วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 14:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 219 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2016, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำสอนของพระพุทธเจ้าครอบคลุมชีวิตทั้งด้านนอก (สังคมที่อยู่ร่วมกัน) และด้านใน (ปัจเจกบุคคล) เทียบดู (ตรัสไว้เมื่อสองพันกว่าปีล่วงแล้ว)

......

ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิตและสังคม มาในสิงคาลสูตร ที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ให้เป็น คิหิวินัยคือวินัยของคฤหัสถ์ หรือศีลสำหรับชาวบ้าน หรือศีลสำหรับประชาชน ดังสาระที่สรุปได้ ดังต่อไปนี้

หมวด ๑: ปลอดความชั่ว ๑๔ ประการ คือ

ก. ละกรรมกิเลส (ข้อเสื่อมเสียของความประพฤติ) ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ปาณาติบาต
๒ อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร
๔. มุสาวาท


ข. ไม่กระทำบาปกรรมโดย ๔ สถาน คือ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยลุแก่

๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

ค. ไม่เสพอบายมุข (ช่องทางเสื่อมเสีย หรือหายหมดไป) แห่งโภคะ ๖ ประการ คือ

๑. ติดสุรา และของมึนเมา
๒. ติดเที่ยวกลางคืน
๓. ติดเที่ยวดูการเล่น
๔. ติดการพนัน
๕. ติดคบเพื่อนชั่ว
๖. เกียจคร้านการงาน


หมวด ๒: (เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน คือ)

- รู้จักมิตรแท้ มิตรเทียม ซึ่งควรคบ และไม่ควรคบ ได้แก่

ก. มิตรเทียม ๔ จำพวก คือ
๑. คนปอกลอก
๒. คนดีแต่พูด
๓. คนหัวประจบ
๔. คนชวนฉิบหาย

ข. มิตรแท้ ๔ จำพวก คือ
๑. มิตรอุปการะ
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะนำประโยชน์
๔. มิตรมีน้ำใจ

- เก็บรักษาสะสมทรัพย์ เหมือนดังผึ้งขยันรวบรวมน้ำเกสรดอกไม้สร้างรัง หรือเหมือนตัวปลวก ก่อสร้างจอมปลวก แล้วพึงจัดสรรทรัพย์ใช้สอย โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วน

ก. กินใช้ เลี้ยงดูคน และทำประโยชน์ ๑ ส่วน
ข. ทำทุนประกอบการงาน ๒ ส่วน
ค. เก็บไว้ใช้คราวจำเป็น ๑ ส่วน

หมวด ๓: ปกแผ่ทิศทั้ง ๖

- ทิศ ๖ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ

๑. ก. บุตรธิดา บำรุงมารดาบิดาผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหน้า โดย

๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒) ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
๓) ดำรงวงศ์สกุล
๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

ข. มารดาบิดา อนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้

๑) ห้ามกันจากความชั่ว
๒) ฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔) เป็นธุระในการมีคู่ครองที่สมควร
๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

๒. ก. ศิษย์ บำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องขวา โดย

๑) ลุกรับ แสดงความเคารพ
๒) เข้าไปหา (เช่น ช่วยรับใช้ ปรึกษาซักถาม รับคำแนะนำ)
๓) ตั้งใจฟังและรู้จักฟัง
๔) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

ข. ครูอาจารย์ อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้

๑) แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่พวก
๕) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนให้เอาไปใช้งานเลี้ยงชีพได้จริง)

๓. ก. สามี บำรุงภรรยา ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย

๑) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา
๒) ไม่ดูหมิ่น
๓) ไม่นอกใจ
๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
๕) หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส


ข. ภรรยา อนุเคราะห์สามี ดังนี้

๑) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓) ไม่นอกใจ
๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง

๔. ก. บำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องซ้าย โดย

๑) เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒) พูดอย่างรักกัน
๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

ข. มิตรสหาย อนุเคราะห์ตอบ ดังนี้

๑) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
๒) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕) นับถือตลอดวงศ์ญาติของมิตร

๕. ก. นาย บำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องล่าง โดย

๑) จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังเพศวัยและความสามารถ
๒) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
๓) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
๔) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส

ข. คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นาย ดังนี้

๑) เริ่มทำงานก่อน
๒) เลิกงานทีหลัง
๓) เอาแต่ของที่นายให้
๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕) นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่

๖. ก. คฤหัสถ์ บำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย

๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔

ข. พระสงฆ์ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้

๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม
๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2016, 23:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คำสอนของพระพุทธเจ้าครอบคลุมชีวิตทั้งด้านนอก (สังคมที่อยู่ร่วมกัน) และด้านใน (ปัจเจกบุคคล) เทียบดู (ตรัสไว้เมื่อสองพันกว่าปีล่วงแล้ว)

......

ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิตและสังคม มาในสิงคาลสูตร ที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ให้เป็น คิหิวินัยคือวินัยของคฤหัสถ์ หรือศีลสำหรับชาวบ้าน หรือศีลสำหรับประชาชน ดังสาระที่สรุปได้ ดังต่อไปนี้

หมวด ๑: ปลอดความชั่ว ๑๔ ประการ คือ

ก. ละกรรมกิเลส (ข้อเสื่อมเสียของความประพฤติ) ๔ อย่าง ได้แก่
๑. ปาณาติบาต
๒ อทินนาทาน
๓. กาเมสุมิจฉาจาร
๔. มุสาวาท


ข. ไม่กระทำบาปกรรมโดย ๔ สถาน คือ ไม่ทำกรรมชั่วด้วยลุแก่

๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

ค. ไม่เสพอบายมุข (ช่องทางเสื่อมเสีย หรือหายหมดไป) แห่งโภคะ ๖ ประการ คือ

๑. ติดสุรา และของมึนเมา
๒. ติดเที่ยวกลางคืน
๓. ติดเที่ยวดูการเล่น
๔. ติดการพนัน
๕. ติดคบเพื่อนชั่ว
๖. เกียจคร้านการงาน


หมวด ๒: (เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน คือ)

- รู้จักมิตรแท้ มิตรเทียม ซึ่งควรคบ และไม่ควรคบ ได้แก่

ก. มิตรเทียม ๔ จำพวก คือ
๑. คนปอกลอก
๒. คนดีแต่พูด
๓. คนหัวประจบ
๔. คนชวนฉิบหาย

ข. มิตรแท้ ๔ จำพวก คือ
๑. มิตรอุปการะ
๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
๓. มิตรแนะนำประโยชน์
๔. มิตรมีน้ำใจ

- เก็บรักษาสะสมทรัพย์ เหมือนดังผึ้งขยันรวบรวมน้ำเกสรดอกไม้สร้างรัง หรือเหมือนตัวปลวก ก่อสร้างจอมปลวก แล้วพึงจัดสรรทรัพย์ใช้สอย โดยแบ่งเป็น ๔ ส่วน

ก. กินใช้ เลี้ยงดูคน และทำประโยชน์ ๑ ส่วน
ข. ทำทุนประกอบการงาน ๒ ส่วน
ค. เก็บไว้ใช้คราวจำเป็น ๑ ส่วน

หมวด ๓: ปกแผ่ทิศทั้ง ๖

- ทิศ ๖ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ

๑. ก. บุตรธิดา บำรุงมารดาบิดาผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหน้า โดย

๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
๒) ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน
๓) ดำรงวงศ์สกุล
๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน

ข. มารดาบิดา อนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้

๑) ห้ามกันจากความชั่ว
๒) ฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔) เป็นธุระในการมีคู่ครองที่สมควร
๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส

๒. ก. ศิษย์ บำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องขวา โดย

๑) ลุกรับ แสดงความเคารพ
๒) เข้าไปหา (เช่น ช่วยรับใช้ ปรึกษาซักถาม รับคำแนะนำ)
๓) ตั้งใจฟังและรู้จักฟัง
๔) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ
๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

ข. ครูอาจารย์ อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้

๑) แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี
๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่พวก
๕) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนให้เอาไปใช้งานเลี้ยงชีพได้จริง)

๓. ก. สามี บำรุงภรรยา ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย

๑) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา
๒) ไม่ดูหมิ่น
๓) ไม่นอกใจ
๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน
๕) หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส


ข. ภรรยา อนุเคราะห์สามี ดังนี้

๑) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓) ไม่นอกใจ
๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้
๕) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง

๔. ก. บำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องซ้าย โดย

๑) เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒) พูดอย่างรักกัน
๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน
๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน

ข. มิตรสหาย อนุเคราะห์ตอบ ดังนี้

๑) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน
๒) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕) นับถือตลอดวงศ์ญาติของมิตร

๕. ก. นาย บำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องล่าง โดย

๑) จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังเพศวัยและความสามารถ
๒) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่
๓) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น
๔) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส

ข. คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นาย ดังนี้

๑) เริ่มทำงานก่อน
๒) เลิกงานทีหลัง
๓) เอาแต่ของที่นายให้
๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕) นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่

๖. ก. คฤหัสถ์ บำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย

๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา
๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา
๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔

ข. พระสงฆ์ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้

๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว
๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี
๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม
๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง
๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข)


เป็นธรรมะของสัตบุรุษครับ

หมายถึงผู้ปฎิบัติดี

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ย. 2016, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ

รูปภาพ


นี่ก็กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือคุณ student ว่าไม่จริง ว่าไม่จริงก็ว่ามา กบนอกกะลาด้วย ว่ามา ช่วยๆกันสองคนเพื่อนตาย :b13:


สติ คือ ความระลึกได้ มีความหมายถึงธรรมที่อยู่ตรงหน้า
หรือปัจจุบันอารมณ์

คุณกรัธกายอ่านพระไตรปิฎก คงจะนึกภาพออกกับพุทธดำริว่า" ภิกษุในธรรมวินัยนี้"
นั่นก็หมายถึง ผู้ที่เขื่อและศรัทธาต่อคำสอน
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ นั่นคือเวลาจะกล่าวถึงพระธรรมต่างๆก็จะเป็นเรื่องของทุกข์
คุณกรัธกายว่าจริงก็จริงครับ เพราะในที่นี้คงจะกล่าวถึงผู้ศรัทธาต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า
ยกเว้นว่าเป็นลัทธิอื่นก็ไม่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน


ถามอย่างตอบอย่าง ถามว่าเป็นกายานุปัสสนาไหม เป็น ไม่เป็น



คุณว่า เดินจงกรม เป็นกายานุปัสสนาไหม ไม่ต้องอธิบายมาก เป็น, ไม่เป็น

กรัชกายว่าเป็นกายานุปัสสนา (บอกไปแล้วข้างต้น เรื่องนี้ก็ถกเถียงกันมากนะ จะได้เป็นประโยชน์หลายๆฝ่าย)


เป็นครับหากมีโพธิปักขิยธรรม(เหตุ)

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 05:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ

รูปภาพ


นี่ก็กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือคุณ student ว่าไม่จริง ว่าไม่จริงก็ว่ามา กบนอกกะลาด้วย ว่ามา ช่วยๆกันสองคนเพื่อนตาย :b13:


สติ คือ ความระลึกได้ มีความหมายถึงธรรมที่อยู่ตรงหน้า
หรือปัจจุบันอารมณ์

คุณกรัธกายอ่านพระไตรปิฎก คงจะนึกภาพออกกับพุทธดำริว่า" ภิกษุในธรรมวินัยนี้"
นั่นก็หมายถึง ผู้ที่เขื่อและศรัทธาต่อคำสอน
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ นั่นคือเวลาจะกล่าวถึงพระธรรมต่างๆก็จะเป็นเรื่องของทุกข์
คุณกรัธกายว่าจริงก็จริงครับ เพราะในที่นี้คงจะกล่าวถึงผู้ศรัทธาต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า
ยกเว้นว่าเป็นลัทธิอื่นก็ไม่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน


ถามอย่างตอบอย่าง ถามว่าเป็นกายานุปัสสนาไหม เป็น ไม่เป็น



คุณว่า เดินจงกรม เป็นกายานุปัสสนาไหม ไม่ต้องอธิบายมาก เป็น, ไม่เป็น

กรัชกายว่าเป็นกายานุปัสสนา (บอกไปแล้วข้างต้น เรื่องนี้ก็ถกเถียงกันมากนะ จะได้เป็นประโยชน์หลายๆฝ่าย)


เป็นครับหากมีโพธิปักขิยธรรม(เหตุ)



กายานุปัสสนา ไม่อยู่ในหมวดโพธิปักขิยธรรมหรือครับ ถึงใช้คำพูดว่าหากมี :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
คือผู้ปฎิบัติทั้งสอง เป็นผู้มีทิฎฐิความเห็นตรงกัน
คือเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ขัดแย่งกัน ไปด้วยกันได้
แต่คำว่าบังคับไปนั่งนั้นเป็นการบังคับอินทรีย์ แต่ไม่ได้บังคับทิฏฐิ


อินทรีย์, ทิฏฐิ หมายถึงอะไร ยังไงครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ

รูปภาพ


นี่ก็กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือคุณ student ว่าไม่จริง ว่าไม่จริงก็ว่ามา กบนอกกะลาด้วย ว่ามา ช่วยๆกันสองคนเพื่อนตาย :b13:


สติ คือ ความระลึกได้ มีความหมายถึงธรรมที่อยู่ตรงหน้า
หรือปัจจุบันอารมณ์

คุณกรัธกายอ่านพระไตรปิฎก คงจะนึกภาพออกกับพุทธดำริว่า" ภิกษุในธรรมวินัยนี้"
นั่นก็หมายถึง ผู้ที่เขื่อและศรัทธาต่อคำสอน
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ นั่นคือเวลาจะกล่าวถึงพระธรรมต่างๆก็จะเป็นเรื่องของทุกข์
คุณกรัธกายว่าจริงก็จริงครับ เพราะในที่นี้คงจะกล่าวถึงผู้ศรัทธาต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า
ยกเว้นว่าเป็นลัทธิอื่นก็ไม่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน


ถามอย่างตอบอย่าง ถามว่าเป็นกายานุปัสสนาไหม เป็น ไม่เป็น



คุณว่า เดินจงกรม เป็นกายานุปัสสนาไหม ไม่ต้องอธิบายมาก เป็น, ไม่เป็น

กรัชกายว่าเป็นกายานุปัสสนา (บอกไปแล้วข้างต้น เรื่องนี้ก็ถกเถียงกันมากนะ จะได้เป็นประโยชน์หลายๆฝ่าย)


เป็นครับหากมีโพธิปักขิยธรรม(เหตุ)



กายานุปัสสนา ไม่อยู่ในหมวดโพธิปักขิยธรรมหรือครับ ถึงใช้คำพูดว่าหากมี :b10:


กายานุปัสสนาคือ โพธิปักขิยธรรมอยู่แล้ว
ถึงได้พูดว่าหากมีโพธิปักขิยธรรม จึงจะเรียกว่าเป็นกายานุปัสสนา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
คือผู้ปฎิบัติทั้งสอง เป็นผู้มีทิฎฐิความเห็นตรงกัน
คือเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ขัดแย่งกัน ไปด้วยกันได้
แต่คำว่าบังคับไปนั่งนั้นเป็นการบังคับอินทรีย์ แต่ไม่ได้บังคับทิฏฐิ


อินทรีย์, ทิฏฐิ หมายถึงอะไร ยังไงครับ


อินทรีย์มีความศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา
ในที่นี้คือบังคับให้ไปทำความเพียรที่วัด(วิริยะ)

ไม่ได้บังคับทิฎฐิ เพราะ ไม่ใช่คนต่างลัทธิ ย่อมเชื่อในความทุกข์ ความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา

คุณกรัธกายลองพิจารณาว่าคนที่อัตตาเหนียวแน่นนั้น จะยึดถือทิฎฐิแค่ไหน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่คุณกรัธกายถามๆ
ผมก็ตอบไปทุกข้อ
ไม่เว้นแม้แต่ข้อเดียว
ลองพิจารณาดูครับ

คำตอบทั้งหมดคือ การที่ผมเรียนๆมาแล้วทำให้เกิดความคิดเห็นแบบนี้
ไม่ใช่ว่ารู้หมดรู้ลึก แต่ตอบเท่าที่พิจารณา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จงกรม เดินไปมาโดยมีสติกำกับ

รูปภาพ


นี่ก็กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือคุณ student ว่าไม่จริง ว่าไม่จริงก็ว่ามา กบนอกกะลาด้วย ว่ามา ช่วยๆกันสองคนเพื่อนตาย :b13:


สติ คือ ความระลึกได้ มีความหมายถึงธรรมที่อยู่ตรงหน้า
หรือปัจจุบันอารมณ์

คุณกรัธกายอ่านพระไตรปิฎก คงจะนึกภาพออกกับพุทธดำริว่า" ภิกษุในธรรมวินัยนี้"
นั่นก็หมายถึง ผู้ที่เขื่อและศรัทธาต่อคำสอน
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์ นั่นคือเวลาจะกล่าวถึงพระธรรมต่างๆก็จะเป็นเรื่องของทุกข์
คุณกรัธกายว่าจริงก็จริงครับ เพราะในที่นี้คงจะกล่าวถึงผู้ศรัทธาต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า
ยกเว้นว่าเป็นลัทธิอื่นก็ไม่เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน


ถามอย่างตอบอย่าง ถามว่าเป็นกายานุปัสสนาไหม เป็น ไม่เป็น



คุณว่า เดินจงกรม เป็นกายานุปัสสนาไหม ไม่ต้องอธิบายมาก เป็น, ไม่เป็น

กรัชกายว่าเป็นกายานุปัสสนา (บอกไปแล้วข้างต้น เรื่องนี้ก็ถกเถียงกันมากนะ จะได้เป็นประโยชน์หลายๆฝ่าย)


เป็นครับหากมีโพธิปักขิยธรรม(เหตุ)



กายานุปัสสนา ไม่อยู่ในหมวดโพธิปักขิยธรรมหรือครับ ถึงใช้คำพูดว่าหากมี :b10:


กายานุปัสสนาคือ โพธิปักขิยธรรมอยู่แล้ว
ถึงได้พูดว่าหากมีโพธิปักขิยธรรม จึงจะเรียกว่าเป็นกายานุปัสสนา



ก็บอกสั้นๆว่าเป็นกายานุปัสสนาสะก็หมดเรื่อง

เขาถามว่าเป็นกายานุปัสสนาไหม

1. เป็น

2. ไม่เป็น

เป็น ก็ตอบข้อ 1

ไม่เป็นก็ตอบข้อ 2.

ก็แค่นี้ ตกลงเป็นกายานุปัสสนานะเครนะ จะได้ก้าวต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
คือผู้ปฎิบัติทั้งสอง เป็นผู้มีทิฎฐิความเห็นตรงกัน
คือเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ขัดแย่งกัน ไปด้วยกันได้
แต่คำว่าบังคับไปนั่งนั้นเป็นการบังคับอินทรีย์ แต่ไม่ได้บังคับทิฏฐิ


อินทรีย์, ทิฏฐิ หมายถึงอะไร ยังไงครับ


อินทรีย์มีความศรัทธา ความเพียร สติ สมาธิ ปัญญา
ในที่นี้คือบังคับให้ไปทำความเพียรที่วัด(วิริยะ)

ไม่ได้บังคับทิฎฐิ เพราะ ไม่ใช่คนต่างลัทธิ ย่อมเชื่อในความทุกข์ ความไม่เที่ยง ความเป็นอนัตตา

คุณกรัธกายลองพิจารณาว่าคนที่อัตตาเหนียวแน่นนั้น จะยึดถือทิฎฐิแค่ไหน



บังคับ ตามความหมายของคุณออกมาในรูปนั้น :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ที่คุณกรัธกายถามๆ
ผมก็ตอบไปทุกข้อ
ไม่เว้นแม้แต่ข้อเดียว
ลองพิจารณาดูครับ

คำตอบทั้งหมดคือ การที่ผมเรียนๆมาแล้วทำให้เกิดความคิดเห็นแบบนี้
ไม่ใช่ว่ารู้หมดรู้ลึก แต่ตอบเท่าที่พิจารณา


ขอบคุณนะขอรับ จะได้ว่ากันต่อไป

เรื่อง "จงกรม" (เดินไปมาโดยมีสติกำกับการเดิน ซึ่งต่างจากเดินไปมาทั่วๆไป) เป็นกายานุปัสสนานะ ฝ่ายรูปธรรม มองเห็นด้วยตาเนื้อนะ :b1:


เรามาว่ากันต่อไป

ที่เหลือจะมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อเพราะเป็นฝ่ายนามธรรม

1. กายานุปัสสนา (ข้อนี้ผ่านไป)

2. เวทนานุปัสสนา

3.จิตตานุปัสสนา

4. ธัมมานุปัสสนา

สามข้อที่เหลือเป็นโพธิปักขิยธรรมไหม

1. เป็น

2. ไม่เป็น

3.อื่นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตย.นี้ไม่มีใครบังคับ แต่อยากพ้นทุกข์ (ตัดๆมา)



ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่งที่ญี่ปุ่นนี่ ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์

ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร

ผมก็อ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจ

ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่าลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ
ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น รู้สึกเหมือนกายขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย ขยายไปทุกทิศ

รู้สึกว่ากายหายไป ความรู้สึกเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)

ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ เหมือนจุ่มปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"

จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คำสอนของพระพุทธเจ้าครอบคลุมชีวิตทั้งด้านนอก (สังคมที่อยู่ร่วมกัน) และด้านใน (ปัจเจกบุคคล) เทียบดู (ตรัสไว้เมื่อสองพันกว่าปีล่วงแล้ว)

......

ศีลเพื่อเสริมความดีงามของชีวิตและสังคม มาในสิงคาลสูตร ที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ให้เป็น คิหิวินัยคือวินัยของคฤหัสถ์ หรือศีลสำหรับชาวบ้าน หรือศีลสำหรับประชาชน

ฯลฯ

เป็นธรรมะของสัตบุรุษครับ

หมายถึงผู้ปฎิบัติดี


เพื่อไม่ให้หลักธรรมเป็นสิ่งเลื่อนลอยจนเกินไป กรัชกายจะลงหัวข้อหลักธรรมนั้นๆตามที่ student เอ่ยอ้างอิงถึงแทรกไว้ระหว่างสนทนาหลักสติปัฏฐานด้วย ใครจะทำได้ไม่ได้เข้าใจไม่เข้าใจให้เป็นสิ่งเฉพาะบุคคลนั้นๆ


คุณสมบัติของกัลยาณมิตร

คนดีว่าโดยลักษณะเฉพาะตัวของเขา ที่เรียกว่าเป็นสัตบุรุษหรือบัณฑิต มีคุณสมบัติบางอย่างที่ควรรู้ ดังนี้

สัตบุรุษคือคนดี หรือคนที่แท้ มีธรรมของสัตบุรุษ เรียกว่า สัปปุริสธรรม ๗ ประการ ดังนี้

๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักและรู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริงของธรรมชาติ รู้หลักการ กฎเกณฑ์แบบแผนหน้าที่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้กระทำการได้สำเร็จผลตามความมุ่งหมาย เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมที่ตนจะต้องศึกษาและปฏิบัติคืออะไร มีอะไรบ้าง ผู้ปกครองรู้ธรรมของผู้ปกครอง คือรู้หลักการปกครอง

๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมาย และรู้จักผล คือ รู้ความและความมุ่งหมายของหลักธรรม หรือหลักการ กฎเกณฑ์ หน้าที่ รู้ผลที่ประสงค์ของกิจที่จะกระทำ เช่น ภิกษุรู้ว่าธรรมที่ตนศึกษาและปฏิบัตินั้นๆ มีความหมายและความมุ่งหมายอย่างไร ตลอดจนรู้จักประโยชน์ที่เป็นจุดหมายหรือสาระของชีวิต

๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน คือ รู้ฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความถนัด ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ของตน ตามเป็นจริง เพื่อประพฤติปฏิบัติได้เหมาะสม และให้เกิดผลดี เช่น ภิกษุรู้ว่าตนมีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา และปฏิภาณแค่ไหน

๔. มัตตัญญุตา รู้จัก ประมาณ คือ รู้ความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ในการใช้จ่ายทรัพย์ ภิกษุรู้จักประมาณในการรับปัจจัย ๔ เป็นต้น

๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล เช่น รู้ว่าเวลาไหน ควรทำอะไร รู้จักเวลาเรียน เวลาทำงาน เวลาพักผ่อน เป็นต้น

๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน คือ รู้จักถิ่น รู้จักที่ชุมนุม และชุมชน รู้จักมารยาท ระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียมประเพณี และข้อความรู้ควรปฏิบัติ ต่อชุมชนนั้น

๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นโดยถูกต้อง เช่นว่า ควรจะคบหรือไม่ จะเกี่ยวข้อง จะใช้ จะยกย่อง จะตำหนิหรือจะแนะนำสั่งสอนอย่างไร จึงจะได้ผลดี เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 19:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ไล่คนอื่นไปศึกษาเรื่องศีล....แล้วกักกาย..มีศีลสมบูรณ์ยัง?

เห็นผิดศีล..ปะจำ

:b32: :b32: :b32:



ถามเป็นร้อยหนแล้วว่าผิดข้อไหน :b32:

บอกให้ไปศึกษาๆๆๆ ให้เป็นเรื่องเป็นราว ไม่ใช่มั่วซั่ว กายอายแทนจริงๆ



กักกายถือศีล..กี่ข้อ..จะได้บอกข้อถูก..



ก็ถามว่าผิดข้อไหน เห็นพูดตลอดว่าผิดศีลๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อิอิ


บอกว่าผิดศีล....เพราะศีลของผมหมายถึง..ความเป็นปกติของใจ..

หากกักกาย..ถามว่าผิดศีลข้อไหน...แสดงว่า..กักกายถือศีลเป็นข้อๆ...

จึงถามกักกายว่า..กักกายถือศีลกี่ข้อ.?
.5.. 8...10... 227...311..

จักได้บอกข้อถูก...

กักกายถือศีลกี่ข้อ?..



ปกติของใจ :b1: ยังไงล่ะปกติของใจ พูดให้เห็นภาพสิปกติของใจ


ผมอยากจะตอบคำถามแรกของกักกายก่อน..นะว่า..ผิดศีลข้อไหน?

ไม่อยากได้คำตอบก่อนรึ?...

ตกลงกักกายถือศีลกี่ข้อ...จะได้ตอบได้.
.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2016, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผ่านๆมามีกล่าวถึงกาล คือ ปัจจุบัน อดีต อนาคต

ดูเต็มๆที่

viewtopic.php?f=1&t=52500


ตรงนี้นำมานิดหน่อย คือ ปัจจุบันในการปฏิบัติทางจิต

คำว่า “ปัจจุบัน” ตามที่คนทั่วไปเข้าใจ มักครอบคลุมกาลเวลาช่วงกว้างที่ไม่ชัดเจน

ส่วนในทางธรรม เมื่อว่า ถึงการปฏิบัติทางจิต "ปัจจุบัน” หมายถึง ขณะเดียว ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นอยู่


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ก.ย. 2016, 20:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 219 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร