ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก (ท่านพุทธทาสภิกขุ) http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=18877 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ทางเดินที่พ้นทุกข์ [ 01 พ.ย. 2008, 20:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก (ท่านพุทธทาสภิกขุ) |
![]() วันนี้อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสเจอบทความดีๆ เลยเอามาฝาก ยิ่งเรียนไตรปิฏกยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก ต้องปลดแอก จากไตรปิฏกเสียก่อนแล้วจะเข้าถึงหัวใจของไตรปิฏก ส่วนมากติดตั้งอยู่แค่เปลือกนอกของไตรปิฏก จิตจึงไม่เข้าสู่ธรรมชาติเดิมแท้ ซึ่งเป็นหัวใจของไตรปิฏกเขา ได้แต่ท่องจำและวิจัยวิจารณ์พระไตรปิฏกตามวิธีธรรมดาๆ ของการศึกษา ธรรมะนอกไตรปิฏกเข้าไปเป็นธรรมะในไตรปิฏกสัจจธรรม ของธรรมชาติถูกค้นพบแล้วนำมาสอนแล้วบันทึกไว้ จึงได้เกิดธรรมะในไตรปิฏกดังนั้นจึงมีการสอนธรรมะได้โดย ไม่เกี่ยวข้องกับไตรปิฏก โดยเฉพาะสมาธิภาวนา วิปัสสนาฌาณจากไตรปิฏกเป็นเพียง จินตามยปัญญามีกำลังอ่อนแอออดแอด ไม่เข้มเข็งเหมือนวิปัสนาจากจิตภาวนา เข็มแข็งเหมือนเพชรตัดหิน สังเกตุดูให้ดี ปลดแอกจากไตรปิฏกเสียก่อนแล้ว จึงชำแหละไตรปิฏ กก็จะได้เนื้อแท้หรือแม้หัวใจของไตรปิฏก อย่าตกใจอย่ากลัวมันมีวิธีเดียว ท่านพุทธทาสภิกขุ เจริญในธรรมทุกท่านคะ |
เจ้าของ: | nene [ 16 ม.ค. 2009, 21:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก (ท่านพุทธทาสภิกขุ) |
พระพุทธเจ้าคือกัลยาณมิตรที่ดีที่สุด เล่ม 23 หน้า 24 ...ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องเราด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน. ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตรอย่างไร? ดูก่อนอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้นไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยโสตสดับ ไม่ตั้งจิตรับรู้และประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นข้าศึก ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นมิตร. ดูก่อนอานนท์ ก็เหล่าสาวกย่อมเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึกอย่างไร? ดูก่อนอานนท์ ศาสดาในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อนุเคราะห์ แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล อาศัยความเอ็นดู แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลายว่า นี้เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่พวกเธอ นี้เพื่อความสุขแก่พวกเธอ เหล่าสาวกของศาสดานั้น ย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตรับรู้และไม่ประพฤติหลีกเลี่ยงคำสอนของศาสดา ดูก่อนอานนท์ อย่างนี้แล เหล่าสาวกชื่อว่าเรียกร้องศาสดาด้วยความเป็นมิตร ไม่ใช่เรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก. ดูก่อนอานนท์ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงเรียกร้องเราด้วยความเป็นมิตร อย่าเรียกร้องด้วยความเป็นข้าศึก ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเธอตลอดกาลนาน ดูก่อนอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอ เหมือนช่างหม้อประคับประคองภาชนะดินดิบที่ยัง ดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วๆ จึงบอก จักยกย่องแล้วๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่…. พระไตรปิฎกเป็นอาจารย์เป็นมิตรที่วิเศษที่สุด เพราะว่าไม่ว่าใครก็ต้องเอาธรรมะ จากพระไตรปิฎก มาพร่ำสอนให้ได้มีความรู้กัน เพราะในพระไตรปิฎกเป็นคำพุทธพจน์ คำสอนที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้แล้วอย่างแจ่มแจ้งนัก |
เจ้าของ: | ชาติสยาม [ 17 ม.ค. 2009, 12:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก (ท่านพุทธทาสภิกขุ) |
ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก ก็เป็นเพราะเกาไม่ถูกที่คัน คือปริยัติ ที่ไม่สอดคล้ิองกับปฏิบัติ เรียนอันที่ปฏิบัติไม่ได้ ผิดขั้น ผิดธรรมชาติ ยิ่งคิดยิ่งไม่รู้ เปรียบเทียบอย่างนี้ว่า บวกลบคูนหารยังไม่ถูก แต่คิดจะถอดสมการระดับปริญญาเอก อยากเข้าใจความรู้ของปริญญาเอก แต่พื้นความรู้ยังเป็นอนุบาลอยู่ เหมือนหลวงปู่ดูลย์พูดว่า "คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้ " ซึ่งผมขอตีความสองนัยย์อย่างนี้ว่า นัยย์แบบกว้างๆ คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ - ปริยัติเท่าไหร่ก็ไม่ทีทางจะเข้าใจอย่างถ่องแท้จริงๆ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้ - หยุดวุ่นวายกับตำราแล้วลงมือปฏิบัติ จึงจะเข้าใจ นัยย์ของการปฏิบัติ คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ - คิดไปเรื่อยๆ ไม่รู้ตัวรู้ใจว่ากำลังคิด ไม่มีสติ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ - เมื่อเกิดสติ จึงเกิดความรู้ตัว (ว่ากำลังคิด ซึ่งก็คือมีสติเห็นเจตสิก เมื่อเกิดสติ เจตสิกจึงดับลง) แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้ - หากปราศจากความคิด เราย่อมไม่รู้ว่ากำลังคิด ความคิดเป็นเจตสิกอย่างหนึ่ง เป้นธรรมชาติอย่างหนึ่งของจิต คิดแล้วปรุงต่อเป้นทุกข์ หากปราศจากจิตที่แสดงธรรมชาติอย่างนี้ออกมา เราย่อมไม่เห็นอริยสัจ หากไม่เห็นประบวนการอย่างนี้ ย่อมไม่เห็นสมุทัย ไม่เห็นทุกข์ เพราะมีความคิด(เจตสิก) จึงรู้(เกิดสติ) |
เจ้าของ: | เทพกระบี่ [ 18 ม.ค. 2009, 18:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก (ท่านพุทธทาสภิกขุ) |
อนุโมทนาครับ วางธรรมสู่ธรรม |
เจ้าของ: | ศิณอนงค์ [ 19 ม.ค. 2009, 10:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก (ท่านพุทธทาสภิกขุ) |
กำลังแก้ไขข้อความ เรียงใหม่ค่ะ เพราะเรียงประโยคผิด ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ศิณอนงค์ [ 19 ม.ค. 2009, 10:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก (ท่านพุทธทาสภิกขุ) |
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอทุกท่านตั้งใจอ่าน เพื่อประโยชน์แห่งธรรม พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 28 ในสัจจะ ๔ เหล่านั้น สัจจะ ๒ ชื่อว่า เป็นธรรมลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยาก. สัจจะ ๒ ชื่อว่า เห็นได้ยาก เพราะเป็นธรรมลุ่มลึก. จริงอยู่ ทุกขสัจจะ ก็ปรากฏได้ เพราะความเกิดขึ้น ย่อมถึงแม้ซึ่งอันตนพึงกล่าวว่าทุกข์หนอ ในการกระทบด้วยตอและหนามเป็นต้น. แม้สมุทัยก็ปรากฏได้ เพราะความเกิดขึ้น ด้วยสามารถมีความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะเคี้ยวกินและจะบริโภค เป็นต้น. แต่ว่า โดยการแทงตลอดถึงลักษณะ ทุกข์และสมุทัยสัจแม้ทั้งสองก็เป็นธรรมลุ่มลึก. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นธรรมอันลุ่มลึก. เพราะเห็นได้ยาก ด้วยประการดังนี้. ความพยายามเพื่อต้องการเห็นสัจจะทั้งสองนอกนี้ (นิโรธ มรรค) ย่อมเป็นเหมือนการเหยียดมือไปเพื่อจับภวัคคพรหม เหมือนการเหยียดเท้าไปเพื่อถูกต้องอเวจี และเหมือนการยังปลายแห่งขนหางสัตว์ซึ่งแยกแล้วโดย ๗ ส่วน ให้ตกสู่ปลาย. สัจจะเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นธรรมลุ่มลึก เพราะเห็นได้ยากด้วยประการดังนี้. |
เจ้าของ: | ศิณอนงค์ [ 19 ม.ค. 2009, 22:28 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ยิ่งเรียนพระไตรปิฏก ยิ่งไม่รู้ไตรปิฏก (ท่านพุทธทาสภิกขุ) |
ขออนุญาตเรียนสนทนาดังนี้นะคะ (ด้วยความเกื้อกูลค่ะ) ปริยัติที่ศึกษาเืื่พื่อความเข้าใจ เป็นปริยัติเพื่อการสลัดออก เพื่อความละคลายตั้งแต่ต้น ปริยัติต้องเป็นประโยชน์ต่อการละคลายกิเลส ไม่ใช่อสรพิษร้าย ดิฉันมีความเห็นว่า การศึกษาเพื่อให้รู้มากกว่าคนอื่น หรือไปสอบได้ใบประกาศเกียรติคุณเพื่อนำไปยืนยันความรู้ นั้นเป็นเรื่องทางโลก เป็นการสอนให้จำชื่อ จำเรื่องราว ซึ่งไม่ใช่การเข้าใจลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ แต่จะขาดการศึกษาลึกซึ้งไม่ได้เลย ซึ่งการศึกษาเป็นเรื่องของความเข้าใจ ไม่ใช่การยืนยันว่าเรียนจบ ปริยัติ แบบที่เรียนเพื่อจุดประสงค์เหมือนเรื่องทางโลก อาจจะส่งเสริมมานะมากขึ้น ซึ่งมานะก็ละได้ยากมาก พระอรหันต์เท่านั้นที่ละมานะได้ (มานะแปลว่า ความสำคัญตน ความยกตนว่าเหนือกว่า) ซึ่งการศึกษาที่แท้จริง คือการศึกษาเพื่อให้รู้จริง รู้อย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดสติเจตสิกและปัญญาเจตสิก เมื่อสติเจตสิกและปัญญาเจตสิกเจริญขึ้น จึงเป็นปัจจัยให้เกิด สติปัฎฐาน ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพธรรมค่ะ ไม่ใช่อยู่ที่ท่าทางของผู้ปฏิบัติธรรมเลย เพราะการปฏิบัติธรรม เป็นหน้าที่ของสภาพธรรมะต่างๆ ที่จะปฏิบัติกิจของสภาพธรรมะนั้นๆ ตามสมควรแก่เหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งให้เกิดโสภณธรรมต่างๆ(สภาพธรรมที่ดีงาม) ตามสมควรแก่อินทรีย์ต่างๆ และตามลำดับขั้น ที่บอกว่า ตามลำดับขั้น เพราะปัญญาที่จะพาออกจากวัฏฏะ ต้องเริ่มจาก สุตะมยปัญญา จะข้ามขั้นไม่ได้เลย เพราะสภาพธรรม เป็นอนัตตา คือ บังคับบัญชาให้ข้ามขั้นไม่ได้ ต้องขอเรียนให้ทราบด้วยความเกื้อกูลว่า สติ ไม่ใช่คิด แต่การจะเกิดสติได้ ต้องเริ่มจากการฟังธรรมะให้เข้าใจตัวสภาพธรรมะ แล้วเป็นหน้าที่ของสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เกิดปัญญาขั้นแรก คือ สุตะมยปัญญา (ฟังธรรมะแล้วเข้าใจตัวธรรมะ) จึงจะไปสู่ปัญญาขั้นต่อไปได้ตามลำดับ คือ จินตมยปัญญา คือการใคร่ครวญในข้อพระธรรมโดยแยบคายโดยเนืองๆ เป็นผู้ละเอียด แม้อรรถต่างๆก็ควรศึกษาให้เข้าใจ เทียบเคียง ไต่ถามจากผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก เพื่อที่จะได้ไม่เข้าใจผิด การคิดใคร่ครวญในการศึกษาพระธรรม โดยเฉพาะจากพระไตรปิฎกหรือจากคัมภีร์ที่เรียบเรียงจากพระไตรปิฎก หากคิดใคร่ครวญเพื่อหาทางละคลายกิเลสของตนเอง เพื่อเป็นเหตุให้สลัดกิเลสออก ย่อมจะเป็นผลดีต่อผู้ศึกษา การจะนำตัวบุคคลที่ศึกษาปริยัติมาวัดคุณค่าของปริยัตินั้น ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะปริยัตินั้นคือพระศาสดา ปริยัติคือพระธรรมวินัย ซึ่งใครก็ตามที่ศึกษาปริยัติแล้ว ไม่ได้เป็นคนดีอย่างที่ท่านหวัง ก็เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยด้านอุปนิสัยและการสะสมปัญญาของเขา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ควรจะตักเตือนด้วยใจนอบน้อมเฉพาะบุคคลไป แต่ไม่ควรตราหน้าว่า คนนั้นเลวเพราะเรียนปริยัติ คนนี้แย่ลงเพราะเรียนปริยัติ เพราะอย่าลืมว่า พระปริยัติ คือพระศาสดา ที่เป็นผู้ชี้ทาง ปริยัติเป็นเหตุ ปฏิเวธเป็นผล ซึ่งถ้าศึกษาปริยัติอย่างถูกต้องและไม่ใช่้เรียนเพื่อชื่อเสียงหรือคำสรรเสริญว่ารู้มาก แต่เรียนเืื่พื่อเข้าใจเืพื่อละคลาย ปริยัติ-ปฏิบัติ จะเกิดขึ้นสืบต่อกันในขณะที่เข้าใจพระธรรมนั่นเอง เพราะปฏิบัติเป็นหน้าที่ของสภาพธรรม ที่จะปฏิบัติกิจที่สมควรแก่สภาพธรรม ตามเหตุปัจจัย ย้ำอีกครั้งว่า ใครจะเป็นคนยังไง อยู่ที่กิเลสของเขาเองที่สะสมมาหนาแน่น ไม่ไ่ด้เกิดเพราะเรียนปริยัติ พระปริยัติก็ยังอยู่ด้วยความละเอียดลึกซึ้งเสมอ ผู้ที่ตั้งใจเรียนพระปริยัติด้วยความเคารพตั้งใจ ไม่เรียนเืพื่ออย่างอื่นนอกจากเรียนเพื่อการสลัดออก เรียนเพื่อละคลาย ย่อมเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา (ปัญญาทางธรรมเรียกว่า ปัญญาเจตสิก และไม่ใช่ปัญญาทางโลก) การจะบอกว่า ไม่ควรเรียน ให้ปฏิบัติแล้วจะรู้เอง ย่อมไม่ได้ เพราะพวกเรา ตรัสรู้เองไม่ได้ แม้พระสาวกอย่างพระสารีบุตรผู้มีปัญญามากก็ยังต้องเรียนจากพระศาสดา คือการฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับฟังด้วยความเคารพ พระสัทธรรมนั้นเป็นของยาก เพราะเป็นการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่ผู้ที่หมั่นศึกษาเพื่ออบรมเจริญปัญญาย่อมเข้าถึงได้ เป็นจิรกาลภาวนา อบรมเป็นเวลานาน ไม่ใช่เวลาน้อยๆ ไม่มีทางลัด มีแต่ทางตรง และไม่ใช่ทางสองแพร่ง แม้พระพุทธองค์หลังตรัสรู้ใหม่ ก็ยังทรงมีพระทัยน้อมไปในทางไม่แสดงธรรม เพราะพระธรรมนี้ลึกซึ้ง เป็นธรรมลึก ยาก คาดคะเนเองไม่ได้ (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 111) ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า ผู้ชี้ทางอันเกษม ทรงอนุเคราะห์และตรัสสั่งให้พวกเราเล่าเรียนธรรมโดยเคารพ และใคร่ครวญในอรรถต่างๆอย่างแยบคาย ปฏิบัติืธรรมสมควรแก่ธรรม มิใช่ปฏิบัติโดยไม่สมควรแก่ธรรม ต้องเป็นไปตามลำดับขั้น เรื่องของจริต ก็เป็นอุปนิสัยทางโลก ไม่ใช่ทางธรรม แต่การจะเข้าถึงธรรม ต้องสวนกระแสโลก มิใช่ไหลไปเรื่อยๆ ยังจำเรื่องถาดที่ลอยทวนน้ำได้ใช่มั้ยคะ ถาดลอยตามน้ำ ใครๆก็รู้สึกว่าธรรมดา ก็ปล่อยลอยตามน้ำกันไป จริตใครจริตมัน บอกว่ามีหลายทาง หากเราจะคิดว่า ไปนิพพานได้หลายทาง เหมือนไปเชียงใหม่ได้หลายทาง แต่อย่าลืมว่า นิพพานไม่ใช่เชียงใหม่ และ วิชาของพระพุทธเจ้าไม่ใช่วิชาขับรถ สูงค่าเกินกว่าจะเอามาเปรียบเทียบ พระปริยัติ เหมาะแก่ผู้ที่ต้องการศึกษาให้รู้จริง ละเอียด หมั่นพิจารณาเทียบเคียง ใคร่ครวญในอรรถ ร่ำเรียนโดยเคารพ (โดยเคารพ แปลไทยเป็นไทยว่า โดยความตั้งใจน้อมนำเป็นสรณะเพราะเห็นคุณค่า) การเรียนเพื่อเกียรติยศหรือชื่อเสียง นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของการสลัดออกจากทุกข์เลย และจะทำให้คนทั่วไำปตีค่าพระปริยัติตามอุปนิสัยของบุคคลนั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าสะเทือนใจ ที่คนในพระพุทธศาสนาด้วยกันเองทำกันเอง ทั้งฝ่ายมุ่งแต่ปฏิบัติทิ้งปริยัติหรือดูหมิ่นปริยัติ และฝ่ายที่มุ่งปริยัติโดยลืมไปว่าเรียนเืืพื่ออะไร ทำให้เป็นเหตุของปริยัติอันตรธานภายในช่วงพ.ศ.3000 (อ้างอิงจากพระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168) พระสัทธรรมลบเลือน ไม่ได้เกี่ยวกับคนนอกศาสนาเลย การเข้าใจพระธรรมตามความเป็นจริง โดยศึกษาพระธรรมวินัย เมื่อเข้าใจ การปฏิบัติธรรมก็เป็นหน้าที่ของสังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่งให้เกิดปัญญาเจตสิก ซึ่งการละคลายกิเลส ก็เป็นหน้าที่ของปัญญาเจตสิก ซึ่งไม่ใช่เราทำ ไม่ใช่เราหรือตัวตนที่จะปฏิบัติ ศึกษาพระธรรมโดยแยบคาย ให้เข้าใจมั่นคงเป็นสัจจญาณจริงๆว่า ทุกอย่างเป็นสภาพธรรมไม่ใช่เรา บังคับบัญชาไม่ได้ สำหรับการปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เรื่องไปทำอะไรเหมือนการอ่านตำราคอมพิวเตอร์แล้วลองหัดทำ นั่นเป็นเรื่องวิชาทางโลก ที่แยกปริยัติออกจากปฏิบัติ แต่พระธรรมของพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องของการปฏิบัติ ธรรม สมควรแก่ ธรรม เป็นเรื่องของการปฏิบัติกิจของสภาพธรรมต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เราทำ วิธีการศึกษาและปฏิบัติของทางโลก จะเอามาเปรียบกับ พระปัญญาคุณ ของพระพุทธองค์ ย่อมไม่ได้ ตำราคอมพิวเตอร์สักเล่มหนึ่ง อาจศึกษาและบัญญัติตำราขึ้นมาไม่ถึงปี แต่พระพุทธองค์ทรงสะสมเจริญปัญญาบารมีมา4อสงไขยแสนกัปป์ และ ท่านทรงบัญญัติให้เหล่าพระสาวกนำไปเผยแผ่ต่อโดยนัยต่างๆตามแต่สภาพธรรมของคนในแต่ละกาลสมัย และการปฏิบัติธรรม ก็เป็นหน้าที่ของสภาพธรรมจริงๆ สัพเพ ธัมมา อนัตตา แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง บังคับบัญชาไม่ได้ จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นสภาพธรรมต่างๆว่าเป็นตัวตน ไม่ไ่ด้แปลว่า ให้ทิ้งพระธรรมแล้วปฏิบัติเลยเหมือนวิชาหมัดเมาที่ไหน เพราะพุทธศาสนิกชน ควรมีพระธรรมเป็นสรณะ มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นเรื่องของสภาพธรรม ไม่ใช่ตัวตนที่จะทำเหมือนเรื่องทางโลก พระปริยัติหรือพระไตรปิฎกนั้น สูงค่าเกินกว่าที่จะไปเปรียบเทียบกับวิชาทางโลก ขอกล่าวด้วยความเกื้อกูลให้ท่านทั้งหลายเห็นคุณค่า เพราะเราตรัสรู้ด้วยตนเองไม่ได้ จู่ๆ จะข้ามไปรู้เลยไม่ได้ เมื่อไม่เป็นไปตามลำดับขั้น ย่อมพลาดจากสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริง ควรศึกษาตามลำดับขั้นของปัญญา (พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 402) ขั้นแรก เป็นสัจจญาณ เริ่มจาก สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ได้แก่การศึกษาพระธรรมด้วยความเคารพ ใคร่ครวญในอรรถ โดยคิดพิจารณาเนืองๆ ด้วยความละเอียดรอบคอบ หากเหตุปัจจัยถึงพร้อม ก็ย่อมจะเกิดสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้เกิดสติเจตสิก ปัญญาเจตสิก เป็นขั้น ภาวนามยปัญญา และกุศลที่จะเกื้อกูลให้เกิดปัญญาละคลายกิเลส คือกุศลที่เป็นไปเพื่อการสละออก ไม่ใช่กุศลเพื่อวัฏฏะ ซึ่งกุศลเพื่อการสละออก ได้แก่ บารมี10 และ บุญกิริยาวัตถุ10 ซึ่งเป็นไปเพื่อการละคลายกิเลส มิใช่บำเพ็ญเพื่อให้ได้ความสุขในสังสารวัฏเหมือนกุศลอย่างอื่นที่เคยมีมาก่อนยุคพุทธกาล ในขณะที่กำลังศึกษาพระธรรมและระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ โดยไม่ได้แยกปริยัติออกจากปฏิบัติเลย เนื่องจากเป็นกิจของปัญญา ที่จะละคลายกิเลส ไม่ใช่เรื่องของท่าทางหรือตัวตนที่แยกไปทำ หรือการพร่ำบอกวิธีที่จะละทิ้งตำรา ซึ่งก็ยังเป็นตัวตนที่จะทิ้งอะไรๆอยู่ดี และยังเต็มไปด้วยมานะที่จะลบหลู่พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ เพราะถ้าหากแยบคายแล้ว พระไตรปิฎกนี่แหละที่จะเป็นพระศาสดาของท่าน ปรนนิบัติต่อพระศาสดาอย่างไร ท่านก็ควรปรนนิบัติต่อพระไตรปิฎกเช่นนั้น เพราะพระศาสดาท่านทรงแต่งตั้งพระธรรมวินัยนี้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งหากเราจะเชื่อครูอาจารย์ใดๆ ก็ควรจะสอบทานกับพระไตรปิฎก เมื่อไม่เข้าใจพระไตรปิฎก ก็ลดขั้นลงมา เป็นอรรถกถาและฎีกาต่างๆ ซึ่งก็ควรเข้าใจว่าท่านอรรถกถาจารย์ในยุคก่อนนั้น ไม่ใช่ฐานะที่เราจะไปดูหมิ่นหรือวิจารณ์ใดๆ เพราะท่านเป็นยิ่งกว่าครูบาอาจารย์ยุคนี้ เนื่องจากท่านเป็นผู้มีพระคุณ ที่อนุึเคราะห์กุลบุตรรุ่นหลังๆ ซึ่งก็รวมถึงครูอาจารย์ของเราในยุคนี้ด้วย โดยแจกแจงจำแนกข้อธรรมให้ง่ายขึ้นออกมาจากพระไตรปิฎก เพื่อความแจ่มแจ้ง เพราะยิ่งปัญญาของคนลดน้อยลงเท่าไหร่ ก็มีความจำเป็นต้องจำแนกข้อธรรมให้ละเอียดมากขึ้นเท่านั้น จะพูดเพียงประโยคสองประโยคแล้วบรรลุเหมือนคนสมัยก่อนไม่ได้ เพราะผู้ที่เกิดมาในยุคพุทธกาลและยุคหลังพุทธกาลไม่นาน ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไ่ด้สะสมปัญญาทางธรรมมามาก หากให้ประมาณเวลา ก็ไม่ต่ำกว่าแสนกัป หรือถ้าตามความเป็นจริง อาจจะหลายพุทธันดร เพราะแม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ท่านก็เจอพระพุทธเจ้ามาแล้วไม่รู้กี่พระองค์ ก่อนจะปรารถนาพุทธภูมิ และเริ่มนับเวลาบำเพ็ญบารมีได้ 4อสงไขย แสนกัปป์ ซึ่งถ้านับรวมเวลาที่ก่อนจะมาบำเพ็ญบารมีเืืพื่อปรารถนาพุทธภูมิ ก็ไม่สามารถที่จะประมาณเวลาได้เลย เพราะสังสารวัฏนี้ หาเบื้องต้นไม่ได้ หาเบื้องปลายไม่ได้ และอาจหาที่สุดไม่ได้หากไม่เข้าใจพระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ขอฝากข้อความในพระไตรปิฎกไว้ดังต่อไปนี้นะคะ ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูต ว่าด้วยเหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งศาสนา [๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่นไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ๑ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑ ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม. จบปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |