วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 11:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 16:51
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะคิดไปเองว่า การปฏิบัตินั้นต้องเป็นอะไรที่เหนือธรรมดา ต้องบังคับกดข่ม ต้องเคร่งครัด ดูขรึมๆ แต่แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเรียบง่าย คือเรื่องของชีวิตประจําวัน
การเดินจงกรมและนั่งสมาธิก็เพื่อให้มีสติกับการใช้ชีวิตประจําวันนั่นเอง

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ง่ายคือถูกต้อง เมื่อท่านถูกต้องแล้วท่านก็จะง่าย !

ง่ายในที่นี้คือการเฝ้าสังเกตอย่างเดียว ไม่ปรุงแต่งความคิดต่อ ไม่ชอบชัง ไม่ดีใจเสียใจ
แต่ผู้ฝึกใหม่เป็นธรรมดาที่จะปรุงชอบชัง ดีใจเสียใจ ดังนั้น ให้รู้ทันความคิดปรุงแต่ง รู้ไปเรื่อยๆ
จนจิตเป็นกลางโดยธรรมชาติ ไม่ได้ไปบังคับให้เป็นกลางเอง ที่สําคัญคือต้องใจเย็นๆ อย่ารีบร้อนนะครับ ค่อยเป็นค่อยไป ดู ดู แล้วก็ดู ไม่ตัดสิน ไม่วิพากษ์ วิจารณ์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้น

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ตราบใดหมอกควันยังบดบังสัจธรรม เมื่อนั้นก็ได้แต่เพียงเฝ้าดูใจไปเรื่อยๆ เท่านั้น!

กิเลสทั้งมวลนั้นเริ่มมาจากจิต ดังนั้น การดูจิตจึงเป็นทางดิ่งตรงไปสู่การรู้ตัวทั่วพร้อม ไปสู่การตื่นรู้

ความทุกข์ทางใจทั้งมวล มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดปรุงแต่ง!

ศีลที่กระทําผิด ก็มีต้นตอมาจากความคิดปรุงแต่ง ปรุงเป็นพอใจ ก็ลักขโมย ปรุงเป็นเสียใจ ขัดใจ โกรธเคือง ก็อยากฆ่าอยากทําลาย โดยย่อศีลคือใจที่ปกติ

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ยามใจปกติ ใยต้องรักษาศีลให้วุ่นวาย!

สมาธิมีความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ความสุขที่เกิดจากการตื่นรู้ ความสุขที่เกิดมาจากการมีสติ สติก็เกิดมาจากการเฝ้าสังเกตการปรุงแต่งภายในใจต่างๆ จนจิตจําการปรุงแต่ง หรือจําสภาวะได้แม่นยํา สติแท้จะเกิดขึ้นมาได้ นักปฏิบัติผู้เริ่มต้น จะทําได้แต่การจงใจมีสติ เป็นสติเทียม แต่ก็ควรอาศัยสติชนิดนี้ไปก่อน จนจิตมันจําสภาวะได้แม่นยํา สติแท้ก็จะเกิด

ปัญญามีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ปัญญาในที่นี้หมายถึงการรู้ชัดลงไปที่กายที่ใจ จนจิตมันเห็นการควบคุบบังคับไม่ได้ของกายใจ จนจิตสลัดคืนกายใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่น นักปฏิบัติจะเข้าใจผิดไปว่า ให้คิดว่ากายใจไม่ใช่ตัวตนไปเรื่อยๆ แล้วจิตจะละความยึดมั่นไปเอง ที่แท้จริงไม่ใช่ แต่ต้องเฝ้าสังเกตด้วยใจที่เป็นกลาง อยู่เหนือความคิดปรุงแต่งทั้งมวล แล้วจิตจะถอดถอนมันเอง แต่จะเมื่อไหร่นั้น อยู่ที่กําลังของสติ สมาธิ ปัญญา มารวมลงที่ใจโดยฝ่ายเดียว แล้วปลดปล่อยสลัดคืนกายใจคืนสู่ธรรมชาติ แต่หากว่าชีวิตยังไม่หมดอายุขัย ก็อาศัยกายใจเป็นพาหนะเท่านั้น

โดยย่อของการปฏิบัติแล้ว ง่ายคือถูกต้อง แต่ไม่ใช่มักง่ายจนเกียจคร้าน แต่ให้มีสติสัมปชัญญะสังเกตกายใจในขณะปัจจุบัน สังเกต สังเกต สังเกต คุณไม่ต้องทําอะไรเลยทั้งนั้น ทําให้เหมือนกับว่าคุณไม่อาจจะยึดมั่นอะไรด้วยได้ เหมือนคนเจ็บหนัก วางทุกอย่างจนไม่เหลืออะไรที่จะวาง

ขอให้ทุกท่านโชคดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 17:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรกร เขียน:
นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะคิดไปเองว่า การปฏิบัตินั้นต้องเป็นอะไรที่เหนือธรรมดา ต้องบังคับกดข่ม ต้องเคร่งครัด ดูขรึมๆ แต่แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเรียบง่าย คือเรื่องของชีวิตประจําวัน
การเดินจงกรมและนั่งสมาธิก็เพื่อให้มีสติกับการใช้ชีวิตประจําวันนั่นเอง

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ง่ายคือถูกต้อง เมื่อท่านถูกต้องแล้วท่านก็จะง่าย !

ง่ายในที่นี้คือการเฝ้าสังเกตอย่างเดียว ไม่ปรุงแต่งความคิดต่อ ไม่ชอบชัง ไม่ดีใจเสียใจ
แต่ผู้ฝึกใหม่เป็นธรรมดาที่จะปรุงชอบชัง ดีใจเสียใจ ดังนั้น ให้รู้ทันความคิดปรุงแต่ง รู้ไปเรื่อยๆ
จนจิตเป็นกลางโดยธรรมชาติ ไม่ได้ไปบังคับให้เป็นกลางเอง ที่สําคัญคือต้องใจเย็นๆ อย่ารีบร้อนนะครับ ค่อยเป็นค่อยไป ดู ดู แล้วก็ดู ไม่ตัดสิน ไม่วิพากษ์ วิจารณ์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้น

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ตราบใดหมอกควันยังบดบังสัจธรรม เมื่อนั้นก็ได้แต่เพียงเฝ้าดูใจไปเรื่อยๆ เท่านั้น!

กิเลสทั้งมวลนั้นเริ่มมาจากจิต ดังนั้น การดูจิตจึงเป็นทางดิ่งตรงไปสู่การรู้ตัวทั่วพร้อม ไปสู่การตื่นรู้

ความทุกข์ทางใจทั้งมวล มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดปรุงแต่ง!

ศีลที่กระทําผิด ก็มีต้นตอมาจากความคิดปรุงแต่ง ปรุงเป็นพอใจ ก็ลักขโมย ปรุงเป็นเสียใจ ขัดใจ โกรธเคือง ก็อยากฆ่าอยากทําลาย โดยย่อศีลคือใจที่ปกติ

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ยามใจปกติ ใยต้องรักษาศีลให้วุ่นวาย!

สมาธิมีความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ความสุขที่เกิดจากการตื่นรู้ ความสุขที่เกิดมาจากการมีสติ สติก็เกิดมาจากการเฝ้าสังเกตการปรุงแต่งภายในใจต่างๆ จนจิตจําการปรุงแต่ง หรือจําสภาวะได้แม่นยํา สติแท้จะเกิดขึ้นมาได้ นักปฏิบัติผู้เริ่มต้น จะทําได้แต่การจงใจมีสติ เป็นสติเทียม แต่ก็ควรอาศัยสติชนิดนี้ไปก่อน จนจิตมันจําสภาวะได้แม่นยํา สติแท้ก็จะเกิด

ปัญญามีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ปัญญาในที่นี้หมายถึงการรู้ชัดลงไปที่กายที่ใจ จนจิตมันเห็นการควบคุบบังคับไม่ได้ของกายใจ จนจิตสลัดคืนกายใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่น นักปฏิบัติจะเข้าใจผิดไปว่า ให้คิดว่ากายใจไม่ใช่ตัวตนไปเรื่อยๆ แล้วจิตจะละความยึดมั่นไปเอง ที่แท้จริงไม่ใช่ แต่ต้องเฝ้าสังเกตด้วยใจที่เป็นกลาง อยู่เหนือความคิดปรุงแต่งทั้งมวล แล้วจิตจะถอดถอนมันเอง แต่จะเมื่อไหร่นั้น อยู่ที่กําลังของสติ สมาธิ ปัญญา มารวมลงที่ใจโดยฝ่ายเดียว แล้วปลดปล่อยสลัดคืนกายใจคืนสู่ธรรมชาติ แต่หากว่าชีวิตยังไม่หมดอายุขัย ก็อาศัยกายใจเป็นพาหนะเท่านั้น

โดยย่อของการปฏิบัติแล้ว ง่ายคือถูกต้อง แต่ไม่ใช่มักง่ายจนเกียจคร้าน แต่ให้มีสติสัมปชัญญะสังเกตกายใจในขณะปัจจุบัน สังเกต สังเกต สังเกต คุณไม่ต้องทําอะไรเลยทั้งนั้น ทําให้เหมือนกับว่าคุณไม่อาจจะยึดมั่นอะไรด้วยได้ เหมือนคนเจ็บหนัก วางทุกอย่างจนไม่เหลืออะไรที่จะวาง

ขอให้ทุกท่านโชคดี


ขอโทษนะคะ คุณกล่าวตามที่คุณปฏิบัตรึเปล่าคะ หรือกำลังปฏิบัติตามนี้ และกำลังเสวยผลอยู่
คือขอโทษนะคะ ที่ต้องถาม
เพราะตอนนี้เราเองก็ กำลังสับสน เหมือนแม่น้ำสองสายที่ไหลมาบรรจบกันน่ะค่ะ
ประมาณสายหนึ่งเคร่ง สายหนึ่งผ่อน น่ะค่ะ
มันก็เลยเกิดเป็นอาการ สวิงไป สวิงมา อยู่ค่ะ ก็เลยงง ๆ ค่ะ
ก็พยายามจะใจเย็น เฝ้ามอง อย่างงง ๆ ค่ะ :b14: :b14: :b14:

ลืมไป ชื่อเพราะดีนะคะ
:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 มิ.ย. 2009, 15:21
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b16: :b16: :b8: ขออนุญาตคุยด้วยนะค๊ะ... :b1:
สิ่งที่คุณภัทรกรว่ามาก็ถูกค่ะ แต่เราว่ามันเหมาะกับคนที่ปฏิบัติเป็นแล้วนะค่ะ(ถูกผิดก็ขออภัยด้วยนะค๊ะ)
แต่คนที่ยังไม่เป็นหรือว่ายังอ่อนต่อการปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติแบบเข้มไปก่อนเพื่อฝึกวิริยะความอดทนและ
ทำให้มีสติขึ้นมาบ้างเมื่อทำได้ค่อนข้างชำนาญแล้วก็ค่อยทำตามที่คุณภัทรกรแนะนำมาจะดีกว่านะค๊ะ
แต่ยังไงก็ต้องค่อยๆปฏิบัติไปนะค๊ะสำหรับผู้ใหม่อย่าท้อนะค๊ะความดีทำอยากนิดหนึงแต่เมื่อทำได้แล้ว
จะทำให้เรามีความสุขและอยากที่จะปฏิบัติต่อไปให้มากขึ้นไป ธรรมคือสิ่งดีนะจ๊ะ :b8: :b8: :b8:

:b45: ผิดถูกอย่างไรขอคำชี้แนะจากผู้รู้ด้วยนะค๊ะ :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 16:51
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
ภัทรกร เขียน:
นักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะคิดไปเองว่า การปฏิบัตินั้นต้องเป็นอะไรที่เหนือธรรมดา ต้องบังคับกดข่ม ต้องเคร่งครัด ดูขรึมๆ แต่แท้จริงแล้วการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเรียบง่าย คือเรื่องของชีวิตประจําวัน
การเดินจงกรมและนั่งสมาธิก็เพื่อให้มีสติกับการใช้ชีวิตประจําวันนั่นเอง

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ง่ายคือถูกต้อง เมื่อท่านถูกต้องแล้วท่านก็จะง่าย !

ง่ายในที่นี้คือการเฝ้าสังเกตอย่างเดียว ไม่ปรุงแต่งความคิดต่อ ไม่ชอบชัง ไม่ดีใจเสียใจ
แต่ผู้ฝึกใหม่เป็นธรรมดาที่จะปรุงชอบชัง ดีใจเสียใจ ดังนั้น ให้รู้ทันความคิดปรุงแต่ง รู้ไปเรื่อยๆ
จนจิตเป็นกลางโดยธรรมชาติ ไม่ได้ไปบังคับให้เป็นกลางเอง ที่สําคัญคือต้องใจเย็นๆ อย่ารีบร้อนนะครับ ค่อยเป็นค่อยไป ดู ดู แล้วก็ดู ไม่ตัดสิน ไม่วิพากษ์ วิจารณ์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้น

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ตราบใดหมอกควันยังบดบังสัจธรรม เมื่อนั้นก็ได้แต่เพียงเฝ้าดูใจไปเรื่อยๆ เท่านั้น!

กิเลสทั้งมวลนั้นเริ่มมาจากจิต ดังนั้น การดูจิตจึงเป็นทางดิ่งตรงไปสู่การรู้ตัวทั่วพร้อม ไปสู่การตื่นรู้

ความทุกข์ทางใจทั้งมวล มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดปรุงแต่ง!

ศีลที่กระทําผิด ก็มีต้นตอมาจากความคิดปรุงแต่ง ปรุงเป็นพอใจ ก็ลักขโมย ปรุงเป็นเสียใจ ขัดใจ โกรธเคือง ก็อยากฆ่าอยากทําลาย โดยย่อศีลคือใจที่ปกติ

มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ยามใจปกติ ใยต้องรักษาศีลให้วุ่นวาย!

สมาธิมีความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ความสุขที่เกิดจากการตื่นรู้ ความสุขที่เกิดมาจากการมีสติ สติก็เกิดมาจากการเฝ้าสังเกตการปรุงแต่งภายในใจต่างๆ จนจิตจําการปรุงแต่ง หรือจําสภาวะได้แม่นยํา สติแท้จะเกิดขึ้นมาได้ นักปฏิบัติผู้เริ่มต้น จะทําได้แต่การจงใจมีสติ เป็นสติเทียม แต่ก็ควรอาศัยสติชนิดนี้ไปก่อน จนจิตมันจําสภาวะได้แม่นยํา สติแท้ก็จะเกิด

ปัญญามีสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิด ปัญญาในที่นี้หมายถึงการรู้ชัดลงไปที่กายที่ใจ จนจิตมันเห็นการควบคุบบังคับไม่ได้ของกายใจ จนจิตสลัดคืนกายใจ ไม่ยึดมั่นถือมั่น นักปฏิบัติจะเข้าใจผิดไปว่า ให้คิดว่ากายใจไม่ใช่ตัวตนไปเรื่อยๆ แล้วจิตจะละความยึดมั่นไปเอง ที่แท้จริงไม่ใช่ แต่ต้องเฝ้าสังเกตด้วยใจที่เป็นกลาง อยู่เหนือความคิดปรุงแต่งทั้งมวล แล้วจิตจะถอดถอนมันเอง แต่จะเมื่อไหร่นั้น อยู่ที่กําลังของสติ สมาธิ ปัญญา มารวมลงที่ใจโดยฝ่ายเดียว แล้วปลดปล่อยสลัดคืนกายใจคืนสู่ธรรมชาติ แต่หากว่าชีวิตยังไม่หมดอายุขัย ก็อาศัยกายใจเป็นพาหนะเท่านั้น

โดยย่อของการปฏิบัติแล้ว ง่ายคือถูกต้อง แต่ไม่ใช่มักง่ายจนเกียจคร้าน แต่ให้มีสติสัมปชัญญะสังเกตกายใจในขณะปัจจุบัน สังเกต สังเกต สังเกต คุณไม่ต้องทําอะไรเลยทั้งนั้น ทําให้เหมือนกับว่าคุณไม่อาจจะยึดมั่นอะไรด้วยได้ เหมือนคนเจ็บหนัก วางทุกอย่างจนไม่เหลืออะไรที่จะวาง

ขอให้ทุกท่านโชคดี


ขอโทษนะคะ คุณกล่าวตามที่คุณปฏิบัตรึเปล่าคะ หรือกำลังปฏิบัติตามนี้ และกำลังเสวยผลอยู่
คือขอโทษนะคะ ที่ต้องถาม
เพราะตอนนี้เราเองก็ กำลังสับสน เหมือนแม่น้ำสองสายที่ไหลมาบรรจบกันน่ะค่ะ
ประมาณสายหนึ่งเคร่ง สายหนึ่งผ่อน น่ะค่ะ
มันก็เลยเกิดเป็นอาการ สวิงไป สวิงมา อยู่ค่ะ ก็เลยงง ๆ ค่ะ
ก็พยายามจะใจเย็น เฝ้ามอง อย่างงง ๆ ค่ะ :b14: :b14: :b14:

ลืมไป ชื่อเพราะดีนะคะ
:b16: :b16: :b16:


ผมปฏิบัติตามที่ผมได้กล่าวไปครับ ขอให้เข้าใจให้ถูกต้องนะครับ การปฏิบัติธรรมไม่ใช่ให้เคร่งเครียดนะครับ เคร่งขรึมไปก็เครียด เรามาปฏิบัติเพื่อปล่อยวาง เพื่อความเบากายเบาใจ ในพระอภิธรรมสอนไว้อย่างดีว่า จิตที่เป็นกุศล จะเป็นจิตที่เบา อ่อนโยน ควรแก่การงาน ไม่แข็ง ไม่ซึมไม่ทื่อ
ส่วนในทางปฏิบัติผมเคยปฏิบัติแบบเคร่งครัดมา ไม่เห็นสภาวะแท้ เพราะไปกดข่มธรรมไว้ ไม่เห็นธรรมตามความเป็นจริง ผมได้ไปกราบครูบาอาจารย์ หลวงปู่ท่านหนึ่งสายวัดป่า ท่านบอกว่าอย่าเคร่งไปนะ และต่อมาผมไปหาพระอาจารย์ที่ผมเคารพอีกรูปหนึ่ง ท่านก็ทักว่าไม่ต้องเคร่ง และให้ผมกลับมาดูจิต หลังจากนั้นผมก็เริ่มคลายความกดข่มลงไป สติก็ระลึกได้ดีขึ้น ไวขึ้น ไม่หลงนาน เกิดเป็นความตื่นรู้ครั้งใหม่ ตื่นตัว รู้สึกได้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลง มีความสุขมากขึ้นจริงๆครับ

ส่วนสภาวะธรรมของคุณ เมื่อสับสนให้รู้ทันลงไปว่าสับสน ลองดูนะครับ ความสับสนสลายไปทันที ไม่มีความสับสนใดจะตั้งอยู่ได้นานโดยไม่ดับไป สงสัยก็ให้รู้ว่าสงสัย งงก็รู้ลงไปว่างง อะไรเกิดขึ้น ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ยึดอะไรไม่ได้สักอย่าง
ขอให้คุณโชคดีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 16:51
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


[quote="kae"]:b16: :b16: :b8: ขออนุญาตคุยด้วยนะค๊ะ... :b1:
สิ่งที่คุณภัทรกรว่ามาก็ถูกค่ะ แต่เราว่ามันเหมาะกับคนที่ปฏิบัติเป็นแล้วนะค่ะ(ถูกผิดก็ขออภัยด้วยนะค๊ะ)
แต่คนที่ยังไม่เป็นหรือว่ายังอ่อนต่อการปฏิบัติก็ต้องปฏิบัติแบบเข้มไปก่อนเพื่อฝึกวิริยะความอดทนและ
ทำให้มีสติขึ้นมาบ้างเมื่อทำได้ค่อนข้างชำนาญแล้วก็ค่อยทำตามที่คุณภัทรกรแนะนำมาจะดีกว่านะค๊ะ
แต่ยังไงก็ต้องค่อยๆปฏิบัติไปนะค๊ะสำหรับผู้ใหม่อย่าท้อนะค๊ะความดีทำอยากนิดหนึงแต่เมื่อทำได้แล้ว
จะทำให้เรามีความสุขและอยากที่จะปฏิบัติต่อไปให้มากขึ้นไป ธรรมคือสิ่งดีนะจ๊ะ :b8: :b8: :b8:

:b45: ผิดถูกอย่างไรขอคำชี้แนะจากผู้รู้ด้วยนะค๊ะ :b16:[/quo


ความจริงคนที่เพิ่งเริ่มฝึกจะปฏิบัติแบบเรียบง่ายได้ดีกว่าผู้ที่เคยฝึกแบบกดข่ม เคร่งครัดมา เพราะว่าจิตของผู้ที่ฝึกแบบเคร่งครัดจะติดยึดลงไปที่ความสงบและจริงจังเกินไป รู้กิเลสแบบซื่อๆไม่ได้ ต้องกระชากและกดข่ม การปฏิบัติแล้วเคร่งเครียดและแข็ง โปรดรู้ไว้ว่าทําผิดแล้วครับ ผมขอให้ลองน้อมเข้ามาใส่ตน วางความคิดที่ว่า ปฏิบัติเป็นแล้วและไม่เป็นลงเสียก่อน แล้วมาสังเกตจิตตามความเป็นจริง ทําแบบนักสังเกตการณ์ ไม่ใช่นักปรุงแต่งหรือนักบังคับ ซึ่งพอติดบังคับมากจะแก้ยาก

มีพระสูตรบทหนึ่ง มีผู้ไปถามพระพุทธองค์ว่า พระผู้มีพระภาคทรงข้ามโอฆะได้อย่างไร
พระพุทธองค์ตอบว่า เราข้ามโอฆะได้เพราะเราไม่พัก (ใจลอย)ไม่เพียร (กดข่ม)

หลวงปู่ดูลย์เคยกล่าวไว้ว่า การปฏิบัติธรรมไม่ยาก ยากแก่ผู้ไม่ปฏิบัติ
หลวงตามหาบัวกล่าวไว้ว่า การปฏิบัติธรรมไม่มีอะไรมาก มีสติรู้กายรู้ใจลงในปัจจุบัน

ผมขอกล่าวย่อๆ ขอให้สังเกตจิตใจอย่างเรียบง่าย แต่ต่อเนื่อง ไม่เกียจคร้านและไม่กดข่ม

ขอให้คุณโชคดีครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรกร เขียน:
ผมปฏิบัติตามที่ผมได้กล่าวไปครับ ขอให้เข้าใจให้ถูกต้องนะครับ การปฏิบัติธรรมไม่ใช่ให้เคร่งเครียดนะครับ เคร่งขรึมไปก็เครียด เรามาปฏิบัติเพื่อปล่อยวาง

:b1: :b1: :b1:
ค่ะ อยากจะให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกันค่ะ
แต่ช่วงนี้ยอมรับว่าค่อนข้างมีความตึงแทรกเข้ามา
ทำให้เราเผลอมีอารมณ์กดข่ม ก็พยายามจะผ่อน
แต่ก็ยังเผลอที่จะเข้าไปข่มมันไว้
จากคำแนะนำของคุณ ก็จะพยายามเตือนตัวเองให้ไม่เคร่งนะคะ
เพราะการเคร่งมาก ๆ ตอนนี้ยอมรับว่า
รู้สึกหนึบ ๆ บริเวณขม๋องด้านหน้าไล่มาถึงโคนจมูกอยู่ตลอด

อ้างคำพูด:
ไม่มีความสับสนใดจะตั้งอยู่ได้นานโดยไม่ดับไป


:b1: :b1: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 22:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ง่ายในที่นี้คือการเฝ้าสังเกตอย่างเดียว ไม่ปรุงแต่งความคิดต่อ ไม่ชอบชัง ไม่ดีใจเสียใจ
แต่ผู้ฝึกใหม่เป็นธรรมดาที่จะปรุงชอบชัง ดีใจเสียใจ ดังนั้น ให้รู้ทันความคิดปรุงแต่ง รู้ไปเรื่อยๆ
จนจิตเป็นกลางโดยธรรมชาติ ไม่ได้ไปบังคับให้เป็นกลางเอง ที่สําคัญคือต้องใจเย็นๆ อย่ารีบร้อนนะครับ ค่อยเป็นค่อยไป ดู ดู แล้วก็ดู ไม่ตัดสิน ไม่วิพากษ์ วิจารณ์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้น..


ไอ้อาการ..ไม่ปรุงแต่งความคิดต่อ ไม่ชอบชัง ไม่ดีใจเสียใจ..นี้..ถ้าคนยังไม่หมดกิเลสแล้วทำได้อย่างนี้ ผมว่ามันใช้อารมณ์ฌาณกดข่มกิเลสใว้นะ..กิเลสมันจะโผล่มาให้เห็นหรือ..แล้วอย่างนี้จะฆ่ากิเลสได้งัยเนอะ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 22:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กิเลสทั้งมวลนั้นเริ่มมาจากจิต ดังนั้น การดูจิตจึงเป็นทางดิ่งตรงไปสู่การรู้ตัวทั่วพร้อม ไปสู่การตื่นรู้

ความทุกข์ทางใจทั้งมวล มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดปรุงแต่ง!

ศีลที่กระทําผิด ก็มีต้นตอมาจากความคิดปรุงแต่ง ปรุงเป็นพอใจ ก็ลักขโมย ปรุงเป็นเสียใจ ขัดใจ โกรธเคือง ก็อยากฆ่าอยากทําลาย โดยย่อศีลคือใจที่ปกติ

เห็นด้วยครับ ที่ว่า" ความทุกข์ทางใจทั้งมวล มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดปรุงแต่ง" และ "ศีลคือใจที่ปกติ"

อ้างคำพูด:
มีคํากล่าวหนึ่งที่น่าจดจํา

ยามใจปกติ ใยต้องรักษาศีลให้วุ่นวาย!


นี้ผลมะม่วง..ใยต้องปลูกต้นมะม่วงให้วุ่นวาย..
ใช้ครับ..ก็นั้นมันผลมะม่วงในมือคุณ..ก็ผมอยากกินมะม่วง..แล้วคุณจะยื่นผลมะม่วงนั้นให้ผมได้หรือ
เปล่า

( ไม่ใช่แฟน..ทำแทนไม่ได้)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 22:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:
ง่ายในที่นี้คือการเฝ้าสังเกตอย่างเดียว ไม่ปรุงแต่งความคิดต่อ ไม่ชอบชัง ไม่ดีใจเสียใจ
แต่ผู้ฝึกใหม่เป็นธรรมดาที่จะปรุงชอบชัง ดีใจเสียใจ ดังนั้น ให้รู้ทันความคิดปรุงแต่ง รู้ไปเรื่อยๆ
จนจิตเป็นกลางโดยธรรมชาติ ไม่ได้ไปบังคับให้เป็นกลางเอง ที่สําคัญคือต้องใจเย็นๆ อย่ารีบร้อนนะครับ ค่อยเป็นค่อยไป ดู ดู แล้วก็ดู ไม่ตัดสิน ไม่วิพากษ์ วิจารณ์ เมื่อกิเลสเกิดขึ้น..


ไอ้อาการ..ไม่ปรุงแต่งความคิดต่อ ไม่ชอบชัง ไม่ดีใจเสียใจ..นี้..ถ้าคนยังไม่หมดกิเลสแล้วทำได้อย่างนี้ ผมว่ามันใช้อารมณ์ฌาณกดข่มกิเลสใว้นะ..กิเลสมันจะโผล่มาให้เห็นหรือ..แล้วอย่างนี้จะฆ่ากิเลสได้งัยเนอะ..





คุณกบคงจะไม่ค่อยชินการแนะนำแบบนี้ ...

การสอนแนวนี้ส่วนมากจะใช้ในการสอนโดยนำรูปนามเป็นอารมณ์น่ะค่ะ

จริงๆแล้วมาจากคำว่า ให้เฝ้าดู รู้ลงไป แล้วอยู่กับมัน ( สิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ )

เมื่อผู้ปฏิบัติ ได้ปฏิบัติถึงจุดๆหนึ่ง ถึงจะรู้เองว่า ที่ครูบาฯท่านสอนน่ะว่า

ให้เฝ้าดู รู้ลงไป แล้วอยู่กับมัน อย่าไปชอบหรือชัง ให้วางใจไว้เป็นกลางๆ ห้ามคิดแก้ไข

เพราะถ้ามีตัวเราเข้าไปเกี่ยวข้องในสภาวะนั้นๆ นั่นหมายถึงว่า เราไปทำให้สภาวะนั้นเปลี่ยนไป

ทำให้ไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงได้ ..

คุณกบ .. คงเคยอ่านผ่านๆไปแล้วบ้าง ที่ได้เคยโพสถึง ผู้ดู ผู้รู้ ตัวผู้รู้


เมื่อผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติถึงจุดๆหนึ่งแล้ว จะถึงบางอ้อเลยค่ะว่า ที่บอกว่า เฝ้าดูนั้นน่ะหมายถึงอะไร

เฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหมายถึงสติค่ะ รู้ลงไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั่นคือ สัมปชัญญะ

แล้วอยู่กับมัน คืออยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้นๆ ก็คือ ปัจจุบันนั่นเองค่ะ

แตกต่างแค่คำศัพท์ที่นำมาใช้เท่านั้นแหละค่ะ จริงๆแล้วก็คือการเจริญสติปัฏฐาน น่ะแหละค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อย้ำเสมอว่าอย่าเอามาสอน
อย่าเอามาพูดกัน

ท่านว่ามีสำนักสอนดุจิตกันเต้มไปหมด สอนผิดสอนถูก

ใครเขาอยากจะปฏิบัติให้เขาไปฟังไปอ่านจากหลวงพ่อเองดีกว่านะครับ

หลวงพ่อสอน กับ คุณสอน มันบารมีผิดกัน
คุณก้รู้ว่า่ท่านไปถึงไหนแล้ว ความสามารถในการเป้นครูบาร์อาจารย์ของท่านเป้นยังไงคุณก็คงทราบดี
จะไปทำตัวเทียบท่านแล้วช่วยเหลือเขาได้จริงๆหรือ

สำนวนลอกหลวงพ่อทั้งดุ้นมาแบบนี้
ถ้าตัดต่อสัญญาผิดไปนิดนึง สอนเขาผิด
ก็สร้างบาปาร้างกรรมไม่จบนะ


อยากสนองคุณครุบาร์อาจารย์ก็แะนำให้เขาไปพบกับครุบาร์อาจารย์ดีกว่า
ตัวเราก้เอาให้รอด ให้มันสิ้นสงสัยจริงๆได้อย่างทั้นเสียก่อน

ผมเคยเป็นอย่างคุณนะ อย่าเลย ไม่ดีหรอก
แต่มีกัลยาณมิตรมาเตือนก่อน เลยกลับลำทัน

เป้นพระอรหันต์เมื่อไหร่ค่อยมาสอน ก็ไม่สาย สอนไม่ผิดด้วยนะ

อยากเป็นอาจารย์สอนกรรมฐาน ก้รู้ว่าอยากเป้นอาจารย์สอนกรรมฐานนะ
อยากได้สักการะ เป็น"อยาก"ที่ไม่ธรรมดานะ อย่าแพ้มันสิ

ดุจิตเป้นต้องไม่สอนดูจิต
เพราะคนที่เขาสอนได้จริงๆ เขาไม่ต้องดุจิตแล้ว เขาถึงสอนเราได้ พวกที่ยังต้องดุจิตอยู่นี่จะเป้นที่พึ่งของใครจริงๆหรือ
เป็นพุทธังสรนังก็ไม่ใช่ เป้นธัมมังสรนังก็ไม่ใช่ เป้นสังฆังสรนังก็ไม่ใช่อีก
เป็นสรนังให้ใครไม่ได้ทั้งนั้น
พูดแค่นี้นะ คิดว่าคงเข้าใจ

พูดทั่วๆไปเป้นไรหรอก แต่เรื่องสอนคนดุจิตนี่อย่าเลย
ส่งต่อให้หลวงพ่อดีกว่า แล้วแต่สมรรถนะของเขาเอง


เอามาพูดแล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปรู้ไหม
ภาษาที่พูดกันนี่แหละ จะคุยกันไม่รู้เรื่อง มันจะพาวิบัติกันทุกคน
ถ้ามีสักคนหนึ่งไปล่วงเกินครุบาร์อาจารย์จะเกิดอะไรขึ้นรู้ไหม

หลวงพ่อไม่เดือดร้อนอะไรหรอก
คนที่เดือดร้อนคือคนที่พลาดไปล่วงเกินหลวงพ่อนั่นแหละ
แล้วก้คนที่ชวนเขาพูดอีกคนหนึ่ง

เกิดเป้นคนว่ายากแล้ว
เกิดมาเป็นคนในยุคพระขีนาสรพยังเหลือก็ว่ายิ่งยากเข้าไปอีก
ถ้าเมตตาเขาจริง อย่าไปทำให้เขาเสียโอกาสทองอันนี้


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 14 ก.ค. 2009, 22:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การปฏิบัติธรรมที่แท้นั้นไม่ยากอย่างที่คิด


เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ..อย่างจริงใจ..แต่จากประสบการณ์นะ..มันยากแค่ตอนเข้า..คือตอนที่มีจะความคิดเป็นสัมมาทิฐิ..เห็นทุกข์..เห็นสมุทัย

แต่ก็อีกนั้นแหละ..ผู้ที่รู้แล้ว..เขาก็บอกว่า..มันยาก 2 ตอน คือ ตอนเข้า..กับตอนออก..ตอนเข้าก็อย่างที่ผมว่า..ส่วนตอนออก..คือตอนจะฆ่าอวิชชา..อวิชชาจะหลอกให้หลงว่า..ถึงแล้วนิพพาน..ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว..ถ้าหลงมัน..ก็อยู่แค่นั้น..เป็นนิพพานหลอก..ให้เรา ๆ จำใว้ว่า..ถ้าตัวรู้ตัวไหนบอกว่า..ถึงนิพพานแล้วนะ..ฆ่าตัวรู้นั้นซะ..ตัวรู้นั้นแหละตัวอวิชชา..กิเลสตัวสุดท้ายที่ต้องฆ่าทิ้ง..
( คำเตือน!..ความรู้ข้างต้นนี้..เป็นการรู้จากการจำ..รู้จากการคิด..ไม่ใช่รู้จากความจริงในตัวเอง..โปรดใช้วิจารณญานในการเชื่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
หลวงพ่อย้ำเสมอว่าอย่าเอามาสอน
อย่าเอามาพูดกัน

ท่านว่ามีสำนักสอนดุจิตกันเต้มไปหมด สอนผิดสอนถูก

ใครเขาอยากจะปฏิบัติให้เขาไปฟังไปอ่านจากหลวงพ่อเองดีกว่านะครับ

หลวงพ่อสอน กับ คุณสอน มันบารมีผิดกัน

สำนวนลอกหลวงพ่อทั้งดุ้นมาแบบนี้
ถ้าตัดต่อสัญญาผิดไปนิดนึง สอนเขาผิด
ก็สร้างบาปาร้างกรรมไม่จบนะ

อยากสนองคุณครุบาร์อาจารย์ก็แะนำให้เขาไปพบกับครุบาร์อาจารย์ดีกว่า
ตัวเราก้เอาให้รอด ให้มันสิ้นสงสัยจริงๆได้อย่างทั้นเสียก่อน

ผมเคยเป็นอย่างคุณนะ อย่าเลย ไม่ดีหรอก
แต่มีกัลยาณมิตรมาเตือนก่อน เลยกลับลำทัน

เป้นพระอรหันต์เมื่อไหร่ค่อยมาสอน ก็ไม่สาย สอนไม่ผิดด้วยนะ

ดุจิตเป้นต้องไม่สอนดูจิต
เพราะคนที่เขาสอนได้จริงๆ เขาไม่ต้องดุจิตแล้ว เขาถึงสอนเราได้
เป็นพุทธังสรนังก็ไม่ใช่ เป้นธัมมังสรนังก็ไม่ใช่ เป้นสังฆังสรนังก็ไม่ใช่อีก
เป็นสรนังให้ใครไม่ได้ทั้งนั้น
พูดแค่นี้นะ คิดว่าคงเข้าใจ

พูดทั่วๆไปเป้นไรหรอก แต่เรื่องสอนคนดุจิตนี่อย่าเลย
ส่งต่อให้หลวงพ่อดีกว่า แล้วแต่สมรรถนะของเขาเอง

หลวงพ่อไม่เดือดร้อนอะไรหรอก
คนที่เดือดร้อนคือคนที่พลาดไปล่วงเกินหลวงพ่อนั่นแหละ
แล้วก้คนที่ชวนเขาพูดอีกคนหนึ่ง


ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก..ถูก....ทุกข้อ..

ไม่มีอะไรจะถูกมากกว่านี้แล้ว..สาธุ..ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 23:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


และ ขอบคุณ คุณwalaiporn ด้วยครับ..สาธุ..สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 23:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะธรรม บางครั้งก็อาการเหมือนตึง บางทีอาการเหมือนหย่อน
บางทีสบายๆๆ วิบากออกมาไม่เหมือนกัน

ฉนั้น รู้อย่างเดียว กำหนดรู้ลงไป ไม่ต้องตามมัน รู้ๆๆๆ

:b12: :b12: :b12: :b12: :b12:

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2009, 23:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เฮ้อ..สาธุ..แล้วนี้..มันสบายใจดีเนอะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 51 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร