วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 12:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 04:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
หรือถ้าท่านใดเจอในพระไตรปิฎกที่ระบุเอาไว้ว่า การบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไป โดยเฉพาะในอรูปฌานนั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญามากจึงจะปฏิบัติได้ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b46: :b39: :b46:


ฌาณยิ่งสูง ปัญญาก็สูงไปด้วย เพราะปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาณ อ่านในธรรมบทดูอีกทีละกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 04:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
หรือถ้าท่านใดเจอในพระไตรปิฎกที่ระบุเอาไว้ว่า ตรงนี้มรรคเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและกับมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b39: :b39:


Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ - ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ - ๒๑๒.
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๓๒๕๓ - ๓๕๐๗. หน้าที่ ๑๔๑ - ๑๕๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0
มีความผ่องใสแห่งจิต
ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 08:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
(๓) โพสเมื่อ 20 ม.ค. 2011, 23:40 อธิบายเรื่องการเกิดขึ้นของมรรค จากแนวปฏิบัติในมรรคที่ ๔ ขององค์พระอานนท์ คือเมื่อพิจารณาวิปัสสนูฯลงในไตรลักษณ์จน ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม” และ จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ” แล้ว มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น” :b39: :b45: :b39:

โดยอธิบายสรุปไปว่า มรรคเกิดจากการที่จิตเห็นและเปรียบเทียบสภาวะของความฟุ้งปรุงแต่งก่อนหน้า (จิตสังขาร) เทียบกับสภาวะที่จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ หลังจากพิจารณาการปรุงแต่งดับลงในไตรลักษณ์แล้ว (จิตวิสังขาร) ซึ่งจะทำให้เห็นถึงเหตุแห่งความไหวของจิต คือสมุทัย ได้แก่ความยินดีพอใจ ยึดอยากติดใจ เพลิดเพลิน (นิกนฺติ) ในวิปัสสนูฯ :b38: :b37: :b39:



"มรรคย่อมเกิด" นั่น มรรคตั้งขึ้นแล้ว และตั้งอยู่แล้วด้วยปัจจัยเช่นไร จึงเรียกว่า มรรคเกิดแก่ ...

มรรคเกิดจาก "จิตเห็น" หรือ "อะไรที่เห็น" "เห็นอะไร" และ เห็นเป็นอย่างไร กันแน่

:b8: :b8: :b8:

อ้อ โทษที อ่านรอบแรก ตีความประเด็นคุณผิดไป
ก็เลยถาม เพราะคิดว่าคุณเข้าใจแล้ว กะจะเอาคำตอบมาเทียบเคียงกับสิ่งที่เราส่อง ๆ
เมื่อกลับไปอ่านอีกรอบเจอ คำขยายความเพิ่มเติม ก็เลยถึงบางอ้อ
ก็ขอชดใช้ความผิดด้วยการ อิอิ
ก็ถือว่าเราปล่อยไก่ละกันนะ

เราไม่ได้ปฏิบัติมรรค เพื่อมรรค
แต่ปฏิบัติมรรค เพราะ นั่นคือ ปัจจัยที่ทำให้ ใจมีความเป็นปกติ
เมื่อใจเป็นปกติ ก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ ปรากฎอาการบางอย่างของจิต

เพราะเห็น อาการนั่นปรากฎ จึงเห็นความเป็นปัจจัย

ข้อสังเกตเบื้องต้นก็แค่นี้ล่ะ ยังไม่รู้หรอก แค่ยังส่อง ๆ อยู่


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 10 เม.ย. 2011, 20:44, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านวิสุทธิปาละครับ ผมคนนึงละครับที่มีแผนที่แต่อ่านแผนที่ไม่ออก วันนี้ได้ท่านช่วยอธิบายแผนที่ให้ฟังอย่างละเอียด ทำให้พอเข้าใจว่าจะต้องไปทางไหนต่อ ขอบคุณท่านมากจริงๆครับ

อยากจะฝากท่านว่า แม้ท่านเกรงว่าข้อมูลที่ท่านให้จะไม่หมดจดถูกต้องไปทั้งหมด คำแนะนำนี้ก็ยังมีประโยชน์มหาศาลอยู่ดีครับ คนรุ่นใหม่ที่ไม่เข้าใจธรรมะเพราะปัญหาด้านภาษามีมาก ผมเชื่อว่านักเดินทางที่มีความพร้อมพอสมควรแล้วย่อมพอแยกได้ว่าจะปฏิบัติตามส่วนไหนของข้อมูลที่ได้รับมา เพราะคงไม่มีใครจะอธิบายแผนที่ได้ถูกต้องทั้งหมดหรอกครับ นอกจากตัวพระบรมศาสดาผู้ทรงเขียนแผนที่เอง

ข้อความตรงไหนหากท่านอ่านแล้วเป็นที่ระคายเคืองต้องขออภัยด้วยครับ ผมไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้นครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"มรรคย่อมเกิด" นั่น มรรคตั้งขึ้นแล้ว และตั้งอยู่แล้วด้วยปัจจัยเช่นไร จึงเรียกว่า มรรคเกิดแก่ ...

มรรคเกิดจาก "จิตเห็น" หรือ "อะไรที่เห็น" "เห็นอะไร" และ เห็นเป็นอย่างไร กันแน่

:b8: :b8: :b8:

อ้อ โทษที อ่านรอบแรก ตีความประเด็นคุณผิดไป
ก็เลยถาม เพราะคิดว่าคุณเข้าใจแล้ว กะจะเอาคำตอบมาเทียบเคียงกับสิ่งที่เราส่อง ๆ
เมื่อกลับไปอ่านอีกรอบเจอ คำขยายความเพิ่มเติม ก็เลยถึงบางอ้อ
ก็ขอชดใช้ความผิดด้วยการ อิอิ
ก็ถือว่าเราปล่อยไก่ละกันนะ

เราไม่ได้ปฏิบัติมรรค เพื่อมรรค
แต่ปฏิบัติมรรค เพราะ นั่นคือ ปัจจัยที่ทำให้ ใจมีความเป็นปกติ
เมื่อใจเป็นปกติ ก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ ปรากฎอาการบางอย่างของจิต

เพราะเห็น อาการนั่นปรากฎ จึงเห็นความเป็นปัจจัย

ข้อสังเกตเบื้องต้นก็แค่นี้ล่ะ ยังไม่รู้หรอก แค่ยังส่อง ๆ อยู่


อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ reply แรกสุดของกระทู้นี้นะครับว่า วิสุทธิปาละยังไม่ใช่ผู้รู้ เพราะยังมีอะไรที่ไม่รู้อีกเยอะ แต่ขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการเรียนรู้ผ่านครูบาอาจารย์ (ซึ่งรวมถึงพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นบรมครูสูงสุด) และผ่านการปฏิบัติด้วยตนเองมาบ้างบางส่วน :b1: :b38: :b37: :b39:

ในมรรคที่ ๔ ขององค์พระอานนท์นี้ ขอขยายความในส่วนการเกิดขึ้นของมรรคอีกรอบ เพื่อให้แจ่มแจ้งขึ้นนะครับ (แต่อย่างไรก็ตาม คงอธิบายตามสภาวะที่ผ่านประสบการณ์จริงได้ลำบาก จนกว่าผู้ปฏิบัติจะเห็นการเกิดขึ้นของมรรคด้วยตนเอง แต่พยายามจะเทียบเคียงกับประสบการณ์ทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันแล้วกันครับ) :b46: :b39: :b46:

เคยเจอปัญหาแบบเส้นผมบังภูเขา ประมาณว่า พยายามแก้แล้วแก้อีก แต่แก้เท่าไหร่ก็แก้ไม่ออก แต่พอหาทางแก้ออกได้แล้วถึงกับร้องอ๋อ มันก็แค่นี้เอง มั้ยครับ ? :b10: -> :b5: -> :b4: :b39:

คำว่า “พอหาทางแก้ออกได้แล้วถึงกับร้องอ๋อ” นั่นคือ อาการที่มรรคบังเกิดขึ้นนั่นเอง แต่จะระลึกรู้ว่ามรรค หรือเส้นทางปฏิบัติเพื่อให้เจอทางออกนั้นบังเกิดขึ้น ก็คือ มรรคนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และจบลงแล้วในอดีต (คือ ได้รับการปฏิบัติจนจบลงแล้ว) จิตเห็น “ผล” ที่เกิดตามหลังมรรคนั้นมาแล้ว ถึงจะระลึกย้อนหลังได้ว่า ที่ปฏิบัติมานั่นคือมรรค (คือ วิธีที่ทำให้เกิดขึ้นซึ่ง “ผล”) :b46: :b46: :b46:

นี่พูดถึงครั้งแรก คือ very first time ที่เจอวิธี hack ให้ได้ “ผล” นะครับ ซึ่งหลังจากมรรคปรากฏให้จำได้หมายรู้แล้ว คราวหน้า เมื่อใช้มรรคหรือวิธีการเดิมนั้นปฏิบัติจนผลเกิดขึ้น จะกลายเป็นมรรคนั้น “เกิดขึ้น” และ “ตั้งอยู่” คือ จำได้หมายรู้ ในจิตแล้ว และพร้อมจะ "เกิดขึ้น" "ตั้งอยู่" และ "ดับไป" ในครั้งหน้าที่นำไปปฏิบัติอีก ซึ่งเป็น "เหตุ" ที่ทำให้เกิด "ผล" คือนิโรธ ตามมา
(ถ้าวิสุทธิปาละตีความคำของคุณเอกอนไม่ผิด แต่ถ้าผิดไป ขออภัยด้วยครับ) :b8: :b51: :b39: :b51:

นั่นคือสิ่งที่พยายามอธิบายว่า ในขณะที่จิตเกิดการปรุงแต่ง (จิตสังขาร) แล้วกำหนดให้จิตเห็นจิต หรือกลับมารู้อยู่กับตัวรู้จนการปรุงแต่งดับลง จิตพ้นจากการปรุงแต่ง (จิตวิสังขาร) จิตจะเกิดปัญญาเห็นถึงอริยสัจจ์ทีเดียวทั้ง ๔ องค์ในชั่วขณะจิต :b39: :b39: :b39:

คือ เห็น “ตัวสภาวะ” รวดเดียวทั้ง ๔ องค์ แต่ในขณะนั้นจิตปราศจากการคิด มีแต่การ “รู้” ในสภาวะ ต้องมาอาศัยการระลึกและพิจารณาย้อนหลัง "ในขณะจิตต่อมา" แล้วจึงอ๋อว่า จิตเห็นจิต เป็นมรรค ที่พึ่งจะกำจัดอาการฟุ้งปรุงแต่ง ได้แก่จิตที่ส่งออกนอก คือสมุทัย ซึ่งมีผลทำให้จิตถูกบีบคั้นเกิดภพชาติ คือตัวทุกข์ (ชาติปิทุกขา) และเมื่อจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง ผลที่ได้ก็คือนิโรธ ได้แก่ ความเบิกบานเมื่อจิตปราศจากการฟุ้งปรุงแต่ง :b46: :b39: :b46:

และอย่างที่คุณเอกอนเข้าใจ มรรคนั้นคือวิธีการ ไม่ใช่จุดหมาย การปฏิบัติตามมรรค คือ ให้จิตเห็นจิต หรือกลับมารู้อยู่กับตัวรู้ เป็นเหตุปัจจัยทำให้จิตพ้นจากการฟุ้งปรุงแต่ง (กลับมาสู่ใจ ตามสำนวนขององค์หลวงปู่เทสก์) ใจมีความเป็นปรกติ และเมื่อใจมีความเป็นปรกติ จึงเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้อาการ “บางอย่าง” ของจิตปรากฏ นั่นคือ ความเบิกบาน ความประภัสสรแห่งจิต ได้แก่ผล หรือนิโรธ :b51: :b39: :b51:

และเพราะเห็นการปรากฏของนิโรธ จึงเข้าใจในความเป็นเหตุเป็นปัจจัยดังกล่าวข้างต้น :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
หรือถ้าท่านใดเจอในพระไตรปิฎกที่ระบุเอาไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงเจริญอานาปานสติจตุกกะที่ ๔ แล้วตรัสรู้ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b46: :b46: :b39:


ขอเสนออีกอันครับ ในบทสวดมนต์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก แปลเป็นไทย แล้วเข้าใจว่า พระพุทธองค์ ผ่าน มาทุกระดับขั้นแล้ว


อ้างคำพูด:
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙.

อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐.

อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑.

อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน


อ้างคำพูด:
.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล


ที่มา
http://www.dhammakid.com › ... › คาถา - บทสวดมนต์ › บทสวดมนต์ -


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
วิสุทธิปาละ เขียน:
(หรือถ้าท่านใดเจอที่หลวงปู่ท่านระบุเอาไว้ว่า วิธีการให้จิตเห็นจิต เป็นมรรคที่ ๔ ขององค์พระอานนท์ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและกับมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b39: :b46: :b46:

ผมอาจจะงง กับการใช้คำของคุณบ้าง แต่ขอตอบว่า...
หลวงปู่มั่นเรียกว่าดวงพุทโธ หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ เรียกว่าดวงธรรม ในเรื่องดวงนี้หลวงวัดปากน้ำท่านสามารถอธิบายได้ละเอียดว่ามีกี่ดวงๆลๆ และนั่นก็คือ ธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นในภายใน ในแต่ละขั้นๆ ๆๆๆๆๆ เห็นธรรมในธรรม เห็นจิตในจิต ๆลๆ...นั่นเอง
เจริญธรรม


การเห็นจิตในจิต ซึ่งอยู่ในสติปัฏฐาน4 เป็นโลกุตระฌาณแล้ว...

ซึ่งต้องกระทำฌาณโลกีย์ให้ได้ก่อน เพราะฌาณมีก่อนสติปัฏฐานมีหลัง
ผมขอตอบว่า...เข้าไปได้ทั้ง มรรค4 ครับ ไม่ได้เน้นที่มรรคใดมรรคเดียว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ขอเสนออีกอันครับ ในบทสวดมนต์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏก แปลเป็นไทย แล้วเข้าใจว่า พระพุทธองค์ ผ่าน มาทุกระดับขั้นแล้ว


ขอบคุณคุณหลับอยุ่มากมายครับที่ช่วยหาหลักฐานในตำรามาให้ :b8: :b46: :b39: :b46:

ไม่แน่ใจว่าจะเจอที่ระบุไว้ตรงๆหรือเปล่า หรืออาจจะต้องต่อภาพอนุมานเอาจากหลายๆสูตรที่คุณหลับอยุ่ให้มาก็ไม่รู้

ขอเวลาค่อยๆไปย่อยทีละสูตรก่อนนะครับ คงใช้เวลาพอสมควร :b31: :b31: :b46: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านวิสุทธิปาละครับ ผมคนนึงละครับที่มีแผนที่แต่อ่านแผนที่ไม่ออก วันนี้ได้ท่านช่วยอธิบายแผนที่ให้ฟังอย่างละเอียด ทำให้พอเข้าใจว่าจะต้องไปทางไหนต่อ ขอบคุณท่านมากจริงๆครับ

อยากจะฝากท่านว่า แม้ท่านเกรงว่าข้อมูลที่ท่านให้จะไม่หมดจดถูกต้องไปทั้งหมด คำแนะนำนี้ก็ยังมีประโยชน์มหาศาลอยู่ดีครับ คนรุ่นใหม่ที่ไม่เข้าใจธรรมะเพราะปัญหาด้านภาษามีมาก ผมเชื่อว่านักเดินทางที่มีความพร้อมพอสมควรแล้วย่อมพอแยกได้ว่าจะปฏิบัติตามส่วนไหนของข้อมูลที่ได้รับมา เพราะคงไม่มีใครจะอธิบายแผนที่ได้ถูกต้องทั้งหมดหรอกครับ นอกจากตัวพระบรมศาสดาผู้ทรงเขียนแผนที่เอง

ข้อความตรงไหนหากท่านอ่านแล้วเป็นที่ระคายเคืองต้องขออภัยด้วยครับ ผมไม่ได้มีเจตนาเช่นนั้นครับ

ขอบคุณกลับสำหรับคำขอบคุณครับ :b8: :b46: :b46:

วิสุทธิปาละได้แต่แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้ได้รายละเอียดมากที่สุดตามเวลาว่างที่พอจะมี เกินกว่านั้นก็ต้องวางอุเบกขาแล้ว :b12: :b46: :b46:

และไม่มีข้อความไหนที่อ่านแล้วระคายเคือง เพราะผู้เขียนไม่ได้เขียนข้อความด้วยความระคายเคืองอยู่ในจิตนี่ครับ :b1: :b16: :b12: :b46: :b46:

(อ่านประสบการณ์การปฏิบัติของคุณคนธรรมดาๆจากกระทู้นู้นแล้ว ไม่ธรรมดาเลยนะครับ แต่ต้องขอโทษด้วยที่ไม่มีเวลาพอที่จะไปแจม เพราะแค่กระทู้นี้กระทู้เดียว ก็ไม่มีเวลาไปกระทู้อื่นแล้ว งานทางโลกที่ต้องรับผิดชอบเยอะจริงๆ :b31: :b31: :b46: :b46: )

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
วิสุทธิปาละ เขียน:
หรือถ้าท่านใดเจอในพระไตรปิฎกที่ระบุเอาไว้ว่า พระพุทธองค์ทรงเจริญอานาปานสติจตุกกะที่ ๔ แล้วตรัสรู้ ก็จะเป็นประโยชน์กับวิสุทธิปาละและมิตรทางธรรมท่านอื่นไม่น้อยครับ :b8: :b46: :b46: :b39:


Quote Tipitaka:
[๔๗] ดูกรพราหมณ์ ความเพียรเราได้ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน
กายสงบระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์แน่วแน่ ดูกรพราหมณ์ เรานั้นสงัด
จากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในกายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ
วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะมีปีติสิ้นไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและ
เสวยสุขด้วยกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยสาวกทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี
อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
[๔๘] เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้
ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ. เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกชาติ
หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง
สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง
ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็น
อันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้
ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น
มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้น
แล้ว ได้มาเกิดในภพนี้. เราย่อมระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ
พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้ว ในปฐมยาม
แห่งราตรี กำจัดอวิชชาเสียได้ วิชชาก็เกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียได้ ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนเมื่อบุคคลไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน ส่งตนไปแล้วอยู่ ฉะนั้น
.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๑๗ - ๗๕๑. หน้าที่ ๒๓ - ๓๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2011, 17:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:

(ถ้าวิสุทธิปาละตีความคำของคุณเอกอนไม่ผิด แต่ถ้าผิดไป ขออภัยด้วยครับ) :b8: :b51: :b39: :b51:

เจริญในธรรมครับ :b8:


:b8: :b8: :b8: :b12: :b1:

ช่วงหลัง ๆ มานี่เหมือนเข็มทิศจะแสดงอาการรวน คั๊บป๋ม
มันแสดงความ พลิกผัน ไปจากที่เคยคิด เคยเข้าใจ เคยพิจารณาไตร่ตรอง ว่าใช่
กลับรู้สึกว่า ที่ผ่าน ๆ มามันเป็นเพียงภาพด้านหนึ่งของเหรียญเท่านั้น

ส่วนอีกด้านหนึ่ง ยังเป็นเรื่องที่พูดไม่ออก ค่ะ
มัน ...

ท่านวิ เคยได้ผ่านตาประโยคนี้มั๊ยคะ "สัจธรรมไม่ตามใจเรา"

เอกอนไปเจอประโยคนี้ที่ "นิพพานคืออะไร" บอร์ดจานป้อกรัชกาย
แต่จริง ๆ เอกอนได้ฟังคำนี้จากอาจารย์ท่านหนึ่ง คอยพูดกระแทกแก้วหูแทบจะทุกวัน

"สัจธรรมไม่ได้ตามใจเรา" ค่ะ

ถ้าจะมีคำอธิบายอะไรเกี่ยวกับธรรมที่ตรงใจที่สุดในตอนนี้
ประโยคนั้นก็คือ "สัจธรรมไม่ได้ตามใจเรา" ค่ะ
....

ความรู้สึกก็เหมือนกับ เมื่อเราบอกรักใครสักคน และคน ๆ นั้นก็หันมาตอบเราว่า
"เธอไม่อาจจะมากำหนดหัวใจของฉันได้"
นิยามความรักที่เคยมี ออกอาการสั่นคลอน
นั่นเป็นเรื่องของความรัก ซึ่งเรายังมีสัจธรรมที่ให้ได้นำมาพุงตัวเอง ให้ตั้งอยู่ได้
....

แต่เมื่อ "สัจธรรมไม่ได้ตามใจเรา" ....

:b1:
คำพูดที่พูดออกมานั้น ไม่ได้บ่งบอกอะไรที่ตรงกับสิ่งที่เห็นอยู่ในใจเลย
ซึ่งสิ่งที่อยากจะบอกนั้น มัน...ไม่มีเสียงจะเอ่ย คั๊บป๋ม

:b8: :b16: :b16: :b8:

เจริญในธรรมเช่นกัน คั๊บป๋ม


:b53: :b55: :b55: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2011, 22:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ เราเห็นมรรคเคลื่อน สองวง หง่ะ

:b2: :b2: :b2: :b2:

นี่เราเพี้ยนไปแล้วใช่ม๊าาาาา

:b2: :b2: :b2: :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 04:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เราเพียรเพ่งอยู่กันขั้นไหนแล้ว ตอบ ยังไปไม่ถึงไหนกันเลย ฉะนั้นความสงสัยย่อมไม่สิ้นไป,,,,เพราะเราไม่รู้ธรรม....เกิดแต่เหตุ...แบบของจริง

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฏก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔
มหาวรรค ภาค ๑



พระวินัยปิฎก
เล่ม ๔
มหาวรรค ภาค ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหาขันธกะ
โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์
ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว
เสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม
และปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
พุทธอุทานคาถาที่ ๑
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะมารู้ธรรม
พร้อมทั้งเหตุ.
[๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
พุทธอุทานคาถาที่ ๒
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่
เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
เพราะได้รู้ความ
สิ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
[๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท เป็นอนุโลมและปฏิโลม
ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:-
ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขาร จึงดับ
เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น
ว่าดังนี้:-
พุทธอุทานคาถาที่ ๓
เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
ผู้มีเพียรเพ่งอยู่
เมื่อนั้น พราหมณ์นั้น ย่อม
กำจัดมารและเสนาเสียได้
ดุจพระอาทิตย์อุทัย
ทำอากาศให้สว่าง ฉะนั้น.
โพธิกถา จบ
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑ - ๑๑๕. หน้าที่ ๑ - ๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2011, 04:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระบาลี แท้ๆจะมีคำว่าวิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ

แปลว่า
พราหมณ์นั้นกำจัดมารและเสนาเสียได้ หยุดอยู่
(หลวงพ่อวัดปากน้ำ แปล (บาลีใหญ่)

:b8: :b8: :b8:
คำว่าหยุดอยู่มาจากไหน ทำไม 84000 .org ไม่มีแปลบอกไว้จากที่ลอกมา :b10: :b10: :b10: Onion_L Onion_L Onion_L Onion_L Onion_L

ติฏฺฐติแปลว่า หยุดอยู่

หลวงพ่อวัดปากน้ำ สอนว่า หยุดอยู่ คือ ใจหยุดนั่นเอง

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
"สัจธรรมไม่ตามใจเรา"

ขอกลับคำพูดนิดนึงเพื่อเปลี่ยนศูนย์กลางของประโยคครับว่า หรือใจเราไม่ยอมคล้อยตามสัจธรรม ชอบไปอยากในสิ่งที่ฝืนขวางกระแสของธรรม คือธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง

ซึ่งใจเรานั้นเอง ในตอนแรกก็เหมือนเด็กดื้อที่ชอบตามแต่ใจตัว พอเริ่มเป็นผู้ใหญ่มีความคิด มีเหตุมีผลขึ้นมา ก็ยัง “หลง” ไปยึดเหตุยึดผลว่าถูกว่าต้อง :b38: :b37: :b39:

ต่อเมื่อตกผลึก ก้าวข้ามพ้นผ่านจากคำว่า “คิดด้วยเหตุและผล เข้าสู่การ “รู้” จน “รู้แจ้งในเหตุและผลตามความเป็นจริงของธรรมชาติเมื่อไหร่ เมื่อนั้นจึงหมดสงสัยได้เองครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

แปลว่า อาจจะใช้ความคิดด้วยเหตุและผลได้เมื่อตอนเริ่มต้น (ซึ่งในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ การตั้งสมมติฐานว่า เหตุ "ควร" เป็นอย่างนี้ และ ผล "ควร" เป็นอย่างนี้) :b38: :b37: :b39:

แต่ในท้ายที่สุดแล้ว เหตุและผลคือสิ่งที่ควรจะถูกพิสูจน์ด้วยการ “รู้ถูก” และ “ถูกรู้” ... ไม่ใช่ถูกนำมา “คิด:b38: :b37: :b39:

และนี่คือสิ่งที่หลวงปู่ดูลย์ท่านพูดเป็นปริศนาธรรมไว้ว่า “คิดเท่าไร ๆ ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยคิด:b8: :b39: :b39:

เจริญในธรรมครับคุณเอกอน :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 16 เม.ย. 2011, 06:51, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร