วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 18:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 07:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอสอบถามผู้รู้คะ

เนื่องจากดิฉันไม่ทราบจึงมาขอสอบถามผู้รู้ในที่นี้ ดิฉันขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า ดิฉันไม่เก่งในการที่จะบรรยายหรือชี้แจง ถ้าผู้รู้ท่านใดอ่านแล้วรู้สึกว่า ดิฉันมาถามเพื่อลองของ ดิฉันกราบขอขมาล่วงหน้านะคะ :b8:

ปัญหามีอยู่ว่า...

เมื่อเราพิจารณาขันธ์ห้า ด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม ตอนแรกเมื่อพิจารณา เมื่อเราดูขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้ารู้สึกหรือแสดงอาการอย่างไร เราจะรู้สึกไปด้วย...เมื่อปฎิบัติไปเรื่อยๆแล้วจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ห้าแสดงอาการอย่างไร หรือเสวยอารมณ์แสดงออกอย่างไร จิตร้อนไปด้วย (เราไม่รู้สึกไปด้วยแล้ว เราเป็เพียงผู้ดู ดูและเห็นว่า เมื่อขันธ์เร่าร้อน จิตก็เร่าร้อนไปด้วย)....เมื่อปฎิบัติต่อไปอีก..จะเห็นว่า เมื่อขันธ์แสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่รู้สึกอะไร จิตจะลอยเป็นอิสระเหนือขันธ์ห้า...

เช่นว่า

เมื่อขันธ์ทุกข์ แรกๆ เราก็จะทุกข์ไปกับขันธ์ด้วย...เมื่อปฎิบัติต่อไปอีกจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์ เราจะรู้สึกว่า จิตเร้าร้อนไปกับขันธ์(เราเป็นคนยืนมอง ขันธ์ทุกข์และจิตเร่าร้อน)..เมื่อปฎิบัติคือดูขันธ์และจิตไปเรื่อยๆจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก(ดิฉันพยายามอธิบายได้แค่นี้นะคะ)


ดิฉันอยากถามว่า

1. จิต(ที่เป็นสีแดง)นั้นเป็นอนัตตาหรือเปล่าคะ?

2. จิต(ที่เป็นสีแดง)เป็นธรรมชาติ เป็นอณูเล็กๆในธรรมชาติหรือเปล่าคะ?

(ดิฉันไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ดิฉันเห็นในจิตตอนนี้เป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่...เนื่องจากสิ่งที่ดิฉันรู้(แนวคำสอน) ดิฉันรู้สิ้นสุดที่ว่า ดูขันธ์ไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง แต่ส่วนที่เป็นจิตนั้น ดิฉันไม่มีความรู้เลยคะ และไม่ทราบว่าต้องไปอ่านคำสอนเพื่อหาความรู้จากครูบาอาจารย์ท่านใด หรือหนังสือเล่มไหน)

ดิฉันเลยมาขอถามผู้รู้ในนี้คะ เพื่อชี้ทางกระจ่างให้แก่ดิฉันด้วย กราบขอบพระคุณล่วงหน้าคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 09:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ก.ค. 2012, 08:21
โพสต์: 3


 ข้อมูลส่วนตัว


1. จิตเป็นอนัตตาจ๊ะ แต่จะทราบได้จะต้องพิจารณาธาตุทั้ง 4 คือ ดิน, น้ำ, ลม และ ไฟ (ในทางปฏิบัติพิจารณาเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งก็ได้ เมื่อทราบความเป็นจริงตามลักษณะไตรลักษณ์ แล้วธาตุที่เหลือจะทราบไปด้วย เพราะมีลักษณะตามไตรลักษณ์เหมือนกัน) การพิจารณาให้ดูลักษณะ การเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลง ของเขา เมื่อทราบแล้วให้โน้มเข้ามาที่กายของเรา ในเบื้องต้นให้หาก่อนว่า กายของเราเกิดจากอะไร? (อันนี้ให้หาเองหรือดูจากพระสูตร ก็ได้)
2. คำตอบเดียวกับข้อ 1 เวลาพิจารณาอย่าคาด อย่าหมาย อย่าเดา แต่คิดเปรียบเทียบกับสภาพตามเป็นจริงรอบตัวได้

ที่ท่านดำเนินอยู่เป็นขั้นหัดอ่าน ก ข ค คือ พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม จะทำให้รู้จักขันธ์ห้าไปด้วย (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) สิ่งที่ทำอยู่นั้นถูกแล้ว เพราะหัวใจหลักของการปฏิบัติคือมีสติรู้ตัว ช่วงรู้สึกว่าจิตแสดงอาการสุข/ทุกข์ ตามขันธ์ ช่วงนี้สำคัญให้พิจารณาบ่อยๆ แรกๆ ท่านจะยังสังเกตุไม่ทัน พอพิจารณาไปมากๆ ทำบ่อยๆ จะจับสิ่งผิดปกติได้ เช่น สุข/ทุกข์ที่ เกิดจากกายมีเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นสภาพปกติของเขาเราไม่สามารถบังคับบัญชาได้ตามที่ต้องการ แต่จิตซึ่งมีลักษณะเสวยอารมณ์ สุข/ทุกข์ ตามกายอยู่นั้น เมื่อสุข/ทุกข์ทางกายดับไปแล้ว แต่ สุข/ทุกข์ ทางจิต(เสวยอารมณ์) ทำไมมันไม่ดับไปด้วย !!!! มันคืออะไร ??? (What) --> นี้แหละ ภพ ชาติ ชรา มรณะ (ทุกข์) อยู่ตรงนี้ ท่านต้องพิจารณาตรงนี้ให้มากๆ แล้วจะค่อยเข้าใจไปตามลำดับ

ในระหว่างปฏิบัติบางครั้งจิตจะวางขันธ์ห้าชั่วคราว อันเกิดจากอำนาจของสมาธิ (จิตเป็นสมาธิ) ทำให้จิตไม่รู้สึก สุข/ทุกข์ ตามขันธ์ไปด้วย พอออกจากสมาธิก็จะกลับมามีอาการ สุข/ทุกข์ ตามขันธ์เหมือนเดิม เพราะยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญา (ตรงนี้ก็ให้พิจารณาด้วยปัญญาของท่านเอง กาย กับ จิต ตกลงมันเป็นอันเดียวกันจริงหรือ? ถ้ามันเป็นสิ่งเดียวกันอย่างที่เข้าใจมาแต่เดิม แล้วทำไมจึงมีอาการขัดแย้งกันอย่างนี้)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 10:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


sirikham เขียน:
1. จิตเป็นอนัตตาจ๊ะ แต่จะทราบได้จะต้องพิจารณาธาตุทั้ง 4 คือ ดิน, น้ำ, ลม และ ไฟ (ในทางปฏิบัติพิจารณาเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งก็ได้ เมื่อทราบความเป็นจริงตามลักษณะไตรลักษณ์ แล้วธาตุที่เหลือจะทราบไปด้วย เพราะมีลักษณะตามไตรลักษณ์เหมือนกัน) การพิจารณาให้ดูลักษณะ การเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลง ของเขา เมื่อทราบแล้วให้โน้มเข้ามาที่กายของเรา ในเบื้องต้นให้หาก่อนว่า กายของเราเกิดจากอะไร? (อันนี้ให้หาเองหรือดูจากพระสูตร ก็ได้)
2. คำตอบเดียวกับข้อ 1 เวลาพิจารณาอย่าคาด อย่าหมาย อย่าเดา แต่คิดเปรียบเทียบกับสภาพตามเป็นจริงรอบตัวได้

ที่ท่านดำเนินอยู่เป็นขั้นหัดอ่าน ก ข ค คือ พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม จะทำให้รู้จักขันธ์ห้าไปด้วย (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) สิ่งที่ทำอยู่นั้นถูกแล้ว เพราะหัวใจหลักของการปฏิบัติคือมีสติรู้ตัว ช่วงรู้สึกว่าจิตแสดงอาการสุข/ทุกข์ ตามขันธ์ ช่วงนี้สำคัญให้พิจารณาบ่อยๆ แรกๆ ท่านจะยังสังเกตุไม่ทัน พอพิจารณาไปมากๆ ทำบ่อยๆ จะจับสิ่งผิดปกติได้ เช่น สุข/ทุกข์ที่ เกิดจากกายมีเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นสภาพปกติของเขาเราไม่สามารถบังคับบัญชาได้ตามที่ต้องการ แต่จิตซึ่งมีลักษณะเสวยอารมณ์ สุข/ทุกข์ ตามกายอยู่นั้น เมื่อสุข/ทุกข์ทางกายดับไปแล้ว แต่ สุข/ทุกข์ ทางจิต(เสวยอารมณ์) ทำไมมันไม่ดับไปด้วย !!!! มันคืออะไร ??? (What) --> นี้แหละ ภพ ชาติ ชรา มรณะ (ทุกข์) อยู่ตรงนี้ ท่านต้องพิจารณาตรงนี้ให้มากๆ แล้วจะค่อยเข้าใจไปตามลำดับ

ในระหว่างปฏิบัติบางครั้งจิตจะวางขันธ์ห้าชั่วคราว อันเกิดจากอำนาจของสมาธิ (จิตเป็นสมาธิ) ทำให้จิตไม่รู้สึก สุข/ทุกข์ ตามขันธ์ไปด้วย พอออกจากสมาธิก็จะกลับมามีอาการ สุข/ทุกข์ ตามขันธ์เหมือนเดิม เพราะยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญา (ตรงนี้ก็ให้พิจารณาด้วยปัญญาของท่านเอง กาย กับ จิต ตกลงมันเป็นอันเดียวกันจริงหรือ? ถ้ามันเป็นสิ่งเดียวกันอย่างที่เข้าใจมาแต่เดิม แล้วทำไมจึงมีอาการขัดแย้งกันอย่างนี้)


ขอบพระคุณคะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านพิจารณาการเกิดดับของนามรูปว่าอย่างไรครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 11:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ท่านพิจารณาการเกิดดับของนามรูปว่าอย่างไรครับ


ดิฉันทำตามขั้นตอน ดิฉันพิจารณารูปก่อน ตอนทำสมาธิก็ำทำสมถะปกติ อานาปาน ส่วนการพิจารณาดิฉันใช้เวลาระหว่างวันที่ดิฉันหายใจอยู่ ทำไปเรื่อยๆ โดยพิจารณา อสุภะ ปฎิกูลบรรพ ธาตุ4 อริยบทบรรพ นวสี ทุกอย่างในหมวดของกาย โดยดูสลับไปสสับมา ซ้ำไปซ้ำมา ก็ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนมันมองไม่เห็นกาย จนวางเฉยกับกาย เมื่อใจมันเพิก ก็เริ่มหันมามองจิต มองจิตในรูปของ เวทนา จิตตา ธรรมา มองไปเรื่อยๆ จนในที่สุดใจมันนิ่งว่าง จากนั้นก็เริ่มมอง ทั้งกายทั้งจิตพร้อมกัน ทำไปเรื่อย โดยมองที่ตัวเราอย่างเดียว เมื่อเราเห็นในตัวเราชัดแล้วก็ค่อยๆมองออกไปที่กายคนอื่น ไปที่สังคม ไปที่โลก ว่าสิ่งที่เราเห็นในกายของเรากับกายของเขาเหมือนกันไหม..ก็ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ..ทำเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

เกิดดับที่คุณพูดดิฉันไม่เข้าใจนัก แต่ใจมันเพิกได้ คือไม่สนใจได้ ใจมันเฉยได้ อย่างนี้เรียกว่าเกิดดับหรือป่าว ในขั้นตอนการทำ มันเห็นไตรลักษณ์ในกาย เป็นความเป็นจริงที่ว่า กายเรามันก็เป็นไปตามกฏธรรมชาติ คือ เปลี่ยนแปลง และเสื่อมสลายไปในที่สุด เห็นอย่างนี้ใจมันก็เพิก ก็วางได้ ทุกครั้งที่ทำกรรมฐานได้ หรือหมวดใด จะมีข้อสอบผ่านเข้ามาในชีวิตเสมอ เราก็เพียงแต่สอบว่าเราจะผ่านได้ไหม ถ้าได้ก็ถือว่าได้และเดินต่อไป ถ้าผ่านไม่ได้ก็แค่ทำเหมือนเดิม รอข้อสอบผ่านมาอีก ก็สอบใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ไปเรือ่ยๆ ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเป็นข้อสอบทางธรรมเสมอ..


แก้ไขล่าสุดโดย สายลมที่พัดผ่านไป เมื่อ 01 ส.ค. 2012, 11:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 11:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรม การทำกรรมฐานต้องทำต้องปฏิบัติให้ที่สิ้นสุด จึงจะสงบเข้าที่รู้เข้าใจโลก และชีวิตนี้ รู้แล้วมันจบสิ้นสุดเพราะเข้าใจ

ใครก็ตามหากปฏิบัติแล้วทำแล้ว ไม่มีที่สุดสิ้น แล้วมันจะไปหยุดที่ตรงไหนกันล่ะ ก็เตลิดเปิดเปิงดิ

พูดให้คิดนะครับ ไม่ใช่แนะนำ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 11:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การปฏิบัติธรรม การทำกรรมฐานต้องทำต้องปฏิบัติให้ที่สิ้นสุด จึงจะสงบเข้าที่รู้เข้าใจโลก และชีวิตนี้ รู้แล้วมันจบสิ้นสุดเพราะเข้าใจ

ใครก็ตามหากปฏิบัติแล้วทำแล้ว ไม่มีที่สุดสิ้น แล้วมันจะไปหยุดที่ตรงไหนกันล่ะ ก็เตลิดเปิดเปิงดิ

พูดให้คิดนะครับ ไม่ใช่แนะนำ :b1:


เราเป็นเพียงคนโง่เขลาเบาปัญญา ก็ค่อยๆเดินต่อไป...เมื่อสุดใจมันจะรู้เองว่าสุด เมื่อไม่สุดใจเราก็จะบอกเองว่าไม่สุด และเมื่อหลงแล้วก็กลับลำมาเดินให้ตรงไหม่ ก็ค่อยๆสะสมไป ถ้ายังมีลมหายใจและเราทำสม่ำเสมอ ก็จะไม่มีคำว่าสาย ในส่วนตัวเรา เราคิดแบบนี้นะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การปฏิบัติธรรม การทำกรรมฐานต้องทำต้องปฏิบัติให้ที่สิ้นสุด จึงจะสงบเข้าที่รู้เข้าใจโลก และชีวิตนี้ รู้แล้วมันจบสิ้นสุดเพราะเข้าใจ

ใครก็ตามหากปฏิบัติแล้วทำแล้ว ไม่มีที่สุดสิ้น แล้วมันจะไปหยุดที่ตรงไหนกันล่ะ ก็เตลิดเปิดเปิงดิ

พูดให้คิดนะครับ ไม่ใช่แนะนำ :b1:


เราเป็นเพียงคนโง่เขลาเบาปัญญา ก็ค่อยๆเดินต่อไป...เมื่อสุดใจมันจะรู้เองว่าสุด เมื่อไม่สุดใจเราก็จะบอกเองว่าไม่สุด และเมื่อหลงแล้วก็กลับลำมาเดินให้ตรงไหม่ ก็ค่อยๆสะสมไป ถ้ายังมีลมหายใจและเราทำสม่ำเสมอ ก็จะไม่มีคำว่าสาย ในส่วนตัวเรา เราคิดแบบนี้นะ



คุณสายลมฯ จะเดินไปไหนครับ จุดหมายปลายอยู่ ณ ที่ใด :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 11:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การปฏิบัติธรรม การทำกรรมฐานต้องทำต้องปฏิบัติให้ที่สิ้นสุด จึงจะสงบเข้าที่รู้เข้าใจโลก และชีวิตนี้ รู้แล้วมันจบสิ้นสุดเพราะเข้าใจ

ใครก็ตามหากปฏิบัติแล้วทำแล้ว ไม่มีที่สุดสิ้น แล้วมันจะไปหยุดที่ตรงไหนกันล่ะ ก็เตลิดเปิดเปิงดิ

พูดให้คิดนะครับ ไม่ใช่แนะนำ :b1:


เราเป็นเพียงคนโง่เขลาเบาปัญญา ก็ค่อยๆเดินต่อไป...เมื่อสุดใจมันจะรู้เองว่าสุด เมื่อไม่สุดใจเราก็จะบอกเองว่าไม่สุด และเมื่อหลงแล้วก็กลับลำมาเดินให้ตรงไหม่ ก็ค่อยๆสะสมไป ถ้ายังมีลมหายใจและเราทำสม่ำเสมอ ก็จะไม่มีคำว่าสาย ในส่วนตัวเรา เราคิดแบบนี้นะ



คุณสายลมฯ จะเดินไปไหนครับ จุดหมายปลายอยู่ ณ ที่ใด :b10:


เราก็ไม่ต่างจากเราๆท่านๆในนี้ จุดมุ่งหมายที่ต่างคนต่างเดินคือ เดินตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนและให้หลักเกณฑ์ในการเดินไว้ เราก็เดินตามเกณฑ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มา คือสูงที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ในขณะที่มีชีวิตอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 12:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
student เขียน:
ท่านพิจารณาการเกิดดับของนามรูปว่าอย่างไรครับ


ดิฉันทำตามขั้นตอน ดิฉันพิจารณารูปก่อน ตอนทำสมาธิก็ำทำสมถะปกติ อานาปาน ส่วนการพิจารณาดิฉันใช้เวลาระหว่างวันที่ดิฉันหายใจอยู่ ทำไปเรื่อยๆ โดยพิจารณา อสุภะ ปฎิกูลบรรพ ธาตุ4 อริยบทบรรพ นวสี ทุกอย่างในหมวดของกาย โดยดูสลับไปสสับมา ซ้ำไปซ้ำมา ก็ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนมันมองไม่เห็นกาย จนวางเฉยกับกาย เมื่อใจมันเพิก ก็เริ่มหันมามองจิต มองจิตในรูปของ เวทนา จิตตา ธรรมา มองไปเรื่อยๆ จนในที่สุดใจมันนิ่งว่าง จากนั้นก็เริ่มมอง ทั้งกายทั้งจิตพร้อมกัน ทำไปเรื่อย โดยมองที่ตัวเราอย่างเดียว เมื่อเราเห็นในตัวเราชัดแล้วก็ค่อยๆมองออกไปที่กายคนอื่น ไปที่สังคม ไปที่โลก ว่าสิ่งที่เราเห็นในกายของเรากับกายของเขาเหมือนกันไหม..ก็ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ..ทำเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

เกิดดับที่คุณพูดดิฉันไม่เข้าใจนัก แต่ใจมันเพิกได้ คือไม่สนใจได้ ใจมันเฉยได้ อย่างนี้เรียกว่าเกิดดับหรือป่าว ในขั้นตอนการทำ มันเห็นไตรลักษณ์ในกาย เป็นความเป็นจริงที่ว่า กายเรามันก็เป็นไปตามกฏธรรมชาติ คือ เปลี่ยนแปลง และเสื่อมสลายไปในที่สุด เห็นอย่างนี้ใจมันก็เพิก ก็วางได้ ทุกครั้งที่ทำกรรมฐานได้ หรือหมวดใด จะมีข้อสอบผ่านเข้ามาในชีวิตเสมอ เราก็เพียงแต่สอบว่าเราจะผ่านได้ไหม ถ้าได้ก็ถือว่าได้และเดินต่อไป ถ้าผ่านไม่ได้ก็แค่ทำเหมือนเดิม รอข้อสอบผ่านมาอีก ก็สอบใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ไปเรือ่ยๆ ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเป็นข้อสอบทางธรรมเสมอ..

ทำมาดีแล้วครับพี่ โดยเฉพาะที่ว่าทำเรื่อยๆครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไม่มีเรา

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 12:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
ขอสอบถามผู้รู้คะ

เนื่องจากดิฉันไม่ทราบจึงมาขอสอบถามผู้รู้ในที่นี้ ดิฉันขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า ดิฉันไม่เก่งในการที่จะบรรยายหรือชี้แจง ถ้าผู้รู้ท่านใดอ่านแล้วรู้สึกว่า ดิฉันมาถามเพื่อลองของ ดิฉันกราบขอขมาล่วงหน้านะคะ :b8:

ปัญหามีอยู่ว่า...

เมื่อเราพิจารณาขันธ์ห้า ด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม ตอนแรกเมื่อพิจารณา เมื่อเราดูขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้ารู้สึกหรือแสดงอาการอย่างไร เราจะรู้สึกไปด้วย...เมื่อปฎิบัติไปเรื่อยๆแล้วจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ห้าแสดงอาการอย่างไร หรือเสวยอารมณ์แสดงออกอย่างไร จิตร้อนไปด้วย (เราไม่รู้สึกไปด้วยแล้ว เราเป็เพียงผู้ดู ดูและเห็นว่า เมื่อขันธ์เร่าร้อน จิตก็เร่าร้อนไปด้วย)....เมื่อปฎิบัติต่อไปอีก..จะเห็นว่า เมื่อขันธ์แสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่รู้สึกอะไร จิตจะลอยเป็นอิสระเหนือขันธ์ห้า...

เช่นว่า

เมื่อขันธ์ทุกข์ แรกๆ เราก็จะทุกข์ไปกับขันธ์ด้วย...เมื่อปฎิบัติต่อไปอีกจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์ เราจะรู้สึกว่า จิตเร้าร้อนไปกับขันธ์(เราเป็นคนยืนมอง ขันธ์ทุกข์และจิตเร่าร้อน)..เมื่อปฎิบัติคือดูขันธ์และจิตไปเรื่อยๆจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก(ดิฉันพยายามอธิบายได้แค่นี้นะคะ)


ดิฉันอยากถามว่า

1. จิต(ที่เป็นสีแดง)นั้นเป็นอนัตตาหรือเปล่าคะ?

2. จิต(ที่เป็นสีแดง)เป็นธรรมชาติ เป็นอณูเล็กๆในธรรมชาติหรือเปล่าคะ?

(ดิฉันไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ดิฉันเห็นในจิตตอนนี้เป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่...เนื่องจากสิ่งที่ดิฉันรู้(แนวคำสอน) ดิฉันรู้สิ้นสุดที่ว่า ดูขันธ์ไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง แต่ส่วนที่เป็นจิตนั้น ดิฉันไม่มีความรู้เลยคะ และไม่ทราบว่าต้องไปอ่านคำสอนเพื่อหาความรู้จากครูบาอาจารย์ท่านใด หรือหนังสือเล่มไหน)

ดิฉันเลยมาขอถามผู้รู้ในนี้คะ เพื่อชี้ทางกระจ่างให้แก่ดิฉันด้วย กราบขอบพระคุณล่วงหน้าคะ :b8:

ต้องบอกคำเดียวว่า หากปฏิบัติมาได้ถึงขนาดนี้แล้ว หายากนะ ทำได้ไม่ง่ายนะที่จะได้จะถึงภาวะธรรมอย่างนี้ เป็นอิสระนะ อิสระจากธรรมที่เกิดขึ้นดับลง มีแล้วไม่มี มีพลังใจที่เอิบอิ่ม กล้าหาญต่อธรรมทั้งหลายเลยทีเดียว จะอยู่ ณ ที่ใด ขึ้นเขาลงห้วย ขึ้นรถลงเรือ แม้กลางคืนกลางแจ้ง ไม่หวั่นเลยนะจิตใจลักษณะนี้ แล้วยังมีความเพียรน้อมนำจิตให้มาดูมาพิจารณาที่กายอีก นี่ท่านเรียกว่า กายคตาสติเลยล่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 13:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะส่วนมากแล้วเมื่อจิตพิจารณารู้ทันต่อขันธ์ทั้งหลายแล้ว จิตใจก็จะพอใจ ดูพิจารณาอยู่กับสังขารจิตนั้น ไม่เพียรที่จะพิจารณากายอันเป็นกรรมฐานที่จะทำให้รู้แจ้งจริงถึงธาตุขันธ์ แต่ท่านนี้พิจารณากายเป็นส่วนมาก ก็อนุโมทนาด้วยครับ ถามว่า จิต (สีแดง) เป็นอนัตตาไหม ก็ต้องตอบว่า เป็นอนัตตา คำว่า อนัตตา กับสักกายทิฏฐินี่ ไม่ใช่ตัวเดียวกัน เพราะมีความหมายใกล้เคียงกันแต่ใช้ต่างกัน อนัตตานี่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน แต่ว่ามีปรากฏโดยความเป็นภาวะอย่างนั้น จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ เพราะถ้าไม่มีก็ไม่ต่างอะไรกับสุญญากาศ ส่วนคำว่า สักกายทิฏฐิ ก็มีความหมาย ไปในทางให้ถอดถอนความยึดถือว่า เป็นตัวเป็นตน เพราะฉะนั้น จิต ก้ไม่ได้อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แต่ว่า ปรากฏมีอยู่... จิต (สีแดง) เท่าที่ทราบมาคือไปรู้มาอีทีหนึ่งจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านบอกว่า เป็นจิตที่มีความสุขมาก สุขเพราะอามิสหรืออะไรก็ไม่ทราบ ....จิต (ธรรมชาติสีแดง) จะเป็นอณูหรือเรียกว่าอะไรก้แล้วแต่ ก็ขอสรุปว่า ปรากฏมีอยู่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 13:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
ขอสอบถามผู้รู้คะ

เนื่องจากดิฉันไม่ทราบจึงมาขอสอบถามผู้รู้ในที่นี้ ดิฉันขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า ดิฉันไม่เก่งในการที่จะบรรยายหรือชี้แจง ถ้าผู้รู้ท่านใดอ่านแล้วรู้สึกว่า ดิฉันมาถามเพื่อลองของ ดิฉันกราบขอขมาล่วงหน้านะคะ :b8:

ปัญหามีอยู่ว่า...

เมื่อเราพิจารณาขันธ์ห้า ด้วย กาย เวทนา จิต ธรรม ตอนแรกเมื่อพิจารณา เมื่อเราดูขันธ์ห้า เมื่อขันธ์ห้ารู้สึกหรือแสดงอาการอย่างไร เราจะรู้สึกไปด้วย...เมื่อปฎิบัติไปเรื่อยๆแล้วจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ห้าแสดงอาการอย่างไร หรือเสวยอารมณ์แสดงออกอย่างไร จิตร้อนไปด้วย (เราไม่รู้สึกไปด้วยแล้ว เราเป็เพียงผู้ดู ดูและเห็นว่า เมื่อขันธ์เร่าร้อน จิตก็เร่าร้อนไปด้วย)....เมื่อปฎิบัติต่อไปอีก..จะเห็นว่า เมื่อขันธ์แสดงอาการอย่างไร จิตก็ไม่รู้สึกอะไร จิตจะลอยเป็นอิสระเหนือขันธ์ห้า...

เช่นว่า

เมื่อขันธ์ทุกข์ แรกๆ เราก็จะทุกข์ไปกับขันธ์ด้วย...เมื่อปฎิบัติต่อไปอีกจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์ เราจะรู้สึกว่า จิตเร้าร้อนไปกับขันธ์(เราเป็นคนยืนมอง ขันธ์ทุกข์และจิตเร่าร้อน)..เมื่อปฎิบัติคือดูขันธ์และจิตไปเรื่อยๆจะเห็นว่า เมื่อขันธ์ทุกข์จิตจะไม่ทุกข์ตามขันธ์ ไม่ว่าจะมีเวทนาเกิดขึ้นกับขันธ์อย่างไร จิตจะไม่ผูกไปกับขันธ์ที่แสดงออก(ดิฉันพยายามอธิบายได้แค่นี้นะคะ)


ดิฉันอยากถามว่า

1. จิต(ที่เป็นสีแดง)นั้นเป็นอนัตตาหรือเปล่าคะ?

2. จิต(ที่เป็นสีแดง)เป็นธรรมชาติ เป็นอณูเล็กๆในธรรมชาติหรือเปล่าคะ?

(ดิฉันไม่มั่นใจว่าสิ่งที่ดิฉันเห็นในจิตตอนนี้เป็นสิ่งที่ถูกหรือไม่...เนื่องจากสิ่งที่ดิฉันรู้(แนวคำสอน) ดิฉันรู้สิ้นสุดที่ว่า ดูขันธ์ไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง แต่ส่วนที่เป็นจิตนั้น ดิฉันไม่มีความรู้เลยคะ และไม่ทราบว่าต้องไปอ่านคำสอนเพื่อหาความรู้จากครูบาอาจารย์ท่านใด หรือหนังสือเล่มไหน)

ดิฉันเลยมาขอถามผู้รู้ในนี้คะ เพื่อชี้ทางกระจ่างให้แก่ดิฉันด้วย กราบขอบพระคุณล่วงหน้าคะ :b8:


ถามตัวเอง ดูครับว่า
เราเป็นแบบที่กล่าวมาตลอดมั้ยครับ ที่ว่าจิตไม่ผูกพันธ์กับขันธ์5
เพราะถ้าจริง ท่านจะวาง สังโยชน์ ทั้งหมดได้ ยกเว้น อวิชชา เพราะท่านวาง อุปทานขันธ์5 ได้หมดแล้ว หรือ ใกล้อรหันต์แล้ว
ง่ายๆดูว่า เวลาเห็นของที่ชอบ แล้วยังอยากกินมั้ย ยังอยากดูหนังละคร ที่ชอบ มั้ย

หากยังมีอยู่ แสดงว่ายังไม่แจ้ง แค่เข้าไปแล้วออกมา

อย่าลืม เราที่แยกออกมานั้นแหละ อวิชชา ตัวแม่ ต้องดับตัวนี้ด้วย จนไม่มีเรา ไม่งั้น อวิชชา จะดึงให้มีเรา ดังนั้น สติสำคัญมาก

จากอรหมุนบุคคล ปุถุชนธรรมดา :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2012, 13:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ค. 2012, 14:46
โพสต์: 67


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สายลมที่พัดผ่านไป เขียน:
student เขียน:
ท่านพิจารณาการเกิดดับของนามรูปว่าอย่างไรครับ


ดิฉันทำตามขั้นตอน ดิฉันพิจารณารูปก่อน ตอนทำสมาธิก็ำทำสมถะปกติ อานาปาน ส่วนการพิจารณาดิฉันใช้เวลาระหว่างวันที่ดิฉันหายใจอยู่ ทำไปเรื่อยๆ โดยพิจารณา อสุภะ ปฎิกูลบรรพ ธาตุ4 อริยบทบรรพ นวสี ทุกอย่างในหมวดของกาย โดยดูสลับไปสสับมา ซ้ำไปซ้ำมา ก็ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนมันมองไม่เห็นกาย จนวางเฉยกับกาย เมื่อใจมันเพิก ก็เริ่มหันมามองจิต มองจิตในรูปของ เวทนา จิตตา ธรรมา มองไปเรื่อยๆ จนในที่สุดใจมันนิ่งว่าง จากนั้นก็เริ่มมอง ทั้งกายทั้งจิตพร้อมกัน ทำไปเรื่อย โดยมองที่ตัวเราอย่างเดียว เมื่อเราเห็นในตัวเราชัดแล้วก็ค่อยๆมองออกไปที่กายคนอื่น ไปที่สังคม ไปที่โลก ว่าสิ่งที่เราเห็นในกายของเรากับกายของเขาเหมือนกันไหม..ก็ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ..ทำเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

เกิดดับที่คุณพูดดิฉันไม่เข้าใจนัก แต่ใจมันเพิกได้ คือไม่สนใจได้ ใจมันเฉยได้ อย่างนี้เรียกว่าเกิดดับหรือป่าว ในขั้นตอนการทำ มันเห็นไตรลักษณ์ในกาย เป็นความเป็นจริงที่ว่า กายเรามันก็เป็นไปตามกฏธรรมชาติ คือ เปลี่ยนแปลง และเสื่อมสลายไปในที่สุด เห็นอย่างนี้ใจมันก็เพิก ก็วางได้ ทุกครั้งที่ทำกรรมฐานได้ หรือหมวดใด จะมีข้อสอบผ่านเข้ามาในชีวิตเสมอ เราก็เพียงแต่สอบว่าเราจะผ่านได้ไหม ถ้าได้ก็ถือว่าได้และเดินต่อไป ถ้าผ่านไม่ได้ก็แค่ทำเหมือนเดิม รอข้อสอบผ่านมาอีก ก็สอบใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ไปเรือ่ยๆ ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเป็นข้อสอบทางธรรมเสมอ..

ทำมาดีแล้วครับพี่ โดยเฉพาะที่ว่าทำเรื่อยๆครับ :b8:


สาธุคะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 247 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 38 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร