วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 00:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 64 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 18:24
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครับผมเป็นผู้ที่เพิ่งเข้ามาศึกษาธรรมะ และต้องการรู้เกี่ยวกับธรรมะ เพื่อน้อมนำมาปฏิบัติ
ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดครับ การปฏิบัติธรรมสำคัญนั้นเน้นที่จิต ผมรู้มาอย่างนั้นครับ
เข้าคำถามเลยนะครับ
........................

1) จิตคืออะไร หน้าที่ของจิตทำอะไร?
2) จิตเดิมแท้เป็นแบบใหน อย่างไรเรียกว่าจิตเดิมแท้?
3) จิตจะมีได้เฉพาะชน,กลุ่มหรือว่าทุกสิ่ง?
.......................

ขอเรียนท่านที่ทราบกรุณาไขข้อสงสัยให้ผมกระจ่างด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบตามความเข้าใจ ผิดพลาดไม่ชัดเจนก็ต้องขอภัย ต่อทุกท่านและคุณเบื้องสูงด้วย ณ ที่นี้
จิต คือ รู้ การรับรู้ หรือวิญาณขันธ์
จิตเดิมแท้ นั้นไม่มีความเห็นความหมายว่าเป็นสิ่งใด ไม่ใช่อะไรกับอะไร เรียกว่า ว่าง หรือ อนัตตา
จิตจะมีก็แต่เมื่อหลงยึด หลงซ้อนตัวตนในวิญญาณขันธ์ที่เรียกว่าสัตว์โลก หรือการสมมุติมาใช้ของพระอริยะ องค์พุทธะ พระโพธิสัตว์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2009, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 18:24
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณครับ

ถ้าจิตคือวิญญาณจิตก็เป็นขันธ์ ๕ใช่ใหมครับ
ถ้าจิตเดิมแท้เป็นอนัตตา(ว่าง,ไม่มีตัวตน) คือไม่มี
แล้วสิ่งที่ไปหลงยึดหลงติดหลงซ้อนคืออะไร?ครับเมื่อจิตไม่มี

รบกวนช่วยอธิบายให้เข้าใจด้วยครับ..ขอบพระคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โมหะในสัตว์โลกทั้งหลาย ที่หลงยึด นามธาตุ ทีเรียกว่าอวิชา
กรรมซ้อนธรรม
ขอเชิญศึกษาธรรมบรรลุฉลับพลัน จบโลก จบธรรม จบกรรม การปฏิบัติ โดยหลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโต วัดร่มโพธิธรรม จ.เลย ที่บอร์ดสนทนาทั่วไปขอรับ หรือ http://www.rombodhidharma.com/


แก้ไขล่าสุดโดย yodchaw เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 10:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 15:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ย. 2009, 16:20
โพสต์: 537

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


yodchaw เขียน:
จิต คือ รู้ การรับรู้ หรือวิญาณขันธ์
จิตเดิมแท้ นั้นไม่มีความเห็นความหมายว่าเป็นสิ่งใด ไม่ใช่อะไรกับอะไร เรียกว่า ว่าง หรือ อนัตตา


ขออนุญาติแก้ไขตามความเป็นจริงนะครับ
จิตไม่ใช่วิญญาณขันธ์หรือการรับรู้
จิตไม่ใช่ขันธ์ ขันธ์ไม่ใช่จิต
แต่จิตเดิมแท้เป็นอนัตตานั้นใช่ครับ
จิตที่ยังไม่ละอุปาทานในขันธ์ ๕ ก็ยังต้องมาอาศัยขันธ์ ๕ เวียนว่ายตายเกิดอยู่
การจะละอุปาทานในขันธ์ ๕ ของจิต ต้องอาศัยวิปัสสนาเข้าไปถอดถอน
และอาศัยการทำสมาธิเพื่อเสริมการวิปัสสนาครับ

ถ้าคุณ panejon เพิ่งเริ่มจะปฏิบัติขอแนะนำแนวทางดังนี้ครับ



หัวใจของการปฏิบัติธรรม “เพื่อความพ้นทุกข์” นั้นจะต้องทำความเข้าใจวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง
เพราะถ้าไม่รู้วิธีและแนวทางในการปฏิบัติ
ก็จะทำให้เสียเวลาและไปไม่ถึงจุดหมายปลายทางหรือประสบความสำเร็จได้
มัวแต่ลองผิดลองถูก กว่าจะเข้าใจก็เสียเวลาไปนาน

ครั้นสมัยเมื่อ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านยังทรงพระชนม์อยู่
พระองค์ทรงเน้นสอนและทรงแสดงโทษของการยึดมั่นถือมั่นในอุปทาน“ขันธ์ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์” พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อการ “ตรัสรู้” เพื่อเข้าสู่มรรคผลนิพพาน
คือพระองค์จะทรงหยิบยก และแสดงธรรมในเรื่อง “อริยสัจสี่” เป็นส่วนมาก
และในการแสดงธรรม “อริยสัจสี่” ในแต่ละครั้งนั้น
จะมีทั้งอุบาสก, อุบาสิกา, พระภิกษุสงฆ์ และพระภิกษุณีทั้งหลายได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นจำนวนมาก

พระองค์ทรงเน้นแสดง “ตัวสมุทัย” คือเหตุให้เกิดทุกข์
ได้แก่ “ตัณหา” ความอยากได้และความไม่อยากได้ในกองขันธ์ 5 ที่รู้สึกเป็นสุข และเป็นทุกข์
เช่น ขันธ์ 5 เป็นสุข ก็ยึดไว้ เวลาขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ก็ผลักไสไม่ยอมเผชิญหน้ากับมัน
จึงเกิดความลำบาก เพราะพยายามที่จะแก้ไขโดย “การวิ่งหนี และวิ่งเข้าหา”
คือ “อยากวิ่งหนีทุกข์ และอยากวิ่งหาสุข”
แต่โดยความเป็นจริงของสัตว์ และมนุษย์นั้น เมื่อถือกำเนิดขึ้นมาแล้วมีแต่กองแห่งทุกข์
ค้นหาความสุขเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ เท่าที่สังเกตดูมีแต่ทุกข์น้อย กับทุกข์มากเท่านั้นเอง
ฉะนั้นจึง “มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป”
รวมแล้วในขณะที่ยังมีชีวิต ก็คือมีขันธ์ 5 เป็นเครื่องอาศัยอยู่ จะต้องอยู่กับกองทุกข์ตลอดกาล

มีวิธีเดียวที่จะไม่ทุกข์ คือการไม่เกิด
เมื่อไม่กลับมาเกิด ก็ไม่มีขันธ์ ถ้าไม่มีขันธ์ก็ไม่มีทุกข์ เพราะทุกข์มีที่ขันธ์ ไม่ใช่มีที่จิต
แต่เหตุที่มาเกิดเพราะความหลง ได้แก่ “อวิชชา” คือความไม่รู้ความจริง
ไปยึดขันธ์ 5 ว่าเป็นตัวเป็นตน จิตจึงเกาะติดขันธ์ 5 พาให้เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น
และก็มาทุกข์เพราะขันธ์ 5 “อยู่ทุกชาติไป” นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์
เราต้องมาทำลายเหตุของการเกิดเสียก่อน
คือทำลายความยึดมั่นถือมั่นในกองขันธ์ 5 ให้ได้
และจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมา พิจารณากาย-ใจ คือ ขันธ์ 5 นี้
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
เพื่อให้จิตเกิดความเบื่อหน่าย แล้วจิตจะได้ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นใน กาย-ใจ นี้เสียได้
จิตจะไม่หลงไปเกาะติดกับขันธ์ คือถอนตัวเป็นอิสระอยู่เหนือขันธ์
ทั้งที่มีความทุกข์ของขันธ์อยู่ “แต่จิตสบาย” ไม่ทุกข์ไปกับขันธ์ เพราะยอมรับความจริงว่าเกิดมามีขันธ์ก็ต้องทุกข์แบบนี้ "ไม่มีใครหนีพ้น”
จงพิจารณาว่า ก่อนที่เราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ เราก็ไม่มีรูปกายนี้มาก่อน เมื่อเกิดมามีรูปกายแล้วจึงมี

เวทนา คือ ความสุข – ความทุกข์ หรือเฉยๆ ตามมา

สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ตามมา

สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่งตามมา

วิญญาณ คือ ความรับรู้ – รับทราบ ตามมา

เมื่อ รูปกายนี้ดับ เวทนาก็ดับ สัญญาก็ดับ สังขารก็ดับ วิญญาณก็ดับ
จึงไม่เหลือความเป็นเราอยู่ตรงไหนอีกเลย
นี่แหละที่เราหลงกัน จึงเรียกว่า “หลงสมมุติ” หลงของชั่วคราว
ทั้งที่ยึดเอาไว้ ก็ยึดไม่ได้ แก้ไขก็ไม่ได้ ท้ายที่สุดก็แล้วแต่เขาจะเป็นไป
ท้ายที่สุดก็ดับสลาย แล้วก็ตายจากไปไม่มีเหลือ
และขณะอยู่ก็เป็นทุกข์ด้วย ทุกข์ตลอดเวลาที่เราอาศัยเขาอยู่
เมื่อเรามาพิจารณาใน กาย – ใจ โดยความเป็นทุกข์
และเป็นธรรมชาติของเขา เป็นปรากฏการณ์อันหนึ่งของธรรมชาติ
ซึ่งเป็นไปตามสภาวะของเขา โดยไม่มีใครไปบังคับบัญชาเขาได้
แม้แต่ "เรา" ผู้ที่เข้าไปรู้สมมุตินี้ ก็เกิดขึ้นมาแล้ว จากธรรมชาติเช่นกัน
หาได้เป็นตัวเป็นตนไม่ เมื่อเรามาพิจารณา ขันธ์ กับจิตเป็นธรรมชาติที่เกิดดับ
หาความเป็นตัวเป็นตนไม่ได้ จิตก็จะปล่อยวางรูปขันธ์และนามขันธ์เสียได้

จึงต้องทำบ่อยๆ พิจารณาขันธ์ 5 และการทำงานของขันธ์ 5
โดยแยกให้เห็นหน้าที่แต่ละตัวและอาการต่างๆของเขาจนชัดเจน
มองหาและสังเกตอยู่ตลอดเวลา เท่าที่มีเวลา โดยไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิเสมอไป
ทำได้ทุกอิริยาบท เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะการที่เรากำหนดดูอยู่ที่กาย ก็เป็นสมาธิอยู่แล้ว
แต่ไม่ได้หมายเอาความสงบ เพราะความสงบ “ตรัสรู้” ไม่ได้
เพราะขณะที่มีความสงบ ตัวสังขารจะไม่ทำงาน เมื่อสังขารไม่ทำงาน ปัญญาก็ไม่เกิด
ต้องอาศัยการคิดค้น จึงจะรู้ความจริง เมื่อเข้าใจความจริงแล้ว จึงปล่อยวางตัวสังขารอีกที
เพราะคิดค้นจึงรู้ เมื่อรู้แล้วจึงปล่อยวางความคิดไป
เพราะความคิดก็เป็นเพียงสังขารขันธ์ เป็นของสมมุติ เป็นของไม่เที่ยงเช่นกัน

ทำและพิจารณาอย่างนี้ไปนานๆ ก็จะเกิดความชำนาญขึ้นเอง
เมื่อชัดเจนขึ้น จิตจะยอมรับเองและจะปล่อยวางในที่สุด
ถ้ายังไม่ปล่อยวางก็ทำต่อไป จนเข้าไปเห็นความจริง และจิตยอมรับ
ทำซ้ำๆ โดยการหาเราในความเป็นรูป และหาเราในความเป็นนาม
ว่ามีเราอยู่ตรงไหน ให้เน้นดูใน ธาตุทั้งสี่(รูป)ในกายนี้ว่ามีเราอยู่ตรงไหน
ในเมื่อหาเราในธาตุทั้งสี่ที่กาย ไม่มีเราแล้ว ก็ยกนามทั้งสี่(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
ขึ้นมาหาว่ามีเราอยู่ตรงไหน เมื่อนามทั้งสี่ไม่มีเราแล้ว ก็ย้อนกลับมาหาเราใน “ตัวผู้รู้”
ว่ามีเราอยู่ตรงไหน ทั้งที่ตัวผู้รู้ ก็เป็น วิญญาณขันธ์ นั่นเอง
ก็ไม่เที่ยงเช่นกัน เมื่อเห็นอย่างนี้จะมีอะไรให้หลง
เพราะทุกอย่างเป็น “สมมุติของขันธ์ 5” ทั้งหมดเลย จึงต้องวางทั้งหมด
จะได้ชื่อว่าปล่อยวางสมมุติ เพื่อเข้าสู่ความเป็นวิมุติ
คือหลุดพ้นจากการยึดมั่นในสมมุติทั้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวมันเองไม่เคยสมมุติว่าเป็นอะไร จิตนี้ กายนี้ ไม่ว่าธาตุไหนๆ
การละจากอุปทาน โมหะที่เข้าไปยึด นั้นไม่เนืองด้วยตัวตนเข้าไปซ้อนดำเนินการ ที่ว่าเจริญอะไรอีก ที่ พยายามละมันบ้าง พยายามหลุดจากมันบาง เพราะละมันเหลือเรา ไม่ใช่เรา หลุดจากมันหรือมันหลุดจากอะไร หรือรู้มันวางมัน ล้วนแต่เป็นเหตุเป็นสมุทัย
แต่หมายถึงความที่ไม่ติดไม่ยึดกันอยู่เองแล้ว หลุดอยู่เองแล้ว วางกันเองอยู่แล้ว ว่างอยู่เองแล้วหรือเรียกว่าอนิจัง อนัตตาไม่เป็นเหตุอยู่เองแล้วไม่ต้องอะไรกับอะไร ที่ตรงต่อสัจธรรมแล้ว สลายตัณหาอุปทาน หมายถึงยุติเหตุ
แค่ทบทวนนึกถึงความไม่ติดไม่ยึด ที่เป็นความจริงพื้นฐานเดิมแท้ของสรรพธาตุ สรรพสิ่ง ว่ามันไม่ยึดกันอยู่เองแล้ว ไม่ใช่ว่าเราไม่ยึดแต่หมายถึงมันไม่ยึดของมันอยู่เองแล้ว จึงไม่ต้องอะไรกับอะไร กับมันอีก เตือนใจบ่อยๆว่า ไม่ตั้ง ไม่ต้อง ไม่อะไรกับอะไร
นี้ละเนื้อหาการปลง ละ ช่างมัน แล้วๆไป ไม่ยึด และไม่ยึดกันอยู่เองแล้ว
ที่ไปอะไรกับมันเรียกว่ากรรมซ้อนธรรม หรือไม่ปลงนั้นเอง สร้างเหตุอยู่
สรุปยุติเหตุ ไม่สร้างเหตุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีขันธ์หนึ่งขันธ์ มีขันสองขันธ์ มีขันธ์ขันธ์เดียว กำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จากบทสวดมนต์
ไม่จะไม่ให้ว่าได้อย่างไร วิญาณขันธ์ เป็นตัวเดียวกันกับจิตเมื่อตายละสังขารก็ว่า จิตวิญญาณมัดหลุดออกจากร่าง ที่ไปตามกรรมตามเวรนั้นละ แสดงว่าเรามีตัวตนยึดในวิญญาณนี้ หรือธาตุรู้นี้ หลงว่าเป็นตัว กู ของกู จึงยังเวียนตายเวียนเกิด ในภพภูมิทั้งหลาย ไม่ปลง ส่งคืนธรรมชาติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเชิญฟังสนทนาธรรมออนไลน์ ผ่าโลก ผ่าธรรม จบโลกจบธรรม จบกรรม จบการปฏิบัติ
โดยหลวงพ่อโพธิศรีสุริยะ เขมรโต วัดร่มโพธิธรรม ที่ท่านได้เฉลย ไขข้อข้องใจ ให้แก่เหล่าบรรดาลูกศิษย์ภายในวัด พระสงฆ์จากวัดสวนโมกข์ และบุคคลอื่นฯที่เข้าไปเรียนถามธรรมะ

http://audio.palungjit.com/f29/สัจธรรม-ธรรมะบรรลุฉับพลัน-3964.html#post14499
คัดลอกทั้งหมดไปวางเพื่อค้นหา
แนะนำฟังสนทนาหลวงพ่อกับพระสวนโมกข์ จะได้ตรงเนื้อเลย ที่เขียนนี้อาจไม่ตรงบ้าง ไม่แจ่มแจ้งบ้าง ง่ายสุดคือไปฟังเองขอรับ

ขอให้ท่านมีส่วนในความ ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ข้อง ไม่คา แจ่มแจ้งในสัจธรรม ลุล่วงพ้นทุกข์ ตามองค์พุทธะ พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ หลวงพ่อโพธิศรีสุริยะ เขมรโต นั่นเทอญ


แก้ไขล่าสุดโดย yodchaw เมื่อ 26 ธ.ค. 2009, 19:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 18:24
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ตอบคำถามครับ

เท่าที่ผมอ่านการตอบแล้ว ส่วนมากจะว่ากันแต่เรื่องขันธ์ ๕ แล้วการปฏิบัติธรรมที่เป็นหลักสำคัญ
อยู่ที่จิตหรือว่าขันธ์ ๕ เริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม คือต้องเริ่มที่จิตหรือว่าอยู่ที่ขันธ์ ๕
เราต้องศึกจิตก่อนหรือว่าศึกษาขันธ์ ๕ ก่อนครับ
จำเป็นไหมครับต้องนั่งสมาธินานๆ เดินจงกลมนานๆ ครั้งละ ๒-๓ชั่วโมง
พอจะมีวิธีปฏิบัติธรรมแบบย่อ (ทางลัด)ไหมครับ

ขอบพระคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


panejon เขียน:
1) จิตคืออะไร ?


สวัสดีครับคุณพเนจร

จิตคือ สภาวะธรรมชาติที่รู้แจ้ง
และจิตคือ วิญญาณขันธ์ เรียกวิญญาณขันธ์ว่า ธรรมที่เป็นจิต
จิตเกิดร่วมเกิดพร้อมกับ เจตสิกธรรม 3 หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เจตสิกธรรม 3 ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์

เวลาเราพูดถึงจิต จะหมายถึงนามขันธ์ 4 ที่รวมกันนี้ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รวมเรียกว่าจิตครับ




เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


panejon เขียน:
1) หน้าที่ของจิตทำอะไร?


หน้าที่ของจิต คือทำหน้าที่รู้แจ้ง จิตมีหน้าที่ ๑๔ อย่างครับ

หน้าที่ของจิต (๓๓๑) กิจ หรือ วิญญาณกิจ ๑๔

(กิจของวิญญาณ, หน้าที่ของจิต)



๑. ทำหน้าที่ในการเกิด เรียกว่า ปฏิสนธิ คือเกิดร่วมเกิดพร้อมกับขันธ์ ๕ ในภพภูมิใหม่ (หน้าที่สืบต่อภพใหม่ ได้แก่จิต ๑๙ คือ อุเบกขาสันติรณะ ๒ มหาวิบาก ๘ รูปวิบาก ๕ อรูปวิบาก ๔)

๒.ทำหน้าที่ในการสืบต่ออุปนิสัย เรียกว่า ภวังค ทำอะไรตามที่ชอบตามที่คุ้นเคย และการนอนหลับ(หน้าที่เป็นองค์ของภพ ได้แก่จิต ๑๙ อย่างเดียวกับปฏิสนธิ)

๓.ทำหน้าที่ในการรับการสัมผัสนามรูปในปัจจุบันขณะ เรียกว่า อาวัชชนะ (หน้าที่คำนึงอารมณ์ใหม่ ได้แก่ จิต ๒ คือ ปัญจทวาราวัชชนะ และมโนทวาราวัชชนะ )

๔.ทำหน้าที่ในการเห็นพร้อมกับดวงตา เรียกว่า ทัสสนะ (หน้าที่เห็นรูป ได้แก่ จักขุวิญญาณ ๒)

๕.ทำหน้าที่ในการได้ยินพร้อมกับหู เรียกว่า สวนะ (หน้าที่ได้ยินเสียง ได้แก่ โสตวิญญาณ ๒)

๖.ทำหน้าที่ในการดมกลิ่นพร้อมกับจมูก เรียกว่า ฆายนะ (หน้าที่รู้กลิ่น ได้แก่ ฆานวิญญาณ ๒ )

๗.ทำหน้าที่ในการลิ้มรสพร้อมกับลิ้น เรียกว่า สายนะ (หน้าที่ลิ้มรส ได้แก่ ชิวหาวิญญาณ ๒)

๘.ทำหน้าที่ในการสัมผัสพร้อมกับร่างกาย เรียกว่า ผุสนะ (หน้าที่ถูกต้องโผฏฐัพพะ ได้แก่ กายวิญญาณ ๒)

๙.ทำหน้าที่ในการคิดนึกพร้อมกับจิตใจ เรียกว่า สัมปฏิจฉนะ (หน้าที่รับอารมณ์ ได้แก่ สัมปฏิจฉนะ ๒)

๑๐.ทำหน้าที่ในการพินิจพิจารณานามรูป ที่ได้สัมผัสจากอายตนะทั้ง ๖ เรียกว่า สันตีรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เข่นเมื่อวานทำอะไรมาบ้าง พรุ่งนี้จะทำอะไรบ้าง ปัจจุบันกำลังประสบกับเรื่องราวใด " ความรู้ของจิตที่มาทำหน้าที่ตรงนี้แหละเจ้าค่ะ ที่เรียกว่า ลางสังหรณ์ " (หน้าที่พิจารณาอารมณ์ ได้แก่ สันตีรณะ ๓ )

๑๑. ทำหน้าที่ในการตัดสินใจเชื่อถือหรือไม่เชื่อถือนามรูปนั้นว่าจริงหรือเท็จ พร้อมกับการทำความเข้าใจเพื่อรู้แจ้งนามรูปนั้นตามภูมปัญญาของจิต เรียกว่า โวฏฐัพพนะ หรือ โวฏฐปนะ (หน้าที่ตัดสินอารมณ์ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนะ ๑)

๑๒..ทำหน้าที่ในการพินิจพิจารณาการกระทำที่ได้สัมผัสจากอายตนะทั้ง ๖ ว่าจะตอบสนองต่อนามรูปนั้นอย่างไร เรียกว่า ชวนะ คือจะตัดสินใจจะทำดี หรือทำชั่ว หรือเสพความสุขความทุกข์ดี (หน้าที่แล่นเสพอารมณ์ อันเป็นช่วงที่ทำกรรม ได้แก่ จิต ๕๕ คือ กุศลจิต ๒๑ อกุศลจิต ๑๒ กิริยาจิต๑๘ คือเว้นอาวัชชนะทั้งสอง โลกุตตรผลจิต ๔ )

๑๓...ทำหน้าที่ในการรับรู้อารมณ์ก่อนจิตที่ทำหน้าที่เป็นภวังค์ เรียกว่า ตทาลัมพนะ (หน้าที่อารมณ์ต่อจากชวนะก่อนตกภวังค์ ได้แก่ จิต ๑๑ คือ มหาวิบาก ๘ สันตีรณะ ๓)

๑๔. ..ทำหน้าที่ในการตาย เรียกว่า จุติ (หน้าที่เคลื่อนจากภพปัจจุบัน ได้แก่ จิต ๑๙ อย่างเดียวกับในปฏิสนธิ)



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 22:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


panejon เขียน:
2) จิตเดิมแท้เป็นแบบใหน อย่างไรเรียกว่าจิตเดิมแท้?


จิตเดิมแท้คือจิตปฏิสนธิของสัตว์โลกทั้งหลาย
จิตเดิมแท้มีคุณภาพและคุณลักษณะแตกต่างกันไปตามภพต่าง ๆ ที่สัตว์เหล่านั้นได้ไปปฏิสนธิครับ
1.อกุศลวิบากจิต เป็นจิตเดิมแท้ของสัตว์ในนรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรฉาน
2.กามาวจรกุศลวิบากจิต เป็นจิตเดิมแท้ของมนุษย์ และเทวดา
3.รูปาวจรกุศลวิบากจิต 5 เป็นจิตเดิมแท้ของรูปพรหมประเภทโลกียะฌาน
4.อรูปาวจรกุศลวิบากจิต 4 เป็นจิตเดิมแท้ของอรูปพรหมประเภทโลกียะฌาน
5.โสดาปัตติผลจิต เป็นจิตเดิมแท้ของพระโสดาบันที่จุติจากภพนึ่งไปปฏิสนธิในอีกภพหนึ่ง
6.สกทาคามีผลจิต เป็นจิตเดิมแท้ของพระสกทาคามีนที่จุติจากภพนึ่งไปปฏิสนธิในอีกภพหนึ่ง
7.อนาคามีผลจิต เป็นจิตเดิมแท้ของพระอนาคามีที่จุติจากภพนึ่งไปปฏิสนธิในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส


ส่วนพระอรหันต์จิตจุติอย่างเดียว ไม่ปฏิสนธิอีกแล้ว เรียกว่าดับขันธ์ปรินิพพานครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


panejon เขียน:
3) จิตจะมีได้เฉพาะชน,กลุ่มหรือว่าทุกสิ่ง?



จิตจะมีได้เฉพาะสัตว์โลกที่มีชีวิต ได้แก่สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม และพระอริยะเจ้าที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่ดับขันธ์ปรินิพพาน





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


panejon เขียน:
เท่าที่ผมอ่านการตอบแล้ว ส่วนมากจะว่ากันแต่เรื่องขันธ์ ๕ แล้วการปฏิบัติธรรมที่เป็นหลักสำคัญ
อยู่ที่จิตหรือว่าขันธ์ ๕ เริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม คือต้องเริ่มที่จิตหรือว่าอยู่ที่ขันธ์ ๕


จิตและขันธ์ คือสิ่งเดียวกันครับ เริ่มที่จิตก็คือการเริ่มที่ขันธ์นั่นเองครับ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2009, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


panejon เขียน:
เราต้องศึกจิตก่อนหรือว่าศึกษาขันธ์ ๕ ก่อนครับ


ศึกษาเรื่องขันธ์ 5 ก่อนครับ
เพราะจิตเป็นนามขันธ์ 4 ที่จะต้องรู้ ต้องเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง

มิฉะนั้นจะปฏิบัติธรรมผิดทางได้ครับ



เจริญในธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 64 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 143 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร