วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 02:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 00:05
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


คือว่าหลังจากที่ผมกลับจากการไปปฏิบัติธรรมมา
ช่วงแรกๆ รู้สึกมีความสุขและความสงบที่ใจมากๆๆ
แต่หลังจากนั้นไม่นานผมก็รู้สึกว่าจะเริ่มกลับไปเหมือนเดิม
ไปเจอกับปัญหาและงานเดิมๆ ผู้คนเดิมๆ ทำให้จิตใจเราไม่สงบเหมือนตอนไปปฏิบัติธรรม
หรือเป็นเพราะผมต้องกลับไปทำกิจการงานตามเดิมที่มีแต่ปัญหาของคนอื่นๆ ก็ไม่รู้
ทั้งๆ ที่ตอนว่างๆ จากงานผมก็พยายามฝึกสมาธิและดูจิตตัวเองทุกๆ วัน
อยากเรียนถามท่านผู้รู้ได้โปรดเมตตาแนะนำผมด้วยครับ
ว่าทำอย่างไรจึงจะรักษาใจให้ดีได้ตลอดเวลาเหมือนตอนไปปฏิบัติธรรม

กราบขอบพระคุณมาล่วงหน้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องการดู
อารมณ์ทุกอย่างนั้น มีไว้ให้ดู ดูให้เห็นว่ามีอารมณ์
ดูอยู่ต่างหาก
ไม่ให้เราไปเสวยเอาอารมณ์นั้น

สุขก็ดู ทุกข์ก็ดู ทำงานเดิมๆมันเบื่อยังไงก็ดูความเบื่อนั้น
คนเดิมๆมันน่าเซ็งยังไง ก้ดูให้เห็นความเซ็งนั้น
จิตใจมันจะแสดงความยินดียินร้ายอะไรออกมาก็ดูให้เห็น

เรื่องความนิ่ง
ไม่ต้องไปพยามดำรงความนิ่งเอาไว้
เพราะความนิ่งก็ไม่พ้นความจริงที่ว่ามันต้องเสื่อมไป
การทำให้มันนิ่งตลอดเวลา ก้ฝืนธรรมชาติ และทำให้เหนื่อย
ความอยากให้มันนิ่งๆเป็นสุขนั้น ดูให้ดีๆแล้วจะพบว่าก็เป็นตันหาความอยาก
คือความอยากอันที่จะให้มันนิ่ง แต่ธรรมชาติของมันนั้นไม่เป็นอย่างนั้น

การเฝ้าดูจิตใจของเรานั้น ไม่จำเป้นต้องไปดูเวลามันนิ่ง สงบ หรือมีความสุข
ถ้าเราดุแต่ตอนนั้น จะไม่เห้นอะไรมาก
เราจะเห็นแต่ความสุข ความสงบ ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสพติดอารมณ์อย่างนั้น
การเฝ้าดุจิตใจนั้น ต้องดูไปตามความเป้นจริง
ในชีวิตประจำวันมันแสดงอะไรออกมา เราก้ดูไปตามความเป็นจริงที่มันแสดงให้เราดู


ลองศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ
http://www.watnongpahpong.org/ebooks/ch ... _Heart.php
http://www.watnongpahpong.org/acebooks.php

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


superwan เขียน:
คือว่าหลังจากที่ผมกลับจากการไปปฏิบัติธรรมมา
ช่วงแรกๆ รู้สึกมีความสุขและความสงบที่ใจมากๆๆ
แต่หลังจากนั้นไม่นานผมก็รู้สึกว่าจะเริ่มกลับไปเหมือนเดิม
ไปเจอกับปัญหาและงานเดิมๆ ผู้คนเดิมๆ ทำให้จิตใจเราไม่สงบเหมือนตอนไปปฏิบัติธรรม
หรือเป็นเพราะผมต้องกลับไปทำกิจการงานตามเดิมที่มีแต่ปัญหาของคนอื่นๆ ก็ไม่รู้
ทั้งๆ ที่ตอนว่างๆ จากงานผมก็พยายามฝึกสมาธิและดูจิตตัวเองทุกๆ วัน
อยากเรียนถามท่านผู้รู้ได้โปรดเมตตาแนะนำผมด้วยครับ
ว่าทำอย่างไรจึงจะรักษาใจให้ดีได้ตลอดเวลาเหมือนตอนไปปฏิบัติธรรม

กราบขอบพระคุณมาล่วงหน้า


ขออนุญาตเจ้าของกระทู้
ข้าพเจ้าจะนำคำถามของคุณไปตอบไว้ในกระทู้ "ตอบคำถามเกี่ยวกับ การปฏิบัติสมาธิ"
คุณจะได้คำตอบที่ดีและถูกต้องที่สุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบคุณ superwan เจ้าของกระทู้ดังนี้

เรื่องสภาวะของจิตใจที่คุณบอกว่าตอนไปปฏิบัติธรรมแล้วสงบ แต่พอกลับมาทำงานจิตใจไม่สงบ เป็นเพราะกลับมาเจอสภาพเดิมๆ อีกหรือเปล่าฯ...

คำถามที่คุณตั้งขึ้น คุณเองได้เกิดปัญญาพบคำตอบบ้างแล้วครับ ดังนั้นผมจะตอบขยายความเพิ่มเติมให้ และแนะนำสิ่งที่ยังขาดเพื่อคุณจะได้นำไปปฏิบัติให้เจริญในธรรมได้ต่อไป

การที่คุณจิตใจสงบตอนไปสถานที่ปฏิบัติธรรม กับใจของคุณไม่สงบตอนคุณกลับมาเจอสภาพเดิมๆ เป็นเพราะสถานที่ปฏิบัติธรรมเป็นอะไรที่สบาย เหมาะสม เกื้อกูล อำนวยแก่การฝึกสมาธิทำให้จิตใจสงบ เรียกว่า "สัปปายะ" นั่นเอง ไม่เฉพาะสถานที่บรรยากาศเท่านั้น แม้แต่บุคคล อาหาร กิจการงานก็เป็นไปอย่างเกื้อกูลเช่นเดียวกัน เช่น บุคคลต่างๆ ก็เป็นผู้มีศีลสำรวมกาย-วาจา-ใจ, อาหารก็หาง่าย และกินไม่มากไป-น้อยไป, กิจการงานก็ไม่มีอะไรมากมายให้วุ่นวาย

ส่วนการอยู่ในที่ทำงาน เป็นอะไรที่ไม่สัปปายะในตัวอยู่แล้ว มากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่สถานการณ์ บางทีถึงกับตรงกันข้ามกับที่กล่าวไปข้างต้นแทบทั้งหมด จึงทำให้เป็นธรรมดาที่ความสงบในใจคุณจะต้องเสื่อมไป คลายไป ดับไป แม้ว่าคุณจะพยายามฝึกสมาธิ และดูจิตตัวเองทุกๆ วันก็ตามที อาจยังไม่มากพอ อาจไม่แตกต่างจากกับการที่คุณพักไปฝึกที่สถานปฏิบัติแล้วกลับมาเจอสภาพเดิมๆ ตรงนี้ คุณไม่ต้องไปคิดมาก...

เพราะแม้แต่โยคีย์ พระสงฆ์เองที่ได้เจโตวิมุติ(ฌานสมาบัติ) ข่มกิเลสให้ระงับลงได้ชั่วคราวด้วยกำลังของสมาธิก็ยังคงสู้กระแสของโลกียะไม่ได้ ฌานกลับเสื่อมไปเมื่อมาอยู่ท่ามกลางแห่งกามคุณก็มี นับประสาอะไรกับเราผู้ครองเรือนเล่า ดั่งถ้อยคำที่ว่า

"ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี การอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่ายฯ"

แต่ทั้งหมดนี้ที่กล่าวไปไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางแก้ไข ทางแก้ไขมีอยู่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในสมัยพุทธกาลก็มีมิใช่น้อยเช่นเดียวกัน ที่ฆราวาสผู้ครองเรือนยังสำเร็จมรรค-ผล-นิพพานได้ แต่ทางแก้ไขนี้จะไม่ใช่วิธีการใด วิธีการหนึ่งตายตัว และอาจไม่เหมือนกันในแต่ละบุคคล แต่ละช่วงเวลา แต่ละยุคสมัย แต่ถึงอย่างไร ท่ามกลางวิธีการแก้ไขอันหลากหลายนี้ ย่อมมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ "จะไม่ให้เสื่อมได้ ต้องบรรลุธรรมแล้วเท่านั้น" อย่างน้อยตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ณ เวลานี้ ปัจจุบันนี้ ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่วุ่นวาย สภาพแวดล้อมอึกทึกครึกโครม ผู้คนมากมายที่ไม่มีศีล วิธีการแก้ไขอันเหมาะสม ที่จะแนะนำ คือ เปลี่ยนจากวิธีเดิม คือ "วิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า" ที่ใช้อยู่มาเป็น "การเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า" หรือ "การเจริญสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนา" เป็นหลักแทนนั่นเอง ณ ที่นี้ เพื่อไม่ให้คำตอบยาวเกินไป ผมขอแนะนำเฉพาะวิธีการแรกแต่โดยย่อเท่านั้น ดังนี้

วิธีการเจริญสมถะอันมีวิปัสสนานำหน้า คือ การหมั่นพิจารณาขันธ์ห้าอยู่เนื่องๆ เพื่อให้ใจทำลายอวิชชาด้วยวิชชาที่เกิดปัญญาเห็นแจ้งสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงว่าเป็นเพียงไตรลักษณ์ ให้จิตละหรือหมดจากตัณหา คือ ความอยาก ให้จิตสละออกจากอุปทาน-ความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ เมื่อเราพิจารณาเนื่องๆ จิตจะเกิดสภาวะปล่อยวางขึ้น เมื่อจิตเกิดความปล่อยวางแล้ว ให้พยายามรักษาความปล่อยวาง พยายามให้มีความปล่อยวางให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ให้จิตมีความปล่อยวางเป็นอารมณ์ เมื่อทำได้ดีอย่างนี้มากๆ เข้าจิตจะไม่วุ่นวายกลายมาเป็นความสงบเกิดสมาธิแนบแน่นเป็นฌานขึ้นในภายหลังได้ขณะบรรลุมรรคผล ที่นี้เมื่อบรรลุมรรคผลแล้วสมาธิของคุณก็จะไม่เสื่อมอีกต่อไป ทำอะไรในชีวิตประจำวันจะมีทั้งฌานและญาณอยู่ควบคู่กันไปในตัว แนวทางปฏิบัตินี้เหมาะมากสำหรับผู้ครองเรือน คนเมือง คนทำงานเพราะทำได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะตอนทำงาน ตอนเวลาส่วนตัว ตอนอยู่กับครอบครัวเพื่อนฝูง ไม่เกี่ยวกับสถานที่ว่าจะเงียบสงบหรือไม่ ทำได้ทุกที่ครับ

ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าห้ามคุณเลิกฝึกสมถะ(ฝึกสมาธิ) ไปเสียเลย คุณยังคงจะแบ่งเวลาบางส่วนของคุณในแต่ละวันเพื่อไปฝึกสมาธิได้อยู่เช่นเดิม เพียงแต่ว่าให้เราไม่ได้เน้นเป็นหลักว่าจะต้องสงบเป็นฌานแต่อย่างไร ไม่ได้อยากให้สงบ ไม่ได้หวังว่าจะต้องสงบอีก เราฝึกสมาธิเพื่อสะสมพลังจิต เพื่อใช้เป็นฐานช่วยในตอนเจริญวิปัสสนาระหว่างวัน หรือใช้เพื่อพักผ่อนยามจิตเหน็ดเหนื่อยจากการเจริญวิปัสสนามาแล้วทั้งวัน ตรงนี้กลับกลายเป็นว่าตอนฝึกสมาธิ สมาธิก็เจริญก้าวหน้าตั้งมั่นได้ง่ายขึ้นดีกว่าเดิมอย่างเป็นธรรมชาติ เพราะเหมือนมีการรักษาใจให้สงบมาก่อนอยู่เนื่องๆ แล้วในระหว่างวัน เป็นอันว่าวิปัสสนากับสมถะส่งเสริมซึ่งกันและกัน

แต่ถ้าหากคุณไม่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงแนวทาง ยังยินดีที่จะเจริญในแนวทาง "วิปัสสนาอันมีสมถะนำหน้า" อยู่เช่นเดิม คุณจะต้องยอมรับความจริง ทำใจให้ได้ว่าคุณยังต้องเจอปัญหาสมาธิเกิดๆ เสื่อมๆ อย่างนี้ต่อไป ยอมรับไปอีกว่าสมาธิมีสงบ ก็มีเสื่อมได้ และพยายามควบคุมความอยากได้ความสงบที่ยังไม่ได้ หรือความสงบที่ได้ดับไปแล้ว ที่สำคัญเป็นพิเศษให้คุณพยายามทำตามสิ่งต่อไปนี้ให้มีมากที่สุด เพื่อช่วยเป็นปัจจัยให้คุณสำเร็จสมาธิเร็วยิ่งขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฏก "สุตสูตร" พระพุทธเจ้าทรงสอนถึงหลัก 5 ประการที่ช่วยให้ผู้เจริญอานาปานสติสำเร็จได้ในเวลาไม่นาน ซึ่งหลักดังกล่าวพิจารณาดูแล้วสามารถนำไปใช้ในกรรมฐานอื่นๆ ได้อีกด้วย (แม้แต่เอาไปช่วยเสริมในแนวทาง "สมถะมีวิปัสสนานำหน้า" ที่กล่าวไปข้างต้น) ผมสรุปมาดังนี้

1. มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต (ยุ่งเกี่ยวกับกามคุณน้อย และไม่คำนึงอยากในกามทั้งในอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต)
2. ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากท้อง
3. ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ (นอนน้อยเท่าที่จำเป็น ปฏิบัติให้มาก)
4. ย่อมเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ
แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
5. ย่อมพิจารณาจิต ตามที่หลุดพ้นแล้ว


เมื่อคุณได้กระทำตามหลัก 5 ประการดังกล่าวข้างต้น ย่อมเป็นอันว่าคุณได้สร้างปัจจัยอันส่งเสริมให้จิตใจสงบเกิดขึ้นครับ แล้วถ้าเกิดคุณได้สมาธิเป็นฌานแล้ว ขอให้คุณรีบหมั่นเจริญวิปัสสนา หมั่นพิจารณาขันธ์ห้า หรือองค์ฌาน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในฌาน หรือสิ่งที่รับรู้ได้นอกฌานด้วยกำลังฌาน (ในยามปกติทั่วไป) เพื่อให้สำเร็จโสดาปัตติผลเป็นต้นไป แล้วทีนี้สมาธิของคุณจะไม่เสื่อมอีกครับ

เท่าที่ตอบมาคงจะเกิดประโยชน์กับคุณบ้างไม่มากก็น้อย ลองนำไปพิจารณาหากเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็นำไปประยุกต์ปฏิบัตินะครับ

ขอให้เกิดปัญญาเห็นธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2008, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 00:05
โพสต์: 79


 ข้อมูลส่วนตัว


กราบขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาสละเวลามาตอบปัญหาให้กับผมครับ
ขอให้ทุกๆท่านได้พบเจอแต่สิ่งดีๆและได้มรรคผลนิพพานน่ะครับ :b8:
และผมขอน้อมรับทุกๆคำแนะนำเพื่อไปพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้นไปครับ
ขอบพระคุณมากๆๆครับ :b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 142 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร