วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 23  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 13:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับทุกท่าน :b8:
อยากทราบว่ามีใครเคยสงสัยสังขารและวิญญาณที่ต่อออกมาจากอวิชชากับสังขารวิญญาณในรูปนามกับบ้างมั้ย ว่ามันเหมือนหรือต่างกันหรือเปล่าครับ...ตัวผมเองเคยสงสัยและได้เคยลองพิจารณาดูจนได้คำตอบที่(เคย)เข้าใจว่าถูก...แต่เมื่อเร็วๆนี้เหมือนได้ความอนุเคราะห์จากครูบาอาจารย์ท่านช่วยแก้ความเข้าใจผิดให้...คือผมเคยพิจารณาว่ามันต่างกัน สังขารที่ต่อมาจากอวิชชานั้นผมพิจารณาว่ามันคือสังขารที่ปรุงมาจากธาตุสี่ ส่วนวิญญาณที่ต่อมาจากสังขารก็คือจิตที่มาอาศัยกายสังขาร ส่วนอวิชชาผมพิจารณาว่าเป็นอวิชชาของบิดามารดาที่ทำให้ท่านมาครองเรือนกันจนให้กำเนิดครรภ์ขึ้นมาครับ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าตัวเองรู้ผิดไปเยอะครับ
เลยอยากรู้ว่าทุกท่านในนี้เคยสงสัยหรือรู้ความหมายของสังขารและวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทกันบ้างมั้ยครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
ส่วนอวิชชาผมพิจารณาว่าเป็นอวิชชาของบิดามารดาที่ทำให้ท่านมาครองเรือนกันจนให้กำเนิดครรภ์ขึ้นมาครับ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าตัวเองรู้ผิดไปเยอะครับ
พูดอะไรของคุณนิ ดิฉันงง s006 ออกแนวไสยศาสตร์ ใครเข้าใจมาตอบทีสิ ดิฉันงงเต๊กละ :b5:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 14:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับทุกท่าน :b8:
อยากทราบว่ามีใครเคยสงสัยสังขารและวิญญาณที่ต่อออกมาจากอวิชชากับสังขารวิญญาณในรูปนามกับบ้างมั้ย ว่ามันเหมือนหรือต่างกันหรือเปล่าครับ...ตัวผมเองเคยสงสัยและได้เคยลองพิจารณาดูจนได้คำตอบที่(เคย)เข้าใจว่าถูก...แต่เมื่อเร็วๆนี้เหมือนได้ความอนุเคราะห์จากครูบาอาจารย์ท่านช่วยแก้ความเข้าใจผิดให้...คือผมเคยพิจารณาว่ามันต่างกัน สังขารที่ต่อมาจากอวิชชานั้นผมพิจารณาว่ามันคือสังขารที่ปรุงมาจากธาตุสี่ ส่วนวิญญาณที่ต่อมาจากสังขารก็คือจิตที่มาอาศัยกายสังขาร ส่วนอวิชชาผมพิจารณาว่าเป็นอวิชชาของบิดามารดาที่ทำให้ท่านมาครองเรือนกันจนให้กำเนิดครรภ์ขึ้นมาครับ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าตัวเองรู้ผิดไปเยอะครับ
เลยอยากรู้ว่าทุกท่านในนี้เคยสงสัยหรือรู้ความหมายของสังขารและวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทกันบ้างมั้ยครับ
ขอบคุณครับ :b8:


สังขาร คือ การปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกว่า ดีชั่ว หรือบุญบาป โดยความรู้สึกนี้เกิดมาจาก อายตนะ 12 เมื่อผ่านมาทางอายตนะ12 ทำให้เกิดการปรุงแต่งขึ้น เป็นผลขึ้นคือ ความรุ้สึกดีชั่ว บุญบาป

ถ้าเราสำรวมจิตแล้ว ถึงแม้ว่า สิ่งยั่วยุผ่านเข้ามาทางอายตนะ12 ได้ ก็ไม่เป็นผล สังขารก็ไม่เกิด..(เพราะไม่เกิดการปรุง ) ส่วนถ้าผ่านเข้ามาทางอายตนะ12แล้วปรุงแต่งว่า ฉันเห็น ฉันรู้สึก ฉันได้กลิ่น ฯลฯ นั่นเพราะเราเกิดความยึดถือยึดมั่นในตัวตนและผ่านการปรุงมาแล้ว

เช่น เห็นคนใส่เสื่อสายเดี่ยวเดินผ่านมา คนเราปิดตาเดินไม่ได้ แต่เมื่อเราเห็นซึ่งเป็นอายตนะภายนอกรับ โดยผ่านมาที่อายตนะภายในคือตาเมื่อเห็นแต่จิตเราไม่ติด เราก็จะมองผ่านไปเลยไม่สนใจ....มันก็ไม่เกิดการปรุงแต่งขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่า สังขารไม่เกิด

แต่ถ้าผ่านเข้ามาทางอายตนะภายนอกคือเห็นแล้ว ผ่านเข้ามาถึงอาตยนะภายในคือตา สังขารไปปรุงต่อว่า เออ..คนนี้ใส่เสื่อสายเดี่ยวสวยดี ถ้าปรุงต่อไปพร้อมด้วยกิเลสของตนก็มองว่า เขาใส่ยั่วดีน่ะ..(ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเฉยๆน่ะ)


วิญญาณคือ ประสาทสัมผัส เช่น ว่า ร้อน หนาว เจ็บ หิว วิญญานตัวนี้ มักจะอยู่กับความยึดถือยึดมั่นเสมอ เพราะมันจะมีคำว่า ฉันเจ็บ ฉันหิว ฉันหนาว


อวิชชา แปลว่า ไม่รู้ หรือรู้ไม่หมด..รู้ไม่แจ้ง..ไม่หมดในไหน รู้ไม่หมดในขันธ์5 คือไม่เห็นไตรลักษณ์ในขันธ์5 ทุกคนที่เดินสติปัฏฐานเพื่อให้รู้แจ้งในการทำงานของขันธ์5 เพื่อที่จะได้ลดการยึดถึือยึดมั่นในตัวตนลงมา เพื่อให้จิตได้ปล่อยวางขันธ์ ว่า ขันธ์ก็คือขันธ์ จิตก็คือจิต เหมือนดั่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดว่า..จิตดวงเดียวที่ท่องไป..


อ่านไม่เข้าใจในคำถาม แต่เข้าใจช่วงท้ายๆ เลยเขียนแบบนี้ เพื่อแสดงความคิดเห็นค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 22:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์แห่งปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท มีองค์ประกอบซึ่งเป็นหลักการสำคัญทั้งหมด 12 ข้อ แต่ละข้อมีประเด็นควรศึกษาให้ทราบไว้เป็นเบื้องต้น ดังนี้
1. อวิชชา หมายถึง ความไม่รู้ ตรงข้ามกับวิชชา ความไม่รู้ในที่นี้คือ ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ (ความดับแห่งทุกข์) ความไม่รู้ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ให้ถึงความดับแห่งทุกข์)
2. สังขาร หมายถึง ความคิดปรุงแต่ง ความจงใจที่ประกอบด้วยเจตนาอันแสดงออกทางกาย เรียกว่า กายสังขาร(สภาวะที่ปรุงแต่งกาย) แสดงออกทางวาจา เรียกว่า วจีสังขาร(สภาวะที่ปรุงแต่งวาจา) แสดงออกทางใจ เรียกว่า จิตตสังขาร(สภาวะที่ปรุงแต่งใจ)
ความคิดที่ปรุงแต่งเกิดขึ้นนี้อาจจะมีทั้งที่เป็นส่วนดี เป็นบุญ เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ส่วนที่ไม่ดี เป็นบาป เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร ความคิดที่ปรุงแต่งจิตอันมั่นคงของผู้ที่ได้บรรลุอรูปสมาบัติ เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร ซึ่งความคิดที่ปรุงแต่งกายสังขารและวจีสังขาร เป็นปุญญาภิสังขาร และอปุญญาภิสังขาร แต่ในจิตตสังขารเป็นสังขารได้ทั้ง 3 ประการ
3. วิญญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งอารมณ์ต่างๆ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจ ตามติดให้เกิดการรับรู้ต่างๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
วิญญาณมี 6 ประการ คือ
1. จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา)
2. โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู)
3. ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก)
4. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น)
5. กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย)
6. มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ)
ในวงจรปฏิจจสมุปบาทแบบข้ามภพข้ามชาติ มีปรากฏในคัมภีร์อภิธรรมและคัมภีร์อรรถกถารุ่นหลัง เช่น วิสุทธิมรรค แบ่งวิญญาณออกเป็น 2 ชนิด คือ วิถีวิญญาณ ได้แก่ วิญญาณ 6 ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปวัตติวิญญาณ และวิญญาณอีกชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เชื่อมต่อ ภพ เรียกว่า ปฏิสนธิวิญญาณ1
4. นามรูป คือ นามธรรม 5 อย่าง ได้แก่
เวทนา (ความเสวยอารมณ์)
สัญญา (ความจำได้หมายรู้)
เจตนา (ความจงใจ)
ผัสสะ (ความกระทบหรือสัมผัส)
มนสิการ (ความกระทำไว้ในใจ) หรือนามขันธ์ 3 คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ (เจตนา ผัสสะ มนสิการ จัดเป็น สังขารขันธ์)
รูป ได้แก่ มหาภูตรูป 4 และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป (อุปาทายรูป) 24
มหาภูตรูป 4 คือ ธาตุ 4 ได้แก่
ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน มีลักษณะแข้นแข็ง
อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ มีลักษณะเหลว
เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ มีลักษณะร้อน
วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มีลักษณะพัดไปมา
5. สฬายตนะ คือ แดนติดต่อ 6 แดน ดังนี้
1. จักขวายตนะ (อายตนะคือตา)
2. โสตายตนะ (อายตนะคือหู)
3. ฆานายตนะ (อายตนะคือจมูก)
4. ชิวหายตนะ (อายตนะคือลิ้น)
5. กายายตนะ (อายตนะคือกาย)
6. มนายตนะ (อายตนะคือใจ)
ที่ต่อ 6 อย่างนี้ เรียกว่า อายตนะภายใน เพื่อต่อกับอายตนะภายนอก 6 คือ ตาต่อกับรูป หูต่อกับเสียง จมูกต่อกับกลิ่น ลิ้นต่อกับรส กายต่อกับสัมผัส ใจต่อกับธรรมารมณ์
6. ผัสสะ คือ ความถูกต้องหรือกระทบ หมายถึง อาการที่จิตหรือวิญญาณถูกต้องหรือกระทบกับอารมณ์คือสิ่งเร้าแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์หรือเฉยๆ
ผัสสะมี 6 อย่าง คือ
1. จักขุสัมผัส (ความกระทบทางตา)
2. โสตสัมผัส (ความกระทบทางหู)
3. ฆานสัมผัส (ความกระทบทางจมูก)
4. ชิวหาสัมผัส (ความกระทบทางลิ้น)
5. กายสัมผัส (ความกระทบทางกาย)
6. มโนสัมผัส (ความกระทบทางใจ)
ความสัมผัส 3 อย่างนี้ จะต้องมีธรรม 3 อย่างมาประจวบกัน เช่น จักขุสัมผัสจะต้อง มีจักขุปสาท รูป และจักขุวิญญาณ มาประจวบกัน ถ้าเป็นแต่เพียงจักขุปสาทกระทบกับรูปเฉยๆ ยังไม่เกิดจักขุวิญญาณ ก็ยังไม่เป็นผัสสะ ผัสสะอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน
7. เวทนา หมายถึง ความเสวยอารมณ์ คือ ความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ หรือรู้สึกเฉยๆ การเสวยอารมณ์นี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากผัสสะ เมื่อองค์ทั้ง 3 มาประจวบกัน จึงเกิดผัสสะ ต่อ จากผัสสะก็เกิดเวทนา คือ การเสวยอารมณ์ที่ต่อจากสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เวทนาดังกล่าวนั้นมี 6 ประการตามแดนที่เกิด คือ
1. จักขุสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา)
2. โสตสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู)
3. ฆานสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก)
4. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น)
5. กายสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย)
6. มโนสัมผัสสชาเวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ)
ว่าโดยลักษณะเวทนามี 5 คือ
1. ความรู้สึกเป็นสุขทางกาย (สุขเวทนา)
2. ความรู้สึกเป็นสุขทางใจ (โสมนัสเวทนา)
3. ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางกาย (ทุกขเวทนา)
4. ความรู้สึกเป็นทุกข์ทางใจ (โทมนัสเวทนา)
5. ความรู้สึกเฉยๆ คือ รู้สึกเป็นกลางๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ (อุเบกขาเวทนา)
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว เวทนามี 2 อย่าง คือ เวทนาทางกายและเวทนาทางใจ
8. ตัณหา คือ ความทะยานอยาก เมื่อแบ่งตามแดนที่เกิดแล้ว มี 6 ประการ คือ
1. รูปตัณหา (ความทะยานอยากได้ในรูป)
2. สัททตัณหา (ความทะยานอยากได้ในเสียง)
3. คันธตัณหา (ความทะยานอยากได้ในกลิ่น)
4. รสตัณหา (ความทะยานอยากได้ในรส)
5. โผฏฐัพพตัณหา (ความทะยานอยากได้ในโผฏฐัพพะ)
6. ธัมมตัณหา (ความทะยานอยากได้ในธรรมารมณ์)
เมื่อว่าโดยอาการที่เกิด แบ่งเป็น 3 คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
9. อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาที่ชอบหรือชัง จนเกิดความหลงติด มี 4 ประการ คือ
1. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม
2. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฏฐิ เช่น ยึดมั่นในความเห็นว่าบุญไม่มี บาปไม่มี
3. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลพรต ในข้อวัตรปฏิบัติของตน
4. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา คือ ถือว่าขันธ์ 5 มีอัตตา เป็น ตัวตน เที่ยงแท้ เป็นต้น
10. ภพ แปลว่า ความมีความเป็น ในที่นี้หมายถึง ภาวะแห่งชีวิต คือ ความมีขันธ์หรือมีนามรูป เพราะชีวิตต้องตกอยู่ในภพทั้ง 3 อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ คือ
1. กามภพ ภพที่เป็นกามาวจร
2. รูปภพ ภพที่เป็นรูปาวจร
3. อรูปภพ ภพที่เป็นอรูปาวจร
นอกจากนี้ในอภิธรรม ยังกล่าวถึงอุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดกรรมภพ และอุปปัตติภพ
กรรมภพ แปลว่า ภพคือกรรม ได้แก่ เจตนาและธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา มีอภิชฌา (ความละโมบ) เป็นต้น อันได้แก่ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร หรือจะกล่าวให้ง่ายก็คือ กรรมภพนั้น ได้แก่ กุศลกรรม และอกุศลกรรม อันจะนำไปสู่กามภพ รูปภพ อรูปภพ
อุปปัตติภพ แปลว่า ภพคือภาวะที่เกิดขึ้น ปรากฏขึ้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ซึ่งก็หมายถึง ภพทั้ง 3 นั้นเอง
11. ชาติ คือ ความเกิด ว่าโดยสมมติได้แก่ความเกิดของสัตว์ โดยปรมัตถ์ ได้แก่ ความปรากฏแห่งขันธ์ หรือความเกิดขึ้นครั้งแรกของขันธ์ สรุปแล้วชาติในที่นี้มีความหมายได้ 2 นัย คือ หมายถึงการเกิดของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต คือการเกิดปรากฏของอุปปัตติภพใหม่ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งถือว่าเป็นวิบาก หลังจากกรรมภพ คือ การทำความดีความชั่วสิ้นสุดลง การเกิดแบบนี้ปรากฏขึ้นในทุกขณะจิต ภาษาอภิธรรม เรียกว่า อุปปาทะ และหมายถึงการเกิดของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ ได้แก่ การเกิดปรากฏเป็นตัวตนมีรูปร่างในภพภูมิต่างๆ เช่น เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทั้งนี้แล้วแต่ผลของกรรม มีอายุยืนบ้าง สั้นบ้าง การเกิดแบบนี้ ภาษาอภิธรรม เรียกว่า ปฏิสนธิ
12. ชราและมรณะ ชรา คือ ความแก่ ความเฒ่า ความคร่ำคร่าของสัตว์ มีอาการที่ปรากฏ เช่น ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยวย่น หย่อนยาน อายุและกำลังวังชาลดน้อยถอยลง แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต และความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ
ความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต หมายถึง ความตั้งอยู่ได้ชั่วขณะหนึ่งของอุปปัตติภพใหม่หลังจากการเกิดปรากฏ แล้วก่อนที่จะดับ กล่าวคือ ในแต่ละขณะจิต ขันธ์ 5 เมื่อปรากฏแล้วก็จะคงอยู่ได้ชั่วแวบหนึ่งแล้วก็จะดับลง ขณะที่คงอยู่ ภาษาอภิธรรมเรียกว่า ฐิติ แต่ก็ใช่ว่าจะคงที่อยู่อย่างนั้น มีความเสื่อมโทรมอันเป็นตัวแปรนำไปสู่ความแตกดับกำกับแทรกซ้อนอยู่ด้วย
ความเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ หมายถึง ความแก่ของรูปที่ปรากฏออกมาในลักษณะ อวัยวะหย่อนยาน หนังเหี่ยวย่น หูตาฝ้าฟาง ความแก่ของเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่ปรากฏออกมาในลักษณะ การรับรู้ต่างๆ ไม่ชัดเจน ความจำเสื่อม ความคิดไม่แจ่มชัด
มรณะ คือ ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทำลายไป ความหายไป ความตาย ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย
ความแตกทำลายของขันธ์ 5 ซึ่งมี 2 อย่าง คือ ความแตกดับของขันธ์ 5 ในแต่ละขณะจิต และความแตกดับของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ
ความแตกดับในแต่ละขณะจิต หมายถึง ความแตกดับของอุปปัตติภพใหม่หลังจากเกิดขึ้น และตั้งอยู่แล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งภาษาอภิธรรม เรียกว่า ภังคะ
ความแตกดับของขันธ์ 5 ในแต่ละภพแต่ละชาติ หมายถึง ความตาย กล่าวคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แตกสลาย ไม่สามารถประชุมกันเป็นชีวิตเดิมได้อีก ภาษาอภิธรรม เรียกว่า จุติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 22:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สงสัยสังขารและวิญญาณที่ต่อออกมาจากอวิชชากับสังขารวิญญาณในรูป

:b32: :b32: :b32:
มีการพูดถึงกันมานานแล้ว....แต่ก็ไม่รู้จบ
พวกที่ว่าต่างกัน...ส่วนใหญ่จะถูกมองเป็นตัวประหลาด...นอกคำสอน :b9:

แต่ไม่หยักมีใครเคยคิดว่า...บุปเพนิวาสานุสสติญาน...ของบรมศาสดา...ย้อนได้ไม่จำกัดจำนวนชาติ

2 แนว..ที่ถูกทั้งคู่..เพียงยลคนละช่อง

ช่องแรก....แบบข้ามภพข้ามชาติ
อีกช่อง....แบบปัจจุบันขณะ
:b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2012, 23:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
สงสัยสังขารและวิญญาณที่ต่อออกมาจากอวิชชากับสังขารวิญญาณในรูป

:b32: :b32: :b32:
มีการพูดถึงกันมานานแล้ว....แต่ก็ไม่รู้จบ
พวกที่ว่าต่างกัน...ส่วนใหญ่จะถูกมองเป็นตัวประหลาด...นอกคำสอน :b9:

แต่ไม่หยักมีใครเคยคิดว่า...บุปเพนิวาสานุสสติญาน...ของบรมศาสดา...ย้อนได้ไม่จำกัดจำนวนชาติ

2 แนว..ที่ถูกทั้งคู่..เพียงยลคนละช่อง

ช่องแรก....แบบข้ามภพข้ามชาติ
อีกช่อง....แบบปัจจุบันขณะ
:b17:


มันไปด้วยกันครับ ท่าน ปัจจุบันขณะ เป็นเหตุของ อนาคต ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ค. 2012, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เพราะไม่รู้ จึงได้หลงกระทำกรรม

เพราะไม่รู้ จึงได้กระทำอกุศลกรรม
เพราะไม่รู้ จึงได้กระทำกุศลกรรม


เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี

พระอรหันต์ ไม่มีอวิชชาแล้ว พระอรหันต์จึงไม่มีการกระทำ กุศล หรืออกุศล

สิ่งที่พระอรหันต์ ทำ จัดเป็นกิริยา

เพราะประกอบ กุศล จึงมีวิบากตามมา
เพราะประกอบ อกุศล จึงมีวิบากตามมา

พระอรหันต์ไม่ประกอบกุศล และอกุศล จึงไม่มีวิบาก ใหม่ๆ ที่จะตามมา

แต่พระอรหันต์ ยังคงรับวิบากจากเหตุกุศลอกุศลในอดีต ที่ได้เคยกระทำ ก่อนจะบรรลุอรหันต์

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2012, 02:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลูกพระป่า เขียน:
สวัสดีครับทุกท่าน :b8:
อยากทราบว่ามีใครเคยสงสัยสังขารและวิญญาณที่ต่อออกมาจากอวิชชากับสังขารวิญญาณในรูปนามกับบ้างมั้ย ว่ามันเหมือนหรือต่างกันหรือเปล่าครับ...ตัวผมเองเคยสงสัยและได้เคยลองพิจารณาดูจนได้คำตอบที่(เคย)เข้าใจว่าถูก...แต่เมื่อเร็วๆนี้เหมือนได้ความอนุเคราะห์จากครูบาอาจารย์ท่านช่วยแก้ความเข้าใจผิดให้...คือผมเคยพิจารณาว่ามันต่างกัน สังขารที่ต่อมาจากอวิชชานั้นผมพิจารณาว่ามันคือสังขารที่ปรุงมาจากธาตุสี่ ส่วนวิญญาณที่ต่อมาจากสังขารก็คือจิตที่มาอาศัยกายสังขาร ส่วนอวิชชาผมพิจารณาว่าเป็นอวิชชาของบิดามารดาที่ทำให้ท่านมาครองเรือนกันจนให้กำเนิดครรภ์ขึ้นมาครับ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าตัวเองรู้ผิดไปเยอะครับ
เลยอยากรู้ว่าทุกท่านในนี้เคยสงสัยหรือรู้ความหมายของสังขารและวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทกันบ้างมั้ยครับ
ขอบคุณครับ :b8:


อวิชชา เป็นปัจจัย แก่สังขาร...

สัตว์(ผู้ข้องในภพ 3) คือจิตที่เจือไปด้วยอวิชชา สัตว์นี้เมื่อประสพกับอารมณ์ ย่อมหน่วงรั้งเอาอารมณ์นั้นมาปรุงแต่งประกอบกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง...
นี่เป็นห่วงแรก มีต้นคืออวิชชา มีปลายคือสังขาร กองทุกข์ทั้งมวลย่อมเกิดขึ้น
เมื่ออวิชชาดับ สังขารจึงดับ
คือเมื่อรู้ เมื่อสัตว์นั้น ได้แล้วซึ่งวิชชา เป็นผู้รู้ผู้เห็น คือวิมุติญาณทัสสนะ ย่อมไม่หน่วงเอาอารมณ์นั้นมาปรุงแต่งประกอบกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ

สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
สัตว์นั้นเมื่อประกอบเจตนาเป็นกรรมทางกายบ้าง เป็นกรรมทางวาจาบ้าง เป็นกรรมทางใจบ้าง
วิญญาณจึงตั้งขึ้น ไปรู้ ตามชนิดของเจตนาที่ประกอบกรรมนั้น
เมื่อประกอบกรรมทางกาย วิญญาณก็ไปตั้งอยู่ที่กาย
เมื่อประกอบกรรมทางวาจา วิญญาณก็ไปตั้งอยู่รู้อยู่ที่วาจา
เมื่อประกอบกรรมทางใจ วิญญาณก็ไปตั้งอยู่รู้อยู่ทางใจ
เพราะกรรม คือเจตนา เจตนาคือสังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
เมื่อสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
นี่เป็นห่วงถัดมา มีต้น คือสังขาร มีปลายคือวิญญาณ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2012, 14:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อวิชชา เป็นปัจจัย แก่สังขาร...

สัตว์(ผู้ข้องในภพ 3) คือจิตที่เจือไปด้วยอวิชชา สัตว์นี้เมื่อประสพกับอารมณ์ ย่อมหน่วงรั้งเอาอารมณ์นั้นมาปรุงแต่งประกอบกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง...
นี่เป็นห่วงแรก มีต้นคืออวิชชา มีปลายคือสังขาร กองทุกข์ทั้งมวลย่อมเกิดขึ้น
เมื่ออวิชชาดับ สังขารจึงดับ
คือเมื่อรู้ เมื่อสัตว์นั้น ได้แล้วซึ่งวิชชา เป็นผู้รู้ผู้เห็น คือวิมุติญาณทัสสนะ ย่อมไม่หน่วงเอาอารมณ์นั้นมาปรุงแต่งประกอบกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ

สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
สัตว์นั้นเมื่อประกอบเจตนาเป็นกรรมทางกายบ้าง เป็นกรรมทางวาจาบ้าง เป็นกรรมทางใจบ้าง
วิญญาณจึงตั้งขึ้น ไปรู้ ตามชนิดของเจตนาที่ประกอบกรรมนั้น
เมื่อประกอบกรรมทางกาย วิญญาณก็ไปตั้งอยู่ที่กาย
เมื่อประกอบกรรมทางวาจา วิญญาณก็ไปตั้งอยู่รู้อยู่ที่วาจา
เมื่อประกอบกรรมทางใจ วิญญาณก็ไปตั้งอยู่รู้อยู่ทางใจ
เพราะกรรม คือเจตนา เจตนาคือสังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
เมื่อสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
นี่เป็นห่วงถัดมา มีต้น คือสังขาร มีปลายคือวิญญาณ

เจริญธรรม


:b8: ทุกคำมีค่า..มีความหมาย..อ่านช้าๆเพื่อซึมซับ...ทำให้เข้าใจและแจ้งแก่ใจมากขึ้น กราบขอบพระคุณนะค่ะ ที่มาเปิดปัญญาให้ชัดและแจ้งแก่ใจ สาธุ สาธุ สาธู :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2012, 20:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
ลูกพระป่า เขียน:
ส่วนอวิชชาผมพิจารณาว่าเป็นอวิชชาของบิดามารดาที่ทำให้ท่านมาครองเรือนกันจนให้กำเนิดครรภ์ขึ้นมาครับ แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าตัวเองรู้ผิดไปเยอะครับ
พูดอะไรของคุณนิ ดิฉันงง s006 ออกแนวไสยศาสตร์ ใครเข้าใจมาตอบทีสิ ดิฉันงงเต๊กละ :b5:

สวัสดีครับคุณ nongkong :b8:
ขออธิบายตรงนี้ว่าในปฏิจจสมุปบาทนั้นกล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดภพคือ
อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร...สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ...วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดรูปนาม...รูปนามเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ...ต่อไปเรื่อยๆจนถึงภพ ชาติ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
แล้วทีนี้เมื่อผมมาพิจารณาที่รูปนาม โดยแยกเป็นรูป1 นาม4 ก็จะได้เป็น รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ก็เลยเกิดความสงสัยว่าในปฏิจจสมุปบาทก็มีสังขารและวิญญาณอยู่แล้ว ทำไมจึงมีในรูปนามซ้ำอีก ถ้ามันจะมีความหมายอย่างเดียวกันก็น่าจะถูกจัดไว้ด้วยกัน จึงได้ลองพิจารณาหาถึงความหมายและความแตกต่างของสังขารและวิญญาณในปฏิจจฯกับในรูปนามดู สุดท้ายในตอนนั้นเลยได้คำตอบอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นครับ ซึ่งตอนนี้รู็แล้วว่าเป็นความเห็นผิดของตัวผมเองครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2012, 21:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2011, 16:32
โพสต์: 324


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับพี่เช่นนั้น :b8:
ขออนุโมทนากับคำตอบของพี่มากครับ ซึ่งใกล้เคียงกับที่ผมเพิ่งได้รู้มาเหมือนกันครับ คือเมื่อไม่กี่วันก่อนนี้ผมได้อ่านหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น ที่ท่านได้แสดงอรรถาธิบายในเรื่องนี้ต่อท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ไว้โดยสรุปว่า สังขาร วิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาทนั้นอยู่ในสภาวะของกรรม ส่วนสังขาร วิญญาณ ของนามรูปนั้นอยู่ในสภาวะของวิบาก คือเป็นผลสำเร็จของสังขารกรรม วิญญาณกรรมแล้ว สังขารกรรม วิญญาณกรรม เป็นการปรุงแต่งที่กำลังทำอยู่เป็นภาวะที่ไม่เป็นอิสระ อยู่ภายใต้อำนาจของกรรม มีอวิชชาเป็นหางเรือใหญ่ ในขณะนั้นมีจิตเป็นประธานอาศัยสังขารปรุงแต่งและวิญญาณความรู้สึกขณะที่กำลังปรุงแต่งภพ จิต ณ ที่นี้จึงแล้วแต่กรรมจะจำแนกไป คือสังขารกรรมและวิญญาณกรรมเห็นดีไปอย่างไรก็จะไปก่อตั้งภพให้เกิดตามนั้น...เมื่อภพเกิดขึ้นแล้วหน้าที่ของสังขารกรรมวิญญาณกรรมก็หยุดลงเท่านี้ ผลคือวิบากก็ต่อออกมาจากตรงนี้คือ รูปนาม นั่นเองครับ...พอผมได้พิจารณาตามก็แจ่มแจ้งใจและรู้ว่าที่ตัวเองคิดเอาก่อนหน้านี้มันผิดมากทีเดียวเพราะแค่เริ่มต้นที่อวิชชาผมก็พิจารณาว่าเป็นอวิชชาของคนอื่นแล้ว แต่ที่หลวงปู่มั่นท่านอธิบายนั้นอวิชชานี้ก็คืออวิชชาของตนนั่นเองครับ
ขอบคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2012, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.ค. 2011, 22:53
โพสต์: 705

แนวปฏิบัติ: รู้สึกตัว
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ว่าจะแสดงความเห็นด้วยเหมือนกัน แต่เมื่อผู้ถามเอาคำตอบของอาจารย์ใหญ่มาเฉลยอย่างนี้ ก็คงได้แค่ขอดูคำตอบด้วยคน s005

.....................................................
"ธรรมะเป็นปัจจัตตัง ต้องทำเอง รู้เอง เห็นเอง เข้าใจเอง"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 06:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เพราะอวิชชา เป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี

ก็เพราะความไม่รู้ ก็เลยหลงกระทำกรรมต่างๆ
เพราะได้หลงกระทำกรรมต่างมามาก จึงต้องเกิด(ปฏิสนธิวิญญาณ)เพื่อรับผลกรรม

เพราะจิตมีอวิชชา จิตจึงมีเจตนากระทำกรรมต่างๆ
เพราะจิตได้กระทำกรรมต่างๆ เมื่อจุติจิตดับไปแล้ว ปฏิสนธิจิตจึงเกิดสืบต่อทันที นับเป็นชาติภพใหม่

วนเวียนเป็นสังสารวัฏฏ์ ไม่จบไม่สิ้น ตราบใดที่จิตยังประกอบด้วยอวิชชา

อวิชชา ไม่ใช่ รูป
อวิชชา ไม่ใช่ เวทนา
อวิชชา ไม่ใช่ สัญญา
อวิชชา จัดอยู่ใน สังขาร
อวิชชา ไม่ใช่ วิญญาณ

สังขารในปฏิจจสมุปบาท จัดอยู่ในอะไรในขันธ์5

สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) ไม่ใช่ รูป
สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) ไม่ใช่ เวทนา
สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) ไม่ใช่ สัญญา
สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) เป็นองค์ธรรมหนึ่ง ในสังขาร
สังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท) ไม่ใช่ วิญญาณ


เพราะขันธ์5 ไม่บริสุทธิ์ คือยังประกอบด้วยกิเลส เช่น อวิชชาเป็นต้น เมื่อจุติจิตดับไป ปฏิสนธิจิต จึงเกิดสืบต่อ

ขันธ์5 ของพระอรหันต์ บริสุทธิ์ ไม่เจือด้วยกิเลสทั้งปวง อันมีอวิชชาเป็นต้น ยามเมื่อจริมจิตของพระอรหันต์ดับไป ก็ไม่เกิดปฏิสนธิจิตสืบต่อ

หมายเหตุ จริมจิต คือ จิตสุดท้าย(จุติจิต)ของพระอรหันต์

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 11:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 เม.ย. 2012, 17:37
โพสต์: 35


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เช่นนั้น
อวิชชา เป็นปัจจัย แก่สังขาร...

สัตว์(ผู้ข้องในภพ 3) คือจิตที่เจือไปด้วยอวิชชา สัตว์นี้เมื่อประสพกับอารมณ์ ย่อมหน่วงรั้งเอาอารมณ์นั้นมาปรุงแต่งประกอบกรรมทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง...
นี่เป็นห่วงแรก มีต้นคืออวิชชา มีปลายคือสังขาร กองทุกข์ทั้งมวลย่อมเกิดขึ้น
เมื่ออวิชชาดับ สังขารจึงดับ
คือเมื่อรู้ เมื่อสัตว์นั้น ได้แล้วซึ่งวิชชา เป็นผู้รู้ผู้เห็น คือวิมุติญาณทัสสนะ ย่อมไม่หน่วงเอาอารมณ์นั้นมาปรุงแต่งประกอบกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ

สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
สัตว์นั้นเมื่อประกอบเจตนาเป็นกรรมทางกายบ้าง เป็นกรรมทางวาจาบ้าง เป็นกรรมทางใจบ้าง
วิญญาณจึงตั้งขึ้น ไปรู้ ตามชนิดของเจตนาที่ประกอบกรรมนั้น
เมื่อประกอบกรรมทางกาย วิญญาณก็ไปตั้งอยู่ที่กาย
เมื่อประกอบกรรมทางวาจา วิญญาณก็ไปตั้งอยู่รู้อยู่ที่วาจา
เมื่อประกอบกรรมทางใจ วิญญาณก็ไปตั้งอยู่รู้อยู่ทางใจ
เพราะกรรม คือเจตนา เจตนาคือสังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ
เมื่อสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
นี่เป็นห่วงถัดมา มีต้น คือสังขาร มีปลายคือวิญญาณ

เจริญธรรม




สวัสดีค่ะ คุณเช่นนั้น...เมื่อคืนดิฉันพิจารณา ในสิ่งที่คุณเช่นนั้นแนะทั้งคืน..คิดถึงเรื่องอวิชชาเกี่ยวข้องกับขันธ์5 ได้อย่างไร ในสิ่งที่คุณได้แนะนำนั้น ดิฉันไม่เคยคิดถึงความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันและกันเลย เนื่องจากว่า จิตของดิฉันไม่ได้ละเอียดพอ แค่รู้สึกว่า ใจเราไม่ติด ไม่ข้อง ก็เพียงพอ แต่เมื่อได้อ่านข้อความที่คุณเช่นนั้นได้เขียน ได้ทำให้ดิฉันต้องมาคิดทบทวน ความเป็นมาเป็นไปในการปฎิบัติและผลปฎิบัติของตัวเอง และพิจารณาต่อยอดจากสิ่งที่คุณเช่นนั้น ได้ให้ปัญญาไว้


เนื่องจากในการปฎิบัติที่ผ่านมา ดิฉันจะเทียบกับสังโยชน์ 10 เป็นเกณฑ์เสมอ ในสิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้คือ สิ่งที่ดิฉันได้พิจารณาและทบทวนดูว่า อวิชชากับขันธ์5 นั้นเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ดิฉันอยากให้คุณเช่นนั้น ช่วยเช็คให้ดิฉันหน่อยว่า สิ่งที่ดิฉันได้ทบทวนและเขียนออกมานั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะธรรมนั้นเป็นของสูงเป็นของละเอียดจะมาผิดหรือบิดเบือนตามใจตัวเองนั้นไม่ได้ ดิฉันไม่ใช่ผู้รู้ แค่เป็นผู้ฝึกและเป็นผู้เรียนรู้เท่านั้น ดิฉันจึงอยากได้ความเมตตาจากคุณเช่นนั้น และผู้รู้ท่านอื่นๆ ช่วยเช็คให้ดิฉันด้วยค่ะ

ดิฉันพิจารณาว่า

1 เมื่ออวิชชาดับ รูปนั้นยังคงอยู่แต่ จิตเราไม่เกี่ยวข้อง เห็นความเป็นไปในธรรมดาแห่งรูปนั้น ในความเป็นจริงรูปนั้นยังคงอยุ่ แต่ในทางปฎิบัตินั้นด้วยใจเราไม่ติดเราจึงคิดว่า รูปนั้นดับ ที่ดับคือดับออกไปจากใจเรา

2 เวทนา ซึ่งแปลว่า สุข ทุกข์ ไม่สุขและไม่ทุกข์นั้น ถ้าอวิชชาดับ เวทนาจะดับด้วย เพราะจากที่เราสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ อารมณ์ทั้งสามนี้ จะเปลี่ยนเป็นการวางเฉยแทน ไม่รู้สึกแทน ศัพท์ธรรมก็จะตรงกับคำว่า อุเบกขา......เวทนาจะเปลี่ยนเป็นอุเบกขาแทน

3 สัญญา เมื่ออวิชชาดับ สัญญาทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นปัญญาแทน เนื่องจากปัญญาเกิดทำให้มองย้อนไปถึงสัญญาที่เราได้เรียนรุ้มาในอดีตทำให้เราสามารถมองได้ทะลุแจ้งแทงได้ตลอด สัญญาถึงเปลี่ยนมาเป็นปัญญาได้ทั้งหมด

4 สังขาร ซึ่งแปลว่า การปรุงแต่ง เมื่ออวิชชาดับ การปรุงแต่งต่างๆก็จะดับไปด้วย เพราะเมื่ออวิชชาดับแล้ว จะไม่มีการปรุงต่างๆ เราก็จะไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต จะมีแต่ปัจจุบันอย่างเดียว เราจะอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว

5 วิญญาณ แปลว่า ประสาทการรับรู้เมื่ออวิชชาดับประสาทการรับรู้ไม่ได้ดับไปด้วย แต่เนื่องจากอวิชชาดับ ความยึดมึ่นถือมั่นในตัวตนก็ดับ ทำให้ทุกอย่างที่ประสาทการรับรู้สมผัสหรือแสดงออกมา จะเป็นกิริยาที่แสดงออกทั้งหมด เหมือนที่เราเคยเห็นพระทองคำหลายๆท่าน ยังแสดงการ ดุ การเตือน การว่า บางที่กิริยาเดิม ที่มีนิสัยโวยวายก็ยังโวยวายอยู่ นั้นคือมีแต่กิริยาที่แสดงออก เพราะตัวตน มานะตัวตนได้ถอนออกจากจิตแล้ว

สิ่งที่ดิฉันเขียนเป็นสิ่งที่ดิฉันได้พิจารณาแต่ไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่ และดิฉันยังไม่เข้าใจ ในขันธ์แต่ละขันธ์ว่าเกี่ยวเนื่องกันได้อย่างไร เพราะในความรุ้สึกดิฉันเห็นว่า ขันธ์แต่ละขันธ์แยกกันเป็นกองๆ ไม่มีกองใหนที่จะเชื่อมต่อกันได้ คือ ในใจนั้น กองแต่ละกองของขันธ์นั้นขาดกันอย่างชัดเจน เมื่อดิฉันมาอ่านในสิ่งที่คุณเช่นนั้นเขียนทำให้เข้าใจได้มากขึ้น

ถึงตอนนี้ คุณเช่นนั้นแนะนำดิฉันต่อได้ไหมค่ะว่า ความเกี่ยวเนื่องแต่ละขันธ์นั้นเป็นอย่างไร เพราะผลที่ใจออกมานั้นมันขาดกันอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้าใครจะถามดิฉัน ดิฉันนั้นจะตอบไม่ได้ รุ้แต่ว่าขาด และเป็นผลอย่างที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น.....ขอบพระคุณล่วงหน้านะค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ค. 2012, 13:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ขนมจีบซาลาเปา เขียน:
ถึงตอนนี้ คุณเช่นนั้นแนะนำดิฉันต่อได้ไหมค่ะว่า ความเกี่ยวเนื่องแต่ละขันธ์นั้นเป็นอย่างไร เพราะผลที่ใจออกมานั้นมันขาดกันอย่างสิ้นเชิง แต่ถ้าใครจะถามดิฉัน ดิฉันนั้นจะตอบไม่ได้ รุ้แต่ว่าขาด และเป็นผลอย่างที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น.....ขอบพระคุณล่วงหน้านะค่ะ :b8: :b8:


มาตอบเร็ว ๆ หน่อยจิ่

คนอ่านใจร้อนนะ :b32: :b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 338 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 23  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 46 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร