วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 15:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับชาวลานธรรมจักร

ผมเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มสนใจในพระธรรมคำสอนได้ไม่นานครับ และด้วยความที่อยู่ต่างบ้านต่างเมือง ไม่สามารถเข้าหาครูบาอาจารย์ได้ จึงได้แต่ศึกษาธรรมะเอาจากการอ่านหนังสือ/website ต่างๆ และลองเอามาปฏิบัติดูเอาตามความเข้าใจของตัวเอง ผมอ่านคำสอนของอาจารย์หลายท่าน ด้วยความที่ปัญญายังด้อยนัก ทำให้ผมเข้าใจภาษาธรรมที่บรรดาท่านพระอาจารย์อาวุโสสูงๆท่านให้ไว้ได้เพียงแค่บางส่วน ผมพยายามทำความเข้าใจนั้นให้มากขึ้นด้วยการอ่านคำสอนของเหล่าพระอาจารย์และอาจาร์ฆราวาสรุ่นหลังๆ ซึ่งท่านเหล่านี้มักเขียนด้วยภาษาที่ผมเข้าใจได้ง่ายกว่า แต่ระยะหลังนี้ ผมได้รู้ว่าเริ่มมีกลุ่มศาสนิกชนผู้หวังดีออกมากล่าวเตือนว่าคำสอนของอาจารย์ชื่อดังรุ่นหลังบางท่านบิดเบือนไปจากแนวทางที่แท้จริงและมีการโต้เถียงกันรุนแรง เรื่องนี้ทำให้ผมสลดใจมาก ประกอบกับการที่แนวทางการปฏิบัติธรรมของผมประมวลมาจากหลากหลายคำสอน ซึ่งรวมถึงคำสอนของอาจารย์ท่านที่ถุกกล่าวถึงท่านนั้นด้วย จึงเกิดความสงสัยว่าแนวทางที่ผมปฏิบัติอยู่นั้นถูกต้องตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ เป็นที่มาของกระทู้นี้ครับ

ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่าจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติธรรมของผม หนึ่งคือการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีขึ้น ทั้งดีต่อตนเอง คือมีความสงบเย็น เข้าถึงความสุขที่แท้ และดีต่อผู้อื่นคือไม่เบียดเบียนไม่ว่าในทางใด รวมถึงเข้าใจผู้อื่นด้วย สองคือผมต้องการเข้าใจตนเอง ผมเชื่อมั่นและเห็นว่าสิ่งเหล่านี้รวมอยู่ในพระธรรม นั่นคือสาเหตุทำให้ผมตั้งใจศึกษาธรรมะ

หลักการปฏิบัติของผมคือ ผมใช้อิริยาบถนั่งจับความรู้สึกที่ลมหายใจเข้าออก ส่วนมากช่วงแรกเพิ่งกลับจากข้างนอก ใจผมจะว้าวุ่นมาก จะจับลมหายใจได้ไม่ชัด ผมจะใช้การถูนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ และจับที่ความรู้สึกที่นิ้วทั้งสองถูกัน ซักพักเมื่อใจเริ่มว้าวุ่นน้อยลง ผมจะเลิกถูนิ้วและจับที่ลมหายใจเข้าออกแทน หายใจเข้าผมนึก "เข้ารู้หนอ" หายใจออก "ออกรู้หนอ" เมื่อเกิดอาการเขวไปหาอารมณ์อื่น หรือคิดเรื่องต่างๆ เมื่อรู้ตัวว่าเขวไป หรือคิดไปแล้ว ผมจะกลับมาจับที่ลมหายใจต่อ บางวันเมื่อทำแบบนี้ ผมจะเกิดความรู้สึกว่าอารมณ์ต่างๆจางลง คือยังมีอยู่ แต่คล้ายๆกับว่าเบาลง และจะเกิดความรู้สึกเบาสบาย ผมก็นึกในใจว่ารู้สึกแบบนั้น แต่เพราะมันอธิบายไม่ถูกว่าความรู้สึกนั้นเรียกว่าอะไร ผมจึงนึกเอาว่า "รู้สึกหนอๆ" ซักพักความรู้สึกนั้นก็จะหายไป ผมก็พยายามรู้สึกถึงลมหายใจ และรู้ตัวว่าเขวต่อไปเหมือนเดิม มีอยู่วันหนึ่งขณะนั่งสมาธิ ผมตามดูความรู้สึกต่างๆไปเรื่อยๆแล้วผมเกิดความรู้สึกว่าตัวผมใจผมอยู่ห่างจากอารมณ์ต่างๆก้าวหนึ่ง แล้วในขณะเดียวกันผมก็เห็นด้วยว่าอารมณ์พวกนั้นเช่นความเบื่อ ความง่วง ความรู้สึกหนักๆซึมๆ ความเบาสบาย ความหงุดหงิด ความดีใจ ความกังวล etc. มันเกิดขึ้นมาเอง แล้วพอเรารู้ว่ามันเกิดขึ้นมันก็หยุดไปเอง ต่อจากนั้นความรู้สึกอื่นก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ แต่พอเรารู้ว่ามันเกิด ความรู้สึกนั้นก็หยุดไปอีก เกิดหยุด เกิดหยุดสลับไปเรื่อยๆ แบบนั้น หลังจากวันนั้นมุมมองของผมที่มีต่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆก็เปลี่ยนไป

ในความเข้าใจของผมจากการเทียบเคียงเอากับหลากหลายตำราที่ผมได้อ่าน ผมเข้าใจว่าสิ่งที่ผมปฏิบัติในช่วงจับลมหายใจคือสมถะกรรมฐานแบบอาณาปานสติ สถาวะที่ผมรู้สึกว่าความรู้สึกอื่นๆเบาลง และรู้สึกฟูๆ เบาสบาย คือกำลังเกิดสมาธิ ส่วนสถาวะที่รู้สึกว่าอยู่ห่างจากความรู้สึกก้าวหนึ่ง กับช่วงที่เห็นความรู้สึกเกิดหยุด เกิดหยุด คือการทำวิปัสสนากรรมฐานแบบจิตตานุปัสนา

อยากจะขอความอนุเคราะห์จากท่านทั้งหลายที่ได้อ่านข้อความนี้ช่วยชี้แนะด้วยครับว่าที่ผมปฏิบัติและที่ผมเข้าใจนั้นถูกต้องตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ รวมถึงแนะแนวทางการปฏิบัติในขั้นต่อๆไปด้วยครับ

ผมไม่มีอะไรจะตอบแทนได้ นอกจากคำขอบคุณ จากความรู้สึกขอบคุณครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


จับใจมากครับ ทั้งข้อความและใจความ ขอบคุณจริงๆสำหรับคำแนะนำครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มี.ค. 2011, 13:32
โพสต์: 245


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอแนะนำเป็นหนังสือนะครับเพื่อความละเอียดและดูแล้วน่าจะเหมาะกับคุณคนธรรมดาด้วย ชื่อ "อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข" ของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ครับ *-* :b42:

.....................................................
"องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกลศมาร บ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว




49.jpg
49.jpg [ 9.26 KiB | เปิดดู 9597 ครั้ง ]
หัวหอม เขียน:
ผมขอแนะนำเป็นหนังสือนะครับเพื่อความละเอียดและดูแล้วน่าจะเหมาะกับคุณคนธรรมดาด้วย ชื่อ "อานาปานสติ : วิถีแห่งความสุข" ของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก ครับ *-* :b42:


tongue ใช่แล้วค่ะ หนังสือที่คุณหัวหอมแนะนำดีมากค่ะ อานาปานสติ อ่านเลยค่ะ tongue

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 23:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีต้อนรับสมาชิกให่มคุณธรรมดาๆ สู่ลานธรรมจักร และขออนุโมทนาในการปฎิบัติธรรม ด้วยลมหายใจและอุบายวิธีที่ใช้ถูนิ้ว ฃึ่งเป็นการปรับอารมณ์วิธีหนึ่ง เท่าที่เล่าสภาวะมาคุณเดินมาถูกทางแล้ว และสำหรับผู้เริ่มต้นไหม่อาจต้องใช้คำภาวนาไประยะหนึ่ง เมื่อรู้ทันสภาวะแล้วต่อไปไม่ต้องใช้คำภาวนาให้รู้ไปที่สภาวะโดยตรง การรู้ไม่ต้องใส่เจตนามาก
ควรเป็นการรู้ที่เป็นธรรมชาติ ไม่เลือกสภาวะ แล้วสภาวะธรรมอย่างหยาบจะคลายตัวออกมา เช่นความรู้สึกนึกคิด ความฟุ้งช่าน ไม่ควรปฎิเสธให้รับรู้ด้วยใจที่เป็นกลาง ต่อไปจะเริมรู้สึกเบาสบายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจะมีความหนักเบาเกิดสลับกันฃึ่งแสดงให้เห็นว่าการสะสมของตัณหาคลายออกเป็นรอบๆ เกิด ดับ เกิด ดับ(อนิจจัง) ต่อไปจิตจะเริ่มนิ่ง และต่อไปจะเฉยๆ(สมาธินำสติ) จำเป็นจะต้องปรับอินทรีย์โดยมีการเคลื่อนไหว อาจเป็นนิ้วมือ หรือลุกขึ้นไปเดินจงกรม
การเดินก็อาจรู้รวมๆ เป็นธรรมชาติ ระยะหนึ่งจึงกลับไปนั่งต่อ สำหรับแนวทางต่อไปให้คุณธรรมดาๆปฎิบ้ติไปก่อนได้ผลอย่างไร ค่อยมาสนทนากันต่อ :b8: suttiyan


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue เรียน คุณคนธรรมดาๆ ครับ

คุณมีนิสัย วาสนา สำหรับการเจริญอานาปานสติภาวนาเป็นทุนเดิมอย่างนี้
ขอเรียนให้ไปศึกษาอานาปานสติภาวนา ตรงๆกับพระพุทธเจ้าเลยนะครับโดย
ไปให้ Google เขาค้นอานาปานสติสูตร ที่เป็นบาลีและมีคำแปลอยู่ด้วย
มาศึกษา และสังเกต พิจารณาดูให้ดีๆ

อนาปานสติภาวนา มีอยู่ทั้งหมด 16 ขั้นตอน
ซึ่งจะเป็นไปตามลำดับแห่งธรรมที่จะเกิดขึ้นมาจริงๆ
ภายในกายและจิตของผู้ปฏิบัติ การปฏิบัติก็ให้ทำไปตาม 16 ขั้นตอนนั้น

อานาปานสติภาวนาเป็นคำสอนพิเศษมากของพระพุทธเจ้า
เป็นการสอนให้ทำสมถะควบคู่ไปกับวิปัสสนาภาวนาอย่างแท้จริง

คำสอนจากครูบาอาจารย์ทั้งหลายนั้นดี แต่จะมากสำนวนจนคุณอาจงง
มาศึกษาตรงกับพระพุทธบิดาดีกว่านะครับ
ไม่ยากเกินไปหรอก ขอให้ใช้ปัญญาและสติ ศึกษา สังเกต พิจารณาดูให้ดีๆ
ก็จะเข้าใจคำสอนตรงๆ จากพระสูตรได้โดยง่ายครับ


เจริญธรรมครับ
:b27: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2011, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาให้คำแนะนำครับ ผมจะนำคำแนะนำดีๆของทุกท่านไปปรับใช้แน่นอนครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตขอคำแนะนำเพิ่มเติมดังนี้ครับ

หากในชีวิตประจำวันเริ่มเกิดสติขึ้น เริ่มรู้ตัวว่าอารมณ์กำลังเกิดอยู่ โดยเฉพาะความขัดเคืองใจ และเริ่มรู้ตัวว่าอารมณ์นั้นหยุดไปแล้ว ทำให้ไม่ได้ทำอะไรตามอารมณ์ที่รู้ทันนั้น แต่สำหรับอารมณ์บางอย่างที่กระตุ้นความอยากอย่างรุนแรง ทั้งที่มีสติรู้ว่ากำลังเกิดความอยากขึ้น สติที่นั้นมีกลับหยุดความอยากไม่อยู่ กลายเป็นโดนความอยากจูงไป เช่น ความอยากความชอบในอาหารที่ชอบ เมื่อกำลังกินอาหารนั้น เกิดความเพลิดเพลินมีความสุขเพราะความอยากนั้นได้รับการตอบสนอง เป็นต้น อยากจะขอคำแนะนำว่า ต้องทำอย่างไรจึงจะไม่โดนความอยากเหล่านั้นลากจูงไปครับ (ในเชิงวิปัสนา เพราะได้เห็นจริงแล้วว่าการคิดตั้งใจไว้ก่อนว่าจะฝืนความอยาก ก็ยังแพ้ความอยากอยู่ดี)

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 14:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 มี.ค. 2011, 13:32
โพสต์: 245


 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ต้องมีสติครับ สติคือ มีความรู้สึกอยู่กับตัว เมื่อมีความรับรู้ทางใจเกิดขึ้นว่าอยาก ก็สักแต่ว่ารับรู้แล้วก็ปล่อยวางไป ถ้าปล่อยวางไปได้ก็จะไม่ถูกลากจูงไป อย่าให้พัฒนาไปถึงขั้นอุปาทานคือยึดมั่นถือมั่นแล้วนึกคิดปรุงแต่งต่อไป ถ้ามาถึงขั้นนี้ก็เท่ากับเราถูกลากจูงไปแล้วครับ คือเราต้องหาของมาสนองต่อความอยากแล้ว

.....................................................
"องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน ตัดมูลเกลศมาร บ มิหม่นมิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว ราคี บ พันพัว สุวคนธกำจร"


แก้ไขล่าสุดโดย หัวหอม เมื่อ 30 พ.ค. 2013, 12:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2011, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณคุณหัวหอมที่ให้คำแนะนำครับ :b8:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2011, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue
สิ่งแรกที่พึงทำในการที่จะปฏิบัติธรรมได้ดีตามวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือ คุณจะต้องไปศึกษาเรื่องของอริยสัจ 4 มาให้ละเอียด ลึกซึ้ง ถ่องแท้ จากทั้งตำราและ กัลยาณมิตรที่เข้าใจและปฏิบัติจริงอยู่ในอริยสัจ 4 มรรค 8 เพราะ ความรู้เพื่อการปฏิบัติจริงให้ถึงจริงนั้น มีพร้อมสมบูรณ์อยู่ในอริยสัจ 4 แล้ว (หาดูได้ในธัมจักกัปวัตนสูตร)

รู้ถูกต้อง สำคัญที่สุด

รู้ถูกต้อง จะเป็นเหตุให้ เห็นถูกต้อง (สัมมาทิฐิโดยปริยัติ)
เห็นถูกต้อง จะทำให้เกิด คิดถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ)
คิดถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ ทำถูกต้อง (สัมมากัมมันตะ)

ทำถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ ได้สิ่งที่ถูกต้อง (สัมมาวิมุติ)
ได้สิ่งที่ถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ เป็นคนถูกต้อง (กัลยาณมิตร บัณฑิต)
เป็นคนถูกต้อง ก็จะเป็นเหตุให้ พูดและถ่ายทอดแต่สิ่งที่ถูกต้อง (สัมมาวาจา)

:b12: :b16: :b27: :b17: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2011, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


แปลกดีนะครับ อ่านข้อความเดิมหลังจากเวลาผ่านไป ก็ยังสามารถได้ข้อคิดแง่มุมใหม่ๆจากข้อความเดิม

ผมพอมีความเข้าใจในเรื่องอริยสัจ 4 เท่าที่ได้อ่านได้ศึกษามาตามแบบของผมอยู่ครับ แต่ผมยังไม่รู้ชัดหรอกว่าความเข้าใจที่ตัวเองมีนั้นถูกหรือผิด ขอเชิญท่านอนัตตาธรรมและท่านอื่นๆแนะนำด้วยครับ ว่าอริยสัจทั้ง 4 มีความหมายอย่างไรบ้าง

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2011, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




อริยสัจ 4_resize.jpg
อริยสัจ 4_resize.jpg [ 58.29 KiB | เปิดดู 7179 ครั้ง ]
:b8: คุณคนธรรมดาลองดูภาพที่สรุปเรื่องอริยสัจ 4 ที่ยกมาให้ดูนี้ก่อนนะครับ แล้วลองพิจารณาว่าพอจะทำให้นึกตามและเข้าใจอริยสัจ 4 ด้วยตัวเองได้หรือไม่ สงสัยจึงค่อยว่ากันต่อนะครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2011, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมกลัวการตีความครับ ข้อมูลยิ่งผ่านการตีความมากเท่าไรยิ่งถูกบิดเบือนไปมากเท่านั้น เพราะใจเราเองยังไม่เป็นกลางอย่างแท้จริง บางครั้งอาจจะดูเหมือนผมถามย้ำไปย้ำมาเยิ่นเย้อ แต่นั่นก็เพื่อให้มั่นใจว่าผมเข้าใจตรงตามที่หลายๆท่านต้องการสื่อจริงๆ ดังนั้นสำหรับผม การอ่านพระไตรปิฏก การแปลปริศนาธรรม หรือแม้กระทั่งการอ่านแผนภูมิสรุปย่อจึงเป็นเรื่องที่ผมมองว่าเสี่ยงมาก และอยากหลีกเลี่ยงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

อย่างไรก็ตามผมเข้าใจอย่างนี้ครับ

ทุกข์ในอริยสัจ คือความทุกข์ยากลำบากไม่ชอบใจ คือความทุกข์แบบที่ชาวบ้านพูดกันนั่นเอง

สมุทัยเหตุแห่งทุกข์คืออวิชชาความไม่รู้จริงในไตรลักษณ์ของขันธ์ทั้ง5 คิดว่าเที่ยง คิดว่าสุข ทำให้ยึดอยากในความสุข และรังเกียจความทุกข์ วิ่งไล่ความสุข วิ่งหนีความทุกข์อยู่เรื่อยไป

มรรค เริ่มจากการทำความเห็นตัวเองให้ถูกต้อง ซึ่งจะเห็นถูก ก็ต้องมีสติ จะมีสติ ก็ต้องมีสมาธิ เมื่อใช้สติและสมาธิเฝ้าสังเกตกายใจจะเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 คือความไม่เที่ยง ความปรวนแปรไปเสมอ และความเกิดดับตามเหตุปัจจัยอยู่เหนืออำนาจบังคับบัญชา เมื่อนั้นคือเริ่มเกิดความเห็นถูกแล้ว และจากคำแนะนำของหลายๆท่าน ผมสรุปความได้ว่าให้เฝ้าสังเกตุกายใจต่อไป ให้เห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ ให้เห็นไตรลักษณ์ในขันธ์5ตลอดเวลา ให้ความเห็นฝังรากลึกจนเป็นระบบความคิดปกติ แล้วใจจะค่อยเบื่อการปรุงแต่ง ใจจะออกห่างจากความปรุงแต่ง รับรู้ทุกอารมณ์แค่เพียงรู้ ใจเสวยแต่เวทนาทางกาย ไม่ปรุงแต่งให้เกิดเวทนาทางใจ พร้อมกันนั้นกิเลสอนุสัยจะจางลงไปเรื่อยๆเอง

นิโรธ ก็คือ สติ/สมาธิแข็งแรงขึ้น รู้ถูกมากขึ้น หลงผิดน้อยลง เมื่อสติสมบูรณ์ทุกขณะจิต ความรู้ก็คงสมบูรณ์ ใจคงสมบูรณ์พร้อมถึงที่สุดเมื่อนั้นเอง

อย่างไรก็ตามความเข้าใจนี้ แม้ยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็คงเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้คำแนะนำจากทุกท่าน ขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงครับ :b8:

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2011, 07:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




G1 หินลับมีดปัญญา 85kb_resize.jpg
G1 หินลับมีดปัญญา 85kb_resize.jpg [ 30.52 KiB | เปิดดู 7166 ครั้ง ]
:b8: อนุโมทนาสาธุเป็นอย่างยิ่งกับคุณคนธรรมดา ๆ บทสรุปของคุณตรงทางแห่งวิปัสสนาภาวนา
เดี๊ยะเลยครับ

แต่มีข้อท้วงติงนิดหนึ่งจากข้อความในท่อนที่ยกมานี้ครับ

มรรค เริ่มจากการทำความเห็นตัวเองให้ถูกต้อง ซึ่งจะเห็นถูก ก็ต้องมีสติ จะมีสติ ก็ต้องมีสมาธิ เมื่อใช้สติและสมาธิเฝ้าสังเกตกายใจจะเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 คือความไม่เที่ยง ความปรวนแปรไปเสมอ และความเกิดดับตามเหตุปัจจัยอยู่เหนืออำนาจบังคับบัญชา เมื่อนั้นคือเริ่มเกิดความเห็นถูกแล้ว และจากคำแนะนำของหลายๆท่าน ผมสรุปความได้ว่าให้เฝ้าสังเกตุกายใจต่อไป ให้เห็นไตรลักษณ์บ่อยๆ ให้เห็นไตรลักษณ์ในขันธ์5ตลอดเวลา ให้ความเห็นฝังรากลึกจนเป็นระบบความคิดปกติ แล้วใจจะค่อยเบื่อการปรุงแต่ง ใจจะออกห่างจากความปรุงแต่ง รับรู้ทุกอารมณ์แค่เพียงรู้ ใจเสวยแต่เวทนาทางกาย ไม่ปรุงแต่งให้เกิดเวทนาทางใจ พร้อมกันนั้นกิเลสอนุสัยจะจางลงไปเรื่อยๆเอง

นิโรธ ก็คือ สติ/สมาธิแข็งแรงขึ้น รู้ถูกมากขึ้น หลงผิดน้อยลง เมื่อสติสมบูรณ์ทุกขณะจิต ความรู้ก็คงสมบูรณ์ ใจคงสมบูรณ์พร้อมถึงที่สุดเมื่อนั้นเอง

คุณคนธรรมดา ๆ ลืมความสำคัญของมรรค 2 ข้อแรก คือ ปัญญามรรค สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ซึ่งเป็นตัวสำคัญยิ่งในการที่คุณจะไปรู้เห็นไตรลักษณ์ และเกิดความเบื่อหน่ายคลายจาง ละวางมิจฉาทิฐิ

"ซึ่งจะเห็นถูก ก็ต้องมีสติ จะมีสติ ก็ต้องมีสมาธิ เมื่อใช้สติและสมาธิเฝ้าสังเกตกายใจจะเห็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 "


ความท่อนนี้คุณตกคำว่า ปัญญาไปครับ
ปัญญาจะเป็นประธานในการทำงาน สติ สมาธิจะเป็นกองหนุน ให้ปัญญาค้นคว้าเข้าไปในกายและจิตจนพบไตรลักษณ์ พบสมุทัย คือตัวอวิชชาหรือมิจฉาทิฐิ

เวลาภาวนาจริงๆ สติจะทำหน้าที่ รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ ระลึกได้ ไม่ลืม
สมาธิเป็นผลของการเจริญสติ จะตามมาหนุนสติและปัญญาให้ทำงานค้นคว้าหาธรรมได้อย่างต่อเนื่องยาวนานจนกว่าจะเสร็จงาน

ปัญญาสัมมาทิฐิ จะทำหน้าที่ ดู เห็น (สิ่งที่เป็นรูป) รู้ (สิ่งที่เป็นนาม) ไปจนกว่าจะรู้ชัดไตรลักษณ์
ปัญญาสัมมาสังกัปปะ จะทำหน้าที่ สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) พิจารณา (ใช้ความคิด) เพื่อค้นหาความจริงมาให้สัมมาทิฐิ รู้

โดยธรรมจะเป็นอย่างนี้ครับ โปรดเข้าใจให้ถูกต้องและเห็นความสำคัญ รู้จักการทำงานของปัญญามรรคทั้ง 2 ข้อด้วยครับ

:b16:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 48 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร