ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=35471
หน้า 92 จากทั้งหมด 95

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 ก.พ. 2018, 22:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

๒๒) ผู้ปฏิบัติจะมีสมอง มีปัญญาที่ไว และโปร่งโล่งมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องมาจากผู้ปฎิบัติ มีสมาธิที่ดีขึ้น อันเนื่องมาจากความสุขจากธรรมสมาธิ ๕ ที่มีมากขึ้น (เอกัคคตาเจตสิก สุขปทฏฺฐานา - การตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว หรือสมาธิ มีสุขเวทนาเป็นเหตุใกล้) และสิ่งรบกวนสมาธิ หรือ noise ของจิต อันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ที่ลดลง โดยเฉพาะโมหะที่ทำให้จิตใจหลงออกจากความรู้เนื้อรู้ตัว ออกไปหลงคิดฟุ้งในเรื่องต่างๆ อันทำให้จิตใจไม่ตั้งมั่น ไม่มีสมาธินั้น น้อยลงไป :b47: :b48: :b49:

โดยการทำงานทำการต่างๆของจิต จะประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะและสมาธิ มาระลึกรู้ รู้ชัด และจดจ่อกับการงานลงเป็นปัจจุบันมากขึ้น ทำให้ปัญญา หรือปัญญินทรียเจตสิก อันได้แก่ ความรู้ในเหตุผลแห่งความจริงของสภาวธรรมต่างๆตามความเป็นจริงนั้น สามารถออกหน้ามาทำงานได้อย่างเต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ (ปัญญินทรียเจตสิก สมาธิปทฏฺฐานา - ปัญญา มีสมาธิเป็นเหตุใกล้) :b50: :b49: :b48:

ซึ่งตรงนี้ จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติ มีความก้าวหน้าในการงาน และมีความสำเร็จที่มากขึ้น ทั้งทางโลกและทางธรรม :b49: :b48: :b47:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 ก.พ. 2018, 22:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

๒๓) ผู้ปฏิบัติจะมีจิตที่อยู่กับปัจจุบันขณะมากขึ้น โดยรู้สึกตัวมีสติอยู่กับปัจจุบัน มีรู้เป็นเครื่องอยู่ มีสติเป็นเครื่องรักษาจิต ไม่ให้หลงออกไปคิดฟุ้งซ่านออกไปในอดีตที่ผ่านมาแล้ว หรือหลงไปในอนาคตที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น ซึ่งตรงนี้จะมีผลทำให้ผู้ปฏิบัติ ไม่จมอยู่กับอดีตจนเป็นทุกข์ และไม่เครียด ไม่เป็นกังวลไปกับอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น ทำให้จิตของผู้ปฏิบัติมีความสงบเบิกบานอยู่เป็นวิหารธรรม :b49: :b50: :b51:

นอกจากนี้ การที่ผู้ปฏิบัติมีรู้เป็นเครื่องอยู่ เป็นวิหารธรรมของจิตตรงนี้ เมื่อมีนิมิตอะไรเข้ามาให้จิตได้รับรู้ก็ตาม จิตเขาจะรู้ได้ว่า นิมิตที่เข้ามาให้ได้รับรู้นั้น เป็นของจริงหรือของปลอม
:b54: :b48: :b49:

เพราะถ้ากลับมารู้ลงในจิตแล้วนิมิตนั้นหายไป ก็แสดงว่า นิมิตนั้น เกิดจากการที่จิต คิดฟุ้งปรุงแต่งขึ้นมาเอง (ซึ่งถ้าจะกล่าวอย่างเคร่งครัด ก็จะเป็นว่า สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ เขาปรุงแต่งนิมิตขึ้นมาให้จิตได้รับรู้) :b47: :b46: :b42:

แต่ถ้าผู้ปฏิบัติกลับมารู้ลงในจิต แล้วนิมิตนั้นยังไม่หายไป นิมิตนั้นก็คือนิมิตที่ไม่ได้เกิดจากการที่จิตปรุงแต่งขึ้นมาเอง แต่เป็นของจริงที่เข้ามาให้ได้รับรู้ เพราะถ้านินมิตนั้นเกิดจากจิตเขาปรุงแต่งขึ้นมาเองแล้ว การกลับมารู้ลงในจิต ก็จะกำจัดการปรุงแต่ง หรือสัญญาสังขารที่ทำงานผุดเกิดขึ้นมาในจิตนั้นออกไป จนจิตกลับมารู้อยู่กับตัวรู้ :b50: :b51: :b44:

แต่ถ้านิมิตนั้นเป็นของจริง การกลับมารู้ลงในจิต ก็จะไม่ได้เป็นการกำจัดนิมิตนั้นให้หมดไป ผู้ปฏิบัติก็จะรู้ได้ว่า นิมิตนั้น เป็นของจริง ที่เข้ามาให้จิตได้รับรู้ :b48: :b47: :b46:

ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติฝึกไปถึงจุดที่รู้อยู่กับตัวรู้ได้อย่างเป็นปรกติแล้ว นิมิตที่เข้ามาให้ได้รู้ ก็จะเป็นของจริงทั้งหมด เนื่องเพราะจิตจะไม่มีการเผลอจนเปิดโอกาสให้สัญญาและสังขารเขาปรุงแต่งสิ่งที่ไม่เป็นจริงให้จิตได้รับรู้ :b42: :b43: :b39:

ซึ่งตรงนี้ ทำให้นิมิตหรือการรับรู้ทางจิตบางเรื่องที่ทางโลกว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์บางอย่างสำหรับผู้ที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิมาดีแล้ว (โดยเฉพาะผู้ที่ได้ฌาน ๔) เช่น การรู้ใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ) หรือการเห็นอนาคต (อนาคตังสญาณ) กลายเป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับผู้ที่ปฏิบัติจนได้ญาณไป :b46: :b47: :b46:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 ก.พ. 2018, 22:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

๒๔) การฝึกปฏิบัติลงในสติสัมปชัญญะและสมาธิ จะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้น มีสติรู้ชัด รู้ทันผัสสะเวทนา รู้ทันใจตนเอง ซึ่งส่งผลให้ผู้ปฏิบัตินั้น เป็นคนที่สุขุม สงบ สุข ไม่โกรธง่าย ไม่หงุดหงิดง่าย ใจเย็น
:b47: :b48: :b49:
นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติจะเป็นผู้ที่มีจิตใจที่อ่อนโยน มีความเมตตา (คือในสถานการณ์ที่ผู้อื่นอยู่เป็นปกติ ผู้ปฏิบัติก็จะมีความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์และสัตว์ทั่วหน้า) :b49: :b48: :b47:

มีความกรุณา (คือในสถานการณ์ที่ผู้อื่นตกทุกข์เดือดร้อน ผู้ปฏิบัติก็จะมีความสงสาร ความคิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงมนุษย์และสัตว์) :b51: :b50: :b49:

มีความมุทิตา (คือในสถานการณ์ที่ผู้อื่นมีสุขสำเร็จหรือทำอะไรก้าวไปด้วยดี ผู้ปฏิบัติก็จะมีความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง กอปรด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป) :b47: :b46: :b42:

และมีความอุเบกขา (คือในสถานการณ์ที่ต้องรักษาธรรมตามความรับผิดชอบต่อกรรมที่เขาทำ ผู้ปฏิบัติก็จะมีความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน) :b44: :b43: :b39:

(ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ของท่านเจ้าประคุณอาจารย์ ป.อ.ปยุตโต)

หรือผู้ปฏิบัติ จะเป็นผู้ที่มีความอ่อนโยนด้วยพรหมวิหาร ยืนพื้นอยู่ในจิตใจอยู่อย่างสม่ำเสมอ :b50: :b49: :b48:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 ก.พ. 2018, 22:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

และด้วยความที่ผู้ปฏิบัติ เป็นผู้ที่รู้ทันในจิตใจของตน การมีเมตตาของผู้ปฏิบัตินั้น ก็จะตั้งอยู่บนสมบัติ (ความสมบูรณ์หรือความสัมฤทธิ์ผล) ของความเมตตา ซึ่งก็คือ ความสงบหาย ไร้ซึ่งความแค้นเคืองไม่พอใจ ไม่ล้นเกินจนเกิดเป็นวิบัติ (ความล้มเหลว หรือการปฏิบัติผิดพลาด ไม่สำเร็จผล) ของเมตตา ซึ่งก็คือ การมีเมตตาที่ล้นออกไปในทางอกุศล จนเกิดเป็นความรักใคร่เสน่หา อยากเข้าครอบครองในตัวผู้ที่ได้รับความเมตตานั้นไป :b46: :b47: :b42:

เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติที่รู้ทันในจิตใจของตนแล้ว เมื่อเกิดความเมตตาที่เป็นกุศลขึ้นในจิต ก็จะรู้ชัดในอาการอันอ่อนโยน แผ่วเบา ร่มเย็น เบิกบาน เป็นสุข ของความปรารถนาดีต่อผู้อื่น หรือในความมีเมตตาที่เกิดขึ้น :b50: :b44: :b43:

แต่ถ้าความเมตตานั้น เกินเลยออกไปจนเกิดความรักใคร่สเน่หาขึ้นมาในจิต ผู้ปฏิบัติก็จะรู้ชัดในอาการที่จิตเกิดความเมตตาจนเกินเลยไปนั้นได้ว่า เกิดอกุศลคือความรักใคร่เสน่หา อยากเข้ามาครอบครองขึ้นมาในจิตนั้น ซึ่งไม่อ่อนโยน ไม่แผ่วเบา ไม่ร่มเย็น ไม่เบิกบาน ไม่เป็นสุข เหมือนอาการปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุขออกไป
:b47: :b47: :b48:

ส่วนการมีความกรุณาของผู้ปฏิบัติที่รู้ทันในจิตใจของตนแล้วนั้น ก็จะตั้งอยู่บนสมบัติของความกรุณา ซึ่งก็คือ ความสงบหายไร้ความคิดที่จะเบียดเบียนทำร้ายกัน ไม่สงสารล้นเกินจนเกิดเป็นวิบัติของกรุณา ซึ่งก็คือ เกิดความสงสารมากเกินไปจนจิตพลิกไปในทางอกุศล ซึ่งก็คือ เกิดความโศกเศร้าในตัวผู้ที่ได้รับความสงสารนั้นไป :b49: :b50: :b44:

เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติที่รู้ทันในจิตใจของตนแล้ว เมื่อเกิดความกรุณาที่เป็นกุศลขึ้นในจิต ก็จะรู้ชัดในอาการอันอ่อนโยน แผ่วเบา ร่มเย็น เบิกบาน เป็นสุข ของความอยากให้เขาพ้นทุกข์ หรือในความกรุณาที่เกิดขึ้น :b55: :b54: :b49:

แต่ถ้าความกรุณานั้น เกินเลยออกไปจนเกิดความเศร้าโศกขึ้นมาในจิต ผู้ปฏิบัติก็จะรู้ชัดในอาการที่จิตเกิดความกรุณาจนเกินเลยไปนั้นได้ว่า เกิดอกุศล คือความเศร้าโศก มืดทึบ หมองมัว ขึ้นมาในจิตนั้น ซึ่งไม่อ่อนโยน ไม่แผ่วเบา ไม่ร่มเย็น ไม่เบิกบาน ไม่เป็นสุข เหมือนอาการคิดจะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ออกไป :b47: :b46: :b47:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 ก.พ. 2018, 22:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

ส่วนการมีมุทิตาของผู้ปฏิบัติที่รู้ทันในจิตใจของตนแล้วนั้น ก็จะตั้งอยู่บนสมบัติของความมีมุทิตา ซึ่งก็คือ ความสงบหายไร้ความริษยา ไม่สงสารล้นเกินจนเกิดเป็นวิบัติของมุทิตา ซึ่งก็คือ เกิดความชื่นชมยินดีมากเกินไปจนจิตพลิกไปในทางอกุศล ซึ่งก็คือเกิดความเผลอเพลิน ตื่นเต้น สนุกสนาน เพลิดเพลิน ในการแสดงความยินดีไปกับตัวผู้ที่ได้รับมุทิตานั้นไป :b44: :b43: :b42:

เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติที่รู้ทันในจิตใจของตนแล้ว เมื่อเกิดมุทิตาที่เป็นกุศลขึ้นในจิต ก็จะรู้ชัดในอาการอันอ่อนโยน แผ่วเบา ร่มเย็น เบิกบาน เป็นสุข ของความมีจิตใจที่ร่วมยินดี หรือมุทิตาที่เกิดขึ้น :b51: :b50: :b49:

แต่ถ้ามุทิตานั้น เกินเลยออกไปจนเกิดความเผลอเพลินสนุกสนานขึ้นมาในจิต ผู้ปฏิบัติก็จะรู้ชัดในอาการที่จิตเกิดมุทิตาจนเกินเลยไปนั้นได้ว่า เกิดอกุศล คือความตื่นเต้น ความโลดแล่นแห่งจิตด้วยความเผลอเพลินสนุกสนานขึ้นมาในจิต ซึ่งไม่อ่อนโยน ไม่แผ่วเบา ไม่ร่มเย็น ไม่เบิกบาน ไม่เป็นสุข เหมือนอาการร่วมด้วยช่วยยินดีไปกับผู้ที่ประสบผลสำเร็จนั้นไป :b47: :b46: :b47:


ส่วนการมีอุเบกขาของผู้ปฏิบัติที่รู้ทันในจิตใจของตนแล้วนั้น ก็จะตั้งอยู่บนสมบัติของความมีอุเบกขา ซึ่งก็คือ ความสงบหายไม่มีความยินดียินร้าย ไม่อุเบกขาล้นเกินจนเกิดเป็นวิบัติของอุเบกขา ซึ่งก็คือ เกิดความวางเฉยมากเกินไปจนจิตพลิกไปในทางอกุศล ซึ่งก็คือ เกิดความเฉยด้วยไม่รู้ (เฉยโง่ เฉยเมย เฉยเมิน) ไม่เอาเรื่องเอาราว ไม่สนใจอะไรซักอย่างในตัวผู้ที่ได้รับอุเบกขานั้นไป :b48: :b49: :b50:

เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติที่รู้ทันในจิตใจของตนแล้ว เมื่อเกิดอุเบกขาที่ประกอบไปด้วยปัญญาขึ้นในจิต ก็จะรู้ชัดในอาการอันอ่อนโยน แผ่วเบา ร่มเย็น เป็นสุข เบิกบาน สว่างไปด้วยปัญญาของอาการวางเฉย หรืออุเบกขาที่เกิดขึ้น :b44: :b43: :b39:

แต่ถ้าอุเบกขานั้น พลิกกลับไปอีกด้าน จนเกิดอาการวางเฉยด้วยการไม่รู้ ไม่เอาอะไรซักอย่างขึ้นมาในจิต ผู้ปฏิบัติก็จะรู้อาการที่จิตเกิดอุเบกที่พลิกไปนั้นได้ว่า เกิดอาการวางเฉยจากความโง่ คือเฉยแบบไม่เอาอะไรเลย เกิดความมืดทึบ ซึมเซา ขึ้นมาในจิต ซึ่งไม่อ่อนโยน ไม่แผ่วเบา ไม่ร่มเย็น ไม่เบิกบาน ไม่เป็นสุข ไม่สว่างไปด้วยปัญญา เหมือนอาการวางเฉยที่จะรักษาธรรมตามความรับผิดชอบต่อกรรมที่เขาทำนั้นไป
:b49: :b50: :b51:

ซึ่งจิตใจที่อ่อนโยน ประกอบไปด้วยสมบัติของพรหมวิหารของผู้ปฏิบัติในสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ จนรู้เท่าทันใจตนเองได้แล้วตรงนี้ นอกจากจะทำให้ตนเองมีความสุขจากการให้แล้ว ยังส่งผลทำให้คนรอบข้าง เช่น เพื่อนร่วมงาน คนในครอบครัว รู้สึกดีที่ได้อยู่ใกล้ สังคมรอบตัวอบอุ่นมีความสุขมากขึ้น ด้วยกระแสอันสงบเย็นของพรหมวิหารที่มีอยู่ในตัวของผู้ปฏิบัตินั้น นั่นเองนะครับ :b1: :b46: :b39:

แล้วมาต่อกันในคราวหน้า :b49: :b54: :b41:

เจริญในธรรมครับ :b8:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 มี.ค. 2018, 22:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

ขออนุญาตมาต่อกันที่สภาวะ และผลที่ได้จากสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในระดับโสดาบันเข้าสู่สกทาคามีกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

๒๕) สำหรับอริยบุคคลระดับโสดาบัน โดยเฉพาะระดับสกทาคามี ที่มีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ผ่านการฝึกมาดีระดับหนึ่งแล้วนั้น จิตจะเริ่มทรงฌานในชีวิตประจำวันได้ :b46: :b47: :b46:

โดยในระดับสกทาคามี ฌานที่ทรงได้จะมีทั้งความถี่ ความยาวนาน และระดับความลึกซึ้งที่สูงกว่าในระดับโสดาบัน ที่มีสภาวะของการทรงฌานแบบยังไม่แจ่มแจ้งแทงตลอดในไตรลักษณ์ หรือแบบติดๆดับๆในความตั้งมั่นแห่งจิต :b50: :b49: :b48:

ส่วนในระดับอนาคามี จะทรงฌานได้เป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน มีส่วนน้อยที่อาจจะเกิดสภาวะฟุ้งในธรรมที่ยังรู้ไม่จบแทรกอยู่บ้างเป็นบางครั้งเนื่องมาจากอุทธัจจสังโยชน์ แต่โดยมากแล้ว จะมีปีติ สุข สงบ และมีปัญญารู้แจ้งโลกตามความเป็นจริงตามลักษณะสามัญทั้ง ๓ เป็นเครื่องรู้ของสติ เป็นเครื่องอยู่ของจิต หรือเป็นวิหารธรรมอยู่ได้อย่างเป็นปรกติ :b53: :b51: :b50:

ส่วนระดับพระอรหันต์นั้น ท่านจะทรงฌานอยู่ได้โดยตลอด เนื่องจากอิทธิพลของสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ผ่านการฝึกมาจนบริบูรณ์ดีแล้ว จนเป็นสติอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติ หรือจนเป็นมหาสติ มหาปัญญา ตามสำนวนขององค์หลวงตามหาบัวนะครับ :b8: :b46: :b47:

โดยฌานที่ทรงได้ในชีวิตประจำวันของอริยบุคคลนั้น จะรวมทั้งฌานชนิด ลักขณูปนิชฌาน คือมีไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ตลอด กับ อารัมมณูปนิชฌาน คือมีสภาวะ "รู้" ในการใช้ชีวิตประจำวันแบบตั้งมั่น ปีติ สุข สงบ เบิกบานอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันขณะ (สมาธิ/เอกัคคตา) ซึ่งมีสภาวะเหมือนกับพึ่งออกจากรูปฌาน ๑ ถึงรูปฌาน ๔ มาใหม่ๆ :b47: :b48: :b47:

นั่นคือ ในขณะที่ไม่ได้ทำงานใช้ความคิด ผู้ปฏิบัติก็จะมี "ผู้รู้" ออกมาทำหน้าที่ "รู้" และ "รู้ชัด" อยู่ในชีวิตประจำวัน โดยมีปีติ สุข สงบ เบิกบานเข้ามาประกอบเป็นเครื่องอยู่ของจิต โดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าฌานและออกจากฌานมาก่อน ถึงจะมีปีติ สุข สงบ เบิกบาน รวมทั้งรู้ชัดในทั้งวิเสสลักษณะ และสามัญลักษณะของกายใจได้ :b49: :b54: :b55:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 มี.ค. 2018, 22:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

มากล่าวถึงการทรงฌานชนิดลักขณูปนิชฌาน อันมีไตรลักษณ์เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ตลอดเวลากันก่อนนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งในขั้นแรก สำหรับผู้ปฏิบัติที่บรรลุโสดาบันได้แล้วนั้น ไตรลักษณ์ที่เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ตลอดเวลา ก็เริ่มต้นจากการรู้อนิจจัง ซึ่งขยายความด้วยถ้อยคำในพระไตรปิฎกได้ว่า ... :b46: :b47: :b48:

ผู้ปฏิบัติที่บรรลุโสดาบัน จะมีปัญญาอัตโนมัติที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา (ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ) ...
:b48: :b47: :b41:

ซึ่งปัญญาตรงนี้ จะเป็นปัญญาอัตโนมัติที่มีอนิจจังคือความไม่เที่ยง เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ในทุกผัสสะที่กระทบ ตั้งแต่อริยบุคคลระดับโสดาบันขึ้นไป :b50: :b51: :b50:

(ซึ่งในระดับโสดาบันและสกทาคามี ถึงแม้จะมีปัญญาอัตโนมัติรู้ลงในความไม่เที่ยงอยู่ตลอดเวลาแล้วก็ตาม แต่บางครั้งก็ยังเกิดความทุกข์ใจอันเนื่องมาจากบางที ยังทำใจไม่ได้เมื่อเผชิญหน้ากับความสูญเสียหรือความผิดหวัง ถึงแม้ว่าจะรู้สภาวะตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบแล้วก็ตาม :b55: :b54: :b49:

นั่นคือ ระดับโสดาบันและสกทาคามี ยังไม่ลึกซึ้งถึงใจอย่างแท้จริงในลักษณะสามัญอีกสองข้อ คือทุกขัง และโดยเฉพาะอนัตตา

ซึ่งก็คือยังไม่มีสภาวะที่เห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างลึกซึ้งถึงใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา)
:b47: :b46:

ทำให้ในระดับโสดาบันและสกทาคามี ยังคงมีความทุกข์โทมนัสได้อยู่เมื่อกระทบกับผัสสะปฏิฆะที่ไม่น่าพอใจ แต่ทุกข์โทมนัสที่ว่า ก็มีความถี่ ความยาวนาน และความเข้มข้นที่เกิดขึ้น ลดน้อยลงกว่าของปุถุชนไปมาก โดยเฉพาะในระดับสกทาคามี ที่มีราคะและปฏิฆะเบาบางลงไปมากแล้ว) :b47: :b48: :b49:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 มี.ค. 2018, 22:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

ซึ่งการทรงลักขณูปนิชฌานในเบื้องต้นของโสดาบันและสกทาคามี ที่มีอนิจจังคือความไม่เที่ยงมีเกิดมีดับเป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ตลอดเวลานั้น จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อมีผัสสะเวทนาใดๆมากระทบจิต องค์สติสัมปชัญญะและสมาธิที่ฝึกมาดีแล้ว ก็จะทำหน้าที่ในภาครับรู้ ให้จิตได้รู้ลงในผัสสะและเวทนานั้นได้ชัดอย่างเป็นอัตโนมัติ :b47: :b48: :b42:

ตลอดจนมีปัญญาอัตโนมัติที่จะรู้ได้อีกว่า ผัสสะเวทนานั้นเป็นของชั่วคราว เกิดขึ้นได้เองเดี๋ยวก็ดับลงไปได้เอง :b49: :b50: :b51:

แล้วถ้าผัสสะเวทนานั้น ทำให้เกิดตัณหา อุปาทาน ภพ ในภาคประมวลผล จนลามไปเกิดเป็นทุกข์ คือ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส ขึ้นมาในจิต ถึงแม้ว่าจิตจะเป็นทุกข์ แต่จิตนั้นก็จะมีปัญญารู้อีกว่า ทุกข์นั้นก็เป็นของชั่วคราว เกิดขึ้นได้เองเดี๋ยวก็ดับลงไปได้เอง :b44: :b43: :b42:

และจากที่เคยอธิบายไปแล้วนะครับว่า สำหรับผู้ปฏิบัติที่ฝึกธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในภาคส่วนของ (อริย) สัจจบรรพมาอย่างชำนิชำนาญแล้วละก็ เมื่อมีทุกข์เกิดขึ้นในจิต ผู้ปฏิบัตินั้นก็จะสามารถละสมุทัย จนเห็นได้ถึงการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ การตั้งอยู่แห่งทุกข์ จนถึงการดับลงไปแห่งทุกข์ และการผุดเกิดขึ้นมาแห่งนิโรธ แบบต่อหน้าต่อตาภายในชั่วไม่กี่ขณะจิตเลยทีเดียว โดยใช้กำลังขององค์มรรค อันมีสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ ที่ผ่านการฝึกมาดีแล้ว เป็นองค์นำในการละสมุทัย เพื่อให้เข้าไปรู้ไปเห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปแห่งทุกข์ และการเกิดขึ้นแห่งนิโรธ :b54: :b47:

ซึ่งนี่ก็คือการเห็นอริยสัจจ์ทั้ง ๔ ด้วยการทำกิจในอริยสัจจ์ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ภายในไม่กี่ขณะจิต นั่นเอง :b46: :b47: :b46:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 มี.ค. 2018, 22:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

ส่วนการทรงลักขณูปนิชฌานในระดับอนาคามีที่มีการพัฒนาของโลกุตรปัญญาขึ้นไปอีกขั้นนั้น ก็จะเห็นทุกขังและอนัตตาแห่งกายเป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ตลอดเวลา :b46: :b47: :b46:

ทั้งนี้ โดยมาจากเหตุที่ได้พิจารณากายจนมีสภาวะที่เห็นกายนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างลึกซึ้งถึงใจแล้วว่า กายนี้เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นก้อนทุกข์ที่ถูกบีบคั้นให้ผันแปรไปด้วยเหตุปัจจัยอยู่ตลอดเวลา มีแก่ เจ็บ ตาย เป็นที่สุด และกายนี้ไม่ใช่ของเรา, กายนี้ไม่ใช่เรา, กายนี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา :b48: :b49: :b50:

ทำให้ในระดับอนาคามีแล้วนั้น จะไม่มีความติดใจอยาก (ตัณหา) ในกาย รวมถึงในผัสสะเวทนาแห่งกาย จนกระทั่งไม่มีความยึดติดถือมั่น (อุปาทาน) ในกาย รวมถึงในผัสสะเวทนาแห่งกาย :b48: :b47: :b46:

(แต่ยังมีความติดใจอยาก หรือตัณหาอย่างละเอียดแห่งใจ และผัสสะโสมนัสเวทนาแห่งใจ อันได้แก่ ความติดใจอยากในความสุขความสงบของรูปฌาน (รูปราคะสังโยชน์) และอรูปฌาน (อรูปราคะสังโยชน์)) :b50: :b49: :b48:

ซึ่งการรับรู้โลกและการประมวลผลในระดับอนาคามี ก็จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อมีผัสสะใดๆมากระทบอายตนะแห่งกายจนเกิดสุขเวทนาที่กาย ทุกขเวทนาที่กาย โสมนัสเวทนาที่ใจ หรืออุเบกขาเวทนาที่ใจแล้วนั้น :b53: :b51: :b45:

องค์สติสัมปชัญญะและสมาธิที่ฝึกมาดีแล้ว ก็จะทำหน้าที่ในภาครับรู้ ให้จิตได้รู้ลงในผัสสะและเวทนานั้นได้ชัดอย่างเป็นอัตโนมัติ ตลอดจนมีปัญญาอัตโนมัติที่จะรู้ได้อีกว่า ผัสสะที่ผ่านกาย จนเกิดเวทนาทางกายและใจนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นที่กายของเรา เนื่องเพราะกายนี้ไม่ใช่ของเรา, กายนี้ไม่ใช่เรา, กายนี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา :b46: :b47: :b46:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 มี.ค. 2018, 22:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

ดังนั้น การรับรู้โลกผ่านอายตนะแห่งกาย คือตา หู จมูก ลิ้น และกาย ก็จะเป็นการรับรู้แบบซื่อตรง ทั้งผัสสะและเวทนา ที่เป็นสักแต่ว่ากระทบและรับรู้การกระทบ ทำให้การประมวลผลและสั่งการกระทำต่ออันเนื่องมาจากผัสสะและเวทนาแห่งกายในระดับอนาคามีนั้น ประกอบไปด้วยสติและปัญญาล้วนๆ :b46: :b47: :b41:

ทั้งนี้ เนื่องมาจากการประมวลผลและการสั่งการกระทำต่อทางใจกายวาจานั้น ไม่ประกอบไปด้วยความติดใจอยาก (ตัณหา) ในกาย รวมถึงในผัสสะและเวทนาแห่งกาย จนกระทั่งไม่มีการยึดติดถือมั่น (อุปาทาน) ในกาย รวมถึงในผัสสะและเวทนาแห่งกาย
:b50: :b51: :b55:

ไม่ว่ารูปนั้นจะเคยเป็นที่น่ารักน่าใคร่เพียงไหน, ไม่ว่ารสนั้นจะเคยมาจากอาหารที่เอร็ดอร่อยเพียงไหน, ไม่ว่ากลิ่นนั้นจะเคยชวนให้เกิดความติดใจหลงไหลเพียงไหน, ไม่ว่าเสียงนั้นจะเคยมาจากดนตรีที่เพราะเพียงไหน, ไม่ว่าสัมผัสนั้นจะเคยนุ่มนวลเพียงใด ก็ไม่สามารถทำให้เกิดตัณหาแลอุปาทานขึ้นในจิตของอนาคามีได้ :b46: :b47: :b46:

ส่วนการทรงลักขณูปนิชฌานในระดับพระอรหันต์ที่มีการพัฒนาของโลกุตรปัญญาขึ้นไปจนถึงที่สุดแล้วนั้น ก็จะเห็นทั้ง อนิจจัง ทุกขังและโดยเฉพาะอนัตตาแห่งกายใจ (หรือขันธ์ทั้ง ๕) เป็นพื้นฐานของการทำหน้าที่รู้ของจิตอยู่ได้ตลอดเวลา :b47: :b42:

ทั้งนี้ โดยมาจากเหตุที่พระอรหันต์ ท่านได้พิจารณากายและใจจนมีสภาวะที่เห็นทั้งกายและใจนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างลึกซึ้งถึงใจแล้วว่า นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม), นั่นไม่ใช่เรา (เนโสหมสฺมิ), นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) :b53: :b51: :b44:

ทำให้ในระดับพระอรหันต์แล้วนั้น ไม่มีความติดใจอยาก (ตัณหา) ในผัสสะเวทนาทั้งหลาย จนกระทั่งไม่มีความยึดติดถือมั่น (อุปาทาน) ในขันธ์ทั้ง ๕ เนื่องเพราะธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งตัณหาและอุปาทาน ได้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้นแล้ว นั่นเอง
:b48: :b47: :b46:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 มี.ค. 2018, 22:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

ซึ่งการรับรู้โลกและการประมวลผลในระดับพระอรหันต์ ก็จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อมีผัสสะใดๆมากระทบอายตนะใดๆก็ตาม จนเกิดสุขเวทนาที่กาย ทุกขเวทนาที่กาย โสมนัสเวทนาที่ใจ หรืออุเบกขาเวทนาที่ใจแล้วนั้น องค์สติสัมปชัญญะและสมาธิที่ฝึกมาดีจนเป็นวิหารธรรมอันเป็นปรกติสุขของจิตแล้วนั้น ก็จะทำหน้าที่ในภาครับรู้ ให้จิตได้รู้ลงในผัสสะและเวทนานั้นได้ชัดอย่างเป็นอัตโนมัติ :b48: :b47: :b47:

ตลอดจนมีปัญญาอัตโนมัติที่จะรู้ได้อีกว่า ผัสสะที่ผ่านกายและใจ จนเกิดเวทนาทางกายและใจนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นที่กายและใจของเรา เนื่องเพราะกายและใจนี้ไม่ใช่ของเรา, กายและใจนี้ไม่ใช่เรา, กายและใจนี้ไม่ใช่ตัวตนของเรา :b49: :b50: :b51:

นั่นคือ ในสายตาของพระอรหันต์ผู้ทรงลักขณูปนิชฌานในระดับสูงที่สุดอยู่ตลอดเวลาแล้วนั้น มันไม่มี "เรา" ผู้เป็นผู้กระทบผัสสะและเวทนาแล้วตั้งแต่แรก ทุกสิ่ง (สังขตธรรม) ที่ปรากฏ มีเพียงแต่ธรรม และกระบวนธรรมฝ่ายปรมัตถ์ เช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากตัวตน ว่างเปล่าจาก สัตว์ บุคคล เรา เขา ฯลฯ เป็นเพียงสภาพธรรม หรือกระบวนธรรมที่ถูกปรุงแต่ง และขับเคลื่อนไปด้วยเหตุปัจจัยล้วนๆ :b55: :b54: :b48:

ดังนั้น การรับรู้โลกผ่านอายตนะทั้ง ๖ ในระดับพระอรหันต์ ก็จะเป็นการรับรู้แบบซื่อตรง ทั้งผัสสะและเวทนา ทำให้การประมวลผลและสั่งการกระทำต่อทางใจกายวาจาอันเนื่องมาจากผัสสะและเวทนาในระดับพระอรหันต์นั้น ประกอบไปด้วยสติและปัญญาล้วนๆ :b44: :b43: :b42:

อันเนื่องมาจากการประมวลผลและการสั่งการกระทำต่อนั้น ไม่ประกอบไปด้วยความติดใจอยาก (ตัณหา) ในกายใจ และในผัสสะเวทนาทั้งหลาย จนกระทั่งไม่มีการยึดติดถือมั่น (อุปาทาน) ในกายใจ และในผัสสะเวทนาทั้งหลาย เนื่องเพราะความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ, อวิชชา) ว่ามีเรา อันเป็นที่ตั้งต้นแห่งตัณหาและอุปาทานนั้น ได้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้นแล้ว นั่นเอง :b46: :b47: :b48:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 13 มี.ค. 2018, 22:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

และด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ในระดับพระอรหันต์ นอกจากการเห็นด้วยปัญญาอัตโนมัติอันเป็นสภาวะที่ติดมาตั้งแต่ในระดับโสดาบันว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา" แล้ว ท่านยังมีการเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างลึกซึ้งถึงใจในสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งว่า :b46: :b47: :b46:

"สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ไม่มีความดับไปเป็นธรรมดา" :b46: :b47: :b46:

เนื่องเพราะ "สิ่งนั้น" ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด :b46: :b47: :b46:

ทำให้ "สิ่งนั้น" :b46: :b47: :b46:

ไม่ปรากฏความเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
ไม่ปรากฏความเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)
และเมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปรปรวน (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)


ซึ่ง "สิ่งนั้น" ก็คือ อสังขตธาตุ อสังขตธรรม หรือ อมตธาตุ อมตธรรม อันซึ่งผู้บรรลุแล้ว ได้กระทำให้ถึงความสิ้นสุดลงแห่งทุกข์ และความสิ้นสุดลงแห่งการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอันยาวนาน ... :b46: :b47: :b46:

จนกระทั่งสุดท้าย แม้แต่ผู้บรรลุแล้ว ก็ไม่ปรากฏ แม้แต่ผู้ยังไม่บรรลุ ก็ไม่ปรากฏ นั่นเอง
:b46: :b47: :b46:

ไว้คราวหน้ามาต่อด้วยเรื่องของการทรงฌานชนิดอารัมมณูปนิชฌาน อันมีสภาวะรู้ในการใช้ชีวิตประจำวันแบบตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันขณะ (สมาธิ/เอกัคคตา) ตั้งแต่รูปฌานที่ ๑ ถึงรูปฌานที่ ๔ กันนะครับ :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 17 เม.ย. 2018, 22:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

คราวนี้มากล่าวถึงการทรงฌานชนิดอารัมมณูปนิชฌาน คือมีสภาวะของ "ผู้รู้" ปรากฏอยู่ในการใช้ชีวิตประจำวันแบบตั้งมั่นและเป็นกลางอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันขณะอย่างต่อเนื่อง (สมาธิ/เอกัคคตาเจตสิก) นั่นคือการทรงฌานในชีวิตประจำวันได้ ตั้งแต่รูปฌานที่ ๑ ถึงรูปฌานที่ ๔ กันนะครับ :b1: :b46: :b39:

ซึ่งสำหรับผู้ปฏิบัติที่ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ ด้วยการรู้ลงในกายใจ ทั้งในรูปแบบและการใช้ชีวิตประจำวันมาแล้วนั้น เริ่มต้นเมื่อฝึกฝนใหม่ๆ ก็จะเริ่มจากการมีสติรู้ตัวเป็นขณะๆ :b50: :b49: :b48:

โดยที่เวลาที่เหลือส่วนใหญ่ จิตจะประกอบไปด้วยศัตรูของสมาธิ ซึ่งก็คือนิวรณ์ทั้ง ๕ อันได้แก่ :b51: :b50: :b49:

๑) ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง (กามฉันทะ)
๒) ความไม่พอใจ ความขัดเคือง จากความไม่ได้สมดังปรารถนาในโลกียะสมบัติทั้งปวง (พยาบาทะ)
๓) ความหดหู่ เซื่องซึม ขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม (ถีนมิทธะ)
๔) ความคิดเหม่อลอย ฟุ้งซ่าน ซัดส่าย ไม่สงบนิ่ง (อุทธัจจะ กุกกุจจะ)
๕) ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่เต็มที่ ไม่มั่นใจ (วิจิกิจฉา)

สลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาสิงสู่อยู่ในจิต :b49: :b50: :b43:

โดยเฉพาะอาการหลงเผลอเหม่อลอย หรือฟุ้งคิดออกนอก (อุทธัจจะ กุกกุจจะ) อันเนื่องมาจากโมหะ ซึ่งเป็นอกุศลธรรมที่อยู่ในขั้วตรงข้ามกับความมีสติรู้เนื้อรู้ตัวนั้น จะเข้ามารบกวนจิตใจอยู่ได้เป็นส่วนใหญ่ของการใช้ชีวิตประจำวัน :b46: :b47: :b42:

ต่อเมื่อการฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิ มีความก้าวหน้ามากขึ้นไปเรื่อยๆ การมีสติกลับมารู้เนื้อรู้ตัวเป็นขณะๆก็จะมีความถี่มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จิตใจปราศจากนิวรณ์เป็นขณะๆ ถี่มากขึ้นเรื่อยๆเป็นเงาตามกันไป :b51: :b50: :b49:

ซึ่งการที่จิต มีสติรู้เนื้อรู้ตัวเป็นขณะๆ และปราศจากนิวรณ์เป็นขณะๆที่มีความถี่มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้จิตรู้เนื้อรู้ตัวได้ชัดขึ้น คือมีสัมปชัญญะรู้ชัดที่ถี่มากขึ้น และรู้ชัดแบบตั้งมั่นลงในปัจจุบันอารมณ์หรือปัจจุบันขณะ คือมีองค์ของสมาธิ (เอกัคคตาเจตสิก) ที่เกิดได้ถี่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว :b47: :b48: :b45:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 17 เม.ย. 2018, 22:32 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

นั่นคือ การฝึกสติที่ทำให้มีความรู้เนื้อรู้ตัวถี่ขึ้น เป็นผลให้นิวรณ์อันเป็นองค์ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ของสมาธิขาดเป็นช่วงๆ ซึ่งจะส่งผลให้สัมปชัญญะและสมาธิ ได้รับการพัฒนาให้เกิดมีขึ้นเป็นขณะๆ ที่ถี่ขึ้นตามลำดับกันไป :b47: :b48: :b42:

ซึ่งองค์ของสมาธิที่เกิดขึ้นเป็นขณะๆ และมีความถี่ที่มากขึ้นมานี้ เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็จะทำให้ผู้ปฏิบัติ เริ่มที่จะมีการพัฒนาของการทรงสมาธิได้ในชีวิตประจำวัน โดยเริ่มจากสมาธิที่เกิดขึ้นเป็นขณะๆ หรือที่เรียกกันว่า ขณิกสมาธิ อันเกิดมาจากการมีสติที่เกิดขึ้นเป็นขณะๆ ที่มีความถี่ที่เพิ่มขึ้นมานั้น นั่นเอง :b49: :b50: :b42:

และเมื่อผู้ปฏิบัติ ได้ฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิด้วยการรู้ลงในกายใจทั้งในรูปแบบและการใช้ชีวิตประจำวันโดยมีความก้าวหน้ามากขึ้นไปอีก สติสัมปชัญญะและสมาธิที่เกิดขึ้นเป็นขณะๆนั้น ก็จะเกิดการพัฒนาจนกระทั่งมีสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ถี่ และขยายระยะเวลาในแต่ละครั้งได้ยาวนานขึ้น จนจิตกลับมารู้เนื้อรู้ตัวลงในปัจจุบันขณะได้แบบตั้งมั่นเป็นกลาง อยู่กับเนื้อกับตัวโดยปราศจากนิวรณ์ (โดยเฉพาะนิวรณ์เผลอเหม่อลอยฟุ้งคิดออกนอก หรือหดหู่ซึมเซาง่วงเหงาไปวันๆ) ซึ่งเป็นอุปสรรคของสมาธิได้ถี่ และยาวนานขึ้น :b47: :b46: :b42:

จนกระทั่งผู้ปฏิบัติ เกิดการพัฒนาของการทรงสมาธิได้ในชีวิตประจำวัน จากสมาธิชั่วขณะหรือขณิกสมาธิ ไปเป็นสมาธิที่ตั้งมั่นมากขึ้นและยาวนานขึ้นจนเฉียดฌาน หรืออุปปจารสมาธิ :b55: :b54: :b49:

นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะมีสภาวะที่จิตปราศจากนิวรณ์ กลับมารู้เนื้อรู้ตัว รู้ตัวทั่วพร้อม หรือมีสติสัมปชัญญะและสมาธิได้บ่อยและยาวนานต่อเนื่องขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน :b46: :b47: :b42:

แต่ถึงแม้กระนั้นก็ตาม สติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้ ก็ยังเป็นสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ยังไม่ประกอบไปด้วยความมีปีติอิ่มเอิบ หรือเป็นสุข หรือเบิกบาน :b49: :b48: :b42:

ซึ่งหมายความว่า สติสัมปชัญญะและสมาธิที่ได้ ยังเป็นสติสัมปชัญญะและสมาธิที่ยังไม่ประกอบไปด้วยองค์ของฌานอันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นเพียงแค่สติสัมปชัญญะและสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์ในชั่วขณะใหญ่ๆของการใช้ชีวิตประจำวันเท่านั้น คือได้แค่เฉียดฌาน ยังไม่ถึงขั้นทรงฌานในส่วนใหญ่ของการใช้ชีวิตประจำวันได้ :b49: :b48: :b42:

เจ้าของ:  วิสุทธิปาละ [ 17 เม.ย. 2018, 22:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ถ้าเข้าใจเรื่องของปฏิจสมุปบาทแล้ว ควรจะปฏิบัติตามอย่างไร

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ปฏิบัติฝึกสติสัมปชัญญะและสมาธิต่อไปเรื่อยๆ ตามที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นแล้วนะครับว่า ผู้ปฏิบัติ ก็จะเริ่มมีธรรมสมาธิ ๕ อันได้แก่ :b46: :b47: :b42:

๑) ปราโมทย์ (ความชื่นบานใจ ร่าเริงสดใส)
๒) ปีติ (ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ)
๓) ปัสสัทธิ (ความสงบเย็นกายใจ, ความผ่อนคลายรื่นสบาย)
๔) สุข (ความรื่นใจไร้ความข้องขัด)
และพัฒนาการข้อสุดท้ายคือ ๕) สมาธิ (ความสงบอยู่ตัวมั่นสนิทของจิตใจ ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย)


ซึ่งเป็นสัญญาณหรือพัฒนาการในเบื้องต้นของสมาธิในระดับฌาน เกิดขึ้นมาหล่อเลี้ยงจิตใจให้แช่มชื่นได้ในการใช้ชีวิตประจำวัน :b50: :b49: :b48:

โดยในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๔ ปถวีกสิณนิเทศ หน้าที่ ๒๔๐ - ๒๔๒ ได้อธิบายความต่อเนื่องและเป็นเหตุเป็นผลกันของบางองค์ธรรมในธรรมสมาธิ ๕ ไว้ว่า :b44: :b45: :b40:

"ปีติ ๕ อย่าง

ก็แหละ ปีตินี้นั้น มี ๕ อย่าง คือ

๑. ขุททกาปีติ ปีติทำให้ขนชูชันเล็กน้อย
๒. ขณิกาปีติ ปีติที่เกิดขึ้นชั่วขณะ ๆ เหมือนฟ้าแลบ
๓. โอกกันติกาปีติ ปีติที่กระทบกาย เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง
๔. อุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน ทำให้ตัวลอยขึ้นได้
๕. ผรณาปีติ ปีติที่ซาบซ่าน แผ่ไปทั่วร่างกาย
...
ปีติที่ประสงค์เอา ณ ที่นี้
ก็แหละ ปีติ ๕ ประการนี้นั้น เมื่อถือเอาห้องถึงความแก่เต็มที่แล้ว ย่อมทำปัสสัทธิ ๒ ประการให้บริบูรณ์ คือ กายปัสสัทธิ ความสงบกาย ๑ จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิต ๑

เมื่อปัสสัทธิถือเอาห้องถึงความแก่ได้ที่แล้ว ย่อมทำสุขทั้ง ๒ ประการให้บริบูรณ์ คือ กายิกสุข สุขกาย ๑ เจตสิกสุข สุขใจ ๑

เมื่อสุขถือเอาห้องถึงความแก่ได้ที่แล้ว ย่อมทำสมาธิ ๓ ประการให้บริบูรณ์ คือ ขณิกสมาธิ ๑ อุปจารสมาธิ ๑ อัปปนาสมาธิ ๑

ในบรรดาปีติ ๕ ประการนั้น ผรณาปีติ (ปีติที่ซาบซ่าน แผ่ไปทั่วร่างกาย) อันใดที่เจริญแก่กล้าขึ้นพอจะเป็นมูลฐานแก่อัปปนาสมาธิ ถึงซึ่งอันประกอบเข้ากับสมาธิได้ ปีตินี้ประสงค์เอาในอรรถาธิบายนี้"

หน้า 92 จากทั้งหมด 95 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/