วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 09:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 08:34
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ ปัญญา สัญญา นี้เป็นอย่างไร? มันเข้าใจยากจริงๆ หรือค่ะ? พอจะมีการอธิบายให้เข้าใจตรงกันได้หรือเปล่า สั้นๆ ก็พอไม่ต้องยาวเป็นกิโลอะไรประมาณนี้ น่าจะดีนะค่ะ ขอโมทนา :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจไม่ยากหรอกค่ะ เพียงแต่อย่ายึดติดตำราหรืออาจารย์ จนไม่มองด้านอื่นๆ

สติ คือ ความระลึกได้ ผู้กั้น ผู้ระวัง ผู้ป้องกัน
ปัญญา คือ ผู้รู้ผู้เห็น รู้แจ้งเห็นจริง หรือผู้ปิดกั้น
สัญญา คือ ความจำได้ ในสิ่งที่ฟัง ที่เห็น ที่เล่าเรียนมา

สั้นๆ ตามที่ต้องการ ถามได้แต่จะตอบได้หรือไม่ ไม่ทราบ เพราะไม่ใช่พหูสูตร :b32:
ขอโมทนาในสิ่งที่ยากรู้ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 11:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 20:06
โพสต์: 46

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ :b8: ขอโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาง่ายๆเลยนะ


อยู่ดีๆมีเหตุให้อารมณ์เสีย ก็สังเกตุว่าใจตนนั้นกำลังอารมณ์เสีย

อารมณ์เสียแล้วมาวิจัยตนเองว่า นี่ มีอารมณ์แล้วมันเครียด มันตึง มันเค้น
รู้สึกว่าเป็นของไม่ดี เป็นของมีโทษ จึงพยามละวางเสีย ปล่อยวางเสีย

ทำบ่อยๆเข้า เกิดเป็นความเคยชิน มีความชำนาญ คล่อง ที่จะละวางอารมณ์เสียนั้นได้โดยง่าย



อธิบาย

อยู่ดีๆมีเหตุให้อารมณ์เสีย ก็สังเกตุว่าใจตนนั้นกำลังอารมณ์เสีย
- การระลึกกลับเข้ามาที่ใจ นี้เป็นสติ คือระลึกได้ว่ามีอารมณ์


อารมณ์เสียแล้วมาวิจัยตนเองว่า นี่ มีอารมณ์แล้วมันเครียด มันตึง มันเค้น
รู้สึกว่าเป็นของไม่ดี เป็นของมีโทษ จึงพยามละวางเสีย ปล่อยวางเสีย


- การที่รู้ว่าอารม์เีสียเป็นของไม่ดี นี้เป็นปัญญาขั้นจินตมัย
อาศัยความรู้และความจำ มาช่วยนำร่องสอนจิต
- เมื่อละวางอารมณ์นั้นเสียได้ นี้เป็นผลงานของภาวนามัยปัญญา
(ไม่ใช่ปล่อยให้อารมณ์หายเองนะ ถ้าหายเองมันไม่ใช่ผลงานปัญญา มันเป็นแค่ธรรมชาติ)


ทำบ่อยๆเข้า เกิดเป็นความเคยชินที่จะละวางอารมณ์เสีย
- การทำบ่อยๆ การทำเนืองๆ ก็คือการคอยชี้ให้จิตดูความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเนืองๆ ว่า
นี่ จิตเอ๋ย เห็นไหม กี่ครั้งต่อกี่ครั้งแล้วที่ฉันชี้ให้เธอดู มันก็เป็นอย่างนี้ ไม่ผิดไปจากนี้

จนเมื่อวันหนึ่งจิตมันตกผลึกยอมรับความจริง ในเรื่องนั้นๆ ขึ้นมา
มันก็จะคล้ายเป้นความรู้แจ้งในเรื่องนั้นๆ
ไม่ใช่ความเชื่อความศรัทธาหรือการน้อมคิดน้อมนึกอีกต่อไป
แล้วมันก็จะล้างความเห็นผิดในเรื่องนั้นๆไปเลย
กลายเป้นความรู้อย่างที่ไม่มีทางสั่นคลอนได้อีก

เช่น เด็กๆนั้น พ่อแม่เตือนว่าน้ำร้อนมีโทษ อย่าไปใกล้น้ำร้อน เราก็เชื่อนะ
แต่เราก้ยังประมาทในความเชื่ออยู่ดี คือไม่ระมัดระวัง

แต่พอโดนน้ำร้อนเข้าเท่านั้นแหละ นี่ยอมรับความจริงเลยว่าน้ำร้อนเป้นทุกข์
ตลอดชีวิตนี้ใครมาบอกว่าน้ำร้อนไม่ทุกข์ ใจเราจะค้านเลยว่าไม่จริง
นี่คือตัวอย่างการเปรียบเทียบผลงานของปัญญารู้แจ้งในโทษของทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 08:34
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ไม่ใช่ความเชื่อความศรัทธาหรือการน้อมคิดน้อมนึกอีกต่อไป
แล้วมันก็จะล้างความเห็นผิดในเรื่องนั้นๆไปเลย
กลายเป้นความรู้อย่างที่ไม่มีทางสั่นคลอนได้อีก

สาธุคะ อย่างนี้เรียกว่า "วิปัสนาหรือภาวนามัยปัญญา" ได้หรือเปล่าค่ะ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย Joyly เมื่อ 05 ก.ค. 2010, 12:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Joyly เขียน:
ชาติสยาม เขียน:
ไม่ใช่ความเชื่อความศรัทธาหรือการน้อมคิดน้อมนึกอีกต่อไป
แล้วมันก็จะล้างความเห็นผิดในเรื่องนั้นๆไปเลย
กลายเป้นความรู้อย่างที่ไม่มีทางสั่นคลอนได้อีก

สาธุคะ อย่างนี้เรียกว่า "วิปัสนาหรือภาวนามัยปัญญา" ได้หรือเปล่าค่ะ :b8:


ใช้ครับ

ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา จากขั้นวิปัสนา นั้น มี 16 อย่าง
หรือที่รู้จักกันว่าคือ โสพสญาน (ปัญญา16/วิปัสนาญาน 16)

"ญาน" ก็คือคำเดียวกับ "ปัญญา"
เช่น รูปนามปริเฉทญาน


รูปนามปริเฉทญาน ก็คือชื่อของปัญญาขั้นแรก ใน 16 ขั้น
รูปนาม ก้คือรูปนาม
ปริเฉท คือการแยกแยะ
ญาน คือ ปัญญา

แปลว่า ปัญญาในการแยกแยะรูปนาม
หรือถ้าพูดให้ตรงกับสภาวะ ก็คือความสามารถในการเห็นแจ้งขึ้นเลยว่า
ในความเป็นเรานี้ นี่คือรูป นี่คือนาม มันแยกกัน ไม่ได้รวมกัน

ถ้าเรามองตัวเองเดี๋ยวนี้ เช่น ชาติสยามมองตัวเอง
เราคิดเอาได้นะ ตามที่สอนกันมา ว่าตัวชาติสยามประกอบขึ้นด้วยรูป+นาม
แต่ตัวเราไม่เห็นนะ ว่ามันคือรูปกับนาม
กลับเห็นว่า มีชาติสยามอยู่ 1 คน และมันเป็นอันเดียวกันหมด
ไม่เห็นว่ารูปกับนามมันแยกกันตรงไหน

แต่ถ้ามีปัญญาชื่อนี้ เวลามันตั้งมั่นรวมขึ้นมา มันจะแยกให้ดูเลยว่า
ความเป็นเรานี้ แต่เดิมที่เคยเห้นเป้นอันเดียวคนเดียว จะแยกออกเป็นสองชั้นเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 08:34
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณอย่างสูงนะค่ะ คุณชาติสยาม ที่ตอบคำถามแถมและให้คำอธิบายเพิ่มเติมอีกเพียบ
สาธุคะ :b8: :b4:
++
เรียนถาม คุณนิดหนึ่ง ติดใจประโยคที่ว่า
สติ ผู้กั้น
ปัญญา ผู้ปิดกั้น แตกต่างกันอย่างไรค่ะ
แล้วที่ว่า ปัญญา คือผู้รู้ ไม่ใช่จิตหรือค่ะ ที่เป็นผู้รู้?
ขออภัยนะค่ะเป็นคนขี้สงสัย ถามเพื่อประดับความรู้อันน้อยนิดคะ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 07:11
โพสต์: 93

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนนะค่ะว่า ที่ตอบนี้เป็นความเข้าใจของตนเองเฉพาะ อาจผิด
หรือถูกได้ อ่านแล้วต้องทำใจด้วยนะค่ะ
.. :b32:

สติ ผู้กั้น เปรียบเหมือนยามเฝ้าบ้านไม่ให้ผู้ร้าย(กิเลสต่างๆ)เข้าบ้านได้ แต่ทำลายผู้ร้ายไม่ได้
ได้แต่ขู่เท่านั้น เหมือนเขื่อนกั้นน้ำ เผลอเมื่อไร น้ำเข้าบ้านเมื่อนั้น จึงเรียกว่าผู้กั้น

ปัญญา ผู้ปิดกั้น เปรียบเหมือนยามถืออาวุธ สามารถกั้นผู้ร้ายและทำลายได้ด้วย ทั้งที่อยู่ใกล้
หรือไกล เหมือนทหารถือ M-16 เมื่อเจอคนร้ายก็จ่อยิงผู้ร้ายตายได้ทันที จึงเรียกว่าผู้ปิดกั้น

จิต = ตัวรู้ ธาตุรู้
ปัญญา = เป็นผู้รู้

ตัวรู้กับผู้รู้เกี่ยวเนื่องกัน เปรียบได้กับหลอดไฟ

จิต คือ หลอดไฟ
ปัญญา คือ แสงสว่าง

ตอบได้อย่างนี้แหละ ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องไปหาอ่านเอาเอง หรือศึกษาจากท่านผู้รู้ท่านอื่น
ให้ตอบสั้นๆ ก็ตอบสั้นแล้ว ยังมาสงสัยอีก ที่หลังให้ตอบยาวไปเลยดีกว่านะจ้ะ .. :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Joyly เขียน:
สติ ปัญญา สัญญา นี้เป็นอย่างไร? มันเข้าใจยากจริงๆ หรือค่ะ? พอจะมีการอธิบายให้เข้าใจตรงกันได้หรือเปล่า สั้นๆ ก็พอไม่ต้องยาวเป็นกิโลอะไรประมาณนี้ น่าจะดีนะค่ะ ขอโมทนา :b8:


แยกอธิบาย โดยหมวดหมู่

สัญญา เป็นหมวดหมู่ของการจดจำ

สติ และ ปัญญา อยู่ในหมวดหมู่ของ สังขาร การปรุงแต่ง

Jolly เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร คิดนึกอะไรมาแล้ว ก็มีการจดจำ หน้าที่ของจิตที่ทำการจดจำ คือสัญญา

สติ ความระลึกได้ สติไม่มีหน้าที่จดจำ แต่ความระลึกได้ในสิ่งที่สัญญา ไว้

ปัญญา ก็รู้ชัด ในสิ่งที่สัญญาไว้

--------
ปัญญา สติ สัญญา .... เป็นการงานของจิตที่ทำด้วยกัน ทำพร้อมๆ กัน ก็สำเร็จไปในทางกุศล ไม่ได้แยกกันทำงาน อย่างตัวใครตัวมัน
----

ปัญญา ชื่อสัมปชัญญะ ก็เป็นหน้าที่หนึ่งของจิต เป็นสังขารอย่างหนึ่ง เป็นปัญญา ชนิดหนึ่ง แต่เราแปลว่า "ความรู้สึกตัว" ซึ่งต้องทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่ความรู้สึกตัวแบบ ตี่นนอนแล้วรู้สึกตัว ในความเข้าใจทั่วไป

หรือไม่ใช่ รู้กระทบ คือผัสสะ ว่าเป็นความรู้สึกตัวอีกเช่นกัน

สติ ถ้าไม่มีสัมปชัญญะ สติก็ใช่สัมมาสติ
คือ สติถ้าไม่สำเร็จด้วยปัญญา สติก็ไม่ใช่ สติที่เป็นสัมมา

สติ ที่ระลึกได้เป็นไปกับความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงเป็นมิจฉาสติ
สติที่เป็นไปดั่งนี้ เรียกว่า นิวรณ์ คือถูกความโลภ ความโกรธ หรือความหลง กลุ้มรุมจิตระลึกไปกับความโลภ ความโกรธ ความหลง

ปัญญาเป็นเครื่องอบรมสติ ทำให้สติทำกิจสำเร็จ ปัญญานั้นคือ สัมปชัญญะ

สัมปชัญญะ ที่รู้ชัดว่า ทำอะไร ทำกิจใด จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ไม่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
สัมปชัญญะที่ รู้ชัดว่า ทำอะไร ทำกิจใด สิ่งนั้นเป็นที่สบายแก่กุศล ไม่เป็นที่สบายแก่กุศล
สัมปชัญญะที่รู้ชัดว่า ทำอะไร ทำกิจใด ยังรักษากุศลให้ดำรงต่อเนื่องได้
สัมปชัญญะที่รู้ชัดว่า ทำอะไร ทำกิจใด จิตไม่ถูกความหลง ชักนำออกไปจากกุศล
"ความรู้สีกตัว" คือสัมปชัญญะ คือ"ความรู้สึกตัว" อย่างนี้

ดังนั้น สติที่รู้ตัวทั่วพร้อม จึงเป็น สติสัมปชัญญะ คือสติที่ระลึกอยู่ตั้งอยู่ในกองกุศลทั้งหลายทั้งปวง
มี อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นเหตุ มีคุณธรรมอันเป็นกุศลเป็นปัจจัย
------
สติ ปัญญา สัญญา จึงทำงานกัน เกิดร่วมเกิดพร้อมกัน ณ ขณะจิตหนึ่งๆ โดยอาการอย่างนั้น

เมื่อโกรธ จึงขาดสติ
เมื่อหลงรัก จึงขาดสติ
คนโกรธ รู้ตัวว่าตัวเองโกรธ เขาจึงไม่มีสติ
คนโกรธ ไม่รู้ตัวว่าตัวเองโกรธ เขาจึงไม่มีสติเช่นกัน

ผู้ระงับความโกรธ ด้วยการเห็นโทษของความโกรธ เขามีสติ
ขณะนี้ วิปัสสนา ก็เกิดร่วมเกิดพร้อมตรงนี้

อธิบายสั้นๆ คร่าวๆ แบบนี้ คงพอเข้าใจ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.ค. 2010, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกตัวอย่างนึงนะ

คนบางประเภทชอบคิดมาก ใครว่าเล็กน้อยก็เอามาขยายเป็นเรื่องยาวเรื่องใหญ่
และย้ำคิดย้ำเครียดอยู่อย่างนั้น ปล่อยไม่ลง

ในขณะที่คนบางประเภทกลับตรงกันข้าม คือไม่ค่อยยี่หระกับเรื่องเล็กน้อย ไม่ชอบคิดมาก
ใครว่าอะไรก็ไม่ใส่ใจ ไม่ถือสาหาความ ไม่เก็บมาต่อความยาว

คนพวกแรก คืออาการวางไม่ลง วางยาก ปล่อยยาก
คนพวกที่สอง ปล่อยวางได้โดยง่าย

นี่คือความแตกต่างของสิ่งที่เรียกว่าปัญญาในแต่ละคน
กล่าวคือความฉลาดทางอารมณ์นั่นเอง
หลวงปู่ดูลย์ใช้คำว่า "ฉลาดในพฤติ(กรรม)ของจิต" ซึ่งก็คือปัญญานั่นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2010, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 08:34
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิดหนึ่ง เขียน:
ตอบได้อย่างนี้แหละ ถ้าไม่เข้าใจก็ต้องไปหาอ่านเอาเอง หรือศึกษาจากท่านผู้รู้ท่านอื่น
ให้ตอบสั้นๆ ก็ตอบสั้นแล้ว ยังมาสงสัยอีก ที่หลังให้ตอบยาวไปเลยดีกว่านะจ้ะ ..

ขอกราบขอบพระคุณ คุณพี่นิดหนึ่งที่กรุณาคะ ถ้าไม่ถามคุณพี่ก็คงไม่ตอบ ถามสั้นดีแล้วคะ ใครตอบสั้นๆ
จะได้ถามจี้ว่า ที่ตอบมานั้นเข้าใจจริงหรือมั่วมา ขอโมทนาคะ สาธุ :b4: :b8:

ชาติสยาม เขียน:
คนบางประเภทชอบคิดมาก ใครว่าเล็กน้อยก็เอามาขยายเป็นเรื่องยาวเรื่องใหญ่และย้ำคิดย้ำเครียดอยู่อย่างนั้น ปล่อยไม่ลง

ขอบคุณอีกครั้งคะ คุณชาติสยาม ที่เมตตาเพิ่มคติธรรมให้อีก :b8:

เช่นนั้น เขียน:
ปัญญาเป็นเครื่องอบรมสติ ทำให้สติทำกิจสำเร็จ ปัญญานั้นคือ สัมปชัญญะ
ขออนุญาติถามนะค่ะ

ปัญญา อบรมจิตไม่ใช่หรือคะ? ไงไปอบรมสติได้

ตามที่รู้นะค่ะ
สติ ควบคุมจิต เพื่อให้เป็นสมาธิ
ปัญญา อบรมจิต เพื่อให้เข้าใจจริงในสรรพสิ่ง

สงสัยคะ กรุณาด้วยนะค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2010, 11:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ปัญญาเป็นเครื่องอบรมสติ ทำให้สติทำกิจสำเร็จ ปัญญานั้นคือ สัมปชัญญะ
ขออนุญาติถามนะค่ะ


Jolly เขียน:
ปัญญา อบรมจิตไม่ใช่หรือคะ? ไงไปอบรมสติได้

ตามที่รู้นะค่ะ
สติ ควบคุมจิต เพื่อให้เป็นสมาธิ
ปัญญา อบรมจิต เพื่อให้เข้าใจจริงในสรรพสิ่ง


ปัญญา เกิดจากการได้คบหาสัตบุรุษ
ปัญญา เกิดจาก การฟังธรรม
ปัญญา เกิดจาก การสาธยายธรรม
ปัญญา เกิดจาก การทรงจำธรรม
ปัญญา เกิดจากการศึกษา
ปัญญา เกิดจาก บุญที่ได้เคยทำไว้ในกาลก่อน หรือชาติก่อน

ปัญญาที่เป็นส่วนของสัมปชัญญะ ก็เกิดเพราะเหตุเหล่านั้น

สติจะระลึกดี หรือระลึกชั่วล่ะ?
ซึ่งก็คือคุณภาพของสติ

การระลึกไปในอกุศล เป็นไปกับความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่นการทำมาหากินในชีวิตประจำวัน การขับรถ ก็มี เป็นอกุศล เพราะไม่มีสัมปชัญญะคือความ รู้ตัวอันเป็นปัญญา

ถ้าการระลึก ไปในกุศล ไม่เป็นไปกับความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่นการทำมาหากินในชีวิตประจำวัน การขับรถ ก็ตาม เป็นกุศล เพราะมีสัมปชัญญะ คือความรู้ตัว อันเป็นปัญญา

อย่างนี้ จึงเรียกว่า ปัญญาอบรมสติ หรือมีอุปการะแก่สติก็ได้

สติที่มีคุณภาพดี จึงเป็นตัวนำจิตแล่นไปตาม ทางที่ควร เพราะไม่ทำให้จิตระลึกไปในสิ่งอื่นอันไม่มีประโยชน์ เป็นโทษ ก่อให้เกิดความหลง ความงมงาย สติทำหน้าที่เพียงเท่านี้ เพื่อเป็นอุปการะแก่ สมาธิ
ให้เกิดความตั้งมั่นอยู่ได้

การเข้าใจ การทำงานของจิต เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่าง สมาธิ สติ ปัญญา ซึ่งต่างก็เป็นองค์ธรรมในจิตขณะหนึ่งๆ จึงควร.

"วิชาเหมือนสินค้า อันมีค่าอยู่เมืองไกล
ต้องยากลำบากไป จึงจะได้สินค้ามา
จงตั้งเอากายเจ้า เป็นสำเภาอันโสภา
ความเพียรเป็นโยธา แขนซ้ายขวาเป็นเสาใบ
นิ้วเป็นสายระยาง สองเท้าต่างสมอใหญ่
ปากเป็นนายงานไป อัชฌาสัยเป็นเสบียง
สติเป็นหางเสือ ถือท้ายเรือไว้ให้เที่ยง
ถือไว้อย่าให้เอียง ตัดแล่นเลี่ยงข้ามคงคา
ปัญญาเป็นกล้องแก้ว ส่องดูแถวแนวหินผา

เจ้าจงเอาหูตา เป็นล้าต้าฟังดูลม
ขี้เกียจคือปลาร้าย จะทำลายให้เรือจม
เอาใจเป็นปืนคม ยิงระดมให้จมไป
จึงจะได้สินค้ามา คือวิชาอันพิสมัย
จงหมั่นมั่นใจหมาย อย่าได้คร้านการวิชา"

จาก ดรุณศึกษา เล่ม ๓

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 06 ก.ค. 2010, 11:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2010, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 08:34
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ยังติดใจอีกแหละ

ปัญญาเกิดจากอะไร คุณเช่นนั้นก็อธิบายเอง
แล้วมาสรุปว่า เพราะมีสัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว อันเป็นปัญญา
ถ้าความรู้ตัวเป็นปัญญาก็ไม่ต้องอธิบายว่า ปัญญาเกิดจากอะไรอีก

คำตอบวกไปวนมา ไม่ค่อยเข้าใจคะ ทิฏฐิ(ความเห็น)คงต่างกันนะค่ะ
ขอบคุณที่กรุณาอธิบายคะ สาธุ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2010, 12:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Joyly เขียน:
สติ ปัญญา สัญญา นี้เป็นอย่างไร? มันเข้าใจยากจริงๆ หรือค่ะ? พอจะมีการอธิบายให้เข้าใจตรงกันได้หรือเปล่า สั้นๆ ก็พอไม่ต้องยาวเป็นกิโลอะไรประมาณนี้ น่าจะดีนะค่ะ ขอโมทนา :b8:

ขอตอบตามภูมิกำลังปัญญานะครับ....
จะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่าย...ก็ต้องอาศัยตัวปัญญาอีกนั่นแหละ..พิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดกับเราให้แยบคาย..ถ้าเรารู้เหตุของมันแล้ว ก็จะสามารถดับมันได้...เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นย่อมมีเหตุมีปัจจัย
....สติ..สัมปชัญญะ...ระลึกรู้สึกตัว อยู่ทั่วพร้อมในอาการปัจจุบัน...คือเจริญสติ..ในชีวิตประจำวัน รู้ตัวอยู่ทุกอิริยาบถ ยืน นั่ง เดิน นอน...จะขยับเขยื้อนไปไหน จะคิดอะไรรู้สึกอะไร..จะรู้ตัวอยู่ในอาการปัจจุบัน
....เมื่อสติเกิด..ปัญญาก็จะเกิด..สติกับปัญญาเหมือนเป็นเบื้องบาทกัน...หนุนกันและกันอยู่
....ปัญญาทางโลกกับปัญญาทางธรรมไม่เหมือนกัน ต่างกัน...
...การที่ปัญญาจะเกิดนั้น ต้องเป็นเรื่องอุบายของใครของมัน จะเอามาใช้แทนกันไม่ได้...
....เมื่อปัญญาเกิดแล้ว ไม่ต้องไปจดไปจำเอาไว้ ถ้าเป็นปัญญาแท้มันจะเกิดกับเรา ถ้าไปจำเอาไว้มันก็กลายเป็น สัญญา สัญญานั้นกั้นปัญญาใหม่ไม่ให้เกิด
....สัญญา คือ ความจำ จำได้หมายรู้ อยู่ในกองขันธ์ทั้ง ๕

ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2010, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 08:34
โพสต์: 47

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมบัติ เขียน:
ถ้าไปจำเอาไว้มันก็กลายเป็น สัญญา สัญญานั้นกั้นปัญญาใหม่ไม่ให้เกิด

สาธุคะ เห็นด้วยกับประโยคข้างบน

อิอิ เดี๋ยวหาว่า สองมาตรฐาน เรียนถามสักคำถามนะคะ
"สัญญานั้นกั้นปัญญาไม่ให้เกิด" กั้นไม่ให้เกิดอย่างไรคะ?
ตอบก็ได้ไม่ตอบก็ได้นะค่ะ หรือท่านอื่นจะช่วยกรุณาตอบก็ได้คะ :b8:

คราวหน้า Joyly ตั้งกระทู้ถามจะมีใครมาตอบหรือเปล่าน้า :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 99 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร