วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 19:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


superwan เขียน:
ทำไมเวลานั่งสมาธิจึงรู้สึกตัวเอียงๆเอนๆบ่อยๆ
แล้วบางครั้งก็มึนๆหัวเหมือนจะง่วงนอนครับ(ประสาทเริ่มไม่ทำงาน)
แต่รู้สึกตัวดีตลอดเวลาเลยครับ (นั่งครั้งละประมาณ30นาทีครับ) :b10: :b10:
และพยายามดูจิตไม่ให้คิดเรื่องอะไรเลยครับนอกจากกำหนดลมหายใจเข้าออก
ต่างกับเวลาเดินจงกรมจะมีสติและไม่ง่วงนอนและรู้สึกตัวดีมากๆ
อยากเรียนถามท่านผู้รู้ช่วยเมตตาตอบให้ด้วยครับ
และผมควรฝึกแบบไหนดีครับ
ขอบพระคุณมากครับ :b3: :b1:


ตอบ...
นั่งสมาธิ หรือปฏิบัติ สมาธิ คือ
การเอาใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ การเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

เพื่อควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก

คำว่า ควบคุมความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ขณะ นั่งสมาธิ หรือปฏิบัติ สมาธิ คือการ ควบคุม มิให้คิด มิให้เกิดอารมณ์ และไม่เกิดความรู้สึก
คำว่า ไม่ให้เกิดความรู้สึก หมายความว่า ตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว เมื่อมีสิ่งใดไม่ว่าจะเป็นภายใน หรือจากภายนอก ย่อมทำให้เกิด อารมณ์ หรือ ความรู้สึก ดังนั้น เมื่อเกิดความรู้สึก หรืออารมณ์ ต้องควบคุมมิให้เกิดความคิด เพราะเมื่อ เกิดอารมณ์ หรือ ความรู้สึก ย่อมต้องเกิดความคิดตามมา อนึ่งคำว่าสัมผัสจากภายใน ก็คือความคิดที่ผุดขึ้น หรือเกิดคิดเนื่องจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ มักจะมีการวิตกวิจารณ์ ปีติ สุข คือทบทวนสิ่งที่ตัวเองได้ประสบ ได้สัมผัส หรือได้กระทำไม่ว่าจะในอดีต หรือปัจจุบัน
ถ้าจะอธิบายให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็คือ
การนั่งสมาธิ หรือ การปฏิบัติ สมาธิ คือการควบคุมมิให้เกิด ความรู้สึก อารมณ์ และความคิด โดยการเอาใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ โดยการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ โดยการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อยู่ตลอดเวลา

เมื่อนั่งสมาธิ หรือปฏิบัติสมาธิ อยู่เป็นนิจ และดีแล้ว ย่อมเกิดผล
ผลแห่งการนั่งสมาธิ หรือปฏิบัติสมาธิ คือ ความมีสติ สัมปชัญญะ อยู่ตลอดเวลา ในขณะทำกิจการใดกิจการหนึ่ง ฯลฯ
อย่างนี้เป็นต้น
สรุป....
การนั่งสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธิ เป็น ผลแห่งการได้เรียนรู้ตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา หรือเป็นผลแห่งความต้องการทีีเกิดจากสภาพสภาวะจิตใจที่ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า "พรหมวิหารสี่" และโดยอนุโลมจัดอยู่ในสภาพสภาวะจิตใจที่เรียกว่า" อิทธิบาทสี่
การนั่งสมาธิ หรือการปฏิบัติ สมาธิ เมื่อเป็นผลแล้ว ก็ยังเป็นมรรค คือเป็นหนทาง ในอันที่จะทำให้เกิดผล คือ ความมีสติสัมปชัญญะ อันจักเป็นปัจจัยทำให้เกิดปัญญา เมื่อเราได้เรียนรู้ หรือต้องการทำความเข้าใจในหลักธรรมะหรือหลักวิชชาใดใด อันนับเข้าในวิปัสสนา
เหตุเพราะ สมองหรือระบบทางสรีระร่างกายได้รับการฝึกฝน จึงทำให้เกิดปัญญา ได้ด้วยง่าย และดีกว่าผู้ไม่มีสมาธิที่ดี หรือผู้ที่มีสมาธิสั้นและปานกลาง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2008, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หัวข้อกระทู้: หลังจากกลับจากการไปปฏิบัติธรรมโพสต์: วันนี้, 16:40


superwan
ผู้ตั้งคำถาม

" คือว่าหลังจากที่ผมกลับจากการไปปฏิบัติธรรมมา
ช่วงแรกๆ รู้สึกมีความสุขและความสงบที่ใจมากๆๆ
แต่หลังจากนั้นไม่นานผมก็รู้สึกว่าจะเริ่มกลับไปเหมือนเดิม
ไปเจอกับปัญหาและงานเดิมๆ ผู้คนเดิมๆ ทำให้จิตใจเราไม่สงบเหมือนตอนไปปฏิบัติธรรม
หรือเป็นเพราะผมต้องกลับไปทำกิจการงานตามเดิมที่มีแต่ปัญหาของคนอื่นๆ ก็ไม่รู้
ทั้งๆ ที่ตอนว่างๆ จากงานผมก็พยายามฝึกสมาธิและดูจิตตัวเองทุกๆ วัน
อยากเรียนถามท่านผู้รู้ได้โปรดเมตตาแนะนำผมด้วยครับ
ว่าทำอย่างไรจึงจะรักษาใจให้ดีได้ตลอดเวลาเหมือนตอนไปปฏิบัติธรรม"

กราบขอบพระคุณมาล่วงหน้า

ตอบ....
การที่บุคคลเป็นจำนวนมาก เกิดมีอาการอย่างเดียวกับที่คุณเล่ามา เพราะเขาทั้งหลายเหล่านั้น รวมทั้งตัวคุณไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติ ธรรม (ในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติสมาธิ) อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังไม่รู้จักนำหลักการปฏิบัติธรรม(สมาธิ)มาใช้ในการทำงาน และเมื่อเลิกการทำงานแล้ว จะเรียกว่า ไม่มีปฏิภาณไหวพริบก็ว่าได้ หรือจะเรียกว่า ไม่รู้ก็ว่าได้ เพราะถ้าข้าพเจ้าไม่สอน ก็คงไม่รู้กันอยู่นั่นแหละ ตอบกันส่งเดช ตามแต่ความคิดของใครของมัน ไม่มีบรรทัดฐาน ไม่ได้ใช้หลักการ หรือหลักปฏิบัติที่ได้ร่ำเรียน ได้ไปปฏิบัติมาใช้ รู้แต่ว่า เวลาปฏิบัติธรรม ก็คือการนั่งสมาธิ ไม่เข้าใจในหลักการปฏิบัติสมาธิ ทั้งที่เป็นหลักวิชชาการ และหลักปฏิบัติ อย่างถูกวิธี บุคลลากรที่มีอยู่ก็มัวแต่หลง อวดอุตริ(นี้ไม่ใช่เป็นการต่อว่า หรือให้ร้ายนะขอรับ) คิดเอง ทำเอง หลงมัวเมา ไม่เป็นไปตามหลักความจริง ไม่เป็นไปตามหลักธรรมชาติ
ถ้าคุณผุ้ถาม คำถามข้างต้น ได้อ่านหลักการหรือวิชาการ หรือหลักการเบื้องต้น แห่งการปฏิบัติสมาธิ ที่ข้าพเจ้าได้สอนไว้แล้ว อาจจะเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถขจัดความว้าวุ่น หรือจิตใจไม่สงบที่เกิดขึั้นได้
เพราะ ตามธรรมดาหรือ ตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ไม่ว่าบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นจะอยู่ ณ.ที่แห่งไหน เชื้อชาติใด หรือศาสนาใดใด ก็ตาม ล้วนย่อมต้องมีสมาธิ ล้วนย่อมได้รับการฝึกสมาธิ ตามสภาพสังคมสิ่งแวดล้อม อาจจะกล่าวว่า ทุกคนล้วนมีการฝึกสมาธิ มาตั้งแต่เกิด หรือตั้งแต่จำความได้

เพราะตามหลักวิชชาการแห่งพุทธศาสนาแล้ว การนั่งสมาธิ หรือการปฏิบัตสมาธิ (เป็นการปฏิบัติธรรมแขนงหนึ่ง) คือ
"การควบคุมมิให้เกิด ความรู้สึก อารมณ์ และความคิด โดยการเอาใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ โดยการเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ โดยการเอาใจเข้าไปผูกอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง"ตลอดเวลาที่ปฏิบัติ


หากท่านทั้งหลายรวมไปถึงตัวผู้ตั้งคำถาม ได้พิจารณาหลักวิชชาแห่งการปฏิบัติสมาธิข้างต้นนี้แล้ว ก็จะพบว่า การปฏิบัติสมาธิ ตามหลักศาสนาพุทธ มิได้มีวงจำกัด หรือจำกัดให้เฉพาะต้องนั่ง หรือเดินจงกรม แต่เพียงกลุ่มเดียว ไม่ว่าคุณจะทำกิจการใดใด ทำงานใดใด หรือมีพฤติกรรมใดใด อันเป็นไปตามหลักวิชชา คือ เอาใจจดจ่อ เอาใจฝักใฝ่ เอาใจเข้าไปผูกอยู่ หรือ จะกล่าวเป็นศัพท์ภาษาตามค่านิยมของสังคมทั่วๆไป ว่า สนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิ ย่อมเกิดขึ้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า มนุษย์ มี สมาธิ หรือได้รับการฝึกสมาธิ เป็นธรรมชาติ โดยสภาพสิ่งแวดล้อมในการสังคม ในการเป็นอยู่ของเขาทั้งหลายเหล่านั้นอยู่แล้ว

แล้วทำไมคุณถึงเกิดอาการที่คุณกล่าวมา สาเหตุที่สำคัญคือ คุณไม่รุ้หลักวิชชาเกี่ยวกับปฏิบัติสมาธิที่ถูกต้อง อีกทั้งยังไม่สามารถนำหลักวิชชา หรือวิธีการปฏิบัติสมาธิ มาใช้ในชีวิตประจำวันของคุณ
คุณลองคิดย้อนหลังไปซิว่า เมื่อเวลาคุณไปฝึกปฏิบัติธรรม อะไรของคุณนั้น คุณปฏิบัติ ตลอดวัน ตลอดเวลาหรือไม่ มีช่วงไหนบ้าง ที่คุณหยุดปฏิบัติ และคุณเริ่มปฏิบัติใหม่อีกเมื่อใด
การทำงานใดใด ของคุณ ก็เช่นกัน หากคุณได้อ่าน ได้เรียนรู้ ตามหลักวิชชา แห่งการปฏิบัติสมาธิแล้ว และมีความเข้าใจแล้ว คุณก็จะรุ้ว่า เวลาใดควรเอาใจจดจ่อ เอาใจฝักใฝ่ หรือเอาใจเข้าไปผูกอยู่ ฯ และเวลาใดคุณควรหยุดการเอาใจจดจ่อ เอาใจฝักใฝ่ หรือเอาใจเข้าไปผูกอยู่
เพราะไม่มีใครปฏิบัติธรรมตลอดเวลา โดยไม่ไปทำกิจวัตรส่วนตัว และก็ย่อมไม่มีใครที่จะสนใจในงานที่ทำจนไม่สนใจเวลาไหนเลิกงาน เวลาไหนทำงาน
อีกประสุดท้าย
การปฏิบัติสมาธิ (ปฏิบ้ติธรรม) หรือการนั่งสมาธิ ต้องทำต้องปฏิบัติอยู่ประจำจะทุกวัน หรือขึ้นอยู่กับเวลาจะอำนวย ไม่ใช่ฝึกปฏิบัติ 3 วัน 7 วัน แล้วจะดี จะสบายใจไปตลอด เขาฝึกปฏิบัติกันเป็น 10 (สิบ)ปี ก็ยังต้องปฏิบัติ อยู่เป็นประจำ เนื่องจากระบบการทำงานของสรีระร่างกายของมนุษย์นั้น หากได้รับข้อมูลใดมาก ความเคยชินก็จะเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับ
อ่านแล้ว ทำความเข้าใจ ก็จะดีไปเองขอรับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 149 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร