วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 12:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 09:06
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ตั้งกระทู้นี้ก็เพียงหวังจะแลกเปลี่ยนความรู้จากที่ได้ศึกษาธรรมมา
ซึ่งได้บวชอยู่วัดป่า มา 15 วัน เป็น “หนาน (ทิด) 15 วัน”
ผมได้เรียนรู้และเข้าใจอยู่สิ่งหนึ่งว่า
การที่จะศึกษาหรือเป็นคนดีตามหลักพุทธศาสนา ต้องมีสัมมาทิฎฐิเป็นอันดับแรก

- สัมมาทิฎฐิ คือ ความเข้าใจถูกต้อง
ความเข้าใจถูกต้อง หมายความว่า เข้าใจในหลักอริยสัจสี่
คือ
1. ทุกข์ คือ ความทุกข์ทั้งหลาย
2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ คือ กิเลส ตันหา
3. นิโรธ คือ การดับทุกข์
4. มรรค คือ วิธีหรือหนทางแห่งการดับทุกมี 8 ประการ คือ มรรค 8

ท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไรบ้าง ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: อนุโมทนากับการไปบวชที่วัดป่ามา
และปัญญาที่ได้รับจากการอบรมธรรม อบรมจิต

ว่าแต่ว่า ไปบวชวัดป่าวัดไหน จังหวัดไหน มาล่ะเนี่ย :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมคิดว่า สัมมาทิฐิ มีความหมายเป็นสองขอบเขต

- สุตมัยปัญญา+จินตมัยปัญญา
- ภาวมัยปัญญา


:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 09:06
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน AAAA ถามว่าไปบวชวัดไหน จังหวัดไหนมา ที่จริงก็อยากตอบนะครับ แต่เกรงว่าทางวัดจะเสียชื่อเพราะลูกศิษย์คนนี้ ที่เข้ามาท่องเวปนี้ขอรับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุด้วยครับ กับ K เจ้าของกระทู้ ได้บวช 15 วัน แล้วได้หลักธรรมมาปฏิบัติด้วยจริงๆ บอกชื่อวัดมาก็จะดีกว่านี้นะครับ ทางวัดไม่เสียชื่อหรอกนา :b8: อริสัจ 4 เป็นธรรมที่สำคัญมาก
ตอนที่พระองค์ไปโปรดพุทธมารดาที่สวรรค์ดาวดึงส์ตลอดเข้าพรรษา ก็ได้แสดงธรรมข้อนี้คืออริยสัจ 4 นี่เอง ตอนโปรดปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ใช้ธรรมข้อนี้โปรดจนเป็นอริยบุคคล ก็อริสัจ 4 เหมือนกัน

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




120.jpg
120.jpg [ 10.05 KiB | เปิดดู 5291 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41:

ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) คือการมีความรู้ในอริยสัจสี่ ซึ่งเกิดจากการศึกษาอริยสัจสี่พร้อมฝึกปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์แปด เพื่อดับกิเลส กองทุกข์ และพัฒนาจิตใจให้เป็นบุคคลที่ประเสริฐ หรือเป็นบุคคลผู้มีวิชชานั่นเอง ความหลง(โมหะ) เป็นหัวหน้าใหญ่ของกิเลส การดับความหลงจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะถ้าดับความหลงไม่ได้ ความโลภ ความโกรธ ความทุกข์ ก็ย่อมดับไม่ได้ ความเห็นชอบ จึงเป็นหัวกระบวนของการปฏิบัติธรรมตามมรรคมี่องค์แปด ถ้าไม่มี่ความรู้ในอริยสัจสี่ อย่างถูกต้อง ก็จะทำให้การปฏิบัติธรรมผิดทาง พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องความเห็นชอบไว้ว่า "ภิษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิคืออะไร ? คือความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรค) นี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ"

ครับ...การมีความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ที่ครบบริบูรณ์ เพราะมีความรู้ในอริยสัจสี่ รวมทั้งสามารถปฏิบัติธรรมตามมรรคมีองค์แปดได้ครบถ้วน ถูกต้อง นั่นคือ มีวิชชาครบถ้วน และดับความหลงได้หมดสิ้น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับแรก เห็นด้วยครับ :b12: :b8:

เจริญในธรรมครับ


:b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2009, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
ผมได้เรียนรู้และเข้าใจอยู่สิ่งหนึ่งว่า
การที่จะศึกษาหรือเป็นคนดีตามหลักพุทธศาสนา ต้องมีสัมมาทิฎฐิเป็นอันดับแรก


เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ :b8: :b8: :b8:

แต่............ :b41: :b41: :b41:

การจะได้ซึ่งสัมมาทิฏฐินี่สิครับ.....ยาก

ผมคิดว่าต้องมีเหตุดังนี้ก่อนคือ




1.กัลยาณมิตร ผู้มีกัลยาณธรรม :b1: :b1:

2.โยนิโสมนสิการ
:b10:

การจะเกิดโยนิโสมนสิการได้ต้องอาศัยกัลยาณมิตรผู้มีกัลยาณธรรมช่วยบอกเรา ชี้แจ้งแถลงไขเรา



อ้างคำพูด:
โยนิโส โดยแยบคาย,โดยถ่องแท้, โดยวิธีที่ถูกต้อง, ตั้งแต่ต้นตลอดสาย, โดยตลอด

มนสิการ การทำในใจ,ใส่ใจ, พิจารณา

โยนิโสมนสิการ การทำในใจโดยแยบคาย,

กระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย,

การพิจารณาโดยแยบคายคือ พิจารณาเพื่อเข้าถึงความจริงโดยสืบค้นหาเหตุผลไปตามลำดับจนถึงต้นเหตุ

แยกแยะองค์ประกอบจนมองเห็นตัวสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย

หรือตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีที่ชั่วยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้นโดยอุบายที่ชอบ

ซึ่งจะมิให้เกิดอวิชชาและตัณหา, ความรู้จักคิด, คิดถูกวิธี


ความหมาย จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ โดยท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)


ดังนั้นการเข้าใจถูกต้อง จึงต้องมีกัลยาณมิตรช่วยบอกกล่าว

การเข้าใจถูกต้อง จึงต้องมีโยนิโสมนสิการ



ด้วยเหตุนี้

โยนิโสมนสิการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งในการปฏิบัติธรรมทั้งขั้นต้น และขั้นสูง ในขั้นต้น

พระพุทธองค์แสดงว่า โยนิโสมนสิการ เห็นเหตุเกิดของสัมมาทิฏฐิ ส่วน อโยนิโสมนสิการ เป็นเหตุเกิดของมิจฉาทิฏฐิ

โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตแห่งอริยมรรค

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น เหมือนการทำในใจโดยแยบคายนี้เลย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ

ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก เพื่อบรรลุประโยชน์อันสูงสุดแห่งภิกษุผู้เป็นพระเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ไม่มีเลย ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการโดยแยบคาย พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งทุกข์ได้ ฯ เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

กล่าวโดยสรุป สำหรับคนทั่วไป ผู้มีปัญญายังไม่แก่กล้า ยังต้องอาศัยการแนะนำชักจูงจากผู้อื่น การพัฒนาปัญญา นับว่าเริ่มต้นจาก องค์ประกอบภายนอก คือ ความมีกัลยาณมิตร (กัลยาณมิตตตา) สำหรับให้เกิดศรัทธา (ความั่นใจด้วยเหตุผลที่ได้พิจารณาเห็นจริงแล้ว) ก่อน

จากนั้น จึงก้าวมาถึงขั้น องค์ประกอบภายใน เริ่มแต่นำความเข้าใจตามแนวศรัทธาไปเป็นพื้นฐาน ในการใช้ความคิดอิสระ ด้วย โยนิโสมนสิการ ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และทำให้ปัญญาเจริญยิ่งขึ้น จนกลายเป็นญาณทัสสนะ คือ การรู้การเห็นประจักษ์ในที่สุด




:b48: :b48: :b48: :b48:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 09:06
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับทุกท่านที่แสดงความเห็นกระทู้นี้นะครับ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
สัมมาทิฏฐิ หนึ่งในอริยมรรคอันมีองค์แปดประการ
พระพุทธภาษิตท่านเปรียบไว้ว่า
"เมื่อบุคคลเอาน้ำมันเทลงไปในแม่น้ำ
เอาก้อนหินทิ้งลงในแม่น้ำ จะอ้อนวอนสักเท่าใด
เพื่อให้น้ำมันจมและก้อนหินลอยขึ้น ย่อมเป็นไปไม่ได้
เพราะน้ำมันคงลอยขึ้นเหนือน้ำ ก้อนหินคงจมอยู่ใต้น้ำอยู่อย่างนั้น
เพราะน้ำมันมีสภาพลอยขึ้นเหนือน้ำ ก้อนหินมีสภาพจมน้ำฉันใด
ความเห็นดี (สัมมาทิฏฐิ)เป็นเหตุให้เฟื่องฟู
ความเห็นชั่ว เป็นเหตุให้ ล่มจม ตกต่ำ
ความชั่ว เมื่อทำแล้ว จะอ้อนวอนให้มีผลตรงกันข้ามไม่ได้ ฉันนั้น"
ทุกท่าน :b13: น่าจะเข้าใจดีเน้อ :b28: พี่น้อง
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 พ.ค. 2008, 09:39
โพสต์: 219


 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนอื่น ต้องเปรียบเทียบให้เห็นสองอย่างนี้ก่อนครับ (จะไม่อ้างตำรา จะเอาความรู้ความเข้าใจของตนเอง มาอธิบาย)

“สัมมาทิฏฐิ” ความเห็นชอบ มรรคองค์แรก องค์ที่หนึ่ง ในมรรคแปดองค์ อย่างไรเรียกว่าเห็นชอบ ? คือ การอบรมจิตใจของเราให้มีความเห็นชอบ เห็นจริงตามหลักความเป็นจริง เห็นสัจจะธรรมความจริง เห็นถูกต้องตามหลักทางพระพุทธศาสนา เห็นว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง ปฏิบัติธรรมนำไปสู่ความพ้นทุกข์จริง พระสงฆ์คือเนื้อนาบุญของโลกจริง เห็นทุกข์เป็นทุกข์จริง ฯลฯ

“มิจฉาทิฏฐิ” ก็เห็นตรงข้ามกับ “สัมมาทิฏฐิ” เห็นว่า การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าไม่จริง พระธรรม พระสงฆ์ ก็ไม่ใช่ของจริง ประพฤติปฏิบัติตามธรรมก็พ้นทุกข์ไม่ได้จริง เห็นว่าศาสนาอื่นดีกว่าพุทธศาสนา มีพระเจ้าคอยรับรู้ในคำอ้อนวอนของเหล่าสาวก ล้างบาปได้ ฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยก็ไม่บาป พระธรรมพระวินัยที่ตรัสไว้ไม่รอบคอบ มีช่องว่างช่องโหว่ให้หลีกเลี่ยงได้เสมอ

เปรียบเรา ๆ ท่าน ๆ กำลังหลงทางอยู่ในป่าใหญ่ รกชัฏ (วัฎฏสงสาร) แต่ละคนมีสองอย่างอยู่ในตัว คือ มิจฉา กับ สัมมา ความเห็นผิดและความเห็นถูก สองอย่างนี้ เหมือนคนนำทางเรา ให้ออกจากป่า เลือกถูกก็ออกจากป่าได้ เลือกผิดก็หลงอยู่ในป่า เป็นเหยื่อของสัตว์ร้าย (กิเลสตัณหา) ไปอีกนาน

สองอย่างนี้ฝึกได้ อบรมได้ ศึกษาได้ตามตำรา ตามคำถีร์

สำหรับกัลยาณมิตรที่ คุณ ฌาณ ว่านั้นถูกต้องแล้วครับ พระองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่า “กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์” แต่ไม่ใช่สำหรับ คนทิฏฐิกล้า มานะแข็ง

*วัดป่าส่วนใหญ่ ท่านเน้น “สมาธิ” มีน้อยที่เน้น “ปัญญา” ผมศรัทธาทั้งคู่ครับ แต่ก็ต้องเลือกศึกษาให้ตรงกับ จริตนิสัยของเรา หากเป็น “เจตโตวิมุตติ” ก็เลือกแนวทางสมาธิก่อนแล้วมาปัญญา หากเป็น “ปัญญาวิมุตติ” ก็เน้นปัญญาไปเลย *

โมทนากับความเห็นของทุกท่านครับ..

สวัสดีครับ ท่านทิด(หนาน)
เจริญธรรม

:b8: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรที่ตรัสแสดงรายละเอียดแห่งสัมมาทิฏฐิ อีกพระสูตรหนึ่ง คือ มหาจัตตารีสกสูตร

ทั้งๆที่ ความจริงพระสูตรนี้ ทรงแสดง สัมมาสมาธิของพระอริยะ เสียด้วยซ้ำ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 724&Z=3923


Quote Tipitaka:
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ ฯ
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ
[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค






ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ สัมมาสมาธิ(และอริยมรรคอื่นๆ)ไม่ใช่อริยมรรคที่จะเกิดขึ้นโดดๆ แต่ หากเป็นกระบวนการที่เป็นหนึ่งเดียว สืบเนื่อง ส่งต่อกัน....

สัมมาสมาธิของพระอริยะจึงเป็นสิ่งที่สืบเนื่องจากสัมมาสติ(การเจริญภาวนาตามหลักแห่งสติปัฏฐาน) และ มี(อนาสวะ)สัมมาทิฏฐิเป็นตัวกำหนดทิศทางตั้งแต่ต้น ว่า สมาธิภาวนาที่จะนำไปสู่การพ้นทุกข์นั้นต้องอยู่ในแนวทางแห่งความไม่ยึดมั่นถือมั่น(มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์) หาใช่เป็นไปเพื่อจุดมุ่งหมายอื่น

แต่ พึงสังเกตุว่า อนาสวะ(โลกุตระ)สัมมาทิฏฐินั้น ก็ยืนอยู่บนพื้นฐานของสาสวะ(โลกียะ)สัมมาทิฏฐิอีกที

เพราะ คงไม่มีท่านใดที่ยังประมาทมัวเมาล่วงอกุศลกรรมบทแล้วสามารถบรรลุมรรคผลได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 15:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2009, 09:06
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 128 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร