วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 107 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2018, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คำพระสอน

"ทำงานให้พยายามอย่าเครียด พึงพิจารณาว่า อะไรเป็นสาเหตุของความเครียด แล้วใช้ปัญญาเข้าไปแก้ไขอารมณ์ให้สงบเยือกเย็นลง ไม่มีสิ่งใดสิ่งอื่นเข้ามาแก้ไขได้ นอกจากปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง ประโยชน์ของงานกับประโยชน์ของจิตใจ ก็จักได้มีความราบรื่นเสมอพร้อมกัน แต่ถ้าหากทำด้วยความเครียด ก็จักเสียทั้งงานและเสียทั้งจิตใจ ดีไม่ดีก็จักทำให้ร่างกายป่วยไปด้วยได้โดยง่าย พึงพิจารณาคำนึงถึงข้อนี้ให้มาก ๆ วางจิตให้พอดีให้อยู่ในมัชฌิมาปฏิปทาทุกอย่าง แล้วจักสุขกายสบายใจ งานทั้งหมดก็ลุล่วงไปด้วยดี แต่จงอย่ายึดอย่าเกาะนะ เนื่องจากโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ ทุกอย่างพังหมดแม้แต่ร่างกายก็ยังพัง ให้ทำไปตามหน้าที่ เสร็จแล้วก็ให้เห็นกฎธรรมดา คือทุกสิ่งทุกอย่างย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจกฎไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ มีความเสื่อมเป็นที่ตั้ง มีความสลายตัวไปในที่สุด ทำเท่าที่จักทำได้ พังสลายไปเมื่อไหร่ก็ยอมรับนับถือกฎของธรรมดานี้ จิตใจก็จักเป็นสุข ไม่ดิ้นรนฝืนกฎของธรรมดา"

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลาพูดบ่อย คือไปเอาคำพูดใครมาไม่รู้แล้วมาอ้างเป็นคำพระสอน พระสอนให้คนเกียจคร้าน สอนให้คนขี้เกียจทำงาน ถ้าเป็นพระจริงๆอย่างกบพูดอ้าง พระองค์นี้เลอะแล้ว ควรส่งเข้าถ้ำหลวงสะให้เข็ด


อ้างคำพูด:
กบนอกกะลา เขียน:

คำพระสอน..

"การตั้งอารมณ์พระนิพพานที่ถูก ต้องพิจารณาเข้าหาทุกข์ของการทำงานให้มาก โดยเห็นโทษของการมีขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ต้องทำงาน จุดนี้จักทำให้เกิดนิพพิทาญาณในงาน ทำให้ละขันธ์ ๕ ได้ง่าย ดังนั้นวิปัสสนาญาณ ๙ ต้องหมั่นทบทวนพิจารณาให้จิตรู้ความจริงแล้วยอมรับ
และให้คอยระวังอารมณ์เศร้าหมองหดหู่ จักต้องลงตัวธรรมดาจนชิน เป็นสังขารุเบกขาญาณให้ได้

(หมายความว่า เห็นการทำงานทางโลกไม่เที่ยง ทำให้เกิดทุกข์ เป็นของธรรมดาจิตพร้อมที่จะปล่อยวางงานทุกชนิดได้ทันทีเมื่อกายพัง จิตพร้อมไปนิพพานได้เสมอรู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน คือทางลัดที่จำเป็นจะต้องซ้อมและพร้อมอยู่เสมอ)"

การหมั่นพิจารณาในบทธรรม..โดยเฉพาะอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ 9. (พิจารณาในอารมณ์ 9... เกิดอารมณ์ใน 9 )..ก็เสมือนได้ฟังคำพระศาสดานั้นแหละคุณโรส...อย่ารอแค่ตอนฟังอย่างเดียว...หนึ่งวันคุณโรสจะฟังได้กี่ชั่วโมงกัน?
viewtopic.php?f=1&t=56020&p=421343#p421343



นิสัยขี้ตู่...บิดเบื่อน..ใส่ร้าย...เป็นกรรมของเจ้าเอง....

ตามสบาย...


ดูสิก็เห็นๆอยู่นั่นว่าขี่ตู่ คิกๆๆ คนไม่ยอมรับความจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อาการของคนที่มีสมาธิขณะหลับ....ต่างกับคนหลับไม่มีสมาธิ..ยังงัยหรือ?..

เห็นว่า ตย. ที่กักกายยกมา..กักกายคิดว่าเขามีสมาธิขณะหลับ...ก็เลยอยากรู้..ว่ากักกายรู้จริงป้าว?

:b1: :b1: :b1:


อยากรู้ต้องทำด้วย ไม่ใช่มโน ตัวอย่างที่ให้ดูนั่นเขาทำสมาธิ เข้าฝึกจิต เขาภาวนา แต่กบไม่ทำห่าไรเลย เอาแต่มโน คำพระสอนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แล้วจะไปรู้อะไรที่มันลึกซึ้งกว่านั้นได้เล่า เออ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 08:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กักกายเคยสมาธิหลับมั้ย?..

หากไม่เคย...กักกายก็แยกไม่ออกว่าอาการมีสมาธิขณะหลับกับหลับธรรมดาเป็นยังงัย..

ก็เลยถาม...ไป
อ้างคำพูด:
อาการของคนที่มีสมาธิขณะหลับ....ต่างกับคนหลับไม่มีสมาธิ..ยังงัยหรือ?..

เห็นว่า ตย. ที่กักกายยกมา..กักกายคิดว่าเขามีสมาธิขณะหลับ...ก็เลยอยากรู้..ว่ากักกายรู้จริงป้าว
?


แต่ก็ไร้เสียงตอบกลับ..ฮา

จบข่าว..

ไม่รู้..แล้วก็ยกตัวอย่างมาแบบไม่รู้...พอเขาท้วงติว่าไอ้นี้มันอาการเดียวกับผีอำ..ก็แถไปว่ามีสมาธิหลับ...พอถามว่าแยกยังงัย...สมาธิหลับ..กับหลับธรรมดา...ก็เลี่ยงไปไหนก็ม่ายรู้...

วลีเด็ด..." อยากรู้ต้องทำ..ไม่ใช่มโน"

คิกคิก..ก็บอกอยู่นี้..ว่ามันอาการเดียวกับผีอำ..คิกคิก..

กักกายเลิก ตย. ประเภทนี้มาเถอะ...เพราะกักกายม่ายรู้..อะไรผีอำ..อะไรสมาธิขณะหลับ...แล้วจะไปแสดงภูมิแก้อาการคนผีอำ...มิขำหรือ

แห่ม..ทำเอาพ่อนักแก้อาการตายอนาถ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 08:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


หากว่าทิฎฐิมานะไม่มากเกินไป...มรึงว่ากู..กูต้องว่ามรึงตอบ...ก็เก็บไปพิจารณาหาทางเพิ่มความรู้ของตนเอง...พิจารณาเงียบๆลับหลัง..ก็ทำไป..เอ่อ..มันแยกยังหว่า..หลับธรรมดากับหลับแบบมีสมาธิ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กักกายเคยสมาธิหลับมั้ย?..

หากไม่เคย...กักกายก็แยกไม่ออกว่าอาการมีสมาธิขณะหลับกับหลับธรรมดาเป็นยังงัย..

ก็เลยถาม...ไป
อ้างคำพูด:
อาการของคนที่มีสมาธิขณะหลับ....ต่างกับคนหลับไม่มีสมาธิ..ยังงัยหรือ?..

เห็นว่า ตย. ที่กักกายยกมา..กักกายคิดว่าเขามีสมาธิขณะหลับ...ก็เลยอยากรู้..ว่ากักกายรู้จริงป้าว
?


แต่ก็ไร้เสียงตอบกลับ..ฮา

จบข่าว..

ไม่รู้..แล้วก็ยกตัวอย่างมาแบบไม่รู้...พอเขาท้วงติว่าไอ้นี้มันอาการเดียวกับผีอำ..ก็แถไปว่ามีสมาธิหลับ...พอถามว่าแยกยังงัย...สมาธิหลับ..กับหลับธรรมดา...ก็เลี่ยงไปไหนก็ม่ายรู้...

วลีเด็ด..." อยากรู้ต้องทำ..ไม่ใช่มโน"

คิกคิก..ก็บอกอยู่นี้..ว่ามันอาการเดียวกับผีอำ..คิกคิก..

กักกายเลิก ตย. ประเภทนี้มาเถอะ...เพราะกักกายม่ายรู้..อะไรผีอำ..อะไรสมาธิขณะหลับ...แล้วจะไปแสดงภูมิแก้อาการคนผีอำ...มิขำหรือ

แห่ม..ทำเอาพ่อนักแก้อาการตายอนาถ..



จะให้ตอบเรื่องนี้ ถามกบว่า เข้าใจนี่ไหม

อ้างคำพูด:
เวลานั่งสมาธิกำหนดคำภาวนา พร้อมไปกับลมหายใจ นั่งทำสมาธิไปสักพักจะต้องเริ่มมีอาการคันคอ ทุกครั้ง พยามยามฝืนไม่สนใจ แต่จะคันคอจนต้องไอออกมาทุกครั้ง บางครั้งน้ำลายกระเด็นออกมาเลอะปาก พร้อมน้ำตาไหล พอไอออกมา สักครั้ง สองครั้ง แล้วจะหายไป แล้วไม่คันคออีกเลย อยากรบกวนสอบถามถึงอาการที่เกิด และทำอย่างไรถึงจะไม่ให้เกิดอาการคันคอได้ เพราะตอนนั่งพอจะเริ่มสงบนิ่งจะเป็นทุกครั้ง ทำให้เกิดความรำคาญ



ตอบก่อน :b9: พ่อศีลหาเมีย ศีลมีคนเอารถมาให้ ศีลมีคนเอาเสื้่อผ้ามาให้ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
คำพระสอน

"ทำงานให้พยายามอย่าเครียด พึงพิจารณาว่า อะไรเป็นสาเหตุของความเครียด แล้วใช้ปัญญาเข้าไปแก้ไขอารมณ์ให้สงบเยือกเย็นลง ไม่มีสิ่งใดสิ่งอื่นเข้ามาแก้ไขได้ นอกจากปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง ประโยชน์ของงานกับประโยชน์ของจิตใจ ก็จักได้มีความราบรื่นเสมอพร้อมกัน แต่ถ้าหากทำด้วยความเครียด ก็จักเสียทั้งงานและเสียทั้งจิตใจ ดีไม่ดีก็จักทำให้ร่างกายป่วยไปด้วยได้โดยง่าย พึงพิจารณาคำนึงถึงข้อนี้ให้มาก ๆ วางจิตให้พอดีให้อยู่ในมัชฌิมาปฏิปทาทุกอย่าง แล้วจักสุขกายสบายใจ งานทั้งหมดก็ลุล่วงไปด้วยดี แต่จงอย่ายึดอย่าเกาะนะ เนื่องจากโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ ทุกอย่างพังหมดแม้แต่ร่างกายก็ยังพัง ให้ทำไปตามหน้าที่ เสร็จแล้วก็ให้เห็นกฎธรรมดา คือทุกสิ่งทุกอย่างย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจกฎไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ มีความเสื่อมเป็นที่ตั้ง มีความสลายตัวไปในที่สุด ทำเท่าที่จักทำได้ พังสลายไปเมื่อไหร่ก็ยอมรับนับถือกฎของธรรมดานี้ จิตใจก็จักเป็นสุข ไม่ดิ้นรนฝืนกฎของธรรมดา"

:b8: :b8: :b8:


เอาท่อนนี้แก้ท่อนแรก แสดงว่า คนพูดนี่มั่ว สับสนในตัวเอง เลื่อนลอยในความคิด ไร้หลัก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นความสับสนทางความคิดของคนพูด นำมาวางเทียบกันให้ดู

อ้างคำพูด:
คำพระสอน..

"การตั้งอารมณ์พระนิพพานที่ถูก ต้องพิจารณาเข้าหาทุกข์ของการทำงานให้มาก โดยเห็นโทษของการมีขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ต้องทำงาน จุดนี้จักทำให้เกิดนิพพิทาญาณในงาน ทำให้ละขันธ์ ๕ ได้ง่าย ดังนั้นวิปัสสนาญาณ ๙ ต้องหมั่นทบทวนพิจารณาให้จิตรู้ความจริงแล้วยอมรับ
และให้คอยระวังอารมณ์เศร้าหมองหดหู่ จักต้องลงตัวธรรมดาจนชิน เป็นสังขารุเบกขาญาณให้ได้

(หมายความว่า เห็นการทำงานทางโลกไม่เที่ยง ทำให้เกิดทุกข์ เป็นของธรรมดาจิตพร้อมที่จะปล่อยวางงานทุกชนิดได้ทันทีเมื่อกายพัง จิตพร้อมไปนิพพานได้เสมอรู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน คือทางลัดที่จำเป็นจะต้องซ้อมและพร้อมอยู่เสมอ)"

การหมั่นพิจารณาในบทธรรม..โดยเฉพาะอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ 9. (พิจารณาในอารมณ์ 9... เกิดอารมณ์ใน 9 )..ก็เสมือนได้ฟังคำพระศาสดานั้นแหละคุณโรส...อย่ารอแค่ตอนฟังอย่างเดียว...หนึ่งวันคุณโรสจะฟังได้กี่ชั่วโมงกัน?



พอเราแย้งเข้าหน่อย กบไปเอาท่อนนี้มาแก้

อ้างคำพูด:
คำพระสอน

"ทำงานให้พยายามอย่าเครียด พึงพิจารณาว่า อะไรเป็นสาเหตุของความเครียด แล้วใช้ปัญญาเข้าไปแก้ไขอารมณ์ให้สงบเยือกเย็นลง ไม่มีสิ่งใดสิ่งอื่นเข้ามาแก้ไขได้ นอกจากปัญญาที่รู้เห็นตามความเป็นจริง ประโยชน์ของงานกับประโยชน์ของจิตใจ ก็จักได้มีความราบรื่นเสมอพร้อมกัน แต่ถ้าหากทำด้วยความเครียด ก็จักเสียทั้งงานและเสียทั้งจิตใจ ดีไม่ดีก็จักทำให้ร่างกายป่วยไปด้วยได้โดยง่าย พึงพิจารณาคำนึงถึงข้อนี้ให้มาก ๆ วางจิตให้พอดีให้อยู่ในมัชฌิมาปฏิปทาทุกอย่าง แล้วจักสุขกายสบายใจ งานทั้งหมดก็ลุล่วงไปด้วยดี แต่จงอย่ายึดอย่าเกาะนะ เนื่องจากโลกนี้ไม่มีอะไรเหลือ ทุกอย่างพังหมดแม้แต่ร่างกายก็ยังพัง ให้ทำไปตามหน้าที่ เสร็จแล้วก็ให้เห็นกฎธรรมดา คือทุกสิ่งทุกอย่างย่อมตกอยู่ภายใต้อำนาจกฎไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ มีความเสื่อมเป็นที่ตั้ง มีความสลายตัวไปในที่สุด ทำเท่าที่จักทำได้ พังสลายไปเมื่อไหร่ก็ยอมรับนับถือกฎของธรรมดานี้ จิตใจก็จักเป็นสุข ไม่ดิ้นรนฝืนกฎของธรรมดา"


กลับย้อนไปดูท่อนแรกก็ฆ่าตัวตายแล้ว ยังยังตายไม่สนิทยังพอพูดได้ เลยฟื้นมาทำงานอย่าให้เครียด แล้วก็ขาดใจตาย :b32:

จบข่าวขอรับ

บอกแล้วว่า ถ้าเป็นพระพูดควรจับเข้าถ้ำหลวงสะให้เข็ด สอนให้คนขี้เกียจทำงาน คือ ทำงานแล้วเบื่อหน่ายงาน (ใช้ศัพท์นิพพิทาสะด้วย) เพื่อหน่ายงาน เบื่อหน่ายงานแล้วอะไรตามมา ก็นอนไงขอรับ เบื่อก็นอนเลย คิกๆๆ เป็นไงต่อ ก็เป็นคนขี้เกียจสันหลังยาวดิ :b28: เป็นลูกเป็นหลานตีให้หลังลาย

จริงไม่จริงกบ ไม่จริงก็เถียงมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
หากว่าทิฎฐิมานะไม่มากเกินไป...มรึงว่ากู..กูต้องว่ามรึงตอบ...ก็เก็บไปพิจารณาหาทางเพิ่มความรู้ของตนเอง...พิจารณาเงียบๆลับหลัง..ก็ทำไป..เอ่อ..มันแยกยังหว่า..หลับธรรมดากับหลับแบบมีสมาธิ..


กบเราต้องถกเถียงกันบนหลักเกณฑ์ มีหลักฐานทางคัมภีร์อ้างอิง ไม่ต้องมาท่าทำทางเป็นคนหมดกิเลสหมดทิฏฐิมานะ แล้วว่าคนอื่นมีทิฏฐิมานะ :b12: ถกเถียงกันแล้วจบแล้วก็ไม่ต้องให้เกิดโทสจิตอาฆาตพยาบาท :b1: ธัมมสากัจฉา คือ คุยกันแบบสบายสบายได้ความคิด :b32: ไม่รู้ตรงไหนก็ไปค้นไปคว้ามาจากตำรับตำราที่มีที่อ้างอิง

ยังไม่อยากถามตอนนี้ว่า ทิฏฐิ ที่พูดได้แก่ อะไร มานะที่ยกมา ได้แก่ อะไร แล้วเราจะกำจัดทิฏฐิมานะได้อย่างไร ไม่ถาม เดี๋ยวจะมาลงให้ดู

อีกอย่างหนึ่ง ก่อนที่จะเป็นกายกรรม วจีกรรม ต้นแหล่งของมันคือมโนกรรม คือ ความคิด มันคิดจากภายในก่อนแล้วออกมาภายนอก :b1: ถ้าไม่ถึงออกมาภายนอก มันเกิดดับอยุ่ข้างในเป็นมโนกรรมอยู่ภายใน

แล้วกรรมทั้งสามนี้ มีทั้งอกุศลกรรม กุศลกรรม มองให้ทั่วมองให้ลึก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 17:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลาพูดบ่อย คือไปเอาคำพูดใครมาไม่รู้แล้วมาอ้างเป็นคำพระสอน พระสอนให้คนเกียจคร้าน สอนให้คนขี้เกียจทำงาน ถ้าเป็นพระจริงๆอย่างกบพูดอ้าง พระองค์นี้เลอะแล้ว ควรส่งเข้าถ้ำหลวงสะให้เข็ด


อ้างคำพูด:
กบนอกกะลา เขียน:

คำพระสอน..

"การตั้งอารมณ์พระนิพพานที่ถูก ต้องพิจารณาเข้าหาทุกข์ของการทำงานให้มาก โดยเห็นโทษของการมีขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ต้องทำงาน จุดนี้จักทำให้เกิดนิพพิทาญาณในงาน ทำให้ละขันธ์ ๕ ได้ง่าย ดังนั้นวิปัสสนาญาณ ๙ ต้องหมั่นทบทวนพิจารณาให้จิตรู้ความจริงแล้วยอมรับ
และให้คอยระวังอารมณ์เศร้าหมองหดหู่ จักต้องลงตัวธรรมดาจนชิน เป็นสังขารุเบกขาญาณให้ได้

(หมายความว่า เห็นการทำงานทางโลกไม่เที่ยง ทำให้เกิดทุกข์ เป็นของธรรมดาจิตพร้อมที่จะปล่อยวางงานทุกชนิดได้ทันทีเมื่อกายพัง จิตพร้อมไปนิพพานได้เสมอรู้ลม รู้ตาย รู้นิพพาน คือทางลัดที่จำเป็นจะต้องซ้อมและพร้อมอยู่เสมอ)"

การหมั่นพิจารณาในบทธรรม..โดยเฉพาะอารมณ์ในวิปัสสนาญาณ 9. (พิจารณาในอารมณ์ 9... เกิดอารมณ์ใน 9 )..ก็เสมือนได้ฟังคำพระศาสดานั้นแหละคุณโรส...อย่ารอแค่ตอนฟังอย่างเดียว...หนึ่งวันคุณโรสจะฟังได้กี่ชั่วโมงกัน?
viewtopic.php?f=1&t=56020&p=421343#p421343




มันผิดหลักเห็นชัดๆ

อ้างคำพูด:
การตั้งอารมณ์พระนิพพานที่ถูก ต้องพิจารณาเข้าหาทุกข์ของการทำงานให้มาก โดยเห็นโทษของการมีขันธ์ ๕ เป็นเหตุให้ต้องทำงาน จุดนี้จักทำให้เกิดนิพพิทาญาณในงาน ทำให้ละขันธ์ ๕ ได้ง่าย


นิพพิทา ไม่ใช่หมายถึงเบื่อหน่ายต่อการการงาน เบื่อหน่ายงาน ไม่ใช่ เขาหมายถึงผู้ปฏิบัติกรรมฐานถูกต้องมาแต่ต้น คือ เห็นการเกิด-ดับของรูปนาม (วิปัสสนาญาณข้อ 1) ทำไปปฏิบัติไปแล้วมาถึงตรงนี้มันเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสังขาร คือ ร่างกายและจิตใจนี้ หรือรูปนามนี้ หรือชีวิตนี้

ทีนี้มาว่าเบื่อการทำงานทำมาหากินเสีย มันก็แย้งหลักธรรมข้ออื่นๆ เช่น ความขยันหมั่นเพียรในการประกอบสัมมาชีพ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นามธรรมมันอาศัยกันและกัน (สัมปยุตธรรม) ความหมาย ทิฏฐิ เช่นว่า

ทิฏฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจตามแนวความคิดของตน เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการพัฒนาปัญญา เพราะความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ปุถุชน ที่ต่อจากขั้นขึ้นต่อผู้อื่นด้วยศรัทธา ก้าวมาสู่การมีความคิดความเข้าใจหรือมีสิ่งที่เรียกว่า เหตุผลของคนเอง ประกอบ พอจะนับได้ว่าเป็นความเข้าใจของตนเอง ก็คือ ทิฏฐิ

บางครั้งทิฏฐิก็สัมพันธ์กับศรัทธาอย่างใกล้ชิด หรือถึงกับเป็นคนละแง่ของเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ แง่ที่เป็นการมอบความไว้วางใจในความรู้ของผู้อื่น ยอมไปตามปัญญาของเขา (แต่ออกหรือพุ่งไปหา) เป็นศรัทธา
ส่วนแง่ที่เป็นการรับเอาความรู้นั้น หรือสิ่งที่เขาบอกให้มายึดถือทำเป็นของตน (รับมาถือหรือเอาเข้ามา) เป็นทิฏฐิ ลักษณะสำคัญของทิฏฐิ คือการยึดถือเป็นของตน

ความรู้ที่เป็นทิฏฐินี้ มีได้ตั้งแต่ ขั้นไม่มีเหตุผลเลย จนถึงมีเหตุผลบ้างและมีเหตุผลมาก เมื่อใดทิฏฐินั้นพัฒนาขึ้นไปจนเป็นความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ ที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง คือ ตรงตามสภาวะ ก็เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ และจัดเป็นปัญญา
เมื่อปัญญานั้น เจริญขึ้นจนมองเห็นสภาวะนั้นด้วยตนเองอย่างชัดแจ้งสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องยึดถือความรู้นั้นเป็นของตน เพราะความจริงแท้ดำรงอยู่อย่างเป็นกลางๆ ไม่ต้องมีที่อ้างที่ยัน เป็นอันเลยพ้นขั้นของทิฏฐิไปเอง แต่เพราะทิฏฐิพ่วงอยู่กับความยึดถือเป็นของตน ทิฏฐิจึงมักก่อให้เกิดผลเสีย
ถ้ายึดถือเหนียวแน่น แม้จะเป็นทิฏฐิที่ใกล้เคียงความจริงอย่างมาก แต่ก็กลายเป็นเครื่องปิดบังขวางกั้นไม่ให้เข้าถึงความจริงนั้น

(ทิฏฐิจากหัวข้อ ความรู้ตามแนวพุทธธรรม) นี้

viewtopic.php?f=1&t=56123&start=15

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายมานะตามหลักพุทธธรรม


มานะ 1. ความถือตัว, ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่, เป็นอุทธัมมภาคิยสังโยชน์ คือ สังโยชน์เบื้องสูง พระอรหันต์จึงละได้ (ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๓ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยอภิธรรม, ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗, ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖, ข้อ ๒ ในปปัญจะ ๓)

มานะนี้ ในพระไตรปิฎกแสดงไว้มากหลายชุด มีตั้งแต่หมวด ๑ ถึงหมวด ๑๐, อย่างน้อยพึงทราบ มานะ ๓ ที่ตรัสไว้ด้วยกันกับ ตัณหา ๓ (องฺ.ฉกฺก.22/377/494) คือ

๑. มานะ ความถือตัวอยู่ภายใน โดยมีตัวตนที่ต้องคอยให้ความสำคัญ ที่จะพะนอจะบำเรอจะยกจะชูให้ปรากฏหรือให้เด่นขึ้นไว้ อั้นให้คำนึงที่จะแบ่งแยกเรา เขา จะเทียบ จะแข่ง จะรู้สึกกระทบกระทั่ง

๒. อติมานะ ความถือตัวเกินล่วง โดยสำคัญตนหยาบรุนแรงขึ้นเป็นความยกตัวเหนือเขา ดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น

๓. โอมานะ ความถือตัวต่ำต้อย โดยเหยียดตัวลงเป็นความดูถูกดูหมิ่นตนเอง

มานะ ๓ นี้ พึงทราบความหมายอย่างสั้นๆ ตามที่แสดงในมหานิทเทส (ขุ.ม.29/357/326) ว่า มานะ ว่าเราเท่ากับเขา อติมานะ ว่าเราดีกว่าเขา โอมานะ ว่าเราเลวกว่าเขา ย่อมไม่มี ย่อมไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ในพระพระอรหันตขีณาสพ

มานะ ๙ ซึ่งมีการอ้างอิงบ่อยๆ (เช่น ขุ.ม.29/102/94) ได้แก่
๑. ดีกว่าเขา สำคัญตัวว่าดีกว่าเขา
๒. ดีกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๓. ดีกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
๔. เสมอเขา สำคัญตัวว่าดีกว่าเขา
๕. เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๖. เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
๗. เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าดีกว่าเขา
๘. เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา
๙. เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา

ข้อ ๑, ๕ และ ๙ เป็นการมองตรงกับที่เป็นจริง แต่ก็ยังเป็นการถือตัว เป็นกิเลสอย่างประณีต ซึ่งพระอรหันต์จึงละได้
ส่วนอีก ๖ ข้อ เป็นการถือตัวโดยมองไม่ตรงกับที่เป็นจริง เป็นกิเลสที่หยาบกว่า ขั้นพระโสดาบันก็ละหมดแล้ว

มานะชื่ออื่นที่ควรทราบ คือ อธิมานะ ความสำคัญตนเกินเป็นจริง ความสำคัญตนผิด เช่น ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบในระดับหนึ่ง ซึ่งที่แท้ยังเป็นปุถุชน แต่สำคัญตนเป็นพระอรหันต์หรือเป็นพระอริยะ,
อัสมิมานะ ความถือตัว โดยมีความยึดมั่นสำคัญหมายในขันธ์ ๕ แม้อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเป็นตน,
มิจฉามานะ ความถือตัวผิด โดยหยิ่งผยองลำพองตนในความยึดถือ หรือความสามารถในทางชั่วร้าย เช่น ภูมิใจว่าพูดเท็จเก่งใครๆ จับไม่ได้ ลำพองว่าสามารถใช้วิชาของตนในทางที่คนอื่นรู้ไม่ทันเพื่อหากินหรือกลั่นแกล้งรังแกคนอื่นได้
อวมานะ การถือตัวกดเขาลง ซึ่งแสดงออกภายนอก โดยอาการลบหลู่ ไม่ให้เกียรติ ทำให้อับอาย ขายหน้า ไม่แยแส ไร้อาทร เช่น ผู้มีกำลังอำนาจที่ทำการขู่ตะคอก ลูกที่เมินเฉยต่อพ่อแม่ เป็นคู่ตรงข้ามกับคำในฝ่ายดี คือ สัมมานะ อันได้แก่ การนับถือยกย่อง ให้เกียรติแก่ผู้มีคุณความดีโดยเหมาะสมอย่างจริงใจ

มานะเป็นกิเลสเด่นนำเนื่องกัน และคู่กัน กับ ตัณหา เป็นแรงขับดันให้ปุถุชนทำการต่างๆ ก่อความขัดแย้ง ปัญหาและทุกข์นานา แม้หากรู้จักใช้ จะปลุกเร้าให้เบนมาเพียรพยายามทำความดีได้ ก็แฝงปัญหาและไม่ปลอดทุกข์ จึงต้องมีการศึกษา เริ่มแต่ฝึกวินัยให้มีศีลที่จะควบคุมพฤติกรรมไว้ในขอบเขตแห่งความสงบเรียบร้อยไม่เบียดเบียนกันแล้วพัฒนาจิตปัญญา ให้เจริญฉันทะขึ้นมาเป็นแรงขับเคลื่อนแทนที่ตัณหาและมานะ เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ ถึงจะยังมีมานะอยู่อย่างละเอียดจนเป็นพระอนาคามี ก็จะแทบไม่มีโทษภัย จนกว่าจะพ้นจากมานะเป็นอิสระสิ้นเชิง เมื่อบรรลุอรหัตผล ซึ่งจะเป็นอยู่ด้วยปัญญาบริสุทธิ์สืบไป

2. ในภาษไทย มานะมีความหมายเพี้ยนไปเป็นว่า เพียรพยายาม ขยันมุ่งมั่น เช่น ในคำว่า มานะพากเพียร มุมานะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มานานุสัย (มานะ+อนุสัย) อนุสัยคือมานะ ได้แก่ มานะ ๙ ประการ

อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน

สันดาน ความสืบต่อแห่งจิต คือกระแสจิตที่เกิดดับต่อเนื่องกันมา, ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่าอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด อัธยาศัยที่ติดตัวมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2018, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายสนทนากับใคร เขานำศัพท์ทางธรรมมาพูดเพียวๆโดดๆ ไม่บอกความหมายให้ เราไม่รู้ชัดไม่แน่ใจ ก็ไปสืบค้นว่า มันหมายถึงอะไรยังไง เราก็ได้ความรู้ รู้แล้วจบ กิลงกิเลสใครละได้ไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ตัวใครตัวมัน และการจะละกิเลสได้ ต้องฝึกต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องถูกวิธี ไม่ใช่นึกอยากจะเลิกจะละมันก็ละได้ดังใจปรารถนา ไม่มีทาง อย่างมากก็ได้แค่ทำท่าทำทางว่าละได้ ซึ่งไม่เป็นธรรมชาติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2018, 14:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
เป็นคนปกติมองโลกตามความเป็นจริง
หลับสนิทก็ไม่มีสภาพรู้อารมณ์เหมือนกัน
อย่าคิดแผลงเกินปกตินอนหลับสนิทไม่ฝัน
ไม่มีเจตสิกเกิดร่วมกับจิตเป็นภวังคจิตสืบต่อ
เมื่อยังไม่สิ้นสุดภพนี้ยังไงก็ไม่มีใครเห็นสีนะคะ
อย่าหลงผิดเกินที่คิดได้ตรง1คำวาจาสัจจะที่ตนมี
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 107 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร