วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 07:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยความเป็นห่วงกลัวเพื่อนสมาชิกจะเดินตามนายกรัชกายลงเหว
ก็เลยอยากชี้แนะ มาบอกว่าอะไรเป็นอะไร เอาเป็นว่าอ่านแล้วไม่ต้องเชื่อ
แค่เกิดความรู้สึกเอะใจบ้างก็ยังดีครับ

เอากันแบบภาษาธรรมแท้ๆ ........ที่ไม่ใช้ภาษาที่แต่งใหม่ เพียงเพื่อเป็นหลักสูตรในชั้นเรียนของเด็กๆ
ถ้าคุณต้องการรู้ภาษาธรรมแท้ๆ สิ่งแรกที่จะต้องรู้ก็คือ หลัก๒อย่างนี้
๑.พุทธพจน์
๒.โวหาร

ความหมายของพุทธพจน์ก็คือ พุทธบัญญัติ พูดให้กระจ่างหน่อยก็คือ
พระพุทธองค์ทรงตั้งชื่อให้กับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ(ตรัสรู้)
เมื่อพุทธพจน์เป็นชื่อของสิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบเป็นคนแรก
เหตุนี้จึงห้ามเอาชื่อไปเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น จะด้วยการแปลหรือเรียกเป็นอย่างอื่นด้วยภาษาของชาติตน

โดยหลักแล้ว พุทธพจน์แบ่งเป็นสองลักษณะ ก็คือ สมมติบัญญัติ ๑และปรมัตถบัญญัติ ๑

ส่วนโวหาร ก็คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในสังคมทั่วๆไป เป็นสิ่งที่สังคมมีความตกลงร่วมกันในความหมาย
โวหารส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวกับธรรมโดยตรง แต่เราต้องอาศัยโวหารมาอธิบายพุทธพจน์

โดยหลักแล้วเราสามารถเอาโวหารไปแปลเป็นภาษาอื่นได้หลากหลาย
ซึ่งในคำพูดที่ว่า แปลบาลีพระไตรปิฎก นี่ไม่ได้หมายความว่า แปลพุทธพจน์
แต่เป็นการแปลบาลีโวหาร.....โปรดจำอีกครั้งหนึ่งว่า พุทธพจน์ไม่ใช่บาลี :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ด้วยความเป็นห่วงกลัวเพื่อนสมาชิกจะเดินตามนายกรัชกายลงเหว
ก็เลยอยากชี้แนะ มาบอกว่าอะไรเป็นอะไร เอาเป็นว่าอ่านแล้วไม่ต้องเชื่อ
แค่เกิดความรู้สึกเอะใจบ้างก็ยังดีครับ

เอากันแบบภาษาธรรมแท้ๆ ........ที่ไม่ใช้ภาษาที่แต่งใหม่ เพียงเพื่อเป็นหลักสูตรในชั้นเรียนของเด็กๆ
ถ้าคุณต้องการรู้ภาษาธรรมแท้ๆ สิ่งแรกที่จะต้องรู้ก็คือ หลัก๒อย่างนี้
๑.พุทธพจน์
๒.โวหาร

ความหมายของพุทธพจน์ก็คือ พุทธบัญญัติ พูดให้กระจ่างหน่อยก็คือ
พระพุทธองค์ทรงตั้งชื่อให้กับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ(ตรัสรู้)
เมื่อพุทธพจน์เป็นชื่อของสิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบเป็นคนแรก
เหตุนี้จึงห้ามเอาชื่อไปเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น จะด้วยการแปลหรือเรียกเป็นอย่างอื่นด้วยภาษาของชาติตน

โดยหลักแล้ว พุทธพจน์แบ่งเป็นสองลักษณะ ก็คือ สมมติบัญญัติ ๑และปรมัตถบัญญัติ ๑

ส่วนโวหาร ก็คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในสังคมทั่วๆไป เป็นสิ่งที่สังคมมีความตกลงร่วมกันในความหมาย
โวหารส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวกับธรรมโดยตรง แต่เราต้องอาศัยโวหารมาอธิบายพุทธพจน์

โดยหลักแล้วเราสามารถเอาโวหารไปแปลเป็นภาษาอื่นได้หลากหลาย
ซึ่งในคำพูดที่ว่า แปลบาลีพระไตรปิฎก นี่ไม่ได้หมายความว่า แปลพุทธพจน์
แต่เป็นการแปลบาลีโวหาร.....โปรดจำอีกครั้งหนึ่งว่า พุทธพจน์ไม่ใช่บาลี :b13:



พระพุทธเจ้่าพูดเป็นคำไหม พูดกับคนไหม :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 12:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 11:29
โพสต์: 64

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

ความหมายของพุทธพจน์ก็คือ พุทธบัญญัติ พูดให้กระจ่างหน่อยก็คือ
พระพุทธองค์ทรงตั้งชื่อให้กับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ(ตรัสรู้)
เมื่อพุทธพจน์เป็นชื่อของสิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบเป็นคนแรก
เหตุนี้จึงห้ามเอาชื่อไปเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น จะด้วยการแปลหรือเรียกเป็นอย่างอื่นด้วยภาษาของชาติตน

โดยหลักแล้ว พุทธพจน์แบ่งเป็นสองลักษณะ ก็คือ สมมติบัญญัติ ๑และปรมัตถบัญญัติ ๑

ส่วนโวหาร ก็คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในสังคมทั่วๆไป เป็นสิ่งที่สังคมมีความตกลงร่วมกันในความหมาย
โวหารส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวกับธรรมโดยตรง แต่เราต้องอาศัยโวหารมาอธิบายพุทธพจน์

โดยหลักแล้วเราสามารถเอาโวหารไปแปลเป็นภาษาอื่นได้หลากหลาย
ซึ่งในคำพูดที่ว่า แปลบาลีพระไตรปิฎก นี่ไม่ได้หมายความว่า แปลพุทธพจน์
แต่เป็นการแปลบาลีโวหาร.....โปรดจำอีกครั้งหนึ่งว่า พุทธพจน์ไม่ใช่บาลี :b13:



จะเป็นได้ไหมว่า พระพุทธเจ้าท่านก็ใช้ภาษาที่เป็น โวหารสมัยพระองค์นั้นแหระ มาบัญญัตชื่อธรรม โดยให้นิยามใหม่

อย่างเช่นที่เคยอ่านมาว่า นิพพาน ของผู้ปฏิบัติมาก่อนพระพุทธเจ้า ก็มิได้มีความหมายอย่างนิพพานของพระพุทธเจ้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้เท่าทันสมมติ และเข้าใจปรมัตถ์ แล้วรู้จักใช้ภาษา เป็นเครื่องมือสื่อความหมาย โดยไม่ยึดติดในสมมติเป็นทาสของภาษา เช่นบาลีที่เป็นพุทธพจน์

"ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ....จะพึงกล่าวว่า ฉันพูด ดังนี้ก็ดี เขาพูดกับฉัน ดังนี้ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น" (สํ.ส.15/65/21)


"เหล่านี้ เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุตติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ซึ่งตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดติด" (ที.สี.9/312/248)



อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์บรรยายลักษณะของพระสูตร (สุตตันตปิฏก) ว่าเป็นโวหารเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยโวหาร คือ ใช้ภาษาสมมติ ส่วนพระอภิธรรมเป็นปรมัตถเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยปรมัตถ์ คือ กล่าวตามสภาวะแท้ๆ (วินย.อ.1/21...) นี้เป็นข้อสังเกตเพื่อประดับความรู้อย่างหนึ่ง


โวหาร ถ้อยคำ, สำนวนพูด, ชั้นเชิง หรือกระบวนแต่งหนังสือ หรือพูด

ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกัน แต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของวิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 13:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ ไม่ได้อะไรจากพุทธธรรมในชีวิตนี้ดอก คิกๆๆ :b32: เพราะชีวิตยังว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Duangrat เขียน:
โฮฮับ เขียน:

ความหมายของพุทธพจน์ก็คือ พุทธบัญญัติ พูดให้กระจ่างหน่อยก็คือ
พระพุทธองค์ทรงตั้งชื่อให้กับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ(ตรัสรู้)
เมื่อพุทธพจน์เป็นชื่อของสิ่งที่พระพุทธองค์ค้นพบเป็นคนแรก
เหตุนี้จึงห้ามเอาชื่อไปเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น จะด้วยการแปลหรือเรียกเป็นอย่างอื่นด้วยภาษาของชาติตน

โดยหลักแล้ว พุทธพจน์แบ่งเป็นสองลักษณะ ก็คือ สมมติบัญญัติ ๑และปรมัตถบัญญัติ ๑

ส่วนโวหาร ก็คือ ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในสังคมทั่วๆไป เป็นสิ่งที่สังคมมีความตกลงร่วมกันในความหมาย
โวหารส่วนใหญ่จะไม่เกี่ยวกับธรรมโดยตรง แต่เราต้องอาศัยโวหารมาอธิบายพุทธพจน์

โดยหลักแล้วเราสามารถเอาโวหารไปแปลเป็นภาษาอื่นได้หลากหลาย
ซึ่งในคำพูดที่ว่า แปลบาลีพระไตรปิฎก นี่ไม่ได้หมายความว่า แปลพุทธพจน์
แต่เป็นการแปลบาลีโวหาร.....โปรดจำอีกครั้งหนึ่งว่า พุทธพจน์ไม่ใช่บาลี :b13:



จะเป็นได้ไหมว่า พระพุทธเจ้าท่านก็ใช้ภาษาที่เป็น โวหารสมัยพระองค์นั้นแหระ มาบัญญัตชื่อธรรม โดยให้นิยามใหม่

อย่างเช่นที่เคยอ่านมาว่า นิพพาน ของผู้ปฏิบัติมาก่อนพระพุทธเจ้า ก็มิได้มีความหมายอย่างนิพพานของพระพุทธเจ้า

อย่าลืมว่า พุทธพจน์เป็นชื่อของธรรม.....เน้นอีกที่ว่ามันเป็น ชื่อ
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ ...เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่มีใครรู้จัก เหตุนี้การตั้งชื่อจึงไม่สามารถ
เอาโวหารเดิมๆที่ใช้กันมาตั้งเป็นชื่อไม่ได้ ....เพราะจะเกิดการเข้าใจผิด

ตัวอย่างดูง่ายๆ นักวิทยาสตร์ค้นพบอะไรใหม่ๆเขาก็ตั้งชื่อใหม่ทั้งนั้น ซึ่งชื่อใหม่นั้นไม่มีใครใช้มาก่อน
เช่นพบยาป้องกันโรคหมาบ้า เขาก็ตั้งชื่อว่า วัคซีน (Vaccine) วัคซีนไม่มีคำแปล
ชาติไหนประเทศใด เขาก็เรียกทับศัพท์ว่า วัคซีน

เช่นเดียวกันกับพุทธพจน์ ยกตัวอย่าง "สติ" ทุกชาติทุกภาษาต้องเรียกหรืออกเสียงว่า "สะติ"
จะเขียนเป็นอักษรชาติใดก็ได้ แต่ต้องอ่านออกเสียงว่า "สะติ"

คำว่า"นิพพาน" เป็นพุทธพจน์ของพระโคดม จะเอาไปใช้กับศาสนาอื่นไม่ได้
หรือแม้แต่ยุคสมัยก่อนพระโคดมก็ไม่ได้......
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมันเป็นชื่อเฉพาะของสิ่งที่พระโคดมค้นพบ ถ้าพูดถึงคนอื่นต้องใช้ชื่ออื่น

สาเหตุที่คนไทยมักจะสับสน เพราะเราไปยืมเอาพุทธพจน์
มาเป็นภาษาไทยหรือเรียกว่าโวหารไทย แบบนี้ทำให้เราแยกแยะไม่ออกว่า อะไรเป็นโวหารอะไรเป็นพุทธพจน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 14:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 11:29
โพสต์: 64

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
Duangrat เขียน:
โฮฮับ เขียน:


อย่าลืมว่า พุทธพจน์เป็นชื่อของธรรม.....เน้นอีกที่ว่ามันเป็น ชื่อ
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ ...เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่มีใครรู้จัก เหตุนี้การตั้งชื่อจึงไม่สามารถ
เอาโวหารเดิมๆที่ใช้กันมาตั้งเป็นชื่อไม่ได้ ....เพราะจะเกิดการเข้าใจผิด

ตัวอย่างดูง่ายๆ นักวิทยาสตร์ค้นพบอะไรใหม่ๆเขาก็ตั้งชื่อใหม่ทั้งนั้น ซึ่งชื่อใหม่นั้นไม่มีใครใช้มาก่อน
เช่นพบยาป้องกันโรคหมาบ้า เขาก็ตั้งชื่อว่า วัคซีน (Vaccine) วัคซีนไม่มีคำแปล
ชาติไหนประเทศใด เขาก็เรียกทับศัพท์ว่า วัคซีน

เช่นเดียวกันกับพุทธพจน์ ยกตัวอย่าง "สติ" ทุกชาติทุกภาษาต้องเรียกหรืออกเสียงว่า "สะติ"
จะเขียนเป็นอักษรชาติใดก็ได้ แต่ต้องอ่านออกเสียงว่า "สะติ"

คำว่า"นิพพาน" เป็นพุทธพจน์ของพระโคดม จะเอาไปใช้กับศาสนาอื่นไม่ได้
หรือแม้แต่ยุคสมัยก่อนพระโคดมก็ไม่ได้......
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมันเป็นชื่อเฉพาะของสิ่งที่พระโคดมค้นพบ ถ้าพูดถึงคนอื่นต้องใช้ชื่ออื่น

สาเหตุที่คนไทยมักจะสับสน เพราะเราไปยืมเอาพุทธพจน์
มาเป็นภาษาไทยหรือเรียกว่าโวหารไทย แบบนี้ทำให้เราแยกแยะไม่ออกว่า อะไรเป็นโวหารอะไรเป็นพุทธพจน์



คุณโฮฮับว่า คนสมัยนั้น จะไม่มีใครพูดคำว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ...ฯ (ธรรมทั้งหมดในโพธิปักขิยธรรม) ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะสอน อย่างนั้นเหรอ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อย่าลืมว่า พุทธพจน์เป็นชื่อของธรรม.....เน้นอีกที่ว่ามันเป็น ชื่อ

ช่นเดียวกันกับพุทธพจน์ ยกตัวอย่าง "สติ" ทุกชาติทุกภาษาต้องเรียกหรืออกเสียงว่า "สะติ"
จะเขียนเป็นอักษรชาติใดก็ได้ แต่ต้องอ่านออกเสียงว่า "สะติ"


ก็อย่างที่ว่าไงว่า อาจารย์ชี้ให้ดูพระจันทร์ แต่ศิษย์ไปดูนิ้วอาจารย์ จึงเห็นแต่นิ้วชี้ ไม่เห็นพระจันทร์

สติ สื่อถึงความระลึกได้ สัมปชัญญะ สื่อถึงความรู้สึกตัว แต่ลูกศิษย์ไปติดศัพท์ เหมือนลูกศิษย์อาจารย์เซ็นติดนิ้วอาจารย์ (มองนิ้ว) ไม่มองพระจันทร์ที่อาจารย์ต้องการสือให้เห็นให้ดู :b32:


พระไตรปิฎก เขานำไปแปลตั้งหลายภาษานะตัวเอง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Duangrat เขียน:
โฮฮับ เขียน:
Duangrat เขียน:
โฮฮับ เขียน:


อย่าลืมว่า พุทธพจน์เป็นชื่อของธรรม.....เน้นอีกที่ว่ามันเป็น ชื่อ
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบ ...เป็นสิ่งใหม่ที่ไม่มีใครรู้จัก เหตุนี้การตั้งชื่อจึงไม่สามารถ
เอาโวหารเดิมๆที่ใช้กันมาตั้งเป็นชื่อไม่ได้ ....เพราะจะเกิดการเข้าใจผิด

ตัวอย่างดูง่ายๆ นักวิทยาสตร์ค้นพบอะไรใหม่ๆเขาก็ตั้งชื่อใหม่ทั้งนั้น ซึ่งชื่อใหม่นั้นไม่มีใครใช้มาก่อน
เช่นพบยาป้องกันโรคหมาบ้า เขาก็ตั้งชื่อว่า วัคซีน (Vaccine) วัคซีนไม่มีคำแปล
ชาติไหนประเทศใด เขาก็เรียกทับศัพท์ว่า วัคซีน

เช่นเดียวกันกับพุทธพจน์ ยกตัวอย่าง "สติ" ทุกชาติทุกภาษาต้องเรียกหรืออกเสียงว่า "สะติ"
จะเขียนเป็นอักษรชาติใดก็ได้ แต่ต้องอ่านออกเสียงว่า "สะติ"

คำว่า"นิพพาน" เป็นพุทธพจน์ของพระโคดม จะเอาไปใช้กับศาสนาอื่นไม่ได้
หรือแม้แต่ยุคสมัยก่อนพระโคดมก็ไม่ได้......
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมันเป็นชื่อเฉพาะของสิ่งที่พระโคดมค้นพบ ถ้าพูดถึงคนอื่นต้องใช้ชื่ออื่น

สาเหตุที่คนไทยมักจะสับสน เพราะเราไปยืมเอาพุทธพจน์
มาเป็นภาษาไทยหรือเรียกว่าโวหารไทย แบบนี้ทำให้เราแยกแยะไม่ออกว่า อะไรเป็นโวหารอะไรเป็นพุทธพจน์



คุณโฮฮับว่า คนสมัยนั้น จะไม่มีใครพูดคำว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ...ฯ (ธรรมทั้งหมดในโพธิปักขิยธรรม) ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะสอน อย่างนั้นเหรอ?


แน่นอนซิครับ ชื่อพวกนี้เป็นสิ่งที่พระโคดมบัญญัติขึ้นหลังจากตรัสรู้
ก่อนที่จะมีพระธรรมของพระโคดม(โพธิปักฯ) ชาวมคธเขาไม่พูดคำพวกนี้กันหรอกครับ

ก่อนที่พวกมหาเปรียญจะมั่วเอาคำพวกนี้มาสอนคนไทย เราก็ไม่ได้ใช้คำพวกนี้
ส่วนใหญ่ก็ใช้เช่น เชื่อ พยายาม จำได้ สนใจ ฉลาด ฯลฯ
เนี่ยแหล่ะชาวมคธเขาก็คงพูดกันในลักษณะนี้แต่เป็นบาลี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 18:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b13: :b13: :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2016, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ความรู้เท่าทันสมมติ และเข้าใจปรมัตถ์ แล้วรู้จักใช้ภาษา เป็นเครื่องมือสื่อความหมาย โดยไม่ยึดติดในสมมติเป็นทาสของภาษา เช่นบาลีที่เป็นพุทธพจน์


เริ่มก็มั่วแล้ว จะไปรู้เท่าทันสมมติทำไม สมมติเป็นธรรมชาติเป็นสัจจะ และปรมัตถ์ก็เช่นกัน
ทั้งสมมติและปรมัตถ์เป็นสัจจะที่อยู่คู่กัน สมมติเป็นเหตุให้เกิดปรมัตถ์
สมมติเป็นธรรมชาติภายนอกกายใจ ที่มากระทบกายใจของบุคคล
จนเกิดเป็นปรมัตถ์ขึ้นภายในกายใจของบุคคลนั้นๆ


ความหมายของคำว่ารู้จักใช้ภาษาก็คือ.......มีปัญญาแยกแยะว่าอะไรคือโวหาร สมมติบัญญัติและปรมัตถ์บัญญัติ
ที่กล่าวมาคือสิ่งที่ต้องรู้ในลักษณะของปริยัติ ไม่ใช่รู้ทันแบบที่กรัชกายมั่ว
อาการรู้ทันนั้นจะต้องพูดในลักษณะของการ ปฏิบัติ

กรัชกาย เขียน:

"ภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ....จะพึงกล่าวว่า ฉันพูด ดังนี้ก็ดี เขาพูดกับฉัน ดังนี้ก็ดี เธอเป็นผู้ฉลาด รู้ถ้อยคำที่เขาพูดกันในโลก ก็พึงกล่าวไปตามโวหารเท่านั้น" (สํ.ส.15/65/21)

"เหล่านี้ เป็นโลกสมัญญา เป็นโลกนิรุตติ เป็นโลกโวหาร เป็นโลกบัญญัติ ซึ่งตถาคตใช้พูดจา แต่ไม่ยึดติด" (ที.สี.9/312/248)


มั่วโพสทั้งๆที่ไม่เข้าใจง่ายดีนี่ พระสูตรมันมีที่มาที่ไป ไอ้นี่ตัดต่อหน้าตาเฉย
จะสอนให้ว่า พระสูตรท่านหมายความว่าอย่างไร.....

คำว่าไม่ยึดติด พระพุทธองค์หมายความถึง พูดโวหารออกไปต้องสื่อถึงสมมติและปรมัตถ์
อย่ายึดติดแค่เพียงโวหารหรือคำพูดเพียงเท่านั้น

และคำว่า "นิรุตติ" การเลือกเฟ้นเอาโวหาร(คำพูด)ที่เป็นลักษณะสื่อถึงสมมติและปรมัตถ์
นิรุตต์ท่านใช่กับโวหารที่กล่าวถึงสมมติและปรมัตถ์
พูดให้สั้นเขาก็คือ โวหารที่เป็นนิรุตต์ของพุทธพจน์ ก็คือคำพูดที่สื่อให้เห็นพุทธพจน์

กรัชกาย เขียน:
อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์บรรยายลักษณะของพระสูตร (สุตตันตปิฏก) ว่าเป็นโวหารเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยโวหาร คือ ใช้ภาษาสมมติ ส่วนพระอภิธรรมเป็นปรมัตถเทศนา เพราะเนื้อหาส่วนมากแสดงโดยปรมัตถ์ คือ กล่าวตามสภาวะแท้ๆ (วินย.อ.1/21...) นี้เป็นข้อสังเกตเพื่อประดับความรู้อย่างหนึ่ง


เลอะเทอะ! โวหารก็โวหาร โวหารไม่ใช่สมมติ
คำว่าโวหารเทศนา หมายความถึง การสอนของสาวกที่ใช้คำพูดของตนในการสอนเป็นส่วนใหญ่
มันเป็นความรู้ของสาวกโดยตรง ท่านจึงเรียกโวหารเทศนา

พระสุตตันมีลักษณะของเรื่องเล่า ท่านใช้หลักของ ปุคลาธิษฐานและธรรมาธิษฐาน
ส่วนพระอภิธรรม เป็นเรื่องของนามธรรมล้วนๆ จึงใช้หลักของสมมติบัญญัติและปรมัตถบัญญัติ

กรัชกาย เขียน:
โวหาร ถ้อยคำ, สำนวนพูด, ชั้นเชิง หรือกระบวนแต่งหนังสือ หรือพูด


เหล่านี้ล้วนแต่พวกมหาเปรียญมั่วเอาคำของพุทธไปแต่งใหม๋
โวหารที่แท้จริงหมายถึง คำพูดที่ใช้สื่อสารกันตามปกติในสังคม
คำพูดไม่ว่าชาติใดภาษาใดล้วนเรียกโวหารด้วยกันทั้งสิ้น

กรัชกาย เขียน:
ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกัน แต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของวิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนิพพาน ดังนี้เป็นต้น


เอามายำกันซะเละ

คำว่า"ไวพจน์"นี่แหละคือโวหาร ที่ใช้อธิบายธรรม แต่มันไม่ใช่พุทธพจน์
จะเอาคำว่าไว้พจน์หรือนิรุตติมาใช้เป็นลักษณะของพุทธพจน์ไม่ได้

ทั้งสองเป็นแค่โวหารสื่อสารเพื่อขยายความโวหารด้วยกันเอง
ยกตัวอย่างคำที่กรัชกายเป็นปัญหา(ง่าวไม่รู้จบ)

เช่นคำว่า "คน" จะต้องใช้ว่า คนเป็นไวพจน์กับมนุษย์
จะเอาคำว่า บุคคลเป็นไวพจน์กับคน ไม่ได้ บุคคลเป็นพุทธพจน์ คนเป็นโวหาร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธพจน์กล่าวถึงธรรมสองอย่างที่เป็นสภาพธรรม คือ สมมติและปรมัตถ์
ในการศึกษาสภาพธรรมทั้งสองนี้ พระพุทธองค์ทรงใช้บัญญัติหรือชื่อที่พระองค์ตั้งให้ธรรมเหล่านั้น

ถ้าเป็นสมมติก็เรียกว่า .....สมมติบัญญัติ
ถ้าเป็นปรมัตถ์ก็เรียกว่า .....ปรมัตถบัญญัติ

ตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้าหลายๆครั้งว่า สมมติและปรมัตถ์เป็นธรรมคู่
ความหมายของธรรมคู่ก็ เกิดพร้อมกันและดับพร้อมกัน โดยมีสมมติเป็นเหตุ ปรมัตถ์เป็นผล

ฉะนั้นปรมัตถ์เกิดได้เพราะสมมติ


แล้วอะไรบ้างที่เป็นสมมติ อะไรบ้างที่เป็นปรมัตถ์
การจะรู้ได้ต้องถือเอากายใจเป็นหลัก ธรรมชาติภายนอกที่มากระทบกายใจ
ถือเป็นสมมติ และธรรมชาติที่เกิดจากการกระทบของสมมติและกายใจ ถือเป็นปรมัตถ์

ปล. นี้แหล่ะคือหลักของการเจริญวิปัสสนา ใช้กายใจตนเป็นหลักแล้วใช้สติสัมปชัญญะ
แยกแยะธรรมในแต่ละอย่าง......อย่าหลงไปนั่งนิ่งๆแบบโยคีเพ่งหวย นั้นไม่ใช่การปฏิบัติในพุทธศาสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมมีความเห็นว่า

มีหลายอย่างที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ

เช่น

ศัพท์ในปรมัติธรรม

คำว่านิพพานอาจจะมีลัทธิอื่นกล่าวมาก่อน

แต่ไม่เคยเข้าถึงปฏิเวท


แต่โพธิปักขิยธรรมนั้นเป็นปริยัติที่มีในพุทธศาสนา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2016, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
Dhamma ธรรม ภาษาบาลีอ่านออกเสียงว่า ธัม-มะ
พูดทับศัพท์ภาษาไทยตัดมะออกอ่านว่า ธัม เขียนว่า ธรรม
คนไทยตัดสั้นลง เวลาแปลเป็นภาษาไทย ธรรม แปลว่าสิ่งที่มีจริง
ดังนั้นสิ่งที่มีจริงเป็นสิ่งที่มีจริง อย่างนี้เป็นภาษาธรรมแท้ไหมคะคุณโฮฮับ
:b12:
:b42: :b42: :b42:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron