วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 09:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การดูจิตต้องผ่านธรรมข้อหนึ่งคือกายคตาสติมาได้ก่อน จึงจะรู้จักจิตที่แท้จริง

ในปัจจุบันนี้ มีการสอนที่ไม่อิงหลักคำสอนของพระบรมครูจอมศาสดา ซึ่งพระองค์ได้ทรงวางหลักธรรมหรือหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติไว้อย่างดีแล้ว ในเรื่องการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา เพื่อเพียรเพ่งเผากิเลสให้เร่าร้อน (มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก) เสียได้

มีกล่าวไว้อย่างชัดเจนในมหาสติปัฏฐานสูตร ทรงวางหลักการเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมว่า

อานาปานสติ (หรือที่เรียกว่ากายในกาย) เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมได้ชื่อว่า ทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
สติปัฏฐาน ๔ นี้ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมได้ชื่อว่าทำโพชฌงค์เจ็ด ให้บริบูรณ์
โพชฌงค์เจ็ดนี้ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมได้ชื่อว่า ทำวิชชาจิตหลุดพ้นทุกข์ให้บริบูรณ์


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น


หรือก็คือทรงให้ปฏิบัติกายคตาสติ (ระลึกรู้เข้าไปที่กาย) หรือพิจารณากายในกายนั่นเอง ลมหายใจนั้นก็เป็นกายสังขาร การระลึกเข้าไปในกายนั้น เป็นการปฏิบัติสัมมาสมาธิในองค์มรรค เพื่อฝึกอบรมกาย ฝึกอบรมจิต ให้จิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว จิตไม่กวัดแกว่ง จิตไม่แล่นไปตามอตีตารมณ์ และจิตไม่แล่นไปในอนาคตารมณ์ด้วย จิตรู้อยู่ที่กายคตาสติหรือกายในกาย ซึ่งเป็นปัจจุบันขณะ จิตย่อมรู้อยู่เห็นอยู่ ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของตน

การเห็นกายสังขารที่ปรากฏพระไตรลักษณ์ขึ้นเฉพาะหน้านั้น ทำให้จิตเกิดความเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด ปล่อยวางกามารมณ์ และอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าสู่ปฐมฌาน เมื่อละวิตก วิจารณ์ได้แล้ว นามกายหรือจิตก็ปรากฏ ซึ่งเป็นธรรมอันเอกนั่นเอง เมื่อจิตรู้จักกายในกายได้ดี ย่อมต้องสัมผัสได้ถึงเวทนาในเวทนาด้วยเช่นกัน และเข้าใจเรื่องจิตในจิตได้ถูกต้อง และย่อมรู้ย่อมเห็นธรรมในธรรม ซึ่งเป็นอมตะธรรมผุดขึ้นที่จิต

เมื่อมีใครมาสอนว่า ในการปฏิบัติธรรมนั้น ให้เริ่มลงมือปฏิบัติธรรมในหมวดจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานได้เลยนั้น เป็นการสอนที่เกินไปกว่าที่พระบรมครูได้ทรงกล่าวไว้ดีแล้ว

พระองค์ทรงสอนการปฏิบัติธรรมเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อความพอดี เพื่อการเข้าถึงธรรมอันลึกซึ้งของพระพระองค์ได้ ด้วยการเริ่มต้นที่อานาปานสติหรือที่เรียกว่ากายในกาย กายคตาสติ หรือสัมมาสมาธินั่นเอง จึงจะยังสติปัฏฐาน๔ให้บริบูรณ์ได้ ไม่มีทางอื่นนอกไปจากนี้อีกแล้ว ทางนี้ทางเดียวเท่านั้นที่เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย(จิตผู้ติดข้องในอารมณ์)

การสอนให้ดูจิตหรือที่เรียกว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยไม่มีพื้นฐานในการปฏิบัติกายในกายมาก่อนแล้ว ย่อมทำให้เกิดความสับสนขึ้นมาได้โดยง่าย เนื่องจากผู้ปฏิบัติใหม่ยังไม่เคยรู้จักกายในกายหรือกายคตาสติหรือสัมมาสมาธิมาก่อนเลย และยังไม่เคยสัมผัสถึงเวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมที่ถูกต้องแท้จริง ย่อมรู้เห็นไปตามตำรา(หรืออัตโนมัติอาจารย์)ที่สอนมา หรือจากความคิดที่ตกผลึกแล้วของตนเองเท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้การปฏิบัติจิตตานุปัสสนาที่สอนกันอยู่นั้น ก็เป็นเพียงการสอนให้รู้จักอาการของจิตที่เกิดขึ้นมา จากการที่จิตผัสสะกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ที่เข้ามาทางอายตนะ แต่กลับเข้าใจผิดไปเองว่านั่นแหละคือจิตที่แท้จริง ทำให้หลงเข้าใจผิดไปต่างๆ นานาว่า จิตบังคับไม่ให้คิดไม่ได้บ้างหละ สติตัวจริงต้องเกิดขึ้นมาเองจึงจะใช่บ้างหละ

ซึ่งเป็นการรู้การเห็นเพียงด้านเดียว เป็นเพียงปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายเกิดเท่านั้น ส่วนปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายดับนั้น จะรู้เห็นได้ด้วยการลงมือปฏิบัติกายในกายหรือกายคตาสติหรือสัมมาสมาธิเท่านั้น จึงจะรู้ยิ่งเห็นจริงได้ ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ดังนี้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ
ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ


เมื่อเรามาพิจารณาพระพุทธพจน์แต่ละพระสูตรโดยโยนิโสนมสิการแล้ว ย่อมจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทรงตรัสสอนเชื่อมโยงกันหมด

โดยในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้น ทรงให้ลงมือปฏิบัติ กายในกาย(กายคตาสติ)เป็นอย่างไร? ก็เริ่มโดยให้นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติพิจารณาลมหายใจ(ภาวนา)

ต่อมาก็ทรงชี้ชัดลงไปให้เห็นว่า การปฏิบัติภาวนา(อานาปานสติ)นั้น จะยังให้สติปัฏฐานสี่ โพชฌงค์เจ็ด ทำวิชชาจิตวิมุตติหลุดพ้น ให้บริบูรณ์

และเพื่อเป็นการย้ำเตือนเรื่องการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาว่ามีความสำคัญอย่างมากในพระพุทธศาสนา ทรงตรัสสอนว่า

ธรรมข้อหนึ่งนี้แล บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
แม้กายก็สงบ แม้จิตก็สงบ แม้วิตกวิจารก็สงบ

(วิตกวิจารณ์จะสงบลงได้นั้น เมื่อจิตเข้าทุดิยฌานเท่านั้น)
ธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชาแม้ทั้งสิ้นก็ถึงความเจริญบริบูรณ์
ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกฉานแห่งปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
ธรรมข้อหนึ่ง คืออะไร คือ กายคตาสติ


พระพุทธองค์ทรงสอนธรรมที่งามในเบื้องต้น คือศีล ธรรมที่งามในท่ามกลาง คือสมาธิ ธรรมที่งามในที่สุด คือปัญญา พระองค์ไม่เคยทรงสอนอะไรโดยข้ามขั้นตอนตามลำดับเหล่านั้นมาก่อนเลย

ทรงให้สำรวม กาย วาจา ใจ โดยการสำรวมสังวรอินทรีย์อยู่ในกรอบแห่งความดีงาม คือศีล การปฏิบัติสัมมาสมาธิ เพื่อพิจารณากายคตาสติ หรือกายในกาย(อานาปานสติ) เพื่อให้จิตเกิดพละ๕(ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) คือ สมาธิ เมื่อจิตมีกำลัง(พละ๕) จิตย่อมมีกำลังที่จะสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งนั้น

ส่วนที่มีการสอนว่า มีธรรมที่ปฏิบัติได้โดยง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น ไม่ต้อง ไม่ตั้งนั้น ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น ปลงให้เป็นอย่างเดียวก็พอ เป็นการสอนที่เกินกว่าพุทธปัญญาเสียแล้วครับ ย่อมเป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์ ดังที่กล่าวไว้ว่า “บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว”

ในเสขปฏิปทาสูตร ได้กล่าวถึงความเพียร(เดินจงกรมและนั่งสมาธิ)

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
เวลากลางวัน...ในปฐมยามชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดินการนั่ง
ในมัชฌิมยาม สำเร็จสีหไสยาสน์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า
มีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น เวลากลางคืน
ในปัจฉิมยาม ลุกขึ้นแล้วชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง
ดูกรมหานาม อย่างนี้แลอริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่น.


ธรรมภูต

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมภูต เมื่อ 31 ส.ค. 2010, 08:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 20:04
โพสต์: 25

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วการดูจิต เขาดูกันอย่างไร? ขอรับท่าน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


91One เขียน:
แล้วการดูจิต เขาดูกันอย่างไร? ขอรับท่าน :b8:

คุณ91Oneครับ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าจิตเป็นธาตุรู้ที่ถูกอวิชชาครอบงำมาอย่างยาวนานนับไม่ถ้วน

จึงมักชอบแส่ส่ายกวัดแกว่งออกไปรู้รับอารมณ์ต่างๆทั้งภายนอกและภายใน
และมักยึดเอาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นมาเป็นของๆตน
จึงเป็นทุกข์และเป็นสุขไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นใช่มั้ยครับ???

เมื่อพูดถึงดูจิต ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันก็คือ เป็นการดูความคิดหรืออาการของจิตนั้นเองครับ
ดูยังงไงก็ไม่เห็นหรือรู้จักจิตที่แท้จริงใช่มั้ยครับ???

การจะดูจิตที่ถูกต้องนั้น ควรต้องผูกจิตให้(อยู่กับที่)เป็นก่อนครับ
เริ่มจากการผูกจิตด้วยอานาปานสติหรือคำภาวนา โดยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนานั่นเอง
เมื่อจิตแลบออกไปสู่ความรู้สึกนึกคิด(อาการของจิต)ต่างๆ เราก็ดึงกลับมาสู่องค์ภาวนา
และเพียรประคองจิตไม่ให้แลบออกจากองค์ภาวนาได้สำเร็จเมื่อใด
เรา(จิต) ก็จะเห็นจิตก็จะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์(ดูจิต)

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 12:21
โพสต์: 637

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือมีสติ กำหนดรู้

ดูที่กายก็ได้ ดูที่ใจเลยก็ได้ ดูที่ทั้งสองอย่างก็ได้

ลองกลั้นหายใจไม่คิดอะไร นิ่งๆ สักสิบวินาที แล้วเฝ้าดูว่าจากนั้นใจคิดอะไร ร่างกายเป็นอย่างไร หายใจ เข้าหรือออก ตาเห็นรูปอะไร

ถ้าเผลอคิดไป ก็กลับมาตั้งดูใหม่ ก็ให้รู้ว่า เผลอไป

นี้คือวิธีการดูจิต


ถ้าดูแล้ว เผลอมาก คิดไม่ทัน ก็มาดูกาย ดูว่า กายอยู่ในท่าอะไร ทำความรู้สึกในท่านั้น หรือในอิริยาบท หรือแม้แต่การกระพริบตา เมื่อดูกาย ก็ดูใจด้วยว่า ใจคิดอะไรอีก เมื่อคิดไป ก็กำหนดตามดูใหม่

หมั่นทำอย่างนี้เสมอ นี้คือการดูกาย และดู จิตครับ

กำหนดจุดก็ได้ ไม่กำหนดก็ได้
บริกรรม ก็ได้ ไม่บริกรรมก็ได้
ทำได้ทุกอย่างแล้วแต่คนครับ

บางทีเราทำไม่ได้ คนอื่นเขาทำได้ก็มี แล้วแต่จริต แล้วแต่อดีตที่เคยทำมา นั่นเองครับ


แก้ไขล่าสุดโดย จักรแก้วรัตนะ เมื่อ 31 ส.ค. 2010, 11:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 20:04
โพสต์: 25

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูติ เขียน:
คุณ91Oneครับ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าจิตเป็นธาตุรู้ที่ถูกอวิชชาครอบงำมาอย่างยาวนานนับไม่ถ้วน

จึงมักชอบแส่ส่ายกวัดแกว่งออกไปรู้รับอารมณ์ต่างๆทั้งภายนอกและภายใน
และมักยึดเอาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นมาเป็นของๆตน
จึงเป็นทุกข์และเป็นสุขไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นใช่มั้ยครับ???

เมื่อพูดถึงดูจิต ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันก็คือ เป็นการดูความคิดหรืออาการของจิตนั้นเองครับ
ดูยังงไงก็ไม่เห็นหรือรู้จักจิตที่แท้จริงใช่มั้ยครับ???

การจะดูจิตที่ถูกต้องนั้น ควรต้องผูกจิตให้(อยู่กับที่)เป็นก่อนครับ
เริ่มจากการผูกจิตด้วยอานาปานสติหรือคำภาวนา โดยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนานั่นเอง
เมื่อจิตแลบออกไปสู่ความรู้สึกนึกคิด(อาการของจิต)ต่างๆ เราก็ดึงกลับมาสู่องค์ภาวนา
และเพียรประคองจิตไม่ให้แลบออกจากองค์ภาวนาได้สำเร็จเมื่อใด
เรา(จิต) ก็จะเห็นจิตก็จะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์(ดูจิต)

การดูจิต น่าจะหมายถึง การฝึกสติ ฝึกสมาธิมากกว่า เพราะการดู คือ การเพ่ง การจับจ้อง ไม่ใช่การคิด การพิจารณา

และประโยคที่ว่า

"เรา(จิต) ก็จะเห็นจิตก็จะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์(ดูจิต)" น่าจะเป็น
"เรา(สติ) ก็จะเห็นจิตก็จะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์(จิตสงบเป็นสมาธิ)"


จักรแก้วรัตนะ เขียน:
คือมีสติ กำหนดรู้

ดูที่กายก็ได้ ดูที่ใจเลยก็ได้ ดูที่ทั้งสองอย่างก็ได้

ลองกลั้นหายใจไม่คิดอะไร นิ่งๆ สักสิบวินาที แล้วเฝ้าดูว่าจากนั้นใจคิดอะไร ร่างกายเป็นอย่างไร หายใจ เข้าหรือออก ตาเห็นรูปอะไร

ถ้าเผลอคิดไป ก็กลับมาตั้งดูใหม่ ก็ให้รู้ว่า เผลอไป

นี้คือวิธีการดูจิต


ถ้าดูแล้ว เผลอมาก คิดไม่ทัน ก็มาดูกาย ดูว่า กายอยู่ในท่าอะไร ทำความรู้สึกในท่านั้น หรือในอิริยาบท หรือแม้แต่การกระพริบตา เมื่อดูกาย ก็ดูใจด้วยว่า ใจคิดอะไรอีก เมื่อคิดไป ก็กำหนดตามดูใหม่

หมั่นทำอย่างนี้เสมอ นี้คือการดูกาย และดู จิตครับ

กำหนดจุดก็ได้ ไม่กำหนดก็ได้
บริกรรม ก็ได้ ไม่บริกรรมก็ได้
ทำได้ทุกอย่างแล้วแต่คนครับ

บางทีเราทำไม่ได้ คนอื่นเขาทำได้ก็มี แล้วแต่จริต แล้วแต่อดีตที่เคยทำมา นั่นเองครับ


นี่ก็หมายถึง การฝึกสติ คือ ท่านทั้งสอง ต่างก็ยกเอาสติปัฐานสี่ ขึ้นมากล่าวนั่นเอง
ความเห็นอาจต่างกันบ้าง ถือว่าแลกเปลียนความเห็นกันนะครับ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


91One เขียน:
ธรรมภูติ เขียน:
คุณ91Oneครับ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าจิตเป็นธาตุรู้ที่ถูกอวิชชาครอบงำมาอย่างยาวนานนับไม่ถ้วน

จึงมักชอบแส่ส่ายกวัดแกว่งออกไปรู้รับอารมณ์ต่างๆทั้งภายนอกและภายใน
และมักยึดเอาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นมาเป็นของๆตน
จึงเป็นทุกข์และเป็นสุขไปกับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดเหล่านั้นใช่มั้ยครับ???

เมื่อพูดถึงดูจิต ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันก็คือ เป็นการดูความคิดหรืออาการของจิตนั้นเองครับ
ดูยังงไงก็ไม่เห็นหรือรู้จักจิตที่แท้จริงใช่มั้ยครับ???

การจะดูจิตที่ถูกต้องนั้น ควรต้องผูกจิตให้(อยู่กับที่)เป็นก่อนครับ
เริ่มจากการผูกจิตด้วยอานาปานสติหรือคำภาวนา โดยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนานั่นเอง
เมื่อจิตแลบออกไปสู่ความรู้สึกนึกคิด(อาการของจิต)ต่างๆ เราก็ดึงกลับมาสู่องค์ภาวนา
และเพียรประคองจิตไม่ให้แลบออกจากองค์ภาวนาได้สำเร็จเมื่อใด
เรา(จิต) ก็จะเห็นจิตก็จะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์(ดูจิต)


การดูจิต น่าจะหมายถึง การฝึกสติ ฝึกสมาธิมากกว่า เพราะการดู คือ การเพ่ง การจับจ้อง ไม่ใช่การคิด การพิจารณา

และประโยคที่ว่า

"เรา(จิต) ก็จะเห็นจิตก็จะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์(ดูจิต)" น่าจะเป็น
"เรา(สติ) ก็จะเห็นจิตก็จะสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์(จิตสงบเป็นสมาธิ)"


คุณ"91One"ครับ

ที่คุณให้ความหมาย การดูจิตไว้ว่า "การฝึกสติ ฝึกสมาธิมากกว่า เพราะการดู คือ การเพ่ง การจับจ้อง ไม่ใช่การคิด การพิจารณา"

ผมขอถามว่า เราฝึกสติเราฝึกกันที่ไหนครับ??? ฝึกที่กายของเรา? หรือที่จิตของเราครับ?
เราฝึกสมาธิเราฝึกกันที่ไหนครับ??? ฝึกที่กายของเรา? หรือที่จิตของเราครับ?
สติ สมาธิ ปัญญา เมื่อเราฝึกดีแล้ว ล้วนเกิดขึ้นที่จิตของเราผู้ฝึกใช่มั้ยครับ???

เราต้องรู้สิ่งนั้นอย่างต่อเนื่องจึงจะเรียกว่า"เพ่ง"ใช่มั้ยครับ???
เมื่อเรารู้บ้าง ไม่รู้บ้าง เราจะเรียกว่าเพ่งได้มั้ย???
การที่เรารู้อะไรอย่างต่อเนื่องอยู่นั้น เราก็สามารถพิจารณาไปด้วยใช่มั้ยครับ??? "เพ่งพินิจ"

การเพ่งแตกต่างกันกับการจ้องนะครับ การจ้องนั้น เกิดจากการอาศัยตาเนื้อในการจ้องใช่มั้ยครับ???
ส่วนการเพ่งนั้น ไม่ได้อาศัยตาเนื้อเพียงส่วนเดียวครับ
เราลองนึกคิดหรือเพ่งพินิจถึงลมหายใจที่เข้าออกตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เราทำได้มั้ยครับ???
ได้ใช่มั้ยครับ ไม่ว่าจะลืมตาหรือหลับตาใช่มั้ยครับ???

ศีล สติ สมาธิ ปัญญา สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นที่ไหนครับ???
การฝึกฝนอบรมจิตนั้น เราต้องอาศัยจิตอบรมจิตของเราเองใช่มั้ยครับ??? หรืออาศัยอะไรอบรมครับ?
โดยการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในกายนี้(อานาปานสติ) เพื่อสร้างสติให้เกิดขึ้นที่จิตใช่มั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จักรแก้วรัตนะ เขียน:
คือมีสติ กำหนดรู้

ดูที่กายก็ได้ ดูที่ใจเลยก็ได้ ดูที่ทั้งสองอย่างก็ได้

ลองกลั้นหายใจไม่คิดอะไร นิ่งๆ สักสิบวินาที แล้วเฝ้าดูว่าจากนั้นใจคิดอะไร ร่างกายเป็นอย่างไร หายใจ เข้าหรือออก ตาเห็นรูปอะไร

ถ้าเผลอคิดไป ก็กลับมาตั้งดูใหม่ ก็ให้รู้ว่า เผลอไป

นี้คือวิธีการดูจิต


ถ้าดูแล้ว เผลอมาก คิดไม่ทัน ก็มาดูกาย ดูว่า กายอยู่ในท่าอะไร ทำความรู้สึกในท่านั้น หรือในอิริยาบท หรือแม้แต่การกระพริบตา เมื่อดูกาย ก็ดูใจด้วยว่า ใจคิดอะไรอีก เมื่อคิดไป ก็กำหนดตามดูใหม่

หมั่นทำอย่างนี้เสมอ นี้คือการดูกาย และดู จิตครับ

กำหนดจุดก็ได้ ไม่กำหนดก็ได้
บริกรรม ก็ได้ ไม่บริกรรมก็ได้
ทำได้ทุกอย่างแล้วแต่คนครับ

บางทีเราทำไม่ได้ คนอื่นเขาทำได้ก็มี แล้วแต่จริต แล้วแต่อดีตที่เคยทำมา นั่นเองครับ


คุณจักรแก้วรัตนะครับ

ที่คุณกล่าวมาทั้งหมดนั้น ยังอยู่ในศีลสิขาเท่านั้นครับ
เป็นเพียงแค่คอยระมัดระวัง กาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกรอบศีลธรรมอันดีงาม
หรือที่เรียกว่าอินทรีย์สังวรครับ ยังไม่อาจเป็นพละ(๕)ขึ้นมาได้ครับ

ยังเป็นแค่สัญเจตนาที่เกิดขึ้นจากการที่เราตั้งใจไว้ว่า ให้ระมัดระวัง กาย วาจา ใจเท่านั้น
ยังไม่ใช่สัมมาสติที่เกิดขึ้นหรือเจริญขึ้น จากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาครับ
ผลที่ได้จากความคิดที่ตกผลึกจะแตกต่างกันคนละเรื่องกับ ผลที่ได้จากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา

ผลที่ได้จากความคิดที่ตกผลึกนั้น รู้ว่าอะไรเป็นอะไรที่เกิดขึ้น แต่ยังละไม่เป็นหรือ ที่เรียกว่ารู้แต่ละไม่ได้
ส่วนผลที่ได้จากการปฏิบัตสมาธิกรรมฐานภาวนาหรือ(สัมมาสมาธิ)นั้น คืออธิจิตสิกขา
รู้แล้วมีกำลังละได้ด้วย เนื่องจากเห็นไตรลักษณ์ในสิ่งนั้นได้ชัดเจนครับ....

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ย. 2010, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 20:04
โพสต์: 25

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยินดีครับ ยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้สนทนากัน

หากเราอ่านคำว่า "ดู" กับคำว่า "พิจารณา" นั้นความหมายต่างกันนะ
ดู คือ ดูเฉยๆ เพ่ง จับจ้อง จดจ่อ เหมือนสติจับจ้องจิต ควบคุมจิต
พิจารณา คือ ดูและพินิจ คิดนึกไปพร้อมกันว่ามีอะไรเกิดขึ้น เป็นการใช้ทั้งสติและปัญญา

ที่ผมถามว่า ดูจิต นั้นดูอย่างไร? คุณก็ยกเอา สติปัฏฐานสี่ ที่เรียกว่าการที่ตั้งของสติ มาตอบทั้งสิ้น คือ
พิจารณากายในกาย พิจารณเวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต พิจารณาธรรมในธรรม
ท่านใช้คำว่า "พิจารณา" ไม่ใช้คำว่า "ดู"

หากเราใช้คำว่า "พิจารณาจิต" แทนคำว่า "ดูจิต" น่าเหมาะสมกว่านะครับ
หากคำว่า "ดูจิต" ของครูบาอาจารย์ท่านหมายถึง "การพิจารณาจิตด้วย" ก็ OK เลยครับ :b8:

ธรรมภูติ เขียน:
ศีล สติ สมาธิ ปัญญา สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นที่ไหนครับ???
การฝึกฝนอบรมจิตนั้น เราต้องอาศัยจิตอบรมจิตของเราเองใช่มั้ยครับ??? หรืออาศัยอะไรอบรมครับ?
โดยการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในกายนี้(อานาปานสติ) เพื่อสร้างสติให้เกิดขึ้นที่จิตใช่มั้ยครับ???

ศีลนั้น รักษาด้วยใจ
สติ คือ ความระลึกได้ คอยระวัง
สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต
ปัญญา คือ ความรอบรู้
จิต คือ ตัวรู้ผู้รู้

การฝึกจิตอบรมจิตนั้น ท่านใช้ปัญญา
อานาปานสติ คือ การฝึกสติเพื่อควบคุมจิต

ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นนะครับ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


91One เขียน:
ยินดีครับ ยินดีอย่างยิ่ง ที่ได้สนทนากัน

หากเราอ่านคำว่า "ดู" กับคำว่า "พิจารณา" นั้นความหมายต่างกันนะ
ดู คือ ดูเฉยๆ เพ่ง จับจ้อง จดจ่อ เหมือนสติจับจ้องจิต ควบคุมจิต
พิจารณา คือ ดูและพินิจ คิดนึกไปพร้อมกันว่ามีอะไรเกิดขึ้น เป็นการใช้ทั้งสติและปัญญา


คุณ91One...ยินดีเช่นกันครับ ที่ได้สนทนากัน
คำว่า "ดู"เป็นคำกลางๆ การเฝ้าดูอย่างถี่ถ้วน การเฝ้าดูอย่างพินิจพิเคราะห์
ก็คือการพิจารณาดีๆนี่เองใช่มั้ยครับ???
การดูใช้ตาดู แต่ที่รู้คือจิตรู้สิ่งที่ดูอยู่ใช่มั้ยครับ???

การรู้อยู่เห็นอยู่ของจิต ไม่ต้องอาศัยตาเนื้อใช่มั้ยครับ???
ที่ว่าสติจับจ้องจิตนั้น ใช่จิตสร้างสติขึ้นมา เพื่อจับจ้องจิตของตนเองมั้ยครับ???
สติควบคุมจิต ใช่จิตสร้างสติขึ้นมา เพื่อควบคุมจิตของตนเองใช่มั้ยครับ???

แสดงว่าจิตสร้างสติขึ้นมาก็เพื่อจับจ้องควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบอันดีงามใช่มั้ยครับ???
ผมถึงได้ถามยังไงล่ะครับว่า ศีล สติ สมาธิ ปัญญาเกิดขึ้นที่ไหนถ้าไม่ใชที่จิต???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


91One เขียน:
ที่ผมถามว่า ดูจิต นั้นดูอย่างไร? คุณก็ยกเอา สติปัฏฐานสี่ ที่เรียกว่าการที่ตั้งของสติ มาตอบทั้งสิ้น คือ
พิจารณากายในกาย พิจารณเวทนาในเวทนา พิจารณาจิตในจิต พิจารณาธรรมในธรรม
ท่านใช้คำว่า "พิจารณา" ไม่ใช้คำว่า "ดู"

หากเราใช้คำว่า "พิจารณาจิต" แทนคำว่า "ดูจิต" น่าเหมาะสมกว่านะครับ
หากคำว่า "ดูจิต" ของครูบาอาจารย์ท่านหมายถึง "การพิจารณาจิตด้วย" ก็ OK เลยครับ :b8:


คุณ.....ครับ

ที่คุณถามผมเรื่องดูจิต ผมตอบไปนั้นก็คือ การดูจิตที่ถูกต้องตามรอยพระบาทครับ
ก็คือสติปัฏฐาน๔ดีๆนี่เองครับ แสดงว่าคุณอ่านโดยไม่พินิจพิเคราะห์ให้ดีเองนิครับว่า
ขึ้นต้นพระสูตรในสติปัฏฐาน๔ ก็คือการเริ่มต้นการดูจิต เพื่อให้รู้จักจิตที่แท้จริงนั่นเองครับ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า???
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

^
^
ใช่จิตมั้ยครับที่ดำรง(มี)สติไว้เฉพาะหน้าของตนเองในขณะนั้น
หายใจเข้าก็รู้ ออกก็รู้ ยาว-สั้นก็รู้ ใครที่รู้ครับถ้าไม่ใช่จิตเป็นผู้รู้
เมื่อจิตเป็นผู้รู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออกในขณะนั้น
เท่ากับเรากำลังดูจิตให้รู้อยู่ที่ลมหายใจใช่มั้ยครับ???
เมื่อจิตแลบหนีออกจากลมหายใจ เราก็รู้ใช่มั้ยครับ???
ฉะนั้นการดูจิตที่ถูกต้องนั้น ต้องเริ่มตนที่กายคตาสติหรือกายในกายนั่นเองครับ
จึงจะดูจิตเห็นจิตที่แท้จริงว่าเป็นเช่นใดครับ....

ref..ข้างบนพูดถึงเรื่องการพิจารณากับการดูนั้น ใช้แทนกันได้ครับ....

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูติ เขียน:
ศีล สติ สมาธิ ปัญญา สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นที่ไหนครับ???
การฝึกฝนอบรมจิตนั้น เราต้องอาศัยจิตอบรมจิตของเราเองใช่มั้ยครับ??? หรืออาศัยอะไรอบรมครับ?
โดยการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในกายนี้(อานาปานสติ) เพื่อสร้างสติให้เกิดขึ้นที่จิตใช่มั้ยครับ???


91One เขียน:
ศีลนั้น รักษาด้วยใจ
สติ คือ ความระลึกได้ คอยระวัง
สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของจิต
ปัญญา คือ ความรอบรู้
จิต คือ ตัวรู้ผู้รู้

การฝึกจิตอบรมจิตนั้น ท่านใช้ปัญญา
อานาปานสติ คือ การฝึกสติเพื่อควบคุมจิต

ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดความเห็นนะครับ :b12:


คุณ91Oneครับ

ศีลนั้น รักษากันที่ใจหรือจิตดีๆนี่เองครับ ใจหรือจิตใช้แทนกันได้ในบางครั้งครับ

สติ คือการระลึก ใครครับที่เป็นผู้ระลึกรู้ ใช่จิตมั้ยครับ???
ถ้าไม่มีจิตผู้รู้ เป็นผู้ระลึกรู้ แล้วเอาอะไรมาระลึกรู้หละครับ???
อย่ากลัวจิตเลยครับ พระพุทธศาสนาของเรานั้น สอนเพียงแค่เรื่องจิตกับอารมณ์เท่านั้นครับ

ปัญญา คือ จิตที่รอบรู้ตามความเป็นจริงในสังขารธรรมทั้งหลาย
และสามารถปล่อยวางสังขารธรรมเหล่านั้นได้ครับ

จิต คือ ธาตุรู้ ผู้รู้ ตัวรู้ มีหน้าที่รู้อยู่ทุกกาลสมัย
ไม่รู้ก็รู้ว่าไม่รู้ เผลอไปก็รู้ว่าเผลอไป มีสติก็รู้ ไม่มีสติก็รู้ฯลฯ มีจิตที่ไหนมีรู้ที่นั่น

มีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า
"อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ แปลว่า
การทำให้จิตมีธรรมอันยิ่ง เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"


:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ย. 2010, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ประหลาดนะ

เวลามาค้านดูจิต ก็พูดไปเป็นวรรคเป็นเวร
ว่าผิดอย่างนั้นอย่างนี้

แต่พอตัวเองมาพูดถึงวิธีการปฏิบัติ
ก็กลับมาพูดเรื่องดูจิตหน้าตาเฉยเลย

เฮ้อ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ดูจิต หลวงปู่ หลวงตา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านก็เทศน์ธรรมดาๆ นี่แหละ ทำไมไม่มีใครสงสัย พอคนอื่นนำมากล่าวบ้าง กลับ มีคนสงสัย

หลวงปู่ฯหลวงตาฯ มักกล่าวว่า ให้หมั่นดูจิตตัวเองนะ พิจารณาจิตตัวเองนะ ดูบ่อย
พิจารณาบ่อยๆ ท่านเทศน์อย่างนี้เป็นประจำ

เป็นไปได้ไหมว่า เพราะหลวงปู่หลวงตา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านประพฤติปฏิบัติธรรมจนเข้าใจแจ่มแจ้งเห็นจริงแล้ว ดูจิต ของท่านจึงหมายถึง พิจารณาจิตในจิต ตามสติปัฏฐานสี่และคำเทศนาสั่งสอนก็ไม่หนีจากคำสั่งสอนของพระศาสดาเลย

พอคนอื่นเอาอ้างเอามากล่าวบ้าง กลับเป็นปัญหา น่าตรงกลับพุทธพจธ์ ที่ว่า

"ธรรมของตถาคต แม้เป็นของจริง แต่เมื่อสถิตในโมฆะบุรุษ ธรรมนั้นก็กลายเป็นของปลอม"

อย่างนี้หรือเปล่านะ..

ถ้าบอกว่า ดูจิต หมายถึง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ พิจารณาจิตในจิต ของสติปัฏฐานสูตร ก็คงจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

แหะ..แหะ ความเห็นของโมฆบุรุษนะขอรับ โปรดพิจารณาตามสมควร.. :b12: :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำว่า ดูจิต หลวงปู่ หลวงตา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านก็เทศน์ธรรมดาๆ นี่แหละ ทำไมไม่มีใครสงสัย พอคนอื่นนำมากล่าวบ้าง กลับ มีคนสงสัย


ลองยกตัวอย่างมาซักรูป ซิครับ ยกมาเต็มๆ นะครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร