ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=18613 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | ทางเดินที่พ้นทุกข์ [ 21 ต.ค. 2008, 17:52 ] |
หัวข้อกระทู้: | อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
ได้ไปร่วมการทำพิธีบวงสรวงพระบรมธาตุมาเห็นผู้ทำพิธีเป็นพราหมณ์มีการทำบายสีและทำพิธีอัญเชิญเทพและสิ่ งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกป้องค้มครองพระธาตุมารับเครื่องสังเวย จึงอยากทราบว่าศาสนาพุทธและศาสนาพรามณ์ฮินดูมีความเกี่ยวเนื่องกันหรือไม่ และแต่งต่างกันอย่างไรเกียวกับหลักปฏิบัติและหลักคำสอน ท่านผุ้รู้ท่านใดที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ขอให้ความสว่างด้วยคะขอบคุณคะ |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 21 ต.ค. 2008, 20:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
ถ้าจะนับความแตกต่างแล้ว ก็ย่อมแตกต่างนับตั้งแต่ คำสอน หรือหลักธรรม และหลักศีล เหตุเพราะ หลักธรรมและหลักศีล ของศาสนาพุทธมีต้นตอมาจาก ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ซึ่งถ้าจะนับกันในเรื่องของหลักธรรม หลักศีลแล้ว อาจจะไม่นับว่าแตกต่างก็ได้เช่นกัน แต่ ที่มองเห็นความแตกต่างอย่างเด่นชัดที่สุด ก็คือ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดุ นั้น จะนับถือศรัทธาในตัวเทพเจ้า อันเป็นศาสดาแห่งศาสนา และ ปฏิบัติตามคำสอน(เพื่อให้หลุดพ้นนับตั้งแต่ระดับปุถุชน) ไปพร้อมกันทั้งสองอย่าง ดังทีคุณไปประสบมานั่นแหละ ส่วนศาสนาพุทธ มีแต่ให้ปฏิบัติตามคำสอน เพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ ซึ่งศาสนาพุทธ ก็ย่อมสอนให้หลุดพ้นจากทุกข์ นับตั้งแต่ระดับปุถุชนไปด้วยเช่นกัน ที่กล่าวไปนี้คือข้อแตกต่าง แต่ยังมีข้อปลีกย่อยอีกมาก ถ้าคุณอยากศึกษา ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ก็ลองค้นหาในกูเกิลดูขอรับ |
เจ้าของ: | พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ [ 21 ต.ค. 2008, 21:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
ศาสนาพุทธเป็นวิวัฒนาการของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธบอกวิธีการเข้าไปเป็นเทพชั้นต่างๆ และบอกวิธีการ เข้าถึงความเป็นพระเจ้า และการกลับที่อาตมัน(พระอรหันต์)เข้าไปอยู่กับปรมาตมัน(นิพพานหรือพระเจ้า)อย่างชัดเจน |
เจ้าของ: | ลองภูมิ [ 29 ต.ค. 2008, 22:24 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
ศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์ มีข้อแตกต่างกันคือ ศาสนาพุทธอยู่กับความจริงเป็นหลัก แต่ศาสนาพราหมณ์อยู่กับความเชื่อเป็นหลักครับ ศาสนาพุทธเน้นไปแล้วไม่กลับ แต่ศาสนาพราหมณ์เน้นไปแล้วกลับ ครับ |
เจ้าของ: | ทางเดินที่พ้นทุกข์ [ 29 ต.ค. 2008, 22:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
ที่คุณลองภูมิบอกว่าศาสนาพราหมณ์เน้นไปแล้วกลับหมายถึงอะไรคะ |
เจ้าของ: | ลองภูมิ [ 29 ต.ค. 2008, 22:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
Puy เขียน: ที่คุณลองภูมิบอกว่าศาสนาพราหมณ์เน้นไปแล้วกลับหมายถึงอะไรคะ การไปแล้วกลับหมายถึง การได้แสดงละครจนจบในบทบาทของตนเองในเวทีนี้และหมดบทที่จะเล่นต่อ ก็ต้องออกมานั่งพัก จนกว่าตัวละครอื่นๆเริ่มที่จะจบเช่นเดียวกัน ตัวผู้แสดงที่ได้พักก็จะถูกเรียกตัวให้มารับบทใหม่เรื่อยๆไปและคล้องจองกับบทเก่าที่เคยแสดงไว้ จนกว่าตัวละครจะเข้าใจในบทประพันธ์ของผู้กำกับ ตัวแสดงนั้นก็จะยกระดับไม่กลับมาเป็นผู้แสดงอีกเลย |
เจ้าของ: | enlighted [ 13 พ.ค. 2010, 22:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
18613.อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร อิอิ ต่างกันที่ ยมกปาฎิหาริ ชาวฮินดูเห็นแล้ว เฉยๆๆ เลยกลับไปนับถือฮินดูตามเดิม |
เจ้าของ: | คนดีที่โลกลืม [ 14 พ.ค. 2010, 12:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
แก้ไข: ศาสนาพุทธเป็นวิวัฒนาการของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธบอกวิธีการเข้าไปเป็นเทพชั้นต่างๆ และบอกวิธีการเข้าถึงความเป็นพระเจ้า นอกจากนี้..ศาสนาพุทธยังบอกถึงวิธีการที่เราจะกลับไปเป็นอาตมัน(พระอรหันต์)อย่างชัดเจน |
เจ้าของ: | ศรีสมบัติ [ 14 พ.ค. 2010, 13:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: อยากทราบว่าศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดูแต่งต่างกันอย่างไร |
ฮินดูมีหลายแขนง, ฮินดูมีพระเจ้าอย่างบุคคลก็มี, ไม่มีพระเจ้าอย่างบุคคลก็มี พระพุทธศาสนาไม่มีพระเจ้าชนิดเป็นบุคคล. พุทธศาสนาเป็นศาสนาระบบไม่มีตัวตน สอนให้เลิกมีตัวตน ศาสนาฮินดูแขนงที่ไม่มีพระเจ้าอย่างบุคคล เรียกสิ่งสูงสุดของลัทธินี้ว่า"ปรมาตมัน"คือว่าคล้ายกับนิพพานในพุทธศาสนา ผิดกันแต่ความหมายที่ว่ามีอัตตา มีตัวตน สรุป.พระพุทธศาสนาสอนอิงหลักธรรมชาติ,ตามกฏธรรมชาติ สอนต่างกับศาสนาที่มิได้อิงหลักธรรมชาติ แต่ไปอิงพระเจ้า ขอเจริญในธรรม ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |