ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=19632
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  O.wan [ 17 ธ.ค. 2008, 20:41 ]
หัวข้อกระทู้:  ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

:b9: :b9: เราอ่านโพสต์ เจอคำว่า เจริญสติ :b9: :b9:
ขอคำอธิบายได้ไม๊คะ และวิธี ปฏิบัติ แบบเริ่มต้นน่ะค่ะ :b3: :b3: :b3:
รบกวนเวลาช่วยอธิบายด้วยค่ะ :b9: อ่านมากๆเลยสับสนค่ะ :b18: :b18: :b18:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ธ.ค. 2008, 20:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

คุณ O.wan ไวจริงๆ :b12: ดีๆเดี๋ยวคงมากันตรึม
เห็นคุณ puy ด้วย คุณ puy พออธิบายให้คุณ O.wanเห็นเป็นรูปธรรมนำไปปฏิบัติทีครับ
อ้อ คุณวลัยพรด้วย เอาตรงนี้ก็ได้ครับ กระทู้เพิ่งเริ่ม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ธ.ค. 2008, 20:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

กรัชกายว่าดีนะครับ จะได้เป็นหลักนำไปปฏิบัติเสียที ไม่อย่างนั้น ผู้เริ่มต้นเช่นคุณ O.wan เห็นคำว่า
สติ เจริญสติ :b10: คำพูดเพียงเท่านี้ ยังนำไปปฏิบัติไม่ได้อย่างที่กรัชกายตั้งคำถามคุณวลัยพร ว่าเจริญสติอย่างไร ขอวิธีปฏิบัติ
เอาครับัใครมีวิธีของตนอย่างไรก็บอกกัน ไม่ว่ากันในประเด็นวิธีของใครของมัน แต่ขอความชัดเจน ให้ผู้คนนำไปปฏิบัติได้ว่า ทำอย่างนี้แหละเจริญสติล่ะ :b1:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 17 ธ.ค. 2008, 21:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

คุณ o.wan ครับ ดูลายเซ็นกรัชกายสิครับ มีอธิบายวิธีเจริญสติสัมปชัญญะ คร่าว่ๆ

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 17 ธ.ค. 2008, 21:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

สัมมาสติ เป็นธรรมหลักที่ขับเคลื่อนการเจริญอริยมรรค

การเจริญสติปัฏฐานเอง ก็มีทั้งสมถะ และ วิปัสสนา พร้อมเสร็จอยู่ในตัว
การเจริญสติ หรือ การเจริญภาวนาตามหลักการแห่งสติปัฏฐาน จึงเป็นหลักสำคัญที่จะนำไปสู่การสิ้นทุกข์

ถ้าจะเอาแบบเต็มรูปแบบ ก็ต้องอ่าน มหาสติปัฏฐานสูตร



แต่ ถ้าจะเอาแบบพอเป็นสังเขป นำไปปฏิบัติ


ลองอ่าน


การฝึกตนให้มีสติควบคุมจิต

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13099



โดยพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


การฝึกตนให้มี สติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่ง สำคัญต่อการดำรงชีวิต

ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ี่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น

๑. มีสติรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้า-ออก
มีสติอยู่รู้ว่า ขณะนี้ หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาว ก็รู้อยู่
หายใจเข้าสั้น-หายใจออกสั้น ก็รู้อยู่
อาจจะ ใช้คำภาวนาในใจ อย่างใดกำกับตามไปด้วยก็ได้

๒. มีสติรู้ตัว ตามรู้จิต
เมื่อมีสติ รู้ลมหายใจอยู่ ก็ตามรู้จิต
ธรรมชาติของจิต มีความหลุกหลิก กลิ้งกลอกอ่อนไหว ว่องไว คิดเรื่อยเปื่อยไปได้ทั้งดีและชั่ว ต้องใช้สติต่างเชือกมัดจิตไว้กับหลัก คือลมหายใจให้ได้ จิตคิดวิ่งไปที่ไหน ก็ใช้สติระลึกรู้ตาม ไปประคองจิตไว้ไม่ให้คิดในเรื่องชั่ว อันเป็น บาปทุจริต ประคอง จิตไว้ให้คิดในเรื่องดี อันเป็นบุญสุจริต เท่านั้น ความผ่องใส ในจิตจะเกิดเพิ่มขึ้น ความทุกข์ก็จะค่อยสิ้นไป

๓. มีสติรู้ตัวทุกอิริยาบถของร่างกาย
มีสติระลึก รู้ตัวตั้งแต่ตื่น นอนลืมตาขึ้นมาว่า ตื่นแล้วกำลังจะลุกขึ้นนั่ง ย่างก้าวเดินเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน อาบน้ำ ขับถ่าย ๆลๆ มีสติระลึกรู้ตัวไปทั่วทุกสิ่ง ทั่วทุกอิริยาบถ เคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา ก้าวหน้า ถอยหลัง ก็ทำสติตามรู้ทุกอย่างไป แม้จะยังไม่บริบูรณ์ ด้วยจิตหนีหายหลบไป เมื่อรู้ตัวก็กำหนดสติต่อไป จะเกิดผล เป็นผู้มีพลัง สติคุมจิต ตั้งมั่นเกิดสมาธิ

๔. มีสติรู้ตัวพิจารณาให้เห็นความจริง มีสติพิจารณา ในความเป็น ธรรมชาติ ที่มีเห็นอยู่ รอบๆ ตัวเรานี้ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง คงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไป เกิดมีขึ้นแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดนิ่ง แล้วก็ดับหายตายจากไป ไม่เราจากสิ่งนั้นไปก่อน สิ่งนั้น ก็ จากเราไปก่อน ไม่มีใครจะยึดเหนี่ยวรั้งสิ่งใดไว้ได้ เป็น ธรรมชาต ิที่เลื่อนไหลไปอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดาอย่ายึดถือไว้เป็ีนความทุกข์

๕. มีสติรู้ตัว ถอนความยึดถือ ในตัวตนเสีย มีสติพิจารณา ดูลงไป ที่ตัวเราเองว่า มีอะไรบ้าง หรือที่เราบังคับได้บ้าง ร่างกายนี้ตั้งแต่เกิดมา มีแต่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดมาได้อย่างไร ไม่รู้ตัว เลย(หรือใครรู้ตัวบ้างช่วยบอกที) มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อเติบโตพอจำความได้แล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดยั้ง แล้วก็ต้องตายไป ทำพิธีต่ออาย ุสืบชะตาอย่างไร ก็ต้องตายทุกคน แล้วจะยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเราได้อย่างไร ตายแล้วไม่เผาได ก็ฝังดินเท่านั้นเอง มันเป็นเพียงธรรมชาิติ ที่เกิด ขึ้นแล้วก็ดับไป เราเพียงยืมใช้ได้อาศัยศึกษา รักษาไว้เป็นพาหนะ ให้ทำความดี เพื่อข้ามวัฎสงสารเท่้านั้น

๖. มีสติรู้ตัว พูดจาให้น้อยลง พูดเท่าที่จำเป็น จะต้องพูด ด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ การพูดมากมีโอกาสพูดผิดได้มาก ไม่เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นโทษอีกด้วย เป็นผู้ฟังแล้วตามคิด เลือกจำสิ่งดีๆ มาใช้จะได้ประโยชน์ กว่าคนพูดมาก มักขาดสติง่าย เป็นผู้ฟังที่โทษน้อย หรือไม่มีเลย แต่เป็นผู้ได้รู้มากกว่าผู้พูด

ทั้ง ๖ ข้อนี้ ที่กล่าวมาแล้วนี้
เป็นสิ่งที่ควรสนใจฝึกอบรมสติ ควบคุมจิต ให้เกิดพลังจิตที่มีประสิทธิภาพ ที่ควรแก่การงาน การกระทำกิจการงานใดๆ จะมีความสำเร็จ ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ เป็นพื้นฐานที่ถูกต้องต่อการดำรงชีวิต
และการปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้า เจริญสู่ขั้นสูงได้ง่าย ต่อไป การฝึกฝนตนเอง ด้วยการมีสติควบคุมจิต ต้องใช้ความเพียรอย่างมาก เพียงใดก็ตาม ก็ อย่า ได้มีความท้อถอย ที่ใดมีความตั้งใจจริง เพียรพยายามอยู่ ความสำเร็จย่อมมี ตามมาอย่างมิสงสัย

เจ้าของ:  ตรงประเด็น [ 17 ธ.ค. 2008, 21:34 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

ในภาษาดั้งเดิมที่ใช้ในการแปลพระไตรปิฎก

(อนาสวะ)สัมมาทิฏฐิ ที่มีการบรรยายว่าเป็น ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ นั้น
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ จะใช้คำแปลที่ว่า "สอดส่องเลือกเฟ้นธรรม" หรือ... สอดส่องธรรม

สัมมาสติ จะใช้คำที่ปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า "รู้ชัดว่า" หรือ... รู้ชัด

สัมมาสมาธิ จะใช้คำที่ปรากฏในพระสูตรว่า "ตั้งใจมั่นชอบ"หรือ... ตั้งใจมั่น

สัมมาญาณะ จะใช้คำที่ปรากฏในพระสูตรว่า "ตรัสรู้ชอบ"หรือ.... เห็นแจ้งแทงตลอด



การเจริญภาวนาตามหลักสติปัฏฐานก็คือ การเจริญสัมมาสติ นั่นเอง

หลักสำคัญของการเจริญสติ ก็คือ
"รู้ชัด" ณ ปัจจุบันขณะ ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งปวง

ความจริงแล้ว สติมีเพียงหนึ่งเดียว
แต่ สติปัฏฐานนั้น ที่มีสี่ เพราะความต่างแห่งอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งสติ
ซึ่ง แล้วแต่ละจริตนิสัยของบุคคลที่เหมาสมกับฐานใด... และ ขึ้นกับ สภาวธรรมต่างๆที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้นด้วย

ที่ผมเห็นว่า เหมาะสมกับฆราวาสวิสัยในยุคนี้มากสุด
น่าจะเป็น กายานุปัสสนา หมวดสัมปชัญญะบรรพ(ข้อ๓ ที่ ท่านอาจารย์ ประสิทธิ์ ท่านกล่าวไว้) เช่น ที่หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย ท่านสอนบ่อยๆ
และ การดูลักษณะต่างๆของจิตหรือจิตตานุปัสสนา(ข้อ๒ ที่ ท่านอาจารย์ ประสิทธิ์ ท่านกล่าวไว้) เช่น ที่หลวงปู่ ดุลย์ อตุโล ท่านชอบสอนบ่อยๆ
แต่ บางท่านที่ชำนาญในปฏิจจสมุปบาท หรือ อริยสัจจ์สี่ ก็อาจจะเจริญแบบธัมมานุปัสสนาได้ เช่น แนวทางของสวนโมกข์

มันไม่มี สติปัฏฐาน ฐานใดๆ ที่ดีที่สุดสำหรับทุกๆคนหรอก

แต่ มีสติปัฏฐาน ในฐานต่างๆ ให้เลือกเหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน

ท่านผู้รู้กล่าวว่า ไม่ว่าจะเจริญ สติปัฏฐาน ฐานไหน...ถ้าเจริญถูกต้อง สุดท้ายก็จะแจ้งแทงตลอดในทุกๆฐานในที่สุดเองครับ....

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 17 ธ.ค. 2008, 23:53 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

คุณตรงประเด็นอธิบายไว้ชัดเจนดีมากๆแล้วครับ
ขออนุโมทนา
:b8:

เจ้าของ:  walaiporn [ 18 ธ.ค. 2008, 06:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

คุณกรัชกาย

สิ่งที่คุณตรงประเด็นนำมาโพสนั้น อธิบายได้ชัดเจนที่สุดแล้ว

"มันไม่มี สติปัฏฐาน ฐานใดๆ ที่ดีที่สุดสำหรับทุกๆคนหรอก แต่ มีสติปัฏฐาน ในฐานต่างๆ ให้เลือกเหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน

ท่านผู้รู้กล่าวว่า ไม่ว่าจะเจริญ สติปัฏฐาน ฐานไหน...ถ้าเจริญถูกต้อง สุดท้ายก็จะแจ้งแทงตลอดในทุกๆฐานในที่สุดเองครับ....


โมทนาด้วยค่ะคุณตรงประเด็น :b8:

เจ้าของ:  walaiporn [ 18 ธ.ค. 2008, 06:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

:b16: :

เจ้าของ:  O.wan [ 18 ธ.ค. 2008, 06:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

:b10: ในความคิดของคนธรรมดาแบบเราๆซึ่งน่ามีมากกว่า 50%นะ
ก็คิดแค่ในทุกวันว่าต้องมีสติ คือ คิดก่อนทำ ก่อนพูด เวลาที่มีต้องเกิดปัญหา ก็คิด หมายถึง ก่อนโต้ตอบ
คิดก่อน คือคิดก่อนเดี๋ยวนั้นเลย วินาทีนั้นเลย เราว่านี่คือมาตราฐานธรรมชาติของคนนะแบบเราๆเนี่ยไง

:b26: แล้วคำอธิบายของ K ตรงประเด็นที่ว่า
มีสติรู้ตัวทุกอิริยาบถของร่างกาย
มีสติระลึก รู้ตัวตั้งแต่ตื่น นอนลืมตาขึ้นมาว่า ตื่นแล้วกำลังจะลุกขึ้นนั่ง ย่างก้าวเดินเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน อาบน้ำ ขับถ่าย ๆลๆ มีสติระลึกรู้ตัวไปทั่วทุกสิ่ง ทั่วทุกอิริยาบถ เคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา ก้าวหน้า ถอยหลัง ก็ทำสติตามรู้ทุกอย่างไป แม้จะยังไม่บริบูรณ์ ด้วยจิตหนีหายหลบไป เมื่อรู้ตัวก็กำหนดสติต่อไป จะเกิดผล เป็นผู้มีพลัง สติคุมจิต ตั้งมั่นเกิดสมาธิ

:b26: นี่ก็คือ เราสงสัยว่ามันก็เป็นสิ่งที่มีกันอยู่ในตัวทุกคนอยู่แล้ว คือการกระทำดังกล่าวเป็นแค่คำว่ารู้เฉยๆ หรือเปล่าคะ แต่รู้สติ คือ การปฏิบัติใช้ช้าลง รอบคอบมากขึ้น แล้วสำหรับเราเป็นคนที่มีนิสัยเร็ว
เร็วทุกอย่างนะคะ พูดเร็ว คิดเร็ว ใจเร็วคือโกรธง่ายหายเร็ว อ่อนไหวตามอารมณ์ง่าย ใจน้อย
ใจอ่อน สงสารคนทั่วไปหมด ชอบช่วยเหลือคนมากที่สุด จนบางครั้งคิดสับสนตัวเองมากเลย ว่า
เราเกิดมาเป็นคนของประชาชน ( ถ้าเป็น superstar ก็ดีนะ ) หรือเป็นกรรมที่ต้องชดใช้
แต่มันก็ทำให้เรามีความสุขใจนะที่เป็นผู้ให้ ผู้ช่วย
:b26: แต่สติของผู้ปฏิบัติธรรมแบบท่านๆ นั้น เราอ่านจากโพสต์ที่ถาม-ตอบ แล้ว ลักษณะนิสัย
น่าจะเป็นคนที่ ตรงข้ามกับเราโดยสิ้นเชิงไม๊คะ น่าจะใจเย็น รอบคอบ ใจดี พูดพอประมาณหรือเปล่าคะ
เลยทำให้การฝึกปฏิบัติธรรมจึงดูง่ายขึ้น
:b20: :b20: แล้วอย่างเราจะมีโอกาสแค่ 1/4 ของท่านไม๊คะ คือเราต้องปรับนิสัยตัวเองใหม่หมด
ให้ได้ก่อน ค่อยมาฝึกสติหรือเปล่าคะ รบกวนแนะนำต่อด้วยนะคะ
:b26: :b26: หรือท่านใดเคยเหมือนเราแล้วสอบผ่านแล้วช่วยเฉลยคำตอบด้วยค่ะ :b20:

เจ้าของ:  ชิโนะซึเกะ [ 18 ธ.ค. 2008, 09:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

ดีๆครับ เว็ปนี้ของหลวงพ่อปราโมทย์ครับ
ธรรมเทศนาท่านดีครับ ท่านจะเน้นการเจริญสติน่ะครับ
ลองเข้าไปดูได้นะครับ
http://www.wimutti.net

เจ้าของ:  natdanai [ 18 ธ.ค. 2008, 09:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

การเจริญสติ.....สำหรับกระผมคือการรู้ทันอารมณ์ครับ

เจ้าของ:  ทางเดินที่พ้นทุกข์ [ 18 ธ.ค. 2008, 10:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

:b1:

เจ้าของ:  ชาติสยาม [ 18 ธ.ค. 2008, 10:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

:b23: :b23: :b23:

เจ้าของ:  ทางเดินที่พ้นทุกข์ [ 18 ธ.ค. 2008, 12:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ช่วยอธิบายคำว่า "เจริญสติ"

:b1:

หน้า 1 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/