วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 07:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 16:01
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนพ่อครู แม่ครู ทุกท่านได้ช่วยแนะนำด้วยครับ (ไม่ทราบตั้งชื่อเรื่องถูกหรือเปล่านะ)
จากที่ผมเองได้ปฏิบัติธรรมมาประมาณ6 เดือนแล้วใช้คำถาวนา พุทโธ และในช่วง 2 สัปดาห์มานี้ได้เห็นสภาวะที่เกิดในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เช่น
1. รู้สึกหายหายใจโปร่ง โล่งสบายอยู่ได้ทั้งวัน แต่มีบางวันก็เป็นปรกติ
2. บางวันในช่วงบ่ายก็เกิดความปิติสูขเกิดขึ้นมาเองทั้งๆที่ไม่ได้ทำสมาธิ(หมายถึงทำในรูปแบบครับ)
3. บางวันขณะที่ทำงานอยู่ จิตมันอยากจะอยู่นิ่งๆอยากจะหาที่สงบนั่งทำสมาธิ และความรู้สึกนี้จะเกิดอยู่นานเป็น2-3ชั่วโมง แต่ผมก็ไม่ได้ นั่งทำสมาธิตามที่ความรู้สึกมันเกิดนะ
และปัจจุบันได้พบความเปลี่ยนแปลงที่ต่างไปจากเมื่อก่อนนี้หลายๆอย่าง เช่น โทสะเบาลง จากที่เคยเครียดเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว ก็หายไปหมด และความอยากไม่รุนแรงอย่างเมื่อกอ่น(ตรงนี้ไม่รู้ว่ามันจะส่งผลต่องานประจำหรือไม่)
คำถาม.
- สภาวะข้อ1-2 เรียกว่าจิตมันติดสูขหรือไม่ หรือคืออะไร
- สภาวะข้อ3 ที่จิตเกิดความอยากปฏิบัติ เป็นมิจฉาทิตฐิ หรือไม่ ควรจะทำตามดีหรือไม่
- ช่วยแสดงความคิดเห็นการการปฏิบัติของผมด้วย
- ขอคำแนะนำแนวทางในการปฏิบัติต่อไปควรอย่างไรดี
เจริญในธรรมทุกท่าน
จาก นายโรจน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขออนุญาตนะครับ ผมไม่ใช่ผู้รู้ แต่ขอตอบเท่าทีสติปัญญามี
เพื่อเป็นข้อประกอบในการปฏิบัติของคุณโรจน์ ไม่รู้ว่าจะตรงตามต้องการหรือปล่าว
ก่อนอื่นผมขออนุโมทนาท่านนะครับ ที่ได้ตั้งใจปฏิบัติ


นายโรจน์ เขียน:
1. รู้สึกหายใจโปร่ง โล่งสบายอยู่ได้ทั้งวัน แต่มีบางวันก็เป็นปรกติ
2. บางวันในช่วงบ่ายก็เกิดความปิติสูขเกิดขึ้นมาเองทั้งๆที่ไม่ได้ทำสมาธิ(หมายถึงทำในรูปแบบครับ)

- สภาวะข้อ1-2 เรียกว่าจิตมันติดสูขหรือไม่ หรือคืออะไร


ค่อย ๆ คุยกันไปนะครับ

ปกติ จิตของคน จะถูกดึงให้วิ่งเข้าหาอารมณ์ต่าง ๆ ทั้งชอบใจ ไม่ชอบใจ อยู่เกือบตลอดเวลา
เกิด โลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เป็นตัวนำ
จิตแบบนี้ เป็นอกุศลจิตโดยมาก จิตจะเศร้าหมอง ไม่มีความสงบ
พอจิดแกว่ง กระสับกระส่าย ร่างกาย ก็แกว่ง กระสับกระส่าย ทำให้รู้สึกเหนื่อย เมื่อยล้า เพลียง่าย


พอฝึกจิตได้ในระดับหนึ่ง จิตจะเป็นกุศลจะเกิดโดยมาก จิตที่เป็นกุศล จะมี อโลภะ อโทสะ อโมหะ เป็นต้น เป็นมูล
จิตที่เป็นกุศลจะมีองค์ประกอบที่ดีมากมายเกิดขึ้นด้วย (โสภณเจตสิก)
จะมีอาการดี ๆ เกิดขึ้นมากมาย
ที่จริงมันมีมากกว่านั้น คุณสัมผัสได้เอง
แต่ที่คุณสัมผัสได้ชัด เนื่องจากเกิดนานติดต่อกัน คือ


ความเป็นกลางในอารมณ์ต่าง ๆ มากขึ้น (ตัตรมัชฌัตตตา)
ความสงบ กาย (กายปัสสธิ)
ความสงบใจ (จิตปัสสธิ)
กายกระฉับกระเฉง (กายปาคุญญตา)
จิตกระฉับกระเฉง(จิตปาคุญญตา)
ความเบากาย (กายลหุตา)
ความเบาใจ (จิตลหุตา)
ความคล่องแคล่วของกาย (กายกัมมัญญตา)
ความคล่องแคล่วแห่งจิต(จิตกัมมัญญตา)
ความซื่อใส ซื่อตรง แห่งกาย (กายุชุกตา)
ความซื่อใสแห่งจิต (จิตตุชุกตา)


อาการรวม ๆ ทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นพร้อมกัน เป็นอาการของกุศลจิตที่เกิดขึ้นติดต่อกันนาน ๆ
มีโสมนัส มีความชุ่มชื้นแห่งจิตอยู่เสมอ มีศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ อยู่ด้วย
อาการเหล่านี้ เป็นอาการของจิตที่เกิดของมหากุศลจิตที่ประกอบด้วยโสมนัส
(โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตตํ อสงฺขาริกํ เป็นต้น)
อาการปีติ ที่เกิดขึ้น น่าจะเป็นอาการของจิตที่โสมนัส

เป็นการคาดเดาตามอาการนะครับ ตามความน่าจะเป็น อาจถูก หรือ อาจผิด
ต้องคุยในรายละเอียดกว่านี้



ส่วนที่เรียกว่าปีติ ที่เป็นอุปกิเลศของผู้ปฏิบัติ จะเกิดจากการทำสมาธิ
จะเกิดต่อเมื่อจิตสงบไปซักพักแล้ว (เรื่องนี้ คุยยาว นะครับ ถ้าจะคุย)
สำหรับผู้เจริญวิปัสสนา จะเกิดสภาวะที่เรียกว่า อุปกิเลศ หรือ วิปัสสนูปกิเลศ
สิ่งที่ทำให้เศร้าหมอง ของผู้ปฏิบัติ คือ คนธรรมดา จะไม่เกิดสภาวะเหล่านี้


ผู้ปฏิบัติต้องระวัง อารมณ์จิตอาจจะข้องหรือหลงใหลในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
จนทำให้เสียผลในการกำจัดกิเลส เช่นเดียวกับจิตข้องในนิวรณ์ทำให้เสียกำลังสมาธิ
ไม่ได้ฌานเช่นกัน อารมณ์กิเลสที่คอยกีดกันอารมณ์วิปัสสนาก็คือ
อารมณ์สมถะที่มีอารมณ์ละเอียดคล้ายคลึงวิปัสสนาญาณ ท่านเรียกว่า
อุปกิเลสของวิปัสสนา ๑๐ อย่าง ตามอาจารย์ทั้งหลาย ท่านว่าไว้
และมีอาจารย์ที่ผมยอมรับว่าท่านเก่งมากทั้งในเรื่องสมถะและวิปัสสนา ท่านอธิบายไว้ คือ


๑. โอภาส โอภาสแปลว่า แสงสว่าง ขณะพิจารณาวิปัสสนาญาณนั้น จิตที่กำลังพิจารณาอยู่
จิตย่อมทรงอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ สมาธิระดับนี้เป็นสมาธิเพื่อสร้างทิพยจักษุญาณ
ย่อมเกิดแสงสว่างขึ้น คล้ายใครเอาประทีปมาตั้งไว้ใกล้ๆ เมื่อปรากฏแสงสว่าง
จงอย่าทำความพอใจว่าเราได้มรรคผล เพราะเป็นอำนาจของอุปจารสมาธิอันเป็นผลของสมถะ
ที่เป็นกำลังสนับสนุนวิปัสสนาเท่านั้น ไม่ใช่ผลในวิปัสสนาญาณ


๒. ปีติ ปีติแปลว่า ความอิ่มใจ ความปลาบปลื้มเบิกบาน อาจมีขนพองสยองเกล้า น้ำตาไหล
กายโยกโคลง กายลอยขึ้นบนอากาศ กายโปร่งสบาย กายเบา บางคราวคล้ายมีกายสูงใหญ่กว่าธรรมดา มีอารมณ์ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติ อารมณ์สมาธิแนบแน่นดีมาก
อารมณ์สงบสงัดง่าย อาการอย่างนี้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา เป็นผลของสมถะ
อย่าเข้าใจว่าบรรลุมรรคผล


ในข้อนี้ท่านว่าไว้ ๕ อย่าง คือ
๒.๑ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล
๒.๒ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ
๒.๓ โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง
๒.๔ อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ
๒.๕ ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์



๓. ปัสสัทธิ ปัสสัทธิแปลว่า ความสงบระงับด้วยอำนาจฌาน มีอารมณ์สงัดเงียบ
คล้ายจิตไม่มีอารมณ์อื่น มีความว่างสงัดสบาย ความรู้สึกทางอารมณ์โลกียวิสัยดูคล้ายจะสิ้นไป
เพราะความรัก ความโลภ ความโกรธ ความข้องใจในทรัพย์สินไม่ปรากฏ
อาการอย่างนี้เป็นอารมณ์ของอุเบกขาในจตุตถฌาน เป็นอาการของสมถะ
ผู้เข้าถึงใหม่ๆ ส่วนมากหลงเข้าใจผิดว่าบรรลุมรรคผล เ
พราะความสงัดเงียบอย่างนี้ตนไม่เคยประสบมาก่อน ต้องยับยั้งชั่งใจไว้ก่อน
อย่าด่วนตัดสินใจว่าได้มรรคผล เพราะมรรคผลมีฌานเป็นเครื่องรู้มีอยู่
ถ้าญาณเป็นเครื่องรู้ยังไม่แจ้งผลเพียงใด ก็อย่าเพ่อตัดสินใจว่าได้บรรลุมรรคผล


๔. อธิโมกข์ อธิโมกข์แปลว่า อารมณ์ที่น้อมใจเชื่อโดยปราศจากเหตุผล
ด้วยพอได้ฟังว่าเราได้มรรคได้ผล ยังมิได้พิจารณาให้ถ่องแท้ก็เชื่อแน่เสียแล้ว
ว่าเราได้มรรคได้ผล โดยไม่ใช้ดุลพินิจเป็นเครื่องพิจารณา อาการอย่างนี้
เป็นอาการของศรัทธาตามปกติ ไม่ใช่มรรคผลที่ตนบรรลุ


๕. ปัคคหะ ปัคคหะแปลว่า มีความเพียรกล้า คนที่มีความเพียรบากบั่นไม่ท้อถอยต่ออุปสรรค
เป็นเหตุที่จะให้บรรลุมรรคผล แต่ถ้ามาเข้าใจว่าตนได้บรรลุเสียตอนที่มีความเพียร
ก็เป็นการที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ความพากเพียรด้วยความมุมานะนี้
เป็นการหลงผิดว่าได้บรรลุมรรคผลได้เหมือนกัน


๖. สุข สุขแปลว่า ความสบายกายสบายใจ เป็นอารมณ์ของสมถะที่เข้าถึงอุปจารฌานระดับสูง
มีความสุขทางกายและจิตอย่างประณีต ไม่เคยปรากฏมาก่อนในชีวิต อารมณ์สงัดเงียบ
เอิบอิ่มผ่องใส สมาธิก็ตั้งมั่น จะเข้าสมาธิเมื่อใดก็ได้ อารมณ์อย่างนี้เป็นผลของสมถภาวนา
จงอย่าหลงผิดว่าได้มรรคผลนิพพาน


๗. ญาณ ญาณแปลว่า ความรู้อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่จิตมีสมาธิจากผลของสมถภาวนา
เช่น ทิพยจักษุญาณ เป็นต้น สามารถเห็นนรก สวรรค์ พรหมโลกได้
และรู้อดีต อนาคต ปัจจุบันได้ตามสมควร เป็นผลของสมถะแท้ไม่ใช่ผลของวิปัสสนา
เมื่อได้เมื่อถึงแล้วอาจจะหลงผิดว่าได้บรรลุผลนิพพาน เลยเลิกไม่ทำต่อไป
พอใจในผลเพียงนั้นก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะญาณที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นญาณในสมถะ
ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนาญาณ ถ้าพอใจเพียงนั้นก็ยังต้องเป็นโลกียชน
ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะต่อไป


๘. อุเบกขา อุเบกขาแปลว่า ความวางเฉย เป็นอารมณ์ในสมถะ คือ ฌาน ๔
ถ้ามาเข้าใจว่าความวางเฉยนี้เป็นมรรคผล ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
ความจริงก็อาจคิดไปได้ เพราะคนใหม่ยังเข้าใจอารมณ์ไม่พอ ท่านจึงบอกไว้ให้คอยระวัง


๙. อุปปัฏฐาน อุปปัฏฐานแปลว่า เข้าไปตั้งมั่น หมายถึงอารมณ์ที่เป็นสมาธิ
มีอารมณ์สงัดเยือกเย็น ดังเช่นที่ท่านเข้าฌาน ๔ มีอารมณ์สงบสงัด
แม้แต่เสียงก็กำจัดตัดขาดไม่มีปรากฏ อารมณ์ใดๆ ไม่มี
เป็นอารมณ์ที่แยกกันระหว่างกายกับจิตอย่างเด็ดขาด
เป็นปัจจัยให้นักปฏิบัติเข้าใจพลาดว่าบรรลุมรรคผลก็เป็นได้
ความจริงแล้วเป็นฌาน ๔ ในสมถะแท้ๆ


๑๐. นิกกันติ นิกกันติแปลว่าความใคร่ เป็นความใคร่น้อยๆ ที่เป็นอารมณ์ละเอียดไม่ฟูมาก
ถ้าไม่กำหนดรู้อาจไม่มีความรู้สึก เพราะเป็นอารมณ์ของตัณหาสงบ
ไม่ใช่ขาดเด็ดเป็นเพียงสงบ พักรบชั่วคราวด้วยอำนาจฌาน
มีปฐมฌานเป็นต้น เข้าระงับ อารมณ์ตัณหาที่อ่อนระรวยอย่างนี้
ทำให้นักปฏิบัติเผลอเข้าใจว่าบรรลุมรรคผลนิพพานมีไม่น้อย
แต่พอนานหน่อย ฌานอ่อนกำลังลง พ่อกิเลสตัณหาก็กระโดดโลดเต้นตามเดิม
อาการอย่างนี้ นักปฏิบัติก็ต้องระมัดระวัง


วิปัสสนาญาณที่พิจารณาต้องมีสังโยชน์เป็นเครื่องวัด
และพิจารณาไปตามแนวของสังโยชน์เพื่อการละ ละเป็นขั้นเป็นระดับไป
ค่อยละค่อยตัดไปทีละขั้น อย่าทำเพื่อรวบรัดเกินไป แล้วคอยระมัดระวังใจ
อย่าให้หลงใหลในอารมณ์อุปกิเลส ๑๐ ประการ ท่านค่อยทำค่อยพิจารณาอย่างนี้
ก็มีหวังที่จะเข้าถึงความสุข ที่เป็นเอกันตบรมสุขสมความมุ่งหมาย



นายโรจน์ เขียน:
3. บางวันขณะที่ทำงานอยู่ จิตมันอยากจะอยู่นิ่งๆอยากจะหาที่สงบนั่งทำสมาธิ และความรู้สึกนี้จะเกิดอยู่นานเป็น2-3ชั่วโมง แต่ผมก็ไม่ได้ นั่งทำสมาธิตามที่ความรู้สึกมันเกิดนะ


ผู้ปฏิบัติติดต่อกัน จิตจะสงบง่าย จิตมักจะวิ่งรวมตัว
เข้าสู่อาการสงบบ่อย ๆ เอง โดยอัตโนมัติ เขาเรียกว่า เหตุปัจจัยพร้อม
เขาเรียก อินทรีย์ ๕ บ่มได้ที่ (ศรัทธา สติ วิริยะ สมาธิ ปัญญา)
ควรไปหาสถานที่ที่มีครูบาอาจารย์คอยสอบอารมณ์ทุกวัน ปฏิบัติติดต่อกันสัก 7 วันขึ้นไป


นายโรจน์ เขียน:
สภาวะข้อ3 ที่จิตเกิดความอยากปฏิบัติ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือไม่ ควรจะทำตามดีหรือไม่


ไม่ครับ แม้แต่ผู้ปรารถนาไปนิพพาน ก็ต้องอาศัยความต้องการเป็นพื้นก่อน
ท่านยังเรียก อาศัยความอยากเพื่อละความอยาก เป็นกุศลเจตนา
เมื่อปฏิบัติไปจะค่อย ๆ แจ่มแจ้งเอง
ผู้ปฏิบัติระดับหนึ่ง เมื่อมีอารมณ์มากระทบจิตจะรู้เองว่า ดี หรือ ร้าย กุศล หรืออกุศล ครับ


นายโรจน์ เขียน:
ช่วยแสดงความคิดเห็นการการปฏิบัติของผมด้วย


อนุโมทนาด้วยครับ เริ่มต้นได้ดีมาก พยายามต่อไป
ควรหาสำนัก ครูบาอาจารย์ที่สอบอารมณ์ประจำนะครับ

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ไวโรจนมุเนนทระ

:b47: :b47: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 12:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ละสุขน้อย ไปหาสูขที่ยิ่งใหญ่กว่า เราต้องโหนจากกิ่งไม้หนึ่ง ไปอีกกิ่งหนึ่ง ไม่งั้นเราจะโหนตัวไม่ขึ้น อีกอย่างไม่ควรปฏิเสธสุขจากการปฏิบัติธรรม ฌานนั้นเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า สรรเสริญว่าเป็นสามัญผล

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปไปเลย มันไม่ติดไม่ยึดกันอยู่เองแล้ว สุข ทุกข์อะไร วิธีแก้คือไม่ต้องแก้ หากไปแก้ คือหลงไปมีอะไรกับอะไร ในธรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้ หลงตัวตนซ้อนเข้าดำเนินการ เข้าใจตรงๆไปเลยสุขก็อนิจจัง ทุกข์ก็อนิจจัง ไม่ใช่การมุ่งเอา หรือได้อะไร เข้าใจอย่างนี้ จึงไม่หลง มีตัวตนเป็น ในธรรมชาติ ไม่แช่ในอารมณ์นั้น จะไม่ได้หลงอาลัยอาวรณ์ทำไมวันนี้ ไม่นิ่งเหมือนวันนั้นเป็นต้น กลายเป็นหลงไปคอยเลือกอารมณ์ที่อยู่ของสภาวะจิต ไปซะงั้น

ขอเชิญศึกษาธรรมบรรลุฉลับพลัน จบโลก จบธรรม จบกรรม การปฏิบัติ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต วัดร่มโพธิธรรม จ.เลย ที่บอร์ดสนทนาทั่วไปขอรับ หรือ http://www.rombodhidharma.com/

ขอให้ท่านมีส่วนในความ ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา แจ่มแจ้งในสัจธรรม ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามองค์พุทธะ พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต นั่นเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 16:01
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบ สาธุการ ทุกท่านที่ชี้แนะ
เจริญในธรรม
จาก นายโรจน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



สวัสดีครับ


สาธุในการปฏิบัติตนของคุณครับ


ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบแล้วครับ

ละการติดทุกข์ ด้วยการติดสุขเสียก่อนนั้นถูกต้องแล้วครับ
แล้วจึงละสุขละทุกข์ด้วยจตุตถฌาน สติก็จะบริสุทธิ์ครับ




ที่ซึ่งมีสติ และเป็นสติที่บริสุทธิ์

สติที่บริสุทธิ์เป็นอริยะทรัพย์คือปัญญา




สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ??

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข


เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท.ดูคำตอบสั้นๆที่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=92.0

แต่เมื่อว่าโดยยืดยาวก็ที่

viewtopic.php?f=2&t=18652

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 16:01
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกความรู้สึกที่ทวนกระแส..
มีความรู้สึกว่า เทคโนโลยีที่พัฒนากันอย่างไม่มีสิ้นสุด นั้นล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยสนองกิเลสของมนุษย์แทบทั้งสิ้น มันเกิดความรู้สึกต่อต้านขึ้นมาเอง และกลับกันจิตมันมองเห็นภาพของภัยพิบัติตามมาทันที
อย่างนี้กันเป็นอุปธาน ใช่ไหมครับ. หรือจิตกันเกิดความระอายต่อบาบ..
..สืบเนื่องมาจากว่า งานที่ทำอยู่จัดอยู่ในกลุ่มนี้
ตอนนี้รู้สึกมัวๆ.. ช่วยชี้แนะด้วนครับ.

เจริญในธรรมทุกๆท่านครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ใช่คิดอะไรแล้ว อินไปกับมัน เอาตัวเอง ความคุ้นเคย คอยศึกษาแบบนี้แบบนั้น มาวิเคราะห์ พิจารณา สรุปเอง เออเองหมด จบไม่ลงแล้วมาสงสัยต่อ มันงมอยู่แค่นี้ไม่มีวันจบ เตือนใจปลงใจ ไม่อิน แล้วๆไปทุกเรื่องผ่านมา ผ่านไป ไม่ต้องไป อะไรกับอะไรกับมัน

ขอเชิญศึกษาธรรมบรรลุฉลับพลัน จบโลก จบธรรม จบกรรม การปฏิบัติ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต วัดร่มโพธิธรรม จ.เลย ที่บอร์ดสนทนาทั่วไปขอรับ หรือ http://www.rombodhidharma.com/
ขอให้ท่านมีส่วนในความ ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา แจ่มแจ้งในสัจธรรม ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามองค์พุทธะ พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต นั่นเทอญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลกหาใช่เป็นกามไม่ ราคะที่เกิดจากความคิดของคน (ต่างหาก) เป็นกาม

อารมณ์วิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมดำรงอยู่ (ตามสภาพของมัน) อย่างนั้นเอง

ดังนั้น ธีรชนทั้งหลายจึงขจัด (แต่เพียง) ตัวความอยาก (ตัณหาฉันทะ)ในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น

(คือ มิใช่กำจัดอารมณ์วิจิตร)"

(องฺ.ฉกฺก.22/334/460)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


rojaninth10 เขียน:
เรียนพ่อครู แม่ครู ทุกท่านได้ช่วยแนะนำด้วยครับ (ไม่ทราบตั้งชื่อเรื่องถูกหรือเปล่านะ)
จากที่ผมเองได้ปฏิบัติธรรมมาประมาณ6 เดือนแล้วใช้คำถาวนา พุทโธ และในช่วง 2 สัปดาห์มานี้ได้เห็นสภาวะที่เกิดในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เช่น
1. รู้สึกหายหายใจโปร่ง โล่งสบายอยู่ได้ทั้งวัน แต่มีบางวันก็เป็นปรกติ
2. บางวันในช่วงบ่ายก็เกิดความปิติสูขเกิดขึ้นมาเองทั้งๆที่ไม่ได้ทำสมาธิ(หมายถึงทำในรูปแบบครับ)
3. บางวันขณะที่ทำงานอยู่ จิตมันอยากจะอยู่นิ่งๆอยากจะหาที่สงบนั่งทำสมาธิ และความรู้สึกนี้จะเกิดอยู่นานเป็น2-3ชั่วโมง แต่ผมก็ไม่ได้ นั่งทำสมาธิตามที่ความรู้สึกมันเกิดนะ
และปัจจุบันได้พบความเปลี่ยนแปลงที่ต่างไปจากเมื่อก่อนนี้หลายๆอย่าง เช่น โทสะเบาลง จากที่เคยเครียดเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว ก็หายไปหมด และความอยากไม่รุนแรงอย่างเมื่อกอ่น(ตรงนี้ไม่รู้ว่ามันจะส่งผลต่องานประจำหรือไม่)
คำถาม.
- สภาวะข้อ1-2 เรียกว่าจิตมันติดสูขหรือไม่ หรือคืออะไร
- สภาวะข้อ3 ที่จิตเกิดความอยากปฏิบัติ เป็นมิจฉาทิตฐิ หรือไม่ ควรจะทำตามดีหรือไม่
- ช่วยแสดงความคิดเห็นการการปฏิบัติของผมด้วย
- ขอคำแนะนำแนวทางในการปฏิบัติต่อไปควรอย่างไรดี
เจริญในธรรมทุกท่าน
จาก นายโรจน์


ความทุกข์ เกิดจากความคิด
ความสุข ก็เกิดจากความคิด

คุณคิดว่าคุณมีสุข จิตใจสบาย โทสะเบาลง ก็ดีแล้วนี่ขอรับ
จะติดสุข ก็ช่างมันปะไร หรือคุณอยากจะติดทุกข์
อีกประการหนึ่ง คุณรู้ได้อย่างไรว่า "ติดสุข" ติดสุขเป็นอย่างไรหรือขอรับ มีใครบ้างขอรับที่ไม่อยากมีความสุข มีความสุข ก็ไม่ได้หมายความว่า"ยึดติดในความสุข"
เพราะ ไม่ว่าจะเป็น ความสุข หรือ ความทุกข์ ย่อมมี เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จะเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ให้คุณพิจารณาเอาเอง
จะตั้งอยู่นานเท่าใด หรือสั้นเท่าใด ก็ให้คุณพิจารณาเอาเอง
จะดับไปได้หรือไม่ หรือจะเกิดขึ้นใหม่ได้อีก ก็ให้คุณพิจารณาเอาเอง
(ศรีอาริยเมตไตรย ธรรมวจนะ)


แก้ไขล่าสุดโดย จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ เมื่อ 15 ม.ค. 2010, 20:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


rojaninth10 เขียน:
- สภาวะข้อ1-2 เรียกว่าจิตมันติดสูขหรือไม่ หรือคืออะไร
- สภาวะข้อ3 ที่จิตเกิดความอยากปฏิบัติ เป็นมิจฉาทิตฐิ หรือไม่ ควรจะทำตามดีหรือไม่

ไม่ใช่ติดสุขหรอก
ติดสุข เป็นคำที่ตั้งขึ้นภายหลัง เขาใช้ในกรณีที่ชอบเข้าสมาธิ เพื่อจะได้ สุข (ยินดี, พึงพอใจ) ส่วนใหญ่ที่เขาติงเรื่องติดสุข เพราะสุขมันมีถึงฌาณ 3 และคนที่ติดสุขก็มักจะติดในฌาณนี้ เลยไม่ก้าวหน้าไปไหน เราก็เลยจะได้ยินอีกคำหนึ่งว่า ขอให้ติดก่อนเถอะ ค่อยมาว่ากัน เพราะถ้าถึงขั้นติดสุข ก็ถือว่าไม่ธรรมดาแล้ว...

อยากปฏิบัติ ? เป็นอาการของมือใหม่ที่กำลังจะเทิร์นโปร ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ถ้าเรารู้สึกว่า กำลังจะก้าวหน้า เราก็อยากจะทำมันบ่อยๆ เช่น รู้สึกว่า เข้าสมาธิได้ดี เวลานั่งเฉยๆ ก็แอบเข้าสมาธิไป, นั่งรอเพื่อน ก็แวบๆ ทำสมาธิอีก

rojaninth10 เขียน:
- ขอคำแนะนำแนวทางในการปฏิบัติต่อไปควรอย่างไรดี

ก็ไม่รู้จะแนะนำอะไร :b6: :b6: :b6: นั่งสมาธิเสร็จ บิดขี้เกียจหน่อยดีไหม หรือกระโดดๆ ให้ตื่นตัว...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2010, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rojaninth10 เขียน:
เรียนพ่อครู แม่ครู ทุกท่านได้ช่วยแนะนำด้วยครับ (ไม่ทราบตั้งชื่อเรื่องถูกหรือเปล่านะ)
จาก ที่ผมเองได้ปฏิบัติธรรมมาประมาณ6 เดือนแล้วใช้คำถาวนา พุทโธ และในช่วง 2 สัปดาห์มานี้ได้เห็นสภาวะที่เกิดในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เช่น
1. รู้สึกหายหายใจโปร่ง โล่งสบายอยู่ได้ทั้งวัน แต่มีบางวันก็เป็นปรกติ


เป็นธรรมดาค่ะ อาการแบบนี้เกิดเพราะสภาพร่างกายมากกว่าสมาธิค่ะ จุฬาภินันท์ก็เป็นบ่อยๆ ถ้าอาการสมาธิเกิด บริเวณที่ตั้งแห่งจิต ตรงแถวๆลิ้นปี่น่ะค่ะ จะแน่น และมือที่ประสานจะดึงดูดกัน ตัวก็หนักตามแรงโน้มถ่วงค่ะ


อ้างคำพูด:
2. บางวันในช่วงบ่ายก็เกิดความปิติสูขเกิดขึ้นมาเองทั้งๆที่ไม่ได้ทำสมาธิ(หมายถึงทำในรูปแบบครับ)


ไม่ใช่ปิติสุขค่ะ ขอโทษที่ต้องพูดตรงๆ วันนั้นเป็นเพราะคุณสบายใจค่ะ

อ้างคำพูด:
3. บางวันขณะที่ทำงานอยู่ จิตมันอยากจะอยู่นิ่งๆอยากจะหาที่สงบนั่งทำสมาธิ และความรู้สึกนี้จะเกิดอยู่นานเป็น2-3ชั่วโมง แต่ผมก็ไม่ได้ นั่งทำสมาธิตามที่ความรู้สึกมันเกิดนะ
และปัจจุบันได้พบความเปลี่ยนแปลงที่ต่างไปจากเมื่อก่อนนี้หลายๆอย่าง เช่น โทสะเบาลง จากที่เคยเครียดเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว ก็หายไปหมด และความอยากไม่รุนแรงอย่างเมื่อกอ่น(ตรงนี้ไม่รู้ว่ามันจะส่งผลต่องานประจำ หรือไม่)


จิตอยากอยู่นิ่งเพราะคุณเครียดข้างในค่ะ เครียดโดยไม่รู้ตัว

จากประสบการณ์ปฏิบัติของจุฬาภินันท์จนเข้าถึงปัญญาธรรม ความเปลี่ยนแปลงในสมาธิของคุณไม่ได้เปลี่ยนค่ะ แต่โทสะเบาลง ไม่อยากรุนแรง ความเครียด(ที่คุณรู้สึกตัว) แบบนี้เกิดได้ เพราะสติคุณดีขึ้น สมาธิทำให้ใจคุณเข้มแข็งขึ้นมาบ้างค่ะ
อ้างคำพูด:
คำถาม.
- สภาวะข้อ1-2 เรียกว่าจิตมันติดสูขหรือไม่ หรือคืออะไร


ไม่ใช่ค่ะ นั่นเพราะคุณสบายใจ

อ้างคำพูด:
- สภาวะข้อ3 ที่จิตเกิดความอยากปฏิบัติ เป็นมิจฉาทิตฐิ หรือไม่ ควรจะทำตามดีหรือไม่


ไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิหลอกค่ะ จิตคุณอยากทำสมาธิก็ดีแล้ว การทำสมาธิ ไม่จำเป็นต้องนั่งสามธิเสมอไปค่ะ ทำงานแบบมีสมาธิก็ได้ จุฬาภินันท์ก็ทำงานแบบมีสมาธิค่ะ คือ ใจและความคิดจดจ่ออยู่กับงานตรงหน้าค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 16:01
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องขอกราบขอบพระคุณทุกท่านที่ให้แง่คิดต่างๆ ผมจะได้นำไปพิจารณาเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับจริต เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
ขอขอบคุณอีกครั้ง ในความมีน้ำใจของทุกท่าน smiley
เจริญในธรรม ทุกท่าน
จาก..นายโรจน์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึ่งปฎิบัติก็เลยเกิดอาการสงสัยมากมาย เป็นทุกคนเลยอาการสงสัยนี้ละ จะไปสนใจมันทำไมก็ทำมันต่อไปเลื่อยๆดิเดียวมันก็เลิกสงสัยไปเอง ไอ่อาการอยากอยู่เฉยๆนะ ผมว่ามันเป็นอาการของคนที่เบื่อหรืออีกอย่างก็คือเริ่มจะขี้เกียจนะคับ


แก้ไขล่าสุดโดย เจ้าวังทอง เมื่อ 18 ม.ค. 2010, 21:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 94 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร