วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 15:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 พ.ย. 2009, 08:35
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีผมมีคำถามเกี่ยวกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจหน่อยนะครับ

ผมเห็นบางตำราบอกว่าต้องกำหนดลมหายใจให้ครบ 3 ฐาน คือ ต้นจมูก หน้าอกและสะดือ
ถ้ากำหนดไม่ครบ 3 ฐาน จะไม่สามารถทำฌานได้ จะได้อย่างมากก็แค่อุปจารสมาธิ
ไม่ทราบว่าข้อมูลนี้ถูกต้องมั๊ยครับ
ผมลองทำดูแล้ว แต่บอกได้เลยว่ายากมาก
แต่พอกำหนดเฉพาะที่ต้นจมูกที่เดียว รู้สึกว่าจิตมีสมาธิกว่าการกำหนด 3 ฐานซะอีก
แต่ก็เห็นในตำราบอกว่า ถ้ากำหนดแค่ฐานเดียวจะไม่สามารถทำฌานได้
อันนี้จริง-เท็จประการใด อยากให้ผู้รู้ช่วยตอบหน่อยครับ

เพราะถ้าต้องกำหนดให้ครบ 3 ฐานถึงจะได้ฌาน ผมก็จะได้ไปทางกสิณดีกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




0001.jpg
0001.jpg [ 40.91 KiB | เปิดดู 7449 ครั้ง ]
สวัสดีครับ

การบรรลุฌานสมาบัติด้วยอานาปานุสติกัมมัฏฐาน ไม่เกี่ยวกับการตั้งฐานแต่อย่างใดครับ

แต่เกี่ยวกับคุณภาพจิตครับ

สมาธิหรือฌาน คือ กุศลจิตที่สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายครับ




สำหรับผู้ฝึกใหม่ ๆ จะตั้งฐานก็ได้ครับ ผมแนะนำให้ตั้งฐานที่ลมกระทบเย็นที่ช่องจมูก 1 ลมกระทบเย็นที่ระหว่างคิ้ว 1 และลมกระทบเย็นที่ลำคออีก 1


การกำหนดรู้ที่ลมกระทบเย็นเป็นการสร้างผัสสะครับ ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ปีติ สุข และอุเบกขาในฌาน หรือกุศลจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้นได้เร็วเพราะผัสสะเป็นปัจจัยครับ




แต่คนที่จิตมีคุณภาพดีอยู่แล้ว เป็นกุศลอยู่แล้วไม่ต้องตั้งฐานเลยก็บรรลุรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และโลกุตตระฌาน 4 ได้ครับ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 11 ธ.ค. 2009, 21:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Dham เขียน:
พอดีผมมีคำถามเกี่ยวกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจหน่อยนะครับ

ผมเห็นบางตำราบอกว่าต้องกำหนดลมหายใจให้ครบ 3 ฐาน คือ ต้นจมูก หน้าอกและสะดือ
ถ้ากำหนดไม่ครบ 3 ฐาน จะไม่สามารถทำฌานได้ จะได้อย่างมากก็แค่อุปจารสมาธิ
ไม่ทราบว่าข้อมูลนี้ถูกต้องมั๊ยครับ
ผมลองทำดูแล้ว แต่บอกได้เลยว่ายากมาก
แต่พอกำหนดเฉพาะที่ต้นจมูกที่เดียว รู้สึกว่าจิตมีสมาธิกว่าการกำหนด 3 ฐานซะอีก
แต่ก็เห็นในตำราบอกว่า ถ้ากำหนดแค่ฐานเดียวจะไม่สามารถทำฌานได้
อันนี้จริง-เท็จประการใด อยากให้ผู้รู้ช่วยตอบหน่อยครับ

เพราะถ้าต้องกำหนดให้ครบ 3 ฐานถึงจะได้ฌาน ผมก็จะได้ไปทางกสิณดีกว่า

-------
ถูกต้องครับ ถ้าอยากชำนาญในอานาปานสติแล้วล่ะก็ ต้องกำหนด จับลมให้ได้ 3ฐานดังกล่าว
เพราะถ้าไม่ได้ ก็ไม่ชำนาญ และการตั้งอยู่ของสมาธิ ก็ไม่นาน และไม่มีความละเอียด ในตัวลม ได้แค่ลมหยาบๆ หรือจะได้บ้างแต่ก็ไม่ตั้งอยู่นาน จับสองหรือจับหนึ่งจุด ก็ได้เหมือนกัน แต่ก็ ไม่มีความชำนิชำนาญ เหมือน 3ฐาน เพราะจะลึกและละเอียดมากกว่ามาก(หาอ่านหาฝึกได้ในหนังสือ อานาปานสติ ของหลวงพ่อพุทธทานครับ)

และที่ว่า กำหนดที่เดียวมีสมาธิมากกว่าก็จริงอีก แต่ เราจะไม่รับรู้ถึง ตัวลมอย่างแท้จริง ในการที่ลมนั้นวิ่งเข้าไป วิ่งออกมา เพราะในตัวลมนั้นเราสามารถพิจารณา ไตรลักษณ์ได้ชัดเจนดีทีเดียวถ้าทำถึง 3 ฐาน
แม้ว่าจะกำหนดยากซักหน่อยในช่วยแรกๆการฝึกก็ตาม ต้องใช้ความอดทนอย่างมาก

ในคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค ก็กล่าวถึงลม 1 2 และ 3 ฐาน ว่ามีความแต่ต่างกันอย่างไรเหมือนกัน และยังได้กล่าวถึงว่า แล้วแต่ ว่า ใครเคยทำมาในอดีตชาติด้วย ว่า บางคนเคยดูมาแค่ฐานเดียวก็จะได้ฐานเดียว ไปฝึก 2 ฐานนั้นก็ยากอยู่ หรือ บางคนฝึก 2ฐานมาก จะมาดู 3 ฐาน ก็ยากอยู่เหมือนกัน

แต่ถ้าฝึกได้ถึง 3 ฐาน นั้นหมายเอาจะได้ สมาธิโดยง่าย แล้วก็จะได้อภิญญาตามมาโดยง่ายได้เหมือนกัน :b53: :b53:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 00:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Dham เขียน:

ถ้ากำหนดไม่ครบ 3 ฐาน จะไม่สามารถทำฌานได้ จะได้อย่างมากก็แค่อุปจารสมาธิ
ไม่ทราบว่าข้อมูลนี้ถูกต้องมั๊ยครับ


ไม่ถูกต้องครับ..

เป้าหมายการทำสมาธิ..คือ..ทำให้จิตตั้งมั่น

ปกติ..จิตมันจะซัดส่าย..ไม่ตั้งมั่น

ต้องหาอะไรบ้างอย่าง..ให้เป็นที่เกาะของจิต..มีกันได้หลายอย่าง..หนึ่งในนั้นคือรู้ลมหายใจเข้าออก..

หากคนจิตฟุ้งซ่านน้อย..ระลึกรู้ลมเข้าออกที่จุดเดียว..ก็อาจจะพอทำให้จิต..ตั้งมั่นได้

แต่ถ้าเป็นคนที่ปกติฟุ้งซ่านมาก..คงต้องตามระลึกรู้ลมหลาย ๆ จุดหน่อย..เพียงเพื่อประคองไม่ให้จิตวอกแวกไปเรื่องอื่น..เมื่อจิตรู้อยู่เรื่องเดียว..ก็ตั้งมั่นได้ครับ

หากใช้การระลึกรู้ลมหายใจ..ไม่ทำให้จิตเราเป็นสมาธิได้ง่ายก็ลองเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่น ๆ ดูบ้างก็ได้..

เมื่อจิตตั้งมั่นบ่อย ๆ จนชิน..จนเป็นปกติได้..ถึงตอนนั้นที่เกาะก็ไม่จำเป็นต้องใช้แล้วละครับ..จิตมันรู้งานแล้วละ..


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 12 ธ.ค. 2009, 00:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 02:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การนั่งอย่างกำหนดลมหายใจแบบสติปัฏฐานนะคะ เข้าข้อแรก รู้กายในกาย ในที่นี้คือ รู้ว่าลมเข้าจมูก เข้าท้อง แล้วก็เข้าปอด พอกายใจออก ก็ท้องแฟบ อกแฟบ ฯลฯ

แค่รู้ก็พอค่ะ อย่าไปสนใจว่าจะต้องสูกเข้ายังไง ปล่อยออกแบบไหน แค่รู้มันเฉยๆ ก็พอค่ะ จุฬาภินันท์ลองแล้ว ได้ผลจนมีปัญญาค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 03:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2009, 20:05
โพสต์: 60

แนวปฏิบัติ: พิจารณา......
ชื่อเล่น: ดุ๊กดิ๊กๆ
อายุ: 24
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาเป็นว่า สรุปง่ายๆครับ

ปฏิบัติอย่างไหนสติตั้งมั่นรู้ได้ง่ายและชำนาญสำหรับตนเองนั่นคือถูกที่สุด

การฟังผู้อื่นมากแล้วทำให้ตนลังเลเกิดวิจิกิจฉาในสมาธิตนนั่นเห็นทีจะไม่ถูกครับ

จริตคนนั่นต่างกันไป คนนั้นทำอย่างนั้นถนัดของเขานั่นมันก็เขา
เราถนัดอย่างไรนั่นมันก็เรา อย่าเอาเขากับเรามาปนกัน

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 07:32
โพสต์: 95

แนวปฏิบัติ: หลักวิถีธรรมชาติ - อานาปานสติ,บริกรรมภาวนา
ชื่อเล่น: นุ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าไปสงสัยในวิธีการที่เราเลือกแล้ว เช่น อานาปานสติ หรือ คำบริกรรมภาวนา หรือ การกำหนดรู้อารมณ์จิต การตามรู้กาย(การเคลื่อนไหวไปมา)

พยายามทำให้เป็น ภาวิตา พหุลีกตา - ภาวนาให้มากๆ อบรมให้มากๆ กระทำให้ชำนิชำนาญ
ครับ ฝึกฝนบ่อยๆ อบรมบ่อยๆ แล้วภูมิจิตภูมิใจจะก้าวหน้าไปเอง ไม่ต้องสงสัย

ขอให้ตั้งใจปฎิบัติครับ ทุกวันนี้ตัวผมเองก็ได้เพียง สมาธิขั้นอุปจารสมาธิ มาเกือบปีแล้ว จิตยังไม่ลงไป ขั้นอัปปนาสมาธิ สักที ผมก็ยังไม่ท้อแท้เลยครับ การฝึกสมาธิจิตแต่ล่ะขั้นก็เหมือน เทน้ำลงในตุ้มในโอ่งแหละครับ เมื่อเราฝึกถึงขั้นนั้นแล้วอบรมบ่อยๆเค้า พอเต็มปั๊บ ก็จะไปขั้นต่อๆไปเอง

...ขอให้เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
จงทำศีลให้เป็น อธิศีล
ทำจิตให้เเป็น อธิจิต
ทำปัญญาให้เป็น อธิปัญญา


พื้นฐานคุณธรรมความเป็นมนุษย์คือ ศีล๕ กุศลกรรมบถ๑๐ หิริโอตัปปะ และความกตัญญู กตเวทิตา

จุดสูงสุดของการรู้ธรรม เห็นธรรม ก็คือ
...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 07:32
โพสต์: 95

แนวปฏิบัติ: หลักวิถีธรรมชาติ - อานาปานสติ,บริกรรมภาวนา
ชื่อเล่น: นุ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเห็นด้วยกับ คุณ กบนอกกะลา ครับ การปฎิบัติสมาธิภาวนานั้น ตามหลักของ องค์พระสัมาสัมพุทธเจ้า ก็คือ การฝึกอบรมให้จิต เป็นอิสระ มีสติ สัมปะชัญญะ สมบูรณ์ มีกำลังเข้มแข็ง อยู่เหนืออารมณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง

อย่าไปตั้งความหวังไว้ว่าต้องได้ขั้นนั้นๆ หรือได้อะไรก็แล้วแต่ ให้ปล่อยวางความคิดแบบนั้นๆไป แลัวตั้งใจฝึกในวิธีการที่เราตั้งใจไว้ เมื่ออบรมดีแล้ว สิ่งต่างๆก็จะมาเอง แต่ผู้ปฎิบัติ ขอให้ยึดหลัก
แห่งสังฆคุณ คือ ปฎิับัติดี ปฎิบัติตรง ปฎิบัติเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง ปฎิบัติชอบยิ่ง นั้นก็คือ สัมมาสมาธิ ครับ

.....................................................
จงทำศีลให้เป็น อธิศีล
ทำจิตให้เเป็น อธิจิต
ทำปัญญาให้เป็น อธิปัญญา


พื้นฐานคุณธรรมความเป็นมนุษย์คือ ศีล๕ กุศลกรรมบถ๑๐ หิริโอตัปปะ และความกตัญญู กตเวทิตา

จุดสูงสุดของการรู้ธรรม เห็นธรรม ก็คือ
...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับทุกความเห็น...คะ

แต่สนใจความเห็นของ...ท่านมหาราชันย์...ค่ะ

มหาราชันย์ เขียน:

แต่คนที่จิตมีคุณภาพดีอยู่แล้ว เป็นกุศลอยู่แล้วไม่ต้องตั้งฐานเลย

เจริญในธรรมครับ


พอจะ แจงรายละเอียดพอสังเขปได้รึเปล่าคะ..
จิตอันเป็นกุศล อันเป็นฐานในการทำสมาธิ เพื่อให้เป็น สัมมาสมาธิ ค่ะ...

และ เหตุอันการไม่ต้องตั้งฐาน...ค่ะ...
เพราะว่า...น่าจะเป็นประโยชน์ต่อใครหลาย ๆ คน จะได้ไม่ต้องคอยพะวงกับ
การกำหนดลมตามฐาน

จริง ๆ แล้ว สรุปคำถาม ก็น่าจะรวมความได้ว่า...
การกำหนดตามฐาน มีประโยชน์อย่างไร ต่อผู้ปฏิบัติ และ เหตุอันไม่ต้องกำหนดตามฐาน

:b8: :b8: :b8:

:b55: :b53: :b55: :b53: :b55: :b53: :b55: :b53:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 12 ธ.ค. 2009, 16:29, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 17:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 16:48
โพสต์: 5

อายุ: 11

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฎิบัติสมาธิภาวนา ต้องทำด้วยความเต็มใจ :b55: :b54: :b51: :b50: :b45: :b46: :b47: :b48: :b49:

.....................................................
ทำดีได้ดีเสมอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของ อุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธินั้น อย่าสนใจมากเลย... เรารู้สึกว่า คำสองคำนี้ เขาบัญญัติขึ้นมาเพื่อปลอบใจคนที่ทำสมาธิได้ไม่ดี คือ แม้จะไม่ได้ฌาณ แต่ก็ได้ขั้นอุปจารสมาธิ อะไรแบบนั้น

ฌาณคืออะไร ไม่ว่าจะฌาณระดับไหน ก็มีสิ่งหนึ่งร่วมกันคือ เอกคัตตา ว่าง่ายๆ คือ ไม่ฟุ้งซ่านนั่นแหล่ะ ฟุ้งซ่านก็คือ คิดเป็นเรื่องเป็นราวเป็นฉากๆ และมีอารมณ์ร่วม (จุดสำคัญเลยนะ คือต้องมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยว) ถ้าไม่ฟุ้งซ่านก็คือได้ฌาณแล้ว ดูเหมือนง่าย แต่ไม่ง่ายหรอก อิอิ

ส่วนวิธีการนั้น ค่อนข้างจะขึ้นอยู่กับแต่ละคน... สอนคนทำสมาธิ เหมือนสอนให้คนทรงตัว ซึ่งสอนยากนะ แต่อาจจะบอกวิธีหลักๆ ได้ เช่นวางเท้าให้ตรง เกร็งก้นหน่อยๆ อะไรแบบนั้น อิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2009, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
พอจะ แจงรายละเอียดพอสังเขปได้รึเปล่าคะ..
จิตอันเป็นกุศล อันเป็นฐานในการทำสมาธิ เพื่อให้เป็น สัมมาสมาธิ ค่ะ...

และ เหตุอันการไม่ต้องตั้งฐาน...ค่ะ...
เพราะว่า...น่าจะเป็นประโยชน์ต่อใครหลาย ๆ คน จะได้ไม่ต้องคอยพะวงกับ
การกำหนดลมตามฐาน

จริง ๆ แล้ว สรุปคำถาม ก็น่าจะรวมความได้ว่า...
การกำหนดตามฐาน มีประโยชน์อย่างไร ต่อผู้ปฏิบัติ และ เหตุอันไม่ต้องกำหนดตามฐาน




สวัสดีครับคุณเอรากอน

ขณะที่คุณเอรากอนมีปีติ สุข จิตแช่มชื่นใจในการให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาธรรมอย่างนี้ เรียกว่าจิตคุณเอรากอนเป็นกุศลแล้วครับ จิตที่เป็นกุศลแบบนี้ยังมีกามสัญญาและนิวรณ์ 5 ครอบงำอยู่บางเบา


เมื่อคุณเอรากอนมาสนใจลมหายใจเข้าออก กามสัญญาย่อมดับไปเพราะมาสนใจสัญญาในสมาธิที่เกิดขึ้น คุณภาพจิตคุณเอรากอนก็จะเปลี่ยนไป กุศลจิตของคุณเอรากอนก็จะเป็นจิตที่สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย มีลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ กำจัดนิวรณ์ 5 ได้ ปีติ สุข ที่เกิดเรียกว่าเป็นปีติ สุขในปฐมฌาน


ลมหายใจเข้าออกเป็นกัมมัฏฐานที่มีนิมิตครับ
การตั้งฐานของผู้ปฏฺบัตินั้น ก็เพื่อสร้างนิมิตให้เกิดขึ้นในปฐมฌาน หรือรูปฌาน 4 อันจะเป็นบาทใน อรูปฌานอีก 4 ในลำดับต่อไป

แต่คนที่จิตเป็นกุศลนั้นเมื่อระลึกนึกถึงลมหายใจเข้าออกก็จะเกิดนิมิตขึ้นมาเป็นลักษณะละอองหมอก หรือกลมใสสว่างในวงหน้าได้ง่ายรวดเร็ว หรือทันทีที่นึกถึงลมหายใจเข้าออก เมื่อได้นิมิตแล้วก็อาศัยนิมิตที่ได้เจริญรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และโลกุตตระฌาน 4 กันต่อไป ไม่ต้องตั้งฐานให้เสียเวลาครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2009, 22:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b36: เตรียมใจให้พร้อมในการทำสมาธิ สวดมนต์ อธิษฐานจิตสักนิดก็ดี แล้วนั่งหลับตานั่งสมาธิทำใจให้สบายๆ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก บริกรรมพุท-โธด้วย จิตจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้ามีเวทนาก็กำหนดรู้
เมื่อหายจากเวทนาก็บริกรรมต่อไปเรื่อย เมื่อถึงจุดหนึ่งจิตสงบคำบริกรรมจะหายไปเอง เพราะจะเกิด ปิติ
อิ่มเอิบใจ และสุข(แบบสุดๆ) จิตสงบตั้งมั่น เด่นดวง(เป็นดวงจริงๆ) อยากอยู่ในสมาธินานแค่ไหนก็ได้
ปล่อยผ่านไป ไม่ยึดติดสุข จิตจะเป็นอุเบกขา (อภิญญาจะเกิดเอง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2009, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้ากำหนดไม่ครบ 3 ฐาน จะไม่สามารถทำฌานได้ จะได้อย่างมากก็แค่อุปจารสมาธิ

แค่อุปจาระสมาธิ ก้ดีมากโขแล้ว อย่าเพิ่งไปอยากได้ฌาณเลย การจะเจริญฌาณต้องอาศัยบารมีเก่า
ที่ติดตัวมาด้วย ถ้าคุณถนัดวิธีไหน เช่นดูลมที่ปลายจมูก แค่ฐานเดียวก้ทำฐานเดียวให้คล่องๆ เท่านี้ใช้ได้
เป้นสมาธิเหมือนกัน ไม่ต้องกำหนดทีให้ครบ3ฐาน ยังงี้อึดอัดแย่เลย เอาสบายๆพอจิตสงบก้ถือว่าokay
แล้ว ถ้าอยากทำให้ครบ 3 ฐาน ต้องทำฐานเดียวให้คล่องๆก่อน แล้วค่อยๆไล่อีก2 ฐานที่เหลือ
เพราะการทำให้ครบทั้ง3 ต้องอาศัยการหายใจยาวๆให้ได้ด้วย
หายใจเข้า ต้นลม อยู่จมุก กลางลมอยู่หัวใจ ปลายลมอยู่สะดือ
หายใจออก ต้นลม อยู่สะดือ กลางลมอยู่หัวใจ ปลายลมอยู่จมูก นับเป็นครั้งที่1
แล้วทำให้ได้สักสิบครั้งให้ได้ก่อน......
ถ้าอึดอัดก้เลือกฐานเดียวไปก่อน หรือหากจะทำ3 ฐาน ฐานไหนที่หายใจผ่านหากกำหนดไม่ทัน
ก็เลือกทำเพียง 2 ใน 3 ฐานไปก่อนอย่างงี้ก้ได้ครับ ไม่ต้องไปเป๊ะๆหรอก พอสงบๆเข้าก้จะกำหนด
ได้ทันทั้ง3 ฐานเอง พอจิตเป็นสมาธิมากเข้าจะกำหนดหนึ่งหรือสามฐาน-ความคิดและการกำหนด
จะค่อยๆหายไป เหลือแต่ความรู้สึกในอารมณ์ภาวนาที่ละเอียดเพียงอารมณ์เดียว

การได้ฌาณไม่ได้จำกัดต้องทำครบ3ฐานนะ ทำฐานเดียวก้ได้ เพราะเป็นอานาปานสติอันเดียวกัน หรือจะไปฝึกกสิณก้ได้ แต่ถ้าจะฝึกกสิณเอาฌานก้ได้ แต่ผมว่าฝึกอานาปานสติที่ปลายจมูก(ฐานเดียว)ที่ทำอยู่ตอนนี้ให้ชำนาญก่อน ค่อยไปทำกองกรรมฐานอื่นๆ :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: เห็นด้วยกับ คุณอินทรีย์ 5 ว่ากำหนด 1 ฐานก็สามารถเข้าฌานได้ ฝึกฐานเดียวให่คล่องก่อนดีไหม ทำได้ดีแล้วค่อยทำหลายฐาน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร