วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 16:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2008, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อรู้ภาระหน้าที่ของ สติ, สัมปชัญญะ, สมาธิ, สัญญา, ปัญญา, โมหะ อวิชชา ...คร่าวๆแล้วว่า สติต้องเจริญด้วยวิธีใด ซึ่งก็คือระลึกอยู่กับงานหรือคุมจิตไว้กับสิ่งที่กำลังทำ
สัมปชัญญะ รู้ชัดสิ่งที่กำลังทำนั้น

(สติในที่นี้ก็ คือ สัมมาสติ หรือสติที่ใช้ในสติปัฏฐานนั้นเอง ตัวเดียวกัน สาระเดียวกันเพียงท่านเพิ่มศัพท์
สัมมากับปัฏฐานเข้าด้วย - สัมมาสติ = สัมมา+สติ - สติปัฏฐาน = สติ+ปัฏฐาน -สัมมา แปลว่า ชอบ, โดยชอบ – ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้ง แปลทับศัพท์ว่า ฐาน (ถาน) - สัมมาสติ แปลว่า
ระลึกชอบ ได้แก่ ระลึกอยู่บนฐาน ๔ ฐาน ฐานใดฐานหนึ่งตามสมควรที่เป็นปัจจุบันขณะ หมายความว่าอารมณ์ฐานใดปรากฏ ให้กำหนดรู้ที่ฐานนั้น แต่ละขณะๆ ดังกล่าวข้างต้น แต่มีฐานหลักคือพอง-ยุบ สำหรับผู้ใช้พอง-ยุบ, มีลมหายใจเข้าออกเป็นฐานหลัก สำหรับผู้ใช้อานาปานะโดยตรง )

ขั้นนี้ยังเป็นขั้นเตรียมการ ไม่ใช่ขั้นปฏิบัติการ เหมือนๆการจัดกระบวนทัพ ว่าใครอยู่ตำแหน่งไหน
ทำหน้าที่อะไร ยังไม่ใช่ขั้นปฏิบัติการ คือ ออกรบกับศัตรู

เพื่อให้สมกับชื่อกระทู้ “สนทนาธรรมปฏิบัติ...” ที่นี้จะพาออกรบกับข้าศึก คือ กิเลสนานาชนิด
มีนิวรณ์ เป็นต้น ล่ะนะ
ทวนหน้าที่อีกที
สติ- การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ
สัมปชัญญะ – การรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำนั้น

เห็นสาระของสติกับสัมปชัญญะชัดแล้วนะว่าทำงานสัมพันธ์กันยังไง ต้องอาศัยอะไร

(แต่ก็ไม่พึงลืม ว่ายังมีองค์ธรรมอื่นๆ ซึ่งประกอบร่วมด้วยช่วยกันทำงาน เช่น สมาธิ หรือ สัมมาสมาธิ
ซึ่งถูกลืมบ่อยๆ เหมือนลูกเมียน้อย พอท่านเปลี่ยนชื่อเป็น สมถะ ยิ่งจำลูกไม่ได้ สาระเดียวกันครับ -
แต่ถึงจะมีองค์ธรรมเกิดร่วมมากน้อยเท่าใด เวลาใช้งานจริง เวลาฝึกจริงๆ ก็ไม่พึงคิดควานหาองค์ธรรมมีสติ เป็นต้น ทำงานให้เรียบร้อย ให้เห็นชัด (= เหตุ) แล้วผลจะเกิดตามเหตุปัจจัยของงานนั้น เวลาใช้งานจริง เราแยกองค์ธรรมไม่ออกหรอก ครับ :b1: )

ในที่นี้จะเอางาน คืออาการท้องซึ่งพองขึ้น (เพราะลมหายใจเข้า)และอาการยุบลงของท้อง (เพราะลมหายใจออก) เป็นต้น เป็นที่เจริญสติสัมปชัญญะ (ใครจะใช้ลมหายใจโดยตรงก็ว่าไป) หรือเป็นที่ทำงาน
ขณะใช้อิริยาบถนั่ง แต่ขณะเดิน หรือ ทำงานอื่น ใช้กายที่เคลื่อนไหว หรือ งานนั้นที่เป็นปัจจุบันขณะนั้น
แทน


สรุปกว้างๆไว้ก่อน การปฏิบัติกรรมฐานนี้ ใช้อารมณ์ซึ่งผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ได้ไม่จำกัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 23 ธ.ค. 2008, 05:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2008, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีผู้ ไม่แน่ใจว่าตนเอง หายใจเข้าท้องพองหรือท้องยุบ =>

อ้างคำพูด:
หายใจเข้าท้องยุบ หรือ ท้องพอง ครับ
บางท่านบอก หายใจเข้าท้องยุบ หายใจออกท้องพอง
บางท่านบอก หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ

http://larndham.net/index.php?s=79b9a26 ... opic=34234

หากท่านใดสงสัยเช่นนั้น แนะให้เติมลมยาง แล้วดูว่า อัดลมเข้าไป ยางพองหรือยุบหรือมันแฟบ
ปล่อยลมออกมา ยางพองหรือยุบ เท่านี้ก็ได้คำตอบให้ตนเองแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อได้แนวทางปฏิบัติ (ขั้นจัดทัพ) คร่าวๆ อย่างนั้นแล้ว จะแลเห็นว่าไม่ยุ่งยากอะไร ใครๆก็ทำได้
เดินเป็น เพราะมีท้องมีขาเหมือนกัน หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบเหมือนกันทุกชาติ
ทุกภาษา ท้องพองว่า “พองหนอ” ท้องยุบว่า “ยุบหนอ” ฯลฯ จงกรมก็ ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ ฯลฯ ดังนี้ เข้าใจได้ทำได้ทำเป็น ไม่ยุ่งยาก หากแนะนำกันและกันตามปกติ

ความซับซ้อนจะอยู่ขั้นเข้าประจัญบานกับข้าศึก คือ กิเลสจะซับซ้อนหน่อยถึงซับซ้อนมากๆๆ ขืนเดินทะเร่อทะร่า หรือ นั่งทำไม่รู้ไม่ชี้ ก็ถูกข้าศึกโจมตีเตะต่อยม่อยกระรอก
กิเลสทุกตัวทุกชื่อมีกำลังของมัน กุศลก็มีกำลังมีพลังเช่นกัน อยู่ที่ขณะนั้น ใครแรงกว่ากัน เหมือน
เล่นชักเย่อ ขณะใดกำลังของกุศลธรรมมากกว่าอกุศลธรรม อกุศลธรรมก็อ่อนเปลี้ยเพลียแรง จะรู้สึก
สดชื่นเบากายเบาใจมีแรงมีกำลัง
ขณะใดอกุศลมีกำลังมากกว่ากุศล ขณะนั้นจะรู้สึกหดหู่หงอยเหงาเศร้าซึมเบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร รู้สึกเบื่อทั้งโลกา เป็นต้นเหล่านี้ เรียกรวมๆว่าสภาวธรรม เป็นธรรมชาติของมัน หน้าที่ของโยคี
พึงกำหนดรู้สภาวะตามเป็นจริงแต่ละขณะๆไป เพราะนั่นก็เป็นฐานเจริญสติเช่นกัน ตัวอย่าง เช่น เกิดความง่วงครอบงำ “ง่วงหนอๆๆ” นี่ก็เจริญสติสัมปชัญญะ เป็นต้น
หรือ เช่น อาการที่ปรากฏแก่โยคีท่านหนึ่งที่ว่า
อ้างคำพูด:
(สภาวะที่ติดมา คือ อยากตายมาก...
มันเบื่อโลก...เบื่อทุกอย่าง....ไม่อยากเจอคน เซ็งกับทุกสิ่งที่อยู่บนโลกใบนี้)


ความรู้สึกที่นำมานี้เป็นที่เป็นฐานใช้เจริญสติสัมปชัญญะทั้งสิ้น เช่น “อยากตายหนอๆๆๆ”
“เบื่อหนอๆๆๆ” “เซ็งหนอๆๆๆ” ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาการดังกล่าวข้างบนไม่น่าห่วง พ่ายกิเลสคือความเกียจคร้านก็นอน แพ้นิวรณ์คือความง่วง
ก็หลับ

แต่ที่ห่วง คือ สภาวะที่เปลี่ยนพื้นจิตใจเดิมตนได้ สภาวะเดียวสิ่งเดียวกันนั่นแหละมีผลเป็นบวกและลบ (เหมือนเหรียญมีสองด้าน) แก้อารมณ์นั้นได้ผลก็เป็นบวก แก้ไม่ได้หรือไม่ได้แก้ผลเป็นลบ มีผลเสีย
แก่ตน เพราะสภาวะประมาณนั้นจะเกิดวนไปวนมา ยิ่งปฏิบัติๆ สมาธิเป็นต้นเพิ่มขึ้นสภาวะก็ชัดขึ้นๆ
เพราะอะไร ? เพราะจิตเกิดอุปาทานยึดอาการนั้น หยุดปฏิบัติอย่างโยคีทำอยู่ มันก็หยุดเหมือนกัน แต่เมื่อปฏิบัติอีก ถึงจุดนั้นก็เกิดอีกติดอีก แต่อาจเปลี่ยนเป็นอื่นได้
พูดให้เข้าหลักก็ว่า นามรูปมันแสดงความเป็นไตรลักษณ์ แต่ตนคิดว่ามันเป็นนั่นเป็นนี่ (อวิชชา)
ต้นเหตุอยู่ที่นี่


ดูตัวอย่างด้านลบอีกที จะเห็นภาพสิ่งที่พูดถึงเป็นรูปธรรมบ้าง โยคีท่านนี้ยังไม่ได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง


อ้างคำพูด:
ดิฉันก็มาปฏิบัติต่อที่บ้านได้สักระยะ เวลานอนก็เหมือนมีอะไรมาอำ เหมือนเป็นปลามาดิ้นบนตัว บางครั้งก็เป็นแมวน่ากลัวมากค่ะ บางทีก็เป็นเงาดำ จนดิฉันนอนไม่ได้ต้องเปิดไฟนอนตลอดค่ะ สิ่งเหล่านี้ คือ เจ้ากรรมนายเวร ใช่ไหมคะ? จนทำให้ดิฉันกลัวและหยุดปฏิบัติไปนานพอสมควรเลยค่ะ
หลังจากนั้นพอมีเวลา ก็ไปมาอีกเป็นเวลา 3 วัน แล้วนำมาปฏิบัติต่อที่บ้าน แต่หลังจากนั้นไม่นาน ดิฉันไม่ได้อุปทานไปเองนะคะ ดิฉันจะได้กลิ่นเหม็นเน่า ตลอดเวลาบ่อยๆ ซึ่งดิฉันก้ออุทิศส่วนกุศล ตลอดค่ะ แต่ก็แปลกนะคะ อาการเหล่านี้ ไม่หายเลยค่ะ มันจะมีเป็นระยะๆๆๆ ซึ่งบางครั้งก้อเป็นหลายวันเลยค่ะ ดิฉันทรมานมากค่ะ เพราะบางทีรุนแรงมาก เหมือนพวกหนูตาย แต่คนที่อยู่ด้วยจะไม่ได้กลิ่นนี้ค่ะ
ดิฉันควรทำอย่างไรดีคะ? ถึงจะไม่มีอาการรับรู้แบบนี้ มันทุกข์ค่ะ บางทีกำหนดตามที่ ลพ.ท่านสอน ก็ไม่ดีขึ้นนะคะ ทุกวันนี้ดิฉันปฏิบัติทุกวัน มาได้ 7-8 เดือนแล้วค่ะ
ดิฉันเป็นคนจิตอ่อน และคิดมาก เวลารับรู้อะไรแบบนี้ก้อ กลัวขึ้นสมองเลยค่ะ เพราะอยู่คนเดียว

และตอนนี้ดิฉันก็คิดจะย้ายที่อยู่เหมือนกันค่ะ การย้ายที่ แล้วสภาพจิตใจอาจจะดีขึ้นได้นะคะ - -*
ช่วงนี้ก็เครียดๆ จากสาเหตุพวกนี้เลย ไม่ได้ปฏิบัติต่อเลยค่ะ นอนก็นอนไม่หลับค่ะ

http://www.jarun.org/v6/board/viewtopic.php?t=11123


จะเห็นความทุกข์ทรมานใจของโยคี ซึ่งเกิดจากสภาวธรรมที่ปรากฏแก่เขา แต่ยังไม่มีทางออกจากทุกขสภาวะนั้น เพราะผู้สอบอารมณ์ยังคลำหาเป้าไม่พบ เคสประมาณนี้ที่กรัชกายเป็นห่วง ผู้ปฏิบัติจริงจังเช่นรายนี้ หากได้อาจารย์ที่รู้เข้าใจเคยปฏิบัติผ่านสภาวะ มาให้คำแนะนำโยคีเช่นนี้เค้าจะพัฒนาจิตใจได้เร็วมากๆ

การแนะนำข้อปฏิบัติขั้นต้น (ขั้นจัดกระบวนทัพ) ไม่มีปัญหา แต่ขั้นตะลุมบอนสองต่อสองกับข้าศึกคือกิเลสแล้ว มักเป็นเช่นนี้แล ยิ่งกว่านี้ก็เป็นได้ครับ :b14:

ถึงขนาดจะย้ายที่อยู่ เห็นไหมครับ ไม่มีทางหนีพ้น เพราะสิ่งนั้นไม่ได้อยู่ที่ห้องอาศัย แต่มันติดอยู่กับตน (ชีวิตเป็นไตรลักษณ์แล้วจะหนีไตรลักษณ์ไปไหนได้) ต่อให้ดำลงในน้ำ หรือเหาะหนีขึ้นไปในอากาศ ก็ไม่พ้น จะต้องแก้ที่ต้นเหตุ จึงจะรู้จักชีวิตตามเป็นจริง
พึงจำไว้ว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ฯลฯ คิดอย่างไร ให้กำหนดอย่างนั้น “กลัวหนอๆๆ”
“ตกใจหนอๆๆ” ฯลฯ นี่หลักตายตัวเลย

ขอเน้นว่า การปฏิบัติกรรมฐาน โยคีปฏิบัติไปๆ จนสภาวะปรากฏชัดตามธรรมดาของมันแล้ว ตัดความเชื่อส่วนตัวทิ้ง เช่น เรื่องเจ้านายเวร เรื่องอำนาจอำนาจดลบันดาล หรือสวดอุทิศเป็นต้น
ที่โยคี ใช้แก้อารมณ์ให้ตนอยู่ รับรองไม่ได้ผลดอก แม้จะกำหนดตามที่ ลพ. สอน (ไม่ได้บอกว่าสอนอย่างไร) ว่าไม่ดีขึ้น
ประเด็นกำหนดตามเป็นจริงนี้ ที่เน้นย้ำทุกครั้ง มิใช่กำหนดเพียงครั้งสองครั้งแล้วเลิก ไม่เอาแล้วพอแล้วไม่กำหนดแล้ว ไม่ใช่นะครับ ไม่ใช่ ๆ จะต้องกำหนดอาการนั้นสภาวะนั้นทุกครั้งที่มีที่เป็นที่กระทบ
ได้กลิ่นเหม็นใช่ไหม ? กำหนดตามนั้น “เหม็นหนอๆๆ” เพราะมันเหม็นไม่ใช่หอม อย่าบิดเบือนสภาวะ
กำหนดรู้ตามที่เค้าเป็น แล้วปล่อยวางอารมณ์นั้น ดึงความรู้สึกให้ไปรู้ที่กรรมฐานหลัก คือพอง-ยุบ อยู่กับปัจจุบันขณะเสีย (ท้องพองขึ้นขณะหนึ่ง ท้องยุบลงขณะหนึ่ง)

แม้กรณีเลิกปฏิบัติแล้ว ก็กำหนดด้วย (เพราะปฏิบัติมานานสภาวะก็ปรากฏชัดได้ยาวนานขึ้น) มิใช่เลิกแล้วแล้วกัน

ในบางรายหลับฝันเรื่องสัพเพเหระ บางคนว่าฝันเหาะได้ หกคะเมนตีลังกา กระโดดข้ามกำแพง ตัวเบาตัวลอย ฯลฯ สนุกสนานในฝัน ตื่นนอนจะหวนคิดเรื่องราวที่ฝัน นั่นหลงอดีตารมณ์แล้ว มันผ่านไปแล้ว ยังเก็บมาคิดฟุ้งว่าเป็นนั่นเป็นนี่ หลุดจากปัจจุบันอีกแล้ว กำหนดอย่างเดียว คิดเรื่องที่ฝันเมื่อคืนใช่ไหม ? “คิดหนอๆๆ” ตัดการปรุงแต่งเสีย คิดกำหนดๆๆ คิดหนอ ๆๆ :b42: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2008, 11:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2008, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ศึกษาเกี่ยวกับวิปลาส)

วิปลาส

วิปลาส คือ ความรู้คลาดเคลื่อน ความรู้ที่ผันแปรผิดพลาดความเป็นจริง หมายถึง ความรู้คลาดเคลื่อนขั้นพื้นฐาน ที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หลงผิด การลวงตัวเอง วางใจ วางท่าที ประพฤติปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต่อโลก ต่อชีวิต ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง และเป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวางบังตาไม่ให้มองเห็นสัจธรรม

วิปลาส มี ๓ อย่าง คือ

๑. สัญญาวิปลาส สัญญาคลาดเคลื่อน หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง
๒. จิตวิปลาส จิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง
๓. ทิฏฐิวิปลาส ทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง

สัญญาวิปลาส ความรู้คลาดเคลื่อน เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู คนหลงทางเห็นทิศเหนือเป็นทิศใต้ เห็นทิศใต้เป็นทิศเหนือ คนเห็นแสงไฟโฆษณากระพริบอยู่กับที่เป็นไฟวิ่ง เป็นต้น

จิตวิปลาส ความคิดคลาดเคลื่อน เช่น คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหารของตน คนจิตฟั่นเฟือน มองเห็นคนเข้ามาหาคิดว่าเขาจะทำร้าย คนเห็นเงาเคลื่อนไหวในที่มืดสลัวคิดวาดภาพเป็นผีหลอก เป็นต้น

ทิฏฐิวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อน ตามปกติ สืบเนื่องมาจากสัญญาวิปลาส และ จิตวิปลาสนั่นเอง เมื่อหมายรู้ผิดอย่างไร ก็เห็นผิดไปตามนั้น เมื่อคิดวาดภาพเคลื่อนคลาดไปอย่างไร ก็พลอยเห็นผิด เชื่อถือผิดพลาดไปตามอย่างนั้น เช่น เมื่อหมายรู้ผิดว่าเชือกเป็นงู ก็อาจลงความเห็นยึดถือว่าสถานที่บริเวณนั้นมีงูหรือมีงูชุม เมื่อคิดไปว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น เป็นไป เคลื่อนไหวต่างๆ ก็ต้องมีผู้จัดแจงผลักดันก็จึงลงความเห็นยึดถือว่า ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม มีเทพเจ้าประจำอยู่และคอยบันดาล ดังนี้เป็นต้น

ตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นขั้นหยาบที่เห็นง่ายๆ อาจเรียกอย่างภาษาพูดว่าเป็นความวิปลาสขั้นวิปริต

ส่วนในทางธรรม ท่านมองความหมายของวิปลาสอย่างละเอียดถึงขั้นพื้นฐาน หมายถึงความรู้คลาดเคลื่อนชนิดที่มิใช่มีเฉพาะในบางคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่มีในคนทั่วไปแทบทั้งหมดอย่างไม่รู้ตัว คนทั้งหลายตกอยู่
ใต้อิทธิพลครอบงำของมัน และวิปลาสทั้ง ๓ ชนิดนั้นจะสอดคล้องประสานเป็นชุดเดียว วิปลาสขั้นละเอียด
หรือขั้นพื้นฐานนั้น พึงเห็นตามบาลีดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส มี ๔ อย่าง ดังนี้ สี่อย่างอะไรบ้าง ?
(กล่าวคือ)
๑. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
๓.สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน
๔ .สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
(องฺ.จตุกฺก. 21/49/66 ฯลฯ)

วิปลาสเหล่านี้ เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมเจริญปัญญา และก็เป็นเป้าหมายของการฝึกอบรมปัญญา
ที่จะกำจัดมันเสีย การพัฒนาความรู้และเจริญปัญญา ล้วนช่วยแก้ไขบรรเทาและกำจัดวิปลาสได้ทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้โยนิโสมนสิการแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัยและแยกแยะองค์ประกอบตรวจดูสภาวะ โดยมีสติพรั่งพร้อมอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่นำวิปลาสมาลงให้ดูก็เพื่อจะบอกว่า ผู้ปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อภาวนาจนประสบสภาวธรรมชัดๆดังตัวอย่าง

แล้วแก้อารมณ์ไม่สอดคล้องกับสภาวะ หมายถึงว่าตนเข้าใจผิดคิดไปว่า สิ่งที่เห็นที่เป็น เป็นเจ้ากรรมนายเวร

กลั่นแกล้ง หรือ คิดว่าสิ่งนั้นติดตามมาแต่อดีตชาติโพ้น แปลว่า โยคีก้าวเข้าสู่วิปลาสแล้ว เมื่อยึดติดมั่นถือ

อาการนั้นต่อไป อาจถึงขั้นวิปริตผิดปกติได้ คงบอกไว้เป็นอุทาหรณ์เพียงนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2008, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เมื่อปฏิบัติตามหลักที่ให้ไว้ข้างต้น พึงภาวนาไปๆ และแล้วองค์ธรรมที่เป็นอินทรีย์เป็นต้น จะขจัดกวาดล้างอุปกิเลสตามหน้าที่ของเขาเอง คือว่าตนเองไม่พึงคิดแสวงหาหรือถามหาอะไรมากำจัดกิเลส พึงทำงานหรือกรรมฐานให้เข้าหลักสติสัมปชัญญะดังคร่าวๆข้างต้น

พึงพิจารณาหน้าที่ขององค์ธรรมที่เจริญขึ้นๆ ในขณะที่กำหนดอารมณ์กรรมฐาน


เครื่องมือวัดความพร้อม


หลักธรรมที่เป็นเครื่องวัดความพร้อมและบ่งชี้ความก้าวหน้าช้าหรือเร็วของบุคคลในการปฏิบัติธรรม ได้แก่ อินทรีย์ ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หลักธรรมชุดนี้ใช้สำหรับการปฏิบัติธรรมได้ทั่วไปตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด

อินทรีย์ แปลว่า สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน คือธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ ในที่นี้ หมายถึง เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่กำจัดกวาดล้างอกุศลธรรมซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม เช่น ความเพียรกำจัดความเกียจคร้าน ทำให้เกิดความพร้อมในการทำงานและปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้ ความหมายของอินทรีย์ ๕ อย่างนั้น ท่านแสดงสรุปได้ ดังนี้

๑. ศรัทธา - หน้าที่ของศรัทธาคือความน้อมใจดิ่งหรือเด็ดเดี่ยว (อธิโมกข์) มั่นใจในความจริงความดีของสิ่งที่นับถือ หรือปฏิบัติ

๒. วิริยะ - เพียรเพื่อละอกุศลธรรม และทำกุศลธรรมให้ถึงพร้อม การมีความแข็งขันบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม หน้าที่ของวิริยะคือการยกจิตไว้ (ปัคคาหะ) มีกำลังใจ ก้าวหน้าไม่ท้อถอย

๓. สติ - หน้าที่ของสติคือการดูแลหรือคอยกำกับจิต (อุปัฏฐาน) ระลึกได้ กำกับใจไว้กับกิจ นึกถึงสิ่งที่พึงทำพึงเกี่ยวข้อง

๔. สมาธิ -หน้าที่ของสมาธิคือการทำจิตไม่ให้ส่าย (อวิกเขป) มีใจมั่น แน่วแน่ในกิจ ในสิ่งที่กำหนด

๕. ปัญญา - หน้าที่ของปัญญาคือการเห็นตามจริง (ทัสสนะ) รู้เข้าใจความจริง รู้สิ่งที่ทำ
ที่ปฏิบัติ หยั่งรู้หรือรู้เท่าทันสภาวะ


มีพุทธพจน์ รับรองคำกล่าวของพระสารีบุตรว่า อินทรีย์ ๕ อย่างนี้ส่งผลเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ศรัทธา ทำให้เกิดความเพียร ความเพียรช่วยให้สติมั่นคง เมื่อสติมั่นคงแล้ว กำหนดอารมณ์ก็จะได้สมาธิ เมื่อมีสมาธิดีแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจมองเห็นซึ้งถึงโทษของอวิชชาตัณหาที่เป็นเหตุแห่งสังสารวัฏ มองเห็นคุณค่าของนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะปราศจากความมืดแห่งอวิชชาและความทุรนทุราย แห่งตัณหา สงบประณีตดีเยี่ยม ครั้นเมื่อรู้ชัดเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว ก็จะเกิดมีศรัทธาที่เป็นศรัทธาอย่างยิ่งหรือยิ่งกว่าศรัทธา หมุนเวียนกลับเป็นสัทธินทรีย์อีก

ดังพุทธพจน์ว่า “ดูกรสารีบุตร อริยสาวกนั้นแล เพียรพยายามอย่างนี้ ครั้นเพียรพยายามแล้วก็ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้วก็ตั้งจิตมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งจิตมั่นแล้วก็รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ก็เชื่อยิ่งอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายที่แต่ก่อนนี้เราเพียงแต่ได้ยิน ได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้”
(สํ.ม.19/1010-1022/297-300)


พุทธพจน์นี้จะเห็นความสืบเนื่องสัมพันธ์กันเป็นเหตุปัจจัยกันและกันขององค์ธรรม สุดท้ายจะเห็น ด้วยตนเอง รู้ด้วยตนเองเช่นท่อนสุดท้าย (ธรรมทั้งหลายที่แต่ก่อนนี้เราเพียงแต่ได้ยิน ได้ฟังเท่านั้น ย่อมเป็นดังนี้แล ดังเราสัมผัสอยู่ด้วยตัว และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญาอยู่ในบัดนี้)


อินทรีย์ ๕ นี้ ได้แก่ พลธรรม ๕ เป็นต้น นั่นเอง


พึงทราบชัดๆ อีกครั้งในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
ท่านแสดงอกุศลธรรมฝ่ายตรงข้ามที่อินทรีย์ ๕ จะกำจัดเป็นคู่ๆ อีกครั้งหนึ่ง (ขุ.ปฏิ.31/425/302; 452/332)

๑. ศรัทธา เป็นใหญ่ในหน้าที่น้อมใจดิ่งหรือมุ่งไปเด็ดเดี่ยว กำจัดอกุศลธรรมคือความไม่เชื่อถือ
๒. วิริยะ เป็นใหญ่ในหน้าที่ประคองหรือคอยยกจิตไว้ กำจัดอกุศลคือความเกียจคร้าน
๓. สติ เป็นใหญ่ในหน้าที่คอยคุ้มหรือดูแลจิต กำจัดอกุศลคือความประมาท
๔. สมาธิ เป็นใหญ่ในหน้าที่ทำจิตไม่ให้ซ่านส่าย กำจัดอกุศลคือความฟุ้งซ่าน (อุทธัจจะ)
๕. ปัญญา เป็นใหญ่ในหน้าที่ดูเห็นตามสภาวะ กำจัดอกุศล คือ อวิชชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




1%20(72).gif
1%20(72).gif [ 34.57 KiB | เปิดดู 2777 ครั้ง ]
ยกกระทุ้นี้ขึ้นสนทนากับคุณวลัยพรต่ออีกรอบ :b16:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ยกกระทุ้นี้ขึ้นสนทนากับคุณวลัยพรต่ออีกรอบ :b16:




อรุณสวัสดิ์คุณกรัชกาย tongue

สงสัยจะถูกหวย .. มีคนถามหาแต่เช้า :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดีจ้า :b12:

น่าจะถูกแจ๊กพอต :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ดีจ้า :b12:

น่าจะถูกแจ๊กพอต :b32:





จะคุยด้วยต้องอดทนรอนะคะ เพราะต้องทำงาน กว่าจะกลับมาถึงก็มืดค่ะ :b9:

แจ๊กพอตตัวนี้หน้าตาเป็นไงน๊อ :b14:

ใครกันแน่น๊อ ที่ควรใช้คำว่า ถูกแจ๊กพอต :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กลัวอดนอนสู้ไม่ได้ จึงทิ้งปัญหา แจ๊กพอตให้คุณวลัยพรก่อน :b16:
มีผู้พูดถึงจรกรม
คุณมีความชำนาญเกี่ยวกับ “หนอ” เช่น ย่างหนอ เป็นต้น
ชำนาญสติปัฏฐาน ๔

เมื่อมีผู้กล่าว ดังที่อ้างอิง =>


อ้างคำพูด:
จงกรมโดยศัพท์ หมายถึงการก้าวไปตามลำดับ ซึ่งในชีวิตของสมณะเพศ
การออกกำลังกายแบบคฤหัสถ์ มีการ เต้น การวิ่ง หรือ กีฬาประเภทต่างๆ ไม่สมควร
ฉะนั้น การจงกรมจึงเป็นการบริหารร่างกาย เพื่อเป็นการผลัด เปลี่ยนอิริยาบถ เท่านั้น

แต่เนื่องจากท่านพระภิกษุเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ในทุกอิริยาบถ
การเดินของท่านก็เดินปกติ คือ มีการพิจารณาธรรมะด้วย
แต่ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ



แล้วคุณวลัยพร จะแก้ว่าอย่างไร ย่างหนอทำไม เดินไม่ย่างหนอไม่ได้หรอ ขอคำอธิบาย :b11:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กลัวอดนอนสู้ไม่ได้ จึงทิ้งปัญหา แจ๊กพอตให้คุณวลัยพรก่อน :b16:
มีผู้พูดถึงจรกรม
คุณมีความชำนาญเกี่ยวกับ “หนอ” เช่น ย่างหนอ เป็นต้น
ชำนาญสติปัฏฐาน ๔






อ่านแล้ว ... ขนหัวลุกเลยค่ะ เกิดปีติมากมาย :b32:
ขอบคุณนะคะที่เอ่ยมธุรสวาจาว่าเป็นผู้ชำนาญ :b15:




กรัชกาย เขียน:
จงกรมโดยศัพท์ หมายถึงการก้าวไปตามลำดับ ซึ่งในชีวิตของสมณะเพศ
การออกกำลังกายแบบคฤหัสถ์ มีการ เต้น การวิ่ง หรือ กีฬาประเภทต่างๆ ไม่สมควร
ฉะนั้น การจงกรมจึงเป็นการบริหารร่างกาย เพื่อเป็นการผลัด เปลี่ยนอิริยาบถ เท่านั้น

แต่เนื่องจากท่านพระภิกษุเป็นผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐาน ในทุกอิริยาบถ
การเดินของท่านก็เดินปกติ คือ มีการพิจารณาธรรมะด้วย
แต่ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ


แล้วคุณวลัยพร จะแก้ว่าอย่างไร ย่างหนอทำไม เดินไม่ย่างหนอไม่ได้หรอ ขอคำอธิบาย :b11:



เนี่ยนะแจ๊กพอตของคุณ :b9:

ก่อนจะตอบ ขอถามคุณกลับก่อนนะคะ แล้วคุณพอจะทราบมั๊ยคะว่า

ลมหายใจเข้าออก ซึ่งก็มีปกติอยู่แล้ว บางทีเราก็นำมาพิจรณาลมหายใจนั้นๆว่ามันไม่เที่ยง

สั้นบ้าง ยาวบ้าง สะดวกบ้าง อึดอัดบ้าง แล้วทำไมต้องมาใช้คำบริกรรมภาวนา

เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ ...

ทำไมเขาถึงไม่ดูตามความเป็นจริงกันล่ะคะ ทำไมถึงต้องมาใช้คำเหล่านี้

คุณกรัชกายออกจะชำนาญ เชี่ยวชาญกว่า โดยเฉพาะปริยัติ :b4:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ


อ้างคำพูด:
เนี่ยนะแจ๊กพอตของคุณ

ก่อนจะตอบ ขอถามคุณกลับก่อนนะคะ แล้วคุณพอจะทราบมั๊ยคะว่า

ลมหายใจเข้าออก ซึ่งก็มีปกติอยู่แล้ว บางทีเราก็นำมาพิจรณาลมหายใจนั้นๆว่ามันไม่เที่ยง

สั้นบ้าง ยาวบ้าง สะดวกบ้าง อึดอัดบ้าง แล้วทำไมต้องมาใช้คำบริกรรมภาวนา

เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ ...

ทำไมเขาถึงไม่ดูตามความเป็นจริงกันล่ะคะ ทำไมถึงต้องมาใช้คำเหล่านี้

คุณกรัชกายออกจะชำนาญ เชี่ยวชาญกว่า โดยเฉพาะปริยัติ



นั่นนะหรือ การตอบปัญหานี่ =>(แต่ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ) ของคุณ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2009, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
แต่ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ


อ้างคำพูด:
เนี่ยนะแจ๊กพอตของคุณ

ก่อนจะตอบ ขอถามคุณกลับก่อนนะคะ แล้วคุณพอจะทราบมั๊ยคะว่า

ลมหายใจเข้าออก ซึ่งก็มีปกติอยู่แล้ว บางทีเราก็นำมาพิจรณาลมหายใจนั้นๆว่ามันไม่เที่ยง

สั้นบ้าง ยาวบ้าง สะดวกบ้าง อึดอัดบ้าง แล้วทำไมต้องมาใช้คำบริกรรมภาวนา

เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง พองหนอ ยุบหนอ ฯลฯ ...

ทำไมเขาถึงไม่ดูตามความเป็นจริงกันล่ะคะ ทำไมถึงต้องมาใช้คำเหล่านี้

คุณกรัชกายออกจะชำนาญ เชี่ยวชาญกว่า โดยเฉพาะปริยัติ



นั่นนะหรือ การตอบปัญหานี่ =>(แต่ไม่ใช่มีการบริกรรมคำว่า ย่างหนอ) ของคุณ :b32:



อย่ามาทำไก๋ค่ะ :b13:

ก็บอกว่าให้ตอบก่อน ในสิ่งที่ถามไปน่ะค่ะ มันเกี่ยวเนื่องกัน

ส่วนคำถามที่คุณถามมามีคำตอบค่ะ ไม่ได้โยเย เหมือนคนบางคนหรอกค่ะ :b32:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 70 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 118 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร