วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิฉันเคยฝันเห็นท่านหนนึงค่ะ และก็บูชาท่านอยู่ มีใครจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือแนะนำ หรือพูดคุยเกี่ยวกับหลวงปู่เทพโลกอุดร ก็เชิญโพสได้ที่กระทู้นี้นะค่ะ เพราะดิฉันสนใจ และศึกษาประวัติท่านมานานค่ะ อยากได้คำแนะนำ หรืออ่านเรื่องที่ทุกท่านพบเจอมาค่ะ

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่มีใครเข้ามาโพสต์หัวข้อนี้เลยเหรอค่ะ ไม่เป็นไรค่ะ รอได้ ถ้าใครมีเรื่องเกี่ยวกับหลวงปู่ท่าน ก็แนะนำ หรือเล่าให้ฟังได้นะค่ะ :b20:

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกายอ่านประวัติท่านที่บอร์ดหนึ่งครับ แต่ไม่ได้เก็บรายละเอียดมากนัก พอๆจับไจความได้ว่า
ท่านอยู่ถ้ำแถวๆภาคอิสาน หรือไงเนี้ยแหละ ว่ามีอายุหลายร้อยปี หรือ พันๆปีไม่แน่ใจ
พอดีคุณก้อยพูดถึงนึกได้ จึงอยากศึกษาประวัติท่านซ้ำให้ละเอียดอีกสักหน่อย
คุณมีลิงค์ประวัติท่านไหมครับ
แล้วคุณก้อยฝันเห็นท่านยังไงครับ รูปร่างลักษณะที่เห็นในฝันเป็นยังไงครับ :b42: :b48: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 พ.ค. 2007, 08:24
โพสต์: 56


 ข้อมูลส่วนตัว


พอรู้มาว่า หลวงปู่เทพอุดรมี ๕ องค์
ไม่ทราบว่าฝันถึงองค์ไหนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หลวงปู่เทพโลกอุดร
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14333


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร เป็นพระอรหันต์ที่เป็นพระโพธิสัตว์ของมหายาน ท่านบรรลุในความเป็นอรหันต์ผลแล้ว เพียงแต่หลวงปู่ท่านตั้งเจตนาของท่าน ตั้งใจช่วยเหลือทำนุบำรุงพระศาสนาพระศาสนาให้อยู่ครบ 5,000 ปี หลังจากนั้น ก็เข้าสู่แดนนิพพาน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงยังไม่ละสังขาร

หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรท่านเป็นมนุษย์ใช่ไหม? ผมคิดว่า ใช่ครับ พระพุทธองค์เคยตรัสบอกกับพระอานนท์ว่าผู้ใดเจริญอิทธิบาท 4 แล้วจะมีอายุได้ตลอดกัลป์ มันมีผลได้อัศจรรย์เช่นนั้นครับ

อิทธิบาทธรรมนั้น ถ้าผู้ใดประสงค์จะมีอายุยืนตามพุทธวจนะ อย่างน้อยก็จะต้องสามารถในรูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 รวมเรียกว่า สมาบัติ 8 และต้องเดินวิชชาตรัสรู้และตรัสเห็นในอริยสัจ 4 ตลอดทั้งในกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม และเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคลเป็นอย่างน้อย มีความเชี่ยวชาญใน วิชชา 3 วิชชา 6 วิชชา 8 โน่นแหละครับถึงจะสามารถมีอายุขัยตลอดกัปได้

สรุปคือ อิทธิบาทธรรม 4 ประการ จะสำเร็จได้บริบูรณ์ก็ด้วยอำนาจจิตที่เป็นฤทธิ์ของสมาธิจิตที่แก่กล้าระดับ ฌาน 4 เป็นอย่างน้อยครับ คุณธรรมอันเป็นเครื่องแห่งความสำเร็จก็เพราะสำเร็จได้ด้วยใจนั่นเอง


แก้ไขล่าสุดโดย พลศักดิ์ วังวิวัฒน์ เมื่อ 23 ม.ค. 2009, 13:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 11:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


กัปหรือกัลป์นี่ไม่ใชหมายถึงอายุ 100-120 ปี เหมือนที่สมมุติสงฆ์ทั่วไปพูดนะครับ พวกนั้นไม่รู้เรื่อง ซีซั้วทำสัทธรรมปฏิรูป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2009, 16:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามคุณพลศักดิ์ :b1:

หลวงปู่โลกเทพอุดร กับ หลวงปู่โลกอุดร

เป็นคนๆเดียวกัน หรือ คนละคนกันครับ เท่าที่เห็นมีเวบหนึ่งกล่าวถึงบ่อย
สังเกตองค์หนึ่งมีคำว่า "เทพ" กับ ไม่มีคำ "เทพ"
คุณพอรู้ไหมครับ :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เมื่ออ่านอิทธิบาทแนวที่คุณพลศักดิ์อ้างถึงแล้ว ลองศึกษาอีกแนวหนึ่ง)


การเจริญสมาธิตามหลักอิทธิบาท


อิทธิบาท แปลว่า ธรรมเครื่องให้ถึงอิทธิ (อิทธิ ฤทธิ์, ความสำเร็จ)
หรือ ธรรมที่เป็นเหตุให้ประสบความสำเร็จ หรือ แปลง่ายๆว่า ทางแห่งความสำเร็จ มี 4 อย่าง คือ

-ฉันทะ ความพอใจ
-วิริยะ ความเพียร
-จิตตะ ความคิดจดจ่อ
-วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง
แปลให้จำง่ายตามลำดับว่า
-มีใจรัก
- พากเพียรทำ
- เอาจิตฝักใฝ่
-ใช้ปัญญาสอบสวน

อิทธิบาทนั้น
พระพุทธเจ้าตรัสพัวพันไว้กับเรื่องสมาธิ เพราะอิทธิบาทเป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดสมาธิ และนำไปสู่ผลสำเร็จ
ที่เป็นจุดหมายของสมาธิ
สมาธิเกิดจากอิทธิบาทข้อใด ก็มีชื่อเรียกตามอิทธิบาทข้อนั้น
โดยนัยนี้จึงมีสมาธิ 4 ข้อ
(สํ.ม.19/1150/343)
คือ
1. ฉันทะสมาธิ สมาธิที่เกิดจากฉันทะ หรือ สมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่
2. วิริยะสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิริยะ หรือ สมาธิที่มีฉันทะเป็นใหญ่
3. จิตตะสมาธิ สมาธิที่เกิดจากจิตตะ หรือ สมาธิที่มีจิตตะเป็นใหญ่
4. วิมังสาสมาธิ สมาธิที่เกิดจากวิมังสา หรือ สมาธิที่มีวิมังสาเป็นใหญ่

สมาธิเหล่านี้ จะเกิดมีควบคู่ไปด้วยกันกับความเพียรพยายาม ที่เรียกว่า ปธานสังขาร
ปธานสังขาร แปลว่า สังขารที่เป็นตัวความเพียร หรือ ความเพียรที่เป็นเครื่องปรุงแต่ง
แปลง่ายๆว่า ความเพียรที่เป็นแรงสร้างสรรค์ หรือ ความเพียรสร้างสรรค์

สมาธิเกิดจาก ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา หรือ จากความมีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่
ใช้ปัญญาสอบสวน ได้อย่างไร มีแนวความเข้าใจ ดังนี้

1. ฉันทะ ความพอใจ ได้แก่ ความมีใจรักในสิ่งที่ทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น
อยากทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ อยากให้งานนั้นหรือสิ่งนั้นบรรลุถึงจุดหมาย พูดง่ายๆว่า รักงานและรักจุดหมาย
ของงาน
พูดให้ลึกลงไปในทางธรรมว่า ความรักความใฝ่ใจปรารถนาต่อภาวะดีงามเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดหมายของสิ่งที่กระทำ หรือ ซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วยการกระทำนั้น อยากให้สิ่งนั้นๆ เข้าถึง หรือ ดำรงอยู่ในภาวะที่ดีที่งดงามที่ประณีต ที่สมบูรณ์ที่สุดของมัน หรือ อยากให้ภาวะดีงามเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ ของงานนั้น เกิดมีเป็นจริงขึ้น อยากทำให้สำเร็จผลตามจุดหมายที่ดีงามนั้น

ความอยากที่เป็น ฉันทะ นี้เป็นคนละอย่างกันกับความอยากได้สิ่งนั้นๆ มาเสพเสวย หรือ อยากเอามาเพื่อตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ตัณหา
ความอยากที่เป็นฉันทะนั้น ให้เกิดความสุข ความชื่นชมเมื่อเห็นสิ่งนั้นๆ งานนั้นๆ บรรลุความสำเร็จ เข้าถึงความสมบูรณ์ อยู่ในภาวะอันดีงามของมัน
หรือพูดแยกออกไปว่า ขณะเมื่อสิ่งนั้นหรืองานนั้นกำลังเดินหน้าไปสู่จุดหมาย ก็เกิดปีติ เป็นความเอิบอิ่มใจ
ครั้นสิ่งหรืองานที่ทำบรรลุจุดหมาย ก็ได้รับความโสมนัสเป็นความฉ่ำชื่นใจ ที่พร้อมด้วยความรู้สึกโปร่งโล่ง
ผ่องใสเบิกบานแผ่ออกไปเป็นอิสระไร้ขอบเขต

ส่วนความอยากที่เป็นตัณหา ให้เกิดความสุขความชื่นชมเมื่อได้สิ่งนั้นมาให้ตนเสพเสวย รสอร่อย หรือปรนเปรอความยิ่งใหญ่พองขยายของตัวตน เป็นความฉ่ำชื่นใจที่เศร้าหมอง หมกหมักตัว กีดกั้นกักตนไว้ในความคับแคบ และมักติดตามมาด้วยความหวงแหนห่วงกังวล เศร้าเสียดายและหวั่นกลัวหวาดระแวง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2. วิริยะ ความเพียร ได้แก่ ความอาจหาญ แกล้วกล้า บากบั่น ก้าวไป ใจสู้ ไม่ย่อท้อ
ไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรค และ ความยากลำบาก เมื่อคนรู้ว่าสิ่งใดมีคุณค่าควรแก่การบรรลุถึง

ถ้าวิริยะเกิดขึ้นแก่เขาแล้ว แม้ได้ยินว่า จุดหมายนั้นจะลุถึงได้ยากนัก มีอุปสรรคมาก หรืออาจใช้เวลายาวนานเท่านั้นปี เท่านี้เดือน เขาก็ไม่ท้อถอย กลับเห็นเป็นสิ่งท้าทายที่เขาจะเอาชนะให้ได้ทำให้สำเร็จ เช่น
นักบวชนอกศาสนาหลายท่านในสมัยพุทธกาล เมื่อสดับพุทธธรรมแล้วเลื่อมใส ขอบรรพชาอุปสมบท
ครั้นได้รับทราบว่า ผู้เคยเป็นนักบวชนอกศาสนาจะต้องประพฤติวัตรทดสอบตนเองก่อน เรียกว่าปริวาส
(ติตถิยปริวาส) เป็นเวลา 4 เดือน ใจก็ไม่ท้อถอย กลับกล้าเสนอตัวประพฤติทดสอบเพิ่มเป็นเวลา ถึง 4 ปี (ดูเรื่องอเจลกัสสปะ)
ส่วนผู้ขาดความเพียร อยากบรรลุความสำเร็จเหมือนกัน แต่พอได้ยินว่า ต้องใช้เวลานานเป็นปีก็หมดแรง ถอยหลัง
ถ้าอยู่ระหว่างปฏิบัติก็ฟุ้งซ่าน จิตใจวุ่นวาย ปฏิบัติได้ผลยาก
คนที่มีความเพียร เท่ากับมีแรงหนุน เวลาทำงาน หรือ ปฏิบัติธรรมก็ตาม จิตใจจะแน่วแน่ มั่นคง พุ่งตรงต่อจุดหมาย สมาธิก็เกิดขึ้นได้ เรียกว่าวิริยสมาธิ
พร้อมทั้งปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์เข้าประกอบคู่ไปด้วยกัน


3.จิตตะ ความคิดจดจ่อ หรือ เอาใจฝักใฝ่ ได้แก่ ความมีใจผูกพัน จดจ่อ เฝ้าคิดเรื่องนั้น ใจอยู่
กับงานนั้น ไม่ปล่อย ไม่ห่างไปไหน

ถ้าจิตตะ เป็นไปอย่างแรงกล้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง คนผู้นั้นจะไม่สนใจไม่รับรู้เรื่องอื่นๆ ใครพูดอะไรเรื่องอื่นๆ ไม่สนใจ
แต่ถ้าพูดเรื่องนั้นงานนั้น จะสนใจเป็นพิเศษทันที บางทีจัดทำเรื่องนั้น งานนั้น ขลุกง่วนอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน ไม่เอาใจใส่ร่างกาย การแต่งเนื้อแต่งตัว อะไรเกิดขึ้นก็ไม่สนใจ เรื่องอื่นเกิดขึ้นใกล้ๆ บางทีก็ไม่รู้ ทำจนลืมวันลืมคืน ลืมกินลืมนอน

ความมีใจจดจ่อฝักใฝ่เช่นนี้ ย่อมนำในสมาธิเกิดขึ้น จิตจะแน่วแน่ แนบสนิทในกิจที่ทำ มีกำลังมากเฉพาะสำหรับกิจนั้น เรียกว่าเป็นจิตตสมาธิ
พร้อมนั้นก็เกิดปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์ร่วมสนับสนุนไปด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


4 . วิมังสา ความสอบสวนไตร่ตรอง ได้แก่ การใช้ปัญญาพิจารณาหมั่นใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล
และตรวจสอบ ข้อที่ยิ่งหย่อน เกินเลยบกพร่อง หรือ ขัดข้องเป็นต้นในกิจที่ทำ รู้จักทดลอง และค้นหาทางแก้ไขปรับปรุง
ข้อนี้
เป็นการใช้ปัญญาชักนำสมาธิ ซึ่งจะเห็นได้ไม่ยาก คนที่มีวิมังสาชอบคิดค้นหาเหตุผล ชอบสอบสวนทดลอง เมื่อทำอะไร ก็คิดพิจารณาทดสอบไป
เช่นคิดว่า ผลนี้เกิดจากเหตุอะไร ทำไมจึงเป็นอย่างนี้ ผลคราวนี้ เกิดจากปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้เท่านี้
ถ้าชักองค์ประกอบนี้ออกเสียจะเป็นอย่างนี้ ถ้าเพิ่มองค์ประกอบนี้เข้าไปแทน จะเกิดผลอย่างนี้
ลองเปลี่ยนองค์ประกอบนั้นแล้ว ไม่เกิดผลอย่างที่คาดหมาย เป็นเพราะอะไร จะแก้ไขที่จุดไหน ฯลฯ

หรือในการปฏิบัติธรรม ก็ชอบพิจารณาใคร่ครวญสอบสวนเช่นว่า ธรรมข้อนี้ๆ มีความหมายอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร ควรใช้ในโอกาสอย่างใด ควบคู่สัมพันธ์กับข้อธรรมอื่นข้อใด ปฏิบัติธรรมคราวนี้ไม่ค่อยก้าวหน้า
อินทรีย์ใดอ่อนไป
อินทรีย์ใดเกินไป
คนสมัยปัจจุบันอยู่ในสภาพอย่างนี้ ขาดแคลนธรรมข้อใดมาก จะนำธรรมข้อนี้เข้าไป ควรใช้วิธีอย่างใด ควรเน้นความหมายด้านไหน เป็นต้น
การคิดหาเหตุผลและสอบสวนทดลองอย่างนี้ ย่อมช่วยรวมจิตให้คอยกำหนด และติดตามเรื่องที่พิจารณาอย่างติดแจตลอดเวลา เป็นเหตุให้จิตแน่วแน่แล่นดิ่งไปกับเรื่อง ที่พิจารณา ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก และมีกำลัง เรียกว่าวิมังสาสมาธิ
ซึ่งก็จะมีปธานสังขาร คือ ความเพียรสร้างสรรค์ เกิดมาด้วย เช่นเดียวกับสมาธิข้ออื่นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ม.ค. 2009, 23:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงอิทธิบาท 4 อย่างนี้ เกื้อหนุนกัน และมักมาด้วยกัน เช่น เกิดฉันทะ มีใจรัก แล้วก็ทำให้พวกเพียร
เมื่อพากเพียร ก็เอาใจจดจ่อใฝ่ใจอยู่เสมอ และเปิดช่องให้ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง

แต่ที่แยกพิจารณาแต่ละข้ออย่างนี้ ก็ด้วยถือเอาภาวะที่เด่นเป็นใหญ่ เป็นตัวนำ เป็นตัวชักจูงข้ออื่นๆ ในแต่ละกรณี เช่น เมื่อฟังธรรมด้วยกัน
คนหนึ่ง
ชอบศึกษาธรรม ฟังด้วยความรักความพอใจในธรรม อยากรู้อยากเข้าใจธรรม ให้ยิ่งๆขึ้นไป-
(หรือแม้เพียงแต่ชอบใจธรรมที่แสดงในคราวนั้น หรือชอบผู้แสดงคราวนั้น) จึงฟังด้วยจิตแน่วแน่ ก็มีฉันทะเป็นตัวเด่น ชักนำสมาธิและกุศลธรรมอื่นๆ
อีกคนหนึ่ง
มีนิสัย หรือความรู้สึกเกิดขึ้นในขณะนั้นว่า เมื่อพบอะไรที่พึงทำก็ต้องสู้ต้องเอาชนะ ต้องเข้าเผชิญและทำให้สำเร็จ จึงฟังด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่งท้าทาย จะต้องพยายามเข้าใจให้ได้ ก็มีวิริยะเป็นธรรมเด่น
อีกคนหนึ่ง
มีนิสัยเอาใจใส่รับผิดชอบ ไม่ว่าอะไรที่ตนเกี่ยวข้องก็จะต้องใส่ใจเอาจิตจดจ่อติดตาม จึงตั้งใจฟัง เอาจิตติดตามเนื้อความไป ก็มีจิตตะเป็นใหญ่
อีกคนหนึ่ง
คิดจะตรวจสอบว่า ธรรมที่แสดงนั้น จริงหรือไม่ ดีหรือไม่ หรือจะค้นหาเหตุผลในธรรม ที่ฟัง ฟังไปก็คิดใคร่ครวญพิจารณาสอบสวนไป ใจจึงแน่วแน่อยู่กับธรรมที่ฟัง ก็มีวิมังสาเป็นใหญ่

ด้วยเหตุนี้
บางแห่ง ท่านจึงเรียกอิทธิบาท 4 นี้ว่า เป็นอธิบดี หรือ อธิปไตย 4 โดยกำหนดเอาภาวะที่เป็นใหญ่
เป็นหัวหน้า ในกรณีนั้นๆ

สาระของการสร้างสมาธิตามหลักอิทธิบาท ก็ คือ เอางาน สิ่งที่ทำ หรือ จุดหมายที่ต้องการเป็นอารมณ์ของจิต แล้วปลุกเร้าระดม ฉันทะ วิริยะ จิตตะ หรือ วิมังสา เข้าหนุน สมาธิก็เกิดขึ้นและมีกำลังแข็งกล้า ช่วยให้ทำงานอย่างมีความสุข และบรรลุผลสำเร็จด้วยดี

โดยนัยนี้
ในการปฏิบัติธรรมก็ดี
ในการเล่าเรียนศึกษา หรือ ประกอบกิจการงานอื่นใดก็ดี เมื่อต้องการสมาธิ เพื่อให้กิจที่ทำนั้น ดำเนินไป
อย่างได้ผลดี ก็พึงปลุกเร้าและชักจูงอิทธิบาท 4 อย่างนี้ ให้เกิดเป็นองค์ธรรมเด่นนำขึ้นสักข้อหนึ่ง
แล้วสมาธิความสุขสบายใจและการทำงานที่ได้ผล ก็เป็นอันหวังได้เป็นอย่างมากว่า จะเกิดมีตามมาเอง
พร้อมกันนั้น การฝึกสมาธิ หรือ การปฏิบัติธรรมส่วนหนึ่งก็จะเกิดมีขึ้นในห้องเรียน ในบ้าน ในทุ่งนา ในที่ทำงาน และ ในสถานที่ทุกๆ แห่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามคุณพลศักดิ์เกี่ยวกับชื่อหลวงปู่เทพโลกอุดร กับ หลวงปู่โลกอุดร เห็นเงียบๆไปจึงค้นหาที่มาเอง
แต่ประวัติที่มาไม่ตรงกับที่คุณพลศักดิ์ได้มา (หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร เป็นพระอรหันต์ที่เป็นพระโพธิสัตว์ของมหายาน)

เกี่ยวกับชื่อ...เทพโลกอุดร มีผู้เขียนท่านหนึ่งเล่าไว้ดังนี้


ทำไมต้องชื่อ " เทพโลกอุดร "

เรื่องที่จะเล่าต่อไปยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาข้อยุติกันไม่ได้ กล่าวคือยังมีการถกเถียงกันถึงตัวตนอันแท้จริงของศิษย์หลวงปู่ เทพโลกอุดรท่านนี้ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่พอจะสรุปร่วมกันได้ก็คือ ทุกฝ่ายต่างลงความเห็นร่วมกันว่า เป็นศิษย์หลวงปู่เทพโลกอุดร ผู้มีเชื้อสายพระมหากษัตริย์พระองค์นี้มีพระศักดิ์เป็น "กรมพระราชวังบวร" ทรงดำรงตำแหน่ง วังหน้า ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่สำหรับตัวตนจริงของกรมวังหน้า พระองค์นี้ยังเป็นการถกเถียงกัน

ตามประวัติเล่าว่า สมเด็จวังหน้าองค์นี้ทรงเป็นที่เกรงขามของบรรดาข้าราชบริพารยิ่งนึก และพระองค์มีลักษณะที่แตกต่างไปจากบุคคลทั่วไปอย่างหนึ่ง คือ พระองค์มีพระชิวหาดำ ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์โปรดการปลูกว่านสุมไพรต่างๆและทรงโปรดการชิมรสว่านต่าง ๆ ด้วยพระลักษณะเฉพาะตัวนั้น จึงได้มีการขนานพระนามพระองค์ว่า :องค์ลิ้นดำ:
สมเด็จวังหน้าพระองค์นี้ นอกจากจะสนใจในเรื่องการปลูกว่านสมุนไพรต่าง ๆ แล้วพระองค์ยังทรงสนพระทัยในเรื่องวิชา คาถา อาคม ไสยศาสตร์ ( สรุปเลยนะครับ พระองค์ท่านก็ได้เรียนกับครูต่าง ๆ ที่ว่าเก่งก็แล้ว เรียนไปหมด แต่ท่านก็ยังไม่พอใจ เพราะว่ามีแค่ เสกน้ำมนต์ แล้วก็ไล่ผี ท่านเลยได้ตั้งปณิธานว่า )
ครั้นตัดสินพระทัยได้เช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงจุดธูป 9 ดอก แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าไม่เจออาจารย์ที่จะสอนวิชาที่พระองค์ท่านต้องการได้จะไม่กลับมาวัง ขอให้เทพยาดาฟ้าดินได้โปรดเห็นพระทัยในความตั้งใจจริง ชี้ทางให้ไปพบกับอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญได้
ครั้นทรงอธิษฐานเสร็จแล้ว สมเด็จวังหน้าพระองค์นี้ ก็ทรงแต่งกายอย่างสามัญชน และได้เสด็จหายไปจากพระราชวัง จนกระทั่งมาถึงหมู่บ้านหนึ่ง
(ไม่ปรากฏชื่อและวันเดือนปี ) สมเด็จวังหน้าก็ได้เข้าไปขอน้ำจากชาวบ้านมาดื่มและล้างพระพักตร์ ครั้นพอรู้สึกชุ่มชื่นดีแล้ว ก็ได้ถอยออกมานั่งพักอยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ แห่งหนึ่ง

ครานั้นตะวันเริ่มรอนแล้ว สมเด็จวังหน้าทอดพระเนตรไปข้างหน้าก็พลันเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งปักกลดพักอยู่ที่ใต้ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่ง ซึ่งห่างจากที่พระองค์นั่งพักอยู่ไม่เท่าไร
ครั้นเห็นเช่นนั้นสมเด็จวังหน้า ก็ทรงดำริว่า :ชะรอยเทวดาฟ้าดินคงจะเห็นใจเราแล้ว พระธุดงค์รูปนั้นอาจจะเป็นอาจารย์ที่เรากำลังตามหาอยู่ก็ได้: ครั้นดำริเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงเสด็จเข้าไปใกล้ที่พระธุดงค์รูปนั้น นั่งทำสมาธิอยู่
ไปถึงใกล้ ๆ ก็สังเกตเห็นความแปลกประหลาดของพระธุดงค์รูปดังกล่าว คือ พระธุดงค์ที่ปรากฏกายอยู่เบื้องหน้าสมเด็จวังหน้าขณะนั้น ดูจากหน้าตาและรูปร่างเห็นว่าท่านยังเยาว์วัย ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ ผิวพรรณผุดผ่องดี อย่างผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ แต่ว่าบนศีรษะกลับมีหงอกขาวโพลนเต็ม
สมเด็จวังหน้าทรงเห็นดังนั้น ก็ให้นึกแปลกพระทัยและก็เริ่มศรัทธาในรูปลักษณ์ของพระธุดงค์รูปนั้น พระองค์จึง
นั่งลงนมัสการ
ขณะนั้นพระธุดงค์ผู้มีหน้าตาและร่างกายหนุ่ม แต่มีศีรษะขาวโพลนกำลังนั่งสมาธิ หลับตานิ่ง แต่ว่า ท่านรู้ว่ามีคนมาก้มอยู่เบื้องหน้าจึงได้ถามออกมาว่า " คุณโยมจะไปไหน"
บัดนั้นสมเด็จวังหน้าจึงได้เล่าความเป็นมาของพระองค์ให้พระธุดงค์รูปนั้นทราบอย่างละเอียด แล้วได้บอกถึงวัตถุประสงค์ในการเสด็จออกจากวังครั้งนี้ให้ท่านทราบด้วย
พระธุดงค์นั้นไม่กล่าวกระไร แต่เมื่อสมเด็จวังหน้าได้เรียนถามปัญหาต่าง ๆ ท่านก็ตอบได้ถูกต้องทุกคำถาม และตอบอย่างมีเหตุผล ชัดเจนอย่างผู้รู้จริง ซ้ำยังได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้สมเด็จวังหน้าได้ประจักษ์เช่น ชี้กิ่งไม้กลายเป็นงูเป็นต้น
สมเด็จวังหน้าได้เห็นเช่นนั้น ก็ประจักษ์พระทัยทันทีว่า พระธุดงค์รูปนี้ไม่ใช่ธรรมดา ท่านทรงความรู้เหนือกว่าบรรดาครูต่าง ๆ ที่พระองค์เคยเรียนมาเป็นแน่ จึงก้มกราบแทบเท้าพระธุดงค์แล้วกล่าวขอฝากตัวเป็นศิษย์
พระธุดงค์รูปนั้นก็ไม่ขัดศรัทธา
สมเด็จวังหน้าจึงได้อยู่ศึกษาวิชาความรู้ตามที่พระองค์ต้องการกับพระธุดงค์ผุ้มีความแปลกในตัวนั้นตั้งแต่บัดนั้น
เล่ากันว่าวิชาแรกที่อาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นสอนแก่สมเด็จวังหน้า ก็คือวิชานะหน้าทอง
วิชานะหน้าทองนี้ ก็คือการใช้แผ่นทองฝังลงในร่างกายของคน ส่วนใหญ่จะใช้บริเวณหน้าผาก การฝังนั้นก็จะฝั่งด้วยพลังจิต พระธุดงค์ผู้เป็นอาจารย์ก็ได้ถวายการสอนโดยการใช้ทองฝังเข้าไปในร่างกายโดยการใช้พลังจิตและพระอาจารย์รูปนี้ไม่ใช่เพียงแต่สอนให้ลงนะหน้าทองโดยการฝังทองเข้าไปในหน้าผากเท่านั้น ท่านยังปฏิบัติให้เป็นประจักษ์ถึงความสามารถที่พิสดารออกไป เช่น ส่งทองให้หายไปในอากาศ แล้วไปติดอยู่ตามต้นไม้หรือที่ต่าง ๆได้

สมเด็จวังหน้าทรงตั้งพระทัยศึกษาวิชานี้เป็นอย่างดี แต่วิชานี้ก็ไม่ใช่เรียนกันง่าย กว่าจะสำเร็จก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร
อาจารย์พระธุดงค์สอนวิธีต่าง ๆ ให้แล้วก็สั่งสมเด็จวังหน้าตั้งใจฝึกฝน ส่วนตัวท่านถอดกลดท่องธุดงค์ต่อไป
แต่ก่อนจากกัน ท่านได้นัดแนะสมเด็จวังหน้า ผู้เป็นศิษย์ไว้ว่าคราวต่อไปจะได้ไปพบกันที่ไหนอีก
ครั้นอาจารย์พระธุดงค์จากไปแล้ว สมเด็จวังหน้าก็ตั้งพระทัยฝึกวิชาลงนะหน้าทองนั้นต่อไป จนชำนาญดีแล้วครั้นเมื่อถึงหมายกำหนดที่อาจารย์พระธุดงค์นัดให้ไปเจอ พระองค์ก็เดินทางไปตามที่นัดหมาย
เล่ากันว่าเรียนการสอนของศิษย์อาจารย์คู่นี้ ค่อนข้างจะแปลกพิสดารไปจาการสอนของครูอาจารย์คนอื่น ๆ คือ จะสอนจะเรียนกันเป็นระยะ ๆ และต่างวิชาต่างสถานที่กันไป บางทีก็ต้องเดินทางไปสอนไปเรียนกันไกล ๆ และส่วนใหญ่จะอยู่ตามป่าเขาลำเนาถ้ำ บางคราวถึงกับเดินทางไปสอนไปเรียนกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว พม่า เป็นต้น
แต่สมเด็จวังหน้าพระองค์นั้น ก็ทรงทรหด ดั้นด้นติดตามไปหาไปพบพระอาจารย์ตามที่นัดหมายได้ทุกครั้ง
เสด็จวังหน้าพระองค์ทรงศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ จากอาจารย์พระธุดงค์รูปนี้อยู่นาน จนชำนาญในหลายแขนงวิชา เพราะว่าพระอาจารย์ธุดงค์รูปนี้ ไม่ใช่เพียงสอนวิชาคาถาอาคมเท่านั้น ท่านยังสอนวิชาอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะวิชาในพระพุทธศาสนา เช่นการนั่งสมาธิทำวิปัสสนากรรมฐาน เพราะท่านพูดกับศิษย์ว่า การนั่งสมาธินั้นจะช่วยให้จำวิชาต่าง ๆได้ดีขึ้น และสามารถนำมาประกอบใช้กับวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ได้ดี
สมเด็จวังหน้าทรงปฏิบัติตามทุกอย่าง
ครั้นศึกษาวิชาคาถาอาคม และการทำสมาธิ ทำกรรมฐานเพียงพอแล้ว วันหนึ่งอาจารย์ธุดงค์ก็ได้บอกกับสมเด็จวังหน้าผู้เป็นศิษย์ว่า
" ถึงเวลาที่เราควรจากกันแล้ว ตอนนี้วังหน้าก็เรียนวิชาสำเร็จทุกอย่างแล้ว และอาตมาภาพขอยืนยันว่า บัดนี้ถือได้ว่า วังหน้าได้เป็นหนึ่งในแผ่นดินสมความปรารถนาแล้ว (ที่พิมพ์ย่อ ๆ มาไม่รู้ผมได้พิมพ์ไปเปล่า แต่ที่ท่านวังหน้าท่านออกมาหาอาจารย์ที่จะสอนท่านให้เก่งเป็นหนึ่งในแผ่นดินได้นี้คือเป้าหมายของท่านครับ และได้เจอหลวงพ่อเทพโลกอุดรล่ะครับ )
ก่อนจากกันครั้งหนึ่งสมเด็จวังหน้าได้ถามอาจารย์พระธุดงค์ว่า " หลวงพ่อชื่ออะไร "
ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถึงแม้จะได้เป็นศิษย์อาจารย์กันมาหลายปีแล้ว สมเด็จวังหน้าไม่เคยได้ทราบชื่อของอาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นเลย พระองค์ได้แต่เรียกพระอาจารย์ว่า "หลวงพ่อ ๆ " ส่วนอาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นก็เรียกสมเด็จวังหน้าว่า " วังหน้าเฉย ๆ "
เมื่อสมเด็จวังหน้าได้ทรงถามเช่นนั้น อาจารย์พระธุดงค์รูปนั้น ก็ยังไม่ยอมบอกชื่อเสียงเรียงนาม ได้แต่อธิบายสมเด็จวังหน้า ให้เห็นถึงความไม่จำเป็นของชื่อเสียงเรียงนาม และยังได้ยบอกกับสมเด็จวังหน้าผู้เป็นศิษย์ว่า
" วังหน้าจะเรียกหลวงพ่อว่าอย่างไร หลวงพ่อก็ชื่ออย่างนั้นล่ะ "
เมื่อถามถึงอายุ อาจารย์พระธุดงค์ก็ตอบว่า " อายุเท่าไรจำไม่ได้แล้ว เพราะมันนานเหลือเกินแล้ว ปู่ของวังหน้า ถ้ายังมีชีวิตอยู่อายุสักประมาณเท่าไรได้แล้วล่ะ "
สมเด็จวังหน้าตอบว่า "ร้อยกว่าปีแล้ว "
อาจารย์พระธุดงค์ตอบว่า " ถ้าอย่างนั้น วังหน้าก็เอาอายุของปู่สักร้อยพระองค์มาบวกกันก็ยังไม่ได้เท่าอายุของหลวงพ่อ "
ด้วยเหตุนี้ สมเด็จวังหน้าจึงไม่สามารถจะทราบได้ว่าพระอาจารย์ของพระองค์ชื่ออะไร พระองค์จึงทรงดำริจะตั้งชื่อพระอาจารย์ลึกลับมหัศจรรย์รูปนั้นขึ้นมาเอง
พระองค์ทรงใคร่ครวญหาชื่อ เพื่อจะตั้งให้เหมาะกับพฤติกรรมของพระอาจารย์รูปนี้ ในที่สุดก็ตัดสินพระทัย
ขออนุญาตเรียกชื่อ พระอาจารย์รูปนั้นว่า "เทพโลกอุดร " เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า พระองค์ไปไหนมาไหนรวดเร็ว ดังปรารถนาเหมือนเทพเจ้า และทรงฤทธิอภิญญาเหนือโลก
อาจารย์พระธุดงค์ก็ไม่ว่าอะไร ได้แต่ยิ้ม ๆ
ตั้งแต่บัดนั้นมา พระธุดงค์ ผู้มีความพิสดารในรูปร่างลักษณะรูปนี้จึงได้ชื่อว่า "เทพโลกอุดร "
แต่ในต่อมาไม่ทราบว่าใคร ได้ไปต่อนามให้ท่านว่า " พระครูโลกเทพอุดร " ตามประวัติที่พอสืบหาได้ก็เห็นว่า ท่านมีนามว่า " หลวงปู่โลกเทพอุดร " เท่านั้นไม่มีคำว่า
" พระครู " นำหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติหลวงปู่เทพโลกอุดร ที่คุณพลศักดิ์นำมา ตรงกับข้อมูลนี้ หลวงปู่โลกอุดร ที่ผู้เขียนท่านหนึ่งกล่าวไว้ดังนี้

หลวงปู่โลกอุดร
พี่น้องเราชาวพุทธศาสนิกชนที่ได้เกิดมาพบพุทธศาสนาในดินแดนสวรรณภูมิแห่งนี้ (ไทย พม่า ลาว เขมร เวียดนาม (บางส่วน) มาเลเชีย (บางส่วน) อินโดนีเชีย (บางส่วน) สิงค์โปร์(บางส่วน)) นับว่าโชคดีที่สุดที่ได้พบสัจธรรมที่ค้นพบโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในความโชคดีอย่างประเสริฐสุดยอดนั้น เราชาวสุวรรณภูมิทั้งหลายต้องไม่ลืมว่าผู้เป็นบูรพาจารย์ ของเราชาวพุทธทั้งหลายในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้ คือคณะธรรมทูตคณะที่ 8 ที่พระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่และเกรียงไกรในอดีต ได้ส่งพระอรหันต์ 5 รูปพร้อมคณะเณร ชี และฆราวาสจำนวนหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.236 มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาตลอดจนวางรากฐานของพระพุทธศาสนาทั้งภาคปริยัติ และปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่ปฏิเวธ ได้ตั้งแต่บัดนั้นและจนบัดนี้ โดยปักหลักครั้งแรกที่เมืองนครศรีธรรมราชของประเทศไทยในปัจจุบัน แล้วทำการเผยแพร่จนครอบคลุมดินแดนสุวรรณภูมิทั้งหมดในปัจจุบัน ซึ่งนับจากวันนั้นเป็นต้นมา จิตวิญญาณของมนุษย์ตลอดจนเวไนยสัตว์ทั้งหลายที่ได้ศึกษาและปฏิบัติตาม จนได้พบความสุขที่แท้จริงและหลุดพ้นนับไม่ถ้วนและอีกมายมายในอนาคตจวบจนสิ้นพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสมณโคดมพระพุทธเจ้าตลอด 5,000 ปี โดย 5 พระอรหันต์ในคณะธรรมทูตที่ 8 ซึ่งถือว่าเป็นบูรพาจารย์
ที่พวกเราชาวสุวรรณภูมิเป็นหนี้บุญคุณท่านอย่างใหญ่หลวงหาที่เปรียบไม่ได้นั้น คือ
1.พระโสณะเถระเจ้า ผู้เป็นหัวหน้าคณะ ผู้ที่ได้ถูกบันทึกในพระไตรปิฎกว่า
เดินจงกรมทำวิปัสสนากรรมฐานจนฝ่าเท้าแตกนั้นเอง
2.พระอุตระเถระเจ้า
3.พระมูนียะเถระเจ้า
4.พระฌานียะเถระเจ้า
5.พระภูริยะเถรเจ้า
เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อผู้มีพระคุณอย่างหาที่สุดมิได้นี้ เราชาวพุทธที่เกิดมาได้มีโอกาสพบพระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมินี้ จงน้อมรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ท่านและทำการกราบไหว้สักการบูชาพร้อมปฏิบัติตามพระธรรมและพระวินัยตามสมควรในฐานะของแต่ละท่านอย่างดีที่สุด จะเป็นรองก็แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ศาสดาพระองค์เดียวเท่านั้น เพราะนี้คือครูบาอาจารย์องค์แรกจริงๆของเราชาวพุทธที่เกิดในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 21 ม.ค. 2009, 12:36
โพสต์: 91

สิ่งที่ชื่นชอบ: หนังสือธรรมะทุกเล่ม
ชื่อเล่น: ก้อย
อายุ: 28
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ช้างชูธง เขียน:
พอรู้มาว่า หลวงปู่เทพอุดรมี ๕ องค์
ไม่ทราบว่าฝันถึงองค์ไหนครับ


ขอตอบคำถามทั้งคุณกรัชกาย และคุณช้างชูธงค่ะ
ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณทุกท่าน ที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเรื่องหลวงปู่เทพโลกอุดรกันนะค่ะ ก่อนหน้านี้ดิฉันได้ซื้อหนังสือมาเล่มนึง เกี่ยวกับประวัติของท่าน แต่ก็อ่านไม่กี่หน้า แต่พอเริ่มปฏิบัติมากขึ้น (นั่งสมาธิ) ก็ได้ฝันประหลาด หลังจากฝันก็เริ่มศึกษาประวัติท่านมากขึ้น

ดิฉันฝันว่า ดิฉันเดินไปที่ไหนไม่ทราบ และเห็นคนกำลังใส่บาตรอยู่กับพระหนุ่ม รูปร่างสูงมากองค์นึง จำไม่ได้ว่ามีผมหรือไม่ (เพราะบางคนฝันเห็นท่านมีผม มาในลักษณะเป็นฤาษี แต่ดิฉันจำไม่ได้ รูปที่จำได้ก็เป็นรูปหน้าปกหนังสือที่ได้แนบไฟล์มาให้ดู)

ในความฝันดิฉันอยากใส่บาตรมาก แต่ไม่ได้เตรียมของมา เนื่องจากแค่ผ่านไปแถวนั้น ก็เลยอนุโมทนากับผู้ที่กำลังใส่บาตรท่าน และรับศีลจากท่าน ต่อจากนั้น ผู้คนที่ใส่บาตรก็มานั่งฟังท่านเทศน์ และสนทนาธรรม ดิฉันก็ไม่รู้หรอกว่าพูดเรื่องอะไรกัน แต่ก็นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ และก่อนทีี่หลวงปู่ท่านจะกลับ ท่านก็ถามทุกคนที่นั่นว่า มีคำถามอะไรจะถามไหม ทุกคนตอบว่าไม่มี และท่านก็หันมาหาดิฉัน แล้วถามดิฉันว่า "แล้วเจ้าละมีอะไรจะถามหรือไม่" ดิฉันก็ถามว่า ดิฉันกำลังจะมีลูกหรือไม่" ( ดิฉันไม่น่าถามอะไรแบบนั้นเลย เจอท่านทั้งทีน่าจะถามอะไรดีกว่านี้ เพราะน้อยคนนัก จะฝันถึงท่าน บางคนหาวิธีมาทั้งชีวิตเพื่อจะพบท่าน แต่ก็ไม่ได้พบและในฝันด้วยความไม่รู้ว่าท่านเป็นใคร และด้วยความโง่เขลาก็เลยถามท่านไป) แล้วก็ก้มลงกราบที่ใต้ฝ่าเท้าหลวงปู่ เท้าท่านใหญ่มากๆ ใหญ่กว่ามือดิฉันเยอะเลย พอกราบลงท่านก็พูดกับดิฉันว่า "ให้เจ้ากลับไปตรวจซะ แล้วเจ้าจะพบสิ่งที่เจ้าตามหา" และท่านก็บอกดิฉันอีกว่า "เจ้าเป็นคนตั้งใจปฏิบัติดีมากๆ" ท่านพูดเท่านั้นดิฉันก็ตื่นนอน ตื่นมาก็ประมาณ ตี4 ของเช้าวันเสาร์พอดี ดิฉันคิดว่าไม่ใช่เพราะดิฉันนึกถึงท่านมากแน่ๆ เพราะตอนนั้น ซื้อหนังสือมาอ่าน แต่ก็อ่านไปแค่ 1-2 หน้า ไม่ได้สนใจเลยด้วยซ้ำไป และพอปฏิบัิติมากๆ ก็ฝัน น่าจะเป็นเพราะการตั้งใจปฏิบัติสมาธิของดิฉันแน่แท้ หากท่านใดมีข้อแนะนำเชิญได้ตามสะดวกค่ะ อ้อ หนังสือที่ดิฉันอ่านได้แนบไฟล์มาให้ดูกันแล้วนะค่ะ คุณ นรเศรษฐ์ เป็นคนเขียนค่ะ เล่มนี้มีประวัติหลวงปู่ท่านเยอะมาก ลองหาอ่านดูนะค่ะ ท่านมีชื่อเรียก หลายชื่อค่ะ เช่น หลวงปู่เทพโลกอุดร หลวงปู่พระครูเทพโลกอุดร พระครูเทพโลกอุดร หลวงปู่ขาว หลวงปู่ดำ หลวงปู่โพรงโพธิ์ ฯลฯ แต่ดิฉันเรียกท่านว่า "หลวงปู่เทพโลกอุดร" ค่ะ
แนบไฟล์:
000.jpg
000.jpg [ 83.9 KiB | เปิดดู 8071 ครั้ง ]

.....................................................
"ใช้ใจมองคน" แล้วคุณจะรู้ว่า คนๆนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คุณเห็น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 41 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร