรุงแต่ง เป็นที่สุดแห่งสุข ที่เรียกว่า "พระนิพพาน"อยู่

เท่าที่สังเกตุ ชาวพุทธรุ่นใหม่ ไม่ค่อยเข้าใจกันว่า "พระนิพพาน"นั้น พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสเอาไว้ว่าเป็นบรมสุขเช่นกันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งความสุข ดังคำกล่าวว่า "เธอทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย เพราะบุญเป็นชื่อของความสุข " ชีวิตสัตว์ทั้งหลายมีทุกข์เป็นตัวยืนพื้น เหมือนโลกเรานี้ธรรมดามีความมืดเป็นปกติ อาศัยแสงของตะวันและจันทรา เราถึงได้เห็นสิ่งต่าง ๆ การปฏิบัติธรรมนั้นชีวิตเราควรจะมีความสุขมากขึ้น อย่าได้ปฏิเสธสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ธรรมดาการปฏิบัติธรรมนั้นเขาจะมาปฏิบัติกันในโลกมนุษย์ เพราะโลกมนุษย์อยู่กึ่งกลางระหว่าง สุคติภูมิ กับทุคติภูมิ มีทั้งสุขและทุกข์ผสมกัน ไม่เหมือนกับสวรรค์ที่สุขก็สุขจนเพลิดเพลินมัวเมา ไม่เหมือนนรก ที่ต้องดิ้นรนหนีทุกข์ทั้งวัน ไม่มีเวลาได้พิจารณาอะไร

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2008, 20:09
โพสต์: 112


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
1.http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุกข์
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1/12
. สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง(ข้อ ๒ ในไตรลักษณ์)

2.http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ประเสริฐ
ประเสริฐ ดีที่สุด, ดีเลิศ, วิเศษ

3.http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สุข
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6/18
บรมสุข สุขอย่างยิ่ง ได้แก่ พระนิพพาน

4.http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=นิพพาน
แสดงผลการค้น ลำดับที่ 6/18
นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา; มี2ชนิด
๑. ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
๒. ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ

5. ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าทุกข์=ประเสร็ฐ เพราะ นิพพานจะเกิดจากเห็นทุกข์และดับทุกข์


เห็นด้วยทุกประการครับ :b8: :b44:
เจริญในธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 135 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร