วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 13:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 15:56
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาติเล่าประสบการณ์ของผมนะครับเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เริ่มต้นปฏิบัติ
และอยากจะขอคำแนะนำจาผู้รู้ด้วยครับ :b1:

คือ ผมมาสนใจการฝึกสมาธิ เมื่อประมาณ 2-3 เดือนที่แล้ว เกิดจากการได้อ่านหนังสือ
ไอสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น และก็เล่มอื่นๆ อีกค่อนข้างหลายเล่ม ทำให้ผมเกิดศรัทธา ในองค์ สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างมาก บวกกับการฟังซีดีธรรมมะ ของพี่ที่ผมรู้จัก ที่มาวานผมช่วยไรท์ซีดีให้ ตอนแรกก็ไม่ได้สนใจอะไร คิดว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่พอได้มาลองฟังดู เรื่องราวต่างๆ ก็คล้ายกับ
ในหนังสือ เรื่องราวที่ทั้งผู้เขียนและผู้บรรยาย ได้เจริญภาวนา ได้ประสบพบเจอ ทั้งๆที่เป็นคนละ
คนกันแต่กับคล้ายกัน จึงเกิดการสงสัยว่าเป็นจริงหรือไม่ จึงอยากลองพิสูจน์ดู เพราะผมไม่เชื่อใน
เรื่องราวของปาฏิหารย์ต่างๆ เรื่องราวที่เกินจากความจิง ผมคิดว่ามันอาจเป็นแค่กุสโลบาย ให้คน
หันมาเชื่อ และหันมาทำความดี อย่างเช่นเรื่องของสวรรค์และนรก มันคงเป็นเรื่องปกติที่ผมเกิดมา
ในยุคที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า เกิดจะเชื่ออะไรที่เป็น นามธรรมจับต้องไม่ได้ จึงทำให้ผมอยาก
ทดลองดู

พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า วิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน นี้เป็น สายเอก เพื่อจะไปแห่งมรรคผลนิพพาน จึงทำให้ผมน้อมใจอยากเข้ามาลองปฏิบัติ

จนมื่อเดือนที่แล้วได้มีโอกาสเข้าไปปฏิบัติธรรมได้ 2 วัน ที่วัดภัททันตะอาภาสราม หลังขึ้นครูกรรมฐานเสร็จพระอาจารย์ บอกให้กำหนดยุบหนอ-พองหนอในตอนนั้น
นั่งกำหนดไปไม่ค่อยเเห็นอาการพอง-ยุบ และก็ไม่ค่อยสงบ ไปครั้งนั้นคิดว่าไม่ได้อะไรเลย

แต่ไม่เป็นอย่างนั้น พอผมขับรถกลับบ้าน เสียงที่เกิดขึ้นภายในรถกับดังอย่าง อย่างมาก
ขับรถไปก็กลับรู้สึกว่าทางไม่เรียบเหมือนเดิม ทุกๆการสั่นสะเทือนรับรู้ชัดขึ้นอาจเป็นผมว่าเป็น
เพราะ เรามีสติมากขึ้นก็ได้

หลังจากนั้นก็มีกำลังใจทำต่อไป แต่ว่าการดู พอง-ยุบ ไม่ค่อยชัดนัก ก็เลยลองไปหา
ศึกษาเพิ่มพบว่าสามารถ ฝึกสมถะกรรมฐานก่อนให้จิตนิ่งแล้วจึงค่อย วิปัสสนาได้ ก็เลยเริ่ม
ลองกำหนดแบบอานาปาณสติ กำหนดลมหายใจ พุท-โธ รู้สึกว่าตัวเองทำสมาธิง่ายขึ้น

วันที่สองที่ทำก็เป็นปกตินั่งด้วยท่าขัดสมาธิ ก็รู้สึกว่ามีสมาธิมากขึ้น แต่พอวันที่สาม ผมนั่งอยู่บนเก้าอี้ ไม่ได้ตั้งใจนักแล้วลองกำหนด พุท-โธ คราวนี้รู้สึกว่าลมหายใจที่มากระทบที่ขอบจมูกเบามากเลยครับ นั่งไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่ามือหายไป แล้วก็รู้สึกว่าตัวหายไปด้วย พอออกจากสมาธิก็รู้สึกดีใจมาก คิดว่าสมาธิเราน่าจะก้าวหน้าดีจัง

หลังจากนั้นวันต่อมาลองนั่งอีก แต่คราวนี้กับไม่สงบ และรู้สึกปวด และก็มึนหัวมาก พยายามทำให้สงบแต่ก็ไม่สงบ กลับไม่สงบเหมือนเมื่อวาน เริ่มเกิดอาการท้อ

หลังจากนั้นผมก็นั่งมาเรื่อย และก็ปวดหัวทุกครั้ง ซักพัก ผมจึงคิดว่าทำไมจึงปวดและมึนหัวทุกครั้งที่ออกจากสมาธิ ผมก็ลองเอาจิตไปสังเกตุที่บริเวณคิ้ว รู้เลยว่ามันเกร็งมาก จากนั้นก็เลยเข้าใจเลยครับ ว่าถ้าหากอยากให้มันสงบมันจะไม่สงบ ต้องปล่อย
ใจให้เป็นกลาง ไม่ต้องอยากให้มันเป็นเหมือนวันนั้น

ต่อจากนั้นผมก็ค่อยๆ คลายความรู้สึก มันก็คลาย แล้วผมก็ ภาวนาต่อ ก็รู้สึกตึงอีก ผมก็เอาจิตไปสังเกตุอีกมันก็คลาย ทำอยู่อย่างนี้อยู่ตลอด

จากวันนั้นผมก็เริ่มทำสมาธิใหม่ คราวนี้สมาธิมันเริ่มเหมือนเดิม เริ่มคิดว่าสงบ ลมหายใจเบาขึ้นจนแทบไม่มีลมหายใจ แล้วที่แปลกก็ตรงที่คำว่า พุท-โธ เริ่มเบาเรื่อยๆ ตอนนั้นรู้สึกว่ามันเบาเหลือเกิน ออกจากสมาธิ รู้สึกว่า ไม่ง่วงนอนเลย แต่ปกติเป็นคนชอบง่วงในเวลากลางวัน

มีอยู่วันหนึ่งวันนั้นก็ไม่ได้กะจะนั่งสมาธินะครับกำลังหยิบหนังสือมาอ่านจากล็อคเกอร์ ก็เห็นได้เห็นเส้นสั้นๆ เป็นสีๆ อยู่เต็มไปหมด คล้ายๆมองภาพผ่านคอม ผมจึงมองมาทางซ้าย ก็ยังเห็นอยู่ หันไปมาตรงๆ ก็เห็น แต่ผมจึงพยายามจะจ้องมองดูว่ามันเป็นอะไร มันกลับหายไป อาจเป็นภาพลวงตาก็ได้ แต่ก็สงสัย หลังจากนั้นก็เลยลองนั่งสมาธิ แต่คราวนี้กลับไม่เห็นอะไร แล้วแถมยังไม่สงบอีก คงเ้ป็นเพราะใจผมคงจะอยากเห็นและอยาก
รู้ว่าสิ่งที่ผมได้เห็นคืออะไร บางครั้งผมก็คิดว่าการทำสมาธินั้นง่ายๆ แต่บางทีก็แสนยาก ไม่ว่าจะพยายาม
แค่ไหนก็ไม่สงบ เกิดอาการท้อ

แต่แล้วผมก็มานั่งวิเคราะห์ว่าทำไมไม่สงบ อาจจะเป็นเพราะความอยากเห็นภาพนั้นอีก เหมือนกับ
ตอนแรกที่อยาก อยากให้สมาธิสงบ จึงเริ่มมาตัดความอยาก หลังจากนั้นได้ลองปฏิบัติดูก็พบว่ายังไม่สงบ
แต่อาจเป็นเพราะผมอาจจะแค่ตัดความอยากออกไปจาสมองเพียงอย่างเดียวแต่ในจิตอาจจะมีความอยาก
อยู่ ผมจึงรู้ทันทีเลยครับว่ามันช่างละเอียดอ่อนจัง จึงทิ้งจากการนั่งไป 2-3 วัน ลืมเรื่องนั้นไปเลย

ลองกลับมานั่งดูคราวนี้สงบเหมือนกับครั้งแรกๆ ลมหายใจเเบาลงเรื่อยๆ จนเหมือนไม่ได้หายใจเลยครับ ( ลืมบอกไปครับผมไม่ได้นั่งขัดสมาธิพอดีนั่งบนเก้าอี้น่ะครับ ) แต่พอนั่งไปได้ซักพัก เหมือนลืมภาวนาไป เลยกลับมาภาวนาต่อ พอภาวนาต่อได้ซักพัก คราวนี้ ตัวผมเริ่มสั่นครับ สั่นเหมือนว่าหนาวสั่นมันไม่ยอมหยุด ผมสั่นอยู่ได้ซักพัก ผมก็กำหนดรู้หนอ แต่มันก็ไม่หาย คราวนี้ผมเปลี่ยนใหม่ไม่สนใจกับอาการสั่น หันกลับมาภาวนา พุท-โธ ต่อ ซักพักอาการสั่นก็หายไป คราวนี้สมาธิกลับมาเหมือนตอนเพิ่งเริ่มนั่ง คือได้ยินเสียงรอบๆ ชัด จึงไม่แน่ใจ อาจจะสมาธิหลุดหรือเปล่าก็ไม่รู้ เลยนั่งอีกพักก็เลยเลิกไป อยากรู้เหมือนกันครับว่า อาการสั่นมันคือ อะไร แล้วต่อไปต้องทำยังไง

แต่หลังจากนั้นผมก็ลงไปหาความรู้ในอินเตอร์เน็ตครับ อ่านดูที่อาการ ของ ปิติ เทียบดู แต่ก็ไม่แน่ใจ เพราะไม่มีอาการสั่น เห็นมีแต่อาการ ตัวโยก หรือเห็นเป็นแสง ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่าครับ

ต่อมาผมก็ทำสมาธิอยู่เรื่อยรู้สึกว่า ลมหายใจมันเบามาก ขนาดตอนออกจากสมาธิ มันก็ยังเบาครับ ข้อดีของมันก็คือ ผมเข้าสมาธิได้เร็วกว่าเดิม ( ปกติต้องประมาณครึ่งชั่งโมง กว่าจะรู้สึกว่าลมหายใจเบา แล้วก็ตัวเหมือนหายไปแต่ตอนนี้รู้สึกว่าไม่น่าถึง ) แต่มันเป็นอุปสรรค เพราะว่าช่วงหลังมานี้ตั้งแต่เริ่มทำสมาธิจับลมหายใจไม่ได้เลยครับ บางครั้งเพิ่งเริ่มหลับตาได้พักเดียวเริ่มลืมคำภาวนาซะแล้ว ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อดีครับ จะใช้อะไรกำหนดต่อไปดีวานผู้รู้ช่วยแนะนำทีครับ สมาธิใกล้เข้าฌานหรือยัง และมีตรงไหนที่ต้องแก้ไขบ้างครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูท่าทางสติไม่ค่อยมั่นคง ถ้าสมาธิดี สงบกว่านี้ ก็คงเข้าภวังค์ไป... แต่ก็ไม่มีอะไรหรอกนะ ก็ฝึกจิตไปเรื่อยๆ
ได้ฌาณรึยัง น่าจะยังนะ เพราะดูจะยังฟุ้งซ่านอยู่ คำภาวนาหายไปก็พยายามนึกเข้า... ส่วนอาการที่ว่ามา ก็น่าจะเป็นปิตินั่นแหล่ะ เป็นอาการรับรู้แปลกๆ ไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น ตัวใหญ่ ตัวเล็ก ตัวลอย ขนลุก ฯลฯ

ฝึกสมาธิ 2-3 เดือน นับว่าจิ๊บจ๊อยมากนะ เขาว่ากันเป็นปี บางรายเป็น 10 ปี :b6: :b6: :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 พ.ย. 2009, 07:32
โพสต์: 95

แนวปฏิบัติ: หลักวิถีธรรมชาติ - อานาปานสติ,บริกรรมภาวนา
ชื่อเล่น: นุ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Dhamma T-PO ผมขอแนะนำให้ลองฟัง การปฎิบัติสมาธิภาวนา ของ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ลองฟังดูครับ ท่านสอนได้อย่างถูกต้อง เข้าใจง่าย ขอแนะนำครับ(ผมยึดถือท่านเป็น ครูอาจารย์กรรมฐาน ของผมเอง)
อันนี้เป็น ตัวอย่างครับ http://www.mediafire.com/?o2zz4tdnynt ลองชมดูครับ

แลัวคุณDhamma T-PO จะหมดคำถามและข้อสงสัยต่างๆ แล้วจะมีำความพากเพียรขึ้นๆไปอีก
...ส่วนจะคิดว่าเราได้สมาธิขั้นไหนนั้น หรือ ได้ฌาณหรือยัง ไม่ต้องไปใส่ใจครับ ขอให้พากเพียรพยายามไปเรื่อยๆครับ

ขออนุโมทนาครับ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
จงทำศีลให้เป็น อธิศีล
ทำจิตให้เเป็น อธิจิต
ทำปัญญาให้เป็น อธิปัญญา


พื้นฐานคุณธรรมความเป็นมนุษย์คือ ศีล๕ กุศลกรรมบถ๑๐ หิริโอตัปปะ และความกตัญญู กตเวทิตา

จุดสูงสุดของการรู้ธรรม เห็นธรรม ก็คือ
...สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ...สิ่งนั้นมีความดับไปเป็นธรรมดา


แก้ไขล่าสุดโดย ภาวิตา-พหุลีกตา เมื่อ 08 ธ.ค. 2009, 22:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุโมทนาด้วยครับ ฝึกแป็บเดียว ลมละเอียด ดีจัง

ตามประสบการณ์ที่ปฏิบัติมา เป็นเพียงอาการ ของ สมาธิเบื้องต้นทั้งนั้น และ เท่านั้นเอง ยังไม่มี อะไรที่ชัดเจน เกี่ยวกับ ตัวลม อานา โดยตรง ถ้าจะให้ทำสติหรือเรียกว่า ได้สมาธิจริง ๆ แล้ว คือการดูลมหายได้ติดต่อกันได้ไม่ขาดสายตลอด 24 ช.ม. ต่างหาก ถ้าทำได้ อย่างนั้น ก็จะได้ สมาธิขั้นหนึ่ง แต่ไม่ต้องสนใจว่า อะไร เพราะการทำสมาธินั้น ต้องการผล คือ ความสงบ เพื่อเอาเป็นกำลัง เพื่อมาดู ความจริงของธรรมชาติว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ุถ้ากำลังสมาธิเพียงพอ เมื่อกำหนด ก็จะเห็น ไตรลักษณ์ทั้ง 3 อย่างใดอย่างหนึ่ง นั้น คือปัญญาแท้ จริงในพระพุทธศาสนา ต่างหาก

ถ้าต้องการรายละเอียด มาำกๆ ขอแนะนำให้หาหนังสือ หลวงพ่อพุทธทาส เกีี่ยวกับอานาปานสติ ล้วน จะดีมากครับ แล้วฝึกตามนั้นเลย

ผมก็ใช้แนวหลวงพ่อพุทธทาสครับ
cool

:b8: กรรมที่ทำแล้วย่อมให้ผล :b55:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ย. 2009, 21:54
โพสต์: 5

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วาง และ ว่าง ครับ อย่างเดียว และเน้นหนักให้มั่นครับ "ว่าง" และ "วางซะ" ทุกอย่างจะเป็นของคุณ เพียงแค่ วาง และ ว่าง ให้เป็น โมทนาบุญด้วยนะครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2009, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 พ.ย. 2009, 18:14
โพสต์: 435

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัญชน ศรีแสงธรรม เขียน:
วาง และ ว่าง ครับ อย่างเดียว และเน้นหนักให้มั่นครับ "ว่าง" และ "วางซะ" ทุกอย่างจะเป็นของคุณ เพียงแค่ วาง และ ว่าง ให้เป็น โมทนาบุญด้วยนะครับ :b8:


:b8: คำตอบคุณ ตรงดีจังเลยค่ะ ดูง่ายแต่ทำยาก ถ้าทำได้ทุกอย่างจะเป็นของคุณค่ะ

ผ่อนคลายปล่อยวางร่างกายทุกส่วนให้เบาสบายที่สุด วางจิตวางใจให้ว่างจากทุกสิ่ง ปล่อย วาง ว่าง เบา สบาย

:b8: โมทนาบุญด้วยค่ะกับผู้ตั้งกระทู้และผู้ตอบ

.....................................................
สรุปคำสอนของสมเด็จองค์ปฐม
"ท่านทั้งหลาย การหลบหลีกไม่ต้องตกอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น เป็นของ ไม่ยาก
1. ขอทุกท่านจงอย่าลืมความตาย จงคิดว่าความตาย อาจจะมีกับเราเดี๋ยวนี้ไว้เสมอๆ
2. เคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ ด้วยศรัทธาแท้ (ด้วยความจริงใจ)
3. มีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และ
4. เป็นกรณีพิเศษ ปฏิเสธการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา นางฟ้า และพรหม ในชาติต่อไป ทุกท่านเห็นนิพพาน แล้วตั้งใจไปพระนิพพานได้ในที่สุด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2009, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2009, 15:56
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณทุกคนมากครับสำหรับคำแนะนำ

แล้วผมจะสามารถเจริญวิปัสสนาเลยหรือไม่ครับ เคยลองพิจารณอยู่เหมือนกันครับ แต่ไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ เลยเลิกไป หรือต้องรอให้สมาธิดีกว่านี้ครับ

:b1: อยากทราบอีกอย่างครับว่า เพื่อนๆสมาชิก ฝึกแบบไหนกันบ้างครับ แล้วยึดใครเป็นครูครับ :b10: เหมือนอย่างท่าน ภาวิตา-พหุลีกตา ที่ยึดเอาหลวงพ่อพุธ เป็นครูกรรมฐาน และก็ท่าน moddam ที่ใช้แนวหลวงพ่อพุทธทาสน่ะครับ

:b8: ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2009, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2009, 18:56
โพสต์: 4

ชื่อเล่น: ~*มังคุด*~
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาด้วยนะคะ เพิ่งเริ่มต้นเหมือนกัน เป็นกำลังใจให้ ตอนนี้เดินตามหลวงพ่อจรัญอยู่อ่ะค่ะ ลงง่ายดี มีกำลังใจ คนเรามีจริตต่างกัน ยังไงขอให้เจอทางที่เหมาะสมนะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2009, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมมาสนใจการฝึกสมาธิ เมื่อประมาณ 2-3 เดือนที่แล้ว เกิดจากการได้อ่านหนังสือ
ไอสไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น และก็เล่มอื่นๆ อีกค่อนข้างหลายเล่ม ทำให้ผมเกิดศรัทธา ในองค์ สัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างมาก บวกกับการฟังซีดีธรรมมะ ของพี่ที่ผมรู้จัก ที่มาวานผมช่วยไรท์ซีดีให้ ตอนแรกก็ไม่ได้สนใจอะไร คิดว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่พอได้มาลองฟังดู เรื่องราวต่างๆ ก็คล้ายกับ
ในหนังสือ เรื่องราวที่ทั้งผู้เขียนและผู้บรรยาย ได้เจริญภาวนา ได้ประสบพบเจอ ทั้งๆที่เป็นคนละ
คนกันแต่กับคล้ายกัน จึงเกิดการสงสัยว่าเป็นจริงหรือไม่ จึงอยากลองพิสูจน์ดู เพราะผมไม่เชื่อใน
เรื่องราวของปาฏิหารย์ต่างๆ เรื่องราวที่เกินจากความจิง ผมคิดว่ามันอาจเป็นแค่กุสโลบาย ให้คน
หันมาเชื่อ และหันมาทำความดี อย่างเช่นเรื่องของสวรรค์และนรก มันคงเป็นเรื่องปกติที่ผมเกิดมา
ในยุคที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า เกิดจะเชื่ออะไรที่เป็น นามธรรมจับต้องไม่ได้ จึงทำให้ผมอยาก
ทดลองดู

พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า วิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน นี้เป็น สายเอก เพื่อจะไปแห่งมรรคผลนิพพาน
จึงทำให้ผมน้อมใจอยากเข้ามาลองปฏิบัติ



สาธุ ศรัทธาที่มีเหตุผล (อาการวตีศรัทธา) ของ จขกท. เมื่อเชื่อแล้วจึงต้องการพิสูจน์ว่า

จะมีจริงเป็นจริงอย่างที่พูดๆกันหรือไม่ คุณเริ่มต้นถูกต้อง ซึ่งง่ายกว่าเริ่มจากถูกบีบอัดด้วยทุกขโทมนัส

จากสภาพแวดล้อม แล้วคิดหนีจากทุกข์นั้นอารมณ์นั้น




อ้างคำพูด:
จนเมื่อเดือนที่แล้วได้มีโอกาสเข้าไปปฏิบัติธรรมได้ 2 วัน ที่วัดภัททันตะอาภาสราม
หลังขึ้นครูกรรมฐานเสร็จพระอาจารย์ บอกให้กำหนดยุบหนอ-พองหนอในตอนนั้น
นั่งกำหนดไปไม่ค่อยเห็นอาการพอง-ยุบ และก็ไม่ค่อยสงบ ไปครั้งนั้นคิดว่าไม่ได้อะไรเลย

แต่ไม่เป็นอย่างนั้น พอผมขับรถกลับบ้าน เสียงที่เกิดขึ้นภายในรถกับดังอย่าง อย่างมาก
ขับรถไปก็กลับรู้สึกว่าทางไม่เรียบเหมือนเดิม ทุกๆการสั่นสะเทือนรับรู้ชัดขึ้น
อาจเป็นผมว่าเป็นเพราะ เรามีสติมากขึ้นก็ได้


คุณเข้าใจถูกต้อง สติสมาธิ เป็นต้นเกิดแล้ว เหมือนๆ คนกำลังข้ามสะพานลอย

เดินข้ามมานมนาน ไม่เคยรับรู้สึกถึงการสั่นเสเทือนของสะพานเลย

ต่อเมื่อเริ่มทำกรรมฐานความรู้สึกอยู่กับตัวอยู่กับปัจจุบันอารมณ์มากขึ้น

ก็รับรู้ถึงการสั่นเสทือนของสะพาน



อ้างคำพูด:
หลังจากนั้นก็มีกำลังใจทำต่อไป แต่ว่าการดู พอง-ยุบ ไม่ค่อยชัดนัก ก็เลยลองไปหา
ศึกษาเพิ่มพบว่าสามารถ ฝึกสมถะกรรมฐานก่อนให้จิตนิ่งแล้วจึงค่อย วิปัสสนาได้
ก็เลยเริ่ม ลองกำหนดแบบอานาปาณสติ กำหนดลมหายใจ พุท-โธ รู้สึกว่าตัวเองทำสมาธิง่ายขึ้น

วันที่สองที่ทำก็เป็นปกตินั่งด้วยท่าขัดสมาธิ ก็รู้สึกว่ามีสมาธิมากขึ้น
แต่พอวันที่สาม ผมนั่งอยู่บนเก้าอี้ ไม่ได้ตั้งใจนักแล้วลองกำหนด พุท-โธ
คราวนี้รู้สึกว่าลมหายใจที่มากระทบที่ขอบจมูกเบามากเลยครับ นั่งไปเรื่อยๆ
ก็รู้สึกว่ามือหายไป แล้วก็รู้สึกว่าตัวหายไปด้วย
พอออกจากสมาธิก็รู้สึกดีใจมาก
คิดว่าสมาธิเราน่าจะก้าวหน้าดีจัง



ตัวหาย มือหาย คำภาวนาหาย เป็นต้นมีได้เป็นได้ทั้งสิ้นธรรมดาของมัน

ดูที่นี่มีหลากหลายภาวะ

http://www.free-webboard.com/travel.php ... ati&qid=91


ต่อนี้เป็นความเห็นกว้างๆ ส่วนตัวคุณพิจารณาเอง

คือระหว่างพอง-ยุบ กับอานาปานะ(ลมเข้า-ออก) เหมือนกันตอนต้น

จะต่างกันตอนปลาย คืออานาปานสติ คือการใช้ลมหายใจเข้าออกที่กระทบบริเวณปลายจมูกเป็นฐาน

ส่วนมากใช้คำภาวนาพุทโธกำกับไปด้วย

ส่วน พอง-ยุบ ย้ายฐานมาที่ท้องพองท้องยุบ (ถึงท้องพองท้องยุบ ก็เกิดจากลมเข้าลมออก

เช่นกัน คือลมเข้าท้องพอง ลมออกท้องยุบ) ภาวนาหรือกำหนดตามอาการ พองหนอ ยุบหนอ


ตัดตอนแค่นี้ ...และว่าโดยชื่อ ก็เป็นสมถะหรือสมาธิด้วยกันทั้งคู่ (แต่องค์ธรรมอื่น เช่น สติ

สัมปชัญญะเป็นต้นก็มีแต่ท่านไม่เน้นกล่าว จึงพากันเข้าใจผิดอยู่มาก)


แต่กรรมฐานทั้งสองดังว่าจะแยกกันในขั้นต่อไป คือ วิธีพอง-ยุบ มิใช่ดูแต่พองกับยุบเท่านั้น

จะกำหนดรู้เวทนา ความคิด กิเลสนิวรณ์ด้วย

แต่ผู้ที่ใช้อานาปานะบวกภาวนาพุทโธ ยังอยู่ท่าเดิมเท่าเดิมคือหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ

อะไรเกิดก็ช่างทำเป็นไม่สนใจ ดูลมเข้าออกอย่างเดียว

ที่คุณดูเหมือนว่าใช้อานาปานะแล้ว สมาธิเกิดเร็ว เหตุเพราะภาวนาในวงจำกัดคือลมเข้ากับลมออก

แต่ผู้ใช้ พอง-ยุบ ท่านให้กำหนดอารมณ์กว้างไม่จำกัด จึงเหมือนองค์ธรรมเกิดช้า

เหตุผลเป็นดังนี้


อ้างคำพูด:
หลังจากนั้นวันต่อมาลองนั่งอีก แต่คราวนี้กับไม่สงบ และรู้สึกปวด และก็มึนหัวมาก พยายามทำให้สงบแต่ก็ไม่สงบ กลับไม่สงบเหมือนเมื่อวาน เริ่มเกิดอาการท้อ

หลังจากนั้นผมก็นั่งมาเรื่อย และก็ปวดหัวทุกครั้ง
ซักพัก ผมจึงคิดว่า ทำไมจึงปวดและมึนหัวทุกครั้งที่ออกจากสมาธิ
ผมก็ลองเอาจิตไปสังเกตที่บริเวณคิ้ว รู้เลยว่ามันเกร็งมาก
จากนั้นก็เลยเข้าใจเลยครับ ว่าถ้าหากอยากให้มันสงบมันจะไม่สงบ
ต้องปล่อยใจให้เป็นกลาง ไม่ต้องอยากให้มันเป็นเหมือนวันนั้น

ต่อจากนั้นผมก็ค่อยๆ คลายความรู้สึก มันก็คลาย แล้วผมก็ ภาวนาต่อ ก็รู้สึกตึงอีก
ผมก็เอาจิตไปสังเกตุอีกมันก็คลาย ทำอยู่อย่างนี้อยู่ตลอด


จากวันนั้นผมก็เริ่มทำสมาธิใหม่ คราวนี้สมาธิมันเริ่มเหมือนเดิม เริ่มคิดว่าสงบ ลมหายใจเบาขึ้นจนแทบไม่มีลมหายใจ แล้วที่แปลกก็ตรงที่คำว่า พุท-โธ เริ่มเบาเรื่อยๆ ตอนนั้นรู้สึกว่ามันเบาเหลือเกิน ออกจากสมาธิ รู้สึกว่า ไม่ง่วงนอนเลย แต่ปกติเป็นคนชอบง่วงในเวลากลางวัน



เป็นธรรมดาของมัน เมื่อภาวนาแล้วๆเล่าๆ จิตไม่ฟุ้งมีสมาธิก็มีอาการอย่างนั้น

จิตตื่นก็เป็นแบบนั้นได้ ในบางคนไม่หลับไม่นอนไม่ง่วง จนเป็นปัญหาให้ต้องแก้อารมณ์กันอีกก็มี



อ้างคำพูด:
มีอยู่วันหนึ่งวันนั้นก็ไม่ได้กะจะนั่งสมาธินะครับกำลังหยิบหนังสือมาอ่านจากล็อคเกอร์ ก็เห็นได้เห็นเส้นสั้นๆ เป็นสีๆ อยู่เต็มไปหมด คล้ายๆมองภาพผ่านคอม ผมจึงมองมาทางซ้าย ก็ยังเห็นอยู่ หันไปมาตรงๆ ก็เห็น แต่ผมจึงพยายามจะจ้องมองดูว่ามันเป็นอะไร มันกลับหายไป อาจเป็นภาพลวงตาก็ได้ แต่ก็สงสัย หลังจากนั้นก็เลยลองนั่งสมาธิ แต่คราวนี้กลับไม่เห็นอะไร แล้วแถมยังไม่สงบอีก คงเ้ป็นเพราะใจผมคงจะอยากเห็นและอยาก รู้ว่าสิ่งที่ผมได้เห็นคืออะไร



คุณเข้าใจถูกต้อง อยากเห็นไม่เห็น ไม่อยากเห็นจะเห็น ครั้นเห็นแล้วก็พึงระวังการยึดติดนิมิตอีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ธ.ค. 2009, 21:57, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2009, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แต่แล้วผมก็มานั่งวิเคราะห์ว่าทำไมไม่สงบ อาจจะเป็นเพราะความอยากเห็นภาพนั้นอีก เหมือนกับ
ตอนแรกที่อยาก อยากให้สมาธิสงบ จึงเริ่มมาตัดความอยาก หลังจากนั้นได้ลองปฏิบัติดูก็พบว่ายังไม่สงบ
แต่อาจเป็นเพราะผมอาจจะแค่ตัดความอยากออกไปจาสมองเพียงอย่างเดียวแต่ในจิตอาจจะมีความอยาก
อยู่ ผมจึงรู้ทันทีเลยครับว่ามันช่างละเอียดอ่อนจัง จึงทิ้งจากการนั่งไป 2-3 วัน ลืมเรื่องนั้นไปเลย

ลองกลับมานั่งดูคราวนี้สงบเหมือนกับครั้งแรกๆ ลมหายใจเเบาลงเรื่อยๆ จนเหมือนไม่ได้หายใจเลยครับ
แต่พอนั่งไปได้ซักพัก เหมือนลืมภาวนาไป
เลยกลับมาภาวนาต่อ พอภาวนาต่อได้ซักพัก คราวนี้ ตัวผมเริ่มสั่นครับ
สั่นเหมือนว่าหนาวสั่นมันไม่ยอมหยุด ผมสั่นอยู่ได้ซักพัก ผมก็กำหนดรู้หนอ แต่มันก็ไม่หาย

คราวนี้ผมเปลี่ยนใหม่ไม่สนใจกับอาการสั่น หันกลับมาภาวนา พุท-โธ ต่อ ซักพักอาการสั่นก็หายไป
คราวนี้สมาธิกลับมาเหมือนตอนเพิ่งเริ่มนั่ง คือได้ยินเสียงรอบๆ ชัด จึงไม่แน่ใจ อาจจะสมาธิหลุดหรือเปล่าก็ไม่รู้ เลยนั่งอีกพักก็เลยเลิกไป

อยากรู้เหมือนกันครับว่า อาการสั่นมันคือ อะไร แล้วต่อไปต้องทำยังไง

ต่อมาผมก็ทำสมาธิอยู่เรื่อยรู้สึกว่า ลมหายใจมันเบามาก ขนาดตอนออกจากสมาธิ มันก็ยังเบาครับ ข้อดีของมันก็คือ ผมเข้าสมาธิได้เร็วกว่าเดิม แต่มันเป็นอุปสรรค เพราะว่าช่วงหลังมานี้ ตั้งแต่เริ่มทำสมาธิจับลมหายใจไม่ได้เลยครับ

บางครั้งเพิ่งเริ่มหลับตาได้พักเดียวเริ่มลืมคำภาวนาซะแล้ว ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อดีครับ
จะใช้อะไรกำหนดต่อไปดี
สมาธิใกล้เข้าฌานหรือยัง




สาธุ คุณเป็นคนช่างสังเกต ช่างทดลองเรียนรู้

บอกก่อนว่า การปฏิบัติธรรม คือ การแก้ปัญหาหรือแก้อารมณ์ของจิตเฉพาะหน้าเรื่อยๆไป

เหมือนการเดินทางพบอุปสรรคเรารู้วิธีแก้ปัญหาจึงจะผ่านได้จุดหนึ่งด่านหนึ่ง

แต่เมื่ออุปสรรคขัดขวางแล้วเราไม่รู้วิธีแก้ปัญหาก็ติดอยู่แค่นั้นผ่านไม่ได้ฉันใด

การปฏิบัติกรรมฐานก็ฉันนั้นแก้ปัญหาได้ก็ผ่านจิตก็รุดหน้าต่อไป

แก้ไม่ได้ไม่รู้วิธีแก้ปัญหาก็ติดวนอยู่กับอาการนั้นอารมณ์นั้นไม่พ้นไปได้

ตัวอย่างในที่นี้ คือ อาการหนาวสะท้านสั่นไหวที่ปรากฏแก่คุณ

แล้วรอดมาได้ขณะหนึ่ง เพราะเปลี่ยนอารมณ์กรรมฐาน

แต่อาการนั้นยังตกค้างอยู่

ที่คุณกำหนดรู้หนอ (สั่นหนอๆ) ไม่คลาย เพราะว่าภาวะนั้นยังเร็วแรง กว่าองค์ธรรมที่เป็นกุศลที่เรา

กำหนดรู้นั้น


อาการสั่นคืออะไร

ตอบรวบยอดก็คือสภาวะของมัน คือ เมื่อนามรูปมีเหตุปัจจัยให้เกิดเป็นอย่างนั้น

มันก็เป็นของมันเช่นนั้น

พูดให้แคบเข้ามาก็ได้แก่ ทุกขลักษณะ, หรือการบีบคั้นจากสภาวทุกข์

ปัญหาของคุณ ณ ขณะนี้ก็คือไม่มีอารมณ์ให้กำหนด คือจับอารมณ์กรรมฐานไม่ได้

เริ่มไปไม่เป็นแล้ว

แต่วิธีนั้นมีอยู่

แต่ตอนนี้ คุณพอมีเวลาเข้าไปศึกษาวิธีที่ลิงค์ดูก่อนครับ


viewtopic.php?f=2&t=25475&st=0&sk=t&sd=a

ส่วนรายเอียดคงต้องว่ากันเป็นระยะในขณะที่คุณปฏิบัติอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จขกท. ดูสภาวธรรมที่เกิดแก่โยคาวจร เช่น คำภาวนาหาย นิ่งสงบ

เหมือนไม่หายใจ ตัวเบาเหมือนจะลอยได้ โคลง โยก หมุน แล้วก็กลัว




ผมมีเรื่องปรึกษาด้านการนั่งสมาธิหน่อยครับ คือ เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน

ช่วงนั้นผมสนใจทางพระศาสนามาก และฝึกนั่งสมาธิอยู่เป็นประจำ

โดยใช้การภาวนาพุธโธ ซึ่งได้รับการสอนมาสมัยอยู่มัธยมครับ แต่พอ

ผมนั่งภาวนาได้สักพัก ผมการกำหนดรู้คำว่าพุธโธหายไป มันนิ่ง

เหมือนตัวเองไม่หายใจ แล้วมันก็เบาเหมือนจะลอย แล้วก็โคลง แล้วก็

โยก แล้วก็หมุน กลัวเลยครับเลิกเลย เป็นอยู่แบบนี้นับสิบครั้งผมก็เลย

เลิกมาจนบัดนี้ครับ ถ้าผมจะฝึกนึกสมาธิอีกจะทำยังไงไม่ให้เป็นแบบ

เดิม หรือว่าต้องมีอาจารย์

http://board.palungjit.com/f126/ขอคำแนะนำการนั่งสมาธิครับ-172193.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ธ.ค. 2009, 13:32, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้

ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์

เมื่อปราโมทย์ แล้วย่อมเกิดปิติ

เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ

เธอมีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข

เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น.

เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

สัญญาเกี่ยวด้วยกามที่มีในก่อนของเธอย่อมดับ

สัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ย่อมมีในสมัยนั้น



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2009, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Dhamma T-PO เขียน:
:b8: ขอบคุณทุกคนมากครับสำหรับคำแนะนำ

แล้วผมจะสามารถเจริญวิปัสสนาเลยหรือไม่ครับ เคยลองพิจารณอยู่เหมือนกันครับ แต่ไม่ค่อยชัดเท่าไหร่ เลยเลิกไป หรือต้องรอให้สมาธิดีกว่านี้ครับ

:b1: อยากทราบอีกอย่างครับว่า เพื่อนๆสมาชิก ฝึกแบบไหนกันบ้างครับ แล้วยึดใครเป็นครูครับ :b10: เหมือนอย่างท่าน ภาวิตา-พหุลีกตา ที่ยึดเอาหลวงพ่อพุธ เป็นครูกรรมฐาน และก็ท่าน moddam ที่ใช้แนวหลวงพ่อพุทธทาสน่ะครับ

:b8: ขอบคุณครับ


อานาปานสติถ้าฝึกได้ แล้ว ไม่ว่าขั้นไหน ก็สามารถเห็นไตรลักษณะ ได้ ทุกขั้น นั่นหมายถึงการเจริญวิปัสสนาปัญญา เพราะปัญญา ที่แท้จริงในพระพุทธศาสนานั้้่น คือการเห็นทุกสิ่งเป็น ของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่ได้หมายเอา การจำอะไรๆ ได้มาก การจำอะไรๆได้มาก เป็นเพียงปัญญาทางโลกแท้ แต่ถ้าคนที่เคยสะสมสร้างปัญญาบารมีมาแต่อดีตชาติมากๆ ก็จะเป็นผู้ที่จดจำอะไรได้ง่ายกว่า คนปกติธรรมดาทั่วไป ที่มีบารมี ปัญญาน้อยกว่า

ผมก็ฝึกอานาปานสติครับ ตามแนว ของหลวงพ่อพุทธทาส แต่ฝึกการเห็นพระไตรลักษณ์ตามแนวพระอาจารย์ของผม คือพระอาจารย์ ใหญ่ หลวงพ่อมหาวิบูลย์ พุทธฺญาโณ (สายหลวงปู่แหวน)

พระอาจารย์สุจิณฺ สุจิณฺโณ (สายดูจิตหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่หลุย)

และพระอาจารย์ ชัยรัตน์ สุธมฺโม (ลูกศิษย์ หลวงพ่อมหาวิบูลย์ พุทธฺญาโณ)

ผมฝึกอยู่กับท่านที่ 3 ครับ

:b51: :b53: :b53:

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2009, 00:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: การฝึกสมาธินั้นไม่ควรบังคับจิตตัวเอง มันจะทำให้เกิดความเครียด ปวดหัว และทำสมาธิไม่ได้เลย ควรทำตัวสบาย ๆ เมื่อลงมือปฏิบัติ อย่าหวังผลอันเลิศ จะได้ฌานหรือไม่ ระดับไหน ไม่ต้องสนใจ สำหรับเรากษมมาตา ชอบอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้า-ออก บริกรรมพุท-โธ สามารถเข้าถึงความสงบได้ในระดับหนึ่ง จึงเชื่อในคำสอนขององค์พระศาสดา เชื่อกฎแห่งกรรม และเชื่อว่าภพภูมิต่างๆมีจริง ได้สัมผัสความเป็นทิพย์บางอย่างด้วยจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอามาฝากครับ จากหลวงพ่อพุท


นึก พุทโธ อยู่อย่างนั้น จิตสงบก็ตาม ไม่สงบก็ตาม ไม่ต้องไปกังวล เอาแต่ว่าเรานึก พุทโธ ให้มากที่สุด นึกจนกระทั่ง พุทโธ กับจิตของเรานี้ติดกันเหนียวแน่นไม่พรากจากกัน จนกระทั่งความตั้งใจนึก พุทโธ หายขาดไป แล้วจิตของเรานึก พุทโธ เองโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ แล้วก็นึกอยู่อย่างนั้น ในเมื่อจิตมาติดกับ พุทโธ และนึกว่า พุทโธ โดยไม่ได้ตั้งใจ ก็แสดงว่าจิตของเราเริ่มมีความสงบลงไปแล้ว เมื่อจิตนึก พุทโธ ๆ อยู่อย่างนั้น ก็ปล่อยให้จิตนึก พุทโธ ๆ อยู่อย่างนั้น ครั้นนึกไปนึกมา พุทโธ หายไป จิตไปนิ่งอยู่เฉย ๆ ก็ให้กำหนดรู้ลงที่จิตที่นิ่งอยู่เฉย ๆ ในช่วงนี้อะไรจะเกิดขึ้นก็ตามให้กำหนดรู้ลงที่จิต ๆ อยู่อย่างเดียวเท่านั้น อย่าไปเอะใจ หรืออย่าไปตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ๆ ในช่วงนี้บางครั้งผู้ภาวนาอาจจะเกิดมีอาการสั่นนิดหน่อย หรือมีอาการขนลุกขนพอง มีอาการคล้าย ๆ กับว่าตัวเบาจะลอยขึ้นบนอากาศ มีอาการคล้าย ๆ กับว่าตัวใหญ่โตสูงขึ้น มีอะไรเกิดขึ้นก็กำหนดรู้ลงที่จิตอย่างเดียว นี้คือหลักการภาวนาในเบื้องต้น

ในเมื่อผู้ภาวนากำหนดรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียว สิ่งที่จะพึงเกิดขึ้นที่ทำให้เรารู้สึกแปลกใจที่สุดคือ ความมีปีติ ในตอนนี้ปีติบังเกิดขึ้น ในเมื่อปีติบังเกิดขึ้น ความรู้สึกภายในจิตจะรู้สึกสว่างไสว แล้วความสุขอันเป็นผลพลอยได้ย่อมบังเกิดขึ้น เมื่อจิตสงบละเอียดยิ่งลงไป คำบริกรรมภาวนาหายไป แล้วจิตก็สงบลงไปเรื่อย ๆ เกิดปีติ เกิดความสุข ในตอนนี้รู้สึกว่าจิตของผู้ภาวนามีความสุขอย่างยิ่ง ในเมื่อมีความสุขแล้ว นิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุกจะ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในการภาวนาก็หายสิ้นไป มีแต่ความสบายปลอดโปร่งภายในจิต ผู้ภาวนาก็ควรจะกำหนดรู้จิตไปเรื่อย ๆ จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปอย่างจริงจังแล้ว ความรู้สึกว่ากายก็จะหายไป ความรู้สึกว่ามีลมหายใจก็จะหายไป จิตของผู้ภาวนาจะสงบนิ่งสว่างอยู่ มีสภาวะรู้อยู่ที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น กายหายไปหมดแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีปรากฏ มีแต่จิตดวงเดียว สว่างไสวอยู่เท่านั้น อันนี้คือการภาวนาซึ่งสำเร็จด้วยการบริกรรมภาวนา เป็นการภาวนาในขั้นต้น

หมายเหตุ

จากประสบการณ์ตัวเอง ตอนแรกก็ตกใจอยู่เมื่อคำภาวนาหายไป เพราะจิตไม่มีที่ยึดลอยไปลอยมา
สิ่งที่จะประคองให้ก้าวหน้าต่อไปได้จำเป็นต้องใช้สติเป็นสำคัญในการกำหนดรู้จิตไปจนกว่าจิตจะหยุดนิ่งลงเรื่อยๆ ครับ การเดินกำหนดและการเจริญสติอย่างต่อเนื่องทุกอริยาบทจะช่วยเพิ่มสติ ในการนั่งได้อย่างดีครับ

เจริญธรรมครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 11 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร