ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ปฏิจจสมุปปบาท
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19736
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  beermania [ 22 ธ.ค. 2008, 13:29 ]
หัวข้อกระทู้:  ปฏิจจสมุปปบาท

อยากทราบเกี่ยวกับกระบวนการปฏิจจสมุปปบาทอ่ะคับ

ถ้าช่วยยกตัวอย่าง (เรื่องราวในชีวิตประจำวัน) ด้วยจะดีมากๆ เลยครับ (ศึกษาเท่าไรก็ไม่เข้าใจ)

*เน้นเกี่ยวกับเรื่องสังขารอ่ะครับ :b8:

เจ้าของ:  natdanai [ 22 ธ.ค. 2008, 14:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปปบาท

beermania เขียน:
อยากทราบเกี่ยวกับกระบวนการปฏิจจสมุปปบาทอ่ะคับ

ถ้าช่วยยกตัวอย่าง (เรื่องราวในชีวิตประจำวัน) ด้วยจะดีมากๆ เลยครับ (ศึกษาเท่าไรก็ไม่เข้าใจ)

*เน้นเกี่ยวกับเรื่องสังขารอ่ะครับ :b8:


ลองพิจารณาบ่อยๆ ครับ พิจารณาย้อนกลับบ้างก็ได้ครับ พิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการ

ส่วนตัวกระผมเองก็เคยไม่เข้าใจครับ พยายามถามกับคนที่เราคิดว่ารู้ แต่ฟังเขาแล้วเราจะเข้าใจตรงกันกับที่เขารู้รึป่าว? แล้วถ้าเข้าใจตรงกันแล้วรู้เหมือนกันแล้วไอ้สิ่งที่รู้มานั้นมันจริงรึป่าว? ท้ายสุดก็จบที่การพิจารณาของตนเท่านั้นมันเป็นปัจจัตตัง (รู้เฉพาะตน)

หรือลองอธิบายสิ่งที่ท่านรู้ให้ผู้อื่นได้พิจารณาก่อนก็ได้ครับ แล้วเดี๋ยวจะมีสหายธรรมมาอธิบายให้ท่านได้พิจารณามากมายครับ.... :b12:

เจ้าของ:  อินทรีย์5 [ 22 ธ.ค. 2008, 14:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปปบาท

:b39: :b42: 2. สังขาร (Volitional activities) = ความคิดปรุงแต่ง ความจงใจ

มุ่งหมาย ตัดสินใจ และการที่จะแสดงเจตนาออกเป็นการกระทำ; การจัดสรรกระบวน

ตามความคิด และมองหาอารมณ์มาสนองความคิดโดยสอดคล้องกับพื้นนิสัย ความถนัด

ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ และทัศนคติ เป็นต้นของคน ตามที่ได้สั่งสมไว้;

การปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งความคิด หรือปรุงแต่งกรรม ด้วยเครื่องปรุง คือ คุณสมบัติ

ต่างๆ ที่เป็นความเคยชิน หรือได้สั่งสมไว้

(สังขารในกรณีนี้ คือ เจตสิก 50 มีทั้งฝ่ายดี และ ฝ่ายร้าย)

ผมคัดลอกจากคำพูดที่K. กรัชกายเคยโพสท์ไว้ ในธรรมจักรบอร์ดเก่า ซึ่งในนั้นละเอียดกว่านี้ แต่ผมขอยกมาตอบสั้นๆเฉพาะหมวดสังขาร และให้ดีควรให้ผู้รู้ท่านอื่นๆมาตอบจะดีกว่าอย่างที่ K.Natdanai บอกไว้น่ะครับ :b41:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 22 ธ.ค. 2008, 16:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปปบาท

อ้างคำพูด:
ช่วยยกตัวอย่าง (เรื่องราวในชีวิตประจำวัน) ด้วยจะดีมากๆ เลยครับ



ยกตัวอย่าง ไปสยามพารากอน ว้าว...สาวๆ เยอะเลย นิสิตนักศึกษาเพียบนุ่งกระโปรงคับเปรี๊ยะสั้นเหนือเข่าคืบครึ่งได้ ผ่าหน้าผ่าหลังอีกต่างหาก :b3: ขณะเห็นรู้สึกอย่างไรนั่น คือ สังขาร

ว้าว...น้องคนนั้นเดินตรงมาหาเราด้วย เอื้อนเอ่ยมธุรสวาจาทักทายเราเสียงหวานปานน้ำผึ้งเดือน ๕
ขณะได้ยินเสียงนั้น ตนคิดนึกอย่างไร ปรุงแต่งความคิดไปอย่างไร นี่ก็สังขาร

อุ๊ย... น้องจับมือเราด้วย สัมผัสนิ่มกลิ่นกายหอม ได้สัมผัสอีก สัมผัสแล้วรู้สึกอย่างไร คือสังขาร ฯลฯ สำหรับน้องคนนี้พอแล้วเดี๋ยวเลยเถิด นึกเอาเองมั่งว่าจะไปไหนต่อ นั่นก็สังขาร

เดินมาอีกหน่อย พบกับคนที่ไม่ถูกกันมาก่อน มันเดินตรงมาหาเรา ให้ของลับเราหลายอัน แถมด่าเรา อีกว่าไอ่ฟายมาคนเดียวหรอ ต่อยกะกรูปะ ตนเห็นแล้วได้ยินแล้วคิดอย่างไรนั่นสังขาร :b33:
ครั้นจะต่อยมันสักฉาดก็ฉุกคิดว่า มันมากันหลายคน นึกแค้นอยู่ในใจนี่ก็สังขาร

เดินครุ่นคิดไปคนเดียวฟุ้งไปหมดปฏิจจสุมุปมุปบาท ฯลฯ วนไปมากี่รอบต่อกี่รอบ ...เกิดสตินึกถึงคำพูดของหลวงพ่อที่เรานับถือว่า...โกรธคือโง่ :b33: โมโห คือ บร้า หรือนึกถึงพุทโธๆ นี่ก็สังขาร โกรธหนอๆ คิดหนอ ๆ นี่สังขาร ฯลฯ


พูดถึงแบบหยาบๆ แต่ความจริงจะคิดสลับกลับไปกลับมาหลายรอบ

(สังเกตตนเองทุกขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายได้สัมผัส ใจคิดอย่างไร)

สังขาร มี ๒ อย่างศึกษาลิงค์นี้ครับ

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=18670

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 22 ธ.ค. 2008, 18:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปปบาท

(ศึกษาที่เป็นวิชาการบ้าง)

ตัวอย่างกรณีปลีกย่อย (ปฏิจจสมุปบาท) ในชีวิตประจำวัน

- ก. กับ ข. เป็นเพื่อนนักเรียนที่รักและสนิทสนมกัน ทุกวันมาโรงเรียน พบกันก็ยิ้มแย้มทักทายกัน
วันหนึ่ง ก. เห็น ข. ก็ยิ้มแย้ม เข้าไปทักทาย
แต่ ข. หน้าบึ้งไม่ยิ้มด้วย ไม่พูดตอบ ก. จึงโกรธไม่พูดกับ ข. บ้าง

ในกรณีนี้กระบวนธรรมจะดำเนินไปในรูปต่อไปนี้


1. อวิชชา: เมื่อเห็น ข. หน้าบึ้ง ไม่ยิ้มตอบ ไม่พูดตอบ ก. ไม่รู้ความจริงว่าเหตุผลต้นปลายเป็นอย่างไร และไม่ใช้ปัญญาพิจารณาเพื่อหาข้อเท็จจริงว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ มีอารมณ์ค้างอะไรมาจากที่อื่น

2. สังขาร: ก. จึงคิดนึกปรุงแต่งสร้างภาพในใจไปต่างๆ ตามพื้นนิสัย ตามทัศนคติ หรือตามกระแสความคิด
ที่เคยชินของตนว่า ข. จะต้องรู้สึกนึกคิดต่อตนอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเกิดความฟุ้งซ่าน โกรธ มีมานะเป็นต้น
ตามพื้นกิเลสของตน

3. วิญญาณ: จิตของ ก. ขุ่นมัวไปตามตามกิเลสที่ฟุ้งขึ้นมาปรุงแต่งเหล่านั้น คอยรับรู้การกระทำ
และอากัปกิริยาของ ข. ในแง่ความหมายที่จะมาป้อนความรู้สึกนึกคิดที่เป็นอยู่ในเวลานั้น เหมือนอย่างที่พูด
กันว่า ยิ่งนึกก็ยิ่งเห็น ยิ่งคิดก็ยิ่งเป็นอย่างนั้น สีหน้ากิริยาท่าทางต่างๆของ ข. ดูจะเป็นเรื่องที่กระทบกระทั่ง ก. ไปเสียทั้งนั้น

4. นามรูป: ความรู้สึก ภาพที่คิด ภาวะต่างๆของจิตใจ สีหน้า กิริยาท่าทาง คือทั้งกายและใจทั้งหมดของ
ก. คล้อยไปด้วยกันในทางที่จะแสดงออกมาเป็นผลรวมคือ ภาวะอาการของคนโกรธ คนปั้นปึ่ง คนงอน เป็นต้น (สุดแต่สังขาร) พร้อมที่จะทำงานร่วมไปกับวิญญาณนั้น

5. สฬายตนะ: อายตะต่างๆ มี ตา หู เป็นต้นของ ก. เฉพาะที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้รับรู้เรื่องราวในกรณีนี้
ตื่นตัว พร้อมที่จะทำหน้าที่รับความรู้กันเต็มที่

6.ผัสสะ: สัมผัสกับลักษณะอาการแสดงออกต่างๆของ ข. ที่เด่น น่าสนใจ เกี่ยวข้องกับกรณีนั้น
เช่น ความบูดบึ้ง ความกระด้าง ท่าทางดูหมิ่น ไม่ให้เกียรติ หรือเหยียดศักดิ์ศรี เป็นต้น

7. เวทนา: รู้สึกไม่สบายใจ บีบคั้นใจ เจ็บปวดรวดร้าว หรือเหี่ยวแห้งใจ

8. ตัณหา: เกิดวิภวตัณหา อยากให้ภาพที่บีบคั้น ทำให้ไม่สบายใจนั้น พ้นหายอันตรธาน ถูกกด
ถูกปราบ ถูกทำลายให้พินาศไปเสีย

9. อุปาทาน: เกิดความยึดถือผูกใจต่อพฤติกรรมของ ข. ว่าเป็นสิ่งเกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับตน
กระทบต่อตน เป็นคู่กรณีกับตน ซึ่งจะต้องจัดการเอากันอย่างใดอย่างหนึ่ง

10. ภพ: พฤติกรรมที่สืบเนื่องต่อไปของ ก. ตกอยู่ใต้อิทธิพลของอุปาทาน เกิดเป็นกระบวนพฤติกรรมจำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งที่สนองอุปาทานนั้น คือพฤติกรรมปฏิปักข์กับ ข. (กรรมภพ) ภาวะชีวิต
ทั้งทางกายทางใจที่รองรับกระบวนพฤติกรรมนั้น ก็สอดคล้องกันด้วย คือ เป็นภาวะแห่งความเป็นปฏิปักข์
กับ ข. (อุปัตติภพ)

11. ชาติ: เข้าสวมรับเอาภาวะชีวิตที่เป็นปฏิปักข์นั้น โดยมองเห็นความเป็นปฏิปักข์ระหว่างตน กับ ข. ชัดเจนลงไป แยกออกเป็นเรา – เขา มีตัวตนที่เข้าไปกระทำและถูกกระทบกระแทกกับ ข.

12. ชรามรณะ: ตัวตนที่เกิดขึ้นในภาวะปฏิปักข์นั้น จะดำรงอยู่และเติบโตขึ้นได้ต้องอาศัยความหมายต่างๆ ที่พ่วงติดมา เช่น ความเก่ง ความสามารถ ความมีเกียรติ ความมีศักดิ์ศรี และความเป็นผู้ชนะ เป็นต้น
ซึ่งมีภาวะฝ่ายตรงข้ามขัดแย้งอยู่ในตัว คือ ความด้อย ความไร้ค่า ไร้เกียรติ ความแพ้ เป็นต้น ทันทีที่ตัวตนนั้นเกิดขึ้น ก็ต้องถูกคุมคามด้วยภาวะขาดหลักประกันว่าตนจะได้เป็นอย่างที่ต้องการ และหากได้เป็นภาวะนั้นจะยั่งยืน หรือ ทรงคุณค่าอยู่ได้ยาวนานเท่าใด คือ อาจไม่ได้เป็น ก. ในฐานะ ปฏิปักข์ที่เก่ง ที่มีศักดิ์ศรี
ที่ชนะ แต่เป็นปฏิปักข์ที่แพ้ ที่อ่อนแอ หรือที่ไม่สามารถรักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี และความชนะไว้ได้ เป็นต้น

ความทุกข์ในรูปต่างๆ จึงเกิดแทรกอยู่ตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่ทุกข์จากความหวั่นกลัวว่าอาจจะไม่สมหวัง ความเครียดและกระวนกระวายในการดิ้นรนเพื่อให้ตัวตนอยู่ในภาวะที่ต้องการ ตลอดจนความผิดหวัง หรือแม้สมหวัง
ถึงที่สุดแล้ว แต่คุณค่าของมันก็ต้องจืดจางไปจากความชื่นชม ความทุกข์ในรูปต่างๆเหล่านี้ ปกคลุมห่อหุ้มจิตใจ
ให้หม่นหมองมืดมัวเป็นปัจจัยแก่อวิชชาที่จะเริ่มต้นวงจรต่อไปอีก

นอกจากนั้น ทุกข์เหล่านี้ ยังเป็นเหมือนของเสียที่ระบายออกไม่หมด คั่งค้างหมักหมมอยู่ในวงจรคอยระบายพิษออกในรูปต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาต่อๆไปแก่ชีวิตของตนและผู้อื่น มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมครั้งต่อๆไป และการดำเนินชีวิตทั้งหมดของเขา

ดังในกรณีของ ก. อาจใจไม่สบายขุ่นมัวไปทั้งวัน เรียนหนังสือและใช้ความคิดในวันนั้นทั้งหมดไม่ได้
ผลดี พลอยแสดงกิริยาอาการไม่งาม วาจาไม่สุภาพต่อคนอื่นๆ เกิดความขัดแย้งกับคนเพิ่มขึ้นอีก
หลายคน เป็นต้น


ถ้า ก. ปฏิบัติถูกต้องตั้งแต่ต้น วงจรปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น คือ ก. เห็น ข. ไม่ยิ้มตอบ ไม่ทักตอบแล้วใช้ปัญญาจึงคิดว่า ข. อาจมีเรื่องไม่สบายใจ เช่น ถูกผู้ปกครองดุมา ไม่มีเงินใช้ หรือมีเรื่องกลุ้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ค้างอยู่ พอคิดอย่างนี้ก็ไม่มีอะไรกระทบกระทั่งตัว จิตใจยังกว้างขวางเป็นอิสระและกลับเกิดความกรุณา รู้สึกสงสารคิดช่วยเหลือ ข. อาจเข้าไปสอบถามปลอมโยน ช่วยหาทางแก้ปัญหา
หรือให้โอกาสเขาที่จะอยู่สงบ เป็นต้น

หรือแม้แต่วงจรร้ายเริ่มขึ้นแล้ว ก็ยังอาจแก้ไขได้ เช่น วงจรหมุนไปถึงผัสสะ ได้รับรู้อาการกิริยาที่ไม่พอใจของ ข. ทำให้ ก. เกิดทุกข์บีบคั้นใจขึ้นแล้ว แต่ ก. มีสติเกิดขึ้น แทนที่จะตกอยู่ใต้อิทธิพลของวิภวตัณหาที่จะตามมาต่อไป ก็ตัดวงจรเสียโดยใช้ปัญญาพิจารณาข้อเท็จจริง และเกิดความรับรู้อย่างใหม่เกี่ยวกับการแสดงออกของ ข. คิดเหตุผลทั้งที่เกี่ยวกับการกระทำของ ข. และข้อปฏิบัติของตนเอง จิตใจก็จะหายบีบคั้นขุนมัว กลับปลอดโปร่งและคิดช่วยเหลือแก้ไขทุกข์ของ ข. ได้อีก

ดังนั้น เมื่อปัญญาหรือวิชชาเกิดขึ้น จึงทำให้จิตใจเป็นอิสระไม่เกิดตัวตนขึ้นมาสำหรับให้ถูกกระทบกระแทก
นอกจากจะไม่เกิดปัญหาสร้างทุกข์แก่ตนแล้ว ยังทำให้เกิดกรุณาที่จะไปช่วยแก้ปัญหาคลายทุกข์ให้แก่ผู้อื่นด้วย

ตรงข้ามกับอวิชชา ซึ่งเป็นตัวชักนำเข้าสู่สังสารวัฏ ทำให้เกิดตัณหาอุปาทาน สร้างตัวตนขึ้นมาจำกัดตัวเองสำหรับให้ถูกกระทบกระแทก เกิดความทุกข์ เป็นปัญหาแก่ตนเองและมักขยายทุกข์ก่อปัญหา
ให้แก่ผู้อื่นกว้างขวางออกไปด้วย

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 22 ธ.ค. 2008, 18:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ปฏิจจสมุปปบาท


-เพื่อให้มองเห็นหลักปฏิจจสมุปบาทรอบด้านมากขึ้น เห็นควรย้ำข้อควรระลึกบางอย่างไว้ ดังนี้



-ในสถานการณ์จริง วงจรหรือกระบวนธรรมทั้งหมดที่กล่าวถึงในตัวอย่างข้างต้น เป็นไปได้อย่างรวดเร็วตลอด
สายเพียงชั่วแวบเดียว ตัวอย่างเช่น นักเรียนบางคนทราบข่าวสอบตก คนทราบข่าวการสูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก หญิงเห็นชายคนรักอยู่กับหญิงอื่น เป็นต้น เสียใจมาก ตกใจมาก อาจเข่าอ่อนทรงตัวไม่อยู่ อาจร้องกรี๊ด
หรืออาจเป็นลมล้มพับไปทันที ยิ่งความยึดติดถือมั่นรุนแรงเท่าใด ผลก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

ขอย้ำว่า ความเป็นปัจจัยในกระบวนธรรมนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปอย่างเรียงลำดับกาล

-การอธิบายปฏิจจสมุปบาท มุ่งให้เข้าใจกฎธรรมดา หรือกระบวนธรรมที่เป็นไปอยู่ตามธรรมชาติ
เป็นสำคัญ เพื่อให้มองเห็นสาเหตุและจุดที่ต้องแก้ไข ส่วนรายละเอียดของการแก้ไขหรือวิธีปฏิบัติไม่ใช่
เรื่องของปฏิจจสมุปบาทโดยตรง แต่เป็นเรื่องของมรรคหรือมัชฌิมาปฏิปทา

อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่กล่าวมานี้ มุ่งความเข้าใจง่ายเป็นสำคัญ บางตอนจึงมีความหมายผิวเผิน
ไม่ให้ความเข้าใจแจ่มแจ้งลึกซึ้งเพียงพอ โดยเฉพาะหัวข้อที่ยากๆ เช่น อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด
สังขาร และโสกะปริเทวะทำให้วงจรเริ่มต้นใหม่ เป็นต้น

ตัวอย่าง ที่แสดงในข้อ อวิชชา เป็นเรื่องที่มิได้เกิดขึ้นเป็นสามัญ ในทุกช่วงขณะของชีวิต ชวนให้เห็นได้ว่า มนุษย์บุถุชนสามารถเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันโดยไม่มี อวิชชาเกิดขึ้นเลย หรือเห็นว่า ปฏิจจสมุปบาท
ไม่ใช่หลักธรรมที่แสดงความจริงเกี่ยวกับชีวิตอย่างจริง
จึงเห็นว่าควรอธิบายความหมายลึกซึ้งของบางหัวข้อที่ยากให้ละเอียดออกไปอีก

ศึกษาต่อที่

http://www.dhammajak.net/board/viewtopi ... c&start=40

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/