วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 21:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2008, 20:08 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ย. 2008, 17:29
โพสต์: 191

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมทำวิปัสสนาไม่สำเร็จ เพราะมันไม่มีความถูกต้องไม่มีอินทรีย์ห้าที่ถูกต้อง แล้วมันก็ไม่มีความแข็งแกร่งทางกาย คือศีล ไม่มีความแข็งแกร่งในทางจิตคือสมาธิ แล้วมันก็ไม่มีความแข็งแกร่งทางสัมมัตตะ คือความถูกต้อง มันก็ไม่มีความแข็งแกร่งทางสติปัญญาหรือทิฏฐิ ความคิดความเห็น แล้วมันก็ไม่มีความแข็งแกร่งในทางที่จะไม่มีอารมณ์ไม่มีอารมณ์มันสู้อารมณ์ไม่ได้มันมีอารมณ์เสียเรื่อยมีอารมณ์เหลือเฟือนี่มันก็ไม่มีทางที่จะนิพพานได้ โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

ในความคิดของทุกท่านท่านคิดว่าสิ่งใดบ้างที่ตัวท่านคิดว่าทำให้การทำวิปัสสนาล้มเหลว






โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2008, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


กระผมว่า มิจฉาทิฏฐิครับที่เป็นตัวปิดกั้นความสำเร็จ เป็นบ่อเกิดแห่งความไม่แข็งแกร่งต่างๆที่ยกมา เพราะสิ่งต่างๆที่ยกมานั้นหากตั้งอยู่บนมิจฉาทิฏฐิแล้ว ก็เหมือนบ้านที่สร้างบนรากฐานที่ไม่แข็งแรง ย่อมรอวันที่จะพังทลายลงมา การที่จะปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จจึงต้องตั้งอยู่บน สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) ซึ่งเป็นข้อแรกของมรรคมีองค์แปด และเป็นบาทฐานของมรรคองค์ต่อๆไป ...... :b12: :b12:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


สาเหตุที่ทำให้วิปัสสนาล้มเหลว คือ

ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว เราทุกคนไม่มีนิสัยสันดานที่แท้จริง คนที่โกรธง่าย มักมากในกามมาก ฯลฯ
ล้วนเป็นนิสัยปลอมๆที่เขาสร้างขึ้นมาเองทั้งสิ้น ขั้นแรกเราต้องทำให้นิสัยสันดารปลอมๆชะลอลงงก่อน
เช่น เป้นคนชอบโกรธ ก็จำเป็นต้องทำสมถะด้านพรหมวิหาร 4 ลงอารมณืโกรธตนเองลง จึงค่อย
ทำวิปัสสนาในขั้นต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 พ.ย. 2008, 07:35
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนท่านเจ้าของกระทู้
ผมขอตอบตามสติปัญญาผู้รู้น้อยหากผิดพลาดประการใดโปรดอภัยด้วย
ก่อนอื่นผมขอถามว่า
1. ท่านเอาอะไรมาวัดว่าล้มเหลว
2. ท่านทำความเพียรมากแค่ไหน วันหนึ่งทำกี่นาที กี่ชั่วโมง ใน 24 ชม ทำความเพียรเท่าไหร่
3. คำว่า " ความเพียร" ท่านเข้าใจมากน้อยแค่ไหน
ในการทำวิปัสนานั้นนะครับ เป็นขั้นที่สูงแล้วตามปริญัติ หรือตำราท่านว่า เป้นการพิจารณาใคร่ควร หาเหตุหาผล จนเป้นที่เข้าใจในอย่างแจ่มแจ้งใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือต้องผ่าน ความสงบ จนเกิดเป็นสมาธิ เป็นเอตคตารมณ์ ผ่านทุกอย่าง แล้วค่อยยกจิตขึ้นพิจารณา นะครับผมการทำวิปัศสนาคือการทำความเพียรทางจิต ที่เป้นโดยอัตโนมัติ ถ้าอย่างเราๆๆท่านๆที่เป็นเรียนสำนักนั้น สำนักนี้ นั้นเป้นการหาอุบายเพื่อให้เกิดความสงบ หรือจะเรียกว่า วิปัสสนา ตามแบบความจำได้หมายรู้ก็ได้ ไม่ใช่วิปัสสนา ที่แท้จริง ที่เกิดจากการเข้าใจด้วยปัญญา ด้วย ความแจ่มแจ้งอย่างแท้จริง อันนี้ผมขออนุญาตพูดตามหลักการปฎิบัตนะครับผม ถ้าถึงขั้นนี้แล้วมันจะไม่เสื่อมแล้วครับ มีแต่จะทำความเพียรเพื่อเผากิเลสต่อไปเรื่อยๆๆ ให้มันหมดสิ้นครับ
แต่ผมก็อนุโมทนาในการปฎิบัติของท่านนะครับ อย่าท้อถอย หลวงพ่อ หลวงปู่ผมเคยบอกว่า การที่เราจะเป็นยอดคนได้ต้องเจอทุกอย่าง อุปสรรคต้องมีถ้าไม่มี ธรรม ไม่เกิด ทั้งในทางโลกหรือทางธรรมเหมือนกัน ทางโลก ถ้าไม่มีอุปสรรค ก็ไม่มียอดคน ทางธรรมเหมือนกันถ้าไม่ล้มลุกคลุกคลานเราจะเจอะเจอหรือ ธรรมะ ตัวนั้นหรือครับผม ผมก็เจอปัญหาเหมือนกันพยายามเหมือนกัน บางวันร้องไห้ ในทางจงกรม บางวันก็ท้อแท้เหมือนกัน แต่ก็ต้องทำ ถึงเวลาต้องทำ ให้เป็น ปฎิปทา เพราะอยากพ้นทุกข์
ขออวยพรให้เจอะเจอะ ค้นหาตัวตนตัวเองให้เจอนะครับผม เจอแล้วมันจะแช่มชื่น เหมือนดอกไม้บาน เหมือนความรักของคนหนุ่มสาวแรกรัก มันอธิบายไม่ถูก พยามยามนะครับผม ดีแล้วยังรู้ตัวว่าล้มเหลว ยังดียังดีที่มีตัวรู้อยู่
ขออนุโมทนา
ศิษย์วัดป่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2008, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ต้องฝืนใจทำ และอยู่ในความไม่ประมาท 9 ประการ :b44: :b41:
ต้องใช้สติปัฏฐาน 4 ให้มากๆ เพราะเป็นตัวอยู่ในมรรค8 ซึ่งก็คือสัมมาสติและสัมมาสมาธิ
ซึ่งนำไปสู่การพ้นทุกข์ได้ :b40: :b39: :b42:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ย. 2008, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ใน สัมมัตตะ10 ซึ่ง ประกอบด้วย
มรรค มีองค์แปด
ผล คือ สัมมาญาณะ
นิพพาน คือ สัมมาวิมุติ

มรรคทีมีองค์แปด
ประกอบด้วย องค์ธรรมที่จัดเป็น วิปัสสนา(ในภาคปฏิบัติ) หรือ อธิปัญญาในไตรสิกขา คือ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ
นอกนั้น อีก6ข้อ(สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) นับเนื่องใน สมถะ

ผล คือ สัมมาญาณะ ที่เป็นวิปัสสนา(เป็นวิปัสสนาที่แท้จริง หรือ วิปัสสนาญาณ)

วิปัสสนา จึงมีอยู่ สองส่วน คือ วิปัสสนาในอริยมรรค และ วิปัสสสนาในอริยผล



ถามว่า ทำไมวิปัสสนาจึงล้มเหลว??

ท่านพุทธทาส ท่านกล่าวเอาไว้ชอบแล้ว ว่าเป็น เพราะ ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่เข้มแข็ง

ลำพัง จะเอาแต่เฉพาะ ปัญญา อย่างเดียว โดยไม่ยืนอยู่บนพื้นฐานของ ศีล และ สมาธิ มันเป็นไปไม่ได้หรอก

การที่วิปัสสนาจะเจริญได้ คือ พัฒนา จาก วิปัสสนาในอริยมรรค ไปสู่ วิปัสสสนาในอริยผล นั้น... มันต้องผ่าน ศีล (อธิศีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ) และ สมาธิ(อธิจิตสิกขา คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) ตามที่ปรากฏใน มหาจัตตารีสกสูตร



..............................


เสนอลองอ่าน

โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


คำว่า วิปัสสนานี่มีอยู่ ๒ ขั้นตอน

ขั้นต้น คือ วิปัสสนาที่ใช้สติปัญญากำหนดพิจารณาเอาเองด้วยความตั้งใจ
เช่น เราจะพิจารณาร่างกายให้เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
หรือพิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ น้อมไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียนรู้มานั้นมานึกเอา เรียกว่า การเจริญวิปัสสนาแบบใช้สติปัญญาแบบธรรมดา ๆ โดยการพิจารณาเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง โดยความรู้สึก นึกคิดเอาเองนี่แหละ

เป็นการตกแต่งปฏิปทา เพื่อให้จิตสงบลงเป็นสมาธิ แล้วจะเกิดวิปัสสนาขึ้นมาโดยอัตโนมัติจะปฏิวัติไปสู่ภูมิรู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


จงทำความเข้าใจว่า

ถ้าสมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไรท่านจะไม่ได้วิปัสสนา

เพราะวิปัสสนามีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ

ถ้าสมถะคือ สมาธิไม่เกิดขึ้น ท่านจะได้แต่วิปัสสนาแบบนึกคิดเอาเอง เป็นวิปัสสนาภาคปฏิบัติเท่านั้น.... ยังไม่ใช่ วิปัสสนาที่แท้จริง






..............................................................



ปล...

ความเห็นส่วนตัว น่ะครับ


มันมีอยู่3คำ ที่ผมอยากเสนอให้ เทียบเคียงกับในระดับพระสูตร

1.วิปัสสนาภาคปฏิบัติ เป็นการอาศัยการนึกคิดเอา ยังไม่ใช่ปัญญาญาณหยั่งรู้อย่างแท้จริง. ตรงกับ อธิปัญญาในขั้นอริยมรรค ได้แก่ สัมมาทิฏฐิระดับอนาสวะ และ สัมมาสังกัปปะระดับอนาสวะ

2.สมถะ...ความจริง สมถะ นั้นนับรวม อธิศีลสิกขา และ อธิจิตสิกขา...แต่ ในที่นี้ น่าจะหมายเอา สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค. หรือ ที่เรียกว่า โลกุตรฌาน เลย
(อย่าเพิ่งไปคิดถึง คำว่า"สมถะ"ในสมถกรรมฐาน40กอง.... เป็นคนล่ะอย่างกันแน่นอน)

3.วิปัสสนาที่แท้จริง ซึ่งนี่ คือ ปัญญาญาณหยั่งรู้อย่างแท้จริง หมายเอา สัมมาญาณะ อันเป็น อธิปัญญาในขั้นอริยผล



เสนอ พิจารณา มหาจัตตารีสกสูตร เทียบเคียงครับ


[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร

คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ จึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึง พอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้


จะเห็นได้ว่า

คำว่า "วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ" ที่ยังอาศัยการนึกคิดเอา ตรงกับ อธิปัญญาในขั้นอริยมรรค(สัมมาทิฏฐิระดับอนาสวะ และ สัมมาสังกัปปะระดับอนาสววะ)

คำว่า "สมถะ"ในองค์แห่งอริยมรรค ตรงกับ สัมมาสมาธิ

คำว่า "วิปัสสนาที่แท้จริง" ที่เป็นญาณหยั่งรู้ การบรรลุมรรคผล ตรงกับ สัมมาญาณะ





อ้างคำพูด:
ถ้า สมาธิหรือสมถะไม่เกิดขึ้น ท่านจะเจริญวิปัสสนาอย่างไรท่านจะไม่ได้วิปัสสนา


ผมเข้าใจว่า

ตรงจุดนี้ ไม่ใช่หมายถึงว่าทุกท่านต้องไปฝึกสมถกรรมฐาน(แบบ สมถกรรมฐาน40กองของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาล)มาก่อนจนบรรลุฌาน แล้วจึงค่อยมาเจริญวิปัสสนา... จึงจะได้วิปัสสนา น่ะครับ

ผมเห็นว่า คำว่า"สมถะ"ที่หลวงพ่อท่านกล่าวตรงนี้ คือ สัมมาสมาธิ.... ซึ่งจะนำไปสู่ สัมมาญาณะ หรือ วิปัสสนาที่แท้จริง

คำว่า วิปัสสนาในประโยค"ท่านจะไม่ได้วิปัสสนา" หมายเอา วิปัสสนาที่แท้จริง หรือ สัมมาญาณะ นั่นเอง





อ้างคำพูด:
วิปัสสนา มีมูลฐานเกิดมาจากสมถะ คือ สมาธิ


วิปัสสนา ในคำกล่าวนี้ หมายเอา วิปัสสนาที่แท้จริง หรือ สัมมาญาณะ
สมถะ ในคำกล่าวนี้ หมายเอา สัมมาสมาธิ เช่นกันครับ
เพราะ สัมมาญาณะ มีมูลฐานมาจาก สัมมาสมาธิ




เพราะ สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ นำไปสู่ สัมมาสมาธิ(ผ่านขั้นตอนต่างๆตามพระสูตร)....
จึงอาจกล่าวได้ว่า วิปัสสนาในภาคปฏิบัติ นำไปสู่ สมถะ

และ เพราะ สัมมาสมาธิ นำไปสู่ สัมมาญาณะ....
จึงอาจกล่าวได้ว่า สมถะ นำไปสู่ วิปัสสนาที่แท้จริง

ดังนั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่า

สมถะ เป็นองค์ธรรมที่นำวิปัสสนาภาคปฏิบัติ... ไปสู่ วิปัสสนาที่แท้จริง




เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัว ต่อบทธรรมะ น่ะครับ

ถูก-ผิด ประการใด ขออภัยเพื่อนสมาชิกล่วงหน้าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2008, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีหลายปัจจัยค่ะเช่น ขาดอิทธิบาท สี่ ,ขาดความอยากที่จะทำให้สำเร็จ,ใจไม่ตั้งมั่น,
ฐานไม่แน่น ศีล สมาธิ ...,ขาดความวิเวกสงัด,ขาดอาจารย์ผู้ให้คำแนะนำ ฯลฯ

:b5: :b5: :b5:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 215 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร