วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 17:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 10:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หัวใจของพุทธศาสนา ตอนที่ 2

หัวใจ ของมนุษย์ ย่อมประกอบไปด้วย กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เนื้อเยื่อ เส้นเลือด ลิ้นหัวใจ ห้องหัวใจ และเลือด ฯลฯ
ทำนองเดียวกัน
หัวใจของพุทธศาสนา ย่อมหมายถึง แก่นแท้ หรือหลักการ หลักธรรม อันเป็นสิ่งที่จักทำให้บุคคลเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และจักนำให้บุคคลนั้นๆ บรรลุสู่ชั้นอริยะบุคคล ตั้งแต่ชั้น โสดาบัน เป็นต้นไป
ตัวแก่นแท้ ดังที่ได้กล่าวไป ก็ย่อมมีส่วนประกอบหลายๆอย่าง จึงจะทำให้เป็นตัวแก่นแท้ ซึ่งย่อมเป็นเช่นหัวใจที่ประกอบไปด้วยส่วนประกอบอีกมากมายทำให้เป็นหัวใจที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
เมื่อแก่นแท้ หรือหลักการ หรือหลักธรรม อันเป็นหัวใจของพุทธศาสนา คือ
ทุกข์ หมายถึง กิเลส หรือ ความไม่สบายกาย สบายใจ หรือความลำบากกาย ลำบากใจฯลฯ เกิดจากเหตุ(ในที่นี้จะ-เรียกรวมกันว่าทุกข์ เพื่อสะดวกในการอธิบาย)
สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
นิโรธ หมายถึง เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์
มรรค หมายถึง หนทางแห่งความดับทุกข์
ทั้ง 4 ข้อ จะเปรียบไป ก็เป็นเพียงเปลือกนอกของหัวใจ หรือเปรียบเป็นเพียงรูปภายนอกของแก่นแท้ หรือหลักการ หรือหลักธรรมะ หากจะกล่าวตามหลักภาษาโดย
ทั่วๆไปแล้ว อริยสัจทั้ง 4 ข้อ ก็คือข้อคิดข้อพิจารณา หรือเป็นหลักธรรม หลักการ อัน
ลึกซึ้ง เป็นหลักปรัชญา ผู้ที่จะเข้าใจได้เป็นอย่างดี ก็คงเป็นผู้มีสมองสติปัญญาฉลาด ปราดเปรื่อง มีประสบการณ์ในชีวิตมามาก เพียงได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็นหลักการ หรือหลักธรรม อันเป็นแก่น หรือหัวใจของพุทธศาสนาทั้ง 4 ข้อ ก็จะสามารถรู้แจ้งแทงตลอดถึงส่วนประกอบต่างๆแห่งหลักธรรมหรือหลักการ หรือหัวใจของพุทธศาสนาทั้ง 4 ข้อได้ สามารถบรรลุธรรมได้ในทันที เรียกว่า บรรลุโสดาบัน ปฏิมรรค ปฏิผล เป็นชั้นแรก ดังในยุคครั้งเมื่อพระพุทธสมณะโคดม ได้แสดงปฐมเทศนาให้กับ ปัญจวัคคีย์ ณ. ป่า อิสิปตนมฤคายวัน และได้เกิด มีพระสงฆ์ องค์แรกเกิดขึ้น เป็นปฐมสาวก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และในขณะเดียวกัน พระรัตนตรัย แห่งพุทธศาสนา คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ในวันนั้นด้วย ปฐมเทศนาของพระสมณโคดมที่ได้แสดงต่อ ปัญจวัคคีย์ ก็คือหลักธรรมหรือหลักการ ที่เรียกว่า อริยสัจ 4 นั่นเอง
เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านและเกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรม หรือหลักการ หรือหัวใจ หรือแก่นแท้แห่งพุทธศาสนา ดังที่ข้าพเจ้าอธิบายไปข้างต้นบางส่วนแล้ว ท่านทั้งหลาย ก็เปรียบเสมือนเป็นผู้มีสมองสติปัญญาที่ปราดเปรื่องด้วยเช่นกัน และหากท่านทั้งหลายได้อ่านความอรรถาธิบายต่อไปอีก ก็จะย่อมบรรลุถึงซึ่งความเข้าใจ ในแก่นแท้ แห่งพุทธศาสนา เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สมกับเป็นผู้ศรัทธา สมกับเป็นเมืองแห่งศาสนาพุทธโดยแท้
ส่วนหลักธรรม อันเป็นส่วนประกอบ หรือเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด อริยสัจสี่นั้น ก็คือ หลักธรรม ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ อันเป็นธรรมชาติของสรรพสิ่งทั้งที่มีชีวิต และที่ไม่มีชีวิต เพราะสรรพสิ่งฯล้วนย่อมมี ล้วนย่อมเป็น ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง หากจะอธิบายให้ละเอียดไปอีกก็หมายความว่า หลักธรรมะ ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อนั้น คือ สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์(ต้องระลึกนึกถึงความหมายของคำว่าทุกข์ให้ดี เพราะมักทำให้ไขว่เขว)
บางอย่างอาจทำให้เกิดทุกข์ เมื่อได้สัมผัสมัน หรือบางอย่างอาจทำให้เกิดทุกข์โดยทางอ้อม
ทุกข์ หมายถึง ความโลภ(โลภะ), ความโกรธ(โทสะ), ความหลง(โมหะ) หรือจะให้ความหมายของคำว่าทุกข์ ตามค่านิยมของสังคมทั่วไปว่า ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ลำบากกาย ลำบากใจ ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน
ดังนั้นมนุษย์(หมายเอาเฉพาะมนุษย์) จะเกิดทุกข์ หรือทุกข์เกิดจากเหตุ ก็เพราะหลักธรรมะ ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ นั่นแหละ
แล้วเหตุที่ทำเกิดทุกข์ ก็ได้อธิบายไปในบทเรียนธรรมะเรื่อง “ธรรมะคืออะไร ในพุทธศาสนา” (2 บทเรียน 8 ตอน) ในที่นี้จะไม่อธิบายอีก
เมื่อท่านทั้งหลายเริ่มจะมีความเข้าใจในเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์บ้างแล้ว “เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์” ก็ย่อมทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะก็คือสิ่งเดียวกันกับ ทุกข์ และ เหตุ
ที่ทำให้เกิดทุกข์ แต่ย่อมต้องมีวิธีการ หรือเทคนิคที่จะทำให้ท่านทั้งหลายเกิดความเข้าใจว่า เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์นั้น ทำไมจึงเป็นหลักธรรม ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ เหมือนกัน ถ้าหากท่านทั้งหลายได้อ่าน ได้ศึกษา บทเรียนธรรมะ “ธรรมะคืออะไร ในพุทธศาสนา” ทั้ง 2 บทเรียน คงจะเกิดความเข้าใจได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
ส่วน มรรค หรือ หนทางแห่งความดับทุกข์นั้น ก็คือ หลักธรรม ทั้ง 4 คู่ 8 ข้อ เหมือนกับข้ออื่นๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ถ้าท่านทั้งหลายระลึกนึกถึง สภาพสภาวะการทำงานของหัวใจตัวเองได้ ก็คงพอจะเกิดความเข้าใจได้บ้างว่า ร่างกายเราสามารถเคลื่อนไหว มีความรู้สึกต่างๆ ก็ย่อมเกิดจากการไหลเวียนของโลหิต อันมีปัจจัยอื่นๆประกอบ เช่นอากาศ อาหาร ฯ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมันก็เป็นเลือดตัวเดิม เส้นเลือดเดิม หัวใจเดิม และอื่นๆ ก็เดิมๆนั่นแหละ ทำให้รู้สึก สุข สบาย ร้อน หนาว เย็น ฯลฯ อันย่อมปัจจัยอื่นๆประกอบ ซึ่งในเรื่องของหลักธรรม ก็เช่นกัน ก็ 4 คู่ 8 ข้อ เพราะเป็นหลักธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น
ทุกข์ เกิดจาก หูเรา ได้ยินเสียงที่ทำให้เกิดความคิด, หรืออาจได้ยินเสียงที่ทำให้เกิดความลำบากกาย และใจ ย่อมทำให้เกิดการระลึก และ ดำริ อันเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีระร่างกายของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะความคิดทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึก และเป็นเหตุทำให้เกิดพฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ อันเนื่องจากการได้รับการขัดเกลาทางสังคมสิ่งแวดล้อม ฯ และจดจำไว้ในสมอง หรือเสียงที่เราได้ยินนั้น เกินมาตรฐานของเสียงก็ย่อมทำให้เกิดความลำบากกาย ลำบากใจ ฯลฯ และหรือย่อมทำให้เกิดการระลึก ดำริ อันเป็นไปตามระบบการทำงานสรีระร่างกายของมนุษย์ และสัตว์หลายชนิด
เหตุที่ทำให้ถึงความดับทุกข์ เมื่อเราก็รู้อยู่แล้วว่า เสียงที่ได้ยินทำให้เกิดการระลึก
ดำริ ฯ และหรือทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก และย่อมเป็นเหตุนำไปสู่พฤติกรรมทางกาย วาจา และใจ เราก็ย่อมต้องดิ้นรนหรือป้องกันไม่ให้เกิดการระลึก,ดำริ ตามเสียงที่ได้ยินนั้น หรือป้องกันมิให้เสียงที่ยินนั้น เป็นผลร้ายต่อตัวเรา ซึ่งก็เป็นเพราะธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตล้วนต้องดิ้นรนเพื่อมิให้เกิดทุกข์ หรือความลำบากกาย ลำบากใจต่อตนเอง ฯ
หนทางแห่งความดับทุกข์ คือ การฝึกควบคุมความคิด ควบคุมการระลึก,ดำริ,ควบคุม อารมณ์ ความรู้สึก เพื่อมิให้เกิดพฤติกรรม ทั้งทางกาย วาจา และใจ หรืออาจกระทำอย่างอื่นที่เพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงที่จะทำให้เกิดผลร้ายหรือผลเสียต่อสรีระร่างกายของบุคคลนั้นๆ (อันนี้ไม่ยกตัวอย่าง) อย่างนี้เป็นต้น ที่ได้กล่าวไป เป็นเพียงการอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจเป็นพื้นฐานขั้นต้น เท่านั้น และเป็นเพียงการยกตัวอย่างเพียงสังเขป ยังมีรายละเอียด อีกมากมายเขียนอีกสิบปี ก็ไม่จบ เพราะสามารถแตกแขนง เป็น หลายหมื่นอย่าง
อนึ่ง ท่านทั้งหลาย ไม่ต้องสงสัยอะไร เพราะข้าพเจ้าเขียนสอนอย่างชัดเจนในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ขี้นอยู่กับสมองสติปัญญา ประสบการณ์ ของแต่ละบุคคลที่จะสามารถอ่านแล้วเกิดความเข้าใจได้กี่มากน้อย แต่ก็อาจจะมีหลายๆท่านที่อ่านแล้วไม่เข้าใจเลย
อันนี้ก็ถามข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าจะพยายามอธิบายให้เกิดความเข้าใจ เนื่องจากการเขียนศัพท์ภาษาให้ผู้อ่าน อ่านได้เข้าใจอย่างละเอียดนั้น ค่อนข้างยากสักนิด ถึงอย่างไรก็ตาม
ศาสนาจะเจริญหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลายด้วยส่วนหนึ่ง ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจสามารถปฏิบัติได้ในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะบุคลากรทางศาสนา อย่าได้ดื้อด้าน ดื้อดึง จงทำตามที่ข้าพเจ้าสอน เพราะหลักธรรมหรือหลักการของข้าพเจ้าไม่ใช่เป็นสิ่งที่ไปขัดหรือคัดค้านกับสิ่งที่มีอยู่เดิม จงคิดพิจารณาดูให้ดี แล้วปัญญาจะเกิด
จบบท......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2008, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ชัดเจนขึ้นมากครับ... :b12: :b12:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


natdanai เขียน:
:b8: :b8: :b8:
ชัดเจนขึ้นมากครับ... :b12: :b12:



ตอบ....

ความจริง ไม่ต้องเขียนอธิบายให้ยืดยาว ก็ชัดเจนอยู่ในตัวของ หลัก อริยสัจสี่ อยู่แล้ว

เพียงแต่ ท่านทั้งหลาย ได้รับข้อมูล หรือได้รับการขัดเกลา มาผิดๆ จากบุคคลที่รู้มาผิดๆ เข้าใจผิดๆ
ท่านทั้งหลาย จึงเกิดความไม่เข้าใจ ในหลักการ

เพราะตามสิ่งมีอยู่เดิม ได้ถูกบิดเบือนจากสิ่งที่เป็นสาเหตุ หรือต้นตอ กลับกลายเป็นเอาปลายเหตุ หรือผลมาเป็นหลักการ เพราะความสับสนในภาษาที่ใช้ คือเอาศัพท์ ภาษาทั่วๆไป มาใช้แทนศัพทฺ์ภาษา ในหลัก ปรัชญา จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิด รู้ผิดๆ แถม ยังไม่ยอม พิจารณา ให้เป็นไปตามหลักความจริงตามธรรมชาติ นับตั้งแต่ตัวเองเป็นต้นไป
จึงทำให้ ท่านทั้งหลาย ทั้งตัวบุคลลากร ทางศาสนา และผู้ศรัทธา
ไม่สามารถบรรลุธรรม ที่แท้จริงได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2008, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศาสนาพุทธอนุญาต แก่ผู้มีบุญบารมีและมีสัมมาทิฏฐิเท่านั้น

หลวงปู่ทวดกล่าวว่า คนในสมัยนี้รู้ธรรมเยอะ แต่ไม่ได้บรรลุธรรมก็เพราะขาดบารมีนั่นเอง

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


kokorado เขียน:
ศาสนาพุทธอนุญาต แก่ผู้มีบุญบารมีและมีสัมมาทิฏฐิเท่านั้น

หลวงปู่ทวดกล่าวว่า คนในสมัยนี้รู้ธรรมเยอะ แต่ไม่ได้บรรลุธรรมก็เพราะขาดบารมีนั่นเอง



ตอบ.....
คุณผู้ใช้ชื่อว่า kolorado คุณก็อีกคนหนึ่ง อย่าเอาความไม่รู้ของคุณ หรือความรู้เท่าไม่ถึงกาลของคุณ
มาทำลายศาสนาในทางอ้อมเลยของรับ
เพราะสิ่งที่คุณกล่าวมา ว่า" ศาสนาพุทธอนุญาต แก่ผู้มีบุญบารมี และสัมมาทิฏฐิเท่านั้น" มันเป็นการบิดเบือนหลักการของพุทธศาสนา และศาสนาอื่นๆด้วย
ไม่มีศาสนาไหนที่จะสอนให้บุคคลจำกัดอยุ่ในสังคมแคบๆดอกคุณ อนึ่ง

คำว่า สัมมาทิฏฐิ ที่คุณกล่าวมา คุณรู้หรือไม่ว่า มันมีกระบวนการอย่างไร คุณลองตอบมาตามหลักธรรมชาติของมนุษย์ซิว่า สัมมาทิฏฐิ ที่คุณกล่าวถึงนั้น มันอยู่ในขั้นใด ของระบบการทำงานแห่งร่างกายของมนุษย์
ข้าพเจ้าเคยเห็น พระสงฆ์รูปหนึ่ง ตอบคำถามในรายการ ของคุณ วิศาล (ขออนุญาต เอ่ยนาม) รายการหนึ่งทางโทรทัศน์ แบบเอาสีข้างเข้าถู แต่พระสงฆ์รูปนั้น ยังดันทุรังแบบไม่รู้สึกตัวอีกว่า สิ่งที่ตัวพระสงฆ์ได้ตอบไป มันเป็นความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริง ในเรื่องของ "สัมมาทิฏฐิ" ไม่รู้จักกระบวนการของการทำงานในระบบความคิดของมนุษย์ อะไรก็ไม่สำคัญเท่า สิ่งที่พระสงฆ์รูปนั้นในตอบคุณวิศาลดันเป็นรายการโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดไปทั่วประเทศ น่าอนาถใจในการเรียนรู้ของพระสงฆ์ ข้าพเจ้าจึงเห็นความเสื่อมไม่ได้ จึงจำต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
ในเรื่อง "สัมมาทิฏฐิ"นี้ จะได้เขียนในโอกาศต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ย. 2008, 11:39
โพสต์: 316

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b16: :b16: :b16:

.....................................................
คิดดี พูดดี ทำดี มองเเต่ดีเถิด...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


กำลังเพียร เขียน:
:b8: :b8: :b8: :b16: :b16: :b16:



ใจ ที่เป็นทุกข์ นั้น ก็เพราะ ความคิด (ดำริ) และการนึกถึง (ระลึก)
ใจ จะเป็นสุข นั้น ก็เพราะ ความคิด(ดำริ) และการนึกถึง (ระลึก) ได้เช่นกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2008, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


หัวใจพุทธศาสนา เป็นหลักวิชชา และหลักปฏิบัติที่สำคัญ และจำเป็น สำหรับในการศึกษา และการปฏิบัติ
ถ้าท่านท้ังหลาย มีความศรัทธาในศาสนา อยากรู้ ว่าจะเป็นจริงหรือไม่ ก็ให้ประพฤติ ปฏิบัติ ดูเถิด แล้วจะเกิดผล


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 113 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร