วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 12:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2008, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 00:05
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเวลามีปัญหาที่เราต้องเจออยู่บ่อยๆในที่บ้านหรือที่ทำงาน
เราจะไม่ยินดียินร้ายได้อย่างไรครับ
บางทีเวลาหรือขณะที่เราปฎิบัติธรรมหรือฟังธรรมอยู่อาจช่วยให้เราไม่มีความทุกข์ในเรื่องนั้นๆได้
แต่หลังจากนั้นปัญหาก็ยังคงมีอยู่และไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป
ขอความเมตตาจากผู้รู้ช่วยชี้ทางสว่างให้ด้วยครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
จาก..ผู้เริ่มสนใจธรรมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2008, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2008, 23:07
โพสต์: 151

ที่อยู่: BKK.

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะใจยังไม่รู้จักปล่อยวางทุกข์นั้นอย่างแท้จริงนั่นเอง
มันจึงเป็นมะเร็งกัดกินใจทุกครั้งที่เรายังคิดถึงมัน
ทำให้พี่นึกถึงเพลงนี้...

"ให้มันเป็นไป"(let it be)
โดย อัสนี วสันติ์ โชติกุล

:b48: เมื่อมีบางครั้งที่ยังเสียดาย สิ่งมุ่งหมายไม่ได้ดั่งใจ
คนเราก้าวเดินต่อไปไม่ย่อท้อ
เมื่อมีวันนี้ก็มีเมื่อวาน อยู่อย่างนั้นไม่น่าแปลกใจ
เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไป ไม่หยุดเดิน
เมื่อมีอะไรที่ยังวู่วามเก็บคำถามนั้นไว้อีกที
แล้วคิดเอาเองดีๆ อีกสักครั้ง
จะมีอะไรที่จะน่ากลัว เท่ากับตัวเราคิดมากไป
เฉยๆให้มันเป็นไปบ้างแหละดี

ให้มันเป็นไป ทุกคนคงเข้าใจได้
ให้มันเป็นไปทุกคนเราเข้าใจอยู่
ให้มันเป็นไป เป็นไรเรื่องจุดหมาย
จะโชคร้ายก็ไม่เสียดาย
เป็นไรก็เป็นไม่เห็นเป็นไร

จะมีอะไรที่จะต้องทน ถ้าหากคนเราจนจิตใจ
คิดๆแล้วค่อยเป็นไป ปล่อยไว้ตามสบายดีกว่า
จะปล่อยวางเสียบ้างเป็นไร ปล่อยไว้ตามสบายดีก่วา
:b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

....ฝากเพลงนี้ไว้ไห้คิด......

.....................................................
จงระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่ให้ไปทำร้ายใคร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2008, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะไม่ให้ยินดียินร้ายเลย อันนั้นมันเป็นสมรรถนะของพระอรหันต์แล้วล่ะครับ
อย่าเพิ่งไปเล็งผลขั้นเลิศขนาดนั้น

ลองศักษาแนวหวงพ่อปราโมทย์ดูนะครับ
http://www.wimutti.net/pramote/mp.php
ให้โหลด mp3 มาฟัง เอาตั้งแต่แผ่น 1 นะครับ เพราะจะง่าย
ค่อยๆ ฟัง ฟังไปสบายๆ อะไรไม่เข้าใจก็ฟังผ่านๆ ไป
ฟังไปเรื่อยๆ แล้วลองปฏิบัติดู

ไม่ช้าไม่นาน จะประติดประต่อความรู้ได้เอง
แล้วอย่าลืมปฏิบัตินะครับ จะได้พิสูจน์ทราบด้วยตนเองว่าได้ผลจริงไหม


ขอกระซิบบอกให้ฐานะคนที่ทำตามมาแล้วว่า ได้ผลเร้วมาก ดีมาก เข้าใจง่ายมาก

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2008, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:20
โพสต์: 349


 ข้อมูลส่วนตัว


- คิดให้น้อยลง หากคิดมากแล้วเป็นทุกข์ใจ

- อย่าเป็นจริงเป็นจัง อย่าเอาจริงเอาจัง กับ
คำพูดและการกระทำของผู้อื่น มากเกินไป

- เวลาทำงานอะไรก็ตาม ให้จิตจดจ่อกับเนื้องาน
ให้คิดทีละเรื่อง คิดเรื่องใดให้ทำเรื่องนั้น


หากฟุ้งซ่าน คิดมาก เหนื่อยล้า
ให้เอาจิตมาอยู่ที่ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก


หายใจเข้าช้าๆ หายใจออกยาวๆ นับ ๑
หายใจเข้าช้าๆ หายใจออกยาวๆ นับ ๒
จนกระทั่งถึง
หายใจเข้าช้าๆ หายใจออกยาวๆ นับ ๑๐
แล้วย้อนกลับ
หายใจเข้าช้าๆ หายใจออกยาวๆ นับ ๙
หายใจเข้าช้าๆ หายใจออกยาวๆ นับ ๘
จนกระทั่งถึง
หายใจเข้าช้าๆ หายใจออกยาวๆ นับ ๑
แล้วย้อนกลับอีก

ทำอย่างน้อยสัก ๒ รอบก็เห็นผลแล้ว

- อย่าทำตัวให้ว่าง เอาเวลามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

ทำเท่านี้ได้ ทุกข์ก็ลดลงไปมากแล้ว ขอบอก :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2008, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


คำตอบ อยู่ที่ ผัสสะ เวทนา ตัณหา ครับ

เมื่อพบสุขเวทนาก็ปราถนาให้ สุขเวทนานั้นดำรงอยู่(มีราคานุสัยนอนเนื่อง)
เมื่อพบทุกขเวทนาก็ปราถนาให้ ทุกขเวทนานั้นหายไป(มีปฏิคานุสัยนอนเนื่อง)
เมื่อพบอทุกขมสุขเวทนา ก็ไม่รู้เท่าทันในเวทนานั้น(มีอวิชชานุสัยนอนเนื่อง)

จึงบังเกิดเป็น ยินดียินร้าย ขึ้น
และ นำไปสู่ความทุกข์ ตามปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดทุกข์นั้นละครับ

ถ้าจะไม่บังเกิดยินดียินร้ายขึ้น ก็ต้องมีสติสืบเนื่องทุกๆผัสสะครับ

ลองอ่าน เวทนาปริคหสูตร ดูน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2008, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ผัสสะรู้ ดูเห็นคิด จิตกระทบ
ขาดสติ จึงบรรจบ ช่างเฉไฉ
เมื่อเกิดสุข ก็อยากก่อ อยู่ต่อไป
เมื่อเกิดทุกข์ ก็อยากให้ สิ้นสุดลง

เมื่อเกิดเป็น เวทนา อุเบกขา
ก็ไม่มี ปัญญา จึงมัวหลง
จมปลักแห่ง สมุทัย ให้มั่นคง
มิเห็นทาง อันเที่ยงตรง แห่งธรรมวินัย

จะดับอยาก ต้อง...."เหนือเวทนา"
มีปัญญา มีสติ ที่ผ่องใส
จิตเหนือสุข จิตเหนือทุกข์ เหนือปัจจัย
จิตยิ่งใหญ่ เหนือรูปนาม รู้ตามจริง

ไม่ผลักทุกข์ ไม่เอาสุข ไม่มัวหลง
จิตมั่นคง มหาสติ ธรรมอันยิ่ง
"เวทนาปริคหสูตร".... อย่าประวิง
ชวนชายหญิง เร่งศึกษา หาเล่าเรียน

พระศาสดา แสดงไว้ ในคราวนั้น
ขอบูชา ธรรมเฉิดฉัน ด้วยเกล้าเศียร
ในโอกาส อาสาฬหๆ บรรจบเวียน
เชิญเพื่อนพ้อง ทำความเพียร บูชาธรรม


ตรงประเด็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2008, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเสนอ พระสูตร เรื่องเวทนานุปัสสนา


Quote Tipitaka:
1) สัลลัตถสูตร
เล่มที่ ๑๘
[๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ก็ย่อมเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชน ๒ จำพวกนั้น อะไรเป็นความพิเศษ เป็นความแปลก เป็นเครื่องทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือเวทนาทางกายและเวทนาทางใจ ฯ

[๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู พึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ อีก ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศร ๒ อย่าง คือ
ทางกายและทางใจ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ร่ำไร รำพัน ทุบอก คร่ำครวญ ย่อมถึงความงมงาย
เขาย่อมเสวยเวทนา ๒ อย่าง คือ เวทนาทางกายและเวทนาทางใจ
อนึ่ง เขาเป็นผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมนอนตามเขาผู้มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เขาเป็นผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลินกามสุข
ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้อุบายเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนานอกจากกามสุข และเมื่อเขาเพลิดเพลินกามสุขอยู่ ราคานุสัยเพราะสุขเวทนานั้นย่อมนอนเนื่อง
เขาย่อมไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง เมื่อเขาไม่รู้เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมนอนเนื่อง เขาย่อมเสวยสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ย่อมเสวยทุกขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขเวทนานั้น และย่อมเสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นผู้ประกอบด้วยกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ประกอบด้วยชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า เป็นผู้ประกอบด้วยทุกข์ ฯ

[๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายอริยสาวกผู้ได้สดับ อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย
เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ ฯ

[๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนูพึงยิงบุรุษด้วยลูกศร ยิงซ้ำบุรุษนั้นด้วยลูกศรดอกที่ ๒ ผิดไป
ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ บุรุษนั้นย่อมเสวยเวทนาเพราะลูกศรดอกเดียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ร่ำไร ไม่รำพัน ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความงมงาย เธอย่อมเสวยเวทนาทางกายอย่างเดียว ไม่ได้เสวยเวทนาทางใจ
อนึ่ง เธอย่อมไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยเพราะทุกขเวทนานั้น ย่อมไม่นอนตามเธอผู้ไม่มีความขัดเคืองเพราะทุกขเวทนา เธอผู้อันทุกขเวทนาถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลินกามสุข
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอริยสาวกผู้ได้สดับนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกขเวทนานอกจากกามสุข เมื่อเธอไม่เพลิดเพลินกามสุข ราคานุสัยเพราะสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง
เธอย่อมรู้ชัดซึ่งเหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และ อุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง เมื่อเธอรู้ชัดซึ่ง เหตุเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งเวทนาเหล่านั้นตามความเป็นจริง อวิชชานุสัยเพราะอทุกขมสุขเวทนาย่อมไม่นอนเนื่อง ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยสุขเวทนานั้น ถ้าเสวยทุกขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วนี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ปราศจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เราย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ปราศจากทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ เป็นความแปลกกัน เป็นเครื่องกระทำให้ต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับฯ
[๓๗๓] อริยสาวกนั้นเป็นผู้มีปัญญา ทั้งเป็นพหูสูต ย่อมไม่เสวยทั้งสุขเวทนา ทั้งทุกขเวทนา นี้แล เป็นความแปลกกันระหว่างธีรชนผู้ฉลาดกับปุถุชน ธรรมส่วนที่น่าปรารถนา ย่อมไม่ย่ำยีจิตของอริยสาวกนั้น ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว เป็นพหูสูตเห็นแจ้งโลกนี้และโลกหน้าอยู่ ท่านย่อมไม่ถึงความขัดเคืองเพราะอนิฏฐารมณ์
อนึ่ง เวทนาเป็นอันตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะอริยสาวกนั้นไม่ยินดี และไม่ยินร้าย
อริยสาวกนั้นรู้ทางดำเนินอันปราศจากธุลี และหาความโศกมิได้ ย่อมเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพรู้โดยชอบ ฯ
จบสูตรที่ ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2008, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบคุณ superwan ดังนี้

ถาม : ถ้าเวลามีปัญหาที่เราต้องเจออยู่บ่อยๆในที่บ้านหรือที่ทำงาน เราจะไม่ยินดียินร้ายได้อย่างไรครับ บางทีเวลาหรือขณะที่เราปฎิบัติธรรมหรือฟังธรรมอยู่อาจช่วยให้เราไม่มีความทุกข์ในเรื่องนั้นๆได้ แต่หลังจากนั้นปัญหาก็ยังคงมีอยู่และไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป

ตอบ : เรื่องของความยินดียินร้ายนี้จัดว่าเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาก็ว่าได้ครับ ซึ่งการที่จะไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายได้อย่างไรมีหลักอยู่หลายประการ และกระทำหลายได้หลายแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการเจริญสติปัฏฐานสี่, การเจริญอริยมรรค, การเจริญโพชฌงค์เจ็ด, การเจริญไตรสิกขา เป็นต้น ซึ่งเรื่องเหล่านี้เราจะต้องกล่าวกันยาวเลย เอาเป็นว่าในคำถามของคุณผมแนะนำให้คุณในเบื้องต้น ก็แล้วกัน แต่การแนะนำในเบื้องต้นนี้ ก็เห็นว่าเพียงพอจะให้แก้ไขความทุกข์ที่เกิดขึ้นของคุณได้ และจะเป็นอันส่งเสริมให้เกิดความไม่ยินดียินร้ายในระดับยากๆ ได้ต่อมาด้วยครับ ผมขอแนะนำเป็น 2 ระดับดังนี้

ระดับปลายเหตุแห่งทุกข์

ปัญหาทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัย "เมื่อสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี" เป็นเหตุเป็นผลกัน การแก้ไขปัญหาที่ทำให้เราทุกข์ใจจึงไม่ใช่จะไปแก้ไขที่ต้นเหตุแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เช่น ไปแก้ที่ใจแต่เพียงอย่างเดียว เป็นต้น แต่ปล่อยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นยังคงเกิดขึ้นอยู่ต่อไป ไม่ได้รับการแก้ไข หากทำอย่างนี้เป็นอันเห็นผิดพลาดคลาดเคลื่อนทีเดียว

เหมือนกับพระรูปหนึ่งนั่งสมาธิอยู่ในกุฏิ ฝนตกลงมา และหยดมาตามรูรั่วของหลังคา พระท่านก็ไม่ทำอะไรวางใจเฉยไป น้ำก็ท่วม อย่างนี้ไม่ถูกต้องเรียกว่า "เฉยโง่" ที่ถูกต้องจะต้องแก้ไขทั้งสองด้านไม่ว่าจะเป็นด้านใจก็วางใจเฉยไม่ทุกข์ ด้านกาย-วาจาก็กระทำการไปอย่างเหมาะสม ทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย คือ อุดรูรั่วของหลังคาเสียด้วยจึงจะถูกต้อง :b16:

เราจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่องอริยมรรคมีองค์แปด, มงคลชีวิต, ไหว้ทิศที่ถูกต้องต่างๆ หลักที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้จะมีครบทุกด้านทั้งกาย วาจา ใจ เอาไว้ใช้ให้เกิดประโยชน์สุข แก้ไขปัญหาทุกข์โทษทั้งปลายเหตุและต้นเหตุครบถ้วนบริบูรณ์ จึงได้รับสุขอย่างแท้จริง หมดทุกข์สิ้นเชิง ดังนั้นผมแนะนำวิธีปฏิบัติเพื่อให้แก้ไขปัญหา-ปลายเหตุแห่งทุกข์ คือ

1. ให้นำหลักอริยสัจ์มาพิจารณาว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร , เกิดขึ้นได้อย่างไร, สภาวะหมดปัญหาเป็นอย่างไร, และสภาวะหมดปัญหาจะทำให้ปรากฏได้อย่างไร มีขั้นตอนอย่างไร
2. เมื่อพิจารณาพบแล้วจึงเริ่มทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการดำเนินตามวิธีการแก้ไขปัญหาซึ่งจะทำให้เกิดการ "ละสมุทัย" อันเป็นต้นเหตุของปัญหาขึ้น แล้วทีนี้ปัญหาของคุณก็จะหมดไปได้ทุกข์ใจก็จะลดลงหรือระงับไปชั่วคราวได้ครับ


หากมีปัญหาบางอย่างที่ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือยังหาทางออกไม่ได้ ขอให้ทำการแก้ไขที่ใจไปพลางก่อน เพราะปัจจัยภายนอกตัวเราบางอย่างเราไม่สามารถควบคุมได้ แต่ว่าใจของเราอยู่ภายใน เราสามารถจะจัดสรรค์ปัจจัยให้ไม่เกิดทุกข์ เป็นอิสระได้ (หากปัญหาบางอย่างหมดทางเยียวยาแก้ไขจริงๆ ก็ให้ทำใจปล่อยวางครับ ทำเท่าที่ทำได้ อะไรจะเกิดปล่อยให้เกิด) วิธีการผมจะแนะนำไปพร้อมกับการแก้ไขที่ "ระดับต้นเหตุแห่งทุกข์"

ระดับต้นเหตุแห่งทุกข์

"ใจ" ที่ประกอบด้วยตัณหา นี้สำคัญมาก เพราะเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ บางครั้งที่คุณยังแก้ไขปัญหาไม่ได้ ปัญหายังไม่หมดไป หรือยังคิดหาทางแก้ไม่ออก แต่หากคุณระมัดระวังใจได้ ก็จะไม่ทุกข์ ไม่เครียดไปด้วย เรียกว่า "ปัญหาก็ส่วนปัญหา ใจก็ส่วนใจไม่เกี่ยวกัน" แล้วทีนี้เมื่อใจไม่ทุกข์ ไม่เครียดแล้ว ใจคุณเองนี่แหละที่สงบ มีสติจะชักนำให้คุณเกิดปัญญามองเห็น คิดวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ออกได้ เรียกว่า "เมื่อใจสงบ จะเกิดปัญญา"

องค์ธรรมสำคัญที่สุดประการหนึ่งที่ส่งผลต่อจิตใจมากๆ คือ "สติ" ที่คุณจะต้องพยายามพัฒนาให้เกิดขึ้นมากๆ เมื่อคุณมีสติมากๆ แล้วคุณจะไม่เผลอไปปรุงแต่งสิ่งต่างๆ เก็บเข้ามาเป็นตัณหาทำให้ใจทุกข์ไปด้วยได้ครับ เหมือนกับมีเกราะป้องกัน มีภูมิคุ้มกัน

วิธีการพัฒนาสติมีอยู่หลายวิธี ผมคิดว่าคุณคงจะทราบอยู่บ้างแล้ว จึงเห็นว่านำวิธีที่ทราบอยู่แล้วมาทำให้มากๆ ครับ ไม่ใช่ว่าเอามาทำตอนเดินจงกรม-นั่งสมาธิเท่านั้น แต่พยายามนำมาทำให้ได้เวลาปกติด้วยนะครับแล้วจะดีเอง

เมื่อมีสติมากๆ เข้าจะเกิดสมาธิ เมื่อเกิดสมาธิมากๆ เข้าจะเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาแล้วใจจะไม่ยินดียินร้ายอย่างสมบูรณ์เป็นปกติธรรมดาได้ในที่สุด หมดสิ้นต้นเหตุแห่งทุกข์ คือ "ตัณหา" ดับทุกข์สิ้นเชิงครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


การไม่ยินดียินร้าย ท่านเรียก อุเบกขาธรรม ครับ..

อุเบกขา = การวางเฉย จิตเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย (ยกตัวอย่างเกี่ยวกับ การนินทา สรรเสริญ) ก็จะได้ ดังนี้

- การวางเฉยแบบไม่รู้ คือไม่ได้ยิน ไม่รู้ ไม่เห็น ดั่งนี้เรียกว่า วางเฉยด้วยความไม่รู้จริง แต่ที่จริงเขาสรรเสริญ เขานินทาอยู่ เพียงแต่ไม่รู้ ไม่ได้ยิน ไม่ทราบว่าเขานินทาอยู่เท่านั้น

- การวางเฉยด้วยความรู้ คือ ได้รู้ ได้เห็น ได้ยินเขานินทา สรรเสริญ แต่ทนอยู่ได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้ายเพราะมีขันติ ความทนทาน ความอดทนเป็นที่ตั้ง

- การวางเฉยด้วยปัญญา อันการวางเฉยลักษณะนี้ต้องเกิดจากความรู้ การประพฤติ ปฎิบัติ “การพิจารณาให้เห็นเหตุเห็นผล เห็นสัจจะความจริง (โยนิโสมนสิการ)” ในโลกธรรมแปด ที่ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ต้องประสบ ไม่ยกเว้นให้ใครป็นพิเศษ

การจะปฏิบัติธรรมหมวดนี้ "ต้องมีขันติ ต้องเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม โทษกรรมหรือปลงลงในกรรมให้ได้ ถึงเราจะเดือดร้อนเพราะการกระทำของเขา แต่กรรมชั่วที่เขากระทำนั้น ก็เป็นกรรมของเขาเอง ไม่ใช่กรรมของเรา"

เมื่อคิดได้ดั่งนี้แล้ว เมื่อประสบโลกธรรมแปด "การวางอุเบกขา การวางใจเป็นกลาง การวางเฉย ก็ง่าย ก็สะดวก ไม่ติดขัด"

เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2008, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


superwan เขียน:
ถ้าเวลามีปัญหาที่เราต้องเจออยู่บ่อยๆในที่บ้านหรือที่ทำงาน
เราจะไม่ยินดียินร้ายได้อย่างไรครับ
บางทีเวลาหรือขณะที่เราปฎิบัติธรรมหรือฟังธรรมอยู่อาจช่วยให้เราไม่มีความทุกข์ในเรื่องนั้นๆได้
แต่หลังจากนั้นปัญหาก็ยังคงมีอยู่และไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป
ขอความเมตตาจากผู้รู้ช่วยชี้ทางสว่างให้ด้วยครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
จาก..ผู้เริ่มสนใจธรรมะ


ฝึกเจริญสติให้มากค่ะ จะได้รู้เท่าทันในสิ่งที่เกิด เมื่อใดเห็นไปถึงเหตุที่เกิด แล้วเห็นผลที่ได้รับ มันจะปล่อยวางไปเองในที่สุดค่ะ การกระทำปัจจุบันคือเหตุ ผลที่ได้รับคืออนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น ที่ผ่านมาแล้วช่างหัวมัน ไปแก้ไขอดีตมันไม่ได้ ก็ต้องทำความเข้าใจ และทำใจกับผลที่ได้รับ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2008, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ เมื่อสิ้นเหตุจึงดับทุกข์ได้"....ยอดแห่งอริยสัจ :b20: :b20:

superwan เขียน:
ถ้าเวลามีปัญหาที่เราต้องเจออยู่บ่อยๆในที่บ้านหรือที่ทำงาน
เราจะไม่ยินดียินร้ายได้อย่างไรครับ
บางทีเวลาหรือขณะที่เราปฎิบัติธรรมหรือฟังธรรมอยู่อาจช่วยให้เราไม่มีความทุกข์ในเรื่องนั้นๆได้
แต่หลังจากนั้นปัญหาก็ยังคงมีอยู่และไม่ได้รับการแก้ไขให้หมดไป


คำถามกับคำตอบอยู่ในประโยคเดียวกันเลยครับ
ปัญหายังคงอยู่....? เพราะไม่ได้รับการแก้ไข(ที่เหตุ)ให้หมดไป ความจริงการปฏิบัติธรรมนั้นย่อมต้องแก้ไขได้ หากแต่ผู้ปฏิบัติมิได้น้อมเอาธรรมที่ศึกษาและปฏิบัติมาพิจารณาเพื่อการดับทุกข์.... :b12:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2008, 09:18
โพสต์: 635

อายุ: 0
ที่อยู่: กองทุกข์

 ข้อมูลส่วนตัว www


พี่คามินธรรมก็ศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์หรอครับ :b12:
ผมก็เหมือนกันฮะ :b8:

.....................................................
"ผู้ที่ฝึกจิต ย่อมนำความสุขมาให้"
คิดเท่าไหรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้

http://www.luangta.com
รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทศพล เขียน:
พี่คามินธรรมก็ศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์หรอครับ :b12:
ผมก็เหมือนกันฮะ :b8:


เรียกว่าเคารพนับถือเป็นพิเศษดีกว่าครับ
ไม่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์แบบเป็นเรื่องเป็นราวครับ
เดี๋ยวผม คิดทำพูด อะไรผิดไป จะไม่ดี

ผมก็อาศัยเก็บเล็กผสมน้อยเอา
ศึกษาหมดทุกอาจารย์ครับ
แต่ถูกจริตแลก้าวหน้าเป้นพิเศษกับแนวหลวงพ่อปราโมทย์ครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 124 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร