ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=18555 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 19 ต.ค. 2008, 15:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า |
ในพระไตรปิฏก ได้มีการกล่าวถึง การหลุดพ้นเอาไว้ ว่า วิมุตติ มีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฏก ดังนี้.- "ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ ๑.ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว ๒.วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้ ๓.สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด ๔.ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ ๕.นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป; ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ แต่ท่านทั้งหลายมีความเข้าใจ หรือไม่ว่า การหลุดพ้นทั้ง 5 อย่างนั้น หลุดพ้นได้อย่างไรมีปัจจัยใดเป็นเครื่องช่วย เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงได้เขียนกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่อให้ความกระจ่างต่อท่านทั้งหลาย ตามหลักการ และตามวิธีการที่ข้าพเจ้าประสบมา อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยกความดีให้กับเจ้าของกระทู้ที่โพสกระทู้ "วิมุตติ" เพราะทำให้ข้าพเจ้าได้เรื่องที่จะเขียน ขั้นรายการ เพราะในการเขียนบทเรียน"ธรรมะคืออะไร ในพุทธศาสนา"(พุทธศาสนา พัฒนามนุษย์) บทที่ 2 ตอนที่ 5(จบบท) เขียนยาก หาคำศัพท์ที่จะมาอธิบายได้ยาก ดังที่ได้กล่าวไปว่า วิมุตติ มีความหมาย และแบ่งเป็น 5 อย่าง ซึ่งทั้ง 5 อย่าง สามารถอธิบายได้ตามความคิดอันเกิดจากประสบการณ์จริง และใกล้เคียง หรือจะว่า เหมือนกันก็ว่าได้ จะต่างกันก็ตรงที่ภาษาที่ใช้เขียน เพราะมันคนละยุคคนละสมัย ความว่า วิมุตติ คือ การหลุดพ้นจากกิเลส แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หลุดพ้นในระดับปุถุชน หรือในทางตำราเรียกว่า โลกิยวิมุตติ ในหลักการของข้าพเจ้าไม่มีแบ่งว่าเป็นกี่อย่าง แต่ในพระไตรปิฏก ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์(ฉบับพระธรรมปิฏก) คือ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ตทังควิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยธรรมคู่ปรับหรือหลุดพ้นชั่วครั้งชั่วคราวเมื่อพิจารณาธรรมะอันสามารถขจัดสิ่งที่ประสบอยู่นั้น หรือขจัดอาสวะที่เกิดในใจจากการได้สัมผัสทางอายตนะภายใน อันเป็นผลมาจากอายตนะภายนอก เช่น มีความโลภ มีความอยากได้ของผู้อื่น ก็มีธรรมคู่ปรับเช่น พรหมวิหารสี่ หรือ ทาน (การให้) เป็นเครื่องพิจารณาให้ยับยั้งความโลภ ความอยากเหล่านั้นไว้ได้ ชั่วครู่ ชั่วขณะ ต่อเมื่อได้สัมผัสอีก ความโลภ ความอยาก ก็จะเกิดขึ้นอีก อันเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์โดยทั่วๆไป วิกขัมภนวิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้น ด้วยการข่มใจหรือสะกดไว้ ซึ่งในทางการใช้ศัพท์ภาษายังมีอีกหลายคำหลายประโยค เช่น อดทนไว้ อดกลั้นไว้ การหลุดพ้น ด้วยการข่มใจ หรือสะกดไว้ นี้ จะเป็นอาการต่อเนื่องจาก การหลุดพ้นด้วยธรรมคู่ปรับ เพราะเมื่อสามารถพิจารณาในธรรมะคู่ปรับได้ การข่มใจ หรือสะกดไว้ ก็จะเกิดขึ้น คือระงับ ความโลภ ความอยากไว้ได้ชั่วขณะ ซึ่งก็ย่อมเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะเกิดมีพฤติกรรมเช่นนั้นอยู่แล้ว การหลุดพ้นจากอาสวะแห่งกิเลส ด้วยการข่อมใจหรือสะกดไว้ เพื่อมิให้เกิดพฤติกรรมทั้ง ทาง กาย วาจา และใจ นั้น ก็ย่อมต้องอาศัย ธรรมะคู่ปรับ หรือความรู้ ความเข้าใจ อันเกี่ยวข้องทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เพราะหากไม่มีธรรมะมาเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง ก็ย่อมไม่สามารถสะกดใจ หรือข่มอารมณ์ เมื่อบุคคลสามารถรู้จักขจัดอาสวะแห่งกิเลสในระดับปุถุชนได้แล้ว มีความรู้ ความเข้าใจในธรรมะแห่งศาสนาเพิ่มพูนแล้ว การหลุดพ้นอันเหนือจากปุถุชนก็จะเกิดขึ้น ซึ่งในพระไตรปิฏกกล่าวไว้ว่า โลกุตตระวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นที่เหนือวิสัยโลก ซึ่งกิเลสและความทุกข์ที่ละได้แล้ว ไม่กลับคืนมาอีก ไม่กลับกลาย ได้แก่ วิมุตติ ๓ อย่างหลัง คือ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ และนิสสรณวิมุตติ, สมุจเฉทวิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้นด้วยตัดขาด อะไรคือการตัดขาด หากท่านทั้งหลายได้อ่านความอรรถาธิบายข้างต้นแล้ว ก็จะเกิดความเข้าใจได้บ้างว่า การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการตัดขาดนั้น หมายถึง การที่จิตใจ และความคิด มีธรรมะ รู้และเข้าใจในรายละเอียดแห่งธรรมะ สามารถที่จะละซึ่งความโลภ ความอยาก (ในที่นี้ยกตัวอย่าง ในความโลภ และความอยาก เพียงอย่างเดียว เพื่อความรวดเร็วในพิมพ์) อันเกิดจากการได้สัมผัสทางอายตนะ เกิดความคิด เกิดการนึกถึง กลายเป็น อารมณ์ ความรู้สึก กล่าวคือ เมื่อได้สัมผัส ก็จะสามารถ ไม่คิดที่จะโลภ ไม่คิดที่อยากได้ เพราะ ได้มีการฝึกฝนจากการใช้ธรรมะ เพื่อ ข่มใจ หรือสะกด อารมณ์จนกลายเป็นกลไกอัตโนมัติ ซึ่งหากเมื่อบุคคลฝึกได้ถึงขั้นนี้ ก็นับได้ว่า บรรลุโสดาบัน ชั้นต้น แล้ว ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้นจากอาสวะแห่งกิเลส ด้วยการสงบ หรือระงับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆโดยสงบ โดยไม่ต้องใช้ธรรมะคู่ปรับ ข่มใจ หรือสะกดอารมณ์ เพราะสามารถตัดขาดโดยเป็นกลไกอัตโนมัติ โดยไม่คิด ไม่นึกถึงในอารมณ์ความรู้สึก ที่่ว่าเป็น ความโลภ หรือความอยาก เพราะเมื่อสามารถใช้ธรรมะ เข้าข่มสะกด และสามารถตัดขาดจาก ความโลภ ความอยากได้แล้ว ความสงบในจิตใจย่อมเกิดขึ้น เพราะความรู้ ความเข้าใจในธรรมะต่างๆเหล่านั้น นิสฺสรณวิมุตติ หมายถึง การหลุดพ้นจากอาสวะแห่งกิเลส ด้วยการออกไป หรือสลัดออกไป และคำว่า ด้วยการออกไป หรือสลัดออกไปนั้น แท้ที่จริงแล้ว ก็คือการขจัดคลื่นแห่งความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ต่างๆให้ออกจากร่างกาย และขณะขจัดคลื่นออกจากร่างกายนั้น ก็จะเกิดแสงเป็นสีต่างๆกัน ในทางศาสนาพุทธเรียกว่า "ฉัพพรรณรังสี" การออกไป หรือสลัดออกไป แห่งอาสวะแห่งกิเลสนั้น ถ้าเป็นเพียงคลื่นความคิดในสมอง และสามารถขจัดออกได้ทัน(เพราะคลื่นเคลื่อนที่ในร่างกายเราได้เร็วมาก เร็วกว่าแสงด้วยซ้ำไป) แสงหรือฉัพพรรณรังสีก็จะเกิดขึ้นที่ศรีษะ เพียงแห่งเดียว แต่ถ้าคลื่นต่างๆเหล่านั้น เคลื่อนที่ไปสู่หัวใจได้ (ในทางที่เป็นจริง คลื่นต่างๆก็จะเคลื่อนที่ไปสู่หัวใจได้อาจจะน้อยหรือบางส่วน) แสงหรือฉัพพรรณรังสี ก็จะเปล่งออกรอบร่างกาย อย่างนี้เป็นต้น การหลุดพ้นจากอาสวะแห่งกิเลส ด้วยการออกไป หรือสลัดออกไปนั้น ย่อมเกิดจากความรู้ความเข้าใจในธรรมะ ที่ใช้ข่มหรือสะกด จนสามารถละหรือตัดขาด จนเกิดความสงบในความคิดและจิตใจ ทำให้กลไกหรือระบบการทำงานของร่างกายสามารถขจัดอาสวะหรือคลื่นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก การนึกถึง สภาพสภาวะแห่งจิตใจต่างๆ ออกมาโดยอัตโนมัติ เป็นแสงสีต่างๆกัน ตามแต่สภาพแห่งจิตใจ ฉะนี้ อนึ่งการที่ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายไปทั้งหมด เป็นการเปรียบเทียบหลักการปฏิบัติ ของข้าพเจ้า กับตำราหรือข้อความที่มีอยู่ในพระไตรปิฏก แม้จะไม่เหมือนกันทั้งหมด ก็เพราะเป็นเรื่องของภาษา ตามยุคตามสมัย และโปรดได้ใช้วิจารณญาณในการอ่าน และพิจารณาด้วย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (Buddha) |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 19 ต.ค. 2008, 22:29 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า |
ที่ข้าพเจ้าบอกว่า ได้ความคิดมาจาก กระทู้ วิมุตติ นั้น เขียนโดย ผู้ใช้ชื่อว่า "PUY" ชื่อกระทู้ "วิมุตติ ความหลุดพ้น"ขอรับ |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 19 ต.ค. 2008, 22:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า |
ที่ข้าพเจ้าบอกว่า ได้ความคิดมาจาก กระทู้ วิมุตติ นั้น เขียนโดย ผู้ใช้ชื่อว่า "PUY" ชื่อกระทู้ "วิมุตติ ความหลุดพ้น"ขอรับ |
เจ้าของ: | จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ [ 19 ต.ค. 2008, 22:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า |
อนึ่งกรุณาอ่าน และพิจารณา อย่าได้ถามว่า ที่ข้าพเจ้าเขียนกระทู้ ตัวข้าพเจ้าปฏิบัติธรรมได้ชั้นไหน เพราะในกระทู้บอกไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว ขอรับ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 06 พ.ค. 2010, 20:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า |
enlighted เขียน: 18555.วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า วิมุตติ ในความคิด จินตนาการวิมุติ อ๊ะจ๊าก จินตนาการวิมุตติ ก็เป็นเงาของจิต อุอุ ![]() ![]() จิงไม่จิงพี่น้อง ![]() |
เจ้าของ: | enlighted [ 06 พ.ค. 2010, 21:04 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า |
กรัชกาย เขียน: enlighted เขียน: 18555.วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า วิมุตติ ในความคิด จินตนาการวิมุติ อ๊ะจ๊าก จินตนาการวิมุตติ ก็เป็นเงาของจิต อุอุ ![]() ![]() จิงไม่จิงพี่น้อง ![]() จิงไม่จิงพี่น้อง ก็เป็นเงาจิต อ๊ะจ๊าก |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 06 พ.ค. 2010, 21:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า |
อ้างคำพูด: จิงไม่จิงพี่น้อง ก็เป็นเงาจิต อ๊ะจ๊าก เงาของจิตก็เป็นเงาของจิตๆ ซ้อนๆกันจนกระทั่ง อ๊ะจ๊าก ก็เป็นเงาของจิต สุดยอดๆๆนิกายเว่ยหล่าง ฮวงโป ![]() |
เจ้าของ: | enlighted [ 06 พ.ค. 2010, 21:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิมุตติ ในความคิดของข้าพเจ้า |
กรัชกาย เขียน: อ้างคำพูด: จิงไม่จิงพี่น้อง ก็เป็นเงาจิต อ๊ะจ๊าก เงาของจิตก็เป็นเงาของจิตๆ ซ้อนๆกันจนกระทั่ง อ๊ะจ๊าก ก็เป็นเงาของจิต สุดยอดๆๆนิกายเว่ยหล่าง ฮวงโป ![]() เหอๆๆ มหากัสปะตะหาก ผู้ที่นั่งรัตนะบัลลังค์เดียวกับพระสมณะโคดม |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |